ETF ตราสารใหม่ของตลาดหุ้นไทย


ทฤษฎีการลงทุนได้แนะนำว่า การลงทุนที่ดีนั้น ทุกคนจะพยายามสร้างผลตอบแทนที่ดี และลดความเสี่ยง (หลายคนที่มีประสบการณ์ในตลาดหลักทรัพย์มาพอสมควร จะทราบว่า เราหวังแต่ผลตอบแทนโดยไม่สนใจความเสี่ยงไม่ได้) วิธีการที่สำคัญยิ่งก็คือ ลงทุนโดยกระจายความเสี่ยง และการกระจายความเสี่ยงที่ดี คือ กระจายตามสัดส่วนของตลาดหลักทรัพย์ฯ
“กองทุนหุ้นตามดัชนี” จึงดูจะเป็นคำตอบ แต่ปัญหาในอดีตที่ผ่านมาคือ ถ้าเป็นกองทุนปิด ก็มีราคาที่ต่ำกว่า มูลค่าที่แท้จริง (NAV) ในตลาดรอง และถ้าเป็นกองทุนเปิดปกติ เราก็ไม่สามารถทราบราคาเป็นเวลาปัจจุบัน (Real-Time) กองทุน ETF จะเป็นคำตอบที่สมบูรณ์มากขึ้น
ETF ย่อมาจาก Exchange-Traded-Funds เป็นกองทุนเปิดประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมทั่วโลก และกำลังจะเปิดทำการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยในวันที่ 6 กันยายนที่จะถึงนี้ จากบทวิจัยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น มูลค่าสินทรัพย์ภายใต้กองทุน ETF ทุกกองทุนทั่วโลกรวมกันในปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 613,200 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีอัตราการเติบโตแบบสะสม (Compound Annual Growth Rate) ถึงประมาณร้อยละ 70 หรือเกือบเท่าตัวทุกปีตั้งแต่ปี 1993 ทั้งนี้ในตลาดหุ้นแถบเอเชีย เช่น เกาหลี ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย และจีน ก็มีการจัดตั้งและซื้อขายกองทุน ETF กันแล้ว
สำหรับประเทศไทยเรานั้น จะจัดตั้ง ETF ซึ่งเป็นกองทุนเปิดดัชนีหุ้นกองทุนแรกโดยมีชื่อว่า ThaiDEX SET50 ETF โดยที่นักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันสามารถทำการซื้อขาย ThaiDEX SET50 ETF (ต่อไปจะขอเรียกสั้นๆว่า TDEX ซึ่งอาจจะเรียกว่า “ทีเด็ด” แต่ถ้าเรียก “ทีเด็ก” ความหมายก็อาจะแปลกๆ) ได้ในตลาดหุ้นเปรียบเสมือนเป็นหุ้นตัวหนึ่ง ลักษณะเด่นที่สำคัญของ TDEX มี 9 ข้อคือ
(1)TDEX จะลงทุนตามดัชนี SET50 ที่ใช้อ้างอิง กล่าวคือ กองทุนจะซื้อหุ้นใน SET50 รวมกันไว้ใน ETF เพียงตัวเดียว กล่าวคือ ภายใน ETF จะมีหุ้นหลักๆ เช่น PTT, PTTEP, SCC, BBL, ADVANC และหุ้นอื่นๆ ใน SET50 รวมกันประมาณ 50 ตัว ซึ่งผู้ที่ลงทุนซื้อ ETF เพียงตัวเดียวจะมีสถานะเทียบเท่ากับการถือครองหุ้นหลายตัวใน SET50 พร้อมกันในคราวเดียว ดังนั้น การซื้อขาย ETF จึงง่ายและไม่ยุ่งยากเพราะลงทุนซื้อขาย ETF เพียงตัวเดียวเปรียบเสมือนเราซื้อขายหุ้นในตระกร้าหุ้น SET50 พร้อมกันในครั้งเดียว ตามขนาด (ซึ่งเป็นดังตะกร้าหุ้นในความหวังของผู้จัดการกองทุนมืออาชีพ แต่ทำเองได้ยาก) ได้แก่หุ้น ดังนี้
PTT PTTEP SCC ADVANC BBL
KBANK TOP SCB PTTCH KTB
BAY IRPC THAI BANPU RATCH
SCCC ATC LH CPN AOT
EGCO RRC BGH CP7-11 BEC
GLOW SCIB MINT CPF TMB
BH TRUE TPIPL DELTA PSL
TTA ITD CCET MCOT HANA
TUF MAKRO RCL TCAP BECL
AMATA KK TPC KSL SSI
(2)ใช้เงินลงทุนขั้นต่ำไม่สูงนักสำหรับการลงทุนใน TDEX กล่าวคือ ราคาของ TDEX จะคำนวณมาจากการนำตัวคูณดัชนี = 0.01 ไปคูณดัชนี SET50 ณ ขณะหนึ่งๆ สมมติว่า SET50 Index ตอนนี้อยู่ที่ 580 จุด ดังนั้น SET50 ETF 1 หน่วยจะมีราคาประมาณ 580/100 = 5.80 บาท การเคลื่อนไหวของราคา (Tick size) จะขยับขั้นละอย่างน้อย 0.01 บาท การซื้อขายจะทำอย่างน้อย 1 Board Lot คือ 100 หน่วย ดังนั้น จำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำ = 5.80*100 = 580 บาท หากนักลงทุนจะซื้อ TDEX 10,000 หน่วยก็จะใช้เงินเพียง = 5.8*10,000= 58,000 บาท จะเห็นว่านักลงทุนสามารถใช้เงินลงทุนไม่สูงมากนักเพื่อทำการซื้อขาย TDEX ได้ตามความต้องการ ซึ่งเงินจำนวนนี้ถ้านำไปซื้อหุ้นรายตัวอาจได้จำนวนไม่กี่หุ้น เช่น หากนำเงินจำนวนดังกล่าวไปซื้อหุ้นราคาหุ้นละ 290 บาท จะซื้อได้เพียง 200 หุ้นเท่านั้น
(3)การลงทุนใน SET50 ETF นั่นถือได้ว่าเป็นการกระจายความเสี่ยง เพราะ TDEX ประกอบไปด้วยหุ้น Blue Chip 50 ตัวและเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องดี ทำให้อุ่นใจเรื่องของสินค้าที่มีคุณภาพ และได้ประโยชน์จากการกระจายความเสี่ยงในหุ้นหลายตัวและหลากหลายอุตสาหกรรม(Diversification benefit) เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน, ธนาคาร, วัสดุก่อสร้าง, สื่อสาร, ขนส่ง ฯลฯ ตลาดหลักทรัพย์จะมีการคัดสรรรายชื่อหุ้นใน SET50 ทุกๆครึ่งปี เพื่อเลือกหุ้นตามเกณฑ์ Market Capitalization สูงสุดและสภาพคล่องสูงสุด 50 หุ้นเสมอ
(4)TDEX สามารถซื้อง่ายขายคล่องเหมือนหุ้นตัวหนึ่ง และซื้อขายได้ Realtime โดยจะมีราคาของ ETF ที่จะใช้ซื้อขายได้ตลอดเวลา ETF สามารถซื้อขายได้ที่ ทุกโบรกเกอร์ที่นักลงทุนเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ โดยมีขั้นตอนการซื้อขายและใช้บัญชีซื้อขายเหมือนหุ้นปกติ การส่งคำสั่งซื้อขาย SET 50 ETF สามารถส่งคำสั่งซื้อวันที่ T และชำระเงินค่าซื้อภายใน T+3 ราคาที่ซื้อขายในตลาดจะเห็นราคาของ TDEX มี 3 ราคาเสนอซื้อ (Bid) และ 3 ราคาเสนอขาย (Offer) ลักษณะของการส่งคำสั่งซื้อขายทำได้เหมือนหุ้น คือมีทั้ง ตั้งซื้อ ตั้งขาย เคาะซื้อ เคาะขาย การลงทุนใน TDEX แก้ปัญหาการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นปกติตรงที่ ETF สามารถซื้อขายได้ Real time ในตลาดหุ้นและยังสามารถชำระเงินค่าซื้อ TDEX ได้ภายใน T+3 ในขณะที่กองทุนเปิดทั่วไปต้องทำการซื้อขายกับ บลจ. หรือ Selling agent และต้องชำระเงินสดค่าซื้อกองทุนในวันที่ T และจะได้ราคา NAV ของกองทุน ณ สิ้นวันซึ่งไม่ใช่ราคา Real time
(5)TDEX มีค่า Commission ต่ำ (ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายขั้นต่ำ 0.1%) และมีค่าบริหารจัดการกองทุน ETF ที่ไม่สูง ซึ่งค่าบริหารจัดการกองทุนที่ไม่สูงนี้เป็นจุดเด่นที่ทำให้กองทุน ETF ทั่วโลกได้รับความนิยม เพราะต้นทุนต่ำ ผลตอบแทนดี
(6) ผลตอบแทนจากการลงทุนใน TDEX จะมาจาก 2 ทาง คือ Capital Gain และ Dividend โดยที่ Capital Gain ซึ่งผู้ลงทุน สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเหมือนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ทั้ง 2 ส่วน
(7)TDEX มีความโปร่งใสเพราะ มีการประกาศสัดส่วนการลงทุนในหุ้นแต่ละตัวทุกวัน ซึ่งทำให้ผู้ลงทุนใน ETF อุ่นใจและรับทราบได้ว่า ณ ขณะหนึ่งๆ ETF มีหุ้นใดบ้างเป็นส่วนประกอบและเป็นสัดส่วนเท่าไรของกองทุน ซึ่งแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไปที่นักลงทุนจะทราบเฉพาะสัดส่วนของหุ้นที่มีน้ำหนักการลงทุนมากๆ (Top holding) ในกองทุนนั้น
(8)นักเก็งกำไรสามารถใช้ TDEX เพื่อสร้างจังหวะในการลงทุนได้ (Market timing) ในจังหวะตลาดขาขึ้น ถ้าลงทุนใน TDEX จะสามารถได้สินค้าในทันที แต่หากต้องการซื้อหุ้นตามตะกร้าหลายๆตัวพร้อมกันอาจจะเลือกไม่ถูกตัวหรือมีความยุ่งยากในการส่งคำสั่งมากกว่าซื้อ TDEX เพียงตัวเดียว ความยุ่งยากใช้เวลาอาจไม่ทันการเมื่อสภาวะตลาดเปลี่ยนไป
(9)การลงทุนซื้อ TDEX ให้ผลตอบแทนตามตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งเฉลี่ย 11-12% ต่อปี จากสถิติในแทบทุกประเทศทั่วโลกหลายสิบปี เทียบกับฝากธนาคารได้ประมาณ 2-3% ต่อปีแล้ว เคยมีการประเมินเงิน 1 ล้านบาท ลงทุนตั้งแต่ต้นปี 1999 เป็นเวลา 8 ปี ลงทุนในหุ้นได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 11% ได้เงินตอนจบรวม 2.3 ล้านบาท แต่ฝากเงินธนาคารได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 3% ได้เงินเพียงประมาณ 1.3 ล้านบาท หายไปนับล้านบาท
เมื่อมี TDEX แล้ว นักลงทุนมืออาชีพหลายคน อาจกันเงินลงทุนจำนวนหนึ่ง (Core Investment) ใน TDEX และ ลงทุนหุ้นส่วนเพิ่ม (Satellite Investment) ที่เลือกไว้ว่าดีกว่าหุ้นอื่นๆเป็นหุ้นๆได้ ผมเชื่อว่า TDEX หรือ SET50 ETF จะเป็นพัฒนาการที่สำคัญของตลาดหลักทรัพย์ขั้นสำคัญอีกครั้งทีเดียวครับ--จบ--

ที่มา: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน




 

Create Date : 15 สิงหาคม 2550   
Last Update : 15 สิงหาคม 2550 12:23:00 น.   
Counter : 925 Pageviews.  

เกร็ดความรู้ตราสารหนี้ : CDO

เกร็ดความรู้ตราสารหนี้: การลงทุนในตราสารที่มีหนี้เป็นหลักประกัน Collateralized Debt Obligation (CDO)
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th)


จากที่ตราสารที่มีหนี้เป็นหลักประกัน หรือ Collateralized Debt Obligation หรือ CEO เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่ในขณะนี้ ทำให้มีหลายคนในกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรม Workshop เรื่อง Credit Risk ของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย สอบถามเข้ามาพอสมควร ผมจึงขอโอากาสนี้นำมาเป็นข้อสนทนาในเนื้อที่ตรงนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านบ้าง แต่เนื้อหาคงจะยาวพอสมควรหวังว่าคงจะไม่เบื่อนะครับผมต้องขอเกริ่นนำที่มาที่ไปของตราสารชนิดนี้เพื่อทำความเข้าใจกับตราสารชนิดนี้ก่อน จากนั้นขออธิบายแนวทางการคำนวณราคา เพื่อชี้ให้เห็นตัวแปรที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ผลตอบแทน และลักษณะของความเสี่ยง แนวทางในการบริหารความเสี่ยงถ้าองค์กรของท่านเป็นสถาบันการเงิน และสุดท้ายจะเป็นเรื่องความเสี่ยงด้านชื่อเสียง (Reputational Risk) ซึ่งอาจเป็นประเด็นในด้านการลงทุนในตราสารลักษณะนี้ได้
Collateralized Debt Obligation หรือ CDO แต่เดิมเกิดจากกระบวนการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitization) ธรรมดา เพียงแต่เน้นว่าสินทรัพย์ที่นำมาแปลงเป็นหนี้ ไม่ใช่สินทรัพย์ทั่วไป หรืออาจมีการเน้นเฉพาะเจาะจงว่าเป็นตราสารหนี้ Collateralized Bond Obligation (CBO) แต่ในภายหลังมีการสร้าง SCDO หรือ Synthetic Collateralized Debt Obligation ซึ่งเกิดตราสารที่มีคุณลักษณะเหมือนกัน โดยการถ่ายความเสี่ยงด้าน Credit จากพอร์ตหนี้ไปยังตราสารใหม่ที่เกิดขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องมีการทำ Securitization ให้ยุ่งยากและต้องมีการขายสินทรัพย์มีการโอนย้ายเงินทุน ทั้งนี้ทำได้โดยการออกตราสารอนุพันธ์ด้านเครดิต (Credit Derivative) มาเป็นตัวกลางโอนถ่ายความเสี่ยงด้านเครดิต ซึ่งตราสารที่สามารถใช้ในการนี้คือ Credit Default Swap (CDS) การที่ CDS สามารถถ่ายโอนความเสี่ยงโดยไม่มีการถ่ายโอนเงินทุน ทำให้ความเสี่ยงด้านเครดิตถ่ายโอนไปสู่ผู้ต้องการลงทุนในฐานะความเสี่ยงนั้น โดยไม่มีความเสี่ยงด้านดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) ติดไปด้วยเหมือนการถือตราสารหนี้
ผู้ลงทุน CDO เป็นผู้รับความเสี่ยงด้านเครดิตได้รับผลตอบแทนเป็นรูปของดอกเบี้ยตราบเท่าที่หนี้ในพอร์ตอ้างอิงยังไม่ผิดนัดชำระหนี้ แต่เมื่อมีการผิดนัดชำระ (Default) เงินลงทุนจะลดลงไปตามความเสียหายที่เกิดขึ้น (Loss) เช่นเดียวกับพอร์ตหนี้ทั่วไป ดอกเบี้ยที่ได้รับก็จะลดลงไปด้วยตามสัดส่วน มองในภาพรวมเหมือนกับจะไม่แตกต่างผลตอบแทนกองทุนรวมตราสารหนี้สักเท่าไร แต่ความแตกต่างสำคัญคือ CDO มีการแบ่งเป็นกอง (Tranche) ที่จัดให้แต่ละกองแบกรับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน กองที่รับความเสี่ยงสูงสุดคือกอง Equity Tranche กองนี้จะทำหน้าที่รับผลเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนใครเพื่อน ซึ่งทำหน้าที่เหมือนทุน (Equity) กองอื่นไม่ต้องรับความเสียหายที่เกิดขึ้นตราบเท่าที่กอง Equity Tranche ยังสามารถรับความเสียหายอยู่ได้ เมื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นเกินกว่าที่ Equity Tranche รองรับได้แล้วจึงจะทำให้เกิดความเสียหายในกองที่อยู่ถัดไปได้ การแบ่งจะแบ่งเป็นหลายกองโดยมีการรับความเสี่ยงเป็นชั้นๆ เหมือนน้ำตกความเสียหายจะถูกรองรับไว้จนชั้นก่อนหน้าเต็มก่อน จึงค่อนล้นไปยังชั้นต่อไป ดังนั้นแต่ละกองของ CDO จึงแบกรับความเสี่ยงด้านเครดิตของหนี้หรือหนี้ที่อ้างอิงแตกต่างกัน
การแบ่ง CDO ออกเป็นกองที่แบกรับความเสี่ยงแตกต่างกันเช่นนี้ทำให้การวิเคราะห์ความเสี่ยงของ CDO Tranche มีความแตกต่างจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงของพอร์ตหนี้ปกติอยู่มาก ถ้าเปรียบเทียบกับหน่วยลงทุนในพอร์ตหนี้ปกติความเสียหายจะแบ่งไปโดยเท่าเทียมกัน และจะพบว่าพอร์ตหนี้ปกติมีความเป็นไปได้น้อยที่จะไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นเลยในขณะเดียวกันก็มีความเป็นได้น้อยมากที่จะสูญเสียหมดทั้งกอง เนื่องจากโอกาสที่ทุกคนจะกลายเป็นหนี้เสียทั้งหมดก็มีน้อยมากเช่นกัน แต่ถ้าพิจารณา CDO Tranche ที่เป็น Tranche สูงขึ้นมาจาก Equity Tranche โอกาสที่จะไม่เกิดความเสียหายเลยมีอยู่สูง เนื่องจากมี Tranche ก่อนหน้ารองรับความเสียหายเอาไว้ก่อน ในขณะเดียวกันถ้าเกิดปัญหาผิดนัดชำระหนี้สูง อาจทำให้ Tranche นี้ถูกใช้รองรับความเสียหายทั้งหมดได้ นั่นคือกองนี้อาจได้รับความเสียหายทั้งหมดแม้ว่าหนี้ที่อ้างอิงไม่ได้ผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมด นั่นคือโอกาสที่จะเกิดความเสียหายทั้งกองสูงกว่าพอร์ตหนี้ปกติ เนื่องจากเนื้อที่หมดลงแล้วคราวหน้าเรามาต่อด้วยแนวทางการประมาณราคาและลักษณะผลตอบแทนและความเสี่ยงต่อไปนะครับ--จบ--




 

Create Date : 14 สิงหาคม 2550   
Last Update : 14 สิงหาคม 2550 16:08:01 น.   
Counter : 9452 Pageviews.  

YUAN EFFECT & Possible Impact on Thai Stock Market

รายงานพิเศษ: วิเคราะห์ทิศทางค่าเงินหยวนและผลกระทบ
YUAN EFFECT & Possible Impact on Thai Stock Market

“Revaluation of the Yuan (renminbi) – A Conundrum”

ผลกระทบต่อค่าเงินเอเชียและการลงทุนในตลาดหุ้นไทยหากมีการปรับขึ้นค่าเงินหยวน

ทำไมจึงมีการคาดการณ์ว่าจีนจะต้องปรับขึ้นค่าเงินหยวน?
การคาดการณ์เรื่องการปรับค่าเงินหยวนของจีนเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วง 2-3 ปีก่อนแล้ว โดยนักเศรษฐศาสตร์ต่างประเมินว่าค่าเงินหยวน(renminbi หรือ RMB) ในปัจจุบันต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น (undervalued) อยู่ถึง 20-30% ซึ่งประเด็นดังกล่าวเกิดจากการที่สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้าสินค้าจากจีนในมูลค่าที่สูงขึ้นต่อเนื่อง การผูกติดค่าเงินของจีนกับดอลลาร์สหรัฐ ยิ่งส่งผลให้จีนมีความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกสูงขึ้นและทำให้ภาคการส่งออกของจีนยังเติบโตอย่างต่อเนื่องเมื่อเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเรื่อยๆ (เงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่าลง 41.6% เมื่อเทียบกับเงินยูโรตั้งแต่ต้นปี 2545 จนถึงปัจจุบัน) โดยจะเห็นจากยอดส่งออกของจีนในช่วง 4 เดือนแรกของปี 48 ทำสถิติใหม่โดยเพิ่มขึ้นถึง 34%YoY และส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลทั้งสิ้น 21.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 4 เดือนแรกของปี 48 เทียบกับ 10.7 พันล้านเหรียญในช่วง 4 เดือนแรกของปี 47 (เพิ่มขึ้น 98%YoY) เนื่องจากระดับราคาของสินค้าที่ส่งออกอยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศคู่แข่งค่อนข้างมากจากผลของค่าเงินหยวนที่มีมูลค่าต่ำกว่าความเป็นจริงอยู่มาก ขณะเดียวกันการขาดดุลการค้าของสหรัฐที่เกิดกับประเทศคู่ค้าอย่างจีนถือว่าอยู่ระดับที่สูงกว่าคู่ค้าอื่นๆ โดยเฉพาะการขาดดุลจากสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ล่าสุดเดือนมี.ค.48สหรัฐขาดดุลการค้ากับจีนสูงถึง 1.29 หมื่นล้านดอลลาร์ลดลงจาก 1.39 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนก.พ. แต่ก็ยังสูงกว่าระดับ 1.04 หมื่นล้านดอลลาร์เมื่อเดือนมี.ค.47 จึงทำให้ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปหรืออียู ซึ่งต่างก็เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีนพยายามออกมาตรการต่างๆ เช่น การขึ้นภาษีนำเข้า มายับยั้งการส่งออกของจีนเพื่อกดดันให้จีนรีบทำการปฏิรูประบบแลกเปลี่ยนเงินหยวนโดยเร็วที่สุด
ตั้งแต่ปี 2537 ค่าเงินหยวนของจีนถูกกำหนดให้ผูกติดกับดอลลาร์ที่ระดับประมาณ 8.28 หยวนต่อดอลลาร์มาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นหากรัฐบาลจีนตัดสินใจปรับขึ้นค่าเงินหยวน จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจจีน ซึ่งดีกรีของผลกระทบจะขึ้นกับระดับของการเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนที่มากหรือน้อยด้วย จากการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า ทางการจีนจะเลือกวิธีการปรับค่าเงินหยวนอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงแคบๆ ก่อน โดยมีความเป็นไปได้ที่จะขยับ band ของอัตราแลกเปลี่ยนในช่วง 1-3% ก่อนที่จะขยายสู่ช่วง 3-5% และ 5-10% ในลำดับถัดไป มากกว่าการใช้วิธีการปล่อยลอยตัว (free float)

Timing – When will China loosen its peg ?
ขณะที่การคาดหมายเงื่อนเวลาในการปรับขึ้นค่าเงินหยวนนั้นเป็นไปได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากมีการคาด
การณ์กันมาหลายปีแล้ว และลาสุดรัฐบาลจีนก็ยังยืนยันว่าจะยังไม่มีการยกเลิกมาตรการตรึงค่าเงินหยวนแต่อย่างใด แม้ว่าสหรัฐประกาศจะเพิ่มกำแพงภาษีสินค้านำเข้าจากจีนถึง 27.5% หากจีนไม่ยกเลิกการตรึงค่าเงินหยวนภายใน 6 เดือน ทั้งนี้กระแสการเก็งกำไรค่าเงินหยวนของ Hedge Funds ที่คาดว่าธนาคารกลางจีนอาจจะปรับขึ้นค่าเงินหยวนในเร็วๆ นี้ ส่งผลให้มีการนำเงินเข้าไปซื้อลงทุนอสังหาริมทรัพย์ของจีนดักไว้ เป็นต้นมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ส่วนการเข้ามาเก็งกำไรตลาดหุ้นในภูมิภาคโดยเฉพาะตลาดหุ้นฮ่องกง ตั้งแต่ช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยคาดว่าหากมีการปรับขึ้นค่าเงินหยวนจริง จะส่งผลให้เงินสกุลอื่นในเอเชียแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียอาจจะไม่มีความจำเป็นต้อง intervene ค่าเงินของตัวเองมากนักเพื่อรักษาระดับความสามารถในการส่งออก (Competitive Advantage) เมื่อเทียบกับจีน ข้อมูลล่าสุดคาดว่าวันที่ 18 พ.ค.นี้ ซึ่งจะเป็นวันที่จีนจะทำการเปิดตลาดการซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับนานาประเทศอย่างเป็นทางการ โดยจากเดิมมีการซื้อขายกันอยู่ 4 สกุล คือระหว่างเงินหยวนกับ 4 สกุลซึ่งได้แก่ ยูโร, ดอลลาร์สหรัฐ, เยนและฮ่องกงดอลลาร์ จะปรับเพิ่มเป็นการซื้อขายอีก 8 คู่สกุล โดยเป็นการซื้อขายระหว่างเงินสกุล U.S.$ กับปอนด์อังกฤษ, สวิสฟรังก์, ออสเตรเลียดอลลาร์, เยนญี่ปุ่น, ฮ่องกงดอลลาร์, ยูโร, ดอลลาร์แคนาดา และคู่สุดท้ายระหว่าง ยูโรกับเยน ทำให้นักเก็งกำไรคาดว่าอาจจะมีการประกาศปรับขึ้นค่าเงินหยวนในวันดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลจีนได้ปฏิเสธข่าวลือดังกล่าวเรียบร้อยไปแล้ว จึงมีการคาดกันอีกว่าจีนอาจจะประกาศการเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนในการประชุม G8 วันที่ 6-8 ก.ค.48 นี้ แม้ว่านักเศรษฐศาสตร์เกือบทุกสำนักเชื่อว่าการปรับค่าเงินหยวนน่าจะเกิดขึ้นก่อนปลายปี 2548 นี้ แต่ท้ายที่สุด แล้วก็ยังมีมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์บางรายเชื่อว่าจีนจะพยายามอย่างถึงที่สุดที่จะไม่ให้ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยการปล่อยให้หยวนมีความยืดหยุ่นมากๆ เช่นในกรณีของการปล่อยลอยตัวนั้นอาจจะเป็นไปได้ในอีกหลายปีข้างหน้า ซึ่งอาจจะเป็นช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในกรุงปักกิ่งปี 2551 ก็ได้

ทางเลือกในการปรับค่าเงินหยวน
นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่ารัฐบาลจีนเต็มใจที่จะปรับขึ้นค่าเงินหยวนก็ต่อเมื่อระบบสถาบันการเงินของจีนมี
ความพร้อมและแข็งแกร่งพอที่จะรับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันสถาบันการเงินของจีนยังมีปัญหาเรื่องหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือ NPL และหนี้เสีย (bad loan) ในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับสินเชื่อรวม นอกจากนี้ความเปราะบางของระบบสถาบันการเงินจีนจะทำให้ไม่สามารถรองรับกับความผันผวนสูงของอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจจะเกิดขึ้นได้หลังปรับค่าเงิน ขณะที่รัฐบาลจีนเองยังใช้ระบบ capital control ควบคุมการไหลเข้าออกของเงินหยวนในปัจจุบันอยู่ เพื่อรับมือกับ hot money ที่จะไหลเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินหยวน โดยมีการเข้าซื้อ asset ในสกุลเงินหยวนก่อนการปรับค่าขึ้น ขณะเดียวกันประชาชนจีนเองบางส่วนก็มีความพยายามที่จะนำเงินออกไปซื้อสินทรัพย์ในสกุลเงินต่างประเทศมานานแล้วเช่นเดียวกัน ดังนั้นเราคาดว่าแม้ว่ารัฐบาลจีนจะตัดสินใจปรับช่วงของอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคต แต่ระบบของ capital control จะยังมีอยู่ต่อไปเพื่อป้องกันปัญหา capital flight (เงินไหลออกจากจีนเพื่อซื้อสินทรัพย์ในสกุลเงินต่างประเทศหรือไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลง) และ banking crisis โดยนักวิเคราะห์ในต่างประเทศมองว่าวิธีการปรับขึ้นค่าเงินหยวน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ทางเลือกคือ
1. การปรับเพิ่มระดับอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (repeg) ระหว่างค่าเงินหยวนกับดอลลาร์สหรัฐให้สูงขึ้น
จาก 8.28 หยวนต่อดอลลาร์ในปัจจุบัน สมมติว่ามีการปรับขึ้น 5% เป็น 7.87 หยวนต่อดอลลาร์ จะทำให้เกิดการไหลเข้าของ hot money มาสู่จีนอีกเพราะจะมีการคาดการณ์ว่าจะมีการ repeg เพื่อปรับขึ้นค่าเงินหยวนใน step ที่สูงขึ้นต่อไป
2. การปรับเพิ่มช่วงของอัตราแลกเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป (managed float) เช่น 1-3%, 3-5% เป็นต้น ซึ่งวิธีการนี้ก็จะทำให้มีการเก็งกำไรการปรับค่าเป็น step ต่อเนื่องไปเช่นกัน เช่น 5-10% และอื่นๆ เป็นต้น
3. การปรับสัดส่วนตะกร้าเงินโดยนำเงินสกุลหลักๆ เช่น เยนและยูโร เข้ามาใช้กำหนดค่าเงินหยวน
ด้วย จากเดิมที่ผูกติดกับดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่าวิธีสุดท้ายนี้เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากจะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของหยวนมีความยืดหยุ่นมากขึ้นและสามารถป้องกันการเก็งกำไรในส่วนของเงินทุนที่ไหลเข้าออกจีนได้ดี รวมทั้งเป็นผลดีต่อนโยบายการเงินของจีนซึ่งไม่จำเป็นต้องอิงกับนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐมากเหมือนปัจจุบัน เช่นการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ fed funds rate เป็นต้น

ผลกระทบต่อค่าเงินเอเชียและตลาดหุ้น
แผนภาพในหน้า 6 แสดงถึงการเปรียเทียบค่าเงินในสกุลต่างๆ กับ U.S.$ โดยใช้ Big Mac Index ซึ่งจัดทำขึ้นโดยนิตยสาร The Economist ฉบับวันที่ 16 ธันวาคม 2547 โดยแสดงราคาของแฮมเบอร์เกอร์บิ๊กแม็กในประเทศต่างๆ เมื่อเทียบกลับมาเป็นเงินสกุลดอลลาร์ จะเห็นได้ว่าราคาบิ๊กแม็กที่สวิสเซอร์แลนด์แพงที่สุดถึง 5.46 เหรียญและในจีนถูกที่สุดเพียง 1.26 เหรียญเมื่อเทียบกับ 3 เหรียญในอเมริกา ซึ่งนำไปสู่ทฤษฎีการเปรียบเทียบราคาสินค้าในค่าเงินสกุลต่างๆ กับอัตราแลกเปลี่ยนหรือที่เรียกว่า theory of purchasing-power parity (PPP) จาก chart ที่แสดงจะเห็นว่าค่าเงินในสกุลเอเชียส่วนใหญ่จะ undervalued เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ โดยเงินบาทต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นราว 49% ส่วนเงินหยวน undervalued อยู่ถึงเกือบ 60% ทั้งนี้ chart ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึง trend ของค่าเงินในสกุลต่างๆ แต่ก็ไม่ใช่การประมาณการที่ถูกต้องแน่นอนว่าค่าเงินในสกุลต่างๆ undervalued ในระดับนั้นๆ จริง
เราคาดว่าหลังจากที่มีการขึ้นปรับค่าเงินหยวนแล้ว ซึ่งน่าจะเป็นในช่วงแคบๆ ก่อนนั้น จะส่งผลกระทบต่อค่าเงินสกุลเอเชียให้ทยอยปรับค่าขึ้นเช่นกัน แต่ดีกรีของการแข็งค่าของเงินแต่ละสกุลยังไม่สามารประเมินได้ เนื่องจากการไหลเข้าของเงินเพื่อการเก็งกำไรในแต่ละประเทศจะขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางการเมือง และความน่าลงทุนของแต่ละประเทศ รวมไปถึงการควบคุมในเรื่องของการไหลเข้าออกของเงินของธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ณ ขณะนั้นด้วย ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและยากต่อการประเมิน (conundrum) จริงๆ อย่างไรก็ตามหากมีการแข็งค่าขึ้นของเงินสกุลเอเชีย สิ่งที่ตามมาก็คือการเก็งกำไรทั้งในรูปของอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดเงินและการเข้าซื้อขายหุ้นในตลาดทุน ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน และตลาดหุ้นในเอเชียปรับตัวขึ้นได้ในช่วงสั้นๆ แต่หลังการปรับค่าเงินเกิดขึ้นตามคาดแล้ว ก็อาจจะมีการ take profit ของ hedge funds ตามออกมา ซึ่งจะส่งผลให้ทั้งตลาดเงินและตลาดทุนแกว่งตัวผันผวนอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาดังกล่าว
สำหรับอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐมีโอกาสที่จะปรับขึ้น เนื่องจากปัจจุบันจีนเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ของพันธบัตร
สหรัฐ (ซึ่งช่วยรักษาอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐให้อยู่ในระดับต่ำ) แต่หากค่าเงินหยวนแข็งขึ้น อาจทำให้รัฐบาลจีนงดการซื้อพันธบัตรเพิ่ม และจะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นด้วยในระยะกลางถึงยาวด้วย ขณะเดียวกันราคาน้ำมันในตลาดโลก รวมถึงราคาโลหะ เช่นเหล็ก และสินค้า commodity อื่นๆ ก็น่าจะปรับตัวลงเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากจีนเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ของโลก และเป็นผู้บริโภคสินค้าโภคภัณฑ์ในระดับต้นๆ ดังนั้นการแข็งค่าของเงินหยวนจะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและการบริโภคของจีนให้ชะลอตัวลง จากเหตุผลดังกล่าวทำให้เรา
คาดว่าประเทศในเอเชียจะได้รับผลดีในเรื่องของต้นทุนน้ำมันที่ปรับตัวลง ขณะที่ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตน้ำมัน เหล็ก ทองคำ ปิโตรเคมีและโลหะอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในเชิงลบจากอุปสงค์ที่ลดลงและมูลค่าการส่งออกของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในรูปของเงินสกุลดอลลาร์ที่ลดต่ำลงด้วย แต่ในภาคการส่งออกสินค้าอื่นที่เป็น middle to high end อาจจะได้รับผลดีจากการที่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอาจจะย้ายฐานการผลิตที่เป็น low cost production มายังประเทศอื่นๆในเอเชียที่มีศักยภาพในการผลิตที่ดีกว่าหรือมีบุคลากรที่มี know how และทักษะทางด้านเทคโนโลยีที่สูงกว่า แม้ว่าโดยรวมแล้วค่าแรงอาจจะยังสูงกว่าจีนก็ตาม เช่นในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ ยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท เป็นต้น
อย่างไรก็ตามมีบทความของนักวิเคราะห์ในต่างประเทศที่ประเมินว่าการปรับขึ้นค่าเงินหยวนในช่วง
แคบๆ อาจจะไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อศักยภาพในการส่งออกของจีนเลย เนื่องจากว่าจีนเองมี import content
ในปริมาณสูง ดังนั้นการแข็งค่าของเงินหยวนจะทำให้ต้นทุนการ import วัตถุดิบต่างๆ ถูกลง จนไม่ส่งผลให้ราคา
สินค้าส่งออกของจีนปรับเพิ่มขึ้นมากอย่างที่คาด โดยจากการศึกษาของนาย Lawrence Lau จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าวว่ามูลค่าสินค้าที่จีนส่งออกไปสหรัฐทุกๆ 1 ดอลลาร์ มีส่วนที่เป็น value added จากการผลิตในจีนอยู่เพียง 20 เซนต์เท่านั้น ดังนั้นแม้ว่าเงินหยวนจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ถึง 20% ก็ตาม ราคาสินค้าที่ส่งออกจากจีนไปยังสหรัฐอาจจะปรับเพิ่มขึ้นเพียง 4% เท่านั้น ซึ่งจะส่งผลให้สหรัฐยังเป็นผู้บริโภครายใหญ่ของโลกต่อไป และสหรัฐก็ยังมีทางเลือกในการบริโภคสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนาอื่นที่ส่งออกสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าหรือใกล้เคียงได้ ซึ่งหมายความว่าการแข็งค่าขึ้นของเงินหยวนเพียงเล็กน้อย จึงไม่อาจช่วยแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐให้หมดไปได้
บทสรุปก็คือ ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าเมื่อไรจีนจะปรับอัตราแลกเปลี่ยนของเงินหยวน และผลกระทบที่จะ
เกิดขึ้นจริงในระยะกลางถึงยาว อาจมีความเป็นไปได้ว่าจะไม่เกิดขึ้นทั้งในเชิงบวกและลบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจของไทยรวมถึงของประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียเลย ขณะที่ในระยะสั้นๆของการเก็งกำไรของ hedge fund อาจจะส่งผลดีต่อตลาดหุ้นไทยให้ปรับตัวขึ้นได้ พร้อมๆกับการแข็งค่าของเงินในสกุลเชีย แต่เมื่อการเก็งกำไรผ่อนคลายลง ค่าเงินบาทและสกุลเอเชียอื่นอาจจะอ่อนค่าลงอีกครั้งก็เป็นได้ เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยของประเทศในภูมิภาคเอเชียที่เป็น Emerging Markets ยังคงสูงกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคของประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้นผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินหยวนอาจจะไม่ทำให้เศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ชะลอตัวได้มาก ขณะที่เรายังเชื่อว่าประเด็นการไหลเข้าของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI – Foreign Direct Investment) เข้ามาไทยในช่วง 1Q48 ที่ขยายตัวถึง 98%YoY ยังส่งสัญญาณว่าไทยเป็นประเทศที่มีความน่าลงทุนในระดับต้นๆ ของภูมิภาค ดังนั้นการขยายตัวของ GDP ไทยจะไม่น่าได้รับผลกระทบเชิงลบจากการแข็งค่าของเงินหยวนในกรอบที่จำกัด ส่วนตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวขึ้นหรือลงน่าจะขึ้นกับการบริหารเม็ดเงินของผู้จัดการกองทุนต่างประเทศ(ที่หาผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีกว่าเสมอ) รวมถึงตัวเลข GDP เสถียรภาพของการเมือง ความเสี่ยงในการลงทุน นโยบายการเงินการคลัง เครดิตประเทศ และอัตราการเติบโตของผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (earning growth) มากกว่า

เศรษฐกิจจีน และแนวโน้มค่าเงินหยวน
โอกาสที่จะมีการเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนในเร็วๆ นี้ยังน้อยอยู่เนื่องจากจีนยังจำเป็นต้องปกป้องภาคการส่งออกของจีนเอง ยกเว้นแต่จะมีการกดดันโดยการกีดกันทางการค้าอย่างหนักจริงๆ
ธนาคารชาติจีน (The People’s Bank of China) ได้ให้สัมภาษณ์กับ น.ส.พ. The People’s
Daily ว่าธนาคารชาติจีนจะพิจารณาภาวะเศรษฐกิจของจีน และดุลการชำระเงิน (Balance of Payments) ของจีนเป็นหลักในการกำหนดเกี่ยวกับนโยบายด้านอัตราแลกเปลี่ยนมากกว่าปัญหาการได้เปรียบดุลการค้ามหาศาล
(Trade Surplus) กับประเทศคู่ค้าบางประเทศเท่านั้น
เนื่องจากจีนมองว่า ยอดเกินดุลบัญชี (Current Account Surplus) ของจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ
ดุลการชำระเงินในขณะนี้นั้นอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น เนื่องจากจีนยังต้องนำเข้าน้ำมันที่มีราคาสูงจากต่างประเทศด้วยเพราะอุปสงค์น้ำมันภายในประเทศที่สูงกว่าอุปทานภายในประเทศ ดังนั้น จีนจึงต้องการปรับปรุงกลไกในการกำหนดค่าเงินหยวนอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าที่จะปรับค่าเงินหยวนในทันที การปรับปรุงกลไกในการกำหนดค่าเงินหยวนดังกล่าวเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของจีนในระยะกลาง-ยาว การปรับเปลี่ยนค่าเงินหยวนอย่างเฉียบพลันย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของจีนมากกว่าการสร้างเสถียรภาพของเศรษฐกิจจีนเนื่องจากภาคการส่งออกเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การปล่อยให้ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจจีนเกิดความชะงักงันหรือเกิด Hard Landing ได้ จีนจึงพยายามปฏิรูปสถาบันการเงิน และระบบการเงินภายในประเทศให้มีความพร้อมก่อนมาโดยตลอด
จีนเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่มีจุดดุลยภาพที่สามารถควบคุมได้ของจีนเองเนื่องจากจีนมีกลไกของระบบ
เศรษฐกิจที่แตกต่างจากเศรษฐกิจของประเทศระบบทุนเสรีนิยม ทำให้จีนยังไม่จำเป็นต้องเร่งปรับค่าเงินหยวนนอกจากจะเกิดปัญหากีดกันทางการค้าที่รุนแรงเพื่อสร้างแรงกดดันต่อจีน
การเก็งกำไรค่าเงินหยวนโดยการอ้างถึงความไม่สมดุลของระบบเศรษฐกิจที่ทำให้จีนได้เปรียบดุลการค้ามหาศาลยังไม่น่าจะเป็นแรงกดดันที่จะทำให้จีนปรับช่วงค่าเงินหยวนอย่างเร่งด่วน สิ่งหนึ่งที่นักเก็งกำไรมองข้ามไปก็คือ จีนเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ที่มีอำนาจในการควบคุมหน่วยต่างๆทางเศรษฐกิจไม่ให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจในประเทศที่รุนแรงได้จากความไม่สมดุลดังกล่าว เช่น ปัญหาเงินเฟ้อจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น นอกจากนั้น ปัญหาที่เกิดจากความไม่สมดุลดังกล่าวเป็นปัญหาที่น่าจะส่งผลต่อประเทศโลกตะวันตกรุนแรงมากกว่าจีน เพราะสินค้าจากจีนยังคงความได้เปรียบในเรื่องของราคาสินค้าที่ถูกกว่าอยู่ดีเพราะปัญหาต้นทุนน้ำมันที่สูงขึ้นเป็นปัญหาที่เกิดกับทุกประเทศอุตสาหกรรม มิได้เกิดขึ้นกับจีนเท่านั้น นอกจากนั้น ปัญหาการขาดดุลการค้าของประเทศโลกตะวันตกที่รุนแรงยิ่งขึ้นในช่วงที่ผ่านมาน่าจะมาจากต้นทุนการนำเข้าน้ำมันที่สูงขึ้นด้วย ไม่น่าจะเกิดจากจีนอย่างเดียว และหากราคาน้ำมันปรับตัวลงปัญหาการขาดดุลการค้ามหาศาลน่าจะทุเลาลงได้บ้างในเร็วๆ นี้
จีนเป็นประเทศมหาอำนาจที่จะต้องคำนึงถึงเหตุผลทางรัฐศาสตร์ด้วยเพราะความมั่นคงทางเศรษฐกิจจะ
ส่งผลต่อความมั่นคงทางการเมืองด้วยเช่นกัน ดังนั้น การสร้างแรงกดดันต่อค่าเงินหยวนจึงไม่ใช่เหตุผลที่จะบังคับให้จีนเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนในทันทีได้นอกจากจีนจะมีความพร้อมแล้วและจีนได้แสดงออกมาว่าจีนปรับเปลี่ยนกลไกค่าเงินหยวนจากความต้องการของจีนเองมากกว่าทำตามคำเรียกร้องของประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม การเพิ่มกำแพงกีดกันสินค้าจากจีน เช่น โควต้าสิ่งทอจากจีน หรือการตั้งกำแพงภาษีต่างๆ ก็น่าจะสร้างแรงกดดันให้จีนอาจเร่งพิจารณาเรื่องนี้เร็วยิ่งขึ้นได้
เรามองว่าจีนจะยังสามารถรับมือกับเงินทุนระยะสั้นจำนวนมากที่กำลังหลั่งไหลเข้ามาเพื่อการเก็งกำไรค่าเงินหยวนได้อย่างน้อยในระยะสั้นเนื่องจากเศรษฐกิจของสหรัฐที่ยังอยู่ในช่วงขาขึ้นและการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED อย่างต่อเนื่องจะเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้เงินดอลลาร์ไม่อ่อนตัวลงได้ง่ายๆ ดังนั้น การถล่มเงินหยวนรอบนี้จึงไม่ง่ายเหมือนที่นักเก็งกำไรคาดไว้

ประเทศโลกตะวันตกจะได้รับผลบวกในระยะกลาง-ยาวจากการแข็งค่าของเงินหยวน
ถ้าหากจีนปรับค่าเงินหยวนขึ้นในระดับที่สูง ประเทศโลกตะวันตกจะได้รับผลดีเหมือนยิงกระสุนนัดเดียวได้นก 2 ตัว โดยนกตัวที่หนึ่งเป็นจีนที่เป็นคู่แข่งทางการค้าที่จะมีความได้เปรียบทางการค้าลดลงไปบ้าง และนกตัวที่สองซึ่งเป็นตัวที่อ้วนมากคือราคาน้ำมันในตลาดโลกที่จะตกลง เราคาดว่า ถ้าหากมีการปรับเพิ่มค่าเงินหยวนแล้ว ประเทศในโลกตะวันตกจะได้รับผลบวกจาก
1. ตัวเลขการขาดดุลการค้าลดน้อยลงได้อีก
2. ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะปรับตัวลงส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเริ่มมีการปรับตัวเข้าสู่จุดสมดุลใหม่
3. ตลาดหุ้นจะมีการปรับตัวขึ้นหลังจากที่นักลงทุนมองว่าปัญหาเงินเฟ้อจากต้นทุนราคาน้ำมันที่สูงขึ้นได้คลี่คลายลงแล้วในขณะที่ความสามารถในการแข่งขันทางด้านการส่งออกดีขึ้นจนส่งผลต่อผลประกอบการของบริษัทในตลาดหุ้นสหรัฐ นอกจากนั้น กองทุนต่างๆ ที่ทำการขายน้ำมันออกมาจะกลับนำเงินเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นแทนเนื่องจากมองว่าราคาหุ้นอยู่ในระดับต่ำสุดแล้ว
4. แรงกดดันเรื่องเงินเฟ้อที่ลดลงจะทำให้ความกังวลเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยน้อยลง และจะส่ง
ผลให้มีการโยกเงินลงทุนจากตราสารหนี้กลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอีกครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม หากจีนปรับเพิ่มค่าเงินหยวนเพียงเล็กน้อยหรือออกมาตรการเพื่อลดแรงกดดันจากต่าง
ประเทศ (ทางเลือกนี้มีความเป็นไปได้สูงมาก) เช่น การขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากจีนจะไม่สามารถปรับเพิ่มค่าเงินหยวนได้มากๆ เพื่อปกป้องภาคส่งออกของจีน ดังนั้น GDP ของจีนอาจปรับลดลงไม่มากและอาจทำให้ปัญหาการขาดดุลการค้าของประเทศตะวันตกไม่ลดลงมากตามที่ต้องการ นอกจากนั้น ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอาจปรับตัวลงมาแค่ระดับหนึ่งเท่านั้นถ้า GDP ของจีนไม่ลดลงมาก ทำให้ความต้องการน้ำมันของจีนยังสูงอยู่จนอาจเกิดความผันผวนในตลาดน้ำมันโลก และตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราอีกครั้งได้เพราะความไม่ชัดเจนในทิศทางของเศรษฐกิจจีนค่าเงินหยวน
เราคาดว่าจีนมีแนวโน้มที่จะใช้กลยุทธ์เดียวกันกับกลยุทธ์ของญี่ปุ่นในอดีต คือ การย้ายฐานการผลิตบาง
ส่วนออกจากประเทศจีนไปยังประเทศที่มีสิทธิพิเศษทางภาษี เช่น ประเทศที่มี FTA กับ EU หรือ สหรัฐ หรือประเทศที่สามารถส่งสินค้าออกได้โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาค่าเงินมากนัก เราคาดว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูงพอที่จะได้รับประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตของจีนในอนาคตอันใกล้นี้ถ้าหากค่าเงินบาทมีเสถียรภาพสูงเพียงพอ
ผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มต่างๆ ถ้าหากจีนปรับเพิ่มค่าเงินหยวน
หากจีนปรับเพิ่มค่าเงินหยวน ผลกระทบทั้งในเชิงบวกและลบต่อหุ้นในกลุ่มต่างๆ น่าจะเป็นดังต่อไปนี้

ผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มส่งออกและนำเข้า
ความเป็นไปได้ที่ค่าเงินหยวนจะมีการแข็งค่ามากกว่าเมื่อเทียบกับเงินบาทมีสูงภายหลังการปรับเพิ่มค่า
เงินหยวนเพราะจีนยังได้เปรียบดุลการค้ากับไทยอยู่เนื่องจากจีนมีสถานะทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่าไทยมาก นอกจากนั้น เงินบาทของไทยในปัจจุบันน่าจะอยู่ในจุดที่ใกล้เคียงหรือเหมาะสมกับเศรษฐกิจไทยอยู่แล้ว เราคาดว่าบริษัทที่มีสินทรัพย์ในจีน เช่น กลุ่ม CP น่าจะได้รับผลบวกจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าของสินทรัพย์ในจีนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนในกรณีที่ค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินบาท ธุรกิจที่มีการส่งออกไปยังประเทศจีนจะได้รับผลดี และถึงแม้ว่าการแข็งค่าขึ้นของเงินหยวนจะทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงจนอาจส่งผลให้ความต้องการบริโภคในจีนชะลอตัวลงในเวลาต่อมา แต่ขนาดของเศรษฐกิจของจีนที่ใหญ่มากจะทำให้การส่งออกสินค้าเกษตรไปยังจีนไม่น่าจะได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในระยะสั้น ในขณะที่ บริษัทผู้นำเข้าวัตถุดิบจากจีนน่าจะได้รับผลดีถ้าหากค่าเงินหยวนแข็งขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินบาท
เรามองว่าถ้าหากจีนมีการปรับเพิ่มค่าเงินหยวนมากๆ จนมีการเก็งกำไรค่าเงินบาทตาม หุ้นที่เกี่ยวกับการส่งออกไปยังสหรัฐ เช่น กลุ่มชิ้นส่วนอิเลคโทรนิคส์ (Electronic Component) อาจจะมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบในทางลบมากขึ้น เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจากการเก็งกำไรจะส่งผลให้บริษัทที่ส่งออกไปยังสหรัฐมีความเสียเปรียบในแง่ของราคาสินค้าที่เป็นเงินสกุลดอลลาร์สูงขึ้น ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการส่งออกไปยังสหรัฐลดลงได้เนื่องจากสหรัฐเป็นตลาดส่งออกของไทยที่ใหญ่กว่าจีนมาก อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าถ้าหากค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ไม่แข็งขึ้นมากเนื่องจากแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐที่จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นจะหักล้างผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าเงินหยวนได้ ในกรณีนี้ การส่งออกไปยังสหรัฐอาจจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ เลยก็ได้
เราคาดว่า กลุ่มผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า (Electrical Product) ที่มีฐานลูกค้าในประทศจะได้รับผล
บวกมากกว่า เนื่องจากราคาเครื่องใช้ไฟฟ้านำเข้าจากประเทศจีนจะสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลบวกจากค่าเงินดังกล่าวอาจไม่มากนักเนื่องจากจีนยังคงความได้เปรียบจากค่าแรงที่ต่ำกว่าไทยอยู่ นอกจากนั้น เราคาดว่าจีนอาจเพียงปรับให้ค่าเงินหยวนมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงกว้างมากขึ้นในระดับหนึ่งเท่านั้นเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของจีนมากเกินไปจนทำให้เศรษฐกิจจีนเกิด Hard Landing
แนวโน้มของการกีดกันทางการค้าของจีนน่าจะทำให้จีนจำเป็นต้องย้ายฐานการผลิตบางส่วนอออกนอก
ประเทศเพื่อรักษาการขยายตัวของธุรกิจ ดังนั้น ความเป็นไปได้ที่ผู้ผลิตจีนจะเข้ามาซื้อหรือร่วมทุนกับบริษัทที่เป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยจึงมีสูงมากในอนาคตอันใกล้

ผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มหลักทรัพย์
การไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศเพื่อเก็งกำไรค่าเงินบาทอาจส่งผลให้เงินเหล่านั้นไหลเข้ามาใน
ตลาดหุ้นด้วยจนอาจทำให้มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ของตลท.สูงขึ้นในระยะสั้นๆ ซึ่งจะทำให้รายได้ค่านายหน้าฯของโบรกเกอร์กระเตื้องขึ้นในช่วงนั้น การไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศยังจะทำให้ราคาหุ้นในตลท.ปรับเพิ่มขึ้นจนทำให้กำไรจากพอร์ทโบรกเกอร์กระเตื้องขึ้นในระยะสั้นด้วย
อย่างไรก็ตาม การไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้นดังกล่าวอาจไม่มากนักเนื่องจากค่าเงินบาทที่ระดับใน
ปัจจุบันน่าจะสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศอยู่แล้ว ดังนั้น การเก็งกำไรค่าเงินบาทที่เกินปัจจัยพื้นฐานมากๆ น่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้นๆ เท่านั้น ดังนั้น การไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศอาจไม่สูงมากหรือไม่นานอย่างที่นักลงทุนคาดการณ์ไว้ก็ได้

ผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มธนาคาร บริษัทเงินทุน และ Non-Bank
เรามองว่าผลกระทบโดยตรงจากการปรับเพิ่มค่าเงินหยวนต่อหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินคงไม่มาก โดยผลกระทบน่าจะเกิดกับหุ้นในกลุ่ม Commodity มากกว่า แต่ผลกระทบน่าจะเกิดทางอ้อมจากสภาพคล่องที่สูงขึ้นจากการไหลเข้าเงินทุนจากต่างประเทศเพื่อเก็งกำไรค่าเงินบาทซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในประเทศอาจไม่สามารถปรับขึ้นได้ในระยะสั้นและอาจทำให้อัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ระยะสั้นบางตัวปรับตัวลงในระยะสั้นๆได้ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนดอกเบี้ยของสถาบันการเงินต่างๆ ลดลงในช่วงสั้นๆ
ประเด็นที่สำคัญกว่าน่าจะอยู่ที่การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีนซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับ
ตัวลงจนทำให้ราคาน้ำมันภายในประเทศปรับตัวลงตาม และจะทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจดีขึ้นจนส่งผลให้สินเชื่อประเภทต่างๆ ยังคงมีการเติบโตตามเป้าหมายเดิมได้ภายในช่วงที่เหลือของปี 48 นี้
หากมองในแง่ของ Fund Flow แล้ว การไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศดังกล่าวยังจะส่งผลให้ราคา
หุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินโดยเฉพาะ BBL, KBANK, SCB และ SCIB มีมูลค่ารวมของราคาตลาดสูง ทำให้มีสภาพคล่องสูงเหมาะกับเงินทุนระยะสั้นจากต่างประเทศที่มีขนาดใหญ่ซึ่งสามารถขายเพื่อเอาเงินออกได้ง่ายกว่าหุ้นที่ไม่มีสภาพคล่อง

ผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มยานยนต์
ถ้าการปรับเพิ่มค่าเงินหยวนส่งผลให้ GDP ของจีนชะลอตัวลง และทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ
(Commodity Price) รวมถึงราคาเหล็กในตลาดโลกปรับตัวลงซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และรถ
ยนต์ลดลงด้วย เนื่องจากเหล็กเป็นวัตถุดิบที่สำคัญที่ใช้ในการผลิตรถยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ ดังนั้น บริษัทที่จะได้รับประโยชน์ ได้แก่ AH, SAT, YNP, KPN และ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบในแง่บวกดังกล่าวอาจไม่สูงนักเนื่อง
จากบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ส่วนหนึ่งจะมีการต่อรองกับลูกค้าผู้ผลิตรถยนต์เพื่อปรับราคาขายชิ้นส่วนรถยนต์ให้สอดคล้องกับต้นทุนเหล็กที่สูงขึ้นอยู่แล้ว ส่วน TKT ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าจะได้รับประโยชน์จากต้นทุนเม็ดพลาสติกที่จะลดลงหลังราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลง
นอกจากนั้น หากค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินบาทจะส่งผลให้ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ที่นำเข้าจากจีนมีราคาสูงขึ้น และน่าจะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ของไทยสูงขึ้น

ผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มปูนซีเมนต์
โดยรวมคาดว่าจะได้รับผลดีจากต้นทุนการผลิตที่ลดลงจากราคาถ่านหินที่คาดว่าจะปรับตัวลดลงตามความ
ต้องการของจีนที่ลดลง โดยราคาถ่านหินที่เพิ่มขึ้นมากในปัจจุบันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ GPM ใน 1Q48 ของผู้ผลิตปูนซิเมนต์บางบริษัทซึ่งทำสัญญาการซื้อถ่านหินล่วงหน้าในราคาต่ำในอดีตหมดลง เช่น TPIPL ปรับลดลง นอกจากนี้ต้นทุนค่าขนส่งที่จะลดลงตามการอ่อนตัวของราคาน้ำมันก็จะช่วยเพิ่มกำไรแก่ผู้ประกอบการได้มากขึ้น ขณะที่ยอดขายส่วนใหญ่เป็นการขายในประเทศซึ่งมีปัจจัยผลักดันความต้องการมาจากโครงการเมกะโปรเจค จึงคาดว่าความสามารถในการทำกำไรของผู้ผลิตจะดีขึ้น ขณะที่ TPIPL อาจได้รับประโยชน์จากการชำระหนี้สกุลดอลล่าร์สหรัฐในปริมาณที่ลดลง หากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐตามการแข็งค่าของค่าเงินหยวน เราจึงมีมุมมองเชิงบวกต่อธุรกิจนี้

ผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มเหล็ก
ราคาเหล็กน่าจะมีการปรับตัวลดลงตามความต้องการที่ลดลงของจีนซึ่งเป็นผู้บริโภคเหล็กรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยทั้งราคาขายและต้นทุนผลิตก็จะมีทิศทางปรับตัวลดลง ซึ่งทิศทางดังกล่าวเป็นทิศทางที่ไม่พึงประสงค์ของผู้
ประกอบการในอุตสาหกรรมเหล็ก เนื่องจากแม้ว่าราคาขายเฉลี่ยที่ลดลงจะถูกชดเชยกับต้นทุนขายที่ลดลงก็ตาม แต่
อำนาจต่อรองกับผู้บริโภคของผู้ผลิตก็จะลดลงมากเช่นกัน ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถมีอัตราการทำกำไรในระดับสูงเช่น
เดียวกับตอนที่ราคาเหล็กปรับตัวสูงขึ้นได้ นอกจากนี้หากการบริหารจัดการวัตถุดิบไม่ดี เช่น ยอดขายน้อยกว่า stock สินค้าที่มี ผู้ผลิตอาจเกิดผลขาดทุนจากสินค้าคงเหลือที่มีระดับราคาลดลงได้ การปรับค่าเงินของจีนจึงจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีต่ออุตสาหกรรมเหล็ก อย่างไรก็ตามเราเชื่อว่าเหล็กที่ใช้ในงานก่อสร้างที่มีเมกะโปรเจคของรัฐบาลรองรับซึ่งส่วนใหญ่เป็นเหล็กเส้น ได้แก่ MS และ BSBM จะได้รับผลกระทบน้อยกว่าผู้ผลิตเหล็กแผ่น เช่น SSI และ NSM ซึ่งไม่มีโครงการขนาดใหญ่ใดๆมารองรับ

ผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มเซรามิค
การปรับค่าเงินของจีนน่าจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายกระเบื้องในทางอ้อม กล่าวคือ 1) ต้นทุนผงสีที่นำเข้าจากจีนจะลดลง 2) ต้นทุนการผลิตอื่นๆเช่น ค่าไฟฟ้า ก็จะลดลงตามต้นทุนพลังงานที่ลดลง 3)
กระเบื้องนำเข้าคุณภาพสูงจากจีนก็จะมีความสามารถในการแข่งขันลดลง อย่างไรก็ตามตลาดกระเบื้องของไทยส่วน
ใหญ่เป็นตลาด replacement และ demand ส่วนใหญ่มาจากหัวเมืองใหญ่ๆในต่างจังหวัดซึ่งเป็นกระเบื้องประเภท
คุณภาพปานกลางถึงล่าง จึงคาดว่าผลกระทบจากค่าเงินของจีนจะส่งผลบวกโดยอ้อมกับอุตสาหกรรมนี้

ผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่ม Residential
ราคาวัสดุก่อสร้างต่างๆ โดยเฉพาะเหล็กจะมีแนวโน้มปรับลดลงตามการชะลอตัวของ GDP จีน ซึ่งจะส่งผลดีต่อต้นทุนก่อสร้างที่อยู่อาศัยภายในประเทศ อย่างไรก็ตามต้นทุนอาจไม่ลดลงมากนักเนื่องจากเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นเหล็กเส้นซึ่งมี demand จากเมกะโปรเจคคอยพยุงราคาอยู่ แต่ผลกระทบทางอ้อมในเชิงลบที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ การตัดสินใจซื้อบ้านช้าลง หากการชะลอเศรษฐกิจของจีนส่งผลถึงความมั่นใจในเศรษฐกิจของไทย
อย่างไรก็ตามเรายังเชื่อว่าเศรษฐกิจของไทยยังจะมีการเจริญเติบโตในระดับดี ต้นทุนการก่อสร้างที่ลดลงจึงจะเป็น
ผลดีต่อผู้ประกอบการภายในประเทศโดยรวม

ผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง
ต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่คาดว่าจะปรับตัวลงจะเป็นปัจจัยส่งเสริมผลประกอบการของผู้รับเหมาโดยรวม โดย
เฉพาะหากราคาเหล็กปรับลดลง เนื่องจากในปัจจุบันผู้ประกอบการต่างประเมินราคาเหล็กที่ใช้ในการประมูลงานใน
ราคาที่สูงกว่าราคาตลาด หากราคาเหล็กปรับตัวลดลง GPM ของผู้ที่ชนะการประมูลใหม่ๆเป็นจำนวนมาก เช่น
STEC, PLE, CK หรือ ITD จะได้รับประโยชน์มากกว่าผู้ที่ยังมีปัญหาในการประมูล เช่น NWR ขณะที่โครงการเดิมๆที่ขาดทุนอยู่อาจกลับมามีกำไรได้อีกครั้ง นอกจากนี้ราคาน้ำมันที่คาดว่าจะมีการปรับตัวลง ยังจะส่งผลให้ต้นทุนพลังงาน
สำหรับเครื่องจักรและต้นทุนค่าขนส่งซึ่งเป็นต้นทุนขายที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งปรับตัวลดลงอีกด้วย เราจึงประเมินว่า
contractor ต่างจะได้รับผลดีจากการณ์นี้

ผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม
นิคมอุตสาหกรรมโดยรวมคาดว่าจะได้รับผลดีจากการไหลเข้าของเงินลงทุนที่เปลี่ยนฐานการลงทุนจากจีนมายังไทย โดยเฉพาะเงินทุนจากญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในไทยอยู่แล้ว จึงคาดว่าปริมาณการขายที่ดินรวมทั้งรายได้ค่าสาธารณูปโภคที่จะเพิ่มขึ้นตามจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่เข้ามาตั้งใหม่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง นอกจากนี้ต้นทุนค่าพัฒนาที่ดินก็อาจลดลงจากราคาวัสดุก่อสร้างที่ลดลง ขณะที่ต้นทุนที่ดินยังคงเดิม ส่งผลให้คาดว่า GPM จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงคาดว่านิคมอุตสาหกรรมจะเป็นอีกธุรกิจที่ได้รับผลดี

ผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มเดินเรือ
บนสมมุติฐานการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน เราเชื่อว่าปริมาณความต้องการขนส่งสินค้าไปยังจีนซึ่งเป็น
ตลาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลกจะลดลง อัตราค่าระวางเรือในตลาดจร (Spot price) จึงมีโอกาสปรับตัวลดลงในระยะสั้น เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นใน 4Q47 ช่วงที่จีนพยายามลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามในระยะกลางถึงยาวหากเศรษฐกิจจีนยังเติบโตในระดับสูงคือมากกว่า 8% เชื่อว่าอัตราค่าระวางในตลาด spot มีโอกาสปรับตัวขึ้นอีกครั้ง การที่ทั้ง PSL และ TTA ต่างพยายามทำสัญญาให้เช่าเรือแบบระยะยาว ทำให้ผลประกอบการจะยังคงเติบโตดีในระยะสั้น (6-12 เดือน) สวนทางกับอัตราค่าระวางในตลาด spot ที่จะผันผวน เราจึงเห็นเป็นโอกาสที่ดีที่จะเข้าลงทุนในหุ้นกลุ่มเดินเรือหากราคาหุ้นปรับตัวลงมากจากการเปลี่ยนแปลงของจีนในครั้งนี้

ผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มสายการบิน
หุ้นในกลุ่มสายการบินคาดว่าจะได้ benefit จากต้นทุนน้ำมัน jet ที่ซื้อขายในสกุลดอลลาร์จะปรับลด
ลง และอาจจะได้รับอานิสงส์จากการที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลงหลังอุปสงค์ในจีนที่คาดว่าจะชะลอตัวลงหลังค่าเงินหยวนแข็งค่าขึ้น ขณะที่หนี้สกุลดอลลาร์ที่จะลดน้อยลงในเชิงมูลค่าหากเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับ U.S.$ อาจจะไม่ส่งผลดีต่อ THAI มากนักเนื่องจาก THAI ใช้นโยบาย hedging ในการบริหารต้นทุนและรายได้ให้ matching กันสำหรับค่าเงินสกุลต่างๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันผลกระทบจากควมผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีต่อหนี้ระยะยาวและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัท

ผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน และปิโตรเคมี
ความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวลงของระบบเศรษฐกิจจีนคาดว่าจะส่งกระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุน
โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มที่อุปสงค์เติบโตขึ้นจากแรงผลักดันของการเติบโตของระบบเศรษฐกิจจีน ซึ่งได้แก่ สินค้า
Commodity อย่างเช่น น้ำมัน และสินค้าปิโตรเคมี
หากเศรษฐกิจจีนเริ่มมีการส่งสัญญาณว่าจะมีการชะลอตัวลง เราคาดว่าในระยะสั้นราคาน้ำมันจะอ่อนตัว
ลงอย่างรวดเร็วจากเหตุผล 2 ประการ คือ
1) ความกังวลเกี่ยวกับความเพียงพอของอุปทานน้ำมันดิบจะเริ่มกลับทิศ โดยมีตัวเลขปริมาณสต็อกน้ำมัน
ดิบใน US ที่เพิ่มขึ้น จนอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี และการเริ่มเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ซึ่งปกติอุปสงค์ในน้ำมันจะเริ่ม
อ่อนตัวลงเป็นตัวสนับสนุน
2) การถือ position ของ Hedge Fund ในตลาดน้ำมัน จะเริ่มกลับทิศจาก Long เป็น Short
Position ทำให้อุปสงค์เทียมที่เคยมี อยู่เป็นจำนวนมากในตลาดน้ำมันหายไปจากตลาดอย่างรวดเร็ว

สำหรับหุ้นในกลุ่มพลังงาน อาจแบ่งแยกพิจารณาผลกระทบได้ดังนี้.-

หุ้นในกลุ่มพลังงงาน

กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันโดยตรง PTT PTTEP BCP/BCP-DR1 TOP RPC
ผลกระทบ
ระยะสั้น : คาดว่าจะมี Panic Sell จากความกังวลเกี่ยวกับราคาผลิตภัณฑ์ที่ปรับลดลง / ขาดทุนจาก stock น้ำมัน
อย่างไรก็ตาม โดยข้อเท็จจริงแล้วเราเห็นว่าผลกระทบจากการปรับตัวลงของราคาน้ำมันจะไม่กระทบผลประกอบการของหุ้นกลุ่มนี้อย่างรวดเร็วเท่าใดนัก(ยกเว้น BCP/BCP-DR1 ซึ่งที่ผ่านมากำไรจากสต็อกน้ำมันเป็นส่วนสำคัญของผลการดำเนินงานที่ปรับตัวดีขึ้น) เช่น PTTEP ผลิตภัณฑ์ 60% เป็นก๊าซธรรมชาติที่ราคาปรับช้ากว่าน้ำมันถึง 6 เดือน ส่วนโรงกลั่นอย่าง TOP และ RPC เชื่อว่ากำลังการกลั่นในภูมิภาคที่ยังตึงตัว และ Demand ในตลาดน้ำมันสำเร็จรูปที่ยังไม่น่าจะลดได้มากเท่าตลาดน้ำมันดิบ(มีการเก็งกำไรอยู่ด้วย) จะทำให้ค่าการกลั่นยังอยู่ในระดับสูงอยู่(ปัจจุบันการใช้กำลังการกลั่นโลกสูงกว่า 90%) ทั้งนี้ หากราคาน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวลงช้ากว่าราคาน้ำมันดิบจะส่งผลให้ค่าการกลั่นสูงขึ้น ส่วน PTT ซึ่งมี EBITDA 92% มาจาก PTTEP และกลุ่มธุรกิจก๊าซจะทำให้รายได้สัดส่วนใหญ่ยังค่อนข้าง Secure แต่อาจได้รับผลกระทบจากรายได้ของบริษัทย่อยในกลุ่มปิโตรเคมี รวมทั้ง TPI ในอนาคต

กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันทางอ้อม PICNILANNA, BANPU
ผลกระทบ
ระยะสั้นราคาผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงตาม อาจทำให้มีการขายทำกำไรออกมาด้วยเช่นกัน

กลุ่มที่ไม่เกี่ยวพันกับน้ำมัน ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า EGCOMP RATCH GLOW
ผลกระทบ
ผลประกอบการของกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าไม่ถูกกระทบยกเว้น GLOW ซึ่งอาจได้ประโยชน์บ้างในส่วนของต้นทุนเชื้อเพลิงถ่านหินและค่าขนส่งที่อาจชะลอตัวลง โดยเดิม GLOW มีโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ภาระต้นทุนถ่านหินและค่าขนส่งที่สูงขึ้นไม่สามารถผลักภาระได้ถึง 100% ให้กับลูกค้าที่เป็นผู้ใช้ไฟ

สำหรับหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมี เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่เราคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการปรับค่าเงินหยวน และความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลงค่อนข้างมาก เนื่องจาก
1) การปรับค่าเงินหยวนจะทำให้ความสามารถในการแข่งขัน(Competitiveness) ของธุรกิจสิ่งทอจีน ซึ่งเป็นผู้บริโภคสินค้าปิโตรเคมีที่สำคัญปรับตัวลดลง
2) การเติบโตที่ชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีนจะทำให้การบริโภคสินค้าต่างๆลดลง ซึ่งกระทบต่ออุปสงค์ของสินค้าปิโตรเคมี เนื่องจากปิโตรเคมีเป็นวัตถุดิบของการผลิตสินค้าที่หลากหลายในเกือบทุกประเภท (พลาสติก แผ่นยาง ของใช้ในบ้าน ชิ้นส่วน อุปกรณ์รถยนต์ สิ่งทอ เส้นใย ฯลฯ)
ดังนั้น หากมีการปรับค่าเงินหยวน เราเชื่อว่าในระยะสั้นราคาสินค้าปิโตรเคมีจะปรับตัวลดลงค่อนข้างรุนแรงด้วยเช่นกัน สำหรับผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมี อาจแบ่งแยกพิจารณาผลกระทบได้ดังนี้.-

หุ้นในกลุ่มปิโตรเคมี
ผลกระทบ
ปิโตรเคมีขั้นต้น ATC TOC NPC ระยะสั้น : คาดว่าจะมี Panic Sell จากความกังวลเกี่ยวกับราคาผลิตภัณฑ์ที่ปรับลดลง อย่างไรก็ตาม โดยข้อเท็จจริงแล้วเราเห็นว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะขึ้นกับความรุนแรงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งหากการเติบโตชะลอตัวลงจาก 9.5% ใน 1Q48 มาเป็น 7-8% เชื่อว่าอุปทานที่มีจะยังอยู่ในระดับค่อนข้างตึงตัวในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า(ส่วนใหญ่กลุ่มปิโตรเคมีมองการเติบโตของจีนกันอยู่ที่ 7-8% ในการพิจารณาขยายธุรกิจ) ผลกระทบของกลุ่มปิโตรเคมีขั้นต้นยังขึ้นกับการปรับตัวลงของราคาวัตถุดิบที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันดิบด้วย หากวัตถุดิบปรับลงเร็วกว่าอาจช่วยลดผลกระทบได้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะยังไม่สะท้อนออกมาเป็นปัจจัยบวกในช่วงแรก

ปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นปลาย TPC VNT กลุ่มปิโตรเคมีขั้นปลายคาดว่าจะได้รับผลกระทบในทิศทางเดียวกับขั้นต้น แต่ผลกระทบในส่วนของต้นทุนวัตถุดิบขึ้นกับราคาสินค้าปิโตรเคมีขั้นต้น หากปรับลงเร็วกว่าอาจช่วยลดผลกระทบได้ อย่างไร ก็ตาม เชื่อว่าจะยังไม่สะท้อนออกมาเป็นปัจจัยบวกในช่วงแรกเช่นกัน

ปิโตรเคมีที่ครบวงจร TPI ในระยะสั้นผลกระทบอาจมากกว่าตัวอื่นเนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีตั้งแต่ขั้นต้น-ขั้นปลาย และอยู่ในช่วงการปรับตัวของธุรกิจ อย่างไรก็ตาม TPI มีธุรกิจโรงกลั่นอยู่ด้วย ซึ่งเราเชื่อว่าแนวโน้มค่าการกลั่นจะยังแข็ง แกร่งใน 3-4 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการปรับค่าเงินหยวนกับกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีในระยะปานกลาง-ระยะยาวแล้ว เราเชื่อว่าจะต้องพิจารณาจากความรุนแรงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนเป็นสำคัญ หากการปรับเปลี่ยนค่าเงินหยวนเป็นเพียงการแตะเบรกเศรษฐกิจจีนที่ร้อนแรงเกินไปให้เติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไปแทน แต่ยังทำให้เศรษฐกิจจีนมีการเติบโตในอัตราประมาณ 7-8% เชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อทั้งการเติบโตอย่างยั่นยืนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนของอุปสงค์ในสินค้ากลุ่มปิโตรเคมีและน้ำมันในระยะยาวต่อไป

ผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มสื่อสาร
บริษัทที่มีหนี้สินในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ จะได้รับประโยชน์จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เนื่อง
จากบริษัทที่มีหนี้เป็นเงินดอลลาร์เหล่านี้สามารถใช้เงินสกุลบาทแลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ในจำนวนน้อยลง โดยคาดว่าบริษัทที่อาจได้ประโยชน์ดังกล่าว ได้แก่
- JAS มีหนี้สินในรูปเงินสกุลดอลลาร์ ประมาณ 104 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- TT&T มีเงินกู้ยืมระยะยาวในรูปเงินสกุลดอลลาร์กว่า 50% ของหนี้สินทั้งหมด หรือ ประมาณ 310 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- TRUE มีเงินกู้ยืมระยะยาวในรูปเงินสกุลดอลลาร์ ประมาณ 170 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- SATTEL มีเงินกู้ยืมระยะยาวในรูปเงินสกุลดอลลาร์ ประมาณ 390 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นอกจากนี้บริษัทที่มีภาระผูกพันที่จะต้องชำระค่าสินค้าเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และบริษัทที่มีเงินลงทุนเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ อาทิ ADVANC, TRUE, SATTEL ก็อาจได้รับมีผลดีจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์เช่นกัน
สำหรับบริษัทที่มีรายได้อยู่ในรูปเงินสกุลดอลลาร์อาจมีผลกระทบไปในทางลบ อาทิ SATTEL ที่มีสัดส่วน
รายได้อิงกับเงินเหรียญสหรัฐฯ อยู่ประมาณ 90% ของรายได้จากการขายทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม บริษัทในกลุ่มสื่อสารเกือบทั้งหมดที่มีการดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ
โดยเฉพาะสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ได้มีการบริหารความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อลดความ
เสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าว จึงคาดว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นในกรณีที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นน่าจะไม่สูงนัก




 

Create Date : 14 สิงหาคม 2550   
Last Update : 14 สิงหาคม 2550 11:31:49 น.   
Counter : 672 Pageviews.  

What is the Difference Between Gambling and Investing?

What is the Difference Between Gambling and Investing?


"It is generally agreed that casinos should, in the public interest, be inaccessible and expensive. And perhaps the same is true of stock exchanges." - John Maynard Keynes

What is the difference between gambling and investing? In order to differentiate between the two, we should start by defining them. Comparisons are often made between the two activities, but I've never seen the terms explicitly defined. If you're sufficiently motivated, I encourage you to try to define the terms 'gambling' and 'investing' before you continue reading this essay... you may surprise yourself. (Go ahead, I'll wait here for you.)

What definitions did you come up with? Are investing and gambling mutually exclusive, or is there an area of overlap? And are the boundaries clearly delineated, or is there a gray area in the middle?

Let's see what the dictionary says. Here's what the Random House dictionary on my bookshelf says:
"Gamble: To play at any game of chance for stakes. To stake or risk money, or anything of value, on the outcome of something involving chance."
"Invest: To put money to use, by purchase or expenditure, in something offering profitable returns."
Both seem reasonable upon cursory review, but a closer look reveals that they're not terribly helpful. The definition for gambling could apply just as well to investing, and vice-versa.

The Dictionary.com web site says:
"Gamble: To bet on an uncertain outcome, as of a contest. To take a risk in the hope of gaining an advantage or a benefit."
"Invest: To commit money or capital in order to gain a financial return."
Again, the distinction isn't clear. In investing, are you not betting on an uncertain outcome? Are you not taking a risk in the hope of gaining an advantage or benefit? In gambling, are you not committing money? Are you not doing it in order to gain a financial return?

Beyond the Dictionary

OK, so the dictionary definitions aren't very useful. Perhaps if we examine some of the ways in which gambling and investing are generally perceived to differ, we might be able to build definitions from those characteristics.

Perceived distinguishing characteristic: Investing is a good thing, gambling is a bad thing.
I think it would be hard to argue with the claim that investing is, on the balance, a good thing. Investing is widely regarded as the engine that drives capitalism. It tends to put money in the hands of those with the most promising and productive uses for it, and drives the economy gradually upward. Investors aren't merely betting on which companies will succeed, they're providing the capital those companies need to accomplish their goals. The U.S.'s leadership position in technology is largely due to investments by venture capital firms, angel investors and technophilic individual investors. Similarly, you can change the world in a small way by investing in companies you believe in, such as socially or environmentally conscious firms and mutual funds, or biotech companies that are working on diseases that might affect you or someone close to you.

Gambling, on the other hand, is not so clearly making a positive contribution. Gambling does tend to help local economies, but also usually brings with it well-documented unpleasant side effects. I'll leave it up to the reader to decide whether gambling is, on the balance, a plus or a minus. Looking to the financial markets, one could make the case that people who gamble in this realm do serve a function, by adding to the market's depth, liquidity, transparency, and efficiency. But that's of relatively minor value, and those gamblers probably capture most of that value for themselves. On the other hand, they often increase the volatility of the markets, which is on the balance usually a negative (although it does afford savvy investors opportunities for larger profits). As Warren Buffett has said, "Wall Street likes to characterize the proliferation of frenzied financial games as a sophisticated, prosocial activity, facilitating the fine-tuning of a complex economy. But the truth is otherwise: Short-term transactions frequently act as an invisible foot, kicking society in the shins."

The questions of whether gambling is morally wrong and how strictly it should be regulated are important but are well beyond the scope of this essay, and so I'll mention them only in passing. Governments generally frown on gambling (unless, of course, they're getting the lion's share of the profits, such as with state lotteries). Many religions frown on gambling (but they don't seem to mind church bingo). I have no problem with a person being morally opposed to gambling, as long as that person knows exactly what he/she means by 'gambling'.

I should hasten to add that not all types of investing are productive. Buying and holding results in a positive contribution to the economy, but buying and selling quickly, the way day traders do, results in no net contribution. For the purposes of the current investigation, we could either reclassify investing-type activities that aren't productive as gambling, or we could consider these to be exceptions to the rule. I lean toward the latter interpretation.

Perceived distinguishing characteristic: In investing, the odds are in your favor; in gambling, the odds are against you.
Peter Lynch has said that "An investment is simply a gamble in which you've managed to tilt the odds in your favor." But that position is too simplistic. There are plenty of investments where the odds are against you: futures, options, and commodities trading (where you get hurt on commissions and the bid/ask spread), frequent stock trading (for the same reason), and selling short (since the market goes up rather than down in the long run), to name just a few examples. Similarly, while for most types of gambling the odds are against you, it is possible for the odds to be in your favor. I spent one summer during college working in Arizona, and I drove up to Nevada most weekends to play blackjack. By counting cards, I was able to obtain a small but predictable advantage over the house, about 1.5% per betting unit on average. (I haven't returned since then, for several reasons: it's not intellectually challenging; while card counting is not illegal, Vegas casinos can make you leave if they suspect you of doing it; and I've found it easier and more enjoyable to make money in stocks than in blackjack.) Expert poker players can also make money at casinos, because their competition is other players rather than the house, and as long as the house takes its cut it doesn't care how the rest of the money is redistributed among the players.

There are additional problems with this attempted characterization of gambling as a losing bet and investing as a winning bet. It implies that a given activity switches from gambling to investing (or vice versa) as soon as the odds swing past the breakeven point. Similarly, if two players are participating in an activity in which one has an advantage over the other, it would mean that one person is gambling and the other is investing. That would imply that institutions which get in on IPOs at the offering price would be investors, and the little folks that those institutions immediately flip the shares to for a profit would be gamblers. Furthermore, while it's possible to calculate exact odds for some casino games, this is rarely the case on Wall Street. How can you know for sure whether the odds are for or against you if you decide to buy a particular stock today?

What about venture capital investments, you say? Aren't the odds stacked against them? Yes, the majority of venture capital investments result in loss, often a total loss of the amount invested. However, venture funds typically yield higher returns than stocks because a small percentage of the firm's investments are home runs, more than making up for complete losses on other investments. So while venture capital might seem like gambling in that the odds are against the VC firms on any given bet, on average the expected payoff is positive, so the odds in the long run are actually in their favor.

Perceived distinguishing characteristic: Gambling can be addictive and destructive, but investing can't.
Compulsive gambling has been correctly identified as a problem, and organizations like Gamblers Anonymous are helping people cope with the problem. No similar problem is generally thought to exist in investing. There is no Investors Anonymous, and no one talks about compulsive investors. But while there isn't yet widespread acknowledgement of investing addiction, there will be soon. Marvin Steinberg, executive director of the Connecticut Council on Compulsive Gambling, recently said this about investing addiction: "We don't know the true extent of the problem because hardly anyone identifies it as a gambling problem -- they see it as a 'financial problem' or an 'investing problem.' " Many online investors who claim to be buy-and-hold investors check their portfolios on a daily or hourly basis, and jump in and out of stocks more often than they realize. Active trading can be expensive, both in terms of the commissions and bid/ask spreads and in terms of emotional fatigue. Also, some people invest more aggressively than they should, which is virtually identical to gamblers who bet more money than they can afford to lose. This page provides a list of questions to help a person determine if he/she might be a compulsive gambler. Replace the word 'gambler' with 'investor' for each question and the questionnaire is equally useful, but for a different purpose.

Perceived distinguishing characteristic: Gambling is entertainment, investing is business.
As Brad Hill has said, "Global financial markets represent the greatest spectator sport humanity has ever devised. It has planetary reach, a multitude of local competitive arenas, volumes of statistics, star players, and -- best of all -- anyone can move between the domains of observer and participant, fan and player. If you squint just right, the steadfast newscasters of CNBC appear to be play-by-play announcers, calling the game for U.S. fans. And do financial sections of newspapers differ from sports sections in their presentation of story, data, and personality? Not essentially." While the 'gambling as entertainment, investing as business' dichotomy may have been clear in the past, the line is being blurred. The internet has enabled online brokerages and other financial web sites to revolutionize retail investing, which on the balance is a tremendous benefit to both individual investors and the economy in general. However, the widespread accessibility of cheap online trades has also attracted some people who enjoy betting and view online trading as a new form of entertainment. The major factors accelerating this trend are that gambling is strictly regulated and not ubiquitous, and that the odds are usually better in investing than in gambling.

Chris Anderson, executive director of the Illinois Council on Problem and Compulsive Gambling, has said that compulsive gambling isn't really about making money, it's about "action", and the lure of the big win. While I'm not a neuroscientist, I suspect that the chemical changes that occur in the brains of compulsive gamblers and compulsive day traders are similar, since they're both riding on the same emotional roller coaster of wins and losses. Similarly, while some people who invest in high-tech stocks do it for the potential returns, others do it because of the rush they get from the tremendous volatility. It feels right to classify the latter group as gamblers rather than investors.

I don't mean to imply that I think it's acceptable to gamble for entertainment but not to invest for entertainment. I think both are equally acceptable, provided the person enjoys the activity (as opposed to feeling a compulsion to participate) and provided the person uses only money he/she can afford to lose. But I'm probably not the best person to make a judgment on this question, because I've never found either gambling or investing to be entertaining... my goal has always been value creation rather than enjoyment, and I place bets only where the odds are most heavily in my favor, not where I expect to find the most excitement.

Perceived distinguishing characteristic: Investing is saving for specific goals, such as retirement, while gambling isn't.
Many people regard investing as a planned strategy of wealth-building for specific future goals. And this is certainly true of some types of investing. But this is largely a by-product of having the odds in one's favor. If you have the edge (whether in blackjack or in equities), time and the laws of probability are a powerful combination. Gambling would work just as well as investing for financial event planning if gambling games were in your favor.

Perceived distinguishing characteristic: Investors are risk-averse, while gamblers are risk-seekers.
Risk-taking is intrinsic to both gambling and investing. There are a few investments that don't entail risk, such as fixed annuities and government bonds held to maturity, but even those have inflation risk. The major difference between the two groups seems to be the participant's relative willingness to accept risk. Investors tend to avoid risk unless adequately compensated for taking it, but gamblers don't. To put it another way, investors take only the risks they should take, while gamblers also take some risks they shouldn't take. Would you rather have $50 or a 50/50 chance at $100? If you take the $50, you're an investor. If you go for all or nothing, you're a gambler. Would you rather put your money under your mattress or in an extremely volatile stock that could go bankrupt or could double in value? The question is slightly different, but the answer is equally instructive. If you expect to double your money quickly, whatever you're doing is probably gambling, even if it happens on Wall Street rather than in Las Vegas.

However, this characterization of gamblers as risk-takers applies only to non-professional gamblers, people who visit Atlantic City for a weekend for entertainment purposes. Professional gamblers who have managed to tip the odds in their favor behave more like investors, shying away from risk unless the reward is sufficient to justify taking the chance. In fact, one could make the argument that investors generally take on more risk than professional gamblers, because of the uncertainly inherent in the financial markets. As I mentioned before, it's difficult for investors to calculate how much of an advantage they have, but the odds of a given gambling strategy can be known either precisely or at least approximately.

Perceived distinguishing characteristic: Investing is a continuous process; gambling is an immediate event or series of events.
This rule does seem to hold in most cases. Investing is a continuous process of deployment of capital in search of continually increasing net worth. As a result, delayed gratification is implied. Gambling is a specific act or series of acts, centered around immediate gratification. In this respect, day trading resembles gambling: the participant gets in, the price moves up or down, and he/she gets out, usually in a matter of minutes. The same could be said of buying with the belief that a stock is about to jump, or buying IPO shares with the intention of flipping them in a few hours or days, or buying options which are close to expiration. On the other hand, buying in the belief that a stock's price will eventually reflect its value, with the plan of holding as long as it takes for this to happen, is more like investing.

Perceived distinguishing characteristic: Investing is the ownership of something tangible; gambling isn't.
The latter half of the statement is certainly true, but the former half is only sometimes true. Some investments involve the ownership of something tangible, but many don't. For example, derivatives are investments 'derived' from other investments. An option is a derivative that gives the owner the right to buy or sell a specific amount of a given security at a specified price during a specified period of time. Options are generally classified as investing rather than gambling, and rightly so, but they do not represent ownership of anything tangible. However, when you realize that an option is essentially a bet that a given security will or won't be above a certain price on or by a certain date, it starts to feel more like gambling than investing.

An even more strict definition of investing would require that it involves the purchase of an asset which either produces a stream of income or can be made to produce a stream of income. But this definition would eliminate such assets as collectibles, stamps, art, and gold, which have no intrinsic value. I don't think it makes sense to exclude them simply on this basis. We might choose not to consider them investments because of their poor long-term performance, but we shouldn't choose not to consider them investments simply because they won't ever produce a stream of income.

Perceived distinguishing characteristic: Investing is based on skill and requires the use of a system based on research, while gambling is based on luck and emotions.
A lot of so-called investors don't do nearly as much research as they should. Many buy on tips or rumors, or based on some analyst's price target, without doing their own exhaustive research. It feels right to call such behavior gambling. Similarly, investors who are making decisions based on emotions (especially greed and fear), rather than remaining emotionally detached and sticking with their strategy, are to some extent gambling.

On the other side of the coin, some gamblers do serious research, often paying hundreds of dollars a month for real time data on what the current lines are (for example, on //www.scoresandodds.com or //www.vegasinsider.com). Professional sports investors devote 12 hours a day, every day, to handicapping sports. They read dozens of newspapers, subscribe to line services, maintain inside contacts, and have years of experience, usually on both sides of the betting counter. These professionals keep their emotions away from the decision-making process. Once they have a system that works for them, they don't second-guess it, focusing on long-term profits instead of day-to-day performance. Also, they concentrate on the areas in which they achieve maximum results. Many professionals bet only on one sport, which bears more than a superficial resemblance to Warren Buffett's idea of staying within one's "circle of competence".

While investing and gambling probably initially appear to be worlds apart, the above attempts at differentiation revealed that the actual differences are smaller than the perceived differences, and that there is a significant gray area in the middle. Based on the above characterizations, it is clear that the appropriate classification isn't wholly dependent on the activity, but also on the way in which the activity is conducted. There's a big difference between buying a stock after thoroughly researching it and buying a stock by hitting it on a dartboard. This is true even if the same stock happens to be chosen. Similarly, there's a big difference between buying exotic derivatives to hedge against an existing risk or position and buying the same derivatives because you saw a web site touting them. As a final example, there's a big difference between buying a government bond in order to collect the interest it earns and buying the same bond in the belief that interest rates are about to drop and the bond's value will skyrocket.

One interesting thing to note is the pattern of exceptions to the attempted characterizations. Most of the exceptions were people who were doing investing-related things but weren't behaving like investors, or people who were doing gambling-related things but weren't behaving like gamblers. Of the four groups, recreational investors, professional investors, recreational gamblers, professional gamblers, there are more similarities between the two recreational groups and between the two professional groups than between the two investing groups and between the two gambling groups. Specifically, those who use a rigorous system, do research, tilt the odds in their favor, treat it as a business rather than as entertainment, avoid addiction, and keep their emotions in check tend to behaving like investors, and those who don't tend to be behaving like gamblers. It might not be such a stretch to call professional gamblers 'investors' and recreational investors 'gamblers'.

A Third Option: Speculating

Another possibility is that the two terms 'gambling' and 'investing' aren't sufficient to cover the entire range of activities under consideration. A third term, 'speculating', is often used to straddle the two, specifically to handle activities that would ordinarily be considered investing but are done in a way that make them feel more like gambling.

In The General Theory of Employment, Interest, and Money, John Maynard Keynes defined speculation as "the activity of forecasting the psychology of the market", and speculative motive as "the object of securing profit from knowing better than the market with the future will bring." Many people consider billionaire George Soros to be an investor, but he prefers the term speculator. In fact, he has said that "an investment is a speculation that has gone wrong." What he means by this is that, among speculators, an 'investment' is the name they give to a speculation that didn't work out the way they expected and that left them stuck with a position they hope will improve with time. Soros and other speculators make their predictions partially based on market psychology, and in this respect their behavior fits perfectly with the Keynes' definition of speculation. But there is much more to speculating than just interpreting market psychology, and this definition isn't sufficiently distinct from the ones we formulated for gambling and investing in the above section.

According to the dictionary on my bookshelf, speculation is "the engagement in business transactions involving considerable risk for the chance of large gains." By this definition, the entire distinction rests on the degree of risk and size of potential gains. In support of this definition, bond rating agencies commonly use the term "speculative" to refer to high-risk bonds (those rated below BBB by S&P or Baa by Moody's).

In their book Investments, Zvi Bodie, Alex Kane, and Alan Marcus argue that "a gamble is the assumption of risk for no purpose but enjoyment of the risk itself, whereas speculation is undertaken in spite of the risk involved because one perceives a favorable risk-return trade-off." But this is too simplistic... no one would play casino games if the only possible outcomes were either breaking even or losing; the rush they experience comes from the possibility of winning and not merely from the taking of risk. They continue: "To turn a gamble into a speculative prospect requires an adequate risk premium for compensation to risk-averse investors for the risks that they bear. Hence risk aversion and speculation are not inconsistent." This part I agree with. In fact, whether they realize it or not, their definition reclassifies gambling as speculation when the odds can be sufficiently tipped in the player's favor, such as in professional blackjack or poker, which fits in nicely with argument made in the previous section.

Zvi Bodie et al appear to be saying that in order to be speculating rather than gambling, the person must not take greater risks than are justified by the potential reward. Others say that in order to be speculating rather than investing the person must be taking greater risks than are justified by the potential reward. For example, in Benjamin Graham and David Dodd's classic Security Analysis, they argue that "an investment operation is one which upon thorough analysis promises safety of principal and an adequate return. Operations not meeting these requirements are speculative." Both positions are defensible. But perhaps a better interpretation would rest on the realization that different investors have different tolerances for risk. Perhaps speculators are those who are risk-neutral, while gamblers are risk-seekers and investors are risk-averse. While adding the term 'speculation' to the mix might have some value, it probably adds more confusion than clarification, so I prefer to leave it out and focus on just 'gambling' and 'investing'.

Conslusions

So what's my resolution to this definition conundrum? Well, the purpose of words is to communicate concepts. So it doesn't really matter what definitions you use, as long as you and the person(s) you're communicating with are clear about what is meant by those words. And even more importantly, as long as you know what you're doing, investing or gambling, before you do it.

But with that said, it would be beneficial if everyone could agree on what the terms mean, so we don't need to make our definitions explicit every time we want to use them. To this end, I offer the following definitions, which are built from the various characterizations in the above section:

Investing - "Any activity in which money is put at risk for the purpose of making a profit, and which is characterized by some or most of the following (in approximately descending order of importance): sufficient research has been conducted; the odds are favorable; the behavior is risk-averse; a systematic approach is being taken; emotions such as greed and fear play no role; the activity is ongoing and done as part of a long-term plan; the activity is not motivated solely by entertainment or compulsion; ownership of something tangible is involved; a net positive economic effect results."

Gambling - "Any activity in which money is put at risk for the purpose of making a profit, and which is characterized by some or most of the following (in approximately descending order of importance): little or no research has been conducted; the odds are unfavorable; the behavior is risk-seeking; an unsystematic approach is being taken; emotions such as greed and fear play a role; the activity is a discrete event or series of discrete events not done as part of a long-term plan; the activity is significantly motivated by entertainment or compulsion; ownership of something tangible is not involved; no net economic effect results."

Speculating - I would prefer to avoid this term entirely, but if necessary I would define it as "Investing or gambling characterized by a high degree of risk and a high potential for reward."

Are you disappointed that I didn't crystallize the essence of gambling and investing into a single distinguishing feature? Did I merely sidestep the ambiguity, and sweep the gray areas and the important exceptions under the rug? I don't think so. The taxonomy doesn't have to be completely distinct in order to be useful, nor does it need to be just a single feature. And just because some of the characterizations had exceptions doesn't mean they should be thrown out entirely. Nearly everyone agrees that the concept of 'chair' is a useful one, even though it's difficult to define exactly what the necessary and sufficient characteristics of a chair are.

Why Does it Matter?
Lawmakers and regulatory bodies need to be clear on what the terms mean, so they understand the scope of their legislation and regulation, regarding prohibited behavior, adequate disclosure, participant protection and similar issues. In general, I'm in favor of less regulation and more disclosure for both activities described as gambling and those described as investing, but I'm no expert on the subject and a thorough discussion is beyond the scope of this essay.
Everyone needs to realize how easy the internet makes it to gamble under the guise of investing. When people use generic terms without ever specifying what they mean, it's easy for those terms to gradually change in meaning, and I think that's exactly what the internet is causing to happen. I don't mean to imply that the internet's democratization of investing is a bad thing. In fact, I think it's the one of the most important developments in the history of investing. My hope in pointing this out is to awaken those individuals who are acting like gamblers but who think they're acting like investors.
Investing addiction is as serious as gambling addiction, and should be treated as such. If more people start to view buying and selling stocks online as a way to get the betting rush that previously required a trip to a casino, is there any reason to think the same negative consequences that follow gambling won't also follow investing? Perhaps investing addiction is not getting the attention it deserves because most people are attaching to it all the positive connotations of investing and none of the negative connotations of gambling.
Those who have ethical problems or religious issues with gambling (or even investing) owe it to themselves to figure out exactly what they object to and why. As I mentioned, I have no such ethical problems with either gambling or investing, but again, this discussion is beyond the scope of this essay.
I'll leave it to Benjamin Graham to further emphasize why such clarity is essential. In The Intelligent Investor he said: "The distinction between investment and speculation in common stocks has always been a useful one and its disappearance is a cause for concern. We have often said that Wall Street as an institution would be well advised to reinstate this distinction and to emphasize it in all dealings with the public. Otherwise the stock exchanges may some day be blamed for heavy speculative losses, which those who suffered them had not been properly warned against." He continues: "Outright speculation is neither illegal, immoral, nor (for most people) fattening to the pocketbook . . . There is intelligent speculation as there is intelligent investing. But there are many ways in which speculation may be unintelligent. Of these the foremost are: (1) speculating when you think you are investing; (2) speculating seriously instead of as a pastime, when you lack proper knowledge and skill for it; and (3) risking more money in speculation than you can afford to lose." I agree completely, and I suspect that his use of the term 'speculating' is very similar to this essay's use of the term 'gambling'.

Special Disclaimer
This essay is not meant to condone gambling, or to suggest that you cash out your portfolio and become a professional blackjack or poker player. Those are tough ways to make money, and were mentioned primarily for illustrative purposes.
We recommend that you get assistance from a professional before doing anything you don't know how to do.
Some of these activities, especially those considered gambling, might not be legal in certain places. Even if you find bets for which the odds are in your favor, we encourage you to make sure your chosen activity is legal before participating.




 

Create Date : 14 สิงหาคม 2550   
Last Update : 14 สิงหาคม 2550 10:58:14 น.   
Counter : 869 Pageviews.  

GAME THEORY

ทฤษฎีเกม ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางทั้ง การทหาร การเมือง เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กลยุทธ์ธุรกิจ การเจรจาต่อรอง หรือแม้แต่หากผู้ใดไม่เข้าใจว่าโจรใต้ทำร้ายผู้บริสุทธิ์ด้วยเหตุใด ทฤษฎีเกม ก็สามารถอธิบายได้ ทฤษฎีเกม สามารถอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ได้ไม่มีสิ้นสุด เป็นวิทยาศาสตร์ที่เป็นจริงพิสูจน์ได้อย่างที่ไม่เคยมี วิชาการด้านใดสามารถอธิบายกระบวนการตัดสินใจของมนุษย์ทำได้มาก่อน

ทฤษฎีเกม ไม่ใช่คณิตศาสตร์ที่ยุ่งยากเลย ไม่ต้องคำนวณเลย เพียงแค่เรียบเรียงนิดหน่อยเพื่อให้ตัดสินใจง่ายขึ้น ไม่ใช่เรื่องเข้าใจยากเลย ความอัจฉริยะของ แนช นั้นทราบดีว่านอกจากคิดเครื่องมืออธิบายพฤติกรรมอันลึกลับของมนุษย์ได้แล้ว ต้องใช้วิธีการง่ายๆ ในการเข้าใจด้วยเพื่อให้มนุษย์สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจของตนได้อย่างง่ายดาย นั่นคือความปราถนาดีที่ แนช มีให้เพื่อนร่วมโลก แนช กล่าวว่า “ในบรรดาผลงานทั้งหมดของเขา ทฤษฎีเกม เป็นเรื่องที่ง่ายที่สุด”

แนช เชื่อว่ามนุษย์ทั่วไปไม่สามารถคิดได้เกินสองหรือสามขั้นเท่านั้น อดีตคนชอบหมากรุกไทยอย่างผมรู้สึกขัดใจนัก เพราะการจะชนะได้นั้นต้องคิดความเป็นไปได้ถึง 6 Scenario เป็นอย่างต่ำ แต่เอาเข้าจริงพอนั่งทบทวนดูพบว่าไม่ถึงสามขั้นอย่าง แนช ว่าจริงๆ ดังนั้นผมขอยกตัวอย่างมาอธิบาย ทฤษฎีเกม ให้เข้าใจง่ายถึงทางเลือกและกระบวนการตัดสินใจในพฤติกรรมมนุษย์อย่างง่ายในตัวอย่างแรกก่อน ครั้งแรกนั้นผมตื่นเต้นจนรู้สึกว่าน่าสนใจมากในครั้งแรกที่รู้จักทฤษฎีเกมในห้องเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ ลองอ่านดูนะครับ

Prisoner’s Dilemma
เกมความลำบากใจของจำเลย
มีผู้ต้องหาสองคนถูกกล่าวหาว่า ฆาตกรรม ตำรวจจับได้ทันควันพร้อมอาวุธปืน แต่ตำรวจไม่มีหลักฐานใดที่จะเอาผิดได้เลยและไม่มีพยานบุคคลด้วย แน่นอนตำรวจทราบว่าผู้ต้องหาเป็นคนร้ายตัวจริงและตำรวจรู้ดีว่าพวกเขาจะให้การอย่างไร มีทางเลือกให้การแค่ไหนและเขาจะมีพฤติกรรมแบบใด ทฤษฎีเกม ตอบสิ่งเหล่านี้ได้

ผู้ต้องหามีสองทางให้เลือกปฏิบัติ คือ “สารภาพ” หรือ “ปฏิเสธ” เท่านั้น แน่นอนผู้ต้องหาทราบดีถึงผลที่ตามมาหากต้องโทษจำคุกสูงสุดเมื่อมีหลักฐานเอาผิดได้ “ฆาตกรรม” ความผิดนั้นอาจต้องโทษจำคุกถึง 20 ปี การสารภาพอาจได้ลดโทษถึงครึ่งหนึ่งเหลือจำคุก 10 ปีก็จริงอยู่ แต่เมื่อไม่มีหลักฐานหากปฏิเสธทางการก็ไม่สามารถเอาผิดได้ นอกจากเอาผิดได้เพียงข้อหามีวุธปืนต้องโทษ 1 ปีเท่านั้น แน่นอนผู้ต้องหาทั้งคู่จึงต้องพร้อมใจพยักหน้าให้กันเลือกวิธีที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุด คือ “ปฏิเสธ” เพราะเงื่อนไขผลตอบแทนที่ดีที่สุดของทั้งคู่มีทางเลือกแค่นั้น มาดูตารางผลตอบแทนกัน
แต่คราวนี้ ตำรวจแยกผู้ต้องหาสอบปากคำทีละคนคนละห้องไม่ให้เห็นหน้ากัน โดยยื่นข้อเสนอว่า หากสารภาพจะกันไว้เป็นพยานไม่ต้องรับโทษ โดยจะลงโทษผู้ต้องหาอีกคนเท่านั้น แน่นอนผู้ต้องหาย่อมเกิดความกังวลในใจถึงความซื่อสัตย์ของเพื่อนที่มีต่อกัน เริ่มรำลึกความหลังที่เคยทำดีให้กันไว้ เพื่อนเรายังจะจำได้หรือไม่และมีอะไรเราทำไม่ดีกับมันแล้วจะทำให้มันคิดว่าเราไม่ซื่อสัตย์กับมันหรือไม่ ธรรมชาติของมนุษย์เชื่อว่าต้องเลือกผลตอบแทนที่ดีที่สุดให้ตน (แต่มีข้อยกเว้นสำหรับคนจิตใจดีรู้จักเสียสละ การเสียสละคือผลตอบแทนที่ดีที่สุดของเขา) ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่าเมื่อเสนอผลตอบแทนที่ดีที่สุดให้ผู้ต้องหาจะทำให้รูปคดีอาจจะคลี่คลาย จะเนื่องด้วยไม่มีสัจจะในหมู่โจรหรืออะไรไม่ทราบ แต่ผลตอบแทนคราวนี้สูงกว่าครั้งแรกมาก ที่ว่าหากไม่สารภาพจะต้องโทษหนึ่งปีจากข้อหาพกพาอาวุธนั้น 1 ปีก็คงลำบากไม่ใช่เล่นแค่คืนเดียวยังไม่อยากติดคุกเลย แต่ครานี้หากสารภาพและซัดทอดเพื่อน ถึงขั้นเป็นอิสระเลยและเมื่อพิจารณาว่าหากเราปฏิเสธแล้วเพื่อนเรามันสารภาพ มันจะได้อิสระแต่เราต้องติดคุกถึงยี่สิบปี!

นี่ก็สองวันแล้วที่ตำรวจแยกขังไม่เจอหน้าเพื่อนรักเลยไม่รู้เป็นตายร้ายดี หรือว่า! ตำรวจปล่อยมันไปแล้ว? แน่นอนผู้ต้องหาทั้งสองต้องเกิดความไม่มั่นใจเพื่อนที่รักกันนักกันหนา อันเนื่องจากผลตอบแทนผกผันที่มากมหาศาลขนาดนั้นและแน่นอนสุดท้ายเขาต้องเลือกการกระทำที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดแก่ตน คือ เลือกที่จะ “สารภาพ” เมื่อดูตารางผลตอบแทนแล้ว การสารภาพเราจะได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดอยู่วันยังค่ำ ไม่ว่าเพื่อนเราจะปฏิเสธหรือสารภาพ นั่นเป็นสาเหตุที่ทำไมตำรวจต้องแยกสอบปากคำและสามารถกันผู้ต้องหาเป็นพยานได้
เมื่อเราดูตารางผลตอบแทนจะเห็นว่า ผลตอบแทนดีที่สุดคือ เลือกที่จะ “สารภาพ” ไม่ว่าเพื่อนเราจะให้การอย่างไรเราก็เป็นอิสระ ตำรวจก็สามารถดำเนินคดีต่อไปได้ แต่ช้าก่อน ตำรวจจะทำอย่างไรเมื่อผู้ต้องหาสารภาพทั้งคู่ เนื่องจากจำเลยเขียนตารางผลตอบแทนทฤษฎีเกมเป็น จะปล่อยไปเลยคงไม่ได้ ตำรวจอาจเพียงบันทึกคำสารภาพทั้งคู่แล้วยื่นฟ้องไปเลย (สมน้ำหน้าโจร) หรือไม่ก็เลือกดำเนินกับคนสารภาพทีหลัง เหตุผลนี้อาจจะทำให้ผู้ต้องหารีบสารภาพก่อนถูกกันไว้เป็นพยานด้วยซ้ำ นี่คือเกมแห่งความลำบากใจของจำเลยเมื่อมีผลตอบแทนผกผันระหว่างกัน

Corporative Game
เกมร่วมมือร่วมใจ
แน่นอนเมื่อชีวิตเป็นเกมและเกมต้องมีทางเลือกเพื่อให้ตนได้ผลตอบแทนมากที่สุด แต่ใช่ว่าเราจะได้ประโยชน์สูงสุดต่อเมื่อผู้อื่นเสียประโยชน์ก็หาใช่ ยังมีการร่วมมือร่วมใจเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่ายเช่นกัน
เกมนี้ไม่มีใครมีทางเลือกที่ดีกว่านี้ได้ ต่างได้ผลตอบแทนที่พอใจมากที่สุด เรียกว่าเป็นจุดสมดุลของ แนช (Nash’s Equilibrium) ซึ่งเราอาจจะได้เห็นนักวิเคราะห์มาใช้อธิบายสถานการณ์ทางเลือกในการเข้าแข่งขันโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่สามในอนาคตเช่นกัน
สมมติสถานการณ์ มีผู้ต้องการใช้บริการ 3G จำนวน 100 เปอร์เซ็นต์ในตลาด แต่ผู้ให้บริการ ก. และผู้ให้บริการ ข. ต่างลังเลที่จะควักเนื้อลงทุนเพิ่มดีหรือไม่ ทั้งที่ศักยภาพในการช่วงชิงลูกค้าของทั้งสองเท่ากัน แต่หากมีใครลงทุนก่อนย่อมได้ฐานลูกค้าไปก่อน จึงเป็นตารางผลตอบแทนดังนี้
แน่นอนผลตอบแทนที่ดีที่สุดจริงๆ คือ คู่แข่งทำอะไรเราต้องทำด้วย ไม่ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งลงทุนโครงข่าย 3G หรือไม่อีกฝ่ายต้องทำอย่างเดียวกัน เกมนี้เป็นเกมแห่งความไว้ใจว่าจะไม่หักหลังกันทำอะไรทำด้วยกันหากคิดไม่ลงทุน

แต่ช้าก่อน เห็นอะไรในตารางผลตอบแทนข้างบนนั่นหรือไม่ หากใครคนหนึ่งลงทุนวางเครือข่าย 3G แต่อีกฝ่ายไม่ลงทุน นั่นจะทำให้ลูกค้าในตลาดทั้งหมดไปตกกับอีกฝ่าย 100 เปอร์เซ็นต์ ทันที เกมนี้จึงต้องไว้ใจกันพอดู แต่การแข่งขันธุรกิจก็เพื่อช่วงชิงผลประโยชน์ ดังนั้นผลตอบแทนที่ดีที่สุดคือ “ต้องลงทุน” ไม่ว่าคู่แข่งเราจะลงทุนหรือไม่ก็ตาม การลงทุนจะทำให้เราไม่มีวันเสียลูกค้าทั้งหมดเลย “นั่นอาจจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทุกค่ายต้องการลงทุน 3G”

Game of Chicken
เกมลักไก่
เกมนี้น่าสนุกดีเพราะสะท้อนสภาวการณ์แข่งขันในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างดี ความจริงประชาชนทั่วไปอาจกำลังถูกปิดหูปิดตาจากกระบวนการสร้างข่าวอะไรบางอย่างซึ่งจะขออธิบายตอนท้าย ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ปัจจุบันเป็นธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์ตลาดอย่างสูงและแน่นอนไม่ต่างอะไรกับสินค้าที่เป็น Mass Product ทั่วไปที่ต้องใช้สื่อในการทำให้ติดตลาด เช่น น้ำอัดลม ถูกลงทุนไปกับการโฆษณาเสียมากกว่ามูลค่าวัตถุดิบ วงการโทรคมนาคมไทยเองก็เช่นกัน เมื่อเราทราบดีว่าการเปิดเสรีให้ผู้ประกอบการไทย (ยังไม่เปิดเสรีให้ต่างชาติ) แข่งขันกันนั้น ย่อมทำให้ผู้ให้บริการแข่งขันกันพัฒนาคุณภาพบริการของตนให้ดีที่สุดและมีราคาที่ถูกที่สุด เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกใช้บริการ ผลประโยชน์สูงสุดก็จะตกแก่ประชาชน ซึ่งจะได้รับบริการที่มีคุณภาพดีที่สุดและราคาถูกที่สุด และเทคโนโลยีโทรคมนาคมทั่วโลกประจักษ์ดีถึงการเป็นส่วนสนับสนุนการพัฒนาความเจริญของประเทศในยุคคลื่นลูกที่สาม แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีโทรคมนาคมเป็นไปอย่างรวดเร็ว หน่วยงานรัฐทั่วโลกไม่อาจปรับตัวได้ทัน จึงทำให้การเติบโตของประเทศเป็นไปได้ชักช้า จึงสิ้นข้อโต้แย้งในการเปิดเสรีกันทั่วโลก มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่ยังไม่เอื้อให้ต่างชาติเข้าแข่งขันร้อยเปอร์เซ็นต์ (คาดว่าคงไม่เปิดให้หรอก) แน่นอนการเปลี่ยนแปลงจากระบบผูกขาดเก่าด้วยหน่วยงานรัฐมาเป็นเอกชนแข่งขันกัน ย่อมเกิดข้อพิพาทขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยดังที่เราทราบกันดีว่าอดีตหน่วยงานรัฐของเรานั้นไม่สามารถแข่งขันได้ แต่หากเปิดให้มีการแข่งขันจริง องค์กรของตนจะต้องล่มสลาย จึงต้องการผูกขาดเช่นเดิมเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงตนต่อไป (โดยไม่ใส่ใจความเจริญของบ้านเมือง) ดังนั้นต้องทำลายกระบวนการแข่งขันเสรี สมมุติว่าระบบการสอบคัดเลือกใช้เกณฑ์ตัดสินสี่ข้อแบ่งเป็นข้อละ 25 คะแนน (เป็นข้อสมมุติไม่เกี่ยวกับเรื่องจริงนะครับ หากพาดพิงขออภัย) คือ สอบวัดไอคิว สอบภาษาอังกฤษ นำเสนอผลงาน สอบสัมภาษณ์ ใครทำคะแนนรวมได้ดีที่สุดจะได้เลื่อนระดับในสายงาน ซึ่งแต่ละสายงานถูกตั้งตำแหน่งพร้อมเงินเดือนเป็นรางวัลไว้รอคนเก่ง 1 ตำแหน่ง

จริงๆ ไม่อยากเข้าข้าง กทช. เพราะข่าวมันนัวเนียไปหมด แต่ตั้งโจทย์สมมติให้ว่า สมมุติ กทช. มาสร้างระบบการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรมจริง และเกิดข่าวโจมตีจากอดีตหน่วยงานรัฐมากมายโดยไม่ตอบโต้ ทำอย่างไรเราจะทราบว่าอะไรคือความจริง ทฤษฎีเกม ตอบเราได้ แน่นอน “การให้ความร่วมมือในเกมร่วมใจ” จึงมิอาจเกิดขึ้นได้ เมื่อผลตอบแทนผกผันเป็น zero sum เหมือนหมากรุก ที่ต้องมีคนแพ้คนชนะ ไม่มีจุดสมดุลของแนช งั้นลองเขียนตารางผลตอบแทนกัน

ให้ผลตอบแทนมีค่า -5, 0, 5 สมมุติว่า หน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม กำหนดนโยบาย เอื้อให้เกิดการแข่งขัน ถือว่าทำหน้าที่สมบูรณ์ ให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดเท่ากับ 5 แต่หาก หน่วยงานกำกับดูแลฯ กำหนดนโยบายไม่เอื้อให้เกิดการแข่งขัน ถือว่าทำหน้าที่ตนไม่สมบูรณ์ ให้ผลตอบแทน 0 หรือสูญเปล่า แต่หาก หน่วยงานกำกับดูแลฯ กำหนดหลักเกณฑ์ ขัดขวางแนวทางการแข่งขันเสรีซะเอง ถือว่าให้คะแนนยอดแย่ติดลบ -5

ในทางกลับกัน อดีตหน่วยงานรัฐ เมื่อพวกเขาผูกขาดถือว่าทำให้ตนได้ผลตอบแทนสูงสุด เท่ากับ 5 จึงเข้าขัดขวางการแข่งขันเสรี แต่หากตนไม่ขยับเขยื้อนม่าเข้าแข่งขันอยู่นิ่งๆ ถือว่า ตายช้าๆ ให้ผลตอบแทนเท่ากับ 0 อาจไม่ได้ไม่เสีย แต่หากเข้าแข่งขันทั้งที่โครงสร้างการทำงานไม่เอื้อทุ่มงบประมาณลงไปโดนทุจริตเสียเปล่าไปเรื่อยจากการลงทุนโครงการ ให้ถือว่าได้ผลตอบแทนแย่สุด ติดลบ -5
เมื่อมองดูตารางผลตอบแทน จะเห็นได้ว่าหากตกลงใจร่วมกันสร้างการแข่งขันเสรีแล้ว หน่วยงานกำกับดูแลฯ จะได้ประโยชน์ผลตอบแทนสูงสุด แต่อดีตหน่วยงานรัฐจะเสียประโยชน์สูงสุด

ในทางกลับกันเมื่ออดีตหน่วยงานรัฐต้องเลือกวิธีให้ผลตอบแทนต่อตนสูงสุด จึงต้องขัดขวางแนวทางการแข่งขันเสรี ไม่ว่าหน่วยงานกำกับดูแลฯ เลือกวิธีกำหนดหลักเกณฑ์การแข่งขันแบบใดก็ตาม

แต่การที่เพื่อนเราไม่ทำงาน ผลตอบแทนของเขาไม่ได้ไม่เสียคือ 0 แต่การที่คุณซึ่งรับผิดชอบโดยตรงไม่ทำงานย่อมติดลบมากกว่า แต่การขัดขวางการทำงานถือเป็นสิ่งที่ผิดเลวร้ายสูงสุดให้ 10 โทษไล่ออกทั้งคู่ (ล้อเล่น)

แต่หากมองกลยุทธ์เด่นที่แท้จริงแล้ว ผลตอบแทนสูงที่สุดที่แต่ละหน่วยงานจะได้รับ จะมีอัตราสูงมากกว่าอีกฝ่ายถึง 10 คะแนน ก็ต่อเมื่อ หน่วยงานกำกับดูแลฯ กำหนดหลักเกณฑ์เอื้อให้เกิดการแข่งขัน แต่อดีตหน่วยงานรัฐไม่สามารถแข่งขันได้ ในทางกลับกันหากอดีตหน่วยงานรัฐขัดขวางการแข่งขันเสรีพร้อมกับหน่วยงานกำกับดูแลฯ เช่นกัน วิธีนี้จะทำให้อดีตหน่วยงานรัฐได้ผลตอบแทนสูงสุด สังคมจะลุกขึ้นปรบมือให้ประดุจฮีโร่

ตารางผลตอบแทนนี้ จะทำให้เห็นกลยุทธ์ทั้งหมดเกี่ยวกับกระบวนการสร้างกระแสข่าวในวงการโทรคมนาคมปัจจุบัน เกมนี้มีจุดสมดุลของ แนช ที่น่าสนใจตรงที่ ต่างฝ่ายต่างอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร พูดง่ายๆ คือไม่ทำให้เกิดการแข่งขันจะไม่ได้ไม่เสียคือ 0 ทั้งสองฝ่ายหรือสูญเปล่านั่นเอง

เกมการต่อรองของ แนช
Nash bargaining game

เกม การเจรจาต่อรองของ แนช (Nash bargaining game) เป็น โมเดล ที่ใช้อธิบายการเจรจาเชิงปฏิสัมพันธ์กันของสองฝ่าย ทฤษฎีจริงๆ เป็น โมเดล ทางคณิตศาสตร์ในรูปเส้นจำนวน x + y=z พยายามอธิบายไม่ยุ่งยากได้ว่า

สมมุติการต่อรองผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายเป็นเงินแทนด้วย M นั่นคือผลประโยชน์ทั้งหมดที่ทั้งสองฝ่ายจะได้รับคือ a+b = M การต่อรองที่ทั้งสองฝ่ายจะยอมรับข้อตกลงเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ได้จะเท่ากับ

a ≥ M-b ส่วน b ก็เช่นกันต้องได้รับผลประโยชน์ b ≥ M-a เป็นต้น จุดที่พอใจในการต่อรองอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์เท่ากัน อย่างไรก็ตามผมเอาแต่ส่วนคำอธิบาย “การต่อรอง” มากล่าวอธิบายก็แล้วกันนะครับ

การต่อรอง เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการเจรจา ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับ ผู้ซื้อ และ ผู้ขาย เสียเป็นส่วนใหญ่ที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวันกันบ่อยๆ ซึ่งข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในการต่อรองก็คือ เรื่อง “ราคา” นั่นเอง จริงๆ แล้ว ทฤษฎี Take it or leave it เป็นทฤษฎีการต่อรองแต่ผมนำมาใช้อธิบายเรื่องความน่าเชื่อถือเพื่อให้เข้าใจง่ายกับสถานการณ์ปัจจุบัน

สินค้ามีอยู่สองประเภทคือ ต่อรองได้ และต่อรอง ไม่ได้ สินค้าต่อรองไม่ได้ถือเป็น การยื่นเสนอครั้งเดียวและไม่มีการต่อรองอย่างเด็ดขาด (ทฤษฎี Take it or leave it) เช่น ราคาสินค้าที่ติดในห้างสรรพสินค้า เป็นสินค้าที่ไม่สามารถต่อรองได้ สินค้าที่ต่อรองได้ เป็นสินค้าที่อยู่ริมถนนหรือร้านห้องแถว ซึ่งสามารถต่อรองได้มากกว่าหนึ่งครั้งจนกว่าจะเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย ดังนั้นการต่อรองต้องขึ้นอยู่กับสถานที่ด้วย

“Take it or leave it” ประโยคนี้ควรท่องไว้ เราจะเห็นในชีวิตประจำวันบ่อยที่สุด แม้แต่การประชุม ผู้นำการประชุมจะเป็นผู้ยื่นข้อเสนอก่อน Take it or leave it ถ้าผู้ร่วมประชุมไม่ปฏิเสธก็รับ แต่หากเห็นว่า ข้อเสนอใดไม่เด็ดขาดสามารถต่อรองได้ พวกเขาก็จะต่อรองทันที

Bargaining Game
ทฤษฎี บุคคลประเภทต่างๆ ในทฤษฎีการต่อรอง (Personality theory in bargaining emphasizes) ได้นิยามประเภทลักษณะบุคคลไว้หลายประเภท ซึ่งอธิบายถึงกระบวนการต่อรองบุคคลแต่ละประเภทและผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้จากการต่อรอง เช่น ลักษณะการต่อรองของ นักรบ และการต่อรองของ พ่อค้า ลีลาจะแตกต่างกัน
การต่อรองแบบ Take it or leave it เป็นเพียงพื้นฐานอย่างง่าย เพียงทำให้ฝ่ายรับข้อเสนอเชื่อมั่นว่าจะไม่มีการต่อรองครั้งที่สองอย่างเด็ดขาดเท่านั้นเอง แต่หากอีกฝ่ายมีการเรียกร้องผลตอบแทนมากกว่าเดิมมาก (Recall) M > a+b ล่ะ? อะไรคือการแบ่งผลตอบแทนอย่างยุติธรรม เรากลายเป็นฝ่ายรับข้อเสนอยื่นข้อเสนอซะเองและทำให้มั่นใจ (Credibility) ว่าเขาจะไม่ต่อรองอีกเป็นเด็ดขาด

ในการเจรจาต่อรองจริงมีกระบวนการตัดสินใจหลายขั้นตอน แต่ทุกครั้งที่มีการตัดสินใจจะมีทางเลือกที่ดีที่สุดเสมอ โดยนักทฤษฎีเกม ท่านหนึ่งชื่อ คูณ (Kuhn’s Theorem) เมื่อเราเขียนแผนภูมิต้นไม้ให้สมบูรณ์ที่สุดและเลือกการตัดสินใจในแต่ละขั้นตอนงานก็จะสำเร็จดังใจหมาย
ผมเพียงทำหน้าที่มาส่งผู้อ่านถึงประตูของโลกทฤษฎีเกม ซึ่งแบบของทฤษฎีเกมเท่าที่พยายามรวบรวมมาได้มีถึง 161 เกม หากพี่น้องท่านใดสนใจจะศึกษาอย่างจริงจัง ก็คลิกตามอ้างอิงหรือตารางที่ผมรวมไว้ให้ เพื่อเข้าสู่โลก ทฤษฎีเกม หรือ Game Theory เมื่อชีวิตมนุษย์เรานี้มันคือ “เกม”




 

Create Date : 07 สิงหาคม 2550   
Last Update : 7 สิงหาคม 2550 11:19:30 น.   
Counter : 1506 Pageviews.  

1  2  

vizion
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




คนคิดการณ์ไกล 10 ปีจะปลูกต้นไม้ ส่วนคนคิดการณ์ไกล 100 ปีจะมีลูกหลาน
[Add vizion's blog to your web]