Blog ร้านชำยำ(การ)ตลาด สารพัดเรื่องการตลาด อร่อยย่อยง่ายมาก ไม่เชื่อลองอ่านดูเลยครัชชชช
 
 

EP.09 "รู้หรือป่าวว่า...ทำไมลูกค้าถึงซื้อล่ะครับ???"

วันนี้เอาข้อมูลดีดีมาฝากชาว "ร้านชำยำ(การ)ตลาด" เกี่ยวกับเหตุผลต่างๆว่า 


"ทำไมลูกค้าถึงซื้อล่ะครับ???" 

มาดู 8 ประโยคที่อาจดูสั้นๆ ที่มีความหมายย๊าวยาวกันครับ...

1) ปัจจัยหลักที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ คือ "คุณภาพของผลิตภัณฑ์คุณ" คิดเป็น 56% ครับ เรื่องคุณภาพยังมาเป็นที่หนึ่งนะครับ อย่ามองข้ามไปโดยเด็ดขาด

2) การเปรียบเทียบราคาสินค้าของห้างสรรพสินค้าคู่แข่งเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อของในห้างของคุณได้ถึง 80%

3) เวลาจะซื้อสินค้าที่มีมูลค่ามากๆ หรือราคาสูงๆ นักช้อปที่แอบเล็งของไว้ในใจ กลุ่มนี้จะแอบไปเช็คราคา หรือดูสินค้าจากห้างสรรพสินค้าก่อน แล้วคดีพลิกหันมาแอบซื้อบนออนไลน์ถึง 62%

4) สินค้าแนวเทคโนโลยี ถ้าอยากให้คนซื้อสินค้า ควรจะทำวิดีโอแนะนำไว้นะครับ เพราะคนดู 9 ใน 10 คน บอกว่าถ้าได้ดูแล้วอาจจะจ่ายเงินให้คุณได้

5) 54% ของเหล่านักช้อปเป็นเจ้าของ smartphone และ 76% ของเจ้าของ smartphone กลุ่มก่อนหน้าเมื่อกี้ก็ใช้มือถือในการช้อปปิ้งครับ

6) รู้หรือเปล่าว่าการโพสข้อความของเพื่อนเรามีผลต่อการซื้อโดยตรงของคุณ 81% นะครับ

7) ต่อจากข้อเมื่อสักครู่นี้ การโพสของเพื่อนคุณเกี่ยวกับเหล่าโปรโมชั่นของยี่ห้อต่างๆ มีผลทำให้คุณตอบสนองถึง 30% เลยทีเดียว

8) การทำเนื้อหาพร้อมรูปภาพ สามารถสร้างความผูกพันธ์กับแบรนด์ของคุณได้ 44% ตามมาด้วยการทำเนื้อหาพร้อมวีดีโอ สร้างได้ 40% ครับ



ขอบคุณที่มาจาก //blog.hubspot.com/marketing/why-people-buy-factors-influence-purchase-descision และรูปภาพประกอบจาก Google ครับ




 

Create Date : 05 ตุลาคม 2558   
Last Update : 13 ตุลาคม 2558 8:20:06 น.   
Counter : 842 Pageviews.  


EP.07 "การตลาดแบบ อบต. ตอน 3 ต.ตาม"

มาถึงตอนสุดท้ายของแนวการตลาด "อบต." ตัวอักษรตัวสุดท้ายคือ ต.เต่า ที่ย่อมาจาก ต.ตาม  จริงๆย่อมาจากคำว่า ติดตาม หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Follow นั่นเองครับ ในความคิดหลายๆคนคงมีสิ่งเหล่านี้อยู่ "ว่าแต่ในทางการตลาดเราตามอะไรกันดี ตามแนวไหน เราเคยตามอะไรด้วยหรอ ไม่จริงมั้ง เราอ่ะนะติดตาม บ้าไปแล้วไม่เคยตามแน่ๆ" คำตอบที่วนเนียนอยู่ในหัวคุณเมื่อกี้ คือ "ใช่" ครับ พวกเรากำลังติดตามอะไรบางอย่างอยู่เสมอ โดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว เขียนแบบนี้ยิ่งปวดกะบาลกันต่อไป มามามาผมจะไขข้องใจให้เองครับ




ลองคิดถึงเหตุการณ์นี้ดูครับ "วันนี้คุณเดินซื้อของมาทำอาหารในตลาดสดอยู่ดีดี ก็หันทางซ้ายไปเจอะเจอแผงหนังสือของคุณป้าที่คุ้นเคยแถวนั้น เหลือบสายตาบนที ล่างที ซ้ายที ขวาที ไปดันเห็นหนังสือละครเรื่อง "ทรายสีเพลิง" ในใจคุณคิดขึ้นมาว่า ละครเรื่องนี้กำลังดูอยู่ทางทีวีเมื่อคืนนี้เลย ตอนต่อไปพระเอกจะทำอย่างไรต่อกับปมเรื่องความไม่เข้าใจกันกับนางเอกอ่ะ แล้วบทสรุปตอนจบจะเป็นไงนะ เอ๊ะ! เอาไงดี ซื้อดีมั้ย? ถ้าอ่านก่อนก็จะไม่สนุกซิ เด๋วเราจะเป็นคนดูที่เดาได้หมด ผู้จัดละครอุตส่าห์ทำละครมาแกล้งทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ดีกว่า แต่เดี๋ยวก่อนนะ ถ้าไม่รู้อะไรเลย จะไม่มีอะไรเม้าท์มอยกับพี่ๆที่ทำงานพรุ่งนี้ งั้นซื้อไปลองอ่านดูก่อนแล้วกัน ทันใดนั้นกรอกตาไปอีกด้านหนึ่งไปเห็นนิตยสารที่มีดาราที่คุณชื่นชอบขึ้นปก ซื้อไปดูหน่อยแล้วกัน เพื่ออัพเดทข้อมูลต่างๆ ว่าตอนนี้ชุดอะไรกกำลังฮิต แต่งหน้ายังไงดี และดวงชะตาของเราเดือนนี้ด้วย" สุดท้ายคุณก็ไม่ได้อาหารอะไรกลับบ้าน นอกจากหนังสือสองเล่มเมื่อตะกี้ที่เล่าให้ฟังไป...

นั่นไงล่ะครับ คุณตามละครและดาราโดยปริยายไปแล้ว นอกจากนี้อิทธิพลของเหล่าคนดังก็ทำให้คนที่เป็นแฟนคลับตัวจริง แฟนพันธุ์แท้ หรือคนดูทั่วไปก็กด Follow เพื่อติดตามกัน คำถามที่น่ามองก็คือ เราติดตามคนเหล่านี้เพื่ออะไรกันบ้าง ผมได้ลองจัดกลุ่มการติดตามขึ้นมา เพื่อมาชี้เป้าแนวการตลาดเท่านั้นนะครับ มุมอื่นไม่ได้มองเจาะลง

อันแรกเลย เพราะคนเหล่านี้เป็นตัวแทน หรือพรีเซ็นเตอร์ของผลลิตภัณฑ์ต่างๆ ถือเป็นการลงโฆษณาโดยตรงเลย สมมติฐานว่ามีคนตามแสนคนก็เหมือนมีคนเห็นแสนคนทันที

อันต่อมา เพราะเราอยากเป็นดารา อันนี้ดูงงๆใช่มั้ยครับ ผมจะอธิบายเพิ่มเติมให้ ดาราไปเที่ยว ดารากินอะไร ดาราถ่ายรูปมุมไหน เราก็อยากไปบ้าง เสมือนเป็นดาราหรือ Celeb สักวันบ้าง จะได้เอาไปบกกล่าวกับคนรอบตัว ว่าฉันไปร้านเดียวกับพระเอกคนนี้มาเลยนะ นี่ๆร้านนี้นางเอกคนนั้นมากินแล้ว เห็นมั้ยเมนูเดียวกันเลย

อันสุดท้าย เราตามเพราะข้อมูลข่าวสารต่างๆ บางทีอัพเดทข่าวได้โดยไม่รู้ตัวจากการติดตาม หรือเราอาจจะได้คำคมบาดจิตจากไอจี หรือทวิตเตอร์เหล่า Celeb บ้างด้วย แล้วเราก็เอามาโพสต่อ หรือแชร์ต่อๆกันไป

นี่คือ 3 เหตุผลคร่าวๆที่ผมอยากยกมาให้ดูมุมมองที่ถ้านักการตลาดเห็นอาจจะนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของคุณได้ หรือคุณอาจสร้างหนึ่งคน หรือหนึ่งตัวละคร หรือแม้แต่การ์ตูน เพื่อให้วันหนึ่งอาจกลายเป็น Celeb ของผลิตภัณฑ์คุณที่มาตอบโจทย์ เรื่องการโฆษณาประชาสัมพันธ์ก็เป็นได้

เดินทางมาถึงตอนที่ 3 ของ แนวกลยุทธ์แบบ อบต. กันแล้ว หลายคนเดาว่าจบแล้วแน่ๆ ผมจะบอกว่ายังไม่จบครับ ตอนจบจะหักมุมยิ่งกว่าเดิมแน่นอน ครั้งหน้ามาตามต่อว่า อบต. จะ transformer กลายเป็นอะไรต่อไปนะครับ

ชอบหรือไม่ชอบกันอย่างไร แนะนำเข้ามาได้นะครับที่ marketingchachacha@gmail.com ครับ
ผมรอรับฟังทุกความคิดเห็นอันมีค่าจากทุกๆคนอยู่ครับ และขอบคุณภาพจาก Google ด้วยครับ




 

Create Date : 04 ตุลาคม 2558   
Last Update : 7 ตุลาคม 2558 12:29:30 น.   
Counter : 710 Pageviews.  


EP.06 "การตลาดแบบ อบต. ตอน 2 มาแว้วจ้า"

วันนี้มาต่อตอน 2 ของแนวการตลาด แบบ "อบต." ที่ย่อมาจาก "อ่าน บอก ตาม" เรามาลุยกันต่อกับ บ.บอก เลยดีกว่าครับ ชาว Bloggang เคยได้ยินวลีนี้มั้ยครับ "ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียตังค์" คหสต. (ความเห็นส่วนตัว) วลีนี้จริงมากกับการตลาดในช่วงเวลานี้ เพราะเราเป็นกระบอกเสียงให้กับเหล่ายี่ห้อต่างๆ โดยไม่รู้ตัวครับ


แต่ที่ว่าบอกเนี่ยบอกแบบไหน บอกยังไง ลองมาดูจากตัวเราเองครับ จาก อบต. เมื่อวาน พอเรา อ.อ่าน เห็นอะไรน่าสนใจ น่าจะแบ่งปันได้ เราก็จะ Share ต่อถูกมั้ยครับ ไม่ว่าจะ Share จากเฟซบุค ไอจี ทวิตเตอร์ หรือแม้แต่เว็บไซด์ต่างๆ เราก็เอามาอยู่ใน Status ต่างๆ ของเรา อันนี้ก็ถือว่าเป็นการ บ.บอก แนวหนึ่ง



แต่อีกแนวหนึ่งที่ บ.บอก อยากให้ลองมองก็คือ การบอกต่อในความประทับใจจากสินค้าหรือบริการนั้นๆ หรือในทางกลับกันอะไรที่ไม่พอใจเราก็เอามาเล่าสู่กันฟังด้วย ซึ่งแบบหลังเนี่ย ผมว่าตอนนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ฉะนั้นผมถึงบอกว่า "ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียตังค์" การบอกของเราถ้าบอกในหมู่เพื่อนกันเอง ดูเหมือนอาจจะไม่มีผลอะไรใช่มั้ยครับ แต่เมื่อเพื่อนของเราไปบอกเพื่อนของเขาต่อ และเพื่อนของเราที่ได้ไปบอกเพื่อนของเขาไปเล่ากับเพื่อนของเขาของเขาอีกทีหนึ่ง (คนเขียนก็งงเองแล้วมาหลาย Step เหลือเกิน) แบบนี้กระจายเสียงไปทั่วหมู่พนาไพรเลยทีเดียวครับ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นไปลงในสื่อสาธารณะ สมัยก่อนต้องเรียกออกสื่อ แต่เดี๋ยวนี้เรียกลงสื่อสาธารณะน่าจะถูกกว่า เพราะว่าสมัยนี้กระแสต่างๆบนโลกออนไลน์น่ากังวลมากขึ้นสำหรับนักการตลาด ทุกอย่างไหลออกไปแบบพรวดพราดทันทีเมื่อกดคำว่า "ยืนยัน" หรือ "ส่ง" หรือ "โพส" เท่านั้นแหละครับ ดังนั้นหลายๆองค์กรจึงพยายามเข้ามาดูแลเอาใจใส่เรื่องนี้มากยิ่งขึ้น ผมว่าอันนี้ดี แต่ยังไม่ได้ดีที่สุด เพราะการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือแก้จุดที่ผู้เข้ามาใช้บริการของคุณเจอปัญหาอยู่ หรือลูกค้ามีความไม่พอใจบางอย่างอยู่ นั่นแหละคือสาเหตุหลักๆที่คุณไม่ควรมองข้าม ถ้าคุณแก้ปัญหาทุกอย่างได้หมดจริงๆ ลูกค้าจะไม่มีความคิดในใจว่า "งั้นเราไปโพสลงเฟซบุคดีกว่า" หรือแบบนี้ "เอาไปเล่าใน Pantip แล้วกัน"

จุดตั้งต้นของปัญหา คือ การแก้ปัญหาได้ไม่ดีพอ ผมไม่ได้บอกว่าคุณต้องแก้ทุกปัญหาให้ได้หมด แน่นอนครับบนโลกนี้มีเรื่องให้เรียนรู้อีกเยอะ แต่ถ้าเป็นความผิดขององค์กรคุณเอง คุณควรยอมรับผิดเสียก่อน ไม่ใช่โทษพยากรณ์อากาศ โทษแสงแดดอันร้อนแรง หรือโทษอะไรก็ไม่รู้ไปเรื่อยๆ หันมามองจุดที่ลูกค้ากำลังประสบอยู่ ผมยังเชื่ออยู่ว่าถ้าไม่เดือนร้อนจริงๆ ลูกค้าไม่ติดต่อกลับมาหาคุณแน่นอนครับ 

พรุ่งนี้เรามาตามกันต่อกับกลยุทธ์สุดท้ายของการตลาดยุคนี้ที่เกิดขึ้นจริงกับ "อบต." ส่วนของ ต.ตาม กันนะครับ ใครมีความคิดเห็นอย่างไรมาแบ่งปันประสบการณ์กันได้นะครับ ขอบคุณครับผม




 

Create Date : 04 ตุลาคม 2558   
Last Update : 6 ตุลาคม 2558 13:03:37 น.   
Counter : 1471 Pageviews.  


EP.05 การตลาดแบบ อบต.

วันนี้มาเล่าเรื่องแนวการตลาด แบบ "อบต." ที่ย่อมาจากองค์การบริหารส่วนตำบล เอิ่ม ไม่ใช่ครับ

การตลาดแบบ อบต. ในเนื้อหาตอนนี้ ย่อมาจาก "อ่าน บอก ตาม" ต่างหากครับ ผมเดาว่าคุณผู้อ่านคิดในใจว่า ยิ่งเขียนยิ่งงงกว่าเดิมอีก รูปแบบ อบต. ที่ผมบอกไป ผมว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับลักษณะการตลาดในปัจจุบันอ่ะครับ ลองดูกันครับว่า เราแอบทำตามกลยุทธ์ อบต. อยู่กันบ้างหรือเปล่าครับ

อ.อ่าน ยุคนี้ผมว่าคนไทยอ่านเยอะขึ้นนะครับ แต่การอ่านสมัยนี้น่าสังเกตว่าเราชอบอ่านสิ่งที่ถูกย่อยมาให้แล้ว ไม่ใช่ต้นฉบับแบบตั้งแต่แรก สรุปว่าต้องมีคนมาย่อยให้ สรุปให้ ถอดใจความสำคัญมาให้ ดังนั้นสรุปแนวการอ่านของยุคนี้ต้องไม่ยาว และได้ใจความ ประมาณว่าอ่านรอบเดียวอยู่!!!

แล้วเนื้อหาแบบไหนที่คนยุดดิจิตอลสนใจ หรือชอบหละ???

อย่างที่บอกไปด้านบนแล้ว เดี่ยวนี้ขอสั้นๆ ง่ายๆ กวาดสายตาอ่านปร๊าดดดดดเดียวเข้าใจทันที ผมจะลองยอกตัวอย่างหนึ่งให้เห็นภาพกันมากขึ้น ทุกคนน่าจะเคยดูทีวีที่มีรายการข่าวใช่มั้ยครับ ย้อนกลับไปสัก 10 ปีที่แล้ว รายการโทรทัศน์ประเภทรายการข่าว สมัยก่อนจะมีผู้ชายกับผู้หญิงคู่หนึ่งมานั่งหน้ากล้องที่เรียกว่า "ผู้ประกาศข่าว" แล้วก็อ่านข่าวตามสคริปกระดาษสีขาวที่วางอยู่บนโต๊ะแบบทุกตัวอักษร ไม่มีการอ่านแบบนอกลู่หลุดออกมาสักตัวอักษร



แล้วตอนนี้ล่ะครับ คนละเรื่องกันเลย กลายเป็นการเล่าข่าว ไม่ใช่อ่านข่าวให้คนดูฟัง คนที่เคยทำหน้าที่ผู้ประกาศข่าว ก็เปลี่ยนไปเป็นคนเล่าข่าว คนวิเคราะห์ข่าว หรือพิธีกรข่าว คนกลุ่มนี้หน้าที่เปลี่ยนไปแล้ว ต้องอ่านข่าวมาก่อนให้เข้าใจ และเล่าให้เราฟังอีกทีแบบเข้าใจง่ายๆ หรือภาษาที่ตรงกับผู้ฟังมากขึ้น พร้อมกับการวิเคราะห์วิจารณ์เพื่อเพิ่มสีสันให้รายการมากขึ้น ผมคงจบการแนะนำรายการเล่าข่าวไว้เท่านี้ก่อน ไม่งั้นจะกลายเป็นการเจาะลึกรายการโทรทัศน์แทนเรื่อง อบต. แล้ว

เห็นมั้ยครับว่าการบริโภคข้อมูลข่าวสารยุคนี้เปลี่ยนไปแล้ว ลองดูรอบตัวคุณดูครับว่าเราอ่านข้อมูล หรือข่าวสาร หรือประกาศในออฟฟิตคุณ หรือแม้แต่โฆษณาต่างๆตามป้ายบิลบอร์ด หรือบนรถสาธารณะ ทุกอย่างจะมีสองอย่างเหมือนกัน คือ คำสั้นๆที่อ่านแล้วพอเข้าใจระดับหนึ่ง (ถ้าคุณสนใจคุณจะจำเอาไว้แล้วเเอบไปหาเพิ่มเติมใน Google หรือตามเว็บไซด์ที่ได้บอกไว้) และรูปภาพที่ดูง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปสินค้า รูปการ์ตูน รูปตัวละคร รวมไปถึงรูปกราฟ ตารางต่างๆ ก็มีการจัดระเบียบใหม่ที่เราเรียกกันว่า infographic นั่นเอง

เอาล่ะครับ ผมอธิบายให้คุณเข้าใจกลยุทธ์ทางการตลาดแบบ อบต. โดยเริ่มจาก "อ.อ่าน" ที่เปลี่ยนไปแล้ว พรุ่งนี้เราจะมาต่อเรื่องราวของ กลยุทธ์การตลาดแบบ อบต. กับ "บ.บอก" กันต่อนะครับ

ชอบหรือไม่ชอบกันยังไง แนะนำหรือคอมเม้นต์กันมาได้นะครับ ขอบคุณครับ #ร้านชำยำ(การ)ตลาด




 

Create Date : 04 ตุลาคม 2558   
Last Update : 18 มกราคม 2559 8:37:02 น.   
Counter : 838 Pageviews.  


EP.04 แค่วิธีเลี้ยงปลาจานแดงบอกมุมการตลาดได้

เมื่อเช้าที่ผ่านมาผมได้ดูรายการ Begin Japanology (ตอนรีรัน) ของทาง Voice TV เกี่ยวกับเรื่องของปลาจานแดง หลายคนคงสงสัยว่าปลาจานแดงเป็นยังไง (ลองดูตามรูปได้เลย) ปลาชนิดนี้เป็นปลาแห่งความโชคดี ที่เป็นมงคลของและมีความสำคัญกับวัฒนธรรมและอาหารญี่ปุ่นมากมายครับ แต่ผมไม่ได้เชิญชวนไปเที่ยวญี่ปุ่น หรือไปหาปลาจานแดงกินกันยามเช้าวันนี้นะครับ ใจเย็นๆกันก่อนนะคร้าบ

มาลองอ่านบทสัมภาษณ์ของชาวประมงท่านหนึ่งเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาจานแดงกัน "ผมเลี้ยงปลาจานแดงในทะเลโดยแยกเป็นกระชังต่างๆตามขนาด ตัวไหนโตขึ้นก็ย้ายไปกระชังอีกอันหนึ่ง ส่วนอาหารก็แบ่งเป็น 8 แบบ ตามขนาดและปริมาณของอาหารที่เหมาะกับปลานจานแดงตัวนั้นๆ" 

การแบ่งอาหารปลาของชาวประมงคนนี้ ถ้าดูผ่านๆก็เป็นแบบเดียวกัน แต่ต่างแค่ขนาด 8 แบบที่เหมาะกับการเลี้ยงดูปลาจานแดงในกระชังนั้นๆ 



ให้เปรียบแบบการตลาดก็คือ การดูแลลูกค้า หรือการติดต่อสื่อสารตามกลุ่มลุกค้าตามที่ลูกค้าสนใจ บางทีการดูแลลูกค้าแบบเดียวกันทั้งทุกกลุ่มเลย อาจได้ความมาตราฐานที่คุณควบคุมได้ทั้งหมด ซึ่งสิ่งนี้ดีแล้วครับ แต่ลองหันมามองต่อยอดกัน โดยทำเลือกกับบางกลุ่มที่คุณสนใจเป็นพิเศษก็ได้ครับ เพราะลูกค้าอาจจะได้รับการบริการที่ตรงใจใช่เลยเพิ่มขึ้น หรือเหมาะกับพฤติกรรมกับกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น เสมือนว่าเรารู้ใจกลุ่มเป้าหมาย

ถ้าคุณอยากจะคอนโดสักแห่งกับกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คือ พนักงานออฟฟิต กับกลุ่มครอบครัว ข้อความที่อยากจะสื่อสาร หรือรูปภาพต่างๆ คงใช้ข้อความเดียวกันน่าจะตอบโจทย์ได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้ากลับมุมลองแบ่งข้อความที่จะสื่อกับพนักงานออฟฟิต เช่น "คุณเบื่อปัญหารถติดหรือเปล่า?" แต่ถ้าเป็นกลุ่มครอบครัว อาจจะเขียนเป็น "ครอบครัวอยู่กับอย่างมีความสุขกับบ้านแห่งความสุขของทุกคน" อันนี้ผมลองยกเป็นตัวอย่างให้ 



คราวนี้ถึงหน้าที่คุณๆแล้วครับ ว่าคุณได้แบ่งกลุ่มเป้าหมายไว้แล้ว ลองแตกแขนงแบ่งออกมาเพิ่ม มาเจาะเกราะติดดูว่ากลุ่มเป้าหมายนี้ชอบอะไร มีงานอดิเรกยังไง หรือเรื่องที่กลุ่มนี้กำลังสนใจอยู่

เล็กๆน้อยๆในมุมที่เปลี่ยนไป อาจกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าเกิดรอยยิ้ม หรือประทับใจมากขึ้น แล้วแปรเปลี่ยนเป็นลูกค้าของคุณได้นะครับ

ขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจากรายการ Begin Japanology ช่อง Voice TV ครับ




 

Create Date : 03 ตุลาคม 2558   
Last Update : 18 มกราคม 2559 8:33:47 น.   
Counter : 2339 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  

สมาชิกหมายเลข 2684335
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีครับ!!! ขอต้อนรับเข้าสู่ ร้านชำยำตลาด blog เกี่ยวกับการตลาดที่คุณหรือใครๆก็อ่านเข้าใจได้ไม่ยาก มีคำติคำชมอย่างไร ส่งมาบอกกันได้นะ เพราะทุกความคิดเห็นของคุณมีค่าสำหรับเราเสมอครับ
[Add สมาชิกหมายเลข 2684335's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com