Weblog ของ Yanut
Group Blog
 
All Blogs
 
SEABISCUIT

SEABISCUIT


We don't throw a whole life away just 'cause it's banged up a little bit.
เราคงไม่ทิ้งชีวิตทั้งชีวิต เพียงเพราะมันบาดเจ็บนิดหน่อยหรอกนะ



Seabiscuit (May 23, 1933 - May 17, 1947) ม้าแข่งพันธุ์ Thoroughbred ที่เป็นฮีโร่ในดวงใจตลอดกาลของคนอเมริกัน ที่ชีวิตเริ่มแรกไม่สู้จะดีนัก แต่ในที่สุดก็มาเป็นแชมเปี้ยนอย่างไม่น่าเป็นไปได้ และ Seabiscuit ก็กลับกลายเป็นสัญลักษณ์ของความหวังให้กับผู้คนอเมริกันมากมายในภาวะยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำที่สุดในโลก (คศ.1929-1930)



Seabiscuit เป็นม้าสีน้ำตาลแดง ขนหาง ผงคอ แข้ง สีดำ (Bay) เป็นลูกชายของแม่ชื่อ Swing on และ พ่อ Hard Tack (ลูกของ Man o’ War) ชื่อ Seabiscuit นั้นตั้งให้สอดคล้องกับชื่อพ่อ คำว่า Seabiscuit (or sea braed) เป็นชื่อของขนมปังกรอบที่กะลาสีใช้กินบนเรือและพวกเขาเรียกขนมปังกรอบนี้ว่า Hard tack. มันเริ่มต้นชีวิตที่ Claiborne Farm ซึ่งตั้งอยู่นอกเมือง Paris, Kentucky, USA มันเป็นม้าตัวเล็ก มีขนาดไม่ได้มาตรฐาน มีตำหนิที่หัวเข่า มีความสุขกับการได้กินมากๆและนอนทั้งวัน ถึงผู้ฝึกบางคนจะมองเห็นศักยภาพบางอย่างในตัวมัน แต่เขาก็ยังรู้สึกว่าม้าตัวนี้มันขี้เกียจ กินจุ ดื้อ และพยศเกินไป ชีวิตการแข่งขันของมันในช่วงแรกๆจึงไม่สวยงามนัก Seabiscuitถูกขายทอดเป็นช่วงๆต่อมาหลายหลายครั้ง แทบจะไม่มีใครอยากได้มันนอกจากจะเอาไว้เป็นม้ารอง เพื่อฝึกให้มัน"แพ้" ให้ม้าตัวอื่นในคอกได้คุ้นชินกับชัยชนะ จนมันมีปมในใจเสมอว่า มันเกิดมาเพื่อ "แพ้"



แล้ววันหนึ่งโชคชะตาก็พาชีวิตที่แทบไม่มีความหวัง 4 ชีวิตมาพบกัน Charles Howard อดีตช่างซ่อมรถ ที่ผันตัวเองจนกลายเป็นคนร่ำรวยด้วยธุรกิจขายรถยนต์ แต่มีบาดแผลในชีวิตจากการสูญเสียลูกชายไปจากการขับรถตกเหว และภรรยาก็ทิ้งเขาไปเพราะโทษว่าเป็นความผิดของเขา Howard มีความสนใจจะเปิดคอกม้า เขาไปสะดุดตากับผู้ฝึกม้ารักสันโดษที่ไม่เคยสุงสิงกับใครชื่อ Tom Smith ซึ่งรับปากว่าจะหาทั้งม้าและคนขี่ให้เขา เขาได้ซื้อ Seabiscuit ม้าที่ไม่มีใครต้องการมา ขณะเดียวกันก็พบกับ Red Pollard จ๊อกกี้ตกอับไร้บ้านที่สูญเสียตาข้างหนึ่งจากการชกมวย แต่วิธีที่ Red สื่อสารกับม้าก็ทำให้เขารู้ว่าน่าจะจับคู่กับ Seabiscuit ได้


Seabiscuit กับ Charles Howard และ Tom Smith



Seabiscuit กับ Red Pollard


จากการฝึกฝน Seabiscuit เริ่มประสบความสำเร็จในการเข้าสนามแข่ง มันแข่งชนะและทำเงินรางวัลมากมาย จนถึง กุมภาพันธ์ คศ.1938 ขณะที่มันอายุได้ 5 ขวบ Pollard จ๊อกกี้ของมันก็ประสบอุบัติเหตุจากการขี่ม้าตัวอื่นทำให้ซี่โครงและขาหัก Howard ซึ่งเป็นเจ้าของจึงได้ให้ George Woolf เป็นคนขี่มันแทน ในปี คศ.1937-1938 นั้น สื่อมวลชนกำลังจับตามองม้าแข่งดาวรุ่งพุ่งแรงตัวหนึ่งชื่อ War Admiral ซึ่งเป็นลูกของ Man o’ War (ปู่ของ Seabiscuit) ม้า War Admiral เป็นม้าเชื้อสายดี รูปร่าง และสถิติดีไม่มีที่ติ ม้าทั้ง 2 ตัวนี้ถูกวางตัวจับคู่เดิมพันกันหลายครั้ง แต่ก็ต้องมีเหตุให้ตัวใดตัวหนึ่งถอนตัวเสียก่อน ในเดือนมิถุนายน 1938 Pollard ซึ่งหายดีแล้วและกลับมาขี่ม้าตัวใหม่ ก็ประสบอุบัติเหตุอีกครั้งคราวนี้ทำให้กระดูกขาของเขาแตกละเอียด และดูเหมือนว่าเขาจะต้องจบสิ้นอาชีพจ๊อกกี้ทันที ในปีนั้น Seabiscuit ยังได้ชนะรางวัลอีกหลายรายการ ชนะม้าอีกหลายตัว แต่ยังไม่เคยได้แข่งกับ War Admiral เสียที และแล้วการแข่งขันครั้งประวัติศาสตร์ก็มาถึง วันที่ 1 Nov,1938 Seabisciut ก็ได้แข่งกับ War admiral จนได้ ที่สนาม Pimlico Race Course ในวันนั้นมีคนดูในสนามถึง 40,000 คน และคนอีก 40 ล้านคนคอยฟังการถ่ายทอดสดทางวิทยุ ผลการแข่งขันปรากฏว่า Seabiscuit เข้าเส้นชัยชนะไป 4 ช่วงตัว ชัยชนะในครั้งนั้นทำให้ Seabiscuit ได้รับรางวัลเกียรติยศว่าเป็น "Horse of the Year" for 1938


Seabiscuit กับ War Admiral



ในเวลาต่อมาระหว่างการแข่งขัน Seabiscuit ได้รับบาดเจ็บที่ขาหน้า ซึ่งไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตแต่ก็อาจทำให้มันไม่สามารถลงแข่งได้อีกเลย มันและ Pollard อดีตจ๊อกกี้ของมันได้พักฟื้นอยู่ด้วยกันที่ไร่ ทั้งคนและม้าต่างก็ค่อยๆหัดเดินใหม่ด้วยกันอีกครั้ง จนในที่สุดในปี 1940 ทั้ง Pollard และ Seabiscuit ต่างก็พร้อมที่จะกลับเข้าสนามแข่งอีกครั้ง และก็ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นเรื่องมหัศจรรย์ใจของผู้คนเพราะไม่คาดคิดว่าทั้งคู่ที่ผ่านการบาดเจ็บอยางรุนแรงจะสามารถกลับมาชนะในสนามได้อีกครั้ง




Red Pollard กล่าวเหตุผลที่ทำให้เขาและ Seabiscuit กลับมาอีกครั้งว่า “Seabiscuit กับผม ก็เป็นเหมือนคนแก่พิการ ต่างก็ล้มเหลว หมดสภาพ แต่ท่ามกลางเสียงเย้ยหยันข้างนอกนั่น เราทั้งสองก็รู้ว่าเราพร้อมจะยืนหยัดสู้อีกครั้ง” Pollard และ Seabiscuit มีพลังใจที่เข้มแข็งจนสามารถกลับมาคว้าชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีกครั้ง Pollard บอกในภายหลังว่า “อย่าคิดอย่างนั้นเลย Seabiscuit มันไม่รู้หรอกว่ามันเป็นฮีโร่”



ภายหลังการแข่งขันในครั้งนั้น Seabiscuit ไม่ได้ลงสนามแข่งอีกเลย ในเดือนเมษายน 1940 Seabiscuit อำลาสนามแข่งอย่างเป็นทางการ มันได้พักผ่อนหลังเกษียณอยู่ที่ไร่ Ridgewood ใกล้กับ California มันได้ให้กำเนิดลูก 108 ตัว ซึ่งต่อมาประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงพอประมาณ 2 ตัว คือ Sea Swallow and Sea Sovereign ระหว่างที่มันใช้ชีวิตอยู่ในไร่นั้น มีผู้คนเดินทางมาเยี่ยมมันราว 50,000 คน Seabiscuit ตายเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม คศ.1947 อายุได้ 14 ปี
Red Pollard ไม่ได้เป็นจ๊อกกี้ให้ Howard อีกเลย เขาอำลาอาชีพเมื่อปี 1955 และมีชีวิตยืนยาวจนแก่เฒ่า George Monroe Woolf จ๊อกกี้ที่ขี่พามันชนะในการแข่งขันกับ War Admiral นั้น ต่อมาได้กลายเป็นจ๊อกกี้ที่มีชื่อเสียง แต่น่าเสียดายที่เขาเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุตกจากหลังม้าขณะฝึกซ้อม เมื่อปี 1947 ด้วยวัยเพียง 35 ปี ในอดีตเมื่อมีใครถามเขาว่าม้าแข่งที่ดีที่สุดที่เขาเคยขี่คือตัวไหน เขาจะตอบทันทีโดยไม่ลังเลเลยว่า “Seabiscuit”




Seabiscuit ม้าที่ไม่มีใครต้องการ กลับเป็นม้าที่ชนะเงินรางวัลในการแข่งขันชั้นนำมากมาย ม้าตัวเล็กตัวนี้กลายมาเป็นแรงบันดาลให้ใครอีกหลายคน เป็นม้าในตำนานของคนอเมริกัน มันได้รับการโหวตให้เป็นสุดยอดม้าแข่งใน 20Th century อันดับที่ 25 ปัจจุบันมีรูปหล่อทองเหลืองขนาดเท่าตัวจริงอยู่ที่ Santa Anita Park และในวันที่ 23 มิถุนายน คศ. 2007 ได้มีการเปิดอนุสรณ์ Seabiscuit ขึ้นที่ Ridgewood Ranch บ้านหลังสุดท้ายของมัน ‘May the World Never Forget the Magnificent Seabiscuit - Laura Hillenbrand’


We don't throw a whole life away just 'cause it's banged up a little bit.
เราคงไม่ทิ้งชีวิตทั้งชีวิต เพียงเพราะมันบาดเจ็บนิดหน่อยหรอกนะ



Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 6 มีนาคม 2552 10:29:33 น. 1 comments
Counter : 2383 Pageviews.

 
เพิ่งได้ดูคลิปการแข่งของจริง เหมือนในหนังเลยครับ สุดยอดม้าจริงๆ


โดย: $ IP: 112.142.81.213 วันที่: 6 พฤศจิกายน 2552 เวลา:22:01:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

bayou
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add bayou's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.