Group Blog
 
All Blogs
 

Art Of Story "บทหนังที่ดี ไม่มีวันเกิดจากเรื่องที่เลว"

เรื่องดีๆหายไปไหน

คุณเคยสังเกตตัวเองมั้ยว่า แต่ละวันคุณหมดเวลาไปกับการพลิกหนังสือพิมพ์กลับไปกลับมาเพื่อหาอะไรอ่าน , เดินวนเวียนอยู่ในร้านวิดีโอหรือดีวีดีเพื่อหาหนังเช่า , กดรีโมตทีวีครั้งแล้วครั้งเล่าเพราะไม่รู้จะดูช่องไหน , กองหนังสือทิ้งไว้เต็มบ้านโดยอ่านแค่เล่มล่ะนิดล่ะหน่อย หรือ ต้องอ้ำอึ้งหลายนาทีกว่าจะตอบเพื่อนได้ว่าหนังที่คุณเพิ่งไปดูมาเป็นยังไง โดยหากไม่ใช่เพราะคุณเผลอหลับไปซะตั้งแต่หนังยังไม่ถึงครึ่งเรื่อง ก็เพราะคุณไม่รู้จะพูดอะไรได้มากกว่า "เออ....หนังถ่ายภาพสวยดีนะ"
สิ่งใดที่คุณกำลังมองหา?อะไรที่ขาดหายไปในสื่อเหล่านี้จนไม่มีเสน่ห์พอจะจับความสนใจของคุณไว้ได้อยู่หมัด?
เรื่องที่ดีไงล่ะ!
ไม่...เราไม่ได้กำลังหมายถึงเรื่องที่ 'ดี' เพราะลึกซึ้ง , เข้าใจยาก , เซอร์แตก , สร้างสรรค์สังคม , ยกระดับจิตใจ ฯลฯ เรื่องดีอย่างนั้นไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องดีอย่างที่เราจะพูดถึง!
เขาว่ากันว่า นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ฮอลลีวู้ดทุ่มเงินไปกับกระบวนการพัฒนาบทหนังที่ปีละ 500 ล้านดอลล่าร์ โดย 3 ใน 4 ของจำนวนนั้นหมดไปกับจ้างคนมาเขียนหรือมาเกลาบทหนังซึ่งในที่สุดก็ไม่ได้สร้าง แต่ถึงจะลุงทุนปานนั้นก็ไม่ได้ช่วยให้ฮอลลีวู้ดมีหรือดีๆ หรือไอเดียใหม่ๆกันได้ตลอดเวลา ข้อเท็จจริงซึ่งปฏิเสธไม่ได้มีอยู่ว่า หนังฮอลลีวู้ดที่เราดูกันแต่ละปีนั้น กว่าครึ่งเป็นพวกหยิบยืมไอเดียเด็ดๆเก่าๆของ 2-3ปีก่อนหน้านั้นมาหากินทั้งสิ้น!
อาการขาดแคลน "เรื่องที่ดี" ไม่ได้เกิดเฉพาะในอเมริกา แต่ยังระบาดหนักไปทั่วยุโรปซึ่งรับอิทธิพลจากหนังฮอลลีวู้ดไปเต็มๆ อยู่ในนาทีนี้ อย่างไรก็ตาม ที่น่าสนใจก็คือ หนังเอเชียกลับกำลังเป็นที่จับตามองขึ้นทุกที ด้วยเหตุผลที่นักวิจารณ์หลายคนกล่าวว่า คนทำหนังเอเชียเล่าเรื่องได้ยอดเยี่ยม พวกเขาเป็นศิลปินที่ทั้งใส่ชีวิตและวิญญาณลงไปในเรื่องที่เขาเล่า และมีความสามารถในการเล่ามันได้อย่างงดงามด้วย
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะชาติไหนในโลกนี้ที่ทำหนังเป็นล่ำเป็นสัน การขาดมือเขียนบทที่ดีเป็นปัญหาที่ต่างผจญกันอยู่ถ้วนหน้า มันอาจเกิดขึ้นจากเหตุผลหลากหลายแต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดตามความคิดของ โรเบิร์ต แม็กคี อาจารย์สอนเขียนบทชื่อก้องชาวอเมริกันก็คือ "คนรุ่นใหม่วิ่งเข้าใส่งานบทนั้นอย่างรีบร้อน โดยไม่ทันหยุดคิดว่า ตัวเองเรียนรู้ศิลปะของมันหรือยัง"
เปรียบเทียบกับนักดนตรี..จะพอใจมั้ยถ้าใครสักคนคิดแค่ว่า "ฉันฟังเพลงมาเยอะ...เล่นกีต้าร์ได้นิดหน่อย...งั้นเสาร์อาทิตย์นี้ลองแต่งเพลงเลยดีกว่า!"แม็กคีคิดว่าไม่ ... จะดีกว่ามั้ยถ้าคนคนเดียวกันนั้นใจเย็นลงอีกนิด ไปหาคอร์สเรียนดนตรีทั้งด้านทฤษฏีและปฏิบัติ มุ่งมั่นใส่ใจกับแนวเพลงต่างๆ เพาะบ่มร่วมกับเราฟังงานของคนอื่นอย่างตั้งอกตั้งใจ ใช้เวลาผสมผสานกับความรู้ที่ได้มาเข้ากับความชอบ แล้วท้ายที่สุดจึงเติมความกล้าหาญในอันที่จะลุกขึ้นมาสร้างสรรค์ผลงานเป็นของตนเอง
เช่นเดียวกัน แค่เหตุผลว่า " ชีวิตฉันผ่านอะไรมาแยะ ฉันดูหนังมาเยอะ ดูหมดทั้งหนังดีหนังห่วย ทักษะด้านภาษาก็พอใช้ได้" อาจไม่พอสำหรับการตัดสินว่า "งั้นเขียนบทหนังเลยเหอะ!" เพราะประสบการณ์ไม่ได้มีประโยชน์มากถึงขั้นที่จะทำให้เรารู้ทะลุปรุโปร่งว่า เราอยากจะ 'พูดอะไร' และ 'พูดอย่างไร' ในบทหนัง โดยเฉพาะหากเราไม่ได้เป็นคนที่วึมลึกและตกผลึกทางความคิดกับประสบการณ์เหล่านั้นอย่างแท้จริง
แล้วอะไรจะเกิดขึ้นกับคนเขียนยทที่มีแค่ประสบการณ์ส่วนตัวเป็นวัตถุดิบ แต่ไม่เคยผ่านการเรียนรู้ทางศิลปะการเขียนบทเลย? ผลที่เห็นกันชัดๆที่สุด (และเห็นอยู่บ่อยๆด้วย) ก็คือ เขาจะจดจำสารพัดเทคนิคจากนิยายที่เค้าเคยอ่าน , หนังที่เค้าเคยดู , หรือ ละครที่เค้าชื่นชอบ มาเป็นคลังแสงในสมอง และเมื่อนั่งลงเขียนบท เขาก็จะขุดค้นมันขึ้นมาเป็นแม่แบบทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว บางครั้งเค้าอาจสวมวิญญาณ 'ก๊อปแหลก' ด้วยความคิดว่าอยากให้หนังของเค้าเป็นเหมือนหนังเรื่องนั้นเรื่องนี้ หรืออีกบางทีเขาอาจ 'แหกคอก' ด้วยเจตนาจะให้หนังหนังในมือต่างจากหนังที่เค้าเกลียดสุดชีวิต
แต่ไม่ว่าจะทางไหน....ผลสุดท้ายเค้าก็จะได้หนังตลาดดาดๆหรือไม่ก็หนังอาร์ตซ้ำซากออกมาเรื่องหนึ่ง!




 

Create Date : 09 เมษายน 2548    
Last Update : 9 เมษายน 2548 20:28:56 น.
Counter : 362 Pageviews.  


ลูกบ้าเที่ยวสุดท้าย
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ลูกบ้าเที่ยวสุดท้าย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.