VUW - Victoria University of Wellington, New Zealand
Group Blog
 
All Blogs
 

แผนที่ "เส้นประ 9 เส้น" (nine-dash-line) ในทะเลจีนใต้ ตอนที่ 1

แผนที่ "เส้นประ เส้น" (nine-dash-line)

ต้นกำเนิดความขัดแย้งในทะเลจีนใต้

โดย พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand

ลงพิมพ์ในวารสาร "หลักเมือง" กระทรวงกลาโหม ฉบับเดือนธันวาคม พ.ศ.2557

สงวนลิขสิทธิ์ในการผลิตซ้ำเพื่อการค้า อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อการศึกษาเท่านั้น





แผนที่  "เส้นประ เส้น" (nine - dash - line) หรือที่บางครั้งเรียกว่า "เส้น จุด" (nine - dotted - line) คือเส้นที่ลากขึ้น เพื่อกำหนดอาณาเขตของจีนในทะเลจีนใต้ ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรก ในปี พ..2490 หรือตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติลงได้เพียง ปี 

จัดทำโดย รัฐบาลพรรค "ก๊กมินตั๋งของจีนคณะชาติ ซึ่งยังครอบครองจีนแผ่นดินใหญ่อยู่ในขณะนั้น เส้นดังกล่าวเป็นแนวเส้นที่ลากลงมาจากเกาะไหหนาน หรือ "ไหหลำของจีน บริเวณอ่าวตั๋งเกี๋ย ขนานกับชายฝั่งเวียดนาม มาจนถึงเกาะบอร์เนียว บริเวณรัฐซาราวักของมาเลเซีย แล้ววนกลับ เลียบชายฝั่งบรูไน ผ่านรัฐซาบาห์ ตัดตรงเข้าไปในน่านน้ำของฟิลิปปินส์ เลาะชายฝั่งของจังหวัดปาลาวันเรื่อยไป จนถึงเกาะลูซอน แล้วขึ้นไปสิ้นสุดที่เกาะไต้หวัน

แนวเส้นประ เส้นนี้ ก่อให้เกิดพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่ ครอบคลุมท้องน้ำของทะเลจีนใต้อันกว้างใหญ่ไพศาล 

รัฐบาลก๊กมินตั๋งของจีนในขณะนั้น ประกาศว่าพื้นที่ภายในเส้นประ เส้นทั้งหมด คืออาณาเขตของจีน โดยมีการส่งหน่วยสำรวจแผนที่เดินทางเข้าไปในทะเลจีนใต้ พร้อมกับจัดทำเส้นเขตแดนลงไปในแผนที่ฉบับใหม่ของตน 

แต่ก็ไม่มีประเทศใดหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นสร้างความขัดแย้ง เนื่องจากในขณะนั้นสงครามโลกครั้งที่สองเพิ่งสิ้นสุดลง แต่ละประเทศอยู่ในสภาวะบอบช้ำ บ้านแตกสาแหรกจากมหาสงครามที่ยืดเยื้อยาวนาน ประกอบกับรัฐบาลก๊กมินตั๋งเอง ก็กำลังสู้รบติดพันในลักษณะ "เจียนอยู่ เจียนไปกับพรรคคอมมิวนิสต์ของเหมาเจ๋อตุง 

จนในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์ก็สามารถยึดจีนแผ่นดินใหญ่ได้ในปีต่อมา ทำให้รัฐบาลก๊กมินตั๋งต้องถอยไปปักหลักอยู่ที่ไต้หวันมาจนถึงทุกวันนี้

เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น ในปี พ..2491 เหมาเจ๋อตุงก็ประกาศใช้แผนที่ ที่มีเส้นประ เส้นนี้ พร้อมกับประกาศว่า ดินแดนต่างๆในอาณาเขตทะเลจีนใต้ ที่เป็นถุงขนาดใหญ่นี้่คือ อาณาเขตของจีน โดยควบรวมดินแดนทั้งหมู่เกาะพาราเซล และ หมู่เกาะสแปรตลี อันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจำนวนมหาศาลเข้าไปด้วย 

การประกาศดังกล่าวเริ่มกลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมา เมื่อเวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และไต้หวัน ซึ่งมีพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะของตนอยู่ในทะเลจีนใต้ ต่างก็ออกมาคัดค้าน

ยิ่งไปกว่านั้นยังทำให้อินโดนีเซีย ซึ่งแต่ก่อนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่พิพาทเหนือหมู่เกาะสแปรตลีแต่อย่างใด ต้องพลอยฟ้าพลอยฝนติดร่างแหไปด้วย เนื่องจากบริเวณตอนล่างสุดของเส้นประ เส้นนั้น ลากมาจนเกือบจะถึงเกาะ "นาทูน่า" (Natuna) ของตน ส่งผลให้พื้นที่ส่วนล่างของเส้นดังกล่าว อยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของอินโดนีเซียไปด้วยโดยปริยาย

นอกจากนี้ จีนยังตอกย้ำความขัดแย้งดังกล่าว ด้วยการใช้แผนที่เส้นประ เส้นเป็นส่วนประกอบในการร่างแนวปราการป้องกันอาณาเขตทางทะเลของตน ที่เรียกว่า "แนวห่วงโซ่ปราการของเกาะชั้นแรก" (First Islands Chain) ที่ลากเส้นประ เส้นให้ต่อยาวเป็นเส้นทึบ

พร้อมกับลากให้ยาวขึ้นไปครอบคลุมจนถึงประเทศญี่ปุ่น โดยจีนประกาศว่าในปี  พ..2563 หรือ ค..2020 ตนจะสามารถใช้ "แนวห่วงโซ่ปราการของเกาะชั้นแรกนี้เป็นแนวปราการสกัดกั้นอิทธิพลของสหรัฐฯ ในทะเลเหลือง ทะเลจีนใต้ และทะเลจีนตะวันออก ซึ่งจะทำให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลของจีน บริเวณด้านที่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิค มีความมั่นคงอย่างมาก

จีนไม่เพียงแต่กำหนดยุทธศาสตร์ลงบนแผนที่เท่านั้น หากแต่ยังลงมือเสริมสร้างกำลังทางเรืออย่างขนานใหญ่ พร้อมส่งกำลังทางเรือคืบคลานเข้ามาในพื้นที่เหล่านี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเตรียมการปิดล้อมทะเลต่างๆ ตามแนวเส้นประ เส้น และตามแนวห่วงโซ่ปราการของเกาะชั้นแรกดังที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการป้องกันมิให้สหรัฐฯ ส่งกำลังทางเรือรุกล้ำเข้ามา จนทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกับประเทศต่างๆ ที่อยู่ในแนวเส้นเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง

อาจกล่าวได้ว่าแผนที่  "เส้นประ เส้นได้ส่งผลให้จีนเกิดความขัดแย้งกับประเทศต่างๆ ในทะเลจีนใต้ถึง ประเทศด้วยกัน คือ เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์และไต้หวัน 

รวมทั้งยังสร้างความกังวลอย่างมากต่อสิงคโปร์ ที่อาศัยทะเลจีนใต้เป็นเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบมะละกา 

ความขัดแย้งดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศของกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างขนานใหญ่ในห้วงทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากการแผ่ขยายอาณาเขตของจีนในครั้งนี้

การปรับยุทธศาสตร์ ประการแรก คือการเสริมสร้างกำลังทางเรือเพื่อรักษาน่านน้ำและผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลของตนเอง แทนการเสริมสร้างแสนยานุภาพทางบกที่ดำเนินมาเป็นเวลาช้านาน

ส่วนการปรับยุทธศาสตร์ ประการที่สองนั้น สืบเนื่องมาจากสงครามในอิรักทั้งสองครั้งและสงครามในอัฟกานิสถานได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกำลังทางอากาศที่มีขีดความสามารถในการทำลายเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ และเด็ดขาด ทำให้ขนาดความใหญ่โตและจำนวนของเรือรบ ไม่ใช่ปัจจัยหลักในการกำหนดชัยชนะอีกต่อไป หากแต่เป็นเทคโนโลยีระดับสูงและระบบเรดาห์ที่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งเป็นตัวชี้นำอาวุธปล่อยนำวิถีและขีปนาวุธ ทั้งจากพื้นสู่พื้น พื้นสู่อากาศ อากาศสู่อากาศ และอากาศสู่พื้น ให้พุ่งเข้าทำลายเป้าหมายได้อย่างแม่นยำ ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้มีการเสริมสร้างแสนยานุภาพทางอากาศ ควบคู่ไปกับแสนยานุภาพทางเรือเป็นหลัก

เวียดนามเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศอย่างขนานใหญ่ โดยแต่เดิมในช่วงสงครามเย็นนั้น เวียดนามมีการเสริมสร้างแสนยานุภาพทางบก จนมีกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ติดอันดับต้นๆ ของโลกเนื่องจากมีภัยคุกคามทางบก จากทิศด้านตะวันตกของประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศโลกเสรีที่เผชิญหน้ากับเวียดนามมาอย่างยาวนาน

แต่เมื่อสงครามเย็นยุติลง ประกอบกับการหันไปพัฒนาเศรษฐกิจของตน ตามนโยบาย "โด๋ยเหม่ยก็ทำให้เวียดนามว่างเว้นจากการสร้างแสนยานุภาพมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่งจีนได้เคลื่อนตัวเข้ามา และมีท่าทีที่เป็นภัยคุกคามในการครอบครองพื้นที่ต่างๆ ตามแนวเส้นประ เส้นดังกล่าว อันเป็นพื้นที่ที่เวียดนามกล่าวอ้างกรรมสิทธิเหนือดินแดนเหล่านั้นด้วยเช่นกัน

เมื่อภัยคุกคามของเวียดนามได้เปลี่ยนจากภัยคุกคามทางบกด้านตะวันตก มาเป็นภัยคุกคามทางทะเลด้านตะวันออก โลกจึงได้เห็นการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ทางทะเลอย่างขนานใหญ่ของเวียดนาม มีการสั่งซื้อเรือดำน้ำพลังงานดีเซล ชั้น "กิโล" (Kilo) จำนวน ลำ มูลค่ากว่า 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากรัสเซีย

เรือดำน้ำดังกล่าว นับเป็นเรือดำน้ำที่ทันสมัยที่สุดชนิดหนึ่ง มีขีดความสามารถในการเป็น "เพชฌฆาตเงียบใต้ท้องทะเลที่สามารถทำลายเรือผิวน้ำ เรือดำน้ำ และอากาศยานเหนือน่านฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เรือดำน้ำสองลำแรก คือ เรือ "ฮานอยและ "โฮจิ มินห์ ซิตี้ได้มีการส่งมอบให้กับกองทัพเรือเวียดนามไปแล้ว เมื่อปลายปี พ..2556 และต้นปี พ..2557 ตามลำดับ รวมทั้งมีกำหนดส่งมอบลำที่สาม คือ "ไฮฟองในปลายปีนี้ และจะส่งมอบส่วนที่เหลือให้ครบภายในห้วงเวลา ปีข้างหน้า โดยเรือดำน้ำทั้งหมดจะประจำการที่ฐานทัพเรืออ่าวคัมรานห์ ซึ่งทำให้มีพื้นที่ปฏิบัติการครอบคลุมแนวเส้นประที่ 1 – 3

สำหรับการเสริมสร้างแสนยานุภาพทางอากาศนั้น กองทัพเวียดนามได้จัดหาเครื่องบินขับไล่ประสิทธิภาพสูง ที่นั่ง และ เครื่องยนต์ แบบ ซู-30 เอ็มเค เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 12 ลำจากรัสเซีย คิดเป็นมูลค่า 600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากเดิมที่เวียดนามเคยสั่งซื้อมาแล้วสองครั้งจำนวน 20 ลำ ในปี พ..2552 และ 2553 ซึ่งทำให้เวียดนามมีฝูงบิน ซู-30 ถึง ฝูง ด้วยกัน

เครื่องบินที่สั่งซื้อครั้งล่าสุดจะมีการส่งมอบในปี พ..2557 และ 2558 เครื่องบินรุ่นนี้ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีแบบอากาศสู่พื้น เพื่อมุ่งทำลายเรือผิวน้ำเป็นหลัก โดยเวียดนามได้จัดซื้ออาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือ แบบเอเอส-17 คริปตอน รุ่น เคเอช-35 เอ จากรัสเซียจำนวน 100 ลูก และแบบเอเอส-14 รุ่นเคเอช-29 ที เพื่อนำมาใช้กับเครื่องบินขับไล่แบบ ซู-30 และ ซู-27 ที่มีอยู่เดิมอีกด้วย

สำหรับอินโดนีเซียนั้น เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ในการป้องกันประเทศ

โดยจากอดีตที่ผ่านมา ตั้งแต่ได้รับเอกราชในปี พ..2488 ภัยคุกคามของอินโดนีเซีย ร้อยละ 67 เป็นภัยคุกคามในประเทศ อันเกิดจากกลุ่มศาสนาหัวรุนแรงและกลุ่มเชื้อชาติต่างๆ ที่พยายามแยกตัวออกเป็นอิสระ เช่น ติมอร์ตะวันออก ปาปัวตะวันตก อาเจะห์ และ อิเรียนจายา

แต่เมื่อปัญหาเหล่านี้เบาบางลง ภายหลังจากการแยกตัวเป็นเอกราชของติมอร์ เลสเต ตลอดจนการล่มสลายของกลุ่มต่อต้านในอาเจะห์ อินโดนีเซียก็ต้องเผชิญหน้ากับ "แนวเส้นประ เส้นของจีน ที่ผนวกพื้นที่เศรษฐกิจจำเพาะบริเวณเกาะนาทูน่าของตนเข้าไปด้วย

ทำให้มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์หันมารับมือกับภัยคุกคามในทะเลจีนใต้ โดยมีการเสริมสร้างกำลังทางเรืออย่างยิ่งใหญ่ เช่น การตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนเรือรบให้มีถึง 250 ลำในปี พ..2567 หรือภายในสิบปีข้างหน้า

ปัจจุบันกองทัพเรืออินโดนีเซีย มีกองเรือจำนวน กองเรือ คือ กองเรือภาคตะวันออกอยู่ที่เมืองสุราบายา และกองเรือภาคตะวันตก อยู่ที่กรุงจาการ์ต้า เมืองหลวงของอินโดนีเซีย ซึ่งอินโดนีเซียมีแผนที่จะเพิ่มกองเรือขึ้นอีก กองเรือ

โดยจะขยายกองเรือภาคตะวันออกขึ้นอีก กองเรือ มีฐานทัพอยู่ที่เมืองอัมบอน เมืองเมอเรากิ และเมืองคูปัง ตลอดจนขยายกองเรือภาคตะวันตกเพิ่มขึ้นอีก กองเรือมีฐานทัพอยู่ที่ เมืองตันจุงปีนัง เมืองนาตัน และเมืองเบลาวัน

รวมทั้งตั้งกองเรือภาคกลางขึ้นมาใหม่อีก กองเรือ มีฐานทัพอยู่ที่เมืองมากัสซ่าร์และเมืองเทรากัน

นอกจากนี้ในปี พ..2555 อินโดนีเซียได้สั่งต่อเรือดำน้ำ ชั้น "ชางโบโก แบบ 209” ระวางขับน้ำ 1,800ตัน จากบริษัทแดวูของเกาหลีใต้ จำนวน ลำ จากเดิมที่มีประจำการอยู่แล้ว ลำคือ เรือดำน้ำชั้น "จักกรา" (Chakkra) จากประเทศเยอรมัน ซึ่งเรือดำน้ำ "ชางโบโกจำนวนสองลำ จะต่อที่อู่ต่อเรือในเกาหลีใต้ โดยความร่วมมือระหว่างบริษัทแดวูและรัฐวิสาหกิจการต่อเรือของอินโดนีเซีย ส่วนเรือดำน้ำลำที่สามจะต่อในอินโดนีเซีย 

ล่าสุดประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ซึ่งเพิ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้เปิดเผยว่า อินโดนีเซียกำลังพิจารณาจัดซื้อเรือดำน้ำชั้น "กิโลรุ่นปรับปรุงใหม่จากโครงการ 636 (Project 636) ของรัสเซียซึ่งเป็นโครงการเดียวกับเรือดำน้ำของเวียดนาม

เนื่องจากมีขีดความสามารถในการครองน่านน้ำ และครองอากาศครบถ้วน ยิ่งไปกว่านั้นเรือดำน้ำรุ่นที่อินโดนีเซียสนใจนั้น จะมีระบบโซน่าร์ที่ทันสมัยกว่าของเวียดนาม โดยเป็นการพัฒนาจากแบบ เอ็มจีเค - 400 อี เป็นรุ่น เอ็มจีเค - 400 อีเอ็ม คาดว่าอินโดนีเซียจะสั่งซื้อเป็นจำนวนถึง 10 ลำเลยทีเดียว

ส่วนกำลังทางอากาศนั้น ในปี พ..2556 กองทัพบกอินโดนีเซียได้สั่งซื้อเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบ เอเอช - 64 อี "อาปาเช่จำนวน ลำจากสหรัฐฯ มูลค่ากว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีแบบอากาศสู่พื้น ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากจากการรบในอิรักและอัฟกานิสถาน

โดยคาดว่าอินโดนีเซียจะได้รับเฮลิคอปเตอร์ทั้งหมด ในปี ค..2560 การสั่งซื้อครั้งนี้ทำให้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่สองในกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากสิงคโปร์ ที่มีเฮลิคอปเตอร์โจมตีชั้นสุดยอดของโลกชนิดนี้ อยู่ในประจำการ

กองทัพบกอินโดนีเซียวางแผนที่จะนำเฮลิคอปเตอร์ อาปาเช่ จำนวน ลำ เข้าประจำการที่เกาะ "นาทูน่าเพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจจำเพาะของตน จากแนวเส้นประ เส้นของจีนนั่นเอง

นอกจากนี้อินโดนีเซียยังเสริมสร้างกำลังทางอากาศด้วยการสั่งซื้อเครื่องบินขับไล่ แบบซุคคอย ซู-30 จากรัสเซีย เป็นจำนวนถึง 64 ลำ และเครื่องแบบขับไล่แบบ เอฟ-16 จากสหรัฐฯ จำนวน 32 ลำ ในจำนวนนี้เป็นเครื่องบินมือสองจำนวน 24 ลำที่ได้รับการ "ให้เปล่าโดยไม่คิดมูลค่าจากสหรัฐฯ เมื่อครั้งประธานาธิบดี บารัก โอบาม่า เดินทางเยือนอินโดนีเซียในปี พ..2553 แต่อินโดนีเซียต้องออกค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสมรรถนะมูลค่ากว่า 750 ล้านเหรียญเอง

(โปรดติดตามตอนที่ 2)




 

Create Date : 12 ธันวาคม 2557    
Last Update : 12 ธันวาคม 2557 9:24:21 น.
Counter : 6938 Pageviews.  

กองทัพฟิลิปปินส์ ตอนที่ 3

กองทัพฟิลิปปินส์ (ตอนที่ 3)

โดย

พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand


ลงพิมพ์ในนิตยสารท้อปกัน ปี พ.ศ.2557


สงวนลิขสิทธิ์ในการลอกเลียนเพื่อการค้า เนื่องจากกำลังรวมเล่ม อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อความรู้และการศึกษาเท่านั้น




นอกจากนี้ กองทัพฟิลิปปินส์ยังเสนอโครงการถึง 24 โครงการ ในห้วงเวลาสามปีข้างหน้า เพื่อเสริมสร้างแสนยานุภาพของตนเอง เช่น การจัดหาเครื่องบินรบความเร็วสูง การจัดซื้อเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง ชั้น "แฮมิลตัน" (Hamilton class) จากหน่วยป้องกันและรักษาฝั่งสหรัฐฯ (United States Coast Guard) ซึ่งเรือดังกล่าวจำนวน ลำ ได้เข้าประจำการในกองทัพเรือฟิลิปปินส์อยู่แล้ว หนึ่งในนั้น คือ เรือ "เกรโกริโอ เดล พิลาร์" (Gregorion del  Pilar) รวมทั้งการจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ/เอ-50 (F/A-50) จากบริษัทอุตสาหกรรมการบินของเกาหลีใต้ (KoreaAerospace Industries) จำนวน 12 ลำ มูลค่ากว่า 440 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถทางทะเลและทางอากาศให้กับกองทัพฟิลิปปินส์ได้พอสมควร

ขณะเดียวกัน โฆษกกองทัพอากาศ นาวาอากาศโท ไมโก โอกอล (Miko Okol) ยังได้กล่าวว่า กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ ได้ขอซื้อเครื่องบินขับไล่ แบบเอฟ-16 (F-16) จากสหรัฐฯ ตลอดจนเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดินเครื่องบินลาดตระเวนระยะไกลเฮลิคอปเตอร์โจมตีระบบเรดาห์ที่ทันสมัย และอากาศยานไร้นักบิน หรือ ยูเอวี (UAV) ซึ่งรายการจัดซื้อบางส่วนนี้ ได้รับการอนุมัติแล้ว ".. แต่ไม่สามารถให้รายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงได้ เพียงแต่บอกได้ว่ายุทโธปกรณ์เหล่านี้ เราจะได้รับภายในสองถึงสามปีข้างหน้า ..” ไมโก โอกอล กล่าวกับผู้สื่อข่าวในที่สุด

ในช่วงที่การพัฒนาดังกล่าวยังไม่เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ตามแผนการที่วางไว้ ฟิลิปปินส์ก็พยายามเดินหมากด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อคานอำนาจกับจีน ด้วยการเชื่อมความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ซึ่งนับเป็นพันธมิตรที่มีความใกล้ชิดกับฟิลิปปินส์มาตั้งแต่อดีต มีการพูดถึงการกลับมาใช้ฐานทัพเรืออีกครั้ง เพราะนอกจากจะเป็นการสนองตอบนโยบาย "การปรับสมดุลย์" (Rebalancing) ของสหรัฐฯ ในการหวนกลับมายังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค เพื่อมุ่งคานอำนาจกับกองทัพประชาชนจีน อันเป็นวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกัน ภายหลังจากที่สหรัฐฯ ทุ่มเทความสนใจไปยังภูมิภาคตะวันออกกลางมาเป็นเวลานาน การกลับมาใช้ฐานทัพในครั้งนี้ จะทำให้ฟิลิปปินส์ได้รับค่าเช่าพื้นที่จำนวนมหาศาล เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนากองทัพอีกทางหนึ่งด้วย เรียกได้ว่า เอื้อประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย

ความสัมพันธ์ระหว่างฟิลิปปินส์และสหรัฐฯ พัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเมื่อเดือนสิงหาคม  ค..2011 สหรัฐฯ ได้มอบเรือตรวจการณ์ชายฝั่ง "เกรโกริโอ เดล พิล่าร์ดังที่กล่าวมาข้างต้น และเรือตรวจการณ์ชายฝั่งอีกลำหนึ่ง ให้กับกองทัพเรือฟิลิปปินส์ ทำให้เรือ "เกรโกริโอ เดล พิล่าร์กลายเป็นเรือที่ใหญ่และทันสมัยที่สุด ในกองทัพเรือฟิลิปปินส์

นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังมีแนวความคิดที่จะเพิ่มกำลังทหารของตน ที่ประจำการอยู่ในฟิลิปปินส์จำนวน 600 นายให้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย แต่ก็มีเสียงวิจารณ์จากนักวิชาการว่า การช่วยเหลือของสหรัฐฯ ในฐานะพันธมิตรที่แนบแน่นและยาวนานนั้น ดูจะมีน้อยจนเกินไปอย่างน่าใจหาย เช่น ศาสตราจารย์ เบนิโต ลิม (Benito Lim) จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมะนิลา ได้กล่าวว่า ".. การสนับสนุนของสหรัฐฯ ในครั้งนี้เปรียบได้กับ พวกอเมริกันรู้ว่า จีนมีปืนกลในครอบครอง แต่พวกเขากลับให้ มีดทำครัว (kitchen knife) กับฟิลิปปินส์ มันทำให้เราดูเป็นตัวตลก เมื่อต้องเผชิญหน้ากับจีนในดินแดนพิพาทเหนือทะเลจีนใต้ ..”

ในระหว่างที่ฟิลิปปินส์ ถูกพายุไต้ฝุ่น "ไห่เยียนพัดเข้าถล่มอย่างรุนแรง ช่วงปลายปี ค..2013 นั้นสหรัฐฯ ก็ได้ส่งเรือบรรทุกเครื่องบิน "ยูเอสเอส จอร์ช วอชิงตัน" (USS George  Washington) เดินทางนำความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม พร้อมกำลังพลหน่วยนาวิกโยธินอีกกว่า 5,000 นาย พร้อมเครื่องบินแบบโบอิ้ง วี 22 ออสเพรย์ (Boeing V 22 Osprey) จำนวนกว่า 20 ลำและเครื่องบินชนิดต่างๆ เดินทางเข้าไปให้ความช่วยเหลือเกือบจะในทันที อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและแน่นแฟ้น ของทั้งสองประเทศได้เป็นอย่างดี อีกทั้งภารกิจในการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาตินั้น นับเป็นภารกิจที่สามารถนำกองทัพสหรัฐฯ หวนกลับมาสู่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคได้ ตามนโยบาย "ปรับสมดุลย์ของประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า โดยปราศจากข้อกังขาจากมหาอำนาจอื่นๆ เช่น จีน อินเดีย และรัสเซียอีกด้วย

นอกจากการปรับนโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้วยการเร่งขอความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ แล้ว ฟิลิปปินส์ยังเร่งพัฒนาความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นคู่กรณีที่มีข้อขัดแย้งเรื่องอำนาจอธิปไตยกับจีน เหนือดินแดน เกาะเซนกากุ (Senkaku) หรือ "เตียวหยี" (Diaoyu) เช่นเดียวกัน จนรัฐบาลญี่ปุ่นต้องเพิ่มแสนยานุภาพทางการทหาร ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งนี้เพื่อต้องการคานอำนาจกับจีน โดยนำนโยบาย "ฟูโกกุ เคียวเฮ" (Fukoku Kyohei : Fu = รุ่งเรือง, koku = ประเทศ, kyo = แข็งแรง, hei = ทหารหรือ "ประเทศรุ่งเรือง กองทัพแข็งแกร่งในสมัยราชวงศ์เมจิ กลับมาใช้ในการบริหารประเทศอีกครั้ง

ตัวอย่างการพัฒนาความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศที่เห็นได้ชัดคือ เมื่อครั้งที่นายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ (Shinso Abe) ของญี่ปุ่น เดินทางไปเยือนฟิลิปปินส์เมื่อเดือนกรกฎาคม ค..2013 ที่ผ่านมา และได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นเกินความคาดหมาย ทั้งที่ในสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือสงครามโลกครั้งที่สองที่ผ่านมา กองทัพญี่ปุ่นได้สร้างความทรงจำอันเจ็บปวดขึ้น ในจิตใจของชาวฟิลิปปินส์ เมื่อทหารญี่ปุ่นได้สังหารประชาชนฟิลิปปินส์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภายหลังความพ่ายแพ้ที่สมรภูมิ "บาตานหรือ "บาตาอัน" (Bataan) ที่ทหารของกองทัพพระมหาจักรพรรดิบังคับเชลยศึกสหรัฐฯ และฟิลิปปินส์จำนวนนับหมื่นนาย เดินเท้าเป็นเวลาหลายวัน ตลอดการเดินทางนี้ มีการปฏิบัติกับเชลยศึกเหล่านั้นอย่างโหดเหี้ยม จนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และมีการขนานนามการเดินทางครั้งนี้ว่า "การเดินแห่งความตาย" (Death march)

แต่การเดินทางมาเยือนของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในครั้งนี้ ประวัติศาสตร์และความทรงจำอันขมขื่นของฟิลิปปินส์ได้เปลี่ยนไปอย่างมาก นิตยสาร "ไทม์" (Time) ฉบับวันที่ ตุลาคม ค..2013 ระบุข้อมูลว่า นับตั้งแต่จีนก้าวสู่ความเป็นมหาอำนาจ และแสดงบทบาทเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงต่อฟิลิปปินส์ ทำให้ชาวฟิลิปปินส์กว่า ร้อยละ 80 หันกลับมามองญี่ปุ่นในแง่บวก เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่พร้อมที่จะต้อนรับการหวนกลับมาของญี่ปุ่น

นอกจากนี้นายชินโซ อาเบะ ยังได้ให้คำสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาหน่วยยามฝั่งของฟิลิปปินส์ ที่ขณะนี้อยู่ในสภาพต้องการการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน โดยจะมอบเรือลาดตระเวนจำนวน 10 ลำ ซึ่งแต่ละลำ มีความยาวประมาณ 40เมตร (131ฟุตมูลค่าลำละกว่า 11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (473 ล้านเปโซให้กับฟิลิปปินส์ อีกทั้งในเดือนกันยายนก่อนหน้านั้น เรือรบของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นก็ได้เข้าเทียบท่าในฟิลิปปินส์ เพื่อร่วมซ้อมรบกับสหรัฐฯ และฟิลิปปินส์อีกด้วย

คลาริต้า คาร์ลอส (Clarita Carlos) อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันประเทศของฟิลิปปินส์ ได้แสดงความคิดเห็นว่า ".. ญี่ปุ่นมีสิทธิในทุกๆ ด้านที่จะพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพทางด้านการทหาร อันเป็นผลเนื่องมาจากการยั่วยุ (provocation) ของจีน .. จีนมักจะแสดงบทบาทว่า พวกเราเคยถูกรุกราน กดขี่ และปกครองโดยญี่ปุ่น ถึงแม้ทุกคนยังจำสิ่งเหล่านั้นได้ดี แต่พวกเราก็เรียนรู้วิธีที่จะ ยกโทษ (forgive) ให้กับญี่ปุ่น ..” 

คำกล่าวนี้เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ถึงมุมมองของชาวฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะมุมมองด้านความมั่นคง ที่แสดงออกว่า พวกเขาพร้อมที่จะเคียงข้างกับญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ในการรับมือการแผ่ขยายอิทธิพลของจีน แม้จะมีอดีตที่ขมขื่นเพียงใดก็ตาม แต่เพื่ออนาคตที่ดีกว่า ชาวฟิลิปปินส์ก็พร้อมที่จะลืมความทรงจำที่เคยเกิดขึ้นเหล่านั้น

นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังได้แสดงบทบาทอันสำคัญ เมื่อครั้งที่พายุไต้ฝุ่น "ไห่เยียนพัดเข้าถล่มฟิลิปปินส์ ในปี ค..2013 โดยกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่น (Japanese Self Defense Forces) ได้ส่งกำลังทหารกว่า 1,000 นายเดินทางเข้าไปช่วยเหลือในการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ นับเป็นภารกิจด้านมนุษยธรรมที่ใหญ่ที่สุด ของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สึนามิที่อาเจะห์ของอินโดนีเซีย เป็นต้นมา

การพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการทหารระหว่างฟิลิปปินส์กับกลุ่มประเทศพันธมิตรต่างๆ นับเป็นวิธีการหนึ่งในการ "ซื้อเวลาเพื่อให้กองทัพของตน สามารถพัฒนาแสนยานุภาพให้มีความเข้มแข็งขึ้น แม้จะต้องประสบกับภาวะวิกฤติด้านงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดก็ตาม 

แม้นักวิเคราะห์หลายคนจะมองว่า การพัฒนากำลังรบของกองทัพฟิลิปปินส์จะไม่สามารถทัดเทียมกับศักยภาพของกองทัพจีนที่มีการเสริมสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างยิ่งใหญ่ได้เลย แต่อย่างน้อยการพัฒนาดังกล่าวก็จะทำให้จีนต้อง "ลังเลใจหรือ "คิดทบทวนอีกครั้ง" (second thought) ก่อนที่จะตัดสินใจใช้มาตรการทางการทหารกับฟิลิปปินส์ หากกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ขยายตัวลุกลามออกไป

ความสัมพันธ์ระหว่างฟิลิปปินส์และจีน เริ่มถดถอยลงเรื่อยๆ นับตั้งแต่มีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะสแปรตลี ในทะเลจีนใต้ โดยเฉพาะเกาะที่ฟิลิปปินส์เรียกว่า "ปานาตัค" (Panatag) ส่วนจีนเรียกว่า "ฮวงหยาน" (Huangyan) อันเชื่อว่า อุดมสมบูรณ์ไปด้วยก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจำนวนมหาศาล อีกทั้งยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของจีนในการแผ่ขยายอำนาจทางทะเลสู่ทะเลจีนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิคอีกด้วย

ในช่วงปี ค..2012เป็นต้นมา เรือรบเรือสำรวจสมุทรศาสตร์ ตลอดจนเรือประมงของฟิลิปปินส์ และจีนมีการกระทบกระทั่งกัน ในพื้นที่พิพาทเป็นจำนวนหลายครั้ง แต่ก็เป็นเพียงการเผชิญหน้าในลักษณะยั่วยุซึ่งกันและกัน ยังไม่ขยายตัวไปถึงระดับของการยิงต่อสู้กันด้วยอาวุธ เช่น ในช่วงต้นเดือนเมษายน ค..2012 เรือรบของฟิลิปปินส์ลำหนึ่ง ได้เข้าตรวจค้นเรือประมงของจีนจำนวน ลำ ที่เข้าไปจับปลาในพื้นที่พิพาท โดยทหารเรือฟิลิปปินส์ได้ขึ้นไปตรวจค้นบนเรือประมง และอ้างว่าได้พบปะการังและปลาจำนวนมากที่ผิดกฏหมาย ก่อนที่เรือตรวจการณ์ของจีนจะมาถึง และช่วยเหลือเรือประมงทั้งหมดให้รอดพ้นจากการจับกุม

การเผชิญหน้าดังกล่าว เกือบจะขยายตัวเป็นความขัดแย้งรุนแรงระหว่างทั้งสองประเทศ เพราะอีกไม่นาน จีนก็ตอบโต้ด้วยการจัดการฝึกซ้อมทางทะเลของบริษัทผู้ผลิตน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของจีน นั่นคือบริษัท China National Offshore Oil Corporation ที่ทำการฝึกซ้อมใกล้กับบริเวณพื้นที่พิพาท เป็นเวลานานถึง 56 วัน เพื่อฝึกการค้นหาน้ำมันในทะเลลึก รวมทั้งจีนยังตอบโต้ด้วยการสั่งกักกล้วยหอม ที่นำเข้าจากฟิลิิปปินส์ จำนวน 1,200 ตู้คอนเทนเนอร์ตามเมืองท่าต่างๆ ของจีน

โดยให้เหตุผลด้านความปลอดภัยจากสารพิษตกค้างในกล้วยหอมเหล่านั้น นอกจากนี้บริษัทท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่ดำเนินการโดยรัฐบาลจีน ก็ประกาศยกเลิกการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวในฟิลิปปินส์ทั้งหมด โดยอ้างเหตุผลด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว พร้อมทั้งออกคำเตือนนักท่องเที่ยวของตนให้ระมัดระวังกระแสการต่อต้านชาวจีน หากต้องเดินทางไปท่องเที่ยวยังประเทศฟิลิปปินส์อีกด้วย

ความขัดแย้งที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นี้เองทำให้กระแสชาตินิยมพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในประเทศฟิลิปปินส์สื่อต่างๆ นำเรื่องราวการรบระหว่างทหารฟิลิปปินส์และทหารจีนในสงครามเกาหลี ซึ่งทหารฟิลิปปินส์สามารถกำชัยชนะเหนือสมรภูมิต่างๆ มานำเสนอรวมทั้งมีเสียงเรียกร้องให้พัฒนากองทัพเพื่อป้องกันอำนาจอธิปไตยของประเทศ จนมีคำกล่าวกันว่า ".. หากกองทัพฟิลิปปินส์แข็งแกร่ง เหตุการณ์เหล่านี้จะไม่มีวันเกิดขึ้น ..”

กองทัพฟิลิปปินส์ จึงกลายเป็นตัวละคร (player) สำคัญที่โดดเด่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากที่ตกเป็นจำเลยของสังคม มาตั้งแต่ยุคของจอมเผด็จการมาร์กอส และถูกชาวฟิลิปปินส์ลืมไปจากหน้าประวัติศาสตร์ แม้ว่ากองทัพจะเป็นองค์กรหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญด้านความมั่นคงของประเทศมาโดยตลอด เช่นเดียวกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ที่มีบทบาทอย่างมาก ทั้งทางด้านความมั่นคงและด้านการเมือง นับตั้งแต่การประกาศเอกราชตั้งแต่ปี ค..1898 แต่ในเวลานั้นสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมไม่ยอมรับการประกาศดังกล่าว ส่งผลให้เกิดสงครามระหว่างฟิลิปปินส์และสหรัฐฯ ขึ้น ชาวฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันก่อตั้ง "กองทัพปฏิวัติฟิลิปปินส์" (The Philippine Revolutionary Army) ที่เมือง "คาวิตี" (Cavite) ก่อนหน้าการประกาศเอกราชเพียงหนึ่งปี โดยมีพลเอก อาร์เตมีโอ อากินัลโด (Artemio Aguinaldo) เป็นผู้บัญชาการ และถือเป็นจุดกำเนิดของกองทัพฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน

กองทัพปฏิวัติฟิลิปปินส์ได้เข้าทำการรบกับทหารสหรัฐฯ อย่างกล้าหาญทั้งๆ ที่ขาดแคลนอาวุธและกระสุน จนกระทั่งต้องประสบกับความพ่ายแพ้ในสงครามครั้งนี้ ในปี ค..1901 อย่างไรก็ตามชาวฟิลิปปินส์ ก็ยกย่องพลเอก อาร์เตมีโอ อากินัลโด ให้เป็นผู้ก่อกำเนิดหรือเป็น "บิดาของกองทัพฟิลิปปินส์

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฟิลิปปินส์ถูกกองทัพพระมหาจักรพรรดิ์ของญี่ปุ่น เคลื่อนทัพเข้าบุกโจมตี ทหารฟิลิปปินส์ต่างเข้าร่วมรบเคียงข้างกับทหารสหรัฐฯ ที่มีฐานที่มั่นอยู่ในฟิลิปปินส์ในนามของ "กองกำลังทางบกสหรัฐฯ ภาคตะวันออกไกล" (U.S. Army Forces Far East : USAFFE) ของพลเอกดักลาส แมคอาเธอร์ (Douglas MacArthur) โดยตั้งมั่นยืนหยัดต่อสู้กับทหารญี่ปุ่น จนกระทั่งถูกทหารญี่ปุ่นที่มีกำลังเหนือกว่าอย่างมากมายเข้าโจมตีและต้องยอมแพ้ในที่สุด

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ฟิลิปปินส์ก็ได้รับเอกราชอีกครั้งในปี ค..1946 (ได้รับเอกราชเป็นครั้งที่สอง แต่ชาวฟิลิปปินส์นับการประกาศเอกราชครั้งแรกเป็นหลักและในปี ค..1947 ก็ถือเป็นปีแห่งก่อกำเนิดกองทัพฟิลิปปินส์ยุคใหม่ มาจนถึงปัจจุบัน

(โปรดติดตามตอนที่ 4)




 

Create Date : 03 กันยายน 2557    
Last Update : 3 กันยายน 2557 9:21:39 น.
Counter : 2033 Pageviews.  

กองทัพฟิลิปปินส์ ตอนที่ 2




กองทัพฟิลิปปินส์ (ตอนที่ 2)


โดย


พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand


ลงพิมพ์ในนิตยสารท้อปกัน ปี พ.ศ.2557


สงวนลิขสิทธิ์ในการลอกเลียนเพื่อการค้า เนื่องจากกำลังรวมเล่ม อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อความรู้และการศึกษาเท่านั้น







ผลจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันยาวนานในห้วงเวลาที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนา
กองทัพเป็นอย่างมาก ในปี ค..2007 มูลนิธิ เจมส์ ทาวน์ (JamestownFoundation) ที่ตั้งอยู่ในกรุงวอชิิงตัน ดี.ซีของสหรัฐฯ ได้ประเมินกองทัพฟิลิปปินส์ว่า เป็นกองทัพที่อ่อนแอที่สุดประเทศหนึ่ง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (one of the weakest military forces) 
แม้ในช่วงปี ค..1950– 1970 ซึ่งเป็นยุคที่ฟิลิปปินส์ยังคงเฟื่องฟูนั้น กองทัพฟิลิปปินส์ถูกจัดให้มีความยิ่งใหญ่ เป็นอันดับสอง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในปัจจุบันรายงานของมูลนิธิดังกล่าวระบุว่า เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจและภัยคุกคามที่เกิดขึ้น มาจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในเกาะมินดาเนา หรือความเคลื่อนไหวของกลุ่มลัทธิคอมมิวนิสต์ ตลอดจนกลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ ที่เคลื่อนไหวอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทำให้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดอยู่แล้ว ต้องถูกจัดสรรให้กับ กองทัพบกฟิลิปปินส์ (PhilippineArmy : PA) เพื่อทำการปราบปรามความไม่สงบภายในประเทศเป็นหลัก และเพื่อทำการต่อสู้กับกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลอื่นๆ ส่งผลให้เหล่าทัพอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น กองทัพเรือ (PhilippineNavy : PN) และ กองทัพอากาศ (PhilippineAir Force : PAF) ได้รับงบประมาณเป็นจำนวนน้อยมาก โดยเฉพาะกองกำลังป้องกันชายฝั่ง (PhilippineCoast Guard : PCG) และกองทัพเรือ ที่ขาดแคลนยุทโธปกรณ์อย่างหนัก จนส่งผลให้อำนาจอธิปไตยเหนือน่านน้ำที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลตกอยู่ในสภาพไร้แสนยานุภาพในการปกป้องคุ้มครอง

ปัจจุบัน กองทัพเรือฟิลิปปินส์มีเรือฟริเกตอยู่เพียง ลำ คือเรือ "ราชาฮัมอาบอน" (Rajah  Humabon) ซึ่งติดตั้งปืนใหญ่ประจำเรือขนาด 76 มิลลิเมตร จำนวน กระบอก และเรือตรวจการณ์ชายฝั่งชั้นต่างๆ ที่ค่อนข้างล้าสมัย จำนวน 63 ลำ เรือระบายพลเพียง ลำ เป็นเรือชั้น "เบสสัน" (Besson class) ของสหรัฐฯ ซึ่งมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์บนดาดฟ้า มีขีดความสามารถในการบรรทุกรถถังได้ 32 คันและทหารจำนวน 150 นาย แต่ที่สำคัญคือ ณ เวลานี้ กองทัพเรือฟิลิปปินส์ไม่มีเรือรบติดอาวุธปล่อยนำวิถีเลยแม้แต่ลำเดียว

ส่วนกองทัพอากาศนั้น เป็นที่น่าแปลกใจอย่างมาก ที่ในห้วงเวลาที่ผ่านมา กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ ไม่มีฝูงบินขับไล่ความเร็วสูงอยู่เลย แม้จะเคยมีเครื่องบินขับไล่ แบบ เอฟ-5เอ (F-5 A) และ เอฟ-8 (F-8) ของสหรัฐฯ เป็นจำนวนกว่า 50 ลำ เมื่อครั้งที่กองทัพฟิลิปปินส์ยังรุ่งเรือง

แต่ปัจจุบันเครื่องบินเหล่านี้ต่างก็ถูกปลดประจำการไปจนหมดสิ้นแล้ว จึงจำเป็นต้องนำเครื่องบินไอพ่นฝึก แอร์มัคคี (Aermacchi) แบบ เอส-211 (S-211) ที่สั่งซื้อจากประเทศอิตาลี มาใช้เป็นเครื่องบินขับไล่ แม้จะทำความเร็วสูงสุดได้เพียง 667 กิโลเมตรต่อชั่วโมงก็ตาม พร้อมทั้งมีความพยายามในการออกแบบใหม่ ให้เป็นแบบ เอเอส-211 (AS-211) หรือที่มีชื่อเรียกว่า "วอริเออร์ส" (Warriors) ภายใต้ชื่อ "โครงการฟอลคอน" (Project Falcon) โดยการปรับระบบการมองเห็น ด้วยการนำอุปกรณ์แบบ Norsight Optical Sight ของเครื่องบินแบบ เอฟ-5 ที่ปลดประจำการไปแล้ว ตั้งแต่ปี ค..2005 มาติดตั้งแทนอุปกรณ์เดิม รวมทั้งปรับระบบการติดต่อสื่อสาร กับภาคพื้นดิน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธว่า ประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจ เพื่อการครอบครองน่านฟ้าของเครื่องบินขับไล่ แบบ เอเอส-211 "วอริเออร์สนั้น ไม่อาจเทียบได้เลยกับเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-16 (F-16), มิก-29 (MiG-29) หรือ ซู-30 (Su-30) ที่กองทัพอากาศประเทศเพื่อนบ้านมีอยู่ในประจำการ อีกทั้งไม่สามารถเทียบได้กับเครื่องบินขับไล่ แบบซุคคอย ซู-35 (Sukhoi Su-35) ที่กองทัพจีนมีประจำการอยู่ในปัจจุบัน

นอกจากนี้กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ ยังมีเครื่องบินแบบ เอเอส-211 ดังกล่าวนี้เพียง 25 ลำหรือ ฝูง เท่านั้น คือ ฝูงบินฝึกที่ 105 (105th Training Squadron) และ ฝูงบินขับไล่ทางยุทธวิธีที่ 17 (17th Tactical Fighter Squadron) 

อย่างไรก็ตามเครื่องบินจำนวน 15 ลำจาก 25 ลำนั้น ได้ถูกนำมาประกอบเองภายในประเทศ โดยโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาการบินของฟิลิปปินส์ (Philippines Aerospace  Development Corporation) แต่ปรากฏว่า การประกอบเครื่องบิน กลับไม่ผ่านมาตรฐานการบิน ทำให้ต้องมีการตรวจสอบด้านนิรภัยการบินใหม่ ทั้ง 15ลำ และมีเพียง ลำเท่านั้น ที่สามารถเข้าประจำการได้ ในจำนวน ลำนี้ ก็มีอีก ลำที่ผ่านการตรวจสอบด้านนิรภัยการบิน แต่ไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด ทำให้ต้องส่งกลับไปทำการปรับปรุงใหม่อีกครั้ง โดยล่าสุด เครื่องบิน แบบ เอเอส-211 หมายเลข 008 ได้ปรับปรุงเสร็จแล้ว และจะนำกลับเข้าประจำการในปี ค..2014 นี้

นอกจากเครื่องบินแบบ เอเอส-211 แล้วฟิลิปปินส์ ยังมีเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดินชนิดใบพัดแบบ โอวี-10 บรองโก (OV-10 Bronco) จำนวน 25 ลำ ที่ได้รับมาจากสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี  ค..1991 ก่อนที่จะได้รับเพิ่มอีก ลำจากสหรัฐฯ และอีก ลำจากกองทัพอากาศไทย ตามโครงการช่วยเหลือทางทหารในปี ค..2003 – 2004 ซึ่งไทยส่งเครื่องบินชนิดนี้ ลำแรกไปยังฟิลิปปินส์ ในเดือนสิงหาคม ค..2003 และชุดสุดท้าย ถูกส่งมอบในปี ค..2011 

โดยเครื่องบินรุ่นดังกล่าว ถูกนำเข้าประจำการใน ฝูงบินโจมตีที่ 16 (16th Attack Squadron) และฝูงบินโจมตีผสม ที่ 25 (25th Composite Attack Squadron) มีที่ตั้งอยู่ที่ฐานบิน ดานิโล อาเตียนซา (Danilo Atienza Air Base) ในเมือง "คาวิตี" (Cavite) ทางตอนใต้ของกรุงมะนิลา เมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์

โดยเครื่องบินชนิดนี้ ทำหน้าที่ในการสนับสนุนการปฏิบัติการภาคพื้นดิน ในสงครามระหว่างกองทัพฟิลิปปินส์กับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนต่างๆ แต่เครื่องบิน โอวี-10 บรองโกเหล่านี้ ก็ประสบอุบัติเหตุบ่อยครั้งมาก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากอายุการใช้งานที่ยาวนาน สำหรับโศกนาฏกรรมครั้งล่าสุดนั้น หนังสือพิมพ์ "ฟิลิปปินส์ สตาร์" (Philippines Star) รายงานเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค..2010 ว่าเครื่องบินโอวี 10 บรองโกได้ประสบอุบัติเหตุตก ระหว่างการฝึกซ้อมที่เมือง คาร์ปาส (Carpas) จังหวัดตาร์ลัค (Tarlac) เป็นเหตุให้นักบินประจำเครื่องทั้งสองนาย คือเรืออากาศเอก โฮเซ่ เอนริเกวซ ลีโอนาโด คอร์ปัซ (Jose Enriquez Leonado  Corpuz) และเรืออากาศโท อพอลโล คาเรนดัง (Apollo Carendang) เสียชีวิต ก่อนหน้านั้นเพียงเดือนเดียว เครื่องบินโอวี 10 บรองโกอีกลำหนึ่ง ก็ประสบอุบัติเหตุขณะร่อนลงจอด ที่เมืองดาเวา (Davao) แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ปัจจุบันคาดว่าเครื่องบินรุ่นนี้ซึ่งเหลือปฏิบัติภารกิจได้เพียง ลำนั้น ไม่สามารถขึ้นบินปฏิบัติการได้อีกแล้ว

ในส่วนของเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีนั้น ก็ประสบปัญหาความขาดแคลนเช่นเดียวกัน คือกองทัพอากาศฟิลิปปินส์ มีเครื่องบินลำเลียง แบบ ซี-130 ประจำการอยู่เพียง ลำเท่านั้น ไม่เพียงพอต่อภารกิจในการสนับสนุนกองทัพ อีกทั้งเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น เมื่อครั้งพายุซุปเปอร์ไต้ฝุ่น "ไห่เยียน" (Haiyan) พัดเข้าถล่มเมือง "ตัคโลบาน" (Tacloban) และพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน ค..2013 สร้างความเสียหายอย่างมาก กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ก็ประสบกับปัญหา ในการลำเลียงความช่วยเหลือทางอากาศ เข้าไปยังพื้นที่ประสบภัย เนื่องจากมีเครื่องบินลำเลียงดังกล่าวน้อยเกินไป สำหรับการขนส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในภัยพิบัติที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้ ทำให้ภารกิจการให้ความช่วยเหลือต่างๆ ต้องล่าช้าอย่างมาก ส่งผลให้เกิดให้เกิดความสูญเสียตามมาอย่างคาดไม่ถึง

ในส่วนของกองทัพบก ซึ่งถือว่าเป็นกองทัพที่ใหญ่ที่สุดในสามเหล่าทัพนั้น ก็ประสบกับภาวะวิกฤติด้านยุทโธปกรณ์เช่นเดียวกัน โดยปัจจุบันมีรถถังหลักเป็นเพียงรถถังเบาแบบ "สกอร์เปี้ยน" (Scorpion) จำนวน 41 คัน นอกจากนี้ยุทโธปกรณ์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยรถหุ้มเกราะลำเลียงพลเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยมีรถหุ้มเกราะประกอบด้วย รถหุ้มเกราะลำเลียงพลแบบ จีเคเอ็น ซิมบา (GKN Simba) จากประเทศอังกฤษ จำนวน 150 คันรถสายพานลำเลียงพล แบบ เอ็ม 113เอ1 (M113 A1) จำนวน 120 คัน ซึ่งมีการปรับปรุงโดยประเทศสเปน ให้มีความทันสมัยมากขึ้นรถหุ้มเกราะล้อยางแบบ วี 150 คอมมานโด (V150 Commando) จำนวน 155 คัน เป็นรถหุ้มเกราะแบบเดียวกับที่ไทยมีอยู่ในประจำการ และรถหุ้มเกราะเบาจากประเทศโปรตุเกส แบบ บราเวีย ชายไมท์ (Bravia Chaimite) จำนวน 20 คันเป็นต้น

จะเห็นได้ว่ากองทัพบกฟิลิปปินส์นั้น จัดยุทโธปกรณ์ตามภารกิจหลัก นั่นคือภารกิจในการปราบปรามกลุ่มผู้ก่อการร้าย และกลุ่มแบ่งแยกดินแดน จึงแทบไม่มีขีดความสามารถในการรบขนาดใหญ่ หรือในสงครามเต็มรูปแบบ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อันเนื่องมาจากความขัดแย้งเกี่ยวกับพื้นที่พิพาทบริเวณทะเลจีนใต้ในอนาคต

จากตัวอย่างข้างต้น เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ากองทัพฟิลิปปินส์ กำลังประสบกับความขาดแคลนอย่างมาก ภาวะวิกฤติเหล่านี้ ทำให้ใน ปี ค..2008 พลเอกอเล็กซานเดอร์ ยาโน (Alexander Yano) เสนาธิการทหารของกองทัพฟิลิปปินส์ในขณะนั้น ถึงกับกล่าวว่า กองทัพฟิลิปปินส์แทบไม่มีขีดความสามารถ ในปกป้องบูรณภาพเหนือดินแดนได้เลย อันเนื่องมาจากการขาดแคลนอาวุธยุทโธปกรณ์ กำลังรบของกองทัพเรือ และกองทัพอากาศต้องมีการพัฒนาอย่างมาก เพื่อให้มีประสิทธิภาพเพียงพอ ในการต่อสู้กับภัยคุกคามจากภายนอกประเทศ ที่กำลังมุ่งหวังเข้าครอบครองหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นดินแดนของประเทศฟิลิปปินส์

ในขณะเดียวกัน นิตยสาร ฟิลิปปินส์ สตาร์ (Philippine Star) ได้รายงานว่าในปี ค..2010 กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ มีเครื่องบินรบที่สามารถปฏิบัติการบินได้จริงเพียง 31 ลำ และเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์อีกเพียง 54 ลำเท่านั้น นิตยสารดังกล่าวยังระบุว่า ".. ศักยภาพในการปกป้องน่านฟ้าหรือผลประโยชน์ของชาติ ของกองทัพอากาศฟิลิปปินส์นั้น กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง (non-existent) อีกต่อไปแล้ว ..”

อดีตประธานาธิบดี เบนิกโน อาคิโน ตระหนักในความจริงข้อนี้ดี จึงได้ประกาศแผนการพัฒนากองทัพ ไปสู่ความทันสมัย ซึ่งหลายฝ่ายก็มองว่าการพูดนั้น ทำได้ง่ายกว่าการกระทำ เพราะแม้ว่าเขาจะตั้งเป้าหมายในการพัฒนากองทัพให้ถึง "ขีดต่ำสุดที่จะสามารถป้องกันประเทศ" (minimum credible defense) แต่ก็ยังติดขัดปัญหาด้านกฏหมาย และงบประมาณ

โดยเฉพาะปัญหาประการแรก คือ รัฐธรรมนูญของประเทศ ฉบับปี ค..1987 ระบุชัดเจนว่า ห้ามรัฐบาลใช้งบประมาณของกระทรวงกลาโหม นอกเหนือไปจากการใช้เพื่อเงินเดือนเงินประจำตำแหน่งเงินเพิ่มพิเศษต่างๆ และเงินเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการคอร์รัปชั่นจากการเสริมสร้างกองทัพ ในสมัยอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส หวนเกิดขึ้นซ้ำอีกนั่นเอง

ดังจะเห็นได้จากงบประมาณทั้งหมด ในปี ค..2014 จำนวนกว่า 5,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จะถูกส่งไปยังกรมยุทธศึกษาของเหล่าทัพ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการฝึกศึกษาของกำลังพล เป็นจำนวนถึง 742 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และใช้เป็นเงินเดือนต่างๆ อีกกว่าครึ่ง คงเหลืองบประมาณสำหรับการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์เพียง 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพียง ใน ของงบประมาณทั้งหมดเท่านั้น

นอกจากนี้ แนวความคิดการพัฒนากองทัพให้อยู่ในระดับ "ต่ำสุดที่จะสามารถป้องกันประเทศของกองทัพฟิลิปปินส์นั้น ยังได้ถูกตีความไปอย่างหลากหลาย เช่น บางคนตีความว่า เป็นการพัฒนาระดับต่ำสุดของอาวุธยุทโธปกรณ์ และโครงสร้างพื้นฐานสมัยใหม่ บางคนตีความว่า ระดับต่ำสุดนั้น หมายถึงการพัฒนาขีดความสามารถของกำลังพล ด้วยการทุ่มเทไปที่การฝึกศึกษา ในขณะที่บางคนก็ตีความคำว่า ระดับต่ำสุด นั้น เทียบมาจากระดับของภัยคุกคามที่มีอยู่ในปัจจุบัน นั่นคือ เทียบเคียงกับมหาอำนาจจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งทำให้ระดับต่ำสุดของการต่อสู้เพื่อคานอำนาจกับกองทัพของจีน มีมูลค่ามหาศาลทีเดียว

ดังที่นายเนรี โคลเมนาเรส (Neri Colmenares) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคบายันมูนา (Bayan Muna) ของฟิลิปปินส์ กล่าวว่า ".. ถึงแม้ว่าเราจะทุ่มเทงบประมาณในการพัฒนากองทัพเป็นเวลาถึงหนึ่งร้อยปี แต่กองทัพฟิลิปปินส์ก็ไม่มีทางที่จะเทียบได้เลยกับจีน .. การเพิ่มงบประมาณจะไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ตราบที่กองทัพยังไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมๆ และการคอร์รัปชั่นไม่ถูกกำจัดให้หมดสิ้นไป ..”

เมื่อการตีความแนวคิดของการพัฒนาในระดับ "ต่ำสุดที่จะสามารถป้องกันประเทศมีความแตกต่างออกไป ก็ทำให้เส้นทางการมุ่งสู่ความเป็นกองทัพที่ทันสมัยนี้ มีความไม่ชัดเจนตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการจัดหายุทโธปกรณ์สมัยใหม่ หรือจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ที่เรียกว่า "ยุทโธปกรณ์มือสองซึ่งยังมีคุณภาพดี หรือจะทุ่มเทงบประมาณไปที่การฝึกการศึกษา ให้กับกำลังพลในกองทัพแทนการซื้อยุทโธปกรณ์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ความต้องการในการพัฒนากองทัพฟิลิปปินส์ไปสู่ความเป็นสมัยใหม่นั้น ดูจะมีอย่างไม่หยุดหย่อน และสวนทางกับงบประมาณที่มีอย่างจำกัด ตัวอย่างเช่น สำนักข่าวฟิลิปปินส์ รายงานเมื่อวันที่ ตุลาคม ค..2013 ว่ากองทัพเรือฟิลิปปินส์ เสนอความต้องการจัดหาเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้า จำนวน ลำ 

ซึ่งหากเป็นไปตามแผน เรือดำน้ำเหล่านี้จะเข้าประจำการในปี ค..2020 โดยกองทัพเรือได้เสนอความต้องการนี้ มาตั้งแต่ปี ค..2011 แล้ว แต่ติดขัดปัญหาด้านงบประมาณ นอกจากเรือดำน้ำทั้งสามลำแล้ว กองทัพเรือฟิลิปปินส์ยังต้องการเรือฟริเกตจำนวน ลำเรือคอร์เวตจำนวน 12 ลำเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง จำนวน 18ลำเรือกวาดทุ่นระเบิด จำนวน 3ลำเรือลำเลียงพลเรือยกพลขึ้นบกเรือเร็วตรวจการณ์โจมตีเครื่องบินลาดตระเวณทางทะเล และ เครื่องบินปีกหมุนหรือเฮลิคอปเตอร์เอนกประสงค์อีกจำนวนหนึ่งด้วย

แผนการจัดหานี้จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล จากแต่เดิมที่ฟิลิปปินส์ได้รับการสนับสนุนตามโครงการช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐฯเป็นหลัก 


(โปรดติดตามตอนที่ 3)






 

Create Date : 03 กันยายน 2557    
Last Update : 3 กันยายน 2557 8:59:12 น.
Counter : 2135 Pageviews.  

กองทัพฟิลิปปินส์ ตอนที่ 1

กองทัพฟิลิปปินส์ (ตอนที่ 1)


โดย


พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand


ลงพิมพ์ในนิตยสารท้อปกัน ปี พ.ศ.2557


สงวนลิขสิทธิ์ในการลอกเลียนเพื่อการค้า เนื่องจากกำลังรวมเล่ม อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อความรู้และการศึกษาเท่านั้น






ประเทศฟิลิปปินส์หรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐฟิลิปปินส์" (The Republic of the Philippines) นับเป็นประเทศที่มีความคล้ายคลึงกับประเทศไทยในหลายๆ ด้านมากที่สุดประเทศหนึ่งในสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน 

โดยเฉพาะรูปร่างหน้าตาของประชาชนชาวฟิลิปปินส์ จะมีความละม้ายคล้ายกับคนไทยจนแทบแยกไม่ออกว่า ใครคือคนฟิลิปปินส์ หรือ ใครคือคนไทย นอกจากนี้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของทั้งสองประเทศ ยังมีความใกล้เคียงกันอย่างมากคือ บาท เท่ากับ 0.7 เปโซโดยประมาณ รวมทั้งฟิลิปปินส์ยังเป็น ใน ประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนเช่นเดียวกับประเทศไทย

ในอดีตที่ผ่านมา ฟิลิปปินส์นับเป็นประเทศที่มีบทบาทโดดเด่นทางด้านความมั่นคงและประสบความสำเร็จมากที่สุด ในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย เช่น สายการบินของฟิลิปปินส์ หรือ "ฟิลิปปินส์แอร์ไลน์" (Philippines Airlines) นับเป็นสายการบินแรกของเอเชีย ก่อตั้งขึ้นในปี ค..1941 และกลายเป็นต้นแบบของการบินพาณิชย์ในภูมิภาคนี้ จนแม้กระทั่งสายการบินของญี่ปุ่น หรือ "แจแปนแอร์ไลน์" (Japan Airlines) ยังต้องส่งบุคลากรมารับการฝึกฝนจากฟิลิปปินส์

เช่นเดียวกับธนาคารพัฒนาแห่งเอเชียหรือ "เอดีบี" (ADB : Asia Development Bank) ก็มีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่กรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์ มาตั้งแต่ปีค..1966 ส่วนทางด้านวิชาการนั้น ฟิลิปปินส์ได้รับการยอมรับว่า มีความรุ่งเรืองและมีมาตรฐานสูง จนกลายเป็นประเทศที่นักเรียน นักศึกษา จากประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง นิยมเดินทางไปศึกษาต่อกันเป็นจำนวนมาก

ความโดดเด่นความรุ่งเรืองและความสำเร็จของฟิลิปปินส์ เริ่มถูกบดบังจากประเทศอื่นๆ ในละแวกใกล้เคียง เนืื่องมาจากการปกครองในระบอบเผด็จการอันยาวนานกว่าสามทศวรรษของอดีตประธานาธิบดี เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส (Ferdinand Marcos) ที่เข้าดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ปี ค..1965 ส่งผลให้การคอร์รัปชั่นฝังรากลึก ลงในสังคมของประเทศ และกลายเป็นสิ่งที่บ่อนทำลายการพัฒนาประเทศ ในแทบทุกด้าน อีกทั้งยังทำให้หนี้ต่างประเทศของฟิลิปปินส์พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 

นอกจากนี้ฟิลิปปินส์ยังถูกซ้ำเติม ด้วยวิกฤติทางเศรษฐกิจอีก ในช่วงทศวรรษที่ 1980 จนนักลงทุนจากต่างชาติ เคลื่อนย้ายฐานลงทุนไปยังประเทศข้างเคียง แต่รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดี มาร์กอส ก็ไม่ได้เข้ามาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างจริงจังมากนัก

ในปี ค..1986 ประชาชนต่างลุกฮือ เพื่อโค่นล้มจอมเผด็จการมาร์กอสลงใน "การปฏิวัติพลังประชาชน" (the People Power Revolution) แต่ภาวะวิกฤติของฟิลิปปินส์ ก็ยังไม่หมดสิ้น เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมือง ยังเต็มไปด้วยความสับสน มีการปฏิวัติและการกบฎ เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า

จนทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แทบจะหยุดนิ่งอยู่กับที่ และในช่วงนี้นี่เองที่ประเทศไทยและอินโดนีเซีย ได้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ทำให้เริ่มทิ้งห่างฟิลิปปินส์อย่างเห็นได้ชัด เศรษฐกิจที่ตกต่ำทำให้ชาวฟิลิปปินส์กว่าร้อยละ 30 ต้องอาศัยอยู่ในสภาพที่ยากจน รวมทั้งส่งผลให้กองทัพฟิลิปปินส์ ไม่สามารถพัฒนาศักยภาพให้มีความแข็งแกร่งทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ได้

จนกระทั่งนิตยสาร "นิคเคอิอาเซียน รีวิว" (the Nikkei Asian Review) ถึงกับขนานนามฟิลิปปินส์ว่า "คนป่วยแห่งเอเชีย" (Sick man of Asia) ทำให้รัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีเบนิกโน อาคิโนที่ 3 (Benigno Aquino III) หรือที่ชาวฟิลิปปินส์รู้จักกันในนาม "นอยนอยซึ่งเข้าบริหารประเทศเป็นประธานาธิบดีคนที่ 15 มาตั้งแต่ปี ค..2010 ต้องประกาศนโยบายต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างเอาจริงเอาจัง

ดังคำกล่าวของเขาที่ว่า ".. เมื่อปราศจากคอร์รัปชั่น .. ก็จะปราศจากความยากจน .." (Without corruption, there will be no poverty) ตลอดจนยังมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการรักษาวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัด

นอกจากนี้ยังประกาศกฏหมายคุมกำเนิด เน้นการวางแผนครอบครัวที่มีประสิทธิภาพ แม้จะได้รับการต่อต้านจากกลุ่มผู้นำศาสนาโรมันคาทอลิค และพวกหัวเก่า แต่อดีตประธานาธิบดีเบนิกโน อาคิโน ก็เดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมกับโน้มน้าวประชาชนชาวฟิลิปปินส์ ให้เห็นถึงความสำคัญของการคุมกำเนิดว่า จะนำมาซึ่งการลดความยากจน และนำไปสู่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

ปัจจุบันฟิลิปปินส์ มีประชากรประมาณ 97 ล้านคน (96.7 ล้านคน ในปี ค..2012 จากตัวเลขของธนาคารโลกและคาดว่าจะถึง 100 ล้านคน ในปีค..2014 นี้ ส่งผลให้กลายเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุด เป็นอันดับสองรองจากประเทศอินโดนีเซีย

อย่างไรก็ตามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภายหลังที่ประธานาธิบดีเบนิกโน อาคิโนพัฒนาประเทศ และทำการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน ได้ทำให้ "ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพี (GDP: Gross Domestic Product) พุ่งสูงขึ้น จนถึงระดับร้อยละ 7.2 ในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายนของปี ค..2012 ซึ่งนับเป็นอัตราที่สูงที่สุด ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 

สวนทางกับประเทศข้างเคียง ที่ประสบกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เช่น ไทยและเวียดนาม  เป็นต้น หน่วยงานต่างๆ ทั้งในสหรัฐฯและยุโรป ต่างชื่นชมความพยายามของรัฐบาลฟิลิปปินส์ ในการต่อสู้กับปัญหาคอรัปชั่นในประเทศ ตลอดจนมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ

ความชื่นชมดังกล่าวส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ เริ่มหวนกลับมาสู่ดินแดนแห่งนี้ โดยในช่วงสองเดือนแรกของปี ค..2013 มีนักลงทุนจากต่างประเทศเข้าไปลงทุนในฟิลิปปินส์ เป็นจำนวนสูงถึง 33,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่น "ไห่เยียน" (Haiyan) เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค..2013 ก็ได้สร้างความเสียหายอย่างมากต่อฟิลิปปินส์ และคาดว่าจะส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมากเช่นเดียวกัน

สิ่งหนึ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนความสำเร็จทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์คือ "กิจการธุรกิจรับจ้างบริหารระบบธุรกิจ "หรือ"บีพีโอ" (Business Process Outsourcing หรือ BPO) ซึ่งเติบโตอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจการให้บริการ "คอลล์เซนเตอร์" (Call Centre) และ "ดิจิตอลคอนเทนท์" (Digital Content) ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่เติบโตขึ้นในอัตราร้อยละ 40 ระหว่างปี ค..2006– 2007 โดยในปี ค..2007 นั้น ธุรกิจบีพีโอสามารถสร้างรายได้กว่า 4,970 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสร้างงานให้กับคนฟิลิปปินส์ได้กว่า 300,000 อัตรา 

จนในปี ค..2008 – 2009 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของฟิลิปปินส์ ได้อนุมัติคำขอรับการสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือในการลงทุนของบริษัท บีพีโอ จากต่างประเทศ ทำให้กิจการธุรกิจรับจ้างบริหารระบบธุรกิจ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน และกรุงมะนิลา เมืองหลวงของประเทศ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นจุดหมายปลายทางของธุรกิจ บีพีโอ ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยโค่นเมือง บังกาลอร์ ของอินเดียที่เคยครองตำแหน่งมายาวนานลงอย่างราบคาบ ส่งผลให้บริษัท ไอบีเอ็ม (IBM) ของสหรัฐฯ จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อใช้ในธุรกิจบีพีโอในกรุงมะนิลา และในเกาะมินดาเนา เพื่อรองรับความเจริญเติบโตดังกล่าว

นอกจากนี้รัฐบาล ยังได้ตั้งเป้าหมายให้ฟิลิปปินส์ ครองส่วนแบ่งตลาดของโลกธุรกิจบีพีโอให้ได้ ร้อยละ 10 ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจดังกล่าวของฟิลิปปินส์ มีมูลค่ากว่า 13,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี ค..2012 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี  ค..2016 ตลอดจนสามารถสร้างงานจำนวนกว่า 770,000 อัตรา และคาดว่าจะสูงถึง 1.3 ล้านคน ในอนาคตอันใกล้นี้ สำหรับอัตราค่าจ้างขั้นต้นในธุรกิจบีพีโอนั้น อยู่ที่ 15,000 เปโซซึ่งสูงกว่าค่าแรงในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจอื่นๆ รายได้ที่งดงามเหล่านี้ ส่งผลให้มีการกระตุ้นอัตราบริโภคของผู้คนภายในประเทศอย่างเห็นได้ชัด

คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ฟิลิปปินส์ประสบความสำเร็จในธุรกิจ บีพีโอ คือความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ในการสื่อสารของชาวฟิลิปปินส์ ที่มีศักยภาพสูงมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน

นอกจากนี้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ยังทำให้ชาวฟิลิปปินส์ออกเดินทางสู่ภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก เช่น สหรัฐฯยุโรปญี่ปุ่นเกาหลีใต้ และตะวันออกกลาง เพื่อทำงานในตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ตั้งแต่งานเล็กๆ เช่น แม่บ้าน เรื่อยไปจนถึงการเป็นพนักงานบริษัทต่างๆ ครูสอนภาษาบุคลากรทางการแพทย์ ไปจนถึงผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งสามารถทำรายได้จำนวนมหาศาล

โดยในปี ค..2010 เงินโอนสุทธิจากแรงงานโพ้นทะเลของฟิลิปปินส์ หรือ "โอเอฟดับเบิลยู" (Overseas Filipino Workers : OFWs) กลายเป็นแหล่งรายได้อันดับสองของประเทศ โดยมีสูงถึง 18,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปีละกว่าร้อยละ 10 จนสูงถึง 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี ค..2011 และ 21,390 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี ค..2012

สำหรับประเทศที่ชาวฟิลิปปินส์นิยมไปทำงานมากที่สุด คือสหรัฐฯ ส่วนประเทศไทยนั้น ชาวฟิลิปปินส์ก็นิยมมาประกอบอาชีพเช่นกัน แม้จะยังมีไม่มากนัก แต่ก็สามารถส่งเงินกลับประเทศของตนได้เป็นจำนวนกว่า ล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าเมื่อมีการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว ชาวฟิลิปปินส์จะหลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น โดยอาศัยความได้เปรียบทางด้านภาษา โดยเฉพาะบุคลากรสายการแพทย์ ซึ่งเงินโอนสุทธิจากแรงงานฟิลิปปินส์นี้ ได้ส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศเป็นอย่างมาก จนทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของฟิลิปปินส์ขยับขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และเริ่มกลายเป็น "คนป่วยที่กลับมายืนหยัดในสังคมโลกได้อีกครั้งหนึ่ง

นอกจากอดีตประธานาธิบดี เบนิกโน อาคิโน จะแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจอย่างได้ผลแล้ว เขายังมุ่งแก้ปัญหาการแบ่งแยกดินแดนทางตอนใต้ บริเวณเกาะมินดาเนา (Mindanao) ที่เป็นภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศมายืดเยื้อยาวนาน ด้วยการหาหนทางเจรจากับกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (MoroIslamic Liberation Front) ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เกาะมินดาเนาแห่งนี้ มาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 16 ก่อนที่สเปนจะเข้ายึดครองฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมเสียอีก

กลุ่มชาวมุสลิมเหล่านี้ต่อต้านการตั้งรกรากของชาวคริสเตียน โดยกล่าวหาว่าชาวคริสเตียนเหล่านี้ กำลังช่วงชิงและยึดครองดินแดนของชาวมุสลิม แม้ว่าในปัจจุบันร้อยละ 90 ของชาวฟิลิปปินส์จะนับถือศาสนาคริสต์ก็ตาม

ความขัดแย้งในเกาะมินดาเนาขยายตัวอย่างรุนแรง ในช่วงปี ค..1970 จนกลายเป็นสงครามแบ่งแยกดินแดน ที่ดำเนินมานานกว่าสี่ทศวรรษ มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100,000 คนการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่หยุดชะงัก ส่งผลให้ประชาชนกว่าครึ่งหนึ่งในเกาะมินดาเนา ที่มีประชากรประมาณ 20 ล้านคน ต้องอยู่ในสภาวะยากจน

แม้ดินแดนดังกล่าวจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วย แร่ธาตุทองคำตะกั่ว และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ มากมาย เมื่อมีการเจรจาสันติภาพเกิดขึ้น ในเดือนตุลาคม ค..2012 รัฐบาลและกลุ่มแนวหน้าปลดปล่อยอิสลามโมโร ตกลงที่จะกำหนดกรอบเจรจาสันติภาพ โดยให้มีการจัดตั้งเขตปกครองตนเองบนเกาะมินดาเนาในปี ค..2016 หลายฝ่ายต่างก็คาดหวังว่า เมื่อสงครามและความขัดแย้งที่นองเลือดยุติลง นักลงทุนจากโลกภายนอก จะสามารถเข้าไปลงทุนและพัฒนาพื้นที่ในเกาะมินดาเนาได้

อดีตประธานาธิบดีเบนิกโน อาคิโน่ มีความมุ่งมั่นอย่างมาก ที่จะยุติปัญหาดังกล่าว โดยเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ค..2012 เขาได้แถลงถึงความคืบหน้าในการเจรจา จัดทำข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโรว่า จะส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศ ให้มุ่งไปสู่ความมีเสถียรภาพ อีกทั้งช่วยส่งเสริมบทบาทแก่ภาคธุรกิจ ที่จะเข้าไปพัฒนาเกาะมินดาเนา ที่เคยเป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของกลุ่มดังกล่าว

ทั้งนี้รัฐบาลและกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร ได้พยายามร่วมลงนามข้อตกลงสันติภาพเป็นครั้งแรก ในอีกสามวันต่อมา คือวันที่ 15ตุลาคม แต่ก็ยังมีความคืบหน้าไม่มากเท่าที่ควรจนมีความพยายามที่จะลงนามเป็นครั้งที่สอง โดยประธานาธิบดีเบนิกโน อาคิโน ถึงขนาดสั่งการหัวหน้าผู้แทนฝ่ายรัฐบาลในการเจรจา ไม่ให้เดินทางกลับกรุงมะนิลา จนกว่าจะบรรลุข้อตกลงกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดน โดยเขาคาดหวังว่าข้อตกลงสันติภาพจะบรรลุผลก่อนสิ้นสุดวงรอบ การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งที่สองของเขา ในปี ค..2014

แม้ว่าจะยังคงมีการต่อต้านจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดนบางกลุ่ม เช่น กลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร (MoroNational Liberation Front : MNLF) ที่ไม่พอใจในการเจรจากับรัฐบาลของกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร และรู้สึกว่ากลุ่มของตนกำลังถูกกีดกันออกจากการเจรจา จึงบุกยึดเมือง "ซามบวงกา" (Zamboanga) เมื่อกลางเดือนกันยายน ค..2013 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดการสู้รบอย่างรุนแรง

แต่ในที่สุดกองทัพฟิลิปปินส์ก็สามารถปราบปรามกลุ่มดังกล่าวลงได้อย่างราบคาบ จนนานาชาติต่างจับตามองฟิลิปปินส์ว่า หากสามารถเอาชนะปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการแบ่งแยกดินแดนปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาความยากจนได้ ฟิลิปปินส์จะสามารถก้าวเข้าสู่อนาคตอันสดใสอย่างแน่นอน

ปัญหาด้านเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้การพัฒนากองทัพฟิลิปปินส์ (ArmedForces of the Philippines : AFP) หรือ เอเอฟพี ซึ่งประกอบไปด้วย กองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศ เป็นไปด้วยความยากลำบาก ในห้วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา 

ผลที่ปรากฏออกมาคือกองทัพฟิลิปปินส์เต็มไปด้วยยุทโธปกรณ์ที่ประจำการอยู่มาเป็นเวลานาน แม้จะมีความพยายามในการประกาศพัฒนากองทัพไปสู่ความทันสมัย ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค..1995 ด้วยการออกกฏหมายสาธารณรัฐ ฉบับที่ 7898 (Republic Act No.7898) เพื่อให้กองทัพสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างเต็มขีดความสามารถ ตามรัฐธรรมนูญ ในการปกป้องอำนาจอธิปไตยของประเทศ ตลอดจนรักษาไว้ซึ่งมรดกแห่งชาติ แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย ก็ได้ส่งผลให้แผนการพัฒนากองทัพดังกล่าวไม่บรรลุผลสำเร็จ

ดังนั้น เพื่อพัฒนากองทัพให้สามารถรับมือกับภัยคุกคาม ที่กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการแผ่ขยายอำนาจทางทะเลของจีน จนทำให้เกิดกรณีข้อพิพาท เหนือหมู่เกาะสแปรตลีในทะเลจีนใต้ ซึ่งอยู่ห่างจากดินแดนฟิลิปปินส์เพียงประมาณ 200 กิโลเมตร โดยฟิลิปปินส์เรียกว่าหมู่เกาะ "กาปูลูอันงัง กาลายาอัน" (Kapuluan Ng Kalayaan) อยู่ในเขตเมือง "กาลายาอันจังหวัด "ปาลาวัน" (Palawan) แต่อยู่ห่างจากดินแดนของจีนกว่า 1,200 กิโลเมตร รวมทั้งการประกาศอย่างชัดเจน ถึงการมีเป้าหมายที่จะเป็น "เจ้าทะเลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคของกองทัพจีน ทำให้ประธานาธิบดีเบนิกโน อาคิโน่ ได้อนุมัติกฏหมายสาธารณรัฐฉบับที่ 10349 (Republic Act No.10349) เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค..2012 เพื่อฟื้นฟูโครงการพัฒนากองทัพฟิลิปปินส์อีกครั้ง 

(โปรดติดตามตอนที่ 2)




 

Create Date : 03 กันยายน 2557    
Last Update : 3 กันยายน 2557 8:35:54 น.
Counter : 2116 Pageviews.  

"ฟูโกกุ เคียวเฮ" การสร้างแสนยานุภาพของญี่ปุ่น ตอนที่ 2

นโยบาย "ฟูโกกุ เคียวเฮ" กับการแสนยานุภาพของญี่ปุ่น ตอนที่ 2

โดย

พันเอกศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)

Victoria University of Wellington, New Zealand

สงวนลิขสิทธิ์ในการการผลิตซ้ำเพื่อการค้า อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น





ญี่ปุ่นยังมีระบบต่อต้านขีปนาวุธข้ามทวีป "บีเอ็มดี" (BMD : Ballistic Missile Defence) อันทรงอานุภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขีปนาวุธนำวิถีด้วยความร้อนแบบสแตนดาร์ด เอสเอ็ม-3 (Standard SM-3) ที่เป็นระบบต่อต้านขีปนาวุธข้ามทวีปและต่อต้านอากาศยานระดับกลาง 

ขีปนาวุธรุ่นนี้ ติดตั้งบนเรือรบต่างๆ ของกองทัพเรือ เช่น เรือรบ "คอนโกะ" (Congo) และเรือรบ "เมียวโกะ" (Myoko) เป็นต้น ขีปนาวุธเหล่านี้ส่งผลให้ญี่ปุ่นสามารถปกป้องน่านฟ้าของตนเอง จากการรุกรานของศัตรู ทั้งเครื่องบินรบ และขีปนาวุธนำวิถีติดหัวรบนิวเคลียร์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนนักวิเคราะห์ตะวันตกเชื่อกันว่า แสนยานุภาพดังกล่าวจะเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้จีนต้องยับยั้งชั่งใจ หรือ "คิดเป็นครั้งที่สอง" (On Second Thought) หากต้องการจะขยายความขัดแย้งไปสู่การเผชิญหน้าในระดับ "สงครามกับญี่ปุ่น

นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังเตรียมการต่อเรือบรรทุกเครื่องบินเพิ่มขึ้นอีก ลำ จากเดิมที่มีอยู่แล้ว ลำ คือ เรือบรรทุกเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ ชั้น "ฮิวกะ" (Hyuga) ประกอบด้วยเรือ "ฮิวกะและเรือ "อิเซะ" (Ise) ซึ่งเข้าประจำการเมื่อ ปี พ..2552 และ พ..2554 ตามลำดับ

เรือทั้งสองลำนี้ไม่สามารถใช้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขับไล่แบบปกติได้ เนื่องจากไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ในการดีดเครื่องบินขึ้นจากดาดฟ้า สาเหตุที่ญี่ปุ่นสามารถครอบครองได้แต่เพียงเรือบรรทุกเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์นั้น เนื่องจากถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขแห่งรัฐธรรมนูญ ที่ไม่อนุญาตให้มีการครอบครองเรือบรรทุกเครื่องบิน ซึ่งถือเป็นยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการรบเชิงรุกได้ ภายหลังจากที่เคยใช้เรือบรรทุกเครื่องบินเป็นปัจจัยหลัก ในการโจมตีสหรัฐอเมริกาและฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิคมาแล้ว ในสงครามโลกครั้งที่สอง

สิ่งที่น่าจับตามอง คือเมื่อเดือนสิงหาคม พ..2556 ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้นำเรือบรรทุกเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ (Helicopter Carrier) ชื่อ "อิซูโมะ" (Izumo) เข้าประจำการอีกหนึ่งลำ แม้โลกตะวันตกจะถือว่า เรือลำนี้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ แต่ตามหลักการจัดของกองทัพเรือญี่ปุ่นแล้ว ถือว่าเป็นเรือพิฆาตพร้อมเฮลิคอปเตอร์ (Helicopter Destroyer) สามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ได้ 14 ลำ มีระวางขับน้ำถึง 19,800 ตัน ทำให้เรือ "อิซูโมะกลายเป็นเรือรบที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น นับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา

อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ทางทหารของจีนมองว่า เรือบรรทุกเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ทุกลำของญี่ปุ่น สามารถใช้สำหรับบรรทุกเครื่องบินขับไล่ ขึ้นลงทางดิ่ง (STOVL: Standard Take-Off and Vertical Landing) แบบ เอฟ-35 ได้ และเป็นภัยคุกคามในการแผ่ขยายแสนยานุภาพของกองทัพเรือจีนในมหาสมุทรแปซิฟิคอย่างไม่ต้องสงสัย

แม้ว่าการประกาศหวนคืนสู่ความแข็งแกร่งทางด้านการทหารของญี่ปุ่น ตามนโยบาย "ฟูโกกุ เคียวเฮจะถูกท้วงติงจากเกาหลีใต้และจีน ตลอดจนประชาชนบางส่วนของญี่ปุ่น แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่จีนได้กลายเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค โดยเฉพาะปัญหาข้อพิพาทเหนือดินแดนหมู่เกาะสแปรตลี (Spartly Islands) ในทะเลจีนใต้ ที่จีนกลายเป็นคู่กรณีกับประเทศในอาเซียนถึง ประเทศ คือ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และบรูไน รวมทั้งประเทศนอกกลุ่มอาเซียนอีก ประเทศ คือ ไต้หวัน ก็ได้ทำให้เสียงท้วงติงเหล่านั้น ขาดน้ำหนักและแผ่วเบาลงอย่างมาก ในทางตรงกันข้ามกลับส่งผลให้เกิดกระแสตอบรับ ในทางบวก จากประเทศคู่ขัดแย้งกับจีนอีกด้วย เพราะต่างมองว่าญี่ปุ่นกำลังจะเข้ามาเพื่อสนับสนุนสหรัฐอเมริกา ในการถ่วงดุลย์อำนาจกับจีนนั่นเอง

ตัวอย่างการยอมรับการสร้างแสนยานุภาพของญี่ปุ่น ที่เห็นได้ชัด คือ ฟิลิปปินส์ โดยเมื่อครั้งที่นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่นเดินทางไปเยือนฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ..2556 ที่ผ่านมา

เขาได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นเกินความคาดหมาย ทั้งที่ในสงครามมหาเอเชียบูรพาหรือสงครามโลกครั้งที่สองที่ผ่านมา กองทัพญี่ปุ่นได้สร้างความทรงจำอันเจ็บปวดขึ้น ในจิตใจของชาวฟิลิปปินส์ เมื่อทหารญี่ปุ่นได้สังหารประชาชนฟิลิปปินส์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภายหลังความพ่ายแพ้ที่สมรภูมิ "บาตานหรือ "บาตาอัน" (Bataan) ที่ทหารของกองทัพแห่งลูกพระอาทิตย์ บังคับเชลยศึกสหรัฐฯ และฟิลิปปินส์จำนวนนับหมื่นนาย เดินเท้าเป็นเวลาหลายวัน ตลอดการเดินทางนี้ มีการปฏิบัติกับเชลยศึกเหล่านั้นอย่างโหดเหี้ยม จนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และมีการขนานนามการเดินทางครั้งนี้ว่า "การเดินแห่งความตาย" (Death march)

แต่การเดินทางมาเยือนของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในครั้งนี้ ประวัติศาสตร์และความทรงจำอันขมขื่นของฟิลิปปินส์ ได้เปลี่ยนไปอย่างมาก นิตยสาร "ไทม์" (Time) ฉบับวันที่ ตุลาคม พ..2556 ระบุว่า นับตั้งแต่จีนก้าวสู่ความเป็นมหาอำนาจและแสดงบทบาทเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงต่อฟิลิปปินส์ ทำให้ชาวฟิลิปปินส์กว่าร้อยละ 80 หันกลับมามองญี่ปุ่นในแง่บวก เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เช่น อินโดนีเซียและมาเลเซีย ที่พร้อมที่จะต้อนรับการหวนกลับมาของญี่ปุ่น นอกจากนี้นายชินโซ อาเบะ ยังได้ให้คำสัญญาว่า จะให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาหน่วยยามฝั่งของฟิลิปปินส์ ที่ขณะนี้อยู่ในสภาพต้องการการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน โดยมอบเรือตรวจการณ์ชายฝั่งจำนวน 10 ลำ แต่ละลำมีความยาวประมาณ 40 เมตร มูลค่าลำละกว่า 11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้กับฟิลิปปินส์อีกด้วย

คลาริต้า คาร์ลอส (Clarita Carlos) อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันประเทศของฟิลิปปินส์ ได้แสดงความคิดเห็นว่า "..ญี่ปุ่นมีสิทธิในทุกๆ ด้านที่จะพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทางด้านการทหาร อันเป็นผลเนื่องมาจากการยั่วยุ (provocation) ของจีน .. จีนมักจะแสดงบทบาทว่า พวกเราเคยถูกรุกรานกดขี่ และปกครองโดยญี่ปุ่น ถึงแม้ทุกคนยังจำสิ่งเหล่านั้นได้ดี แต่พวกเราก็เรียนรู้วิธีที่จะยกโทษ( forgive) ให้กับญี่ปุ่น ..” 

คำกล่าวนี้เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ถึงมุมมองของชาวฟิลิปปินส์ ที่แสดงออกมาว่า พวกเขาพร้อมที่จะเคียงข้างกับญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ในการรับมือการแผ่ขยายอิทธิพลของจีน แม้จะมีอดีตที่ขมขื่นเพียงใดก็ตาม

ปัจจุบันนโยบาย "ฟูโกกุ เคียวเฮของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ กำลังผลิดอกออกผลอย่างเห็นได้ชัด การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นกลายเป็นสิ่งที่ไม่ไกลเกินเอื้อม ในขณะเดียวกันการสร้างแสนยานุภาพทางทหารครั้งใหม่ ก็ได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่างๆ ที่หวั่นเกรงการขยายอิทธิพลของจีน

สิ่งที่โลกต้องจับตามองต่อไปก็คือ การฟื้นตัวของกองทัพลูกพระอาทิตย์ในครั้งนี้ จะเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค เช่นเดียวกับจีนหรือไม่ เพราะญี่ปุ่นก็ประกาศยืนยันอย่างชัดเจนว่า การคืนชีพในครั้งนี้ ก็เพียงเพื่อผดุงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาคเท่านั้น ดังคำกล่าวของนายอิตซูโนริ โอโนเดระ (Itsunori Onodera) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของญี่ปุ่นที่กล่าวว่า ".. จุดมุ่งหมายของญี่ปุ่นในครั้งนี้คือ การมีส่วนร่วมในเชิงสร้างสรรค์ในการนำภูมิภาคแห่งนี้ไปสู่ความสงบ .." นั่นเอง






 

Create Date : 01 กันยายน 2557    
Last Update : 1 กันยายน 2557 9:28:49 น.
Counter : 1885 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

unmoknight
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 49 คน [?]




ฉันจะบิน ... บินไป ... ไกลแสนไกลไม่หวั่น
เก็บร้อยความฝันที่มันเรียงราย ...
ให้กลายมาเป็นความจริง ...
New Comments
Friends' blogs
[Add unmoknight's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.