ซับนรก FFVII AC ครบเซ็ต
เชื่อเลยว่าบางคนต้องตามหาซับนรกเหล่านี้ของ Final Fantasy VII : Advent Children อยู่แน่

ตอนแรกก็ตามหาอยู่เหมือนกัน จนกระทั่ง.....
มันอยู่ในเครื่องเราอยู่แล้วนี่ฟร่า =[]=
พอดีเก็บไว้ลึกลับซับซ้อนแถมย้ายข้อมูลหลายรอบเลยหาไม่เจอเอาดื้อ ๆ

สำหรับซับในนี้มีด้วยกัน 4 ไฟล์ ได้แก่
1 ซับหมี่หยก
2 ซับหน้าเด้ง
3 ซับปังย่าผ้าเหลือง
4 ซับเสื่อม - อันนี้ลามก ของใครไม่รู้ ยัด ๆ ไว้ให้ครบ

อันนี้ลิงค์ดาวน์โหลด
//www.mediafire.com/file/jzdxommazlx/Hellsub FFAC.rar

มีปัญหาไฟล์หมดอายุ ติดต่อหลังไมค์ได้ที่พันทิป (อัพเดทล่าสุด 10 พค 2553)


หมายเหตุ อันนี้ของตัวหนังเวอร์ชั่นแรกที่เคยมีขายในไทยนะ
ไม่ใช่ของเวอร์ชั่น BD ที่ทำเพิ่มเติมในภายหลัง



Create Date : 10 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 10 พฤษภาคม 2553 22:14:26 น.
Counter : 2432 Pageviews.

4 comment
ถึงคุณผู้หญิงที่แต่งหน้าจัด
ถึงคุณผู้หญิงที่แต่งหน้าจัดและเป็นกิจวัตรทั้งหลาย
หากวันใดท่านเกิดลืมแต่งหน้ามาแล้วไซร้
หากจะต้องการเอ่ยปากทักใคร
กรุณาพูดบอกอัตตาลักษณ์ของตนเองว่าท่านนั้นคือผู้ใด
ไม่ว่าพูดโดยตรงหรือพูดโดยอ้อมก็ได้
เพราะยามนั้นนึกไม่ออกจริงว่าท่านเป็นใคร

ฮา....

แต่เรื่องจริงนะ นั่งนึกอยู่ตั้งหลายนาที



Create Date : 07 สิงหาคม 2552
Last Update : 7 สิงหาคม 2552 10:00:45 น.
Counter : 486 Pageviews.

2 comment
เขาเด่นเพราะมีปมด้อย เขาด้อยเพราะมีปมเด่น
เรื่องปมเด่นปมด้อย เป็นเรื่องที่นักจิตวิทยาหลายคนและบางทฤษฎีก็ได้พูดถึงเรื่องนี้
(สำหรับใครชื่ออะไรนั้นบอกไม่ได้ เพราะไม่รู้ - ฮา)

เรื่องนี้จะเป็นเรื่องของการบ่น และความคิดเห็นส่วนตัว ดังนั้นขอให้ใช้วิจารณญาณในการอ่าน
และไม่จำเป็นต้องเชื่อก็ได้

เชื่อกันว่าปมเด่นประเภทที่ไม่ได้มาแต่กำเนิด เช่นขยันเรียน ขยันทำงาน สู้ชีวิต หรืออะไรต่าง ๆ แบบนี้ มัน
ไม่ได้เกิดมาโดยตัวของมันเอง แต่มันถูกสร้างขึ้นมาจากปมด้อยที่เจ้าของปมเด่นนั้นมี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชีวิต
อาภัพ พ่อแม่เสียตั้งแต่เกิด บ้านยากจน หน้าตาไม่ดี

ส่วนปมด้อยเองก็เช่นกัน เชื่อกันว่าปมด้อยที่เกิดขึ้นในภายหลัง เช่นการเอาแต่ใจ หยิ่งยะโส หรืออะไรอื่นก็
เกิดจากปมเด่นได้ด้วยเช่นกัน เช่นหน้าตาดี เกิดมาสบาย มีคนเอาอกเอาใจตั้งแต่เด็ก
(ซึ่งมักพบได้ว่า คนที่หน้าตาดี หรืออย่างน้อยเชื่อว่าตนเองหน้าตาดีตั้งแต่เกิด มักมีนิสัยที่ไม่ค่อยดีนัก)
เรื่องนี้อาจจะเพราะการที่เรามีปมเด่นนั้นจะทำให้เราคิดถึงแต่ปมเด่นนั้น จนลืมเรื่องการควบคุมปมด้อยต่าง ๆ
ไป ทำให้ท้ายที่สุด เราก็จะเกิดปมด้อยมาโดยไม่ได้ตั้งใจ

แต่าหรับคนที่ไม่มีทั้งปมเด่นและปมด้อยปรากฎ อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นเพราะเขาไม่มีทั้งปมเด่นและปมด้อย
แฝงมาตั้งแต่แรกเลยก็ได้ จึงทำให้เขาไม่เลือกที่จะสร้างปมอะไรขึ้นมาเสริม ดังนั้นแม้พวกเขาอาจจะดู
ธรรมดาน่าถูกลืม แต่คนเหล่านี้บางทีอาจจะเป็นคนที่เหมาะสมกับการทำงานร่วมกับผู้อื่น และทีความสุขกับ
ชีวิตมากที่สุดก็ได้

เพราะเหตุนี้ บางคนจึงเชื่อว่า คนที่ดูเหมือนจะเก่งผิดหูผิดตาคนอื่นนั้น บางทีอาจจะมีปมด้อยแฝงอยู่
ดังนั้นการเลือกคนธรรมดาเข้าทำงานจึงเป็นการเหมาะสมกว่าคนที่เด่นกว่าผู้อื่น เพราะบางทีเขาอาจจะมี
ปมด้อยที่ไม่ต้องการแฝงอยู่ก็ได้


สำหรับเรื่องปมเด่นปมด้อย เป็นเรื่องของทั้งจิตสำนึก และจิตใต้สำนึก เรื่องปมเด่นปมด้อยนี้ไม่สามารถตัดสิน
ด้วยผู้อื่นได้ ต้องตัดสินโดยตนเองเท่านั้นว่าเขามีปมเด่นหรือปมด้อยอย่างไร เขาคนนั้นถึงจะสร้างปมเด่นและ
ด้อยขึ้นมาได้ การที่เราจะสร้างปมเด่นขึ้นมาก็เพราะเรารู้ตัวว่าปมด้อยคืออะไร และพยายามสร้างปมเด่นขึ้น
มากลบ สำหรับปมเด่นนี้ก็ได้แก่ ผู้ที่ครอบครัวยากจน หรือกำพร้าพ่อแม่ตั้งแต่เด็ก ซึ่งจะพบกับปมด้อยเหล่านี้
พวกเขาจะมีจิตสำนึกที่จะสร้างปมเด่นขึ้นมาด้วยการขยันเรียน ขยันเก็บเงินทอง เพื่อแทนที่ปมด้อยเหล่านั้น

แต่หากเป็นจิตใต้สำนึก บางครั้งพวกเขาจะประพฤติอีกอย่าง เช่นการระรานชาวบ้าน ใช้อำนาจข่มเหงรังแกผู้
อื่นหรือทำอะไรก็ได้เพื่อให้ตนเองรู้สึกมีอำนาจ และอยู่เหนือผู้อื่น ปมเด่นชนิดนี้ถือว่าเป็นปมเด่นที่ตนเองไม่
ได้ตระหนักถึงตนเองอย่างแท้จริงพวกเขามักจะทำเรื่องนี้ลงไปได้ไม่รู้ตัว และกว่าจะรู้ตัวว่าตนเองไม่สมควร
ทำเช่นนี้ ก็อาจสายเพราะกลายเป็นนิสัยส่วนตัวไปแล้วก็ได้

ปมเด่นชนิดนี้อเรียกว่าปมเด่นเทียม เพราะแม้มันถูกสร้างขึ้นมาให้เจ้าของปมเด่นรู้สึกดีมีอำนาจเหรือคนอื่น
แต่ปมเด่นนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพของเจ้าของปมเลย ซ้ำยังถ่วงความเจริญของเจ้าของและคน
รอข้างอีก

คนที่ชอบกด ชอบดูถูกคนอื่น ก็เข้าข่ายนี้เช่นกัน เพราะในจิตใต้สำนึกของตน (หรือจิตสำนึกของตน)
รู้ว่าตนเองนั้นด้อยกว่าคนอื่น และถึงจะหาทางสร้างปมเด่นขึ้นมาก็ชนะคนอื่นไม่ได้ กลบปมด้อยของตนได้
ไม่หมด ดังนั้นจึงต้องสร้างปมด้อยให้คนอื่นแทน ด้วยการหาจุดด้อยของเขามาขยายให้ใหญ่โต เพราะตนเอง
สำนึกอยู่ลึก ๆ ว่าตนเองนั้นไร้ค่า ทำอะไรไปยังไงก็ไม่มีทางเหนือกว่าคนอื่น เป็นพวกขี้แพ้ที่ต้องทำอย่างนี้
เท่านั้น ถึงจะสามารถทำให้ตนเองมีค่ากว่าคนอื่นได้

เพราะบางทีเป็นเรื่องของจิตใต้สำนึก พวกเขาจึงไม่รู้หรอกว่าทำไปเพราะอะไร ซ้ำยังไม่ยอมรับอีก


รู้เรื่องนี้มีประโยชน์อะไร ?
ที่จริงก็ไม่ได้เชื่อเต็มร้อยหรอกนะ ว่ามันเป็นเรื่องจริงร้อยเปอร์เซนต์ แต่การมองแบบนี้แล้วทำให้ตนเองมี
ความสุขได้ เพราะสามารถรู้ได้ว่า "เขาทำแบบนี้ไปทำไม" ทำให้แทนที่จะรังเกียจเขา กับพบว่าพวกเขาน่า
เห็นใจ ทำให้รู้สึกสบายใจมากกว่า
นอกจากนี้มันยังเป็นการเตือนตนเอง ว่าเราควรจะทำอะไร การที่เราทำอะไรลงไป เป็นเพราะปมด้อยหรือไม่
หากสิ่งที่สร้างมาเพื่อกลบปมด้อนนั้นคือปมเด่นก็ดีไป แต่หากเป็นปมด้อยที่ใช้ไปกดคนอื่นคงไม่ดีแน่

ดังนั้นการเชื่อและใช้ในแนวคิดนี้น่าจะมีประโยชน์สำหรับทุกคนอย่างแน่นอน



Create Date : 05 พฤษภาคม 2552
Last Update : 5 พฤษภาคม 2552 14:09:47 น.
Counter : 4310 Pageviews.

5 comment
ทำไมถึงต้องใช้สถาปนิก ?
ทำไมถึงต้องใช้สถาปนิก ?

คำถามนี้ คงเป็นคำถามที่อยู่ในใจใครหลายคน โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงของการก่อสร้าง

เพราะบางทีคุณอาจจะคิดว่า
จะสร้างบ้าน ทำไมต้องให้จ่ายเงินให้คนอื่นออกแบบให้ด้วย ออกแบบเองก็ได้ ?
อยากได้แบบบ้าน ทำไมต้องให้คนมาออกแบบให้ แบบบ้านแจกฟรีก็มีตั้งเยอะ ?
สร้างบ้านแค่วิศวกรกับผู้รับเหมาก็พอแล้ว ทำไมต้องมีสถาปนิดก้วย ?
หรือกระทั่ง.... สถาปนิกทำอะไร แค่ขีด ๆ เขียน ๆ ทำไมถึงต้องจ่ายเงินให้เยอะปานนั้น ?

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อน
สิ่งที่สถาปนิกทำ ถึงจะแค่ออกแบบ แต่แบบที่ออกนั้นมีหลายสิ่งซ่อนอยู่มากมายกว่าที่คุณคิดเยอะ

แน่นอนว่าออกแบบบ้าน ใครก็ออกแบบได้
แต่ออกแบบบ้านเพื่อให้บ้านเป็นบ้าน มีแต่สถาปนิกเท่านั้นที่ทำได้

เวลาคุณจะออกแบบบ้านคุณนึกถึงอะไรบ้าง ?
ความสวยงาม ? กฎหมาย ? งบประมาณ ?

สถาปนิกเองก็ทำได้ และเชื่อว่าโดยเป็นวิชาชีพเฉพาะทางด้านนี้จึงสามารถออกแบบได้ดีกว่าคนทั่วไปอย่าง
แน่นอน
นอกจากเรื่องเหล่านี้แล้ว สิ่งที่สถาปนิกต้องคำนึงถึงก็คือ
- โครงสร้าง ที่สามารถสร้างได้จริงทั้งปลอดภัยและแข็งแรง โดยไม่ทิ้งความสวยงามไว้
- งานระบบ ที่ไม่มีปัญหา ดูแลซ่อมแซมได้ง่าย และไม่มีปัญหาเรื่องน้ำรั่วน้ำซึมไฟตกไฟรั่วในภายหลัง
- การใช้พลังงาน ที่มีการใช้ฉนวน การวางทิศทางตัวบ้าน ห้องนอน ให้รับแสงแดดให้น้อยที่สุด รับอย่างถูก
เวลา จนทำให้ไม่ต้องใช้แอร์ ใช้พัดลมมาก ก็ยังเย็นสบาย ไม่เปลืองไฟ
- ฮิวแมนสเกล ออกแบบให้เข้ากับสัดส่วนร่างกายของผู้ใช้ ขั้นบันไดเหมาะกับการก้าว แม้สูง ก็ไม่รู้สึกหวาด
เสียว ทางเข้าดูยิ่งใหญ่อลังการ การจัดวางฟอร์นิเจอร์เหมาะกับตัวคน เข้าออกหรือใช้ได้สบาย
- การเข้าถึง เจ้าของบ้านรู้สึกได้ว่าเป็นเจ้าของบ้าน อยากให้มีความเป็นส่วนตัวก็ทำได้ การป้องกันกลิ่น
อาหาร จากห้องครัวเข้าครัวหรือป้องกันเสียงรบกวนจากห้องนั่งเล่นก็ทำได้ ใช้การจัดวางที่ดีจนคนอื่นมองเรา
เวลา อาบน้ำไม่ได้ แต่เรากลับมองเห็นเขาตอนเราอาบน้ำได้ แบ่งการเข้าถึงอย่างเป็นสัดเป็นส่วน แขกเข้าถึง
ได้แค่เฉพาะห้องรับแขก แต่ไม่สามารถเข้ามายังห้องพักผ่อนหรือห้องส่วนตัวของเราได้
- ฮวงจุ้ย ? แม้ไม่เชี่ยวชาญ ก็ยังให้ซินแสเข้ามาช่วยออกแบบให้


แน่นอน การคิดถึงสิ่งเหล่านี้ไปพร้อมกันระหว่างที่ออกแบบคงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ คนที่ไม่ได้ฝึกหรือเรียนมา
คงจะทำได้ยาก และหากคิดว่าสิ่งเหล่านี้ยังไม่พอกับการจ่ายเงิน ลองดูสิ่งเหล่านี้เพิ่ม


- นอกจากจะนั่งอยู่ที่โต๊ะออกแบบแล้ว สถาปนิกบางคนยังไปสืบเสาะค้นคว้าถึงประวัติศาสตร์ในพื้นที่นั้น
เพื่อก่อสร้างอาคารที่สะท้อนถึงประวัติศาสตร์ หรือเหมาะสมกับสภาพรอบด้านของพื้นที่นั้น
- จ้างคนมาตรวจสอบที่ดิน ตรวจสอบชั้นดินเพื่อดูว่าโครงสร้างไหนเหมาะสมกับการสร้างอาคาร หรือกระทั่ง
ดูความลาดเอียงของพื้นที่ เพื่อออกแบบอาคารให้น้ำไม่ขัง หรือโค้งเอียงไปตามที่ดินได้ (บางทีเขาจ่ายเอง)
- ตรวจสอบความเป็นไปได้ของโครงการ ว่าโครงการนี้สร้างแล้วคุ้มหรือไม่ ถ้าไม่คุ้มควรจะเปลี่ยนเป็นแบบ
ไหน ถ้าคุ้มวิธีไหนจะคุ้มที่สุด บางรายถึงกับต้องซื้อข้อมูล หรือจ้างคนมาเก็บข้อมูล
- ช่วยตรวจสอบการก่อสร้าง ว่าการก่อสร้างของผู้รับเหมาไปถึงไหน ให้ทันตามกำหนดการได้ไหม สร้างมี
คุณภาพหรือไม่อย่างไร และจะสามารถปรับเปลี่ยนตรงไหนได้บ้าง
- สามารถเจียดพื้นที่ใช้งานอื่นให้มาเป็นพื้นที่ขายได้อย่างแนบเนียน

โดยประเด็นหลัง ๆ นี้เกี่ยวกับเงินทองทั้งสิ้น ซึ่งทำให้หลายรายถึงต้องใช้สถาปนิกอยู่เสมอ
เพื่อให้ได้อาคารที่คุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด
โดยการเจียดพื้นที่นี้ บางครั้งสถาปนิกสามารถเพิ่มพื้นที่ขายให้ได้มากกว่าค่าจ้างของตนเสียอีก !

ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะทำให้นักลงทุนในราย ใหญ่ ๆ จำเป็นที่จะต้องจ้างสถาปนิกอยู่เสมอ


แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณเป็นผู้ต้องการสร้างบ้านพักอยู่อาศัยธรรมดาอาจคิดว่า มันไม่จำเป็นก็ได้ใช่ไหม ?
งั้นมาดูส่วนนี้กัน ว่าทำไมถึงควรจะมีสถาปนิก และไม่ควรที่จะใช้คนอื่นออกแบบให้หรือเอาแบบบ้านจาก
แบบฟรีกัน

1 ที่ดินทุกที่ ล้วนแต่มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน หรือพูดได้ว่าที่ดินทุกที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะขนาด รูปทรง
ถนนที่มันตั้ง ชุมชนที่มันอยู่ "สี"ของผังเมืองที่มันสังกัด ชั้นดินที่อยู่ข้างใต้ ทิศทางลม ทิศทางแดด
ทำให้การออกแบบย่อมจะต่างกัน เรื่องนี้จะเห็นภาพได้ชัดกับการลงทุนขนาดใหญ่ เพราะห่างกันแค่ไม่กี่ร้อย
เมตรหรืออยู่คนละด้านบนถนน ก็ไม่สามารถสร้างโครงการเดียวกันได้แล้ว ดังนั้นเรื่องนี้จึงสำคัญ
เช่นเดียวกับบ้านที่อยู่อาศัย บางทีการเอาแบบสำเร็จมา ก็ทำให้มันสร้างไม่ได้ ใช้ที่ดินได้ไม่คุ้มค่า หรืออยู่
แล้วร้อน เปลืองไฟ น้ำขัง หรือปัญหาจุกจิกอื่นอีกมากมาย

2 สถาปนิกจะเหมือนเป็นตัวแทนของคุณ บางครั้งคุณไม่อยากได้อะไร หรืออยากได้อะไร การพูดคุยกับ
ผู้รับเหมา บางทีอาจจะไม่สำเร็จ เพราะคุณไม่มีความรู้ทางด้านก่อสร้าง การที่มีสถาปนิกอยู่ ก็เหมือนคุณมี
ตัวแทนของคุณ ที่ตัวแทนคนนั้นมีความรู้เรื่องการก่อสร้างมาด้วย ดังนั้นจะคุยอะไรก็ทำง่ายกว่า

3 สถาปนิกจะเป็นคนที่อยู่ฝ่ายคุณ เรื่องของเรื่องก็คือ ผู้รับเหมาคือคนที่จะอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับคุณ เขาคือผู้ที่
มารับจ้างคุณทำของให้ การที่เขาจะได้เปรียบในการทำงานนี้ให้คุณมีอะไรบ้าง ? ก็มีหลายวิธีได้แก่ การใช้
ของไม่มีคุณภาพกับคุณ ไม่ใส่ใจในรายละเอียด ปล่อยปละละเลยหรือไม่สอนงานคนงานจนทำงานไม่ได้
มาตรฐาน แต่สถาปนิกคือคนที่คุณจ้างมาเพื่อให้บ้านนั้นเป็นไปตามที่คุณต้องการ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ
สถาปนิกโดยตรง ที่จะต้องดูแลการสร้างนั้นให้อยู่ในมาตรฐานยอมรับได้

4 สถาปนิกจะเป็นคนที่ช่วยจับผิดให้คุณ ต่อจากข้อบน ถ้าการได้กำไรของผู้รับเหมา ไม่ใช่การลดทอนใน
มาตรฐานแล้ว แต่เป็นการโกงสิ่งที่คุณควรจะได้ไปล่ะ ? เช่นการโกงวัสดุโครงสร้างหรือส่วนสำคัญไป เรื่อง
นี้ถือเป็นเรื่องสำคัญเลยทีเดียว เพราะบางส่วนถ้าคุณโดนโกงแล้จะเป็นอันตรายต่อชีวิตคุณ เช่นโครงสร้าง
เงินในส่วนที่คุณจะสามารถโดนโกงได้เมื่อเทียบกับเงินที่คุณจะต้องจ่ายให้กับสถาปนิกแล้ว ขอบอกเลยว่า
เงินที่สามารถโดนโกงได้นั้นมากกว่าเงินที่คุณจะจ่ายให้สถาปนิกแน่นอน ดังนั้นคุณคิดว่าคุ้มค่าหรือไม่กับการ
ที่คุณจะจ้างสถาปนิก


ดังนั้น เมื่อเทียบทั้งหมดแล้ว จะพบได้ว่า การจ้างสถาปนิกเพื่อให้ออกแบบโดยตรงนั้นคุ้มค่ากว่าจริง ๆ
ไม่ว่าจะด้านการออกแบบ การประหยัดเงิน ความคุ้มค่าการลงทุน หรือการควบคุมผู้รับเหมา


แต่ทว่า สถาปนิกนั้นต้องเป็นสถาปนิกที่ได้มาตรฐาน หากคุณไปจ้างสถาปนิกที่ไหนก็ไม่รู้มาออกแบบ หรือ
ฟรีแลนซ์ ที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ อาจจะไม่ได้ผลตามที่คุณคาดคิดก็ได้ เพราะคุณต้องให้สถาปนิกทำมาก
กว่าการออกแบบ คุณต้องให้สถาปนิกมาดูงานด้วย ส่วนคุณจะตาถึงหรือไม่อีกเรื่องนึง เพราะสถาปนิกไม่ได้
รับอนุญาตให้โฆษณาตนเอง (มีระเบียบนี้บรรจุไว้ในสภาสถาปนิก) ดังนั้นคุณจะหาสถาปนิกได้ ก็จากการที่
คุณหาเอง หรือฟังการบอกต่อจากคนอื่นเท่านั้น


อย่างไรก็ตาม สถาปนิกก็ไม่สามารถทำได้ทุกอย่าง อย่าลืมที่จะใช้วิศวกรด้วย การคำนวณน้ำหนักโครงสร้าง
การคำนวณการใช้งานของงานระบบต่าง ๆ คือหน้าที่ของวิศวกร อย่าใช้สถาปนิกมากไปจนลืมเรื่องเหล่านี้
ไปเสียล่ะ !




Create Date : 04 พฤษภาคม 2552
Last Update : 4 พฤษภาคม 2552 8:18:28 น.
Counter : 801 Pageviews.

0 comment
ชีวิตจริงไม่ใช่ทฤษฎี
บางคนอาจจะบอกว่าชีวิตจริงไม่ใช่นิยาย
แต่อย่าลืมว่านิยายบางทีก็เอามาจากชีวิตจริง ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ชีวิตของใครบางคนจะเหมือนนิยายจริง ๆ

ทว่าการที่บอกว่าชีวิตจริงไม่ใช่ทฤษฎีน่าจะดูเหมาะสมกว่า
เนื่องจากทฤษฎีคือการสรุปรวบยอดความคิดให้เป็นรูปธรรมแล้ว
แต่มันคิดคำนึงถึงเรื่องเพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้น และตัดส่วนที่เหมือนไม่เกี่ยวข้องไปเสียหมด

ซึ่งส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องและไม่ได้เอ่ยถึงในทฤษฎีนี่แหละ ที่จะทำให้ทำอย่างทฤษฎีไม่ได้

ถ้าพูดถึงทฤษฎี ก็ลองดูตัวอย่างทฤษฎีการเมืองการปกครองดู
ทฤษฎีแบบคอมมิวนิสต์ ที่จริงผู้ที่เอามาใช้เพราะคิดว่ามันน่าจะดีจริง ถึงได้เลือกเอามาใช้
แต่พอเอามาใช้จริง กลับกลายว่าเป็นหนึ่งในการปกครองที่หลายคนเชื่อว่าเลวร้ายเลยก็ว่าได้

เพราะมันไม่ได้พูดถึงเรื่องที่ต้องพูด พูดถึงความเสี่ยงที่ต้องควบคุม
เช่นผู้นำที่ใช้ไม่ได้มีศีลธรรม จริยธรรมที่ดี สุดท้ายคอมมิวนิสต์ก็กลายเป็นสิ่งที่ไม่ดีไป
โค่นล้มระบอบกษัตริย์และทำให้ทุกคนเท่าเทียมไร้ซึ่งชนชั้น
แต่ท้ายที่สุดผู้นำที่กุมอำนาจความเป็นความตายของประชาชนก็ยังอยู่ ความเท่าเทียมก็หาได้มีจริง

ประชาธิปไตยเองก็เช่นกัน ลองดูดี ๆ ว่ามีบางประเทศ(?)ที่ใช้ประชาธิปไตยเองก็จริง แต่มันก็ยังมีปัญหาอยู่
คุณอาจจะบอกว่ามันเป็นประชาธิปไตยไม่แท้ก็ได้
แต่อย่าลืมว่า การที่มันไม่แท้นั้น เพราะวิถีของสังคมนั้นไม่สามารถเข้าได้กับทฤษฎีการปกครองแบบประชาธิปไตย
ต่างหาก


คราวนี้ลองย้อนมาในเรื่องใกล้ตัว เช่นการทำงาน
โดยการทำงานคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะพูดไม่ได้ถึงสามเรื่องนี้

ต้นทุน-คุณภาพ-เวลา

มีหนังสือหลายเล่มที่พูดถึงเรื่องนี้ว่าจะทำยังไงให้ทั้งสามสิ่งนี้ออกมาให้ได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด
แต่แทบทุกเล่มในนั้น กลับไม่ได้บอกว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ทั้งสามสิ่งสมบูณณ์พร้อมสรรพไปได้พร้อม ๆ กัน

เช่นคุณต้องการทำวิทยานิพนธ์เล่มหนึ่ง
คุณต้องการทำวิทยานิพยนธ์นี้ให้เปลืองต้นทุนน้อยสุด คือ ต้องการความสบาย เก็บข้อมูลไม่มาก
ไม่ต้องการพิมพ์เยอะ และไม่เปลืองเงิน
แต่คุณก็ยังคงต้องการเวลา คือต้องการทำให้มันเสร็จทันในเวลาเส้นตาย
และต้องการคุณภาพ ที่ทำให้วิทยานิพนธ์นั้นดีน่าเชื่อถือ มีการอ้างอิงที่ดี สรุปผลยอดเยี่ยม

คุณจะพบได้ว่า เวลาทำจริง แม้คุณจะต้องการทั้งสามอย่างพร้อมกัน แต่มันไม่สามารถจะทำได้
หากคุณรักสบาย จะกลายเป็นว่า คุณต้องใช้เวลาในการทำมาก และคุณภาพที่ได้จะต่ำ
หากคุณต้องการทำให้มันเสร็จเร็ว คุณต้องเปลืองแรงมากขึ้น ใช้คนอื่นมาเป็นตัวช่วยมากขึ้น คุณภาพน้อยลง
หากคุณต้องการคุณภาพ คุณก็จะต้องใช้เวลามากขั้น และข้อมูลหรืออะไรต่าง ๆ ที่มาใช้จะต้องมีมากขึ้น

ดังนั้นจึงทำให้คุณต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ดดยต้องทิ้งอย่างที่เหลือไป
บางทีคุณอาจจะไม่ได้เลือกที่คุณภาพอย่างเดียว แต่กลับต้องเลือกเวลา หรือต้นทุน แทน

ปล. ต้นทุนในที่นี้อาจจะหมายถึงเงินก็ได้

โดยคุณก็รู้อยู่แล้ว ว่ามันเป็นอย่างนี้
แต่ทำไมไม่รู้ในหนังสือหรือทฤษฎีทั้งหลายที่เรียนในห้องเรียน กลับดันไม่ได้บอกเสียอย่างนั้น

ไม่ใช่แค่เรื่องนี้เท่านั้น ทฤษฎีทั้งหลายก็เช่นกัน
กล่าวถึงแต่ข้อดี และสิ่งที่มันเกี่ยวข้อง แต่กลับตัดความเสี่ยงอื่น ๆ ที่จะทำให้มันไม่เป็นไปตามทฤษฎีเสียไปหมด

ดังนั้นจะรู้แค่ทฤษฎี แล้วนำมาใช้จริงเลยโดยจะให้มันถูกต้องตามนั้นคงเป็นไปไม่ได้
แต่ต้องเรียนรู้เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการใช้ในชีวิตจริงไปเรื่อย ๆ เพื่อหาหนทางที่ดีที่สุด



Create Date : 30 เมษายน 2552
Last Update : 30 เมษายน 2552 9:38:35 น.
Counter : 555 Pageviews.

0 comment
1  2  

ซ่อนนาม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]