WishRich
Group Blog
 
All Blogs
 
ดาวเรือง

 ดาวเรือง
เป็นไม้ดอกที่คนไทยรู้จักกันดีชนิดหนึ่งเนื่องจากปลูกง่าย โตเร็ว
คงทนต่อสภาพแวดล้อม
มีสีสันสดใสสะดุดตา ดอกมีลักษณะกลมสวยงาม
กลีบดอกจัดเรียงเป็นระเบียบ กลีบดอกยึดแน่นกับฐานดอก
ไม่หลุดง่าย อายุการใช้งานนานประมาณ 7-10 วัน นอกจากนี้
ดาวเรืองยังเป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น
ประมาณ 60-70 วัน ก็สามารถตัดจำหน่ายได้
รวมทั้งดาวเรืองยังเป็นพืชที่ขึ้นได้ดีทุกสภาพพื้นที่และทุกฤดูกาลของประเทศ

และเป็นไม้ดอกสามารถทำรายได้ให้กับผู้ปลูกสูง

ในปัจจุบันการปลูกดาวเรืองนอกจากจะปลูกเพื่อตัดดอกขายแล้ว
สามารถปลูกลงกระถางหรือถุงพลาสติกเพื่อใช้ประดับตามอาคารบ้านเรือนและสถาน
ที่ต่าง
ๆ รวมทั้งมีการปลูกเพื่อเก็บเมล็ดส่งโรงงานอาหารสัตว์อีกด้วย

แหล่งปลูก ดาวเรืองที่สำคัญของประเทศไทย
ได้แก่ จังหวัดพะเยา
ลำปาง นนทบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร อุดรธานี และกรุงเทพฯ


ลักษณะทั่วไปของดาวเรือง

   ดาวเรือง (Marigold) เป็นชื่อที่คนไทยทั่วไปผู้จักกันดี
แต่มีชื่อภาษาท้องถิ่นทางภาคเหนือว่า "ดอกคำ
ปู้จู้"
ซึ่งหมายถึงดอกไม้ที่มีกลีบสีเหลืองคล้ายทองคำ
ดาวเรืองเป็นพืชล้มลุก
อายุประมาณ 0.5-4 ฟุต ใบเป็นใบประกอบ มีลักษณะเรียวยาว
ดอกมีลักษณะเป็นแบบดอกรวม
ประกอบด้วยดอกย่อยเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก
อัดซ้อนกันแน่นอยู่บนฐานรองดอก ดอกมีสีเหลือง
ส้ม ครีม และขาว มีตั้งแต่ขนาดเล็ก คือประมาณ 1 นิ้ว
จนถึงขนาดใหญ่ประมาณ
4 นิ้ว และเมื่อตัดลำต้น กิ่งก้านหรือใบของดาวเรือง จะมีกลิ่นเหม็น
จึงทำให้แมลงไม่ค่อยรบกวน
นอกจากนี้ภายในรากของดาวเรืองมีสารชนิดหนึ่งคือ แอลฟ่า
เทอร์เธียนิล (&
- terthienyl)
ซึ่งเป็นสารที่สามารถควบคุมปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้เป็นอย่างดี



ชนิดของดาวเรือง

   ดาวเรืองที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่
ๆ คือ

   1. ดาวเรืองอเมริกัน (American
Marigolds )

เป็นดาวเรืองที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริการ
ลำต้นสูงตั้งแต่ 10-40 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง และขาว กลีบ
ดอกซ้อนกันแน่น
ดอกมีขนาดใหญ่ประมาณ 3-4 นิ้ว ดาวเรืองชนิดนี้มีหลายพันธุ์ ได้แก่

      พันธุ์เตี้ย สูงประมาณ 10-14
นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ ปาปาย่า (papaya) ไพน์แอปเปิล (pineaple)
ปัมพ์กิน (Pumpkin)
เป็นต้น

      พันธุ์สูงปานกลาง สูงประมาณ
14-16 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์อะพอลโล (Apollo) ไวกิ่ง (Ziking) มูนช๊อต
(Moonshot)
เป็นต้น

      พันธุ์สูง สูงประมาณ 16-36 นิ้ว
ได้แก่ พันธุ์ดับเบิล อีเกิล (Double Egle) ดับบลูน (Doubloon)
ซอฟเวอร์เรน
(Sovereign) เป็นต้น

   2. ดาวเรืองฝรั่งเศส (French Marigolds)

ดาวเรืองฝรั่งเศสเป็นดาวเรืองต้นเล็ก ต้มเป็นพุ่มเตี้ย ๆ สูงประมาณ
6-12
นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง น้ำตาลอมแดง และสีแดง
ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 1.5
นิ้ว นิยมปลูกประดับในแปลงมากกว่าปลูกเพื่อตัดดอก
เนื่องจากมีกานดอกสั้น

นอกจากนี้ยังเป็นดาวเรืองที่สามารถลดปริมาณไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการราก
ปมในรากพืชได้
ตัวอย่างดาวเรืองฝรั่งเศส ได้แก่

พันธุ์ดอกชั้นเดียว ดอกมีขนาด 1.5-2 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์เรด
มาเรตต้า (Red
Marietta) นอธตี้ มาเรตต้า (Naughty Marietta) เอสปานา (Espana)
ลีโอปาร์ด
(Leopard) เป็นต้น

พันธุ์ดอกซ้อน ดอกมีขนาดตั้งแต่ 1.5-3 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ควีน
โซเฟีย (Queen
Sophia ) สการ์เลต โซเฟีย (Scarlet Sophia) โกลเด้น เกต (Golden
Gate ) เป็นต้น

   3. ดาวเรืองพันธุ์ลูกผสม (Mule
Mariglds หรือ Afro American Marigolds)


เป็นดาวเรืองลูกผสมระหว่างดาวเรืองอเมริกันและดาวเรืองฝรั่งเศส
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำลักษณะความแข็งแรง
ดอกใหญ่ และมีกลีบซ้อนมากของดาวเรืองอเมริกัน
รวมเข้ากับลักษณะต้นเตี้ยทรงพุ่มกะทัดรัดของดาวเรืองฝรั่งเศส
ดาวเรืองลุกผสมให้ดอกเร็วมาก คือเพียง 5
สัปดาห์หลังจากเพาะเมล็ดดอกมีขนาด
2-3 นิ้ว ดอกดกและอยู่กับต้นได้ดี
ดาวเรืองชนิดนี้มีข้อเสียก็คือเมล็ดจะลีบ
ไม่สามารถนำมาเพาะให้เป้นต้นใหม่ได้จึงเรียกว่า ดาวเรืองล่อ
เช่นเดียวกับการผสมม้ากับลา
มีลูกออกมาเรียกว่า ล่อ ซึ่งเป็นหมัน จึงทำให้เมล็ดมีราคาแพงมาก
และการปลูกดาวเรืองด้วยเมล็ดชนิดนี้
จึงควรใช้เมล็ดเป็นปริมาณ 2 เท่าของจำนวนที่ต้องการ
เนื่องเมล็ดมรเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ

ดาวเรืองลุกผสมที่นิยมปลูกมีอยู่หลายพันธุ์ คือ พันธุ์นักเก็ต
(Nugget) ไฟร์เวิร์ก
(Fireworks) เรด เซเว่น สตาร์(Red Seven
star)
และโชว์โบ๊ต (Showboat)



พันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับใน
ประเทศไทย


   1. พันธุ์ซอฟเวอร์เรน ดอกสีเหลือง

กลีบดอกซ้อนกันแน่น สวยงาม ดอกมีขนาดประมาณ 10 ซ.ม

   2. พันธุ์ทอรีดอร์ ดอกสีส้ม
ขนาดประมาณ 8.5-10 ซ.ม

   3. พันธุ์ดับเบิล อีเกิล ดอกสี
เหลือง
ขนาดประมาณ 8.5 ซ.ม และมีก้านดอกแข็ง

   4. พันธุ์ดาวเรืองเกษตร เป็นดาว
เรืองที่มหาวิทยลับเกษตรศาสตร์
นำเข้ามาทดลองปลูกและคัดเลือกพันธุ์ที่โครงการเกษตรที่สูง
และได้คัดเลือกพันธุ์ไว้ได้
2 พันธุ์ คือ พันธุ์สีทองเบอร์ 1 พันธุ์สีทองเบอร์ 4
เป็นพันธุ์ที่มีดอกสีเหลือง
ขึ้น
ได้ดีในสภาพของประเทศไทย
และให้ผลลิตสูงพอสมควร



การขยายพันธุ์ดาวเรือง

   1. การเพาะเมล็ด
เป็นวิธีการที่นิยมปฏิบัติกันและผลผลิตดีกว่าวิธีอื่น
โดยนำเมล็ดดาวเรืองมาเพาะในกระบะหรือแปลงเพาะ

การเพาะเมล็ดในกระบะ
กระบะที่จะใช้เพาะอาจเป็นกระบะไม้หรือกระบะพลาสติกก็ได้
วัสดุเพาะประกอบด้วยขุยมะพร้าว ทราย
ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก
ในอัตราส่วน 1:1:1:1


   การเพาะเมล็ดในแปลง แปลงที่จะใช้เพาะเมล็ดดาวเรือง
ควรเป็นดินร่วนซุยและค่อนข้างละเอียด
ขุดแปลงกลับหน้าดินตากไว้ประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อฆ่าเชื้อโรคและแมลง
จากนั้นนำปุ๋ยคอก(มูลโค
มูลเป็ด มูลไก่ เป็นต้น ) มาผสมและคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน
ย่อยดินให้ละเอียดแล้วปรับหน้าแปลงให้เรียบ

การเพาะเมล็ดทั้งการเพาะในกระบะและในแปลง มีวิธีการปฏิบัติดังนี้

      1. ทำร่องบนวัสดุเพาะในกระบะหรือบนแปลงให้ลึกประมาณ
5 เซนติเมตร และให้แต่ละร่องห่างกันประมาณ 5 ซ.ม

      2. หยอดเมล็ดดาวเรืองในร่อง ห่างกันประมาณ
3-5 ซ.ม แล้วกลบร่องเพื่อกลบเมล็ดดาวเรือง

      3. ให้ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษฟาง
หรือหญ้าแห้ง คลุมกระบะเพาะ
เพื่อป้องกันความเสียหายเนื่องจากฝนชะแต่ถ้าเป็นฤดูหนาวก็ควรคลุมพลาสติก
เช่นกัน
เพื่อเพิ่มความร้อนให้กับกระบะหรือแปลงเพาะ
จะทำให้เมล็ดงอกได้ดีขึ้น หลังจากเพาะได้ประมาณ
3-5 วัน เมล็ดจะงอก และอีกประมาณ 10-12 วัน
จึงย้ายต้นกล้าไปปลูกได้

   2. การปักชำ เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่สามารถทำได้อีกวิธีหนึ่ง
แต่ไม่ค่อยนิยมมากนัก เนื่องจากได้จำนวนน้อยและให้ผลผลิตต่ำกว่า
ดอกมีขนาดเล็กกว่า
สาเหตุที่ทำกันเพาะเป็นผลพลอยได้จากการเด็ดยอดทิ้ง
ยอดที่เด็ดทิ้งจะมีความยาว
1-2 นิ้ว
แล้วนำไปปักชำที่ใช้คือขี้เถ้าแกลบเพราะเก็บความชื้นได้ดีหลังจากเตรียมแปลง
หรือถุงหักชำแล้ว
นำยอดดาวเรืองมาปักชำ หากควบคลุมความชื้นได้ดี
ยอดดาวเรืองจะออกรากภายใน
3-4 วัน
และถ้ามีการใช้ฮอร์โมนเร่งรากจะทำให้ดาวเรืองออกรากได้ดียิ่งขึ้นจากนั้นนำ
ไปใว้ให้ถูกแดดอีกประมาณ
3-4 วัน จึงสามารถย้ายไปปลูกยังแปลงปลูกได้



การปลูกดาวเรือง

   การปลูกดาวเรืองเป็นขึ้นตอนแต่การเตรียมแปลงปลูก
การย้ายกล้ามาปลูกในแปลง
รวมถึงการปฏิบัติดูแล ขั้นตอนในการปฏิบัติดูแลมีดังนี้

   1. การเตรียมแปลงปลูก

ดินที่ที่จะใช้ปลูกดาวเรืองควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี
เก็บรักษาความชื้นได้สูง
และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6-5-7.5 ในขณะที่เตรียมดินนั้น
ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วย
เพื่อเมธาตุอาหารและปรับโครงสร้างให้ดินโปร่ง
ควรขุดพลิกหน้าดินไว้ประมาณ
1-2 สัปดาห์ เพื่อทำลายเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืช
แปลงควรมีขนาดกว้างประมาณ
1 เมตร ความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่
จากนั้นจึงย่อยดินให้ละเอียดและปรับหน้าแปลงให้เรียบ
แล้วจึงปลูกดาวเรืองโดยให้แต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม
และระยะระหว่างต้นห่างกัน
30 ซ.ม เช่นกัน ถ้าพื้นที่ปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่
ให้เว้นทางเดินระหว่างแปลงประมาณ
80 ซ.ม แต่ถ้าเป็นที่ลุ่มและยกร่องปลูกก็ไม่ต้องเว้นทางเดินไว้
เพียงแต่เว้นขอบแปลงริมร่องน้ำไว้เล็กน้อยเพื่อใช้เป็นทางเดิน

   2. วิธีการปลูก

      1) การเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมในแปลงโดยให้หลุมห่างกัน
30 ซ.ม และแต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม
รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตหรือปุ๋ยสูตร
15-15-15 อัตราหลุมละ1 ช้อนชา
แล้วเกลี่ยดินกลบปุ๋ยเพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง

      2) การย้ายกล้า ควรย้ายกล้าดาวเรืองในตอนเย็น
ก่อนย้ายกล้ารดน้ำล่างหน้า 1 วัน
หรือรดน้ำตอนเช้าแล้วย้ายกล้าตอนเย็น และควรใช้ช้อนปลูกขุดต้นกล้า
เพื่อให้ดินติดรากต้นกล้ามาด้วย
ต้นกล้าจะได้ไม่โทรมและตั้งตัวได้เร็ว

      3) การปลูกต้นกล้า ปลูกต้นกล้าหลุมละต้น

โดยฝังต้นกล้าลงในหลุมให้โคนต้นอยู่ระดับปากหลุมและกลบดินให้เสมอใบเลี้ยง
จากนั้นจึงรีบรดน้ำให้ชุ่มตลอดเวลา

   3.การปฏิบัติดูแลรักษา

      1) การรดน้ำ ในช่างแรกคือตั้งแต่เริ่มปลูกถึงอายุ
7 วัน ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง
เช้าและเย็นหลังจากนั้นรดน้ำวันละครั้งในตอนเช้าก็พอ
และในช่วงที่ดอกเริ่มบานจะต้องระวังอย่าให้น้ำถูกดอกดาวเรือง
เพราะจะทำให้ดอกเสียหายและถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย

      2) การใส่ปุ๋ย เมื่อดาวเรืองมีอายุ
15 และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม
และเมื่อดาวเรืองมีอายุ
35 และ 45 วัน ควรใส่ปุ๋ยสูตร15-24-12 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม
เช่นกัน การใส่ปุ๋ยควรใส่ให้ห่างโคนต้นประมาณ
6 นิ้ว โดยฝังลงในดินประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นควรพรวนดินรอบ ๆ
โคนต้นและกลบโคนต้นไว้
การใส่ปุ๋ยทุกครั้งจะต้องรดน้ำให้โชกเสมอ

      3) การปลิดยอด นิยมเรียกว่า การเด็ดตุ้ม
หรือการแต่งตุ้ม
ทำเพื่อให้ดาวเรืองแตกพุ่มและจะทำให้ดอกดาวเรืองมีขนาดใหญ่
การปลิดยอดนี้ควรทำเมื่อดาวเรืองมีอายุ 21-25 วัน
ซึ่งเป็นระยะที่ดาวเรืองมีใบจริงขนาดใหญ่ประมาณ
4 คู่ และส่วนยอดมีใบเล็ก ๆ ประมาณ 1-2 คู่
วิธีการปลิดยอดทำได้โดยใช้มือซ้ายจับใบคู่บนสุดที่ต้องการเหลือไว้แล้วใช้
มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้าง
เพื่อให้ยอดหลุดออกมา ไม่ควรเด็ดยอด
เพราะจะทำให้ส่วนตาของยอดเหลือติดอยู่
ซึ่งจะเจริญเป็นดอกในภายหลัง ทำให้ดอกไม่เป็นไปตามกำหนด
คือดอกบานไม่พร้อมกันและมีขนาดเล็ก
ปกติดาวเรืองต้นหนึ่งควรไว้ดอกประมาณ 8 ดอก จึงจะได้ดอกที่มีคุณภาพ

      4) การปลิดตาข้าง หลังจากการปลิดตายอดประมาณ
1 สัปดาห์ ตาข้างจะเริ่มแตกขึ้นใหม่นั้น
มียอดที่ยอดและมีตาข้างเจริญออกมาหรือยัง
เมื่อดอกที่ยอดและมีตาข้างเจริญออกมาหรือยัง
เมื่อดอกที่ยอดมีขนาดประมาณเท่าเมล็ดข้าวโพด
ให้ปลิดตาข้างออกให้หมด เพื่อไม่ให้ตาข้างเจริญเป็นดอกต่อไป
ซึ่งจะทำให้ดอกที่ยอดมีขนาดใหญ่
ก้านดอกยาว และมีขนาดสม่ำเสมอ

   4. การตัดดอก

ก่อนตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำไปจำหน่ายประมาณ 2-3 วัน
ควรใช้น้ำตาลทรายจำนวน15
ลิตร ฉีดพ่นใบดาวเรืองทั้งด้านบนและด้านล่าง
จะทำให้ก้านดอกแข็งแรงขึ้น จากนั้นจึงทยอยตัดดอก
อายุของดาวเรืองที่สามารถตัดดอกขายได้คือประมาณ 55-65 วัน
หรือให้สังเกตจากดอกที่ยังมีกลีบดอกตรงกลางเป็นสีเขียวอยู่ได้นานกว่าดอกที่
บานทั้งหมด
ในการตัดดอกนั้น
ควรตัด
ให้ชิดโคนกิ่งให้มากที่สุด
จะทำให้ก้านดอกที่ติดมามีขนาดยาว



ศัตรูที่สำคัญของดาวเรือง

โรค

โรคที่สำคัญและพบบ่อย ๆ คือ

   1. โรคเหี่ยว
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปทอรา
(Phytoptora) มักเกิดกับดาวเรืองที่ดอกกำลังเริ่มทยอยบาน
ระยะแรกมีอาการคล้ายกับดาวเรืองขาดน้ำ
กล่าวคือ อาการเหี่ยวจะแสดงในตอนกลางวันส่วนกลางคืนอาการจะปกติ
หลังจากนั้นประมาณ
3 -4 วัน ดาวเรืองก็จะเหี่ยวทั้งด้นและตายไปในที่สุด

การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป
ฉีดพ่นสลับกับคาร์เบนดาซิมประมาณสัปดาห์ละครั้ง
และถ้าพบมากต้นที่เป็นโรคและตายในแปลงต้องรีบกำจัดทิ้ง

   2. โรคราแป้ง
เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งลักษณะอาการ
คือจะเห็นสปอร์ของเชื้อราเป็นฝุ่นสีขาว ๆ ตามใบของดาวเรือง
ทำให้ใบหยิก การเจริญเติบโตชะงัก
ถ้าเป็นมากอาจทำให้ต้นตายในที่สุด

การป้องกันกำจัด โดยการพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น
แมนโคเซ็ป
ไดแทน-เอ็ม 45 ประมาณสัปดาห์ละครั้ง

   3. โรคดอกไหม้
เกิดเชื้อราเข้าทำลายดอกดาวเรือง
ทำให้ดอกเป็นสีน้ำตาลจนไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้

การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซ็ปหรือดาโคนิล
โดยฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลง

แมลง

      1. เพลี้ยไฟ
เข้าทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนและใบอ่อน
จะเห็นมีรอยขีดตามใบหรือกลีบเลี้ยงของดอก
เพลี้ยไฟจะระบาดมากในช่างฤดูร้อน

การป้องกันกำจัด ใช้สารเทมมิค เอ จี (Temic A.G.) ฝังรอบ ๆ โคนต้น
โดยฝังให้ห่างโคนต้นประมาณ
1 ฝ่ามือ หรือฉีดพ่นด้วยสารโตกุไธออนสัปดาห์ละครั้ง

      2. หนอนกระทู้หอม
เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน
จะเข้าทำลายในขณะที่ดอกดาวเรืองเริ่มบานหนอนจะกัดกินดอกดาวเรือง
ทำให้ดอกแหว่งเสียหาย

การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง เช่น แลนเนท,แคสเคต
หรือใช้เชื้อไวรัสทำลายแมลงพวกเอ็น.พี.วี
(NPV) ฉีดพ่นในแปลงที่มีหนอนกระทู้หอมระบาด



การใช้ประโยชน์

ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากชนิดหนึ่ง
นอกจากจะมีความสำคัญทางเศรษฐกิจแล้ว
ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย
การนำดาวเรืองไปใช้ประโยชน์สรุปได้ดังนี้

   1.ปลูกประดับเพื่อความสวยงาม

ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสวยงาม กลีบดอกสีเหลืองเรียงอัดกันแน่น
และมีอายุการใช้งานนาน
ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับปลูกเพื่อประดับอาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่าง
ๆ เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินตา
สบายใจ

   2.ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันแมลง

เนื่องจากดาวเรืองเป็นสารที่มีกลิ่นเหม็น (ฉุน)แมลงไม่ชอบ
จึงสามารถใช้เป็นเกราะป้องกันแมลงให้แก่พืชอื่น
ๆ ด้วย
นอกจากนี้รากของดาวเรืองยังมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณไส้เดือนฝอยในดิน
ได้

   3.ปลูกเพื่อจำหน่าย

     3.1 ใช้ทำพวงมาลัย
ปัจจุบันนิยมนำดอกดาวเรืองมาร้อยพวงมาลัยกันมาก
ไม่ว่าจะเป็นพวงมาลัยไหว้พระ
หรือพวงมาลัยสำหรับคล้องคอในงานพิธีต่าง ๆ
การตัดดอกดาวเรืองสำหรับใช้ประโยชน์ในด้านนี้จะต้องให้มีก้านดอกสั้น
ๆ หรือให้เหลือเฉพาะดอก

     3.2 ใช้ปักแจกัน
เนื่องจากดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่ลักษณะกลมเรียงตัวกันแน่นเป็นระเบียบ
และมีสีสันสวยงาม จึงมีคนนิยมนำมาปักแจกันมาก
ไม่ว่าจะเป็นแจกันตั้งตามโต๊ะรับแขกตามหิ้งพระ
หรือแจกันประกอบโต๊ะหมู่บูชา
การตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำมาปักแจกันนี้ควรตัดให้มีก้านดอกยาวประมาณ
18-20 นิ้ว มัดดอกดาวเรืองเป็นกำ ๆ
แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อเพื่อให้ดอกดาวเรืองคงความสดอยู่ได้นาน


     3.3 การปลูกลงกระถางหรือถุงเพื่อประดับอาคารสถานที่

ปัจจุบันมีการนำกระถางหรือถุงดาวเรืองมาประดับอาคารสถานที่กันมากขึ้น
เพาะสามารถใช้ประดับไว้เป็นเวลานาน
ไม่ว่าจะเป็นงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานนิทรรศการ
งานพระราชทานปริญญาบัตร หรือแม้แต่งานพิธีตามอาคารบ้านเรือน
การปลูกดาวเรืองเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านนี้
ก็เหมือนกับการปลูกดาวเรืองโดยทั่วไป
เพียงแต่เป็นการปลูกลงในกระถางหรือถุง แทนที่จะปลูกลงในแปลง
พอดอกดาวเรืองเริ่มบาน
ก็นำไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่ายได้

     3.4 จำหน่ายให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์
เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่สารแซธโธฟิล
(Xanthophyll) สูง จึงสามารถนำไปเป็นส่วนผสมอากหารสัตว์ได้ดี
โดยเฉพาะอาหารของของไก่ไข่
จะทำให้ไข่แดงมีสีแดงสดใสน่ากินยิ่งขึ้น



ต้นทุนการผลิต
ผลตอบแทนและการตลาด


   1. ต้นทุนการผลิต
การปลูกดาวเรืองในแปลงปลูกโดยทั่วไปต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่ประกอบด้วยค่า
เมล็ดพันธุ์(เมล็ดละประมาณ
60 สตางค์ 1 บาท ) ปุ๋ย สารเคมี และแรงงาน
โดยเฉลี่ยต้นทุนในการผลิตดาวเรืองประมาณไร่ละ
19,120 บาท แต่ถ้าเป็นการปลูกดาวเรืองในถุงพลาสติกหรือปลูกในกระถาง
ต้นทุนจะแตกต่างกันไปตามวัสดุที่ใช้ปลูก
โดยเฉลี่ยแล้วต้นทุนการผลิตประมาณกระถางละ 5-8 บาท

   2. ผลตอบแทนและราคาจำหน่าย
การปลูกดาวเรืองในแปลง พื้นที่ 1 ไร่ จะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 37,258
ดอก ราคาโดยเฉลี่ยประมาณดอกละ
1 บาท ดังนั้นผลตอบแทนในการปลูกดาวเรืองประมาณไร่ละ 37,258 บาท

   3. ตลาดและแหล่งรับซื้อ
แหล่งรับซื้อดาวเรืองที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ ฯ คือ ตลาดปากคลองตลาด
ส่วนตลาดอื่น
ๆ เช่น สวนจตุจักร
นิยมรับซื้อดาวเรืองที่ปลูกในกระถางหรือถุงพลาสติก นอกจากนี้ยังมีตลาดอื่น
ๆ อีก เช่น ตลาดเทเวศร์ ลาดพร้าว สะพานควาย บางเขน
และตามศูนย์การค้าหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต

ส่วนในต่างจังหวัดนั้น
สามารถนำดาวเรืองไปจำหน่ายได้ตามตลาดสดทั่วไป
และจะมีพ่อค้าไปรับซื้อในท้องที่ที่ปลูกดาวเรือง
จากนั้นพ่อค้าก็จะนำไปจำหน่ายต่อที่ตลาดกรุงเทพ ฯ















Create Date : 29 มิถุนายน 2553
Last Update : 29 มิถุนายน 2553 12:20:03 น. 0 comments
Counter : 466 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

WishRich
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานครับ
Friends' blogs
[Add WishRich's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.