เนื้อปลากระพง กับ ปลาปักเป้า
วิธีสังเกตเนื้อปลาปักเป้า

การบริโภคเนื้อปลาปักเป้ามีความเสี่ยง เนื่องจากปลาปักเป้าบางชนิดมีพิษร้ายแรง
ทำให้ผู้บริโภคเสียชีวิตได้ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อปลาชนิดนี้
ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีประกาศห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายปลาปักเป้า
และอาหารที่มีปลาปักเป้าเป็นส่วนผสม แต่ยังมีการลักลอบจำหน่ายกันอยู่เนือง ๆ
ดังนั้น บทความนี้จึงเป็นการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อเนื้อปลาแล่ หรือการ
เลือกรับประทานเนื้อปลา

เนื้อปลาปักเป้าเมื่อแล่แล้วจะมีลักษณะเป็นชิ้นหนา สีออกขาวอมชมพู มัดกล้ามเนื้อ
มีขนาดใหญ่มองเห็นได้ชัดเจน ด้านข้างลำตัวเมื่อลอกหนังออกจะมีพังผืดติดอยู่
ดังรูปที่ 1 ซึ่งดูแล้วมีลักษณะคล้ายเนื้อไก่ ทำให้คนส่วนใหญ่เรียกว่าปลาเนื้อไก่



รูปที่ 1
บน คือเนื้อปลาปักเป้าแล่ด้านข้างลำตัว ซึ่งจะยังเห็นมีพังผืดสีขาวติดอยู่
ล่าง คือเนื้อปลาปักเป้าแล่ด้านใน จะเห็นมัดกล้ามขนาดใหญ่

เมื่อเปรียบเทียบเนื้อปลาปักเป้ากับเนื้อปลากะพง พบว่าเนื้อปลากะพงจะมีลักษณะเป็น
ชิ้นที่บางกว่า มัดกล้ามเนื้อมีขนาดเล็กกว่า ทำให้มองเห็นเป็นริ้วถี่ ๆ ดังรูปที่ 2 และ
ด้านข้างลำตัวเมื่อลอกหนังออกจะเห็นกล้ามเนื้อได้อย่างชัดเจน (ไม่มีพังผืดติด) ดังรูป
ที่ 3 ซึ่งเป็นข้อแตกต่างระหว่างเนื้อปลาปักเป้ากับเนื้อปลาชนิดอื่น




รูปที่ 2
บน คือเนื้อปลากะพงแล่ด้านใน มีมัดกล้ามเนื้อขนาดเล็ก มองเห็นเป็นริ้วถี่ ๆ
ล่าง คือเนื้อปลาปักเป้าแล่ด้านใน มีมัดกล้ามเนื้อขนาดใหญ่กว่า




รูปที่ 3
บน คือเนื้อปลากะพงแล่ด้านข้างลำตัว จะเห็นกล้ามเนื้อได้อย่างชัดเจน
ล่าง คือเนื้อปลาปักเป้าแล่ด้านข้างลำตัว ซึ่งจะยังเห็นมีพังผืดสีขาวติดอยู่



ที่มา....
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ
กองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ
กรมประมง



Create Date : 17 มิถุนายน 2554
Last Update : 17 มิถุนายน 2554 18:00:12 น.
Counter : 2732 Pageviews.

1 comment

Big BirZ
Location :
เชียงใหม่  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]