creatio ex nihilo

ศล
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 85 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ศล's blog to your web]
Links
 

 

Outrageous Moves 2

มาดูแต้มที่น่าทึ่งของบ็อบบี้กันต่อนะครับ (จากหนังสือ Bobby Fischer's Outrageous Chess Moves) แต้มแรกจากเกมระหว่างบ็อบบี้กับ E. Osbun (Davis, California, 1964) ต่อไปบ็อบบี้สีขาวเป็นฝ่ายได้เดิน เราวิเคราะห์ดูเกมคร่าว ๆ พบว่าสีดำเหมือนจะได้เปรียบ มีเรือ 2 แม้ว่าขาวจะจ่อเบี้ยหนึ่งตัวเตรียมโปรโมท แต่ก็มีทั้งควีนดำและเรือดำกันท่าเอาไว้ คิงขาวเองก็อยู่ในสภาพง่อนแง่น ถ้าไม่มีเบี้ย c6 มาขวางควีน บ็อบบี้คงรอดพ้นชะตากรรมพ่ายแพ้ยาก แต่สภาพคิงดำก็ใช่ว่าจะปลอดภัยนัก หากไม่มีเรือ g4 ก็สิ้นวาสนาไปแล้วเหมือนกัน



บ็อบบี้เดิน Rxg4+ ดำก็ต้องตอบโต้ด้วย hxg4 (ไม่อย่างนั้นไม่รอด) สิ่งที่ผมเชื่อว่าทำให้หลายคนทึ่ง รวมถึง Osbun ด้วยคือ Qd3 ครับ (เทพใช่มั้ยล่ะ)

ดูเกมที่สองระหว่างบ็อบบี้กับ Enrique Mecking (Palma de Mallorca, Spain, 1970) ต่อไปบ็อบบี้สีขาวเป็นฝ่ายได้เดิน



แต้มนี้แค่กินเบี้ยฟรีตัวหนึ่งครับ แต่อย่างที่เรารู้กันคือหมากรุกฝรั่งเบี้ย 1 ตัวปลายกระดานมีค่าต่อผลแพ้ชนะ เทคนิคที่บ็อบบี้ใช้เรียกว่า zwischenzug (in between) แบบนี้ครับ Qxg7+ ดำก็ต้องเอาควีนกินคืน Qxg7 จากนั้นขาวจึงดอดไปกินเรือ Rxf6 ดำทำอะไรไม่ได้เลย แถมสุดท้ายก็ต้องถูกแลกควีนกับเรืออยู่ดีเพราะสภาพที่เรือขาว g3 กดอยู่นั่นแหละครับ

อีกสักเกม เกมระหว่าง Paul Keres กับ บ็อบบี้ (Bled, 1959) บ็อบบี้เป็นฝ่ายสีดำได้เดิน



คุณคงเห็นว่าบิชอบขาวไล่เรือดำ ควีนขาวอยู่ในตำแหน่งที่ทั้งขู่คุกคามเรือดำ c8 แล้วยังปกป้องคิงและเรือขาว d1 ตรงนี้มองออกไม่ยากว่าเดินควีนดำไป Qd5 จะจับกินได้ 2 ตัว แต่เราอาจติดปัญหาว่าเมื่อแลกเรือกันแล้วจะพาควีนออกจาก h1 ยังไงไม่ให้เสียบิชอบ c3 ใช่มั้ยครับ บ็อบบี้แก้ปัญหาตรงนี้ได้เรียบง่ายและสวยงามมากดังเหตุการณ์ต่อไปนี้

1. ... Qd5
2. Bxe8 Qxh1+
3. Ke2 Rxe8+
4. Kd3 Be1 ตานี้แหละครับ ที่ว่าเรียบง่ายและงดงาม




 

Create Date : 10 ธันวาคม 2551    
Last Update : 27 กันยายน 2552 18:20:35 น.
Counter : 892 Pageviews.  

2/10. นำขุนศึกสู่สนามรบ

บัญญัติข้อที่ 2 นำขุนศึกสู่สนามรบ

คิงเขียนไว้อย่างฮาว่าไม่มีเหตุผลอะไรที่คุณจะถ่วงเวลาซ่อนขุนศึกไว้ท้ายแถวโดยไม่ยอมเปิดทางให้มันออกไปรบ เพราะ สงครามอาจจะจบลงโดยที่ขุนศึกยังมิทันเดินออกจากตำแหน่งเริ่มต้น สมมติเกมเริ่มต้น 1. e4 c5 ดังนี้



ทั้งคู่ยึดจัตุรัสกลางคนละช่อง สมมติว่าคุณเป็นขาว คุณจะเดินยังไง ก. h4, ข. Nf3, ค. Nh3, ง. Qh5 เราจะดูที่อันเริ่มจาก ก. h4



ไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย เบี้ยควรจะเดินเพื่อยึดชัยภูมิกลางกระดานหรือเพื่อเปิดทางให้หมากตัวอื่นออกมาได้ เดินแบบนี้ถ้าอยากจะให้เรือออกมาถือว่าไม่มีประโยชน์อะไรมาก

ข. Nf3



สวยงามครับ เพราะ ควบคุมจัตุรัสกลาง d4 กับ e5 และคิงแนะนำว่าปกติแล้วควรนำม้าออกมาก่อนบิชอบ แต่เป็นคำแนะนำที่ไม่ใช่ข้อสรุปว่าจะต้องเป็นเช่นนี้เสมอนะครับ

ค. Nh3, ง. Qh5 เห็นชัดเจนว่า useless เพราะสีดำปกป้องเบี้ยง่าย ๆ ด้วย e6 ดูรูปต่อไปฝ่ายขาวได้เดิน ควรจะเดินตัวไหนดี ก. h3, ข. Bc4, ค. Bc5+, ง. Qf3 เฉลยคำตอบที่ดีดูรูปขวา ข. Bc4 เพราะนอกจากจะตั้งท่าจู่โจมคิงดำในแนวทแยงหากคิงเข้าป้อมแล้ว ยังเตรียมพร้อมโดยการเปิดทางให้คิงขาวเข้าป้อมด้วย



รูปต่อไปถามคุณว่าสีดำควรเดินอะไร? ก. e6, ข. dxc4, ค. Qa5+, ง. Ne4



ผมขอข้ามคำตอบข้อ ค. Qa5+ นะครับ เพราะไม่ประโยชน์ ไม่รู้จะไปรุกทำไม สีขาวกันได้ง่ายมากด้วย Bd2 โดนแบบนี้ควีนก็ต้องเผ่น เสียตาเดินฟรีหนึ่งที ข้อ ง. Ne4 ถึงแม้ไม่ใช่ตาเดินที่แย่ แต่ก็ดูไม่มีเหตุผลรองรับ เดี๋ยวเรามาดูข้อ ก. e6 กับ ข. dxc4 กัน



ก. e6 (รูปซ้าย) ดีของมันคือเตรียมความพร้อมให้บิชอบออก และ เตรียมความพร้อมให้คิงเข้าป้อม ข. dxc4 (รูปขวา) ดูเหมือนกันการแลกกันธรรมดาจริงมั้ยครับ ไม่น่าจะมีข้อเสียอะไร แต่เป็นการแลกกันที่ทำให้บิชอบขาวเดิน Bxc4 ซึ่งเป็นตำแหน่งยืนที่ดีของบิชอบและขาวก็พร้อมเข้าป้อมแล้วล่ะ ในขณะที่ดำไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการแลกกันครั้งนี้เลย




 

Create Date : 10 ธันวาคม 2551    
Last Update : 27 กันยายน 2552 18:26:35 น.
Counter : 754 Pageviews.  

1/10. ยึดครองชัยภูมิ

ตอนนี้เก็บความมาเล่าจากหนังสือ How to Win At Chess: 10 Golden Rules To Follow เขียนโดย Daniel King เท่าที่ผมสังเกตดูบรรดาเซียนส่วนมากหรือตำราแทบทั้งหมดจะพูดถึงความสำคัญของจัตุรัสกลางกระดาน (4 ช่องที่มีรูปดาว รูปซ้าย) ว่าผู้ใดที่ครอบครองมันได้ ผู้นั้นครอบครองทั้งกระดาน หนังสือเล่มนี้ยกตัวอย่างรูปด้านขวาแล้วถามคุณผู้อ่านว่า which side would you rather play, White's or Black's? แหม จะถามเพื่อ?



บัญญัติข้อที่ 1 ยึดครองชัยภูมิ หรือ เปิดหมากด้วยเบี้ยกลางกระดาน



หนังสือแนะนำว่าควรเปิดด้วย e4 (ซ้าย) หรือ d4 (ขวา) จุดแข็งของมันนอกจากจะควบคุมหนึ่งในสี่จัตุรัสกลางกระดานแล้วยังเปิดช่องให้บิชอบหรือควีนออกไปแผลงฤทธิ์ และเป็นที่รู้กันว่าการเปิดหมากด้วย d4 นั้น "แรง" มากครับ คิงถามว่า ถ้าขาวเปิดหมากด้วย d4 และคุณเป็นดำ คุณควรจะรับมือด้วยตัวไหนดี มี 4 ทางให้เลือก

ก. 1... e5, ข. 1... a5, ค. 1... Nc6, ง. 1... d5

ลองมาดูทีละทางเริ่มจาก ก. 1... e5



เดินแบบนี้ขาวก็กิน dxe5

ข. 1... a5



ดำคิดจะเดินเรือมา a6 เหรอ? ฝันไปเถอะ เพราะขาวสามารถป้องกันได้ง่าย ๆ แถมยังควบคุมจัตุรัสกลางได้อีกโดยการเดิน e4 (ถ้าคิดจะเดินเรือดำ ระวังบิชอบขาวให้ดีนะครับ) การเดินเบี้ย a5 จึงดูเหมือนไร้ประโยชน์ในตอนนี้

ค. 1... Nc6



เป็นตาเดินที่เสี่ยงเอาการ เพราะอาจถูกขาวไล่ด้วย d5 ทำให้เสียโอกาสทองไป

ง. 1... d5



เป็นตาเดินที่ดีที่สุดในตัวเลือกทั้งหมด เพราะ เข้าควบคุมจัตุรัสกลางและเปิดทางให้บิชอบหนึ่งตัวได้มีโอกาสออกแผลงฤทธิ์




 

Create Date : 10 ธันวาคม 2551    
Last Update : 27 กันยายน 2552 18:26:54 น.
Counter : 938 Pageviews.  

Fischer's Outrageous Moves

นำแต้มเด็ดของบ็อบบี้ ฟิชเชอร์ มาฝาก 2 แต้มครับ จากหนังสือ Bobby Fischer's Outrageous Chess Moves โดย Bruce Pandolfini รูปแรกเป็นการพบกันระหว่าง Fischer กับ Luis Sanchez (Santiago, 1959) ต่อไปฟิชเชอร์ได้เดิน (สีขาว) นะครับ คุณลองดูแล้วคิดว่าถ้าคุณเป็นฟิชเชอร์คุณจะเดินยังไงก่อนอ่านเฉลยในย่อหน้าถัดไป



ผมว่าเราเห็นได้ไม่ยากว่าสีดำกำลังจะจนถ้าไม่มีบิชอบ b4 ขวางทาง ก็กำจัดมันครับด้วยการเดิน Bd2! ข้อนี้แค่หอมปากหอมคอ ลองดูอีกข้อครับ อันนี้สิเจ๋งจริง เป็นเกมระหว่าง Fischer (ขาว) กับ Joaquim Durao (Havana, 1966 โอลิมปิกครั้งที่ 17) เหมือนเดิมนะ อยากให้คุณลองคิดก่อนค่อยดูความคิดของฟิชเชอร์



เฉลย ฟิชเชอร์เดินม้าไปกินเบี้ย a5 ครับ (omg) น่าทึ่ง ได้เบี้ยฟรีไป 1 ตัวนำไปสู่ชัยชนะปลายกระดาน




 

Create Date : 09 ธันวาคม 2551    
Last Update : 27 กันยายน 2552 18:27:09 น.
Counter : 920 Pageviews.  

Keres-Wilkins (1933)

เกมที่ 2 ที่ใช้เป็นตัวอย่างในบท To enjoy beauty, not to define it ... เป็นฉากจบระหว่าง Keres-Wilkins (Correspondence, 1933) ดังรูป



1. Qxc6+

ถ้าเขาไม่เปิดฉากกินยอมเอาควีนแลกม้าให้เห็น เราก็คงคิดอยู่นานเหมือนกันว่าจะทำไงดีใช่มั้ยครับ ที่เหลือซัดอีก 2 หมัดก็จอด

1. ... b7xc6
2. Nxc7+ Rxc7
3. Rd8+ (mate)

เกมที่ 3 เป็นผลงานของ Horowitz เริ่มแบบนี้



1. Qxg7+ (โหดจริง) Kxg7
2. Bh6+ Kg8

ถึงตรงนี้คุณคงเห็นล่ะ ขาวระดมรุกต่อเนื่อง เดี๋ยวดำก็ตาย เช่น

3. Ne7+ Nxe7
4. Bxf7+ (mate)

แต่ Horowitz สร้างสรรค์กว่านั้นเยอะครับ ป้อนเรือให้กินอีกลำ!

3. Rg6+

โดยไม่ต้องสนใจว่าต่อไปดำจะเดินอะไร

3. ... ...
4. Nf6+ (mate)

แบบนี้ถ้าไม่เรียกว่าสวยก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไร ... ลีลากินขาด




 

Create Date : 08 ธันวาคม 2551    
Last Update : 27 กันยายน 2552 18:27:27 น.
Counter : 762 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.