THAILAND ARCHITECTURAL NETWORK

pat1963
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add pat1963's blog to your web]
Links
 

 

คู่มือจัดการบ้านหลังน้ำลด

คู่มือจัดการบ้านหลังน้ำ
//issuu.com/kritphaknoi/docs/2011-11-25-_________________________-_____________?mode=window&backgroundColor#222222




 

Create Date : 28 พฤศจิกายน 2554    
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2554 8:15:43 น.
Counter : 475 Pageviews.  

กำจัดเชื้อราภายในบ้าน ทำได้ยังไงบ้างนะ

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

หลังจากเผชิญกับภาวะน้ำท่วมมานานเกือบ 2 เดือน ระยะนี้ ดูเหมือนว่าสถานการณ์น้ำในหลายพื้นที่จะเริ่มคลี่คลายลงแล้ว แบบนี้ใครหลาย ๆ คนก็คงจะดีใจกันยกใหญ่ เพราะในที่สุดก็ได้กลับไปอยู่ในบ้านของตัวเองสักที อ๊ะ ๆ แต่อย่าสบายใจไปค่ะ เพราะไม่ว่าน้ำจะลด ที่บ้านมีความเสียหายน้อยยังไง สิ่งที่คุณ ๆ ต้องจัดการกันแน่ ๆ หลังจากบ้านเผชิญกับภาวะน้ำท่วม ก็คือความอับชื้น กลิ่นเหม็นอับ และเชื้อราที่ผุดขึ้นในบ้านนั่นเอง

วันนี้ กระปุกดอทคอมก็เลยขอรวบรวมวิธีกำจัดเชื้อราในบ้านมาฝากกัน เพื่อให้ผู้ (เคย) ประสบอุทกภัยได้จัดการกับเชื้อราที่นำมาซึ่งอันตรายและเชื้อโรคอย่างหมดจด และถูกวิธีค่ะ

1. เมื่อเกิดเชื้อราขึ้นกับวัสดุที่เป็นพื้นแข็ง ให้ใช้น้ำสบู่ แอลกอฮอล์ หรือน้ำยาขัดห้องน้ำล้าง และขัดให้ด้วยแปรงชนิดแข็งจนเชื้อราออกจนหมดจด จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดหลาย ๆ รอบจนกว่าจะแน่ใจว่าสะอาด

2. วัสดุที่เป็นเนื้ออ่อน เช่น หนังสือ กระดาษมัน พลาสติก กล่อง ให้ใช้สำลีชุบฟอร์มาลีนเช็ด แล้วตามด้วยผ้าชุบน้ำสะอาด จากนั้นนำไปวางไว้ในที่ที่อากาศถ่ายเท และมีแสงแดดส่องถึงเล็กน้อย แล้วปล่อยให้แห้ง

3. พรม ฝ้า หรือที่นอน หาก มีเชื้อราขึ้น ให้โยนทิ้งจะปลอดภัยที่สุด เพราะวัสดุที่มีรูอย่างพรม ฝ้า และที่นอนนี้ เป็นวัสดุที่ล้างเชื้อราออกได้ยากมาก และแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสามารถล้างออกได้หมดจด 100% ซึ่งถ้าหากยังดันทุรังใช้ต่อไป ความชื้นในห้องก็อาจจะทำให้เชื้อราลุกลาม ฟักตัวได้กว้างขึ้น ทำให้เกิดโรคและเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของผู้อยู่อาศัยไม่รู้ตัว ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่คุ้มกันเลยล่ะ

4. อย่าทาสีหรือแลคเกอร์ทับในบริเวณที่เกิดเชื้อรา ให้ล้างออกให้สะอาดหมดจดก่อน จากนั้นค่อยเริ่มทาสีหรือแลคเกอร์

5. กรณีที่เชื้อราผุดให้เห็นในข้าวของเครื่องใช้ประเภทเครื่องหนัง ให้ใช้น้ำส้มสายชูเช็ดหลาย ๆ ครั้ง จนแน่ใจว่าสะอาด จากนั้นเช็ดครั้งสุดท้ายด้วยน้ำสะอาด น้ำส้มสายชูจะช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี

6. เฟอร์นิเจอร์ หรือของใช้ที่เป็นไม้เนื้ออ่อน โดยปกติวัสดุเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการขึ้นราเมื่อมีความชื้นอยู่แล้ว ซึ่งมันจะไม่เป็นอะไรมากนักหากนำมาล้างทำความสะอาดภายใน 24-48 ชั่วโมงที่พบเชื้อ หรือเริ่มสังเกตเป็นดอกเป็นดวงขึ้น แต่ในกรณีที่น้ำท่วมแล้วปล่อยบ้านไว้นานเป็นเดือน ๆ ขอแนะนำให้ทิ้งข้าวของเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้เนื้ออ่อนเหล่านั้นไปอย่างไม่ ต้องเสียดาย เพราะอาจจะฟักตัวเป็นเชื้อราที่อันตรายมากขึ้นได้

7. ย้ายเฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องใช้ที่มีราขึ้น (และตอนนี้ได้ทำความสะอาดแล้ว) ไปอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือที่แสงแดดส่องถึงสักระยะหนึ่ง คือประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้วหมั่นคอยตรวจสอบว่า หลังจากทำความสะอาดแล้วยังมีเชื้อราขึ้นอยู่อีกหรือไม่ หากไม่มีก็แสดงว่าสามารถแน่ใจแล้วว่าเราได้ทำความสะอาดเชื้อราออกไปได้อย่าง หมดจดแล้วจริง ๆ แต่หากยังพบร่องรอยของเชื้อรา ขอให้นำมาทำความสะอาดใหม่ เพราะมันจะลามได้ง่ายมากถ้าหากวันหนึ่งอากาศชื้นอีกครั้ง

8. วอลเปเปอร์ ใช้กรดซาลิไซลิด ผสมกับแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน 1:5 จากนั้นนำผ้ามาชุบไปเช็ดวอลเปเปอร์ซ้ำ ๆ ประมาณ 2 รอบ แต่ถ้าหากว่ามีเชื้อราอยู่มาก แนะนำให้รื้อทิ้งแล้วเปลี่ยนวอลเปเปอร์ใหม่จะดีกว่า

9. เสื้อผ้า ผ้าม่าน และผ้าห่ม หาก พบเชื้อรา สามารถฆ่าเชื้อเบื้องต้นได้โดยใช้น้ำร้อน จากนั้นขยี้แล้วซักให้สะอาดหลาย ๆ ครั้ง และตากในที่ที่มีแสงแดดเท่านั้น เพื่อเป็นการฆ่าเชื้ออีกที

10. งดกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดความชื้นภายในบ้าน หากตัวบ้านเพิ่งมีราขึ้นและได้รับการทำความสะอาดไปใหม่ ๆ ไม่ควรต้มน้ำ ซักผ้า ตากผ้า เปิดเครื่องปรับอากาศเย็นจัด แต่ควรเปิดให้อากาศภายนอกได้ระบายเข้ามาบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันแดดจัด แม้ว่าจะทำให้คุณร้อนอบอ้าวไปบ้าง แต่แสงแดดจะช่วยฆ่าเชื้อราได้ดีเลยทีเดียว

อย่างไรก็ดี การกำจัดเชื้อรานั้นต้องทำไปควบคู่กับการรักษาความสะอาดทุก ๆ จุด และสิ่งของทุก ๆ อย่างภายในบ้านเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกที่บ้านยังคงเก็บความชื้นจากภาวะน้ำเอ่อท่วมไว้อยู่ ต้องคอยดูแลใส่ใจอย่างดีเลยทีเดียวค่ะ รับรอง ว่าถ้าหากทำได้อย่างนี้แล้ว พอพ้นช่วง 2-3 สัปดาห์หลังน้ำท่วมเมื่อไหร่ คุณก็จะได้บ้านอบอุ่นและปลอดภัยปลอดเชื้อโรคหลังเดิมคืนอย่างแน่นอนค่ะ

**ข้อมูลจาก กะปุกดอทคอม**
//fb.kapook.com/thaiflood-33551.html




 

Create Date : 28 พฤศจิกายน 2554    
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2554 8:07:32 น.
Counter : 354 Pageviews.  

วิธีตรวจสอบระบบไฟฟ้า โครงสร้างอาคาร หลังน้ำลด

อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แนะวิธีตรวจสอบระบบไฟฟ้า-โครงสร้างอาคาร หลังน้ำลด เพื่อป้องกันความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สิน

นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดเผยว่า การตรวจสอบระบบไฟฟ้าและโครงสร้างอาคารหลังจากน้ำลด ถือเป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งการตรวจสอบระบบไฟฟ้า เมื่อกลับเข้าบ้านให้เปิดคัทเอ้าท์ เพื่อให้มีกระแสไฟฟ้าเข้า หากจุดใดในระบบยังเปียกชื้นอยู่คัทเอ้าท์จะตัดไฟ ให้เปลี่ยนฟิวส์แล้วทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน เพื่อให้ความชื้นระเหยออกไป และให้ลองเปิดสวิตซ์ไฟฟ้าทีละจุด ตรวจเช็คการทำงานของทุกจุด จากนั้นให้ลองดับไฟทุกจุดในบ้าน ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกทั้งหมด แต่เปิดคัทเอ้าท์ทิ้งไว้ แล้วให้ตรวจเช็คมิเตอร์ไฟฟ้าว่าหมุนหรือไม่ หากไม่เคลื่อนไหวแสดงว่าไฟฟ้าในบ้านเป็นปกติ หากมิเตอร์หมุนแสดงว่าอาจเกิดไฟฟ้ารั่วภายในบ้าน ให้ตามช่างไฟมาตรวจเช็ค และหากต้องการป้องกันระบบไฟฟ้าจากภาวะน้ำท่วมในอนาคต ให้ปรับตำแหน่งปลั๊กไฟทั้งหมดภายในบ้านไปอยู่ที่ระดับประมาณ 1.10 เมตรจากพื้นบ้าน หรือแยกวงจรไฟฟ้าออกเป็น 2-3 วงจร เพื่อความสะดวกต่อการควบคุมการเปิด-ปิดและซ่อมแซมบำรุงรักษาวงจรไฟฟ้าในบ้าน

ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกน้ำท่วม เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า อย่าเพิ่งเปิดใช้โดยเด็ดขาด เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ ควรนำช่างมาตรวจเช็คให้แน่ใจก่อน ส่วนโครงสร้างอาคาร ที่จมน้ำอยู่เป็นเวลานาน เช่น ฝ้าเพดาน รั้วคอนกรีต ประตู-หน้าต่างที่ทำจากไม้ อาจก่อให้เกิดการบวม หรือเปื่อยยุ่ย หากฝ้าเพดานเปื่อยยุ่ยให้เลาะออกและติดตั้งใหม่ เพื่อป้องกันฝ้าเพดานร่วงหล่นลงมา หากประตู-หน้าต่างไม้ที่เกิดการบวมและบิดตัว ควรปล่อยให้แห้งสนิทก่อน จึงค่อยทาสีใหม่ หากโครงสร้างเป็นเหล็กและเกิดสนิม ให้ใช้กระดาษทรายขัดสนิมออกให้หมดก่อนทาสีใหม่พร้อมยากันสนิม แล้วค่อยทาสีใหม่

**ขอขอบคุณข้อมูลจาก ThaiPBS**
//news.thaipbs.or.th/content/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%94




 

Create Date : 28 พฤศจิกายน 2554    
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2554 8:03:09 น.
Counter : 320 Pageviews.  

ความรู้เรื่องท่อปลวก

ท่อปลวกที่ว่านั้นหมายถึงท่อที่ทางผู้รับเหมา เดินไว้ใต้พื้นชั้นล่างโดยรอบอาคารในกรณีของอาคารก่อสร้างใหม่ ทำให้ไม่ต้องมาเจาะช่องพื้นในภายหลัง วิธีการนี้ เป็นการพ่นน้ำยาฆ่าปลวกและป้องกันปลวกหรือทำให้ดินเป็นพิษสำหรับปลวกจะได้อยู่อาศัยไม่ได้โดยการเดินท่อน้ำยาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นท่อ พีอี(สีดำ) หรือบางแห่งก็ใช้ท่อพีวีซีสีฟ้าเหมือนท่อน้ำประปา การเลือกใช้ท่อประเภท พีอีมีข้อดีคือความคงทนต่อแรงดัน มีความยืดหยุ่นมากกว่า ท่อพีวีซี แต่ราคาจะแพงกว่าท่อพีวีซี ซึ่งส่วนนี้ทางเจ้าของบ้านควรจะเข้าไปดูในขณะที่ช่างกำลังเดินท่ออยู่ เพราะจะได้รู้ว่าท่ออยู่ตรงไหนบ้างและตรงไหนที่ช่างละเลยหรือเดินท่อไปไม่ถึง อีกอย่างที่ต้องดูคือตอนที่เช็คแรงดันท่อและหัวสเปรย์ว่าทำงานได้ดีหรือไม่ บางทีมีหัวสเปรย์แต่หัวตันก็ไม่มีประโยชน์ และให้ดูพื้นที่ที่สเปรย์ไปถึงว่าครอบคลุมพื้นดินได้แค่ไหน เจ้าของบ้านบางคนหรือคนที่ไปซื้อบ้านจัดสรรประเภทที่สร้างเสร็จแล้วจะไม่ได้เห็นในส่วนนี้ คงเห็นแต่เพียงหัวปลั๊กที่โผล่ออกมาหรือกล่องที่ปิดหัวท่อเอาไว้ ซึ่งคงต้องภาวนาว่าช่างคงจะได้ไว้ได้ดีแล้วและครอบคลุมบริเวณอย่างทั่วถึง ทีนี้หัวใจของเรื่องอยู่ตรงที่การอัดน้ำยาเข้าไปในท่อเพื่อการป้องกันปลวกนั้น โดยปกติเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จทางบริษัทกำจัดปลวกจะเข้ามาทำการอัดน้ำยาเข้าไปในท่อและพื้นดินโดยรอบบริเวณบ้าน ซึ่งมักจะทำกันอย่างมากปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น โดยให้เหตุผลว่าน้ำยาสามารถทนอยู่ได้ถึงหนึ่งปี ซึ่งตามความเป้นจริงนั้นน้ำยาจะไม่สามารถอยู่ได้คงทนถึงหนึ่งปีเพราะมีปัจจัยภายนอกเช่น ฝนตกและทำให้มีน้ำใต้ดินไปทำการเจือจางน้ำยาที่อัดเอาไว้ และปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ การอุดตันของหัวสเปรย์ เพราะถ้าไม่มีการใช้งานอาจมีตัวแมลงอื่นๆหรือภาวะที่ทำให้ดินหรือเศษวัสดุเข้าไปอยู่ในเส้นท่อหรือปิดหัวสเปรย์ เมื่อมาใช้งานในระยะเวลาปีละหนึ่งครั้ง การทำงานบางส่วนอาจจะเสียไป ข้อแนะนำโดยประสบการณ์ส่วนตัวอยากจะแนะนำให้ทำการใช้งานหัวสเปรย์และท่อปลวกอย่างน้อย สามเดือนต่อหนึ่งครั้ง อาจจะเป็นการซื้อน้ำยาหรือออปชั่นเพิ่มเติมจากบริษัทกำจัดปลวกให้เพิ่มความถึ่ในการใช้ท่อน้ำยา เพราะเมื่อมีการเสียหรืออุดตันเพียงหนึ่งจุดอาจทำให้ระบบท่อปลวกทั้งระบบเสียลงได้ และการซ่อมแซมจะทำได้ลำบากเพราะท่อจะอยู่ใต้พื้นชั้นล่าง ต่อไปก็ต้องยอมให้ช่างมาทำการเจาะพื้นเพื่ออัดน้ำยาลงไปใต้พื้นชั้นล่างอีกทำให้พื้นบ้านของเรามีรอยเจาะเป็นแห่งๆทำให้เสียความสวยงามของบ้านได้




 

Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2553    
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2553 23:05:06 น.
Counter : 1589 Pageviews.  

ช่างกับผู้รับเหมา ไม่เหมือนกัน

ขอแทรกเรือ่งบ้านนิดหนึ่งสำหรัผุ้ที่จะต่อเติมหรือสร้างบ้าน เพราะบางทีเราเองก็ดูเหมือนว่าช่างหรือผู้รับเหมาก็ดูเหมือนๆกัน แต่จริงมันต่างกันพอสมควรโดยขออธิบายเพิ่มเติมหน่อยนะครับ เรื่องช่างกับผู้รับเหมา โดยความหมายของช่างคือช่างที่มารับงานก่อสร้างเอง เป็นผู้รับเหมารายย่อย มีลูกน้องที่เป็นช่างไม่เกิน2คน ส่วนใหญ่จะไม่ได้จบก่อสร้างโดยตรงเป็นช่างโดยสายเลือด หรือฝึกงานจากกรรมกรมาก่อน ช่างพวกนี้จะไม่เข้าใจว่าการใส่เหล็กเต็ม กับไม่เต็ม ต่างกันอย่างไร เหล็กใหญ่กับเหล็กเล็ก หรือจำนวนเหล็กเสริมมากกับน้อย หรือคอม้ามีไว้ทำไม อ่านแบบออกบ้างไม่ออกบ้าง เมื่อเทียบกับผู้รับเหมาที่มีการจดทะเบียนถูกต้อง มีลูกน้องที่เป็นช่างอยู่ทุกประเภท ช่างไม้ ช่างปูน ช่างฉาบ ช่างก่อ ช่างประปา ช่างไฟฟ้า ...การทำงานของช่างและผู้รับเหมาจะต่างกัน อย่างแรกแน่นอนคือเรื่องราคาซึ่งผู้รับเหมาจะแพงกว่าแต่ก็จะทำให้คุณมั่นใจได้ระดับหนึ่งถึงการเข้าใจในโครงสร้าง ซึ่งในระดับของผู้รับเหมายังมีความแตกต่างกันอีกในเรื่องของบุคคลากร ว่ามีสถาปนิก วิศวกรอยู่ด้วยหรือไม่ หรือผุ้รับเหมาเองเป็นวิศวกร หรือสถาปนิกเอง ซึ่งแน่นอนว่าคุณภาพงานจะดีกว่าผู้รับเหมาที่ไม่มีพื้นฐานวิชาการด้านนี้ บางท่านอาจบอกว่าผุ้รับเหมาที่เป็นวิศวกรหรือสถาปนิกบางเจ้าก็ทำงานไม่สวย สู้ช่างรับงานไม่ได้ คืออันนี้จะเป็นในแง่ของเทคนิคการเก็บงานซึ่งในตอนเก็บงานสุดท้ายต้องได้ช่างที่มีฝึมือและประสบการณ์พอสมควร รวมถึงการใส่ใจในการตรวจสอบของผู้รับเหมาเอง บางทีฝีมือช่างที่มีอยู่ก็ทำได้เท่านั้น ไม่ดีพอ ไม่สวยหรือเนี้ยบให้เป็นที่พอใจของเจ้าของงานได้ แต่บางอย่างบางงานอยากให้เจ้าของงานได้รับและเข้าใจถึงการทำงานแบบทำด้วยมือหรือแฮนด์เมด ไม่ใช่งานอุตสาหกรรมที่รีดออกมาจากเครื่องจักร ผนังจะได้เรียบปริ๊ดแบบนั้น(ถึงจะเป็นงานอุตสาหกรรมเองจริงๆก็ต้องมีการคัดของเสียทิ้งเหมือนกัน) แต่งานที่มีผู้รับเหมาเป็นวิศวกรหรือสถาปนิกจะดีอย่างน้อยหนึ่งอย่างคือเจ้าของบ้านจะได้รับงานโครงสร้างที่เต็มตามรายการคำนวนของวิศวกรเพราะผู้รับเหมารู้ดีว่าควรจะทำอย่างไร ซึ่งต่างจากการทำงานของช่างที่มารับงาน บางทีดูว่างานจะเรียบร้อย ผิวผนังสวย ฉาบได้เรียบ แต่โครงสร้างด้านในไม่พอหรือทำผิดหลักการก่อสร้างที่ดี ดังที่เรามักจะได้ข่าวว่าต่อเติมแล้วผนังบ้านร้าว หรือทรุด คือตอนสร้างเสร็จใหม่ๆยังสวยอยู่ เมื่อจ่ายเงินให้ข่างไปแล้ว ช่างก็ไปเลยเปลี่ยนเบอร์โทรเสร็จ ผ่านไปสองสามเดิือนลาย(แตกร้าว)จะเริ่มออก ซึ่งยากที่จะตามมาซ่อมแซมงาน ผิดกับผู้รับเหมาที่จดทะเบียนมีที่อยู่เป็นตัวเป็นตน ที่โทรถามได้ปรึกษาได้ตลอด ดังนั้นก่อนจะจ้างใครมาต่อเติมหรือรับเหมาอย่าลืมที่จะดูด้วยว่าคนมารับงานคุณนั้นเป็นช่างหรือผู้รับเหมานะครับ




 

Create Date : 04 มกราคม 2553    
Last Update : 4 มกราคม 2553 11:15:07 น.
Counter : 1479 Pageviews.  

1  2  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.