ภาวะการขาดแคลนน้ำ
วันนี้ ขอนำเสนอ แผนที่แสดง ภาวะการขาดแคลนน้ำทั่วโลกค่ะ






Free TextEditor
ที่มา:

//maps.grida.no/go/graphic/water-scarcity-index


Free TextEditor

จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยก็ประสบภาวะการขาดแคลนน้ำ เช่นกัน แต่ไม่รุนแรงมากนัก จะขอยกตัวอย่าง กรณีที่ ภาวะทะเลสาบแห้ง เนื่องมาจากการทำการเกษตรนะคะ นั่นก็คือ กรณี ทะเลอารัล (the Aral Sea)

ใน พ.ศ. 2461 รัฐบาลโซเวียตมีโครงการเปลี่ยนเส้นทางของแม่น้ำสองสายซึ่งหล่อเลี้ยงทะเลอารัล ได้แก่แม่น้ำอามูดาร์ยา ทางตอนใต้ และแม่น้ำซีร์ดาร์ยา ทางตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสร้างการชลประทานให้พื้นที่ทะเลทรายในการปลูกข้าว แตง ธัญพืช และฝ้าย ในปี พ.ศ. 2547 พื้นที่ทะเลลดลงเหลือร้อยละ 25 ของขนาดเดิม และมีค่าความเค็มมากกว่าเดิมถึง 5 เท่าซึ่งทำให้พืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ตายเสียส่วนใหญ่ ในปี พ.ศ. 2550 พื้นที่ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 10 ของขนาดเดิม และแยกตัวออกเป็นทะเลสาบสามส่วน น้ำที่ไหลลงสู่ทะเลส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนเส้นทาง จนทำให้ทะเลอารัลเริ่มหดตัวในช่วงทศวรรษที่ 2500 ระหว่างปี 2504 ถึง 2513 ระดับน้ำทะเลลดลงเฉลี่ยปีละ 20 เซนติเมตร ในทศวรรษที่ 2510 ระดับเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 50 ถึง 60 เซนติเมตรต่อปี และในทศวรรษที่ 2520 น้ำในทะเลยิ่งลดลงเร็วขึ้น ที่อัตราเฉลี่ย 80 ถึง 90 เซนติเมตรต่อปี การใช้น้ำเพื่อการชลประทานก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน ปริมาณน้ำที่ถูกนำไปใช้จากแม่น้ำเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าระหว่างปี 2500 และ 2543 ในขณะที่ปริมาณการผลิตฝ้ายก็เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในช่วงเวลาเดียวกัน อุตสาหกรรมประมงในทะเลอารัลต้องสูญหายไป ทั้งที่ในยุครุ่งเรืองเคยมีการจ้างงานกว่า 40,000 คน และจับปลาได้ถึงหนึ่งในหกของปลาทั้งหมดของสหภาพโซเวียต






Free TextEditor

ที่มา://th.wikipedia.org/wiki/ทะเลอารัล

Free TextEditor



Create Date : 05 มิถุนายน 2554
Last Update : 5 มิถุนายน 2554 4:15:07 น.
Counter : 1246 Pageviews.

0 comment
Water is all around จริงหรือ?


บางคนรู้สึกว่า "น้ำ" เป็นทรัพยากรที่ไม่มีวันหมด ต่างจาก "น้ำมัน" ที่มีนักเศรษฐศาสตร์ ให้ชื่อเล่นว่า "Black Gold" หรือ "ทองคำสีดำ" หากแต่ในความจริงนั้น "น้ำ" เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทุกชีวิตบนโลกต้องพึ่งพิงอาศัย ไม่ว่าจะเป็น มนุษย์ สัตว์บกหรือสัตว์น้ำ แม้กระทั่งต้นไม้ พืชทุกชนิด ต่างจากน้ำมันที่ราคาต่อลิตรเทียบไม่ได้กับราคาต่อลิตรของน้ำ ดังนั้น คงจะไม่เป็นการกล่าวเกินจริง หากเราจะเรียก "น้ำ" ว่า "Blue Gold" หรือ "ทองคำสีฟ้า"

หากเราแบ่งโลกออกเป็น ๔ ส่วน จะพบว่า ๓ ใน ๔ ส่วนของโลกคือน้ำ แต่ทว่า "น้ำ" ที่เราสามารถนำมาใช้ได้นั้น ซึ่งก็คือ "น้ำจืด" มีเพียงร้อยละ ๒.๕ เท่านั้น ส่วนที่เหลือร้อยละ ๙๗.๕ เป็นน้ำเค็ม นอกจากนี้ ๒ ใน ๓ ของปริมาณน้ำจืดที่มีอยู่ก็อยู่ในสภาพของน้ำแข็งบ้าง ส่วนที่ไม่ใช่น้ำแข็งส่วนใหญ่ก็อยู่ใต้ดิน ดังนั้นน้ำบนดินที่ปรากฏให้เห็นในแม่น้ำ คู คลอง หนอง บึงนั้นนับว่าเป็นน้ำส่วนที่น้อยอย่างยิ่งของน้ำในโลก

องค์การสหประชาชาติ (United Nations) เปิดเผยในการประชุมระดับโลกทางด้านน้ำจืดหรือ World Water Forum ที่กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกีในปี ๒๕๕๑ ว่าประชากรโลกจะเพิ่มจาก ๖.๕ พันล้านคนในปัจจุบันเป็น ๙ พันล้านคนในปี ๒๕๙๓ โดยเพิ่มขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาและหลายพื้นที่ เช่น แอฟริกาเหนือ และตะวันออกกลาง ซึ่งมีปัญหาการขาดแคลนน้ำเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อัตราการเติบโตของประชากรดังกล่าวทำให้ความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่ละปีประชากรโลกมีความต้องการน้ำจืดเพิ่มขึ้นปีละประมาณ ๖๔,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ทรัพยากรน้ำของโลกร่อยหรอลงไปอย่างต่อเนื่อง ความน่าจะเป็นในการเกิดปัญหาด้านการจัดสรรทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงมีค่อนข้างสูง คาดว่าเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลกจะประสบปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณสาธารณรัฐประชาชนจีนและเอเชียใต้ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก (Climate change) จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้ปัญหาทวีความรุนแรงขึ้นอีกด้วย

มีตัวเลขจาก UN ยืนยันเช่นกันว่า ประชากร ๑ ใน ๕ ของโลกกลับขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับการบริโภค ส่งผลให้มีคนเสียชีวิตจากโรคภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับการบริโภคถึงปีละ ๒๗ ล้านคนหรือ ๑ คนในทุก ๘ วินาที

คนไทยโชคดีที่สถานการณ์การขาดแคลนน้ำไม่รุนแรงเท่าในประเทศแถบแอฟริกา แต่ในอนาคตข้างหน้า หากเราไม่ตระหนักถึงการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ลูกหลานเราก็จะต้องเป็นคนรับผลที่เกิดจากความมักง่ายของบรรพบุรุษอย่างไม่ต้องสงสัย



Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2554 19:38:59 น.
Counter : 646 Pageviews.

0 comment

pHaiyLueNa
Location :
Lüneburg  Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]



New Comments