WishRich
Group Blog
 
All Blogs
 
การดูแลบำรุงรักษาและใช้งานแบตเตอรี่1



ที่จริงคำว่าแบตเตอรี่กินความหมายกว้างมาก
ในที่นี้ขอจำกัดอยู่แต่แบตเตอรี่สำหรับรถยนต์เท่านั้นและก็เป็นแบบเดียวกัน
หมด
(ถ้าไม่นับแบตเตอรี่แบบแห้งรุ่น
พิเศษที่ใช้กับรถที่มีปัญหาเรื่องเนื้อที่และประกอบจากต่างประเทศ)
นั่นก็คือแบตเตอรี่ที่ทำงานโดยอาศัยตะกั่ว และน้ำกรด (LEAD-ACID
BAT-TERY)
คำ LEAD นี่เป็นคำนาม ซึ่งแปลว่าตะกั่ว หรือสารตะกั่ว
ออกเสียงว่าเลดนะครับ
ไม่ใช่ลีดที่เป็นคำกริยา คำว่าไร้สารตะกั่ว ก็ต้องอ่านว่า เลดฟรี
ไม่ใช่ ลีดฟรี
แบบที่เรียกกัน เพราะการจะติดเครื่องยนต์ให้สำเร็จนั้น
นอกจากระบบทุกอย่างจะต้องทำงานพร้อมเพรียงกันแล้ว
ยังมีเงื่อนไขสำคัญอยู่ด้วย คือต้องถูกหมุนด้วยความเร็วพอสมควร
มันจึงจะติด
เพราะต้องมีการดูดและอัดอากาศ
หรืออากาศผสมเชื้อเพลิงจึงจะเริ่มทำงานได้
หน้าที่รองลงมาของแบตเตอรี่ คือการ จ่ายไฟให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานได้
แม้จะไม่ได้ติดเครื่องยนต์
เช่น เวลาอยากฟังเพลง
หรือเปิดไฟอ่านหนังสือหรือเปิดไฟหรี่ให้ผู้อื่นเห็นขณะจอด
เพื่อความปลอดภัย




นอกจากนี้ยังเป็นทั้งตัวหน่วงยามที่แรงเคลื่อนไฟฟ้าของระบบสูงเกินควร
และเป็นตัวหนุนในยามที่แรงเคลื่อนไฟฟ้าจาก
อัลเทอร์เนเตอร์ (ที่ช่างชอบเรียกว่า "ได ชาร์จ") ต่ำเกินไป
หรือไม่ทำงานเลย
และหน้าที่สุดท้าย คือคอยจ่ายกระแสไฟฟ้าให้หน่วยความจำต่างๆ ของรถ
รวมทั้งระบบกันขโมยด้วย
ส่วนตำแหน่งของแบตเตอรี่ ซึ่งผู้ผลิตรถแต่ละรุ่นเลือกมาให้นั้น
ผมว่าเหมาะสมที่สุดแล้ว
ไม่จำเป็นอย่าไปย้ายที่กันเองครับ
โรงงานรถยนต์จะมีเหตุผลในการเลือกตำแหน่งหลายเหตุผลด้วยกัน
ที่สำคัญที่สุดคือการคำนึงถึงการกระจายน้ำหนักให้สมดุล เช่น
การวางเครื่องยนต์และอุปกรณ์อื่นๆ
ไปแล้ว จุดศูนย์ถ่วงรวมของรถค่อนข้างไปทางด้านขวา
เขาก็จะหาที่วางแบตเตอรี่ทางด้านซ้าย
หรือถ้าเน้นน้ำหนักลงที่ล้อให้เท่าๆ กัน หรือยอมให้ด้านหน้า
หนักกว่าเล็กน้อย
ก็จะเอา แบตเตอรีไปไว้ในที่เก็บของท้ายรถ


รองลงมาคือระยะระหว่างแบตเตอรีและสตาร์ทเตอร์ (มอเตอร์)
ไม่ควรห่างกันมาก
เพราะจะต้องใช้สายไฟยาว ซึ่งมีความต้านทานสูง
กระแสไฟฟ้าไหลได้น้อย
เปลืองเงิน และเพิ่มน้ำหนักโดยไม่จำเป็นด้วย
นอกจากนี้ยังต้องดูความสะดวกด้วยเจ้าของรถและช่างซ่อมต้องเข้าถึงได้ง่าย
เมื่อต้องการตรวจระดับน้ำกรดและเติมน้ำกลั่น
แล้วก็ต้องอยู่ในที่ๆ ฝุ่นและน้ำไม่เล็ดลอดเข้าไป
ทำให้น้ำกรดและเติมน้ำกลั่นสกปรก
เจอที่เหมาะๆ ดังกล่าวมาแล้ว แต่ไปอยู่บนท่อร่วมไอเสีย
ก็ไม่ไหวเหมือนกันครับ

เพราะแบตเตอรี่ที่ร้อนจัดจะเสื่อมสภาพเร็วมากส่วนมากจะพยายามเอาไว้ด้านหน้า


ซึ่งมีลมปะทะระบายความร้อนได้ดีขณะรถแล่นและข้อสุดท้ายคือต้องไม่อยู่ที่ๆ
มีความสั่นสะเทือนตลอดเวลา หรือถูกกระแทกแรงๆ บ่อย
เพราะโครงสร้าง
ภายในจะทนไม่ไหว และอายุจะสั้นลงมาก



ระดับของแบตเตอรี่ หรือ BATTERY RATING
คือความสามารถในการจ่ายกระแสไฟฟ้าออกมาให้เราใช้งานในช่วงเวลาหนึ่งมีวิธี
บอกหลายวิธีด้วยกันครับ
ที่เก่าแก่ที่สุด และนิยมกันมากที่สุดทั่วโลก
เพราะง่ายสำหรับผู้ใช้รถในการทำความเข้าใจทั้งๆ
ที่ค่อนข้างล้าสมัย ก็คือบอกเป็นความจุของแบตเตอรี ว่า
"จุ"
ประจุไฟฟ้าเท่าใด โดยใช้หน่วยแอมแปร์ชั่วโมง หรือ AH
ซึ่งก็คือผลคูณระหว่างกระแสไฟฟ้า
ซึ่งมีหน่วยเป็นแอมแปร์ กับเวลาซึ่งใช้หน่วยเป็นชั่วโมง
ในตำรารุ่นเก่าจะใช้เวลาที่ทดสอบ
10 ชั่วโมง แต่มาตรฐานใหม่ใช้เวลาในการทดสอบ 20
ชั่วโมงครับ



การพ่วงแบตเตอรี่


ปัญหาการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้
เนื่องจากอายุการใช้งาน
หรือการขาดการเอาใจใส่ของผู้ใช้รถ
ซึ่งหน้าที่ของแบตเตอรี่คือการ
จ่ายกระแสไฟไปยังระบบต่างๆ ของตัวรถ
ดังนั้นเมื่อแบตเตอรี่ไม่มีกระแสไฟเพียงพอ
รถก็จะสตาร์ทไม่ติด
ซึ่งวิธีแก้ไขเฉพาะหน้าที่นิยมทำกันก็คือ การจั๊มแบตเตอรี่
หรือที่หลาย คนเรียกว่าการพ่วงแบตฯ
ซึ่งหมายถึงการต่อสายพ่วงแบตเตอรี่ที่มีไฟเข้ากับแบตเตอรี่ที่ไฟหมดในรถยนต์

เพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ แล้วถอดสายพ่วงออก
ไม่ใช่การเปลี่ยนเป็นแบตเตอรี่
ลูกใหม่ที่มีไฟเต็ม การพ่วงแบตเตอรี่
มักทำเมื่อแบตเตอรี่มีไฟไม่พอในการสตาร์ทเครื่องยนต์

ซึ่งอาจเกิดจากการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่หรือระบบการชาร์จไฟบกพร่อง

ซึ่งสังเกตได้จากสัญญาณไฟเตือนรูปแบตเตอรี่บนแผงหน้าปัดถ้าในแบตเตอรี่มี
กระแสไฟฟ้าเพียงพอ
สำหรับระบบต่างๆ ของเครื่องยนต์ เช่นระบบหัวฉีด
ปั๊มส่งน้ำมันเชื้อเพลิง
ฯลฯ จะไม่มีรูปแบตเตอรี่แสดง



ถ้าเป็นรถยนต์ระบบเกียร์ธรรมดาที่สามารถเข็นได้
โดยใส่เกียร์ 2
เหยียบคลัตช์จมสุด เมื่อเข็นได้ความเร็วที่เหมาะสมแล้ว
จึงถอนคลัตช์พร้อมกดคันเร่ง
เพื่อเร่งการชาร์จเข้าสู่แบตเตอรี่
แต่ถ้าไม่มีคนช่วยเข็นหรือไม่มีพื้นที่ให้เข็นหรือเป็นรถยนต์เกียร์
อัตโนมัติ
ต้องใช้การพ่วงแบตเตอรี่จากรถยนต์อีกคัน
หรือยกแบตเตอรี่มาพ่วงด้วยสายพ่วง
ซึ่งต้องทำด้วยความระมัดระวัง ห้ามสลับขั้วเด็ดขาด
เพราะอาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรและเกิดความเสียหายกับเครื่องยนต์ได้
โดยเฉพาะเครื่องยนต์หัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์


สายพ่วงแบตเตอรี่จะมีด้วยกัน 2 เส้น
ใช้สีต่างกันเพื่อป้องกันการสับสน
โดยส่วนใหญ่จะเป็นสีดำ และสีแดง ความยาวประมาณ 1-2 เมตร
มีตัวหนีบทำด้วยโลหะอยู่ที่ปลายสายทุกเส้น
สีของสายพ่วงที่แตกต่างกัน เพื่อป้องกันการสับสนเท่านั้น
ไม่จำเป็นต้องพ่วงสายสีแดงเข้ากับขั้วบวก
(+) เสมอไป จะใช้พ่วงเข้ากับขั้วลบ (-) ก็ได้
ถ้าไม่สับสน การซื้อสายพ่วงแบตเตอรี่
ควรเลือกตัวไส้ในที่เป็นสื่อนำไฟฟ้ามีขนาดใหญ่
ไม่ใช่ดูเพียงขนาดภายนอก
เพราะอาจใหญ่เฉพาะฉนวนแต่ไส้ในเล็กก็เป็นได้
ซึ่งจะส่งผลเสียคือ
ถ้าใช้พ่วงแบตเตอรี่ที่มีแอมป์สูงๆ
อาจทำให้สายพ่วงร้อนจนไหม้หรือละลายได้
ส่วนฉนวนภายนอกก็เลือกดูที่มีความเหนียวและยืดหยุ่น
และตัวหนีบควรทำด้วยโลหะที่มีความหนาพอควร
และสามารถหนีบได้อย่างแน่นหนา




Create Date : 27 มิถุนายน 2553
Last Update : 27 มิถุนายน 2553 20:43:13 น. 0 comments
Counter : 207 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

WishRich
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มาเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อม ๆ กัน เพื่อความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงานครับ
Friends' blogs
[Add WishRich's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.