VUW - Victoria University of Wellington, New Zealand
Group Blog
 
All Blogs
 

รู้จักกับกองทัพพม่า ก่อนก้าวสู่ประชาคมอาเซียน (ตอนที่ 3)

รู้จักกับ "ทัดมาดอว์กองทัพแห่งสาธารณรัฐสหภาพเมียนม่าร์ (พม่า)

ก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

(ตอนที่ 3)

โดยพันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

(สงวนลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ ให้ใช้เผยแพร่เพื่อการศึกษา ค้นคว้าเท่านั้น)


นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของพม่ายังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงข้อมูลจากวิกิลีคส์ (Wikileaks) ที่ระบุว่าในปีค..2010 พม่าและเกาหลีเหนือกำลังร่วมมือกันด้านการทหารอย่างใกล้ชิด โดยกล่าวยืนยันว่าพม่าได้ประกาศลดความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือลงแล้ว อันเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าพม่ากำลังเลือกเส้นทางเดินของตนเองที่มีความชัดเจนมากขึ้น นั่นคือการลบภาพของความเป็นสามอักษะแห่งความชั่วร้ายออกจากสายตาประชาคมโลก


การปกครองของพม่าแบ่งออ
กเป็น 
รัฐและ เขตหรือภาค โดยพม่าจะเรียกพื้นที่ของชาติพันธุ์อื่นที่มิใช่พม่าว่า "รัฐ" (States) ประกอบด้วย รัฐคือ

1.รัฐคาเรนนี (Karenni) ภายหลังรัฐบาลพม่าเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐคะยาห์ (Kayah) มีเมืองหลวงอยู่ที่ "ลอยก่อหรือ "หลอยก่อ" (Loikaw) มีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวคะยาห์ (บางครั้งเรียกว่า "กะเหรี่ยงแดง") พม่าไทใหญ่และกะเหรี่ยง ในช่วงปีค..1976 รัฐบาลทหาร "สล็อคของพม่าได้สั่งการให้กองทัพเข้าปราบปรามชนกลุ่มน้อยคาเรนนีอย่างรุนแรง มีการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ดั้งเดิม เพื่อนำไปตั้งในถิ่นฐานในพื้นที่ที่ทหารพม่าควบคุมได้พร้อมทั้งตัดเส้นทางลำเลียงต่างๆ ที่เข้าสู่พื้นที่อิทธิพลของชนกลุ่มน้อย มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงจนชาวคาเรนนีกว่า 50,000 คนต้องกลายเป็นผู้ไร้ถิ่นฐานบางส่วนลี้ภัยเข้ามาอาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราวในประเทศไทย ปัจจุบันยังคงมีความเคลื่อนไหวในการต่อสู้กับกองทัพพม่าอยู่ประปราย

2.รัฐฉาน (Shan) หรือไทใหญ่ มีเมือง "ตองยี"หรือ “ตองจี” (Taunggy) เป็นเมืองหลวงคำว่า "ฉานนั้น ภาษาพม่าเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "สยามส่วนชื่อ "ตองยีนั้นในสมัยโบราณคนไทยเรียกว่า "ตองคังหรือเมือง "คังที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเคยเสด็จยกทัพไปตีพร้อมกับพระมหาอุปราชและเจ้าเมืองแปรนั่นเอง ในอดีตรัฐฉานมีชื่อเรียกว่า "เมิงไตหรือ "เมืองไทในภาษาไทยเป็นรัฐเอกราชไม่ได้ขึ้นอยู่กับพม่ามาเป็นเวลานานก่อนที่อังกฤษจะเข้ายึดครองพม่าเป็นอาณานิคมและยึดครอง "เมิงไตในปีค..1890 (..2433) 

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองกองทัพญี่ปุ่นและกองทัพไทยรุกเข้ายึดรัฐฉานจากทหารจีนก๊กมินตั๋งของจอมพลเจียงไคเช็ค และผนวกดินแดนนี้เป็นของไทยในชื่อ "จังหวัดไทใหญ่จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามอังกฤษจึงกลับมาครอบครองรัฐฉานดังเดิม รัฐฉานเป็นรัฐที่มีพื้นที่ค่อนข้างกว้างทิศเหนือติดกับมณฑลยูนนานของจีนทิศใต้และตะวันออกติดกับจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอนและเชียงราย ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฉานหรือไทใหญ่พม่า จีน คะฉิ่น ปะโอ ปะหล่องและอินเดีย ในอดีตกองทัพพม่าพยายามทำลายเอกลักษณ์ของชาวไตในรัฐฉาน ทั้งการเผาทำลายสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และทำลายภาษาตลอดจนวัฒนธรรม ทำให้ชาวไทใหญ่ลุกขึ้นมาจับอาวุธต่อสู้กับกองทัพพม่าจนถึงปัจจุบัน

ด้วยเหตุที่รัฐฉานมีอาณาเขตกว้างใหญ่นี้เอง กองทัพบกพม่าจำต้องแบ่งกองบัญชาการกองทัพภาคออกเป็นสองส่วนคือ กองบัญชาการรัฐฉานภาคเหนือ (NorthernShan Command) มีที่ตั้งอยู่ที่เมือง "ลาเชียว" (Lashio) ซึ่งอยู่ห่างจากด่าน "มูเซ" (Muse) ที่เชื่อมต่อกับมณฑลยูนนานของจีนเพียง 190 กิโลเมตรกองบัญชาการนี้ประกอบกำลังด้วยกองพันทหารราบจำนวน 30 กองพัน

นอกจากนี้กองบัญชาการภาคส่วนที่สอง คือกองบัญชาการรัฐฉานภาคใต้ (SouthernShan Command) มีที่ตั้งอยู่ที่เมือง"ตองยี" (Taunggy) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐฉานประกอบกำลังด้วยกองพันทหารราบจำนวนถึง 42 กองพันและรวมกองพันทหารราบเบา (LightInfantry Battalion) อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งสังกัดกองบัญชาการยุทธการภาค (ROC: Regional Operation Command มีฐานะเทียบเท่ากองพลน้อย(Brigade)) ที่แบ่งกำลังมาจากเมือง "ลอยก่อหรือ "หลอยก่อ" (Loikaw) เมืองหลวงของรัฐคะยาห์ เพื่อร่วมปฏิบัติภารกิจในรัฐฉานภาคใต้ สาเหตุที่กองบัญชาการภาคนี้มีกำลังทหารมากเป็นพิเศษ ก็เนื่องจากเป็นฐานในการระดมสรรพกำลังเพื่อรบกับชนกลุ่มน้อยในที่ราบสูงฉานซึ่งมีอยู่หลายชาติพันธุ์

3.รัฐชิน (Chin) มีเมืองหลวงคือเมือง "ฮะคา" (Hakha) อยู่ทางตะวันตกของประเทศมีอาณาเขตติดกับประเทศอินเดียและบังคลาเทศ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวชินพม่าและอินเดีย

4.รัฐมอญ (Mon) มีเมืองสำคัญคือ เมือง "มะละแหม่ง" (Maulmein) เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการภาคตะวันออกเฉียงใต้ (SouthEastern Command) ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่รัฐมอญและรัฐกะเหรี่ยงกองบัญชาการ ภาคนี้ประกอบกำลังด้วยกองพันทหารราบทั้งหมด 36 กองพัน

5.รัฐคะฉิ่น (Kachin) อยู่บริเวณพรมแดนจีนพม่า มีเมืองหลวงอยู่ที่เมือง "มิตจีนา" (Myitkyina) ซึ่งเป็นที่ตั้งของฐานทัพอากาศ "น้ำพอง" (Nampong Air Force Base) ซึ่งมีเครื่องบินขับไล่และเครื่องบินโจมตีประจำการอยู่ เพื่อใช้ในการควบคุมพื้นที่ที่กลุ่มชาติพันธุ์ทางตอนเหนือของประเทศ ที่พยายามแยกตัวเป็นเอกราช รวมทั้งเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการภาคเหนือ (NorthernCommand) ของกองทัพบกพม่าที่รับผิดชอบในการควบคุมพื้นที่รัฐคะฉิ่น ประกอบด้วย กองพันทหารราบจำนวน 33 กองพันเมื่อปี ค..2011 กองบัญชาการภาคเหนือได้เปิดฉากโจมตีที่มั่นของทหารคะฉิ่นอย่างรุนแรงการสู้รบดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน

รัฐคะฉิ่นเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าเช่น ป่าไม้ หยก เป็นต้นสำหรับประชาชนในรัฐนี้ประกอบด้วยหลายชาติพันธุ์เช่น คะฉิ่น ฉาน จีน อินเดียและพม่า ตลอดเวลาที่ผ่านมาชาวคะฉิ่นในรัฐนี้ ตกอยู่ในสภาพถูกกดขี่จากรัฐบาลพม่า จนมีการจัดตั้งองค์กรและกองกำลังเพื่อต่อต้านการปกครองจากรัฐบาลพม่าในห้วงปี ค..2012 ในขณะที่โลกจับตาอยู่ที่นางอองซาน ซูจี ชาวคะฉิ่นก็ออกมาเรียกร้องให้สังคมนานาชาติหันมาให้สนใจชีวิตและความเป็นอยู่ของพวกตนบ้าง

6.รัฐกะเหรี่ยง (Karen) ภาษาพม่าออกเสียงว่ากะหยิ่น (Kayin) เมืองหลวงคือเมือง "ปาอาน" (Hpa-an) มีเขตแดนทางทิศใต้ติดกับจังหวัดกาญจนบุรีทิศตะวันออกติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอนและตากประชากร ส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงพม่า ปะโอ ไทใหญ่ มอญและยะไข่ อยู่ในความดูแลของกองทัพพม่า คือกองบัญชาการภาคตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกองบัญชาการตั้งอยู่ในรัฐมอญ

7.รัฐยะไข่หรืออาระกัน (Rakhine) มีเมืองหลวงคือเมือง "สิตตะเว" (Sittwe) มีเมืองที่สำคัญอีกเมืองหนึ่งคือเมือง "อาม" (Am) ซึ่งเป็นเมืองทางทหารและเป็นแนวป้องกันของกองทัพพม่าหากข้าศึกรุกเข้ามาสู่กรุงเนปีดอว์ทางทะเล อีกทั้งเมืองอามยังเป็นฐานทัพอากาศที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของกองทัพอากาศพม่าอีกด้วย 

(โปรดติดตามตอนต่อไป)




 

Create Date : 03 เมษายน 2556    
Last Update : 3 เมษายน 2556 19:09:21 น.
Counter : 2135 Pageviews.  

รู้จักกับกองทัพพม่า ก่อนก้าวสู่ประชาคมอาเซียน (ตอนที่ 2)

รู้จักกับ "ทัดมาดอว์กองทัพแห่งสาธารณรัฐสหภาพเมียนม่าร์ (พม่า)

ก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

(ตอนที่ 2)

โดยพันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

(สงวนลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ ให้ใช้เผยแพร่เพื่อการศึกษา ค้นคว้าเท่านั้น)



นับตั้งแต่ได้เอกราชเป็นต้นมากองทัพพม่าถือเป็นองค์กรสำคัญที่สุดและเป็นหลักในการปกครองประเทศพม่ามาตลอดเพราะต้องทำการต่อสู้กับศัตรูตัวฉกาจของประเทศคือ พรรคคอมมิวนิสต์พม่า (CommunistParty of Burma) และกลุ่มกะเหรี่ยงที่ประกาศแยกตัวออกจากประเทศพม่าเพื่อสถาปนารัฐอิสระของตน 

สงครามดังกล่าวดำเนินไปอย่างยืดเยื้อยาวนาน จนกองทัพพม่าได้ทวีความสำคัญขึ้นและอาจกล่าวได้ว่า กองทัพพม่าได้แทรกเข้าไปอยู่ในทุก "อณุภาคของประเทศ ทั้งด้านการเมืองเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม เนื่องจากพม่าเป็น "รัฐพหุชาติหรือ รัฐหลายชนชาติหรือหลากชาติพันธุ์ ประกอบด้วยชนกลุ่มต่างๆ มากมายถึง 135 เชื้อชาติ ทำให้ธรรมชาติของการเมืองภายในประเทศต้องอิงอยู่กับความมั่นคง เพราะกองทัพพม่ามองว่าหากไม่ดำเนินการเช่นนี้แล้ว พม่ามีความสุ่มเสี่ยงต่อการแตกสลายเป็นรัฐเล็กรัฐน้อยสูงมาก

การจลาจล 8/8/88 เมื่อวันที่ เดือน 8 (สิงหาคมปี ค..1988 นับเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลให้พม่าตกเป็นเป้าสายตาของสังคมโลก ทั้งนี้นักศึกษาและประชาชนจำนวนมากได้ถูกรัฐบาลทหารของพม่าปราบปรามอย่างรุนแรง มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลให้มีผู้ลี้ภัยหนีข้ามพรมแดนเข้ามายังประเทศไทยเป็นจำนวนมาก 

การจลาจลในครั้งนี้มีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจย้ายเมืองหลวงจากนครย่างกุ้งไปสู่กรุง"เนปีดอว์" (Naypyidaw) ดังที่อาจารย์ดุลยภาคปรีชารัชช จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระบุว่า การย้ายเมืองหลวงของพม่านั้นมีสาเหตุมาจากการกดทับภายในและแรงกดดันจากภายนอก

".. เนื่องจากการก่อจลาจล 8/8/88 นั้นเป็นสิ่งที่แสดงให้กองทัพพม่าเห็นว่า การวางผังเมืองของนครย่างกุ้งนั้นไม่มีความเหมาะสมในการต่อสู้กับฝูงชน (MOB) ที่เคลื่อนตัวไปตามท้องถนน ศูนย์กลางทางทหารตลอดจนหน่วยทหารต่างๆ เช่น กระทรวงกลาโหมก็ถูกฝูงชนปิดล้อมทางเข้าออก อย่างแน่นขนัดในขณะเดียวกันประชาชนทั่วไปก็มีพื้นที่ชุมนุมหรือรวมพลอยู่ใกล้กับสถานที่ราชการเป็นผลให้มีความสุมเสี่ยงต่อการจารกรรมข้อมูล .."

ภายหลังจากการจลาจลในครั้งนั้นทำให้เกิดแนวคิดปรับปรุงภูมิทัศน์กรุงร่างกุ้ง มีการย้ายวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยย่างกุ้งออกไปอยู่นอกเมือง เพื่อลดการติดต่อและตัดขาดกิจกรรมกับสาธารณชน มีการสร้างสะพานลอยข้ามถนนจำนวนมากมายเพื่อใช้เป็นฐานที่มั่นของทหารพม่า เพื่อสกัดการเคลื่อนที่ของฝูงชนระหว่างการปราบจลาจล

นอกจากการจลาจล 8/8/88 แล้ว อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลทหารของพม่าเกิดแนวคิดที่จะย้ายเมืองหลวงก็คือ นายพลซอ หม่องได้เปิดเผยถึงการปรากฏตัวของเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐและเรือรบอีก ลำที่อ่าวเมาะตะมะ ทำให้มีการประเมินว่านครย่างกุ้งนั้นอยู่ในภูมิประเทศที่ล่อแหลมต่อการยึดครองจากศัตรูภายนอก เนื่องจากในห้วงเวลาที่ผ่านมาพม่าถูกมองจากโลกตะวันตกว่าเป็นหนึ่งในสามรัฐอักษะ เคียงข้างเกาหลีเหนือและอิหร่านเป็นรัฐอันตรายที่สหรัฐฯ หมายหัวว่าเป็นประเทศที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงด้วยเหตุผลทั้งด้านสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ โดยเฉพาะการพัฒนานิวเคลียร์นั้น ในปี ค..2000 รัฐบาลทหารพม่าได้ประกาศว่าพม่ามีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาระบบนิวเคลียร์ขึ้นในประเทศและมีการดำเนินการในพื้นที่เมือง "พินอู วิน" (Pyin Oo Lwin) โดยความช่วยเหลือจากรัสเซียและเกาหลีเหนือ

ภายหลังจากการจลาจล 8/8/88 ในวันที่ 18 กันยายน ค..1988 กองทัพพม่าภายใต้การนำของพลเอกอาวุโส "ซอหม่อง" (Saw Maung) ได้เข้าควบคุมการบริหารประเทศอย่างเต็มรูปแบบ มีการจัดตั้ง "สภาฟื้นฟูกฏหมายและระเบียบแห่งรัฐหรือ "สลอร์ก"(SLORC : State Law and Order Restoration Council) ทำการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปีค..1974 ในห้วงเวลานี้รัฐบาลทหารของพม่าตกเป็นจำเลยของประชาคมโลกมากมายหลายข้อหา ตั้งแต่การสังหารโหดประชาชนในการประท้วงหรือการจลาจลครั้งใหญ่เมื่อค..1988 การใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมในการปกครองประเทศการใช้ประชาชนเป็นแรงงานทาส (ForcedLabor) ในกองทัพเพื่อปราบปรามชนกลุ่มน้อยรวมถึงเป็นลูกหาบในการเดินทัพ ตลอดจนเป็นแรงงานในการก่อสร้างเส้นทางสายต่างๆ 

จนกระทั่งประเทศซาอุดิอารเบียได้เรียกร้องให้สหประชาชาติส่งกำลังทหารไปล้มล้างรัฐบาลเผด็จการของพม่า เนื่องจากชาวมุสลิมโรฮิงยาในรัฐยะไข่หรือรัฐอารากันถูกกดขี่ข่มเหงจากรัฐบาลอย่างไร้มนุษยธรรม นอกจากนี้พม่ายังถูกกล่าวหาว่ามีการเกณฑ์เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 18ปี (ตามเอกสารจาก Humanright Watch ระบุว่ามีเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารในกองทัพพม่าหรือ "ทัดมาดอว์เป็นจำนวนมากอาจกล่าวได้ว่า สลอร์คได้สร้างภาพรัฐแห่งความน่าสพึงกลัวให้กับพม่าในสายตาประชาคมโลกอย่างชัดเจนมากที่สุด

เป็นที่น่าสังเกตคือประธาน (Chairman) สภาฟื้นฟูกฏหมายและระเบียบแห่งรัฐหรือ "สลอร์กนั้นคือพลเอกอาวุโส หม่อง เอ โดยมีรองประธานคือ พลเอกตาน ฉ่วย (ThanShwe) และพลเอกหม่อง เอ (MaungAye) ส่วนหนึ่งในสมาชิกของสภาชุดนี้คือพลเอก เต็ง เส่ง (TheinSein) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของพม่า

ในปีค..1997 ม่าก้าวเข้าสู่ความเป็นสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (ASEAN: Assosiation of South East Asian Nations) รัฐบาลทหารของพม่าได้ประกาศยกเลิกสภาฟื้นฟูกฏหมายและระเบียบแห่งรัฐหรือ "สลอร์กและมีารจัดตั้ง "สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ "หรือเอสพีดีซี (SPDC: State Peace and Development Council) ขึ้นแทน

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปธรรมชาติทางการเมืองและการทหารพม่าก็ถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการประชุมเจรจาแชงกรีลา (Shangri-laDialogue) ณประเทศสิงคโปร์เมื่อ วันที่ 1-3 มิถุนายน ค..2012 (..2555) พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหมซึ่งเข้าร่วมการประชุมได้เปิดเผยว่าพลโท ลา มิน (HlaMin) รัฐมนตรีกลาโหมของพม่าได้เปิดเผยต่อที่ประชุมถึงโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของพม่า โดยเฉพาะการพัฒนานิวเคลียร์และการพัฒนาขีปนาวุธภาคพื้นสู่อากาศ (Surface-to-airMissile) ว่าได้ยุติลงไประยะหนึ่งแล้ว อีกทั้งเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค..2012 (..2555) ที่ผ่านมาประธานาธิบดีเต็ง เส่ง แห่งเมียนมาร์ลงนามข้อตกลงกับสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA: International Atomic Energy Agency) ซึ่งจะส่งผลให้เมียนมาร์ต้องเปิดเผยข้อมูลนิวเคลียร์ทั้งหมดต่อ IAEA เพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลเมียนมาร์ไม่มีโครงการที่จะผลิตอาวุธนิวเคลียร์ด้วยความช่วยเหลือจากเกาหลีเหนือตามที่สหรัฐฯและประเทศตะวันตกกล่าวอ้าง

(โปรดติดตามตอนต่อไป)




 

Create Date : 03 เมษายน 2556    
Last Update : 3 เมษายน 2556 17:44:20 น.
Counter : 1762 Pageviews.  

รู้จักกับกองทัพพม่า ก่อนก้าวสู่ประชาคมอาเซียน (ตอนที่ 1)

รู้จักกับ "ทัดมาดอว์กองทัพแห่งสาธารณรัฐสหภาพเมียนม่าร์ (พม่า)

ก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

(ตอนที่ 1)

โดยพันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

(สงวนลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ ให้ใช้เผยแพร่เพื่อการศึกษา ค้นคว้าเท่านั้น)


สาธารณรัฐสหภาพเมียนม่าร์หรือ "พม่า" (เดิมในภาษาอังกฤษเรียกชาวพม่าว่า Bamar หรือ บาหม่ามีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์โลกมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยนั้น พม่านับเป็นมหาอำนาจแห่ง"อุษาคเนย์" (ไมเคิลไรท์ นักประวัติศาสตร์และไทยคดีศึกษาชาวอังกฤษเป็นผู้กำหนดคำว่า "อุษาคเนย์ขึ้นมาแทนคำว่า "เอเชียอาคเนย์หรือ "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีคำว่า "เอเชียที่เป็นคำในภาษาอังกฤษ เพื่อให้เป็นคำในภาษาไทยแท้ๆ โดยอุษาคเนย์มีอาณาเขตตั้งแต่พม่าไปจนจรดฟิลิปปินส์และจากเวียดนามไปจรดอินโดนีเซีย

อาณาจักรพม่าแผ่ขยายอาณาเขตไปทั่วทิศานุทิศโดยเฉพาะในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง (Bayinnaung) หรือที่ออกเสียงพระนามตามสำเนียงพม่าว่า “บาเยนอง” มีความหมายว่า “พระเชษฐาธิราช” มีพระนามเต็มว่า “บาเยนองจอเดงนรธา” (ไทยออกเสียงเป็น “บุเรงนองกะยอดินนรธา“แปลว่า “พระเชษฐาธิราชผู้ทรงกฤษดาภิหาร” พระองค์ได้แผ่ขยายอาณาจักรไปอย่างกว้างขวางจนได้รับสมญานามว่า "ผู้ชนะสิบทิศซึ่งการแผ่ขยายอาณาเขตของพม่าได้ส่งผลให้เกิดการรบพุ่งกับกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ "สงครามเมืองเชียงกรานเรื่อยถึงสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นของไทย

เมื่อเข้าสู่ยุคล่าอาณานิคมอังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจทางทะเลในยุคนั้นได้เข้าครอบครองพม่าในฐานะประเทศอาณานิคมและเล็งเห็นว่าพม่านั้นเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญทางการค้าเช่นเดียวกับอินเดียจึงได้ตั้งเมืองย่างกุ้ง (Yongon หรือ Rangoon) เป็นเมืองหลวง เพราะมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ติดชายทะเลสะดวกต่อการขนส่งสินค้าต่างๆ กลับสู่ประเทศอังกฤษ ครั้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองพม่าก็กลายเป็นสมรภูมิสำคัญที่ใช้เป็นการรบขั้นแตกหักระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรที่เคลื่อนทัพมาจากอินเดียและจักรวรรดิ์ญี่ปุ่นที่รุกผ่านประเทศไทย

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนี้เอง ที่กองทัพพม่าหรือ "ทัดมาดอหรือ “ตั้ดมาดอ” (Tatmadaw) ได้ถือกำเนิดขึ้นบนผืนแผ่นดินไทยดังที่ พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกองทัพพม่าคนหนึ่งของประเทศไทยได้กล่าวว่า กองทัพพม่ามีวิวัฒนาการมาจากนายพล "อองซาน" (Aung San) บิดาของนาง อองซานซูจี (Aung San Suu Kyi) ที่ร่วมกับสมัครพรรคพวกรวม 30 คนในนาม "กลุ่มสามสิบสหาย" (30 comrades) ก่อตั้งกองทัพพม่าขึ้นบนผืนแผ่นดินไทยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกับกองทัพญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่กำลังรุกข้ามพรมแดนจากประเทศไทยเข้าไปในพม่าทำการต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมอังกฤษที่กดขี่ข่มเหงชาวพม่ามาตลอดระยะเวลาแห่งการปกครอง

ในช่วงแรกนี้กองทัพพม่ามีชื่อว่า "กองทัพเอกราชชาวพม่าหรือ บีไอเอ (BIA: the Burmese Independence Army) ชาวพม่าต่างให้การต้อนรับทหารพม่า "บีไอเอและทหารญี่ปุ่นในฐานะผู้ปลดปล่อยจากอาณานิคมอังกฤษด้วยการตะโกนว่า "โดบาม่าร์"(Dobamar) ซึ่งมีความหมายว่า "พวกเราชาวพม่าคล้ายๆกับเมื่อครั้งที่กองทัพไทยร่วมกับกองทัพญี่ปุ่นในสมัยนั้นและคนไทยมักตะโกนต้อนรับว่า "บันไซ ไชโย"

ต่อมาเมื่อกองทัพพม่า "บีไอเอได้เข้าครอบครองดินแดนพม่าร่วมกับกองทัพญี่ปุ่นแล้วได้มีการขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนชื่อเป็น "กองทัพแห่งชาติพม่ารือ บีเอ็นเอ (BNA: Burma National Army) และกองทัพญี่ปุ่นได้แต่งตั้งให้นายพลออง ซาน เป็นผู้บัญชาการกองทัพพม่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการกองทัพแห่งชาติพม่าตามลำดับ 

โรงเรียนทหารของกองทัพพม่าได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยมีทหารญี่ปุ่นเป็นครูฝึกสอน ทำให้รูปแบบการรบหลักนิยมและแนวคิดของกองทัพพม่าเป็นไปในแนวทางเดียวกับกองทัพพระมหาจักรพรรดิ์แห่งญี่ปุ่น จนถึงขนาดในพิธีสำเร็จการศึกษาของนายทหารพม่านั้นนายทหารญี่ปุ่นจะเป็นผู้มอบดาบซามูไรซึ่งถือเป็น "จิตวิญญานของนักรบญี่ปุ่น"(Japanese Fighting Spirit) ให้กับนายทหารพม่าเลยทีเดียวความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างกองทัพแห่งชาติพม่าและกองทัพญี่ปุ่นทำให้พม่าประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาตลอดจนร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กันในทุกสมรภูมิ

แต่เมื่อเวลาผ่านไปนายพลออง ซานก็เริ่มตระหนักถึงความจริงว่า ญี่ปุ่นนั้นกรีฑาทัพเข้ามาในพม่าก็เพื่อตักตวงผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และมากมายมหาศาล รวมทั้งยังกดขี่ข่มเหงชาวพม่ายิ่งกว่าพวกอังกฤษเสียอีก 

ในที่สุดนายพล อองซานก็ตัดสินใจหันหลังให้กับญี่ปุ่นอย่างลับๆ และร่วมมือกับอังกฤษในช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่สองเป็นการกระทำที่ญี่ปุ่นเองก็คาดไม่ถึงว่านายพลออง ซานที่กองทัพญี่ปุ่นปั้นมากับมือ จะกล้าหักหลังกองทัพญี่ปุ่นกองทัพแห่งชาติพม่า โดยการสนับสนุนของอังกฤษเปิดฉากรุกเข้าใส่กองทัพญี่ปุ่นที่ชานกรุงย่างกุ้ง โดยที่ญี่ปุ่นไม่รู้ตัวมาก่อน จนในที่สุดก็สามารถยึดกรุงย่างกุ้งคืนจากญี่ปุ่นได้วีรกรรมความกล้าหาญและความเสียสละในครั้งนี้ทำให้นายพล อองซานได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษของชาวพม่า

ภายหลังความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว นายพล ออง ซานก็เจรจากับอังกฤษเพื่อขอแยกตัวเป็นเอกราช ส่วนชนกลุ่มน้อยมากมายหลายชาติพันธ์ุที่เคยรวมอยู่กับพม่าในยุคอาณานิคมก็ปฏิเสธที่จะรวมเป็นแผ่นดินเดียวกับพม่า โดยเฉพาะชนเผ่ากระเหรี่ยง (Karen) ที่มีประวัติในการสู้รบกับพม่ามายาวนาน 

ส่งผลให้เกิดการเจรจากับพม่าที่ปางหลวงจนเป็นที่มาของ "ข้อตกลงปางหลวงหรือ “ข้อตกลงป๋างโหล๋ง” (PangluangAgreement) ซึ่งลงนามกันเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค..1947 (..2490) หลังสงครามโลกครั้งที่สองเสร็จสิ้นได้ประมาณสองปี

โดยในข้อตกลงนี้ชนกลุ่มน้อยต่างยื่นข้อเสนอในการเป็นเอกราชหรือขอเป็นปกครองตนเองในดินแดนพม่า เช่น รัฐชิน (Chin) และ รัฐคะฉิ่น (Kachin) ตกลงเข้ารวมอยู่กับสหภาพพม่า แต่ขอเป็นเขตปกครองตนเอง สำหรับรัฐฉาน (Shan) ขอรวมกับพม่าเป็นเวลาเพียง10ปี เมื่อจัดการกิจการภายในเรียบร้อยแล้ว ก็จะขอแยกตัวเป็นอิสระ 

ส่วนกะเหรี่ยงและมอญจะขอเจรจากับอังกฤษโดยตรงไม่ผ่านพม่า โดยเฉพาะกะเหรี่ยงซึ่งถือเป็นคู่ปฏิปักษ์ถาวรของพม่านั้นประกาศเจตนารมย์ชัดเจนว่าต้องการเป็นอาณานิคมของอังกฤษต่อไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายชาติพันธ์ุที่ไม่ยอมเข้าร่วมในข้อตกลงนี้ เช่น ว้า ยะไข่ โกก้าง พะโอ ปะหล่อง เป็นต้น

นรุ่งอรุณของวันที่ 19 กรกฎาคม ค..1947 (..2490) ขณะที่การก้าวสู่ความเป็นประเทศเอกราชของพม่ากำลังก้าวหน้าไปอย่างเรียบร้อยและเป็นรูปเป็นร่างตามแผนที่ได้วางเอาไว้ ขณะที่ นายพล อองซานกำลังร่วมประชุมที่กรุงย่างกุ้งเพื่อเตรียมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศที่จะประกาศใช้เมื่อได้รับเอกราชจากอังกฤษ กลุ่มมือปืน คนก็บุกเข้าสังหารนายพลออง ซานถึงในห้องประชุม เขาถูกกระหน่ำยิงด้วยปืนกลมือทอมสัน กระสุนขนาด มิลลิเมตรเป็นจำนวนถึง13นัด เจาะทะลุร่างของเขาจนเสียชีวิตคาที่ในวัยเพียง 32 ปีเท่านั้น นอกจากนายพลออง ซานแล้ว ยังมีผู้ร่วมประชุมอีก คนเสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้ เมื่อสิ้นนายพล ออง ซาน อังกฤษก็แต่งตั้ง นายพลอูนุ (ทะขิ่นนุซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มสามสิบสหายร่วมกับนายพลออง ซาน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนนายพลออง ซาน และพม่าก็ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ มกราคม ค..1948 (..2491)

(โปรดติตตามตอนต่อไป)




 

Create Date : 03 เมษายน 2556    
Last Update : 3 เมษายน 2556 17:20:29 น.
Counter : 2685 Pageviews.  

กองทัพกับการก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ตอนที่ ๓

กองทัพกับการก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ตอนที่ ๓

โดย ศนิโรจน์ ธรรมยศ

ลงพิมพ์ในนิตยสาร TOPGUN ฉบับเดือนมิถุนายน ๒๕๕๕

สงวนลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ ให้ใช้เฉพาะเพื่อการศึกษาเท่านั้น






ภัยความมั่นคงอีกรูปแบบหนึ่งของประชาคมอาเซียนที่  รศ.ดร.สุเนตรกล่าวถึงคือ  การขยายอำนาจของประเทศมหาอำนาจต่างๆเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 

เนื่องจากอาเซียนในปัจจุบันเกิดช่องว่างทางอำนาจขึ้นอย่างเห็นได้ชัด   โดยสังเกตุได้จากการที่ไม่มีประเทศมหาอำนาจใดสามารถสั่งการอาเซียนได้เหมือนในอดีตที่ผ่านมา  ทำให้มหาอำนาจพยายามใช้อำนาจในรูปแบบต่างๆ 

เช่น  ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจเทคโนโลยี  ความรู้ซึ่งถือเป็นอำนาจเชิงอ่อนโยน  (Soft  Power)   หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างไม่ขาดสาย  ทั้งจาก  จีน  สหรัฐฯ  รัสเซีย  อินเดียและสหภาพยุโรป  

รวมถึงการขยายตัวคืบคลานเข้ามาทางด้านการทหารในรูปของการฝึกร่วม  การค้าอาวุธ   การสนับสนุนยุทโธปกรณ์ต่างๆ  ทั้งในรูปแบบการให้เปล่า  และรูปแบบเงินกู้ระยะยาว  จนทำให้เกิดการถ่วงดุลย์ทางอำนาจของมหาอำนาจในอาเซียนอย่างชัดเจน

นอกจากนี้ยังมีปรากฏการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นในพม่า  เมื่อนางฮิลลารี่คลินตัน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ  เดินทางไปเยือนพม่าเมื่อปี  พ..2554   ที่ผ่านมา

ตามด้วยผู้นำระดับสูงของอังกฤษและเกาหลีใต้   เป็นการแสดงให้เห็นว่า  ความขัดแย้งกรณีสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยในพม่าจะไม่เป็นอุปสรรคด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอีกต่อไป  อีกทั้งพม่าจะไม่ถูกผลักให้ออกจากสังคมโลก  แต่จะค่อยๆถูกดึงกลับเข้ามาอย่างช้าๆ  บนพื้นฐานของการมีผลประโยชน์ร่วมกัน

ในขณะเดียวกัน  จีนก็กำลังขยายวงอำนาจเข้าสู่ประเทศพม่าและเวียดนาม  ซึ่งเคยเป็นคู่สงครามและความขัดแย้งในอดีต  เพื่อหาทางถ่วงดุลย์อำนาจกับชาติตะวันตก  ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้จึงไม่ได้อยู่ที่ว่ามหาอำนาจจะเข้ามาอย่างไร  

แต่อยู่ที่ว่าประชาคมอาเซียนจะวางตัวอย่างไร  ในเมื่อปัจจุบันอาเซียนเองก็ยังมีปัญหากับมหาอำนาจดังกล่าวอยู่ไม่น้อย  เช่น  ปัญหาข้อพิพาทในหมู่เกาะทะเลจีนใต้ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน  ที่นับวันจะหาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน  หรือปัญหาการเดินเรือในลำน้ำโขงเป็นต้น

ปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น  เป็นสิ่งที่กองทัพกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน  จะต้องเตรียมการรับมืออย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะหากใช้รูปแบบของกองทัพ  "อียู"  ในสหภาพยุโรปเป็นแบบแผนแล้ว 

จะเห็นได้ว่าเมื่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนเกิดขึ้น  กองทัพจะรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว  ความขัดแย้งทางทหารบริเวณแนวชายแดนจะลดลง  หรือหากจะเกิดขึ้นก็จะถูกจำกัดขอบเขตให้เป็นความขัดแย้งในระดับพื้นที่ 

กำลังทหารของอาเซียนจะถูกนำมาใช้เสมือนกองกำลังเฉพาะกิจในการจัดการปัญหาภายในอาเซียนเอง   ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านความมั่นคงตามแนวชายแดนของประเทศสมาชิก   ปัญหาโจรสลัดในช่องแคบมะละกา    ปัญหาการก่อการร้าย   หรือปัญหาด้านสาธารณภัย   ทั้งภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์   และภัยพิบัติที่เกิดจากธรรมชาติ   ตลอดจนภารกิจทางทหารอื่นๆ   ที่นอกเหนือจากการสงครามหรือ    MOOTW    (Military  Operations  Other  Than  War)

นอกจากนี้   กำลังทหารของอาเซียนจะถูกนำไปใช้ในการจัดการด้านความมั่นคงนอกภูมิภาค   ที่มีผลประโยชน์ของอาเซียนทับซ้อนอยู่เช่น   ภารกิจการรักษาสันติภาพภายใต้กรอบของสหประชาชาติ  หรืออาจเป็นกรอบของอาเซียนเองในอนาคต   รวมไปถึงภารกิจการปราบปรามโจรสลัดในโซมาเลีย   เป็นต้น

จากที่กล่าวมาข้างต้น   จะเห็นได้ว่าบทบาทกองทัพของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน   จะถูกทำให้เปลี่ยนไปไม่ว่าจะด้วยความเต็มใจหรือไม่ก็ตาม   กองทัพจะถูกทำให้มีความเป็น   "สากล"  หรือที่รศ.ดร.สุรชาติบำรุงสุข   ให้คำจำกัดความว่า 

"..  ต่อไปกองทัพจะต้อง  Go  Inter  .." 

นายทหารทั้งระดับสัญญาบัตรและประทวน   จะต้องมีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษในระดับที่สามารถปฏิบัติงานร่วมกับทหารชาติอาเซียนอื่นๆได้   

นายทหารฝ่ายเสนาธิการจะต้องเรียนรู้แนวคิดและหลักนิยมของกองทัพอาเซียนเป็นหลัก   มากกว่าแนวคิดและหลักนิยมของกองทัพประเทศตนเพียงกองทัพเดียว   ระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ของอาเซียนจะถูกหลอมรวมให้เป็นระบบที่สามารถเชื่อมต่อถึงกันและสามารถทดแทนกันได้เมื่อจำเป็น

ในขณะเดียวกันผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพประเทศสมาชิกอาเซียนต้องปรับตัว  และเรียนรู้ที่จะเป็นผู้สั่งการและบังคับบัญชาหน่วยต่างๆ  ที่มาจากประเทศสมาชิก  

เหมือนเมื่อครั้งที่พลเอกทรงกิตติ    จักกาบาตร์    พลเอกบุญสร้าง   เนียมประดิษฐ์   อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด   และพลเอกวินัย   ภัททิยกุล   อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม   เคยกระทำมาแล้วในภารกิจรองผู้บัญชาการกองกำลังนานาชาติ   และผู้บัญชาการกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ    ในติมอร์ตะวันออก  

รวมทั้ง   พลเรือตรีธานินทร์   ลิขิตวงศ์   ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บัญชาการกองกำลังทางเรือของ   "กองเรือเฉพาะกิจผสม151”   (CTF  151)    ในภารกิจปราบปรามโจรสลัดในอ่าวเอเดน    น่านน้ำโซมาเลีย

สิ่งต่างๆ   เหล่านี้นับเป็นความท้าทาย   ที่กองทัพกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน   จะต้องเผชิญในอนาคตอันใกล้นี้   โดยเฉพาะเมื่อเงื่อนเวลาของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน   และเงื่อนเวลาของภัยคุกคามรูปแบบใหม่   ถูกนำมาผูกยึดติดกัน   

กองทัพยิ่งต้องเร่งระดมสรรพกำลังและเตรียมกำลังพลให้พร้อมที่จะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น    เพื่อเป็นกองทัพอาเซียนอันทรงประสิทธิภาพและมีศักยภาพ   ในการร่วมกันพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของประเทศสมาชิก   และพร้อมที่จะก้าวเดินไปด้วยกัน   ในการเผชิญหน้าท้าทายกับภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ   ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ   ในอนาคต   ดังคำขวัญของอาเซียนที่ว่า   "หนึ่งวิสัยทัศน์   หนึ่งเอกลักษณ์   หนึ่งประชาคม"  (One Vision,  One Identity,  One Community)




 

Create Date : 16 กรกฎาคม 2555    
Last Update : 16 กรกฎาคม 2555 19:10:14 น.
Counter : 2342 Pageviews.  

กองทัพกับการก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ตอนที่ ๒

กองทัพกับการก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ตอนที่ ๒

โดย ศนิโรจน์ ธรรมยศ

ลงพิมพ์ในนิตยสาร TOPGUN ฉบับเดือนมิถุนายน ๒๕๕๕

สงวนลิขสิทธิ์ในการทำซ้ำเพื่อการพาณิชย์ ให้ใช้เฉพาะเพื่อการศึกษาเท่านั้น





การสร้างความตระหนักรู้ดังกล่าว  ทำให้คนไทยเริ่มขยับตัว  แต่อาจจะเป็นเพราะเวลาเหลือน้อยเต็มที  ทำให้เรามองการเข้าเป็นประชาคมอาเซียนอยู่เพียงเสาหลักเดียว  นั่นคือเสาหลักด้านเศรษฐกิจ  ไม่ว่าจะเป็นเขตเสรีทางการค้าการส่งออก  การนำเข้าอัตราภาษีศุลกากร  ซึ่งเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและเห็นได้ชัดที่สุด  

แต่ในขณะเดียวกันเสาหลักที่เหลืออีกสองเสา  ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันกลับถูกมองข้ามหรือให้ความสนใจไม่มากเท่าที่ควร  โดยเฉพาะเสาหลักด้านการเมืองและความมั่นคง  ซึ่งมีกระทรวงกลาโหมเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ  มีเครื่องมือหลักคือ  "คณะกรรมการดำเนินการเพื่อจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน"  ซึ่งเป็นผู้กำหนดยุทธศาสตร์ของไทย  เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนในปี  พ..2558

นอกจากนี้ยังมีกลไกสำคัญอีกกลไกหนึ่งคือ  "การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน"  หรือADMM  (ASEAN Defense Ministers Meeting)   และ  "การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา"  หรือ  ADMM-Plus  ซึ่งมีประเทศสมาชิกประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน  10  ประเทศและประเทศคู่เจรจา  8  ประเทศ  คือ  สหรัฐฯ  จีน  รัสเซีย  ญี่ปุ่น  เกาหลีใต้  อินเดีย  ออสเตรเลีย  และนิวซีแลนด์  ที่ได้มีการกำหนดหัวข้อในความร่วมมือ  เพื่อเตรียมการเป็นประชาคมอาเซียนไว้  5  ด้าน  ในการประชุม  ADMM-Plus  ครั้งแรกที่กรุงฮานอย  ประเทศเวียดนาม  เมื่อปี  พ..2553  ประกอบด้วย

1.  ด้านความมั่นคงทางทะเล  (Maritime  Security)

2.  การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ  (Peacekeeping  Operations)

3.  การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ  (Humanitarian  Assistance  and  Disaster  Relief)

4.  การแพทย์ทหาร  (Military  Medicine)  และ

5.  การต่อต้านการก่อการร้ายสากล  (Counter - Terrorism)

เป็นที่น่าเสียดายว่าเพราะเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศที่ผ่านมา  ทำให้ไทยเสียโอกาสในการเป็นประธานร่วมในความร่วมมือดังกล่าวทั้ง  5  ด้าน  ปล่อยให้เพื่อนบ้านอย่างเช่น  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  สิงคโปร์  เวียดนาม  ฟิลิปปินส์  จับจองเป็นเจ้าภาพร่วมกับประเทศคู่เจรจาไปจนหมด

แต่การสูญเสียโอกาสของไทย  ก็ใช่ว่าจะทำให้เราหยุดอยู่กับที่  ในปัจจุบันกระทรวงกลาโหมของไทย  กำลังปรับตัวปรับองค์กร  ตลอดจนปรับบุคคลากรเพื่อเตรียมความพร้อม  ในการก้าวเข้าสู่ความเป็นกลาโหมอาเซียน  

ขณะเดียวกันกองทัพก็จะถูกปรับให้เหลือกองทัพเดียวคือ  "กองทัพอาเซียน"  เหมือนกองทัพสหภาพยุโรปที่กำลังถูกใช้เป็นต้นแบบอยู่ในขณะนี้   คำถามจึงเกิดขึ้นมาว่าภัยด้านความมั่นคงของประชาคมอาเซียนมีอะไรบ้าง  แล้วกองทัพอาเซียนจะต้องเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง  เพื่อรับมือกับสิ่งดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

รศ.ดร.สุเนตรชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กล่าวถึงภัยด้านความมั่นคงของประชาคมอาเซียนในอนาคตมีอยู่สามประการคือ

1.  ภัยด้านความมั่นคงของมนุษย์

2.  ภัยพิบัติจากธรรมชาติและ

3.  การแผ่ขยายอำนาจของประเทศมหาอำนาจนอกภูมิภาค

สิ่งแรกที่ประชาคมอาเซียนจะต้องเผชิญคือ  ภัยด้านความมั่นคงของมนุษย์  ทั้งนี้เพราะในปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนมีความแตกต่างทางเศรษฐกิจอย่างมาก  อาเซียนมีประเทศที่ประชากรมีรายได้สูงติดอันดับโลกอย่าง  สิงคโปร์และบรูไน  ในขณะเดียวกันก็มีประเทศสมาชิกที่มีประชากรยากจนอย่างมากด้วยเช่นกัน  

ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจนี้เอง  ที่จะทำให้เกิดการการหลั่งไหลและการเคลื่อนย้ายของประชากรจากประเทศสมาชิกที่ยากจนไปสู่ประเทศสมาชิกที่ร่ำรวย  เพื่อแสวงหาชีวิตและโอกาสที่ดีกว่า  

การอพยพโยกย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่นี้  จะทำให้เกิดปัญหาความมั่นคงของมนุษย์มากมาย  ทั้งปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ  ปัญหาการขยายตัวของเครือข่ายก่อการร้ายสากล  ปัญหายาเสพติด  ปัญหาการก่อกำเนิดของกลุ่มแก็งค์อิทธิพลเหนือชนชาติของตนในดินแดนประเทศอื่น  เหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นในสหภาพยุโรป  อันส่งผลให้กลุ่มมาเฟียจากยุโรปตะวันออกเข้าไปแผ่ขยายอิทธิพลในยุโรปตะวันตก  หรือกรณีกลุ่ม  "โรฮิงยา"  (Rohingya)  ที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน  

นอกจากนี้ยังมีปัญหาการค้ามนุษย์ที่สามารถกระทำได้ง่ายขึ้น  เมื่อเส้นแบ่งเขตแดนของประเทศสมาชิกอาเซียนได้จางหายไปกับความเป็นประชาคมอาเซียน

ปัญหาด้านสาธารณสุขเป็นภัยด้านความมั่นคงของมนุษย์อีกปัญหาหนึ่ง  ที่จะต้องจับตามองเช่นกัน  เพราะประชาชนผู้โยกย้ายถิ่นฐานเหล่านี้  จะนำโรคภัยไข้เจ็บนานาชนิดติดตัวไปยังประเทศอื่น  รวมไปถึงการก่อมลภาวะทางสาธารณสุขขึ้นในประเทศที่ตนอพยพไปอยู่  อันเนื่องมาจากความยากจนและด้อยการศึกษา  

เช่น  การกำเนิดสลัมใหม่ๆ ขึ้นในชุมชนเมือง  การละเลยสุขภาพ  ตลอดจนสุขอนามัย  จนอาจก่อให้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ขึ้นในทศวรรษหน้าได้  เช่น  การแพร่ระบาดของไข้หวัดนก  ที่อาจกลับมาสู่กลุ่มประเทศอาเซียนอีกครั้ง  หากปราศจากความระมัดระวังในการโยกย้ายถิ่นฐาน

นอกจากนี้การรวมตัวของประชาคมอาเซียนยังอาจก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมในหลายๆ ด้าน  ซึ่งผลของความไม่เท่าเทียมนี้  จะตกอยู่กับประเทศสมาชิกที่ด้อยโอกาส  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบันคือ  กรณีการบริหารน้ำในลุ่มน้ำโขง  ซึ่งแต่ละประเทศพยายามแสวงหาประโยชน์ของตนเอง  โดยไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศสมาชิกอื่น  หรือต่อสภาวะสิ่งแวดล้อมของภูมิภาค  หรือกรณีการลักลอบตัดไม้พะยูง  บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา  ที่หากปราศจากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ  จะกลายเป็นปัญหาอีกปัญหาหนึ่งของอาเซียนในอนาคต

ปัญหาด้านความมั่นคงอีกปัญหาหนึ่งที่ประชาคมอาเซียนจะต้องเผชิญก็คือ  ภัยพิบัติจากธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง  และมีความรุนแรงมากขึ้น  

ปัญหานี้เป็นปัญหาเร่งด่วน  ที่ประชาคมจะต้องรีบหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน  เพราะจากสถิติที่ผ่านมา  จะเห็นได้ว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีความรุนแรงจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งในโลก  เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้แทบทั้งสิ้น  ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์สึนามิในไทยและอินโดนีเซีย  เมื่อปี  พ..2547  พายุไซโคลนนาร์กิสในพม่า  การระเบิดของภูเขาไฟ  "เมอราปิ"  (Merapi)  และแผ่นดินไหวในเมืองยอคยาการ์ต้าและบันดุงของอินโดนีเซีย  พายุไต้ฝุ่นในเวียดนามและฟิลิปปินส์  น้ำท่วมครั้งใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

ปัญหาด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติ  ได้ทำให้กองทัพของแต่ประเทศสมาชิกอาเซียนปรับบทบาท  จากการเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาอำนาจอธิปไตย  มาสู่ความเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากภัยธรรมชาติ 

ซึ่งในอนาคตกองทัพอาเซียนจะมีบทบาทอย่างมาก  ในการทำหน้าที่ปฏิบัติการด้านบรรเทาสาธารณภัย  ซึ่ง ณเวลานี้  กองทัพของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้้เตรียมการในเรื่องนี้ค่อนข้างมากแล้ว  ดังจะเห็นได้จากความร่วมมือด้านต่างๆ  เช่น   การจัดทำเอกสาร  "แนวความคิดว่าด้วยการใช้ทรัพยากรและศักยภาพทางทหารอาเซียน  ในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ"  ที่กระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย  เป็นผู้ยกร่างขึ้นมา  รวมไปถึงความร่วมมือในการฝึกร่วมบรรเทาสาธารณภัยมากมาย  ที่เกิดขึ้นในห้วงสองสามปีที่ผ่านมา  

เช่น  การฝึกร่วมบรรเทาสาธารณภัยของกองทัพอาเซียนที่มีสิงคโปร์และอินโดนีเซียเป็นหัวหอก  เมื่อเดือนตุลาคมของปี  2554  ที่ผ่านมา  ณ  ประเทศสิงคโปร์  การฝึกร่วมบรรเทาสาธารณภัยร่วมระหว่างกองทัพไทยและมาเลเซีย  ภายใต้รหัส  JCEX  THAMAL  2011  (Joint  Combined  Exercise  Thailand  and  Malaysia  2011)  และการฝึกร่วมบรรเทาสาธารณภัยไทยกัมพูชาที่กำลังจะมีขึ้น  ในปีพ..  2555  ตามดำริของผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย


(โปรดติดตามอ่านตอนที่ ๓)




 

Create Date : 16 กรกฎาคม 2555    
Last Update : 16 กรกฎาคม 2555 18:56:50 น.
Counter : 2535 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]




ฉันจะบิน ... บินไป ... ไกลแสนไกลไม่หวั่น
เก็บร้อยความฝันที่มันเรียงราย ...
ให้กลายมาเป็นความจริง ...
New Comments
Friends' blogs
[Add unmoknight's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.