ทำไมถึงต้องใช้สถาปนิก ?
ทำไมถึงต้องใช้สถาปนิก ?

คำถามนี้ คงเป็นคำถามที่อยู่ในใจใครหลายคน โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงของการก่อสร้าง

เพราะบางทีคุณอาจจะคิดว่า
จะสร้างบ้าน ทำไมต้องให้จ่ายเงินให้คนอื่นออกแบบให้ด้วย ออกแบบเองก็ได้ ?
อยากได้แบบบ้าน ทำไมต้องให้คนมาออกแบบให้ แบบบ้านแจกฟรีก็มีตั้งเยอะ ?
สร้างบ้านแค่วิศวกรกับผู้รับเหมาก็พอแล้ว ทำไมต้องมีสถาปนิดก้วย ?
หรือกระทั่ง.... สถาปนิกทำอะไร แค่ขีด ๆ เขียน ๆ ทำไมถึงต้องจ่ายเงินให้เยอะปานนั้น ?

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อน
สิ่งที่สถาปนิกทำ ถึงจะแค่ออกแบบ แต่แบบที่ออกนั้นมีหลายสิ่งซ่อนอยู่มากมายกว่าที่คุณคิดเยอะ

แน่นอนว่าออกแบบบ้าน ใครก็ออกแบบได้
แต่ออกแบบบ้านเพื่อให้บ้านเป็นบ้าน มีแต่สถาปนิกเท่านั้นที่ทำได้

เวลาคุณจะออกแบบบ้านคุณนึกถึงอะไรบ้าง ?
ความสวยงาม ? กฎหมาย ? งบประมาณ ?

สถาปนิกเองก็ทำได้ และเชื่อว่าโดยเป็นวิชาชีพเฉพาะทางด้านนี้จึงสามารถออกแบบได้ดีกว่าคนทั่วไปอย่าง
แน่นอน
นอกจากเรื่องเหล่านี้แล้ว สิ่งที่สถาปนิกต้องคำนึงถึงก็คือ
- โครงสร้าง ที่สามารถสร้างได้จริงทั้งปลอดภัยและแข็งแรง โดยไม่ทิ้งความสวยงามไว้
- งานระบบ ที่ไม่มีปัญหา ดูแลซ่อมแซมได้ง่าย และไม่มีปัญหาเรื่องน้ำรั่วน้ำซึมไฟตกไฟรั่วในภายหลัง
- การใช้พลังงาน ที่มีการใช้ฉนวน การวางทิศทางตัวบ้าน ห้องนอน ให้รับแสงแดดให้น้อยที่สุด รับอย่างถูก
เวลา จนทำให้ไม่ต้องใช้แอร์ ใช้พัดลมมาก ก็ยังเย็นสบาย ไม่เปลืองไฟ
- ฮิวแมนสเกล ออกแบบให้เข้ากับสัดส่วนร่างกายของผู้ใช้ ขั้นบันไดเหมาะกับการก้าว แม้สูง ก็ไม่รู้สึกหวาด
เสียว ทางเข้าดูยิ่งใหญ่อลังการ การจัดวางฟอร์นิเจอร์เหมาะกับตัวคน เข้าออกหรือใช้ได้สบาย
- การเข้าถึง เจ้าของบ้านรู้สึกได้ว่าเป็นเจ้าของบ้าน อยากให้มีความเป็นส่วนตัวก็ทำได้ การป้องกันกลิ่น
อาหาร จากห้องครัวเข้าครัวหรือป้องกันเสียงรบกวนจากห้องนั่งเล่นก็ทำได้ ใช้การจัดวางที่ดีจนคนอื่นมองเรา
เวลา อาบน้ำไม่ได้ แต่เรากลับมองเห็นเขาตอนเราอาบน้ำได้ แบ่งการเข้าถึงอย่างเป็นสัดเป็นส่วน แขกเข้าถึง
ได้แค่เฉพาะห้องรับแขก แต่ไม่สามารถเข้ามายังห้องพักผ่อนหรือห้องส่วนตัวของเราได้
- ฮวงจุ้ย ? แม้ไม่เชี่ยวชาญ ก็ยังให้ซินแสเข้ามาช่วยออกแบบให้


แน่นอน การคิดถึงสิ่งเหล่านี้ไปพร้อมกันระหว่างที่ออกแบบคงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ คนที่ไม่ได้ฝึกหรือเรียนมา
คงจะทำได้ยาก และหากคิดว่าสิ่งเหล่านี้ยังไม่พอกับการจ่ายเงิน ลองดูสิ่งเหล่านี้เพิ่ม


- นอกจากจะนั่งอยู่ที่โต๊ะออกแบบแล้ว สถาปนิกบางคนยังไปสืบเสาะค้นคว้าถึงประวัติศาสตร์ในพื้นที่นั้น
เพื่อก่อสร้างอาคารที่สะท้อนถึงประวัติศาสตร์ หรือเหมาะสมกับสภาพรอบด้านของพื้นที่นั้น
- จ้างคนมาตรวจสอบที่ดิน ตรวจสอบชั้นดินเพื่อดูว่าโครงสร้างไหนเหมาะสมกับการสร้างอาคาร หรือกระทั่ง
ดูความลาดเอียงของพื้นที่ เพื่อออกแบบอาคารให้น้ำไม่ขัง หรือโค้งเอียงไปตามที่ดินได้ (บางทีเขาจ่ายเอง)
- ตรวจสอบความเป็นไปได้ของโครงการ ว่าโครงการนี้สร้างแล้วคุ้มหรือไม่ ถ้าไม่คุ้มควรจะเปลี่ยนเป็นแบบ
ไหน ถ้าคุ้มวิธีไหนจะคุ้มที่สุด บางรายถึงกับต้องซื้อข้อมูล หรือจ้างคนมาเก็บข้อมูล
- ช่วยตรวจสอบการก่อสร้าง ว่าการก่อสร้างของผู้รับเหมาไปถึงไหน ให้ทันตามกำหนดการได้ไหม สร้างมี
คุณภาพหรือไม่อย่างไร และจะสามารถปรับเปลี่ยนตรงไหนได้บ้าง
- สามารถเจียดพื้นที่ใช้งานอื่นให้มาเป็นพื้นที่ขายได้อย่างแนบเนียน

โดยประเด็นหลัง ๆ นี้เกี่ยวกับเงินทองทั้งสิ้น ซึ่งทำให้หลายรายถึงต้องใช้สถาปนิกอยู่เสมอ
เพื่อให้ได้อาคารที่คุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด
โดยการเจียดพื้นที่นี้ บางครั้งสถาปนิกสามารถเพิ่มพื้นที่ขายให้ได้มากกว่าค่าจ้างของตนเสียอีก !

ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะทำให้นักลงทุนในราย ใหญ่ ๆ จำเป็นที่จะต้องจ้างสถาปนิกอยู่เสมอ


แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณเป็นผู้ต้องการสร้างบ้านพักอยู่อาศัยธรรมดาอาจคิดว่า มันไม่จำเป็นก็ได้ใช่ไหม ?
งั้นมาดูส่วนนี้กัน ว่าทำไมถึงควรจะมีสถาปนิก และไม่ควรที่จะใช้คนอื่นออกแบบให้หรือเอาแบบบ้านจาก
แบบฟรีกัน

1 ที่ดินทุกที่ ล้วนแต่มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน หรือพูดได้ว่าที่ดินทุกที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะขนาด รูปทรง
ถนนที่มันตั้ง ชุมชนที่มันอยู่ "สี"ของผังเมืองที่มันสังกัด ชั้นดินที่อยู่ข้างใต้ ทิศทางลม ทิศทางแดด
ทำให้การออกแบบย่อมจะต่างกัน เรื่องนี้จะเห็นภาพได้ชัดกับการลงทุนขนาดใหญ่ เพราะห่างกันแค่ไม่กี่ร้อย
เมตรหรืออยู่คนละด้านบนถนน ก็ไม่สามารถสร้างโครงการเดียวกันได้แล้ว ดังนั้นเรื่องนี้จึงสำคัญ
เช่นเดียวกับบ้านที่อยู่อาศัย บางทีการเอาแบบสำเร็จมา ก็ทำให้มันสร้างไม่ได้ ใช้ที่ดินได้ไม่คุ้มค่า หรืออยู่
แล้วร้อน เปลืองไฟ น้ำขัง หรือปัญหาจุกจิกอื่นอีกมากมาย

2 สถาปนิกจะเหมือนเป็นตัวแทนของคุณ บางครั้งคุณไม่อยากได้อะไร หรืออยากได้อะไร การพูดคุยกับ
ผู้รับเหมา บางทีอาจจะไม่สำเร็จ เพราะคุณไม่มีความรู้ทางด้านก่อสร้าง การที่มีสถาปนิกอยู่ ก็เหมือนคุณมี
ตัวแทนของคุณ ที่ตัวแทนคนนั้นมีความรู้เรื่องการก่อสร้างมาด้วย ดังนั้นจะคุยอะไรก็ทำง่ายกว่า

3 สถาปนิกจะเป็นคนที่อยู่ฝ่ายคุณ เรื่องของเรื่องก็คือ ผู้รับเหมาคือคนที่จะอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับคุณ เขาคือผู้ที่
มารับจ้างคุณทำของให้ การที่เขาจะได้เปรียบในการทำงานนี้ให้คุณมีอะไรบ้าง ? ก็มีหลายวิธีได้แก่ การใช้
ของไม่มีคุณภาพกับคุณ ไม่ใส่ใจในรายละเอียด ปล่อยปละละเลยหรือไม่สอนงานคนงานจนทำงานไม่ได้
มาตรฐาน แต่สถาปนิกคือคนที่คุณจ้างมาเพื่อให้บ้านนั้นเป็นไปตามที่คุณต้องการ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ
สถาปนิกโดยตรง ที่จะต้องดูแลการสร้างนั้นให้อยู่ในมาตรฐานยอมรับได้

4 สถาปนิกจะเป็นคนที่ช่วยจับผิดให้คุณ ต่อจากข้อบน ถ้าการได้กำไรของผู้รับเหมา ไม่ใช่การลดทอนใน
มาตรฐานแล้ว แต่เป็นการโกงสิ่งที่คุณควรจะได้ไปล่ะ ? เช่นการโกงวัสดุโครงสร้างหรือส่วนสำคัญไป เรื่อง
นี้ถือเป็นเรื่องสำคัญเลยทีเดียว เพราะบางส่วนถ้าคุณโดนโกงแล้จะเป็นอันตรายต่อชีวิตคุณ เช่นโครงสร้าง
เงินในส่วนที่คุณจะสามารถโดนโกงได้เมื่อเทียบกับเงินที่คุณจะต้องจ่ายให้กับสถาปนิกแล้ว ขอบอกเลยว่า
เงินที่สามารถโดนโกงได้นั้นมากกว่าเงินที่คุณจะจ่ายให้สถาปนิกแน่นอน ดังนั้นคุณคิดว่าคุ้มค่าหรือไม่กับการ
ที่คุณจะจ้างสถาปนิก


ดังนั้น เมื่อเทียบทั้งหมดแล้ว จะพบได้ว่า การจ้างสถาปนิกเพื่อให้ออกแบบโดยตรงนั้นคุ้มค่ากว่าจริง ๆ
ไม่ว่าจะด้านการออกแบบ การประหยัดเงิน ความคุ้มค่าการลงทุน หรือการควบคุมผู้รับเหมา


แต่ทว่า สถาปนิกนั้นต้องเป็นสถาปนิกที่ได้มาตรฐาน หากคุณไปจ้างสถาปนิกที่ไหนก็ไม่รู้มาออกแบบ หรือ
ฟรีแลนซ์ ที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ อาจจะไม่ได้ผลตามที่คุณคาดคิดก็ได้ เพราะคุณต้องให้สถาปนิกทำมาก
กว่าการออกแบบ คุณต้องให้สถาปนิกมาดูงานด้วย ส่วนคุณจะตาถึงหรือไม่อีกเรื่องนึง เพราะสถาปนิกไม่ได้
รับอนุญาตให้โฆษณาตนเอง (มีระเบียบนี้บรรจุไว้ในสภาสถาปนิก) ดังนั้นคุณจะหาสถาปนิกได้ ก็จากการที่
คุณหาเอง หรือฟังการบอกต่อจากคนอื่นเท่านั้น


อย่างไรก็ตาม สถาปนิกก็ไม่สามารถทำได้ทุกอย่าง อย่าลืมที่จะใช้วิศวกรด้วย การคำนวณน้ำหนักโครงสร้าง
การคำนวณการใช้งานของงานระบบต่าง ๆ คือหน้าที่ของวิศวกร อย่าใช้สถาปนิกมากไปจนลืมเรื่องเหล่านี้
ไปเสียล่ะ !




Create Date : 04 พฤษภาคม 2552
Last Update : 4 พฤษภาคม 2552 8:18:28 น.
Counter : 801 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ซ่อนนาม
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]