Group Blog
 
All blogs
 

วัตตรา นักเขียนนิยายขาย(ละคร)ทีวี

จากหนังสือ "ขวัญเรือน" ฉบับที่904 ปักษ์หลัง กรกฎาคม 2552





คอลัมภ์ Reed & Write
มาทิลดา เรื่อง ทิมพ์ ภาพ
หน้า207







หน้า208










หน้า209

















 

Create Date : 28 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 28 กรกฎาคม 2552 11:46:18 น.
Counter : 1448 Pageviews.  

ชานชาลานักเขียนประจำวันที่14มิ.ย.


คมชัดลึก : 00 ขอแสดงความยินดีกับ เอนก แจ่มขำ อดีตนายกสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ในโอกาสได้ รับพระราชทานเข็มอนุรักษ์มรดกไทย จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามพระบรมราชกุมารี เนื่องใน วันอนุรักษ์มรดกไทย ของ กรมศิลปากร เมื่อเร็วๆ นี้...


00 ใกล้คลอดเต็มแก่แล้ว...ผลการประกวดหนังสือเด็กและเยาวชน ‘รักลูกอะวอร์ด’ ครั้งที่ 6 ซึ่งจัดประกวดหลากประเภทหลายระดับเช่นเคย แต่สำหรับประเภท ความเรียงเชิงทัศนะ แว่วมาว่า รางวัลดีเด่น ตกเป็นของ โดม วุฒิชัย จากผลงาน “เดินทางข้างใน” ส่วน รางวัลชมเชย ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน พิบูลศักดิ์ ละครพล จากผลงาน “กระท่อมดิน ทุ่งดาว” นั่นเอง ยินดีด้วยครับพี่ทั้งสอง...

00 สัปดาห์ก่อนกระซิบข่าววันประกาศผลรอบสุดท้าย นวินายชิงซีไรต์ (บ่าย 30 มิ.ย.) สัปดาห์นี้ขอกระซิบความคืบหน้ารางวัลศิลปิน ‘ศิลปาธร’ เสียหน่อยว่า ใกล้ถึงเวลา ประกาศผล แล้วเช่นกัน! โดย สำนักงานวัฒนธรรมร่วมสมัย เขาจะประกาศรอบ ‘ไฟนอล’ ทีเดียวเลย และใน สาขาวรรณศิลป์ ที่ชาวเราให้ความสนใจเป็นพิเศษ ต้องรอลุ้นกันละ นักเขียน-กวีท่านด? จะคว้ามาครอง แต่ “วรรณฤกษ์” เชื่อว่าเมื่อได้ยินชื่อ คงไม่ผิดหวัง หรือบางทีอาจถึงกับร้อง อื้ออือ...เออใช่! ก็เป็นได้ คอยจับตา...

00 คมทวน คันธนู กวีซีไรต์รุ่นใหญ่ (ปี 2526) ช่วงนี้ไม่มีงานใหม่ออกมา (เนื่องจากสุขภาพไม่คอยแข็งแรง) แต่ก็น่ายินดีที่งานเก่าระดับ ‘มาสเตอร์พีซ’ อย่างนวนิยายเชิงประวัติศาสตร์ คนกล้านอกตำนาน “นายขนมต้ม” ได้พิมพ์ซ้ำอยู่เรื่อยๆ ซึ่งสำนักพิมพ์ต่างๆ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ล่าสุด สำนักพิมพ์แสงดาว ของ จรัล หอมเทียนทอง นำมาพิมพ์ให้ คือ ครั้งที่ 11 ครับ...

00 พูดถึงกวีซีไรต์ เห็นมี โชคชัย บัณฑิต’ กวีซีไรต์ปี 2544 จากผลงานชุด “บ้านเก่า” นี่แหละ ที่ขยันส่งผลงานกระจายตีพิมพ์ ตามหน้านิตยสาร อย่างเสมอต้นเสมอปลาย “วรรณฤกษ์” ว่า ถ้ากวีซีไรต์รุ่นใกล้เคียงกัน เช่น เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ กวีซีไรต์ปี 2547 หรือ มนตรี ศรียงค์ กวีซีไรต์ปี 2550 มาร่วมสนุกด้วยละก็ คงทำให้ สนามกวี ตามหน้านิตยสารคึกคักครื้นเครงเป็นทวีคูณ...

00 ส่วนรุ่นก่อนหน้าอย่าง แรคำ ประโดยคำ กวีซีไรต์ปี 2541 หรือ รศ.สุพรรณ ทองคล้อย แห่งสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มช. ซึ่งเป็นอาจารย์สายตรงของ โชคชัย บัณฑิต’ นั้น คงไม่ตั้งความหวัง เพราะหลังคว้าซีไรต์ แทบหายไปจากวงการ! ท่านคงสนุกอยู่กับ สอนหนังสือ และ เขียนตำราวิชาการ เอ้า “อาจารย์ปื๊ด” อรรคภาค เล้าจินตนาศรี (ภาคย์ จินตนามัย, อชันตะ) ที่สอนอยู่คณะเดียวกันช่วยกันเติมไฟหน่อย หรือว่า งานวิชาการ กัดกร่อนเวลาพากันหมดแรง (ฮา)...

00 ดูเหมือนห่างหายไปจากวงการ แต่นักเขียน/กวีมือรางวัล จุฬา ละคร ตอนนี้ยังคงทำงานเขียน บทกวี เรื่องสั้น วรรณกรรมเยาวชน และ นิทาน ควบคู่กับงานประจำ (ย่านบางบอน) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ นิทานเด็ก ของเขาลงตีพิมพ์ในท้ายเล่ม ‘สกุลไทย’ สม่ำเสมอ รวมๆ หลายสิบเรื่อง ส่วน บทกวี เจ้าตัวบอกเขียนเก็บสะสมไว้เพียบ รวมทั้ง วรรณกรรมเยาวชน ทุกประเภทสามารถคัดสรร พิมพ์รวมเล่ม ได้สบาย เอ้าสำนักพิมพ์ไหนสนใจ ลองถามไถ่กันดู...

00 รายนี้สิห่างหายไปนาน ธราธิป กวี/นักเขียน ระดับขายดี เมื่อสิบกว่าปีก่อน เพื่อนมิตรหลายคนห่วงหา แต่พอเห็นเริ่มบทกวีลงตีพิมพ์ตามหน้านิตยสาร เพื่อนๆ พากันโล่งใจว่า “เพื่อนป๊อบ” นราธิป ยังอยู่ดีมีสุข (ฮา) เช่นเดียวกับครูกวี/นักเขียนกลุ่มนาคร กร ศิริวัฒโณ แห่งสุราษฎร์ธานี ที่พักหลังๆ งานเขียนน้อยลง แต่พอได้อ่านบทกวีใน เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่แล้ว ก็ชื่นใจ พี่เรายังมีไฟและฝีมือก็ไม่ตก...

00 นิตยสาร Hi-class เล่มล่า ภายใต้การดูแลของ บก.วรรณศิริ ศรีวรธนบูลย์ นักเขียนสาวลูกสองเจ้าของนามปากกา วีร์วิศ แม้วางแผง ล่าช้า แต่เธอทำด้วยความประณีต พิถีพิถัน เน้นความเป็นศิลปะ คอลัมน์ ‘ไทยไรเตอร์’ ก็สัมภาษณ์กวี/นักเขียน วสันต์ สิทธิ์เขตต์ ศิลปินรางวัลศิลปาธร สาขาทัศนศิลป์ แต่พูดก็พูดครับ บุคคลบนปก ฉบับนี้ดูท่าจะ ตั้งใจหล่อเนี้ยบ เหลือรับไปหน่อย ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน “เสี่ยคึก” เทพไท เสนพงศ์ (โทรโข่งองครักษ์ประจำหัวหน้าพรรคเทพ) เจ้าของ ‘ไฮ-คลาส’ ตัวจริง-เสียงจริงยุคก่อน? นั่นเอง (ฮา)...

00 ขึ้นปีที่ 5 นิตยสาร VOLUME เล่มล่า จึงหนาขึ้นเกือบ 2 เท่า เพราะ บก.เอกชยา สุขศิริ ได้เกณฑ์เอา ผู้จัดละครแต่ละค่าย แต่ละช่อง พร้อม ดาราในสังกัด มาถ่ายแฟชั่นให้ยลโฉมกันเต็มอิ่ม ส่วนคอลัมน์ประจำก็ครบครัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนวนิยายแปลโดยฝีมือ คำ ผกา ชื่อไทยว่า “อามาน : เรื่องเล่าเด็กสาวโซมาลี” ที่ลงเป็นตอนๆ กำลังน่าติดตามเชียว...

00 เอ่ยถึง คำ ผกา โดยฝีมือการเขียนธอเล่นได้ หลากสไตล์หลายรูปแบบ อย่างประเด็นสังคม-การเมืองใน มติชนสัปดาห์ ก็เข้มข้นร้อนแรง ก่อกระแสวิวาทะย้อนแย้งได้เสมอ ยิ่งงานด้าน ‘วรรณกรรม’ ไม่ว่าจะเป็น งานเขียน งานแปล บทวิจารณ์ ทั้งในนาม คำ ผกา และ ฮิมิโตะ ณ เกียวโต ยิ่งร้อนเร่า (อิ อิ) แต่ผลงานเล่มใหม่ว่าด้วยการทำ อาหารอีสาน ในประเทศญี่ปุ่น และ วัฒนธรรมการกินของคนเกียวโต ซึ่งเธอเขียนจากประสบการณ์ตรงที่กำลังจะ ออกเร็วๆ นี้ ไม่รู้ แซบอีหลี หรือ ร้อนจนขยี้จมูก มากกว่า ‘วาซาบิ’ หรือเปล่า...

00 หลายปีก่อนประจำการที่ สำนักพิมพ์เนชั่นบุ๊คส์ จากนั้นนักเขียนหนุ่ม โมน สวัสดิ์ศรี ออกมาเป็นนักเขียนอิสระอยู่พักใหญ่ ก่อนจะเข้าประจำการอีกครั้งที่ สำนักพิมพ์มติชน ในฐานะ ผู้ช่วย บก.วรรณกรรม ตามแนวถนัด ถึงแม้งานประจำรัดตัวเพียงใด โมน สวัสดิ์ศรี ก็กำลังจะมีผลงานเล่มใหม่ ถ้าจำไม่ผิดชื่อสวยๆ “รอยเท้าในสวน” เป็นงานเขียนเกี่ยวกับ มุมมองการใช้ชีวิตของผู้คน อะไรประมาณนั้น จะออกมาโอดโฉม เร็วๆ นี้ เช่นเดียวกัน...

00 ด้านนักเขียนนวนิยายยอดนิยมนาม วัตตรา ตอนนี้นับว่า มือขึ้นจริงๆ ผลงานของเธอแต่ละเรื่องเข้าคิว ป้อนละครโทรทัศน์ ไม่ขาดจอ ช่อง 3 ก็ดูเอาซี “ลูกไม้เปลี่ยนสี” เพิ่งจบไป “ก๊วนกามเทพ” และ “พระจันทร์สีรุ้ง” ก็ดาหน้า เรียกเรตติ้ง พร้อมๆ กัน สองเรื่อง-สองรส! ในขณะที่เรื่อง “รุ้งร้าว” ในนามปากกา กานติมา ก็จ่อคิวออนแอร์ตามมาติดๆ ซึ่งผลงานของ วัตตรา ส่วนใหญ่พิมพ์รวมเล่มกับ สำนักพิมพ์เพื่อนดี แฟนๆ นวนิยายยอดนิยมหาอ่านกันตามอัธยาศัย...

00 สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ร่วมกับพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย และสำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม ม.ธรรมศาสตร์ จัดโครงการอบรม ยุวกวีศรีศิลป์ รุ่นที่ 18 “นิราศพระประธม” วันที่ 16-18 มิถุนายนนี้ ณ อาคารอเนกประสงค์ 2 ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีวิทยากรไปให้วิทยาทานแก่ ครูภาษาไทย และ นักเรียน ผู้เข้ารับการอบรมเพียบ นำโดย ประยอม ซองทอง ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์, ทองแถม นาถจำนง, โชคชัย บัณฑิต’ และ ยุทธ โตอดิเทพย์ นายกสมาคม ฯลฯ...

00 ขอคารวะ-อาลัยรักต่อการจากไปของ ภิญโญ ศรีจำลอง กวี/นักเขียนอาวุโสวัย 74 ปี (เกิด 11 ธ.ค. 2477) เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนด้วยโรคเบาหวาน หลังเจ็บป่วยมานาน อ.ภิญโญ ได้รับการยกย่องเป็น ปฏิภาณกวี มีผลงานโดดเด่นทั้ง ร้อยแก้ว ร้อยกรอง เชี่ยวชาญทั้งด้านประวัติศาสตร์ อักษรศาสตร์ วรรณคดี และเป็นนักหนังสือพิมพ์ นักวิจารณ์ นักพากษ์หนังตะลุง ฯลฯ เคยได้รับการประกาศเกียรติเป็น ‘นักเขียนช่อการะเกดเกียรติยศ’ จากสำนักช่างวรรณกรรม ประจำปี 2540 ได้รับยกย่องเป็น ‘รัตนกวี’ จากสมาคมนักกลอนฯ เมื่อปี 2543 นับว่าเราได้สูญเสียผู้มีคุณูปการต่อ วงการกลอน-กวีเมืองไทย ไปอีกท่านหนึ่ง...

00 พิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อ 11 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ วัดชลประทานรังสฤษฎ์ นนทบุรี ซึ่งในงานนี้ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เป็นตัวแทนขึ้นไป อ่านบทกวี เพื่อคารวะและไว้อาลัยแด่ดวงวิญญาณปฏิภาณกวี “ภิญโญ” เป็นครั้งสุดท้าย-ขอจงสู่สุคติ...
พบกันใหม่สัปดาห์หน้า สวัสดีครับ

วรรณฤกษ์

หมายเหตุ : ท่านผู้อ่านมีความประสงค์จะส่งจดหมายหรือคำแนะนำใดๆ มายัง “ชานชาลานักเขียน” โปรดส่งตรงถึง “วรรณฤกษ์” ตู้ ปณ. 75 ปณฝ. หัวหมาก กรุงเทพฯ 10243 อีเมล : wannarerk@yahoo.com

ที่มา
//www.komchadluek.net/detail/20090615/16853/ชานชาลานักเขียนประจำวันที่14มิ.ย..html






 

Create Date : 11 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 11 กรกฎาคม 2552 17:41:15 น.
Counter : 658 Pageviews.  

ปั้นอักษรเป็นตัวละคร

ลับ ลวง พราง ละครไทย(2) : ปั้นอักษรเป็นตัวละคร เผยโฉม 3 นักประพันธ์มือทอง


วัตตรา



ขณะนี้ บทประพันธ์ของ "แวว" – วัตตรา เรื่อง ลูกไม้เปลี่ยนสี, พระจันทร์สีรุ้ง และก๊วนกามเทพ กำลังแพร่ภาพอยู่ทางช่อง 3 ก่อนหน้านี้ละครที่มีคนรู้จักและกล่าวถึงมาก อย่าง โบตั๋นกลีบสุดท้าย ก็เป็นผลงานเขียนของเธอเหมือนกัน


ลูกไม้เปลี่ยนสี(ช่อง3)



พระจันทร์สีรุ้ง






ก๊วนกามเทพ




ชื่อจริงของเธอคือ อภิญญา เคนนาสิงห์ นามปากกาที่ใช้ในการเขียนนวนิยาย เช่น วัสตรา (เขียนงานแนวสะท้อนปัญหาสังคม), วัตตรา (เขียนงานแนวโนแมนติกคอมเมดี้, โรแมนติกดราม่า) และ กานติมา (เขียนงานแนวเมโลดราม่า, ดรามาเข้มข้น, แฟนตาซี, เร้นลับ)

เธอเขียนหนังสือครั้งแรกเมื่อสมัยเรียนมัธยมปลายที่โรงเรียนสายปัญญา เป็นศิลปะศาสตร์บัณฑิต (เอกภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง รุ่นที่ 13 เริ่มต้นจากการเขียนนวนิยายเล่มเล็กๆบางๆ ราคา 10 บาทมาก่อน ระหว่างปี 2531 – 2543 ได้เข้าทำงานกับนิตยสารรายสัปดาห์, รายปักษ์ และรายเดือน หลายเล่ม อาทิ "ชีวิตต้องสู้" เป็นต้น หลังจากนั้นอยู่กับบ้าน เขียนนวนิยายเพียงอย่างเดียว

"วัสตรา แปลว่า เสื้อผ้าอาภรณ์ อาจารย์ที่แววนับถือท่านหนึ่งบอกว่า ส เป็นกาลกิณี แต่เราเองก็ไม่ได้สนใจหรอกว่าอะไรเป็นตัวกาลกิณี แต่หลังจากเขียนนวนิยายได้ 3 เรื่อง ก็เปลี่ยนเป็น วัตตรา เอาตัว "ต" ไปแทน "ส" และเปลี่ยนงานเขียนจากแนวสะท้อนสังคม ไม่มีพระเอก ไม่มีนางเอก ในนามปากกา "วัสตรา" มาเป็นแนวคอมเมดี้ โรแมนติด ดราม่า ช่วงนั้นได้มีโอกาสได้คุยกับคนในวงการบันเทิง และเริ่มมองการตลาดว่า เขียนอย่างไรจึงสามารถใช้งานได้จริง ไม่เป็นเรื่องอุดมคติเกินไป และสามารถนำบทไปสร้างเป็นละครได้"

แววยอมรับว่า เธอไปเรียนเขียนบทโทรทัศน์มาด้วย และการไปในครั้งนั้นทำให้เธอทราบความต่างของการเขียนนวนิยายกับการเขียนบทโทรทัศน์

"เข้าใจว่า วิธีการเล่าเรื่องของนิยายกับละครต่างกัน นิยายเล่าในแบบของเรา ละครเล่าในแบบของเขา ซึ่งมันก็ต้องคำนึงถึงเรื่องความยากง่ายในการถ่ายทำ ความเป็นไปได้ในแบบของเขา เรื่องความต่างเป็นเรื่องที่เราต้องทำใจ ซึ่งคนที่เป็นนักอ่านนวนิยายอาจจะไม่ชอบวิธีการเล่าเรื่องของละครโทรทัศน์ที่มีการต่อเติม เสริมแต่ง แต่ยืนยันว่า ละครทุกเรื่องเขายังรักษาแก่นของเรื่องที่เราเขียนไว้ได้ สิ่งที่เขาใส่เข้ามา เมื่อทำเป็นละครแล้วมันมีความสมดุล และเป็นจริงเป็นจัง เห็นภาพชัดเจน" แวว อภิญญา เคนนาสิงห์กล่าว

การเช่าซื้อบทประพันธ์ต่อเรื่องในระยะเวลา 5 ปี ไม่ได้หมายความว่า "ซื้อปุ๊บ ทำปั๊บ" บางเรื่องค้างอยู่ 2 ปีบ้าง 3 ปีบ้าง แต่ละช่องไม่ว่าจะเป็นช่อง 3 หรือช่อง 7 สี จะนิยมซื้อเรื่องไปตุนไว้ และหลายครั้งที่บทประพันธ์ของเธอถูกนำไปสร้างและออนแอร์ติดๆ กัน อย่างช่วงนี้ ช่อง 3 นำ "ลูกไม้เปลี่ยนสี", "พระจันทร์สีรุ้ง" และ "ก๊วนกามเทพ" มาออนแอร์ติดๆ กัน

นับถึงวันนี้ เธอมีนวนิยายอยู่ในมือราว 20 -30 เรื่อง งานเขียนของวัตตรา ส่วนใหญ่จะมีคู่พระ – นาง 2 คู่ บทประพันธ์ที่ได้ดั่งใจเธอ เธอยกนิ้วให้กับ "โบตั๋นกลีบสุดท้าย" ของ บริษัททีวีซีน แอนด์ พิคเจอร์

ล่าสุด การประกาศรางวัลบันเทิงที่มอบให้กับผู้ทำงานดีเด่นในปี 2551 จัดโดยสมาคม ผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย "สตาร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ อวอร์ด 2008" เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2552 ณ โรงภาพยนตร์สยามภาวาลัย พารากอนซิเนเพล็กซ์ สยามพารากอน เฉพาะภาพยนตร์เรื่อง "โบตั๋นกลีบสุดท้าย" คว้าไปทั้งสิ้น 4 รางวัล ได้แก่ รางวัลละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม, นักแสดงชายยอดเยี่ยม – อธิชาติ ชุมนานนท์, กำกับการแสดงยอดเยี่ยม – ชนะ คราประยูร, และบทละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม

"เรามองภาพว่ามันเป็นละครพีเรียด ประมาณปี 2498 – 2499 ความจริงเรื่องที่เราเขียนไว้มันไม่ได้ยิ่งใหญ่อะไรมากมาย คณะงิ้วจะอยู่หรือจะไปก็เป็นเรื่องของสังคมในยุคใหม่ที่เข้ามา แต่ 3 คนพี่น้องพยายามที่จะรักษาทุกอย่างเอาไว้ กับอีกบ้านหนึ่ง ที่เชื่อว่ามีลูกชายแล้วเฮง มันเฮงจริงหรือเปล่า เราเขียนและมีโอกาสใส่ข้อคิดเพื่อให้คนรักครอบครัวมากขึ้น ซึ่งทางทีวีซีนทำให้ภาพที่เราวาดไว้ในนวนิยาย สมบูรณ์ ไม่มีที่ติ และอาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ" กานติมา อีกหนึ่งนามปากกาที่แววใช้เขียนเรื่อง โบตั๋นกลีบสุดท้ายยอมรับ

บทประพันธ์ที่ช่อง 7 สีเคยซื้อไปทำเป็นละครมีเรื่องเดียวคือ "ทะเลสาบนกกาเหว่า" โดย กานติมา เขียนบทโทรทัศน์ ฐานวดี สถิตยุทธการ กำกับการแสดง มารุต สาโรวาท

"ช่อง 7 ส่วนใหญ่มีนักเขียนประจำที่เขาซื้อ – ขายเรื่องกันอยู่แล้ว อย่าง ทะเลสาบนกกาเหว่า เนื่องจากคุณต้อ มารุต สาโรวาท เขาอยู่ที่ช่อง 3 มาก่อนที่จะย้ายไปทำละครกับช่อง 7 สี เขาเป็นคนอ่านงานของเราแล้วเสนองานกับทางช่องไป นักเขียนบางคนเมื่อสนิทสนมอยู่กับค่ายหรือช่องก็จะวิ่งเสนองานเข้าไปก็มี อย่างของเราไม่ได้ส่งไปไหน อยู่เฉยๆ อ่านแล้วชอบก็โทรมา ซึ่งเป็นช่อง 3 เป็นส่วนใหญ่" อภิญญา เคนนาสิงห์กล่าว

"เราเองก็เคยติดการเล่าเรื่องอย่างนักเขียนผู้ใหญ่ ติดสำนวน ติดการเล่าเรื่องแบบนั้นมา แต่ ณ วันนี้เราพยายามที่จะพัฒนากลวิธีการทำงานแบบใหม่ที่เป็นสไตล์ของเราเอง ไม่ติดในภาษา เพราะถ้าติดในภาษา จะทำให้บทละครแข็ง ไม่ได้อรรถรส ไม่ได้ความประทับใจ"

"ก๊วนกามเทพ" ละครหัวค่ำ ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 19.15 น. ผลิตโดย บริษัท ดวงมาลีมณีจันทร์ จำกัด ซึ่งมี จันทร์จิรา จูแจ้งเป็นผู้จัด

"เรื่องนี้ทางช่อง 3 ซื้อทิ้งไว้นานมากจนหมดสัญญา 5 ปี การทำละครในครั้งนี้เป็นการซื้อลิขสิทธิ์ครั้งที่ 2 ซื้อปุ๊บ ทำปั๊บ"

บทประพันธ์ของวัตตราที่ถูกนำไปทำละครรีเมกยังไม่มี

รวมผลงานของ "วัตตรา" ที่ได้รับการเช่าซื้อลิขสิทธิ์จากช่อง 3 ไปสร้างเป็นละคร เช่น บอดี้การ์ดแดดเดียว, รหัสลับสมปองน้องสมชาย , ก๊วนกามเทพ, ลูกไม้เปลี่ยนสี, พระจันทร์สีรุ้ง และเรื่องนี้ คุณหนูฉันทนา (กำลังเจรจา) และในนามปากกา "กานติมา" เช่น ร่ายริษยา, โบตั่นกลีบสุดท้าย, รุ้งร้าว เป็นต้น นามปากกานี้ เคยเป็นละครช่อง 7 สีเพียงเรื่องเดียวคือ ทะเลสาบนกกาเหว่า เท่านั้น

ส่วนผลงานที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันคือ พ่อหม้ายเนื้อทอง (วัตตรา), บาปกามเทพ (กานติมา – ดาราภาพยนตร์), บัลลังก์หงส์ (กานติมา – หญิงไทย), วิมานเล่ห์ (วัตตรา – หญิงไทย)

//www.manager.co.th/entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9520000062329&Page=2

ผลงานรวมเล่มของวัตตรา












 

Create Date : 04 มิถุนายน 2552    
Last Update : 12 มิถุนายน 2552 12:23:07 น.
Counter : 1656 Pageviews.  

หัวข้อเสวนา "นิยายรัก นิยายชีวิตของวัสตรา"2



หัวข้อเสวนา

หัวข้อเสวนา "นิยายรัก นิยายชีวิตของวัสตรา"
โดย วัสตรา (อภิญญา เคนนาสิงห์)
ดำเนินการเสวนาโดย บก.จำเนียร พลสวัสดิ์



วัสตรา ก็ไม่แน่ใจนะคะ เท่าที่สัมผัสเพื่อนฝูงกันมา ก็จะบอกว่าล่วงเลยมาถึงเลขสี่เข้าไปแล้ว บางคนก็ยังไม่มีผู้ชาย ไม่มีความรัก ไม่มีอะไร อันนี้หล่ะเราต้องถาม ขอถามเขาว่า อย่างหาว่าเราทะลึ่ง ลามกอะไร อยากรู้ ว่าอยู่มาจนปานนี้แล้วเธอคิดอะไรกับผู้ชายไหม เคยรู้สึกอะไรกับผู้ชายไหม เห็นผู้ชายเขาจูงมือกัน กอดกันแล้วเรารู้สึกอย่างไร ซึ่งเพื่อนก็จะบอกว่าไม่รู้สึก เราก็บอกว่าอยากโกหกบอกความจริง เขาก็บอกว่าไม่รู้สึกอะไร เราก็จะอนุมานว่าอยู่มาปานนี้แล้วไม่รู้สึกอะไรก็คงไม่มีอะไรมั้ย

จำเนียร นี่เป็นจุดหนึ่งที่เขียนม่านรักไฟเสน่หา สะท้อนภาพของผู้หญิงที่ล่วงเลยมาพอสมควรแล้วว่าจะรู้สึกนึกคิดอะไรจริงแล้วทุกคนก็มีความรู้สึกนึกคิด แล้วแต่ว่าใครจะควบคุมความรู้สึกของตนได้แค่ไหนด้วยความแตกต่างจากประเทศอื่น มีกรอบของจารีต ประเพณี สังคม กฎหมายศีลธรรมของสังคมอยู่ แต่เรื่องนี้คืออยากจะสื่อว่า ถ้าผู้หญิงในวัยนี้ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้แล้วเขาจะเป็นอย่างไร

วัสตรา จริง ๆ แล้วถ้าผู้หญิงในเรื่องนี้ ไม่มีกรอบ ไม่มีประเพณี หรือว่าไม่มีความกลัวควบคุมเขาก็จะไปได้เรื่อยเปื่อยผู้หญิงวัย ยี่สิบเจ็ด ในปัจจุบันธรรมดามากเลย อยากอายุ สามสิบ สามสิบห้าขึ้น เขาก็ยังแต่งงานได้เลย แต่ว่าที่เราวางตัวละครไว้เป็นสาว เพราะว่าตั้งแต่เราเรียนจบมา สิ่งที่เกิดกับผู้หญิงคนนี้ สองสามปีไม่ว่าจะเป็นคนนี้หรือว่าตกงาน การค้นพบความเป็นจริงแห่งชีวิต ช่วงหนึ่งที่เธอเข้าใจผิดกับแม่ของเธอ แม่มีหน้าที่หาเงินให้ มีหน้าที่ส่งเสียให้เรียน จนเมื่อวันนี้ ความลับของแม่เปิดเผย จริง ๆ แล้วแม่ไปเป็นเมียน้อยเมียเก็บของเสี่ยใหญ่ ซึ่งจริง ๆ แล้วคนส่วนใหญ่ สี่สิบกว่าเป็นเมียน้อยมีเหตุผลอะไร จริงๆ แล้วการมีเมียน้อย เมียหลวงมีมานานแล้ว พอนางเอกเขารู้ว่าลับของแม่แล้วเขาก็ยอมรับไม่ได้ ก็ไปเลยไม่มีใครควบคุม ความรู้ผู้ชายที่เขาคบ มอบทั้งกายและใจให้หมดเลย ทั้งๆ ที่ไม่รู้จักความรู้ว่าความรักคืออะไร ความใคร่คืออะไร พอมีความสัมพันธ์กับผู้ชายคนนี้แล้ว ก็รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองรู้จักน้องชาย น้องสะใภ้มันคือความรักหรือความใคร่ เธอก็ไม่รู้ว่ามันไม่ใช่ แต่ก็ยังคบหาอยู่ แต่คราวนี้พอรู้สึกความมันไม่ใช่อยากที่เธอคิดต้องการเธอการแสวงหาเพิ่มเติมโดยที่ไม่ได้ค้นหาที่ไหน แต่ด้วยหน้าที่การงานที่เธอทำทำให้เธอไปเจอกับผู้ชายที่สมบูรณ์แบบคือหน้าที่การงานดี หน้าตาดี เป็นผู้ใหญ่

จำเนียร ซึ่งคนนี้ก็น่าจะสมบูรณ์แบบกับการเป็นครอบครัว

วัสตรา แถมเมื่อความสัมพันธ์กันแล้ว เธอสามารถตอบว่าใช่ สิ่งที่เธอสงสัยมาตลอดระหว่าง เธออยู่ในบ้านใช่แล้วหล่ะ แต่จิตใต้สำนึกก็บอกให้เธอรู้สึกว่าไปเป็นมือที่สาม ของครอบครัวอื่นนี้แหละที่ให้เธอถูกขีดคั้นไว้ตรงนี้

จำเนียร ปรากฏว่าสิ่งที่เธอต้องการก็ไม่ใช้สมบูรณ์ถึงตรงนี้ คนที่คิดว่าจะเป็นคู่ชีวิตหรือเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์

วัสตรา ก็คิดว่าความฝันของชีวิตผู้หญิงคนหนึ่ง คือ อยากได้ผู้ชายที่ดีที่สุด สมบูรณ์แบบที่สุด เรื่องความสัมพันธ์อันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ใช้ได้ แต่ที่ไม่ได้คือ เธอไปเป็นมือที่สามของคนอื่นเขา ว่าในเนื้อเรื่องตรงนี้มีบ้านใหญ่บ้านเล็กมาตบตีกันไหม ตอบว่าไม่มี มันคลาสสิกว่าตรงนั้น มันเป็นเรื่องของจิตสำนึก พอถามผู้ชายว่าทำไมถึงอยากมีเมียน้อยเราเขาก็ให้เหตุผลดีมาก ตรงที่ว่าเขาก็มาจากการคลุมถุงชน แล้วบังเอิญมาเจอกับผู้หญิงคนนี้เขาก็คิดว่าใช่ ถึงกันธิชาจะไม่ใช่ผู้หญิงที่ดีมาจากไหน แต่ความเป็นแม่บ้านแม่เรือนก็พอได้ ก็เพราะเธอเขามาชดเชยตัวเองด้วยการจัดบ้านกระจุกกระจิก จึงทำให้ผู้ชายคนที่สองของเธอชอบ อยากได้เพราะฉะนั้นมันไม่มีทางออก แล้วเราจะอยู่กันอย่างนี้ดีไหม หาบ้านให้อยู่กันเพื่อนความสบายใจแบบนี้

จำเนียร ฟังดูแก่นของเรื่องก็หนักหน่วงเหมือนกัน เพียงแต่ว่าวิธีการนำเสนออ้างจะมีรูปแบบสีสันให้ผ่อนคลาย อาจจะไม่ใช่เป็นหนังสือ วิชาการ กล่าวถึงเรื่องครอบครัวหรือปัญหาหลากหลาย จะว่าไปนิยายก็เหมือนกับเรื่องอ่านเล่น ทุกคนว่าจะเอาอะไรแต่ในนิยายแต่ความรู้สึกตรงนี้ เราอาจจะอ่านเรื่องราวที่หนัก ๆ แล้วก็สามารถนำมาประยุกต์กับชีวิต เท่าที่ฟังจากคุณแววพูดถึงหนังสือ ที่ผ่านมาตรงนี้แล้ว ก็อยากทราบถึงการแบ่งเวลาในการทำงานอย่างไร พอเห็นว่าก็มีตัวเล็ก ๆ ค่อนดูแลอยู่เหมือนกัน ใช้เวลาการทำงานอย่างไร

วัสตรา ส่วนใหญ่ถ้าจะพูดถึงการทำงานที่ทำอยู่ในนามปากกา วัสตรา ส.เสือ ที่สองสามปีจะออกมาทีกับสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์นก็ยังมีงานในนามปากกาอื่นก็มีกันทิมาที่ใช้ในงานแนวมิติมหัศจรรย์ กับนามปากกาวัตตรา ที่สะกดด้วย ต.เตา นะคะก็มีเหมือนกัน ถ้าวัสตรา ส.เสือจะเป็นสะท้อนสังคมแน่นอน แต่ถ้าเป็น ต.เตาจะเป็นงาน Comedy คืองานสนุกสนาน ก็ดูว่าคนที่เขียนเรื่อง หนัก ๆ เมื่อเขียนอะไรที่สนุกสนานแล้วจะเป็นอย่างไร อย่างเรื่องมหัศจรรย์เป็นเรื่องเกี่ยวกับเรื่องเหลือเชื่อ เกินจริง ซึ่งบางทีเราก็อยากจะหลุดออกไป เหมือนกัน อยากเรื่องจิตวิญญาณ แต่ถ้าถามว่าในนามปากกาของ กันทิมาออกมามากนั้น มันก็จะไม่มากได้เพื่อบางทีเราเขียนก็ต้องนึกตลาดอยู่เหมือนกัน อย่างเช่นงานของประพันธ์สาส์นจะเขียนอะไรก็ต้องคุยกันก่อนมีมุมมองที่สะท้อนหนังสืออยู่ทางตอนนี้ งานรายปักษ์ก็มีทำอยู่ว่าในสัปดาห์หนึ่งต้องทำงานให้ได้ 3 อย่าง ถ้าจะทำในเล่มใหญ่ก็ต้องทำ ตื่นแต่เช้าตีสี่ทำงานเสร็จ ส่งเด็กไปโรงเรียนแล้วก็กลับมาทำงานต่อ

จำเนียร มันต่างกันไหมกับงานเขียนที่ลงนวนิยายที่ลงตามหน้านิตยสาร ซึ่งบางทีที่เราเขียนไปแล้วต้องปิดท้ายให้จบแต่ละสัปดาห์กับการเขียนตั้งแต่ต้นจนจบพอจะเขียนโครงเรื่องทั้งหมดจะทิ้งไว้ สองสัปดาห์แล้วมาตกแต่งใหม่

วัสตรา ถ้าเป็นงานที่เราตั้งใจว่าเขียนให้เป็นเล่มทีเดียวจบเลยนั้น บางทีเราก็เขียนได้เรื่อย ๆ แต่พอตอนเราจะทิ้งความอยากในแต่ละตอนนั้นไว้ ว่าตอนหน้าจะเป็นอย่างไร ก็เว้นไว้สักวันสองวันเราก็มาเขียนต่อ บางทีเราก็รู้สึกนึกสนุก แต่เราก็จะทิ้งเอาไว้ก่อน ส่วนใหญ่ที่เราทำงานเราก็จะแบ่งเอาไว้ว่าเราจะทำอะไร กว่าจะเวียนมาถึงเรื่องนี้เราก็จะขัดเกลาของเก่าอยู่เหมือนเก่าเหมือนกัน ถ้าถามว่าแต่ละเรื่องที่เขียนจะมีโครงไหมตอบว่ามันมีตั้งแต่ต้นจนจบ มันก็มีโครงเรื่องเอาไว้ บางเรื่องต้องมีการทำรายละเอียดของแต่ละเรื่องไว้ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างในแต่ละตอนแล้วบ้างเราต้องคุมให้จบแต่ละตอนไว้ให้ลงตัว

จำเนียร สำหรับวันนี้เราก็ได้ฟังการทำงานของนักเขียน ซึ่งเธอก็เดินบนถนนสายนี้ นับว่าเป็นเวลาไม่น้อยเลยทีเดียว นับตั้งแต่วัยเรียน จนกลายมาเป็นอาชีพหนึ่งที่เธอคิดว่าดีพอสมควร และอีกไม่นานหนังสือของเธอเองก็จะถูกดัดแปลงไปเป็นละครทีวีด้วยกัน ช่วงนี้เป็น ช่วงในการติดต่อกันอยู่ ซึ่งสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น ก็คิดว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีไม่น้อยที่เป็นตัวอย่างให้กับนักเขียนหรือคนที่อยากจะเดินบนถนนสายนี้ ในทางสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์นที่อยากจะพิมพ์หนังสือเป็นเล่มแล้วก็ยังมีพื้นที่ในเว็บไซต์ที่เราเรียกว่า ถนนนัก(ขอ)เขียน เพื่อจะให้น้อง ๆ พี่ ๆ หรือใครก็ตามที่ไม่จำกัดอายุส่งต้นฉบับเข้าไปแล้วเราก็มีพื้นที่ให้ลงทุกคน พอให้ลงแล้วถึงช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทางกองบก.ก็จะมาคัดสรรอ่านกันดูว่าเรื่องไหนน่าสนใจ จริงๆ เราก็จะตีพิมพ์เป็นเล่มด้วยเหมือนกัน แต่ช่วงต้น ๆ ก็อยากจะให้กำลังใจกับน้อง ๆ ที่เริ่มต้นใหม่ ซึ่งในวันนี้เองคงจะเป็นขอที่ระลึกกับคนที่จะเริ่มต้นที่จะเขียนนวนิยายโดยให้คุณวัสตราเป็นคนมอบของที่ระลึกให้กับน้อง ซึ่งจริงๆ เราคัดไว้มีสามท่าน แต่วันนี้วันรับรางวัล 2 ท่านคนแรกของเชิญ คุณสิรินธร ไชยศักดา เขียนเรื่องนรีกับคีตา คนที่สอง คุณพรพิมล วงษ์แสง เขียนเรื่องปางก่อน เชิญครับ อีกท่านหนึ่งไม่ได้มาร่วมงานคือคุณชัยรัตน์ อึ้งรัตนวงษ์ ชื่อเรื่อง คืนหนาวดอกรักบาน ตอนนี้ก็คงจะมาถึงช่วงท้ายของรายการของสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์นก็อยากให้คุณวัสตรา ทิ้งท้ายอะไรฝากถึงผู้เขียน

วัสตรา ถ้าพูดถึงการเดินทางของถนนทางนี้ถามว่า ตัวเราเองเป็นที่รู้จักของใครไหม จะบอกว่าไม่รู้เพราะตัวเองก็ไม่ได้วัดกับคนอ่านอะไรเลยนะคะ แต่เราทำไปได้สักระยะหนึ่งก็จะพบว่าวัยที่มันผ่านมาจะช่วยเราได้เยอะแล้วถามว่าเด็กหล่ะเราอยากทำบ้างไหม หนังสือเป็นแหล่งข้อมูลที่ดี สำหรับคนที่เริ่มต้นงานเขียนถ้าคิดแล้วต้องเขียนอยากวางไว้เฉย ๆ ถ้าคนที่มีความสนใจอยู่แล้วมันจะเหมือนกับมีพรสวรรค์ และใจต้องใฝ่หาความรู้คิด แล้วต้องเขียน ต้องศึกษาเพิ่มเติมพูดคุย ไปงานเสวนานักเขียนก็อย่างตัวอย่างตัวเองเวลาเข้ามีงานที่ไหนก็จะไปแอบดูไปฟัง ก็จะได้ส่วนนั้นมา ถามว่าแล้วสนามที่จะพิสูจน์ตัวเองหล่ะ เดี๋ยวนี้สนามมีเยอะยังประพันธ์สาส์นก็ที่มีเว็ปไชต์ที่ถือว่ามีสนามที่แปลกไปจากสมัยก่อน แต่ถ้าว่าทุกวันนี้การเป็นนักเขียนของตนเองสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ไหม และทำงานอย่างไรให้ดำรงชีวิตยู่ได้ ตัวเองก็คงไม่ได้เป็นมาตราฐานของการมีอาชีพนักเขียนเท่าที่ผ่านมาในระยะสอง สามปีที่จะออกกับสำนักพิมพ์หนึ่ง ก็จะมีงานหลายนามปากกา สมมุติว่าสำนักพิมพ์นี้รับงานแนวหนึ่งและอีกสำนักพิมพ์หนึ่งรับงานอีกแนวหนึ่งเราต้องพัฒนาในด้านงานเขียนหาข้อมูลและการนำเสนอทุกวันนี้เขียนงานมานับว่า สิบกว่าปีแล้ว เราก็ยังได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อ่าน ซึ่งคนอ่านถ้าเป็นนักอ่านทั่วไป ๆ ถ้าเป็นคนอ่านทางสำนักพิมพ์เราก็รับฟังเพื่อการพัฒนา แต่ถ้าเป็นนักอ่านที่ต้องการจะจับเรื่องราวของเราเป็นทำเป็นธุรกิจอย่างอื่น เช่น พวกค่ายละคร การที่เขาแสดงความคิดเห็นกับงานเขียนของเราก็จะเป็นประโยชน์กับเรา นั่นก็เป็นประโยชน์อีกอย่างที่จะพัฒนางานเขียนให้ก้าวไปสู่อีกเวทีหนึ่งเหมือนกัน เมื่อเป็นนวนิยายแล้วผู้จัดละครเขาก็จะมาปิ้งงานของเรา พอผ่านแล้ว มีงานปรากฏที่จอสักเรื่องหนึ่ง หนังจากนั้นก็จะมีอะไรขยับขึ้นมาอีก เพื่อให้เกิดผลงานที่ดี ถ้าเป็นในยุคเริ่มต้นแล้วเมื่อเริ่มคิดแล้วต้องเขียนเลย แล้วหาผู้เชี่ยวชาญมาดู แต่สำหรับตัวเองแล้วกำลังใจที่เราจะมีในการทำงาน เมื่อเราเห็นงานเราถูกวิพากษ์วิจารณ์แนะนำเราก็ดีใจแล้ว

จำเนียร สำหรับวันนี้สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์นของขอขอบคุณผู้ฟังที่มานั่งฟังกันในวันนี้

//www.praphansarn.com/ Pr/niyay2.asp






 

Create Date : 01 มีนาคม 2549    
Last Update : 1 มิถุนายน 2551 18:43:13 น.
Counter : 598 Pageviews.  

หัวข้อเสวนา "นิยายรัก นิยายชีวิตของวัสตรา"1







จากขอบเวที.....สู่นักอ่าน
หัวข้อเสวนา
หัวข้อเสวนา "นิยายรัก นิยายชีวิตของวัสตรา"
โดย วัสตรา (อภิญญา เคนนาสิงห์)
ดำเนินการเสวนาโดย บก.จำเนียร พลสวัสดิ์



วัสตรา ค่ะ ก็จะมีนักวิจารณ์อย่างเช่นคุณไพลิน รุ้งรัตน์ ได้วิจารณ์ลงในสยามรัฐ ว่าเราเขียนงานออกมาแบบนี้เป็นการสะท้อนความจริงเกินไปหรือเปล่า นักวิจารณ์เขาบอกว่าอันนี้คัดลอกคำของเขามาเลยว่า พอเราไปอ่านตอนแรกเราก็จะงงว่าเขาชมหรือว่าอะไร เพราะมีเสียงตอบรับหลายแบบมากทั้งหนังสือพิมพ์หรือวิทยุว่าคนเขียนนวนิยายหนึ่งเล่มต้องคำนึงถึงอะไร ซึ่งพูดได้เลยว่าผู้ใหญ่ในเรื่องไม่มีใครดีเลยสักคนแล้วเด็กที่ออกมาผจญภัยภายนอกก็เจอแต่สิ่งเลวร้ายไม่มีมุมมองที่ดี แต่ในมุมมองของเรากลับมองว่าในโลกนี้ไม่มีอะไรดีทั้งหมดแต่ในโลกแคบในนวนิยายของเรา แค่ 30 ตอน เราขีดกรอบเขาไว้ตรงนั้นเราไม่ให้เจอสิ่งที่ดีแน่นอน ถ้าเขาเจอสิ่งที่ดี พอเด็กอ่านก็นึกว่าต้องเจอสิ่งที่ดี เด็กก็หนีออกจากบ้านได้เพราะเจอสิ่งที่ดี แต่ที่เราทำเอาไว้ไม่ให้เจอสิ่งที่ดี สภาพความเป็นจริงมันเป็นอย่างนั้น

จำเนียร ขอเล่าเรื่องย่อ ๆ ของ"ก้าวที่กล้า"ให้ฟังสักเล็กน้อย เพื่อที่เราได้นั่งฟังอยู่จะได้ต่อกันติด คือเรื่อง "ก้าวที่กล้า" เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวละคร ซึ่งช่วงนั้นยังเป็นวัยรุ่น ผู้หญิงเองก็เป็นแค่วัยมัธยมอายุประมาณ สิบหกปี

วัสตรา สิบสาม สิบสี่เองค่ะ ส่วนตัวผู้ชายก็เหมือนเป็นเด็กที่มีปัญหาหนีออกจากบ้านมา แล้วเมื่อมาเจอกันทุกคนก็มีปัญหาทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ลองคิดดูว่าในสภาพสังคมอย่างนั้นเด็กจะเป็นอย่างไร

จำเนียร ตรงนี้ที่ว่า "ก้าวที่กล้า" คงหมายถึงผู้เขียนด้วยที่ว่ากล้าที่จะนำเสนอประเด็นทั้งตัวที่เป็นพระเอก กับตัวนางเอกอยู่ในอีกรูปแบบ อย่างตัวนางเอกอาจจะไม่สมบูรณ์ที่จะต้องไปพบกับเจ้าชาย หรือว่าเจ้าหญิง ตัวนี้ก็อาจถูกพูดถึงค่อนข้างมากนิดหนึ่ง ตรงนี้เป็นอย่างไรเมื่องานเขียนถูกวิจารณ์ออกไปค่อนข้างมาก

วัสตรา มันมีแง่คิดมุมมองนิดเดียวตรงที่ว่า ถ้าเราจะเสนองานสะท้อนสังคมที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในปัจจุบัน เราก็จะเป็นวัสตรา ส.เสือ หากใครเห็นวัสตรา ส.เสือ ก็จะรู้ว่าคนนี้เขียนเรื่องสะท้อนสังคม ในมุมมองของนักเขียนเอง ถ้าเพื่อคนอ่านหนังสือมากหรือเจออะไรมาก แต่ไม่รู้จักถ่ายทอดมาได้อย่างไร แต่เรารู้สึกอย่างไรก็จะถ่ายทอดมาอย่างนั้นโดยเฉพาะมุมของเราก็จะเขียนขอบเขตอยู่ตรงนั้น ฉะนั้นชื่อวัสตราที่สะกดด้วย ส.เสือ จะเป็นงานที่สะท้อนความเป็นจริงของสังคม ตามวัยของเราหรือตามสิ่งที่เราเผชิญ ถ้านามปากกาแบบนี้ พระเอก นางเอกของเรื่องจะไม่ใช่เจ้าชาย เจ้าหญิง อย่างแน่นอน เป็นมนุษย์เดินดินธรรมดาจะดีจะเลวก็คลุกเคล้ากันไปสิ่งที่เขากระทำอยู่ตรงนั้นไปกระทบกัน

จำเนียร ฉะนั้นเรื่องราวของ "ก้าวที่กล้า" จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวัยรุ่น อาจจะเป็นเพราะช่วงนั้นเรายังเป็นวัยรุ่นอยู่หรือเปล่าครับ ไม่ทราบประสบการณ์ของตัวละครในเรื่องเป็นประสบการณ์ตรง หรือว่าประสบการณ์จากข้อมูลข่าวสาร รู้สึกว่าเรื่องราวของปัญหาตรงนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับยาเสพติดเข้ามายุ่งเกี่ยวอยู่เหมือนกัน

วัสตรา ถ้าพูดถึงในยุคโน้นในความคิดตอนนั้น ช่วงนั้นจะมีเรื่องขอทานเรื่องเด็กหนีออกจากบ้าน พ่อแม่รังแกลูก หรือเรื่องแม่เลี้ยงลูกเลี้ยงมีเยอะ ในแนวที่ตัวเองวางไว้นี้ ช่วงนั้นจะทำงานสัมภาษณ์เกี่ยวกับสังคมสงเคราะห์บ่อย เราจะรู้ว่าเด็กที่หนีออกจากบ้านหรือเวลามีปัญหาแล้วไม่มีญาติพี่น้องหรือไม่มีใคร เขาจะถูกส่งไปไหน พอเรารู้ปัญหาปุ๊บเราก็จะมาวางโครงเรื่อง เราก็จะไม่อิงหลักการจริงเสียทีเดียว เราไม่อาจจะแตะต้องสถาบันใด หรือหน่วยงานใดอย่างจริงจัง การที่เราวางโครงเรื่องเด็ก 2 คน หนีออกจากบ้านเป็นเรื่องธรรมดา แต่ละครจะมีพื้นฐานของแต่ละครอบครัวต่างกัน อย่างเด็กผู้หญิงหนีออกจากบ้าน ทั้ง ๆ ที่บ้านมีพ่อมีแม่ครบ พ่อแม่เลี้ยงลูกอย่างไร

จำเนียร ต้องถามว่าบ้านเขาอบอุ่นไหม

วัสตรา เมื่อครอบครัวไม่อบอุ่นเด็กก็ออกจากบ้านได้ ส่วนจอมพลครอบครัวอยู่ต่างจังหวัด เขาหนีออกจากบ้านเพราะความฝัน เขาฝันจะทำงานด้านศิลปะ ถามว่าเป็นใครที่เรารู้จักไหม ก็เป็นจากเพื่อนจากน้องที่อยู่แวดล้อมเอง และบางทีเราก็ใส่ความรู้สึกของคนที่ต้องการทำงานศิลป์ เราก็นำเอาประสบการณ์ที่เราสัมผัสไปใส่ในตัวจอมพล ซึ่งแน่นอนว่าเด็ก สอง คนนี้ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างมีปมในจิต เมื่อคุยกันถูกใจปุ๊บก็ไป เป็นอันว่า ทั้งสองคนก็ต้องเผชิญกับคนรอบข้าง ทั้งหวังผลประโยชน์ ทั้งโกง ที่เราจงใจวางไว้ให้เห็น ไม่ให้มองปัญหาแค่มีคนมารับก็จบเรื่องราว แต่ในความเป็นจริงแล้วจุดจบมันคือความตาย

จำเนียร ฟังดูก็หนักหน่วงอยู่เสมอกัน ถ้าเราอ่านตามหน้านิตยสารหนังสือพิมพ์จะว่าไปมันก็คือข่าวสารที่เราได้รับรู้ได้เห็นอยู่บ่อย ๆ จนกลายเป็นความชาชินอยู่เหมือนกัน ด้วยมุมมองและสายตาของผู้เขียนเราสามารถจะหยิบ จะจับ จะเขียน สะท้อน บางทีเราอ่านเรื่องราวในข่าวอ่านแล้วก็ทิ้ง แต่พอได้อ่านนิยาย ที่ผู้เขียนได้หยิบ ได้จับทำให้มีสีสัน สามารถสื่อสะท้อนปัญหา ถึงจะไม่ไขปัญหาที่จบสิ้น แต่มันก็โดนใจอยู่เหมือนกัน นี้เราจะทำอย่างไรกับคนรอบข้างกับครอบครัวให้อบอุ่น อย่างน้อยเราก็จะพยายามปลูกสวนดอกไม้ของเรา และแต่ละคนพยายามปลูกดอกไม้ ทำให้สังคมอบอุ่น อาจจะเริ่มต้นมาจากครอบครัวก่อนแม้เป็นเพียงกลุ่มเล็ก ๆ ก็อาจจะทำให้สังคมดีขึ้นอยู่เหมือนกัน จากในส่วนเรื่องของ"ก้าวที่กล้า"ที่พูดถึงความรักปัญหา วัยรุ่นพอเมื่อวัยขยับเข้ามา คุณแววทำงานอยู่กับสื่อสิ่งพิมพ์ก็อยากจะสะท้อนความรักบ้าง แต่คงจะไม่ใช่เรื่องของคนในแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์อย่างเดียว อาจจะเห็นแค่ฉาก แค่โครงเรื่องเท่านั้น นี้เป็นที่มาของเรื่องต่อมาคือเรื่องจัตุรัสรัก เรื่องนี้เขียนขึ้นมาทิ้งระยะห่างจากเรื่อง"ก้าวที่กล้า"นานไหมครับ

วัสตรา ก็สักสามสี่ปี โตขึ้นมาอีกหน่อยหนึ่ง ก็จะเจอชีวิต เจอความรัก พอมาจับเรื่องความรัก แต่ว่าก็เป็นความรักเรื่องที่นางเอกคนนี้ ก็จะไม่ใช่นางเอกที่บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ใช่ชายหนุ่มรูปงาม แต่จะเป็นเรื่องของสมมุติฉากเป็นเรื่องของแวดวงทางสิ่งพิมพ์ก็เพราะว่าเราอยู่ในแวดวงสิ่งพิมพ์ เราก็จะเจอประสบการณ์ตรง จากเพื่อนร่วมงานที่มีวิถีชีวิต เช่นนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคนในแวดวงสิ่งพิมพ์ต้องเห็นอย่างนี้ทั้งหมดเราวางขึ้นมาเพื่อให้คนมีวิธีชีวิตแบบนี้เพื่อเป็นอิสระในการดำรงชีวิต ดังนั้นการเขียนเรื่องนี้จะสะท้อนให้เห็นความรัก ในบางทีคนที่เรารักอาจจะไม่สมบูรณ์

จำเนียร อาจจะไม่สมบูรณ์ทั้งหมดดีพร้อมทุกอย่าง

วัสตรา ใช่ เพราะตัวละครนางเอกก็จะมีปมชีวิต มีแม่ที่ไม่เอาใจใส่อยู่ในวัยสาวมีผู้ชายผ่านเข้ามาในชีวิต ซึ่งพอตัวละครตัวนี้โตขึ้นสามารถดำรงชีวิตด้วยตัวเองแล้ว มีเงินก้อนหนึ่งแล้ว ก็อยากจะมีความรัก แสวงหาความรัก อยากจะชดเชยความรักใครก็ได้ที่อยากจะให้เขามีความรัก ทำให้เขาสมปรารถนาดังนั้นหัวใจของเขาก็เลยเหมือนจัตุรัส คือมี สาม สี่อย่าง คือความดีจากผู้ชายคนนี้ก็มี ความน่ารักจากผู้ชายคนนี้ก็มี ความอบอุ่นจากผู้ชายคนนี้ก็มี นั่นเป็นเรื่องของคนที่แสวงหา

จำเนียร คือจะมองว่าลักษณะของครอบครัวและสังคม ผู้ชายหรือผู้หญิงที่เขามาในชีวิตเรา บางคนอาจจะดีตรงนี้อีกแบบ แต่ว่าในด้านร้ายก็มี ก็กลายเป็นว่าคนนี้ก็ดี นิดหนึ่ง คนโน้นก็ดีอีกแบบหนึ่ง อยากจะขย้ำๆ รวมๆ กันเป็นสิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด แต่จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่เป็นอย่างนั้น

วัสตรา น่าจะเป็นอย่างนั้น พอถามว่าแก่นของเรื่องอยู่ที่ตรงไหน อยู่ที่ว่าจุดเริ่มต้นของชีวิตมากกว่า ถ้ามองลึกลงไปมันก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยาของคนในครอบครัว การเลี้ยงลูก การดูแลลูกมากกว่า แต่ว่าเราไม่ได้เขียนถึงขณะนั้นแต่ให้รู้ว่าทุกคนมีก็มีปมชีวิต พอมีปมชีวิตก็มีการแสวงหาสิ่งชดเชย ถ้าถามว่าในชีวิตมนุษย์จริง ๆ คนเราต้องแสวงหาอะไรมากมายขณะนั้น แต่ว่าคนเรามันก็มีความหลากหลาย ก็จะเอามาถ่ายทอด ว่าคนเรามันจะแสวงหาอะไรขนาดนี้ จนไม่มีจุดยืนของตัวเอง อย่างว่าคนนั้นก็ดี คนโน้นก็ดี ก็เหมือนใกล้เกลือกินด่าง คนที่จะสามารถเข้าใจตัวเองได้ดีที่สุด ก็คือตัวเอง เมื่อรู้ว่านี้คือสิ่งที่ใช้แต่ต้องยอมรับความจริงว่าคนเราไม่อาจเลือกอะไรได้ดีที่สุด เมื่อผู้หญิงที่ผ่านความรัก มาตั้งเยอะจนในที่สุดแล้วคนที่ใกล้คือคนที่ต้องการจะใช้ชีวิตคู่นั้นเอง แล้วเธอก็ใช้ชีวิตครอบครัวใหม่ของเธอในสิ่งที่เธอขาดมา

จำเนียร ส่วนใหญ่ที่ได้อ่านงานของคุณวัสตรา บุคลิกของตัวละครไม่ว่าจะเป็นตัวละครเอกทั้งผู้หญิงและผู้ชาย จะสะท้อนภาพสังคมที่เป็นอยู่ที่เราสะท้อนภาพทั่วไป ตัวเอกผู้ชายที่นางเอกเข้าไปพัวพันก็จะมีลักษณะ ที่เรียกว่าชายเทียมอย่างนั้นทำไมถึงมีตัวละครที่มีลักษณะแบบนี้ ซึ่งตัวละครนั้นต้องการอยากจะเป็นผู้ชาย แต่ด้วยปัญหาด้านลึก ด้านใจ จึงไม่สามารถเลือกที่จะเป็นอยากที่พยายามได้ ทำไมจึงเอาตัวละคร ตัวนี้มาใส่ไว้ในเรื่อง

วัสตรา ก็จะมี อย่างในการเขียนเรื่อง"ก้าวที่กล้า" ก็จะมีตัวละครชื่อทัก ซึ่งสังคมปัจจุบันจะมองไม่ออกว่ารูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไรจะเป็นได้ทั้งหญิงและชายเราจะมองไม่ออก เห็นรูปร่างหน้าตาดี มาดแมน แต่พอเรามองลึกเข้าไปจะรู้สึกว่าเขาเป็นอย่างไร ถ้าเป็นเพื่อนเป็นฝูงก็จะรู้สึกได้ อย่างนางเอกเรื่องจัตุรัสรักเขาก็จะพบกับผู้ชายคนหนึ่ง ท่าทาง ดีเนี้ยบทุกอย่าง แต่สิ่งที่อยู่ลึกภายในเขาไม่สามารถรู้ได้ เมื่อเขาตัดสินใจจะอยู่กับผู้ชายคนนี้กับพบว่าเขาไม่ชอบผู้หญิง เขาไม่อาจมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเขาได้ ซึ่งจริงแล้วผู้หญิงมุกคนล้วนแต่ปรารถนาเมื่อแต่งงานก็จะได้สิ่งที่ดีในชีวิตซึ่งในปัจจุบันนี้มันก็มีจริง เราบอกได้เลยว่างานเขียนแต่ละเรื่องก็จะมีบุคคลอ้างอิงมีบุคคลตัวอย่างที่เห็นชัด ไม่ใช่ไปเห็นตรงโน่นตรงนี้แล้วไปหยิบยกมา ซึ่งเรื่องแบบนี้เขาก็ไม่เปิดเผยกันฉากหน้าเขาเป็นอย่างไร ชีวิตครอบครัวชีวิตรักอาจจะไม่เป็นอย่างนั้นก็ไม่มีใครรู้ได้

จำเนียร จากการตั้งคำถามอันนี้ขึ้นมาเพราะเมื่ออ่านงานของคุณวัสตรา ตั้งแต่ "ก้าวที่กล้า" "จัตุรัสรัก" แม้แต่ "ม่านรักไฟเสน่หา" งานของเธอก็ยังมีตัวละครที่มีลักษณะแบบนี้ การที่ตั้งคำถามตรงนี้ขึ้นมาเพื่อจะได้กล่าวว่าตรงที่เขามีลักษณะอย่างนั้นจะเป็นความผิดหรือความถูกแต่ความสมจริงของตัวละคร หรือความสมจริงของครอบครัวสมบูรณ์ ในสายตาการเป็นหน่วยย่อยเล็กๆ ก็ต้องการทั้งความเป็นเพศชายและเพศหญิงเพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์เป็นเรื่องปกติ แต่เรื่องม่านรักไฟเสน่หาจะมีผู้ชายที่เป็นชายเทียม ตัวละครหญิงก็มีที่เป็นเลสเบี้ยน

วัสตรา ถ้าพูดเรื่อง "ม่านรักไฟเสน่หา" จะโตขึ้นมาจาก "จัสตุรัสรัก" นิดหนึ่ง ซึ่ง "จัตุรัสรัก" ผู้หญิงคนนี้ก็จะแสวงหาความรักครอบครัวที่อบอุ่น แต่เมื่อมาเป็นม่านรักไฟเสน่หา ปุ๊บผู้คนในปัจจุบัน เราจะได้ยินข่าวเรื่องเมียหลวงเมียน้อย คนเรามีเหตุผลอะไรที่จะต้องไปเป็นเมียน้อย คนที่ไม่ได้สัมผัสจริง ๆ ก็จะตั้งข้อรังเกลียดมากขึ้น เลยว่าทำไมต้องไปเป็นเมียน้อย แต่ตัวเราเองจะมองทุก ๆ ด้าน ในเรื่องจะเกี่ยวกับผู้หญิงคนหนึ่งที่มีปมชีวิตไม่สนใจเอาใจใส่ลูก เอาลูกไปไว้ในโรงเรียนประจำ ก็เหมือนกับการปลูกต้นไม้ รสแต่น้ำ แต่ไม่พูดไม่คุยมันก็เติบโตขึ้นมามีชีวิตแต่ไม่มีชีวา นางเอกของเรื่องก็จะไม่ใช้นางเอกที่ผ่องแผ่ว

จำเนียร มีลักษณะที่เป็นจิตวิทยาหรือเปล่าอย่างตัวนางเอก จะบอกว่าในวัยที่สูงขึ้น ผมอยากจะขอเล่ารายละเอียดสักนิดหนึ่งว่าตัวนางเอกจะจบระดับปริญญาตรีจะว่าไปแล้วเธอก็ไม่ได้เป็นคนที่มีความเด่นในห้อง ไม่ใช่นางเอกของห้อง ไม่ใช่คนมีจุดเด่นในห้อง ยังตกงานต้องอาศัยแม่ด้วยซ้ำ

วัสตรา เพราะเราวางตัวละครที่รู้สึกว่ามันขาดคนเข้าใจ ขาดคนเอาใจใส่ แม่หาเงินก็ส่งเรียนโรงเรียนแพง เข้าโรงเรียนประจำเพื่อนในโรงเรียนก็จะไม่ค่อยมีใคร เพื่อนที่คบค้าสมาคมก็จะไม่คบผู้ชาย ชีวิตก็ถูกบีบให้อยู่ในกรอบ

จำเนียร เหมือนประชาชนคนธรรมดาทั่วไป ตัวละครก็คุณวัสตรามักจะเป็นแบบนั้น

วัสตรา นางเอกของวัสตราจะเป็นคนธรรมดาไม่ร่ำรวยหรูหรา เป็นคนธรรมดานี่หล่ะ ใครก็เป็นนางเอกของวัสตราได้ แต่ถ้ามีประเด็นที่ถูกใจก็จะหยิบขึ้นมา อย่างผู้หญิงคนนี้ สวยก็ไม่สวย เรียนก็ไม่เก่งแต่ก็จะมีโลกของตัวเองที่จะชดเชยความขาด ก็คือการหาของกระจุกกระจิกมาทำ แล้วพอทำงานก็จะมีตกงานเหมือนคนทั่วๆ ไป ในเรื่องของเพื่อนก็มีไม่มาก และยิ่งเพื่อนผู้ชายก็ไม่มี เมื่อถามว่า ในเชิงจิตวิทยา ว่าผิดปกติไหม ผู้หญิงวัย 20 กว่ายี่สิบเจ็ด ยี่สิบแปดแล้ว จะไม่มีแฟน หาแฟนไม่ได้ พอตกงานก็อยู่กับแม่ ซึ่งอะไรก็ไม่สามารถจะทำได้ ซึ่งมันมีจริง ๆ และจะแย่ขึ้นกว่านั้นอีกเมื่อ 30 ปีกว่า จะไปไหนก็จะมีคนไปส่ง ก็อาจจะสะท้อนให้เห็นว่าลูกชาวบ้านธรรมดาแต่ก็ช่วยตัวเองอะไรไม่ได้มาก ครั้นพอมีงานทำ บ้านที่เธออยู่ก็จะเป็นแบบเธอมีน้องชาย มีน้องสะใภ้ คนในวัยสาว เราก็ไม่รู้ว่าคนในวัยสาวทั่วไปเป็นอย่างไร เรารับรู้มาฟังมาเท่าที่เราคุยกับนักวิชาการ ทุกคนก็จะมีจินตนาการทางเพศเป็นของตัวเอง อย่างกันธิชา นางเอกในเรื่องม่านรักไฟเสน่หา ก็เป็นผู้หญิงธรรมดาที่ดูหนังโป๊ ดูหนังสือโป๊ พอตกกลางคืนข้างห้อง คนชายกับน้องสะใภ้ เขาจะมีกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่กันธิชาได้ยิน เราไม่รู้ว่าโดยทั่ว ๆ ไปจะเป็นอย่างไร แต่กันธิชาเมื่อจินตนาการไว้แล้วเข้ามองไม่ออกว่าคนเราเมื่อจินตนาการตรงไหนขนาดไหน ถึงจะมีความสัมพันธ์ได้ขนาดนั้น จนมีปมปัญหาอยู่ในใจ เมื่อถามว่าตรงนี้จะชี้เฉพาะปัญหาทางด้านเพศหรือไม่ ตอบวาก็ไม่ใช่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงคนหนึ่งที่รู้สึกได้ว่าอะไรก็แล้วแต่ที่ รู้สึกได้กับคนแบบนี้อะไรตรงนี้ พอทำงานก็ได้พบผู้ชาย เธอก็อยากจะลองดู แล้วก็ไปเรื่อย ๆ

จำเนียร ก็อยากจะสะท้อนความเป็นจริงของคนในสังคม พูดถึงชีวิตแต่ละคน บุคคลธรรมดาสามัญทั่วไป เขามากระทบในจิตใจของเราเข้ามากระทบกันคนละแบบ ธรรมดาสามัญทางออกของเธอ อาจจะคนละแบบกับเรา ดูเหมือนว่าทางวัสตรา อยากจะปล่อยให้ตัวละครเดินไปด้วยมิได้บังคับเท่าไร

วัสตรา ก็ไม่ได้บังคับว่าเมื่อเป็นอย่างนี้จะต้องสมบูรณ์แบบ จะต้องดีขึ้นที่ได้รับการบำบัด อันนี้จะปล่อยไปเมื่อสัมผัสสิ่งนี้กันธิชาไปเจอเพื่อนผู้ชายคนแรกในชีวิต ก็เป็นผู้ชายธรรมดาที่ออกจะเห็นแก่ตัวซะด้วยซ้ำไป

จำเนียร แต่ก็เป็นผู้ชายเทียมอีกแล้ว

วัสตรา กันธิชาเธอไม่รุ้เพราะไม่ได้สัมผัสผู้ชายอย่างใกล้ชิด

จำเนียร เมื่อเธอบอกว่าไม่รู้จักผู้ชาย แล้วมันจะเป็นอันตรายหรือเปล่าที่ต้องลองคบผู้ชาย




 

Create Date : 01 มีนาคม 2549    
Last Update : 27 กันยายน 2549 13:08:22 น.
Counter : 605 Pageviews.  

1  2  

วัตตรา
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




วั ต ต ร า
ผลงานสร้างชื่อเสียง ละครช่อง 3

- รหัสลับสมปองน้องสมชาย
- บอดี้การ์ดแดดเดียว
- ร่ายริษยา
- รุ้งร้าว
- คุณหนูฉันทนา
- พระจันทร์สีรุ้ง
- โบตั๋นกลีบสุดท้าย
- ก๊วนกามเทพ
- ลูกไม้เปลี่ยนสี



คลิก คุยกับวัตตราที่เวบ




Friends' blogs
[Add วัตตรา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.