Little drops of water, Little grains of sand Make the mighty Ocean, and the pleasant land. Little deeds of kindness, Little words of love Help to make Earth Happy, Like the Heven above.
Group Blog
 
All Blogs
 

Heifetz As I Knew Him (3) : เรื่องชีิวิตในวัยเด็กของ Heifetz และ Agus

บทที่ 3

การเรียนไวโอลินของฉันกับ Heifetz เริ่มต้นจากการฝึกไล่ scale ตามด้วยการถอดเอาที่รองบ่าไวโอลินออก จากนั้นก็เปลี่ยนสายของไวโอลินจากเหล็กไปเป็นสายเอ็น ซึ่งนอกจากจะทำให้เสียงเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ยังทำให้เจ็บนิ้วอีกด้วย แต่ฉันก็รู้สึกว่ามันสนุกและท้าทายดี

อยู่มาวันนึง Heifetz ได้ยินข่าวมาว่าฉันสามารถเล่นเปียโนได้ เค้าจึงเรียกให้ฉันดีดให้ฟัง
ฉันจึงเลือกเพลงที่เคยเล่น recital ที่ Buffalo ก่อนจะจากมา นั่นคือเพลง Capriccioso ซึ่งเป็นเพลงที่มีจังหวะเร็วและยากมาก แต่งโดย Ernst von Dohnanyi



เพื่ออรรถรสในการอ่าน ลองฟังเพลงในคลิปสิคะ นี่คือเพลงแรกที่ Heifetz ได้ยิน Agus เล่น

เพลง Capriccioso ชื่อเต็มๆคือ Etude no.6 in F minor จาก six concert etude Op.28
แต่งโดย Ernst von Dohnanyi (ค.ศ.1877-1960) นักเปียโน/นักแต่งเพลงชาวฮังการี

ในคลิปนี้เค้าว่า Horowitz เป็นคนเล่นค่ะ



เมื่อฉันดีดจบและหันไปมองที่ Heifez และคนอื่นๆในห้อง ก็พบว่าทุกคนนิ่งเงียบไม่ไหวตึง และไม่มีแม้แต่เสียงหายใจ


“ My Com-pli-ments” Heifetz พึมพัมเบาๆด้วยภาษาอังกฤษสำเนียงรัสเซีย

แต่ฉันก็ยังงงๆ และไม่ได้ตอบอะไรไป เพราะไม่รู้ว่าควรจะพูดอะไรดี

“My Compliments” Heifetz กล่าวซ้ำอีกครั้งด้วยเสียงที่ดังขึ้นเล็กน้อย
“…………….”
และฉันก็ไม่ได้ตอบอะไรกลับไปเช่นเคย


และทันใดนั้น Heifetz ก็ตะโกนใส่ฉัน (อีกแล้ว)

“ You know, I don’t compliment anyone lightly”
( แปลประมาณว่า คุณรู้ป่าวเนี่ยว่าผมไม่ค่อยชมใครเลยนะ )

อึ้งมากๆ คราวนี้ฉันรู้แล้วว่าเค้าพอใจในการดีดของฉันมาก แต่ฉันก็ไม่รู้จะตอบอะไรดีนอกจากคำว่า “ขอบคุณ”

และแอบดีใจนิดๆที่เขาไม่ได้วิจารณ์การดีดเปียโนของฉัน


จากนั้นเค้าก็เดินมาที่เปียโน แล้วเรียกให้เล่นท่อนต่างๆของเพลงโน่นเพลงนี้ เช่น revolutionary etude ของ chopin, Partita ของ Bach บลาๆๆๆๆ ซึ่ง Heifetz เองก็ค่อนข้างประหลาดใจว่าฉันรู้จักทุกพลงที่เค้าสั่ง ส่วนฉันเองก็ประหลาดใจไม่แพ้กัน เพราะไม่คิดว่า Heifetz จะรู้จักเพลงเปียโนมากมายขนาดนี้

แต่ในขณะเดียวกัน ฉันรู้สึกไม่ดีเลย ที่เขาใช้เวลาใน ชม กับฉันมากเกินไป และเมื่อเขากลับไปสอนเหมือนเดิม ก็ดูเหมือนว่าเค้าไม่มีสมาธิเอาเสียเลย

วันนั้นเมื่อหมด ชม ฉันแอบสังเกตเห็นว่า เขายืนครุ่นคิดอะไรซักอย่างอยู่นาน ที่หน้าเปียโน พร้อมกับกล่องไวโอลินของเขา



เมื่อเทอมแรกของการเรียนสิ้นสุดลง ก็เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้น เริ่มจากนักเปียโนผู้เล่นประสานของ Heifetz ลาออกไป และต้องมีการเสาะหาตัวผู้แทน ไม่นานนักก็ได้นักเปียโนสาวผู้หนึ่งมาทำหน้าที่นี้แทน ซึ่งฉันเองก็ได้รู้จักเธอมาก่อนหน้านี้ และได้มีโอกาสเล่าให้เธอฟัง ถึงการทำงานของ Heifetz

แต่ถึงกระนั้น ทุกท่านคงที่อ่านมาถึงตรงนี้คงจะพอเดาๆ อารมณ์อันแสนแปรปรวน และนิสัยของHeifetz ได้บ้าง


ดังนั้น หลังจากที่เธอคนนี้มาทำหน้าที่ได้ไม่นานก็รีบเผ่นลาออกไปโดยทันที


แล้วตำแหน่งนักเปียโน accom ก็ว่างลงอีกครั้งหนึ่ง.......


ในขณะนั้น Heifetzได้ส่งฉันไปเรียนเปียโนกับ Lillian Steuber โดยบอกว่าเธอเป็นครูที่ดี มีเทคนิคที่ยอดเยี่ยม แล้วตัวเค้าเองก็เคยอัดผลงานร่วมกับเธอด้วย แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่วายแอบนินทาว่า เธอระมัดระวังในเรื่องเทคนิกมากจนเกินไป ทำให้ขาดอิสระ ไม่มีจินตนาการ รวมไปถึงการตีความ

อย่างไรก็ตาม ในที่สุดฉันก็ได้เรียนเปียโนกับ Miss Steuber อย่างสนุกสนาน แม้จะได้เรียนแค่สัปดาห์ละ 1 ครั้ง แถมยังได้เรียนในช่วงพักเที่ยงระหว่างมื้อกลางวันอีกต่างหาก


แต่ที่น่าประหลาดใจก็คือ บ่อยครั้งที่ Heifetz เข้ามาเจ้ากี้เจ้าการในระหว่างเรียนเสมอๆ
(แม้ว่าเจ้าตัวเองจะปฏิเสธก็ตาม)

โดย Heifetz จะเข้ามา comment มันซะทุกเรื่อง ตั้งแต่การสอนของ Miss Steuber การดีดของฉัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดท่าทางในการดีดเปียโนของฉันเริ่มตั้งแต่ การโค้ง การลุกการ นั่ง การวางมือ การเว้นช่วงเวลาก่อนเริ่มต้นดีดเพลงใหม่ บลาๆๆๆๆๆ โดยเค้าให้เหตุผลว่าการแสดงให้ดีนั้น เพียงแค่ส้รางดนตรีที่ไพเราะนั้นไม่เพียงพอ แต่ต้องสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมด้วย



ในภาพนี้ คนผมขาว คือ Marian MacDowell ภรรยาของ Edward MacDowell
ส่วนคนผมดำ คือ Lillian Steuber ค่ะ




ในช่วงเวลานี้ ฉันมีความรู้สึกว่า ทัศนคติของ Heifetz ที่มีต่อฉันได้เปลี่ยนแปลงไป ในชั้นเรียน ฉันรู้สึกได้เลยว่า ถูกสั่งให้ฝึก Sight read มากกว่าคนอื่นๆ
(หมายเหตุ Sight Read คือการฝึกทักษะการอ่านโน๊ต โดยให้เล่นเพลงที่ไม่เคยรู้จัก หรือไม่เคยซ้อมมาก่อนทันที)


มีครั้งหนึ่ง Heifetz สั่งให้ฉันสีไวโอลินคู่กับเค้า ในเพลงของ Louis Spohr โดยให้ฉันสีเป็น ไวโอลินที่ 2 ส่วนเขาสีเป็นไวโอลินที่ 1

แต่ฉันรู้สึกได้เลยว่า เค้าไม่ได้สนใจการสีไวโอลินของฉันเลย แต่กลับทำเหมือนกำลังเล่นเกมส์มากกว่า โดยเค้าสีเสียงดังมากๆ ในท่อนที่ต้องสีเบามากๆ และ สีช้าลง ในท่อนที่โน๊ตเขียนว่าให้สีเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังแต่งเติมการสีแบบอื่นๆ ทั้งที่ดูแล้วไม่น่าจะเป็นไปได้แต่ก็เป็นไปแล้ว


Heifetz สีทุกอย่างตามที่เค้าพอใจ แม้ว่ามันจะไม่มีในโน๊ตก็ตาม


เมื่อเพลงจบลง Heifetz ส่งสายตามาให้ฉันว่ายอมรับในความสามารถนี้ และหันกลับไปกล่าวกับคนอื่นๆในห้องว่า
“ไม่เลวเลยสำหรับ นักเปียโน” ซึ่งฉันไม่ชอบคำชมนี้เท่าไหร่เลย


ใน 1-2 สัปดาห์ต่อมา Heifetz ก็ให้ฉันเล่นเพลงของ Louis Spohr อีกครั้ง แต่ครั้งนี้ให้สีกับเพื่อนคนนึงในชั้นเรียน โดย Heifetz มาทำหน้าที่ให้การเปิดโน๊ตให้ฉันแทน

และทันทีที่โน๊ตมาถึงช่วงสุดท้ายของหน้า เค้ากลับตั้งใจพลิกโน๊ตช้าๆ

ฉันซึ่งไม่เคยสีเพลงนี้มาก่อน แต่ก็พอจะเดาๆรูปแบบของเพลงได้ และยังคงสีต่อไปได้ถูกใน 2-3 ห้องแรกในหน้าถัดไป ในระหว่างนั้นฉัน ก็ฉันตะโกนใส่เค้า พร้อมกับสีไปด้วย

“เปลี่ยน!”

Heifetz ค่อยๆพลิกหน้าต่อไปช้าๆ และหันไปบอกกับคนอื่นๆในห้องว่า
“สาวน้อยคนนี้ มีสัมผัสที่ 6 ทางดนตรี เธอสามารถเดาล่วงหน้าได้ว่า หน้าต่อไปโน๊ตจะเขียนว่ายังไง”

แต่ฉันกลับไม่คิดอย่างนั้น Heifetz ไม่ได้ทดสอบความสามารถในการคาดเดาทิศทางของดนตรีของฉัน แต่เค้ากำลังมองหาความสามารถในการควบคุมจิตใจไม่ให้ตื่นตระหนก และยังคงแสดงต่อไปเวลาที่โน๊ตไม่ได้เปิด หรือ โน๊ตหล่นลงจากที่วาง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของ นัก accom ต่างหาก



Louis Spohr (ค.ศ.1784-1859) นักแต่งเพลงและนักไวโอลินชาวเยอรมัน

ข้าพเจ้าก็ไม่เคยฟังเพลงของ composer ท่านนี้เหมือนกัน คลิปใน youtube ก็ไม่ค่อยมี
หาได้แต่คลิปนี้ เพราะดีเหมือนกัน เล่นโดยเจ๊ Hann สุดสวยค่ะ

Violin Concerto No.8 in A minor, Op.47(3rd MOV)





แล้วในที่สุด ฉันก็ได้มาทำหน้าที่ดีดเปียโนชั่วคราว ในระหว่างที่ Heifetz ยังหานักเปียโน accom ที่เหมาะสมไม่ได้

ซึ่งหน้าที่นี้ เป็นอะไรที่เครียดมาก เพราะ Heifetz บีบคั้นฉันมากกว่า accom คนอื่นๆที่ผ่านมา เค้าต้องการให้ฉันเก่งขึ้นๆ และมักจะทำสิ่งที่น่าตกใจเสมอๆ


ในระหว่างที่กำลังอยู่ในชั้นเรียน เค้ากลับไม่สนใจ สีตรงที่เตรียมเอาไว้ แต่กลับไปสีตรงจุดอื่นๆ โดยที่ไม่มีการบอกล่วงหน้าก่อนเลยซักนิดเดียว แถมยังคาดหวังว่าฉันจะสามารถดีดตามเค้าตั้งแต่โน๊ตตัวแรกได้ทันอีกต่างหาก ดังนั้น เมื่อใดที่ฉันพลาดโน๊ตไป 1-2 ตัว เค้าจะบึ้งตึงใส่ฉันทันที

แล้วก็ด้วยลูกไม้เดิมๆ Heifetz เล่นกับฉันด้วยการ สีทุกอย่างที่แตกต่างไป หรือไม่มีในโน๊ตในระดับที่ยากขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงการสีเปลี่ยนคีย์ในฉับพลัน และฉันต้องตามเค้าให้ได้


นอกจากนี้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการ Sight read ของฉัน เค้ามักจะให้เวลาฉันในการฝึกเพลงยากๆและยาวๆ ภายในเวลาเพียง 1-2 วัน บางครั้งก็ให้เล่นเพลงที่เต็มไปด้วยเครื่องหมาย #,b มากมาย แถมไม่ให้ดูโน๊ตอีกต่างหาก แต่ฉันก็ผ่านมาได้ด้วยดี

หลังจากนั้นฉันก็เข้าใจแล้วว่า Heifetz ไม่ได้ต้องการให้ฉันเล่นโน๊ตทั้งหมดถูกหมดทุกตัว แต่ต้องการให้เล่นเพลงในจังหวะและความดัง-เบาที่ เหมาะสม และที่สำคัญคือสร้างดนตรีขึ้นมา ไม่ใช่สับแต่ดีๆให้ถูกโน๊ตต่างหาก

และต่อมา ฉันก็พบว่า นักดนตรีที่ในความเห็นของ Heifetz มีอยู่ 2 ประเภท
ประเภทแรกคือ พวกที่สามารถทำได้ และประเภทที่สอง คือ พวกที่ล้มเลิก เมื่อทำไม่ได้




แม้ฉันจะได้รับความกดดันต่างๆนาๆ ทั้งในการดีดที่ยากและท้าทาย รวมไปถึงการที่ Heifetz มักจะพร่ำบอกอยู่ว่า เค้ายังตามหานักเปียโน accom อยู่นะ ซึ่งนั่นเป็นการเตือนให้ฉันระลึกอยู่เสมอว่าอย่าได้ดีใจไป ตำแหน่งนักเปียโน accom ของฉันนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการดีดที่พัฒนาขึ้นต่างหาก


Heifetz มักจะจัดสัมภาษณ์ผู้สมัครตำแหน่งนัเปียโน accom ประจำอยู่เรื่อยๆ แต่ปรากฏว่า ไม่มีใครที่ผ่านการทดสอบ ซึ่งในความความเห็นของฉัน สาเหตุที่ที่พวกเขาเหล่านั้นไม่ผ่านการทดสอบ เพราะมักจะขัดแย้ง หรือโต้เถียงกับ Heifetz เวลาที่เค้าสั่งให้ดีดเปียโนแบบแปลกๆ


เมื่อเวลาผ่านไป เราทั้ง 2 คน ปรับตัวเข้าหากันได้ดีขึ้นเรื่อยๆ Heifetz ยังคงทดสอบการเล่นท้าทายที่ยากขึ้น ในขณะเองที่ฉันเองก็ติดใจ นานวันเข้า ฉันก็เริ่มรู้สึกแล้วว่า เค้าไม่ได้ปฏิบัติต่อฉันเหมือนกับลูกจ้างหรือนักเรียน แต่เหมือนกับเป็นนักดนตรีที่ร่วมกันสร้างเสียงเพลงมากกว่า


ในช่วงนี้ฉันต้องทำงานอย่างหนัก ทั้งหน้าที่ในฐานะนักเปียโนaccom ชั่วคราว ซึ่งนอกจากต้องฝึกซ้อมแล้ว ยังต้องเตรียมบทเรียนให้กับชั้นเรียนอีกต่างหาก ในระหว่างชั่วโมงเรียน ฉันจะยุ่งมาก และไม่สามารถทำหน้าที่เป็นนักเปียโนaccom กับเป็นนักเรียนไวโอลินไปพร้อมๆกันได้ ซึ่ง Heifetz ก็ไม่ลืมในข้อนี้ว่าฉันยังเป็นนักเรียนไวโอลินอยู่ เค้าเชิญให้ฉันไปที่บ้านเพื่อเรียนส่วนตัว ซึ่งบ่อยครั้งที่เค้ากลับให้ฉันเล่นaccom ให้กับเขาเสียมากกว่า แถม ไปๆมาๆ ฉันกลับรู้สึกเหมือนกับว่า การเรียนส่วนตัวที่บ้านเพียงแค่เค้าต้องการแน่ใจว่าฉันยังสีไวโอลินได้อยู่เท่านั้นเอง


และสุดท้าย ฉันก็ได้ทำหน้าที่เป็นนักเปียโน accom ชั่วคราวจนจบภาคการศึกษา




วันนึงหลังจากจบภาคการศึกษา Heifetz ขอให้ฉันอยู่คุยกับเขาหลังจากหมดชั่วโมงเรียน

“ฉันอยากจะบอกว่า เธอควรจะเป็นนักเปียโน”
“ประการแรก เธอดูดีเวลาที่อยู่บนเปียโน มากกว่าตอนถือไวโอลิน และนอกจากนี้ เธอยังได้รับการฝึกฝนการดีดเปียโนมากกว่าสีไวโอลินเสียอีก”
“แต่ถ้าเธอยังอยากจะเรียนไวโอลินต่อไป ก็ตามใจ แต่ฉันคงต้องให้เธอออกจากชั้นเรียน ในฐานะนักไวโอลินเธอคงสามารถได้ตำแหน่งในวงออเครสตร้าหรือเชมเบอร์ ดีๆได้อยู่แล้ว เพราะตอนนี้เธอเองก็มีศักยภาพพร้อมทุกอย่าง ดังนั้นเธอจึงไม่จำเป็นต้องได้รับการสอนจากฉันอีกต่อไป”
“ซึ่งถ้าเธอตัดสินใจเลือกทางเดินนี้ ฉันก็ขอให้เธอโชคดี ส่วนฉันเองจะรีบหานักเปียโนประจำให้ได้เร็วที่สุด ส่วนเธอจะเป็นอิสระ อยากไปไหนก็ได้ตามที่ใจต้องการ”

หลังจากกล่าวจบ เขาก็หยุดพักเล็กน้อย เหมือนรอคำตอบจากฉัน แต่ทว่าฉันไม่ได้ตอบอะไรไป เขาจึงมองออกไปนอกหน้าต่าง และหันกลับมาสบตาฉันพร้อมกับพูดว่า

“แต่ยังมีอีกทางเลือกหนึ่ง ถ้าเธอเลิกคิดจะเป็นนักไวโอลินซะ เธอจะได้รับตำแหน่งเป็นนักเปียโนประจำในชั้นเรียนของฉัน พร้อมกับได้รับเงินเดือนเต็มอัตรา นอกจากนี้เธอยังจะได้เรียนที่นี่ฟรี เพื่อจะได้ใบปริญญาทางเปียโนด้วย”
“นี่คือทางเลือกของเธอ ยังไม่ต้องรีบให้คำตอบฉันหรอก ค่อยๆคิดไป ส่วนฉันจะไปถามความเห็นจาก Miss Steuber เกี่ยวกับอนาคตของเธอในฐานะนักเปียโน”

หลังจาก เขาพูดจบ ฉันแทบมองไม่เห็นใบหน้าของเขาเลย เพราะตอนนี้นัยตาของฉัน เอ่อท่วมไปด้วยน้ำตา

น้ำตาแห่งความโกรธ น้ำตาแห่งความผิดหวัง.......

แต่Heifetz ไม่สนใจปฏิกิริยาใดๆของฉันเลย และบอกว่า เค้าจะทำการนัดวันกับ Miss Steuber เพื่อทดสอบด้วยตนเอง

Heifetz ไม่เคยรีบร้อนทำอะไร โดยเฉพาะเรื่องสำคัญๆ และเช่นเดียวกันในกรณีของฉัน เขารู้ว่าฉันไม่อยากออกจากชั้นเรียน และรู้ว่าฉันติดเค้ามาก เค้าจึงให้เวลาอยู่นาน และปล่อยให้ฉันสับสนต่อไป


แน่นอนฉันสับสนต่อข้อเสนอนี้มาก ฉันละทิ้งทุนการเรียนที่ Buffalo มาแล้ว แต่ที่นี่ ฉันได้รับทุนจาก Heifetz ซึ่งหากขาดเงินในส่วนนี้ไป การเรียนคงเป็นไปไม่ได้ เพราะครอบครัวของฉันไม่มีเงินมากพอจะส่งเสีย แล้วไหนเลยที่อยากจะทำความฝันของแม่ที่อยากให้ฉันเป็นนักไวโอลินและกลับไปยังอินโดนีเซีย เท่านั้นยังไม่พอ ฉันยังคิดไม่ตกว่า ถ้าเกิดในวันนึงเขาเกิดเจอะ accom ที่ดีกว่าฉันหล่ะ แล้วฉันจะทำยังไง

แต่เมื่อนึกถึงว่าฉันได้เรียนรู้หลายอย่างทั้งเรื่องของไวโอลินและเปียโนจากเขา นั่นยิ่งทำให้ฉันไม่สามารถละทิ้งโอกาสที่จะได้เรียนรู้จากเค้าไปได้


ในระหว่างนี้ ฉันเองก็ไม่ค่อยแน่ใจว่าจะสามารถยืนอยู่ข้างเขาได้หรือไม่
คำพูดของชายผู้นี้ มีแต่ “ not bad” ไม่ก็ “not too bad” และนานๆครั้งจะมีหลงมาว่า “ pretty damn good

นอกจากนี้ คำพูดส่วนใหญ่ที่เขาใช้เวลาแนะนำคนอื่นๆตอนสี มักจะประกอบด้วยคำ เพียง 1 หรือ 2 คำ
“too lound” “too timid” “too soft” “give more” “too much bow”

แต่สำหรับฉัน เขาเพียงแค่สั่ง “ give” “more” หรือ “less” เพียงเท่านี้ เราก็เข้าใจกันได้ เพราะฉันสัมผัสได้ถึงความต้องการของเขาผ่านทางดนตรีของเขา และไม่นานฉันก็สามารถจับทิศทาง ลักษณะการสี และดนตรีของเค้าได้ โดยที่ไม่ต้องมีคำพูดใดๆ




Heifetz ชอบเล่นเพลง Violin Sonata in E-flat major Op.18 ของ Richard Strauss

เพลงนี้เหมือนแต่งขึ้นมาเพื่อ เขาโดยเฉพาะ แต่เพลงนี้ก็สร้างปัญหาให้กับ Heifetz เช่นกัน


ในระหว่างการทัวร์คอนเสิร์ตในปี ค.ศ.1953 ที่ประเทศอิสราเอล
Heifetz ได้รับคำเตือนว่า อย่าแสดงเพลงนี้ เพราะ Strauss เป็นพวกเห็นใจนาซี แต่เค้าไม่สนใจ และออกแสดงเพลงนี้ถึง 2ครั้ง ที่เมือง Haifa และ Jerusalem

และในคืนหลังจากจบการแสดงที่ Jerusalem ระหว่างที่เขากำลังเดินออกจากโรงแรมพร้อมกับไวโอลิน มีชายผู้หนึ่งวิ่งเข้ามาพร้อมกับท่อนเหล็ก และพยายามจะตีมือของเขา

Heifetz ยกแขวนขวาขึ้นมาปกป้องไวโอลินของเค้าและถูกตีที่แขน เขาได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย ซึ่งจากการบาดเจ็บในครั้งนั้น จึงเป็นที่มาของรอยแผลเป็นที่แขนขวาของเค้าที่เราได้พบเห็นกัน


ฉันได้เล่นเพลงนี้ร่มกับ Heifetz ครั้งแรก ที่บ้านของเค้า และยังจำเรื่องความรู้สึกสยองในวันนั้นได้ดี

ถึงแม้ว่าฉันจะดีดผ่านเพลงในท่อนที่ยากมากไปได้ด้วยความตื่นเต้น แต่เขากลับให้ฉันกลับไปเล่นย้อนตรงท่อนเปียโนโซโลเป็นชั่วโมงในท่อน andante เพื่อจะผ่านไปสู่ allegro ในท่อน 3

"ท่อน 2 นี้จะเป็นตัวกำหนดอารมณ์ของท่อน 3 ถ้าเธอเล่นท่อน 2 ไม่ดี ท่อน 3 ก็จะไม่ดีด้วย"

นอกจากนี้เขายังคาดหวัง(แกมบังคับ)ให้ฉันจำเพลงในท่อนนี้ด้วย

ครั้งหนึ่งที่เขามีอารมณ์อยากจะเล่น Strauss เขาจะสั่งว่า

"Strauss ท่อน 3 แต่ถ้าเธอไม่เล่นท่อนช้าให้ดี ฉันก็จะไม่ยอมเล่นท่อนเร็ว”

ดังนั้น หากฉันต้องการให้เขาเล่นท่อน 3 ฉันจึงจำต้องเล่นท่อน 2 ให้ดี เล่นด้วยหัวใจ อย่างที่เขาต้องการ.........





ในที่สุดการทดสอบครั้งสุดท้ายก็มาถึง Heifetz สั่งให้ฉันสีไวโอลินให้ Miss Steuber ฟัง และเธอก็ประทับใจมาก เพราะเธอไม่เคยเห็นฉันสีไวโอลินมาก่อน ดังนั้นในตอนแรก เธอจึงสนับสนุนให้ฉันเป็นนักไวโอลิน

แต่เมื่อ Heifetz ถามเธอว่า เมื่อเทียบกับเปียโนแล้วฉันเล่นอย่างไหนดีกว่ากัน

Miss Steuber กลับตอบว่า ฉันสามารถทำได้ดีทั้งเปียโนและไวโอลิน ซึ่งนั่นทำให้ Heifetz ไม่พอใจเป็นอย่างมาก แถมยังไม่สนใจความเห็นนั้นอีกต่างหาก

หลังจากเราได้ทานมื้อเที่ยงร่วมกัน Heifetz จึงสั่งให้ฉันไปที studio ของ Miss Steuber เพื่อทำการทดสอบครั้งสุดท้าย (จริงๆ)

ครั้งนี้ Heifetz สั่งให้ฉันเล่นเปียโนอีกเล็กน้อย และถามความเห็น Miss Steuber อีกครั้ง
ฉันจำไม่ได้ว่าเธอตอบว่าอะไร แต่ดูเหมือน Heifetz ก็ไม่สนใจอีกเช่นเคย

เขาสั่งให้ฉันเล่น Piano Concerto in Cm ของ Beethoven ในส่วนของ solo และให้ Miss Steuber เล่นใส่ส่วนของ orchestra แทน

ในระหว่างนั้น Heifetz เดินไปรอบห้อง เฝ้าดูฉันดีดเปียโนจากมุมต่างๆ
และเมื่อเพลงจบลง..................
เขาไม่ถามความเห็นของ Miss Steuber อีก แต่สั่งให้ฉันออกไปรอที่ห้องเรียนของเขา


ซักพัก เขาก็กลับมา............


ท่ามกลางเหล่า นักเรียน ที่กำลังรอเข้าชั้นเรียนอยู่ Heifetz เดินมาหาฉัน และประกาศต่อหน้าทุกคนว่า

“เธอจะต้องเป็นนักเปียโน และต้องมาทำหน้าที่ accom ให้ฉัน”

“.......................”

เขาตัดสินอนาคตของฉัน โดยไม่ถามความเห็นฉันเลยซักคำ ไม่มีแม้แต่คำสุภาพหรือขอร้องใดๆ

ฉันโกรธเค้ามาก และอยากจะหนีไปให้ไกลๆ อยากจะไปทำอย่างอื่น แต่ฉันก็ได้แค่คิด และยอมรับการตัดสินใจของเขา



Piano Concerto in Cm ของ Beethoven บทเพลงที่ตัดสินชะตาของ Agus
คลิปนี้เล่นโดย Zimmerman กับ Bernstein ค่ะ


หลังจากฉันถูกกำหนดชีวิตให้เป็นนักเปียโน ก็ต้องพบกับงานหนักยิ่งกว่าเดิม

Heifetz ไม่ต้องการให้ฉันเป็นเพียง accom ของเค้าเท่านั้น แต่ต้องการให้ฉันเป็นศิลปินที่มาร่วมงานกัน และแน่นอน ไม่ใช่เพียงแค่เพื่อในชั้นเรียนแต่เพื่อตัวของเขาเอง

ดังนั้นในระหว่างที่เราเล่นร่วมกัน สำหรับเขาแล้วไม่มีอะไรดีพอ เมื่อใดที่ฉันรู้สึกว่าทำดีแล้ว เขากลับบอกว่า ฉันอยู่ในเหวลึกที่สุด ของภูเขาที่สูงที่สุด

แต่ต่อมาฉันก็ได้ค้นพบเคล็ดลับในการเป็นนักaccom นั่นคือ ต้องเล่นต่อไปเรื่อย

คุณไม่มีทางที่จะบอกกับ soloist ว่า “เฮ้ นี่เล่นไม่เหมือนครั้งที่แล้วนินา” หรือ “ คุณทำหายไป 2 ห้องนิ” หรือแม้แต่ “ คุณเล่นข้ามไป 2 หน้าแล้ว”

สรุปคือไม่ว่า Soloist จะมั่วอย่างไรก็ตาม หรือแม้แต่โน๊ตจะปลิวตามลมลอยไปไหน สิ่งที่ accom ต้องทำคือ ก้มหน้าก้มตาดีดต่อไปอย่าได้หยุด

อีกหนึ่งปัญหาของนัก accom ทั่วไป คือ ไม่รู้จักเครื่องดนตรีของ soloist

ไม่รู้ว่าเครื่องดนตรีเหล่านั้นสร้างเสียงขึ้นมาได้อย่างไร ซึ่งตรงนี้ต้องขอบคุณที่ฉันเคยเล่นไวโอลินมาก่อน ทำให้ทราบว่า ก่อนที่จะสามารถสีไวโอลินให้มีเสียงออกมาได้ จะต้องมาการยกโบว์เตรียมเสียก่อน และเสียงจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีพื้นที่ของโบว์เหลือแล้ว รวมไปถึงการสังเกตท่าทางในการสีแบบกระโดด ต่อเนื่อง ดัง เบา ซึ่งฉันสามารถเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้ เพียงแค่คอยจับตาดู “โบว์”เท่านั้น
(โบว์ คือ คันชักไวโอลิน)
นอกจากนี้ การร่วมสนธนากันระหว่าง soloist และ accom ก็มีความสำคัญ เพื่อจะได้ทำความเข้าใจกันว่า อยากให้เพลงออกมาเป็นสไตล์แบบไหน และก็นับว่าโชคดี ที่ Heifetz ให้ความสำคัญตรงนี้มาก ทำให้เรามีการสนธนากันตลอด

แต่เทคนิคในการเล่น accom ต่างๆที่ฉันบรรยายไปข้างต้นนั้น ส่วนใหญ่ใช้ไม่ได้กับ Heifetz เพราะ เค้าไม่มีสัญญาณใดๆบอกเลย ว่าจะสีอย่างไร

ดังนั้น ภาษาที่เราใช้ในการสื่อสารกันส่วนใหญ่ คือ สายตา

มีนักเรียนบางคน พยายามบันทึกและสังเกตว่า เขาขยับตัว หรือเหวี่ยงแขนสีไวโอลินยังไง

แต่ Heifetz จะบอกเสมอว่า อย่าขยับตัวโดยไม่จำเป็น เพราะเขามองว่าเป็นการควบคุมตนเองไม่ได้ และจะย้ำกับนักเรียนของเขาอยู่เสมอว่า

“อย่าแสดงอารมณ์ใดๆ ออกมาภายนอกให้ใครเห็น แต่จงใส่มันลงไปในดนตรีของคุณ แล้วให้คนฟังสัมผัสมันเอง”

นอกจากนี้ของยังย้ำอีกว่า การขยับตัวที่ไม่จำเป็น ยังเป็นการรบกวน accom ที่เล่นประสานอีกด้วย

ดังนั้นอย่างที่ทราบกันดี ท่าทางการสีไวโอลินของ Heifetz นั้น นอกจากสีหน้าอันเย็นชาแล้ว ยังแทบจะไม่ขยับตัวอีกด้วย


และอย่างที่ฉันเล่าไปในตอนแรก การสังเกตุโบว์เป็นสิ่งสำคัญที่ accom ต้องคอยดู นักไวโอลินที่ดี จะมีจังหวะและลักษณะการสีที่คงที่

Heifetz เองก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เช่นกัน เขาจะกำชับนักเรียนอยู่เสมอๆว่า ให้ใช้โบว์ให้หมด มันอาจจะฟังดูเหมือนง่าย แต่จริงๆทำได้ยาก เพราะนักไวโอลินหลายคน ส่วนใหญ่จะรู้สึกไม่สบายใจ หรือไม่มั่นใจเวลาที่ต้องสีโบว์ลงไปต่ำๆ

แต่เพราะ Heifetz ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากๆ ดังนั้นหากใครไม่สามารถทำได้ หรือไม่ยอมทำตาม เขาจะมีโบว์ที่สั้นพิเศษ ยาวแค่ประมาณ 12 นิ้ว เอามาให้ใช้แทน พร้อมกับกล่าว่ว่า
“จงใช้โบว์อันนี้ซะ เธอไม่จำเป็นต้องใช้ไบว์ยาวๆเกะกะอย่างนี้หรอก”

.........................จบบทที่ 3...........................



ปล. เรื่องของ Heifetz นี้ ไม่ได้แปลจากหนังสือทั้งหมด หนังสือสนุกและมีรายละเอียดเยอะมากๆ จขบ แค่อ่านๆแล้วมาเล่าๆรีวิวให้ฟังนะคะ ตัวเองไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในการแปลหนังสือ และภาษาก็ไม่ได้แข็งแรงอะไร ดังนั้นหากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วยค่ะ





 

Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 21 เมษายน 2552 10:48:35 น.
Counter : 1095 Pageviews.  

Heifetz As I Knew Him (2) : ชั้นเรียน Master class ของ Heifetz และการผันชีวิตจากนักไวโอลินมาเป็นนักเ

อันที่จริงแล้ว Heifetz ไม่ได้รับ Agus ในตอนนั้น แบบว่าข้าพเจ้าเล่าข้ามไปนิด ขออนุญาตย้อนกลับมาเล่าติ๊ดนึง


หลังจากที่ Heifetz พอใจกับปฏิกริยาตอบรับของ Agus เค้าก็ขอสัมภาษณ์ส่วนตัวกับเธอเพียงลำพัง
เริ่มต้นด้วยคำถามที่ต่อมา Heifetz ก็ยังคงถามกับเธออยู่บ่อยๆ

“คุณคิดว่าผมจะทำอะไรให้คุณได้”
“ดิฉันหวังว่า คุณจะช่วยให้ฉันเล่นไวโอลินได้ดีขึ้น และทำให้ฉันสร้างดนตรีได้”
ฉันตอบคำถามนี้ด้วยความยากลำบาก แต่ก็ดูเหมือนว่าเค้าจะพอใจในคำตอบนี้

“อะไรคือเป้าหมายในชีวติของเธอ”
“...........................”

เป็นคำถามที่ตอบได้ยากมาก เพราะจริงๆตัวฉันเองก็ยังไม่รู้เลย ดังนั้นฉันจึงตอบตามเป้าหมายที่แม่ที่คาดหวังเอาไว้กับฉัน

“ฉันต้องการที่จะเรียนให้จบ ได้ใบปริญญา จากนั้นก็กลับไปสอนหนังสือที่อินโดนีเซีย”

และทันทีที่ Heifetz ได้ยินคำว่า ปริญญา เค้าก็ยืนขึ้น จับมือกับฉัน พร้อมกับกล่าวว่า

“ถ้าเธออยากได้ปริญญา ก็ขอให้ทำให้ดีที่สุด โชคดีนะ คุณ Agus”

เค้าพาฉันไปที่ประตู และยิ้มให้ฉันก่อนเราจะจากกัน................ส่วนตัวฉันเองนั้นเดินออกจากห้องไปพร้อมกับน้ำตา


หลังจากจบการ Masterclass ครั้งนี้ ฉันบินกลับไปที่เมือง Buffalo พร้อมกับรู้สึกผิดหวังนิดหน่อยเพราะไม่เคยสอบตกมาก่อน แต่ก็ยังรู้สึกดีใจ เพราะอย่างน้อยๆฉันก็ได้พบกับฮีโร่ในดวงใจแล้ว มีเพียงอย่างเดียวที่ทำให้รู้สึกคาใจนิดนึง คือทำไมในตอนนั้นฉันถึงไม่กล้าถาม Heifetz นะ ว่าทำไมฉันถึงไม่ผ่านการทดสอบ

(ซึ่งในเรื่องนี้ฉันได้มารู้ในตอนหลังว่า Heifetz ไม่ได้รับปริญญา หรือวุฒิบัตรใดๆเลย แม้แต่ รร สอนภาษา.....ซึ่งนั่นทำให้เค้ามีอคติเกี่ยวกับเรื่องนี้)

เมื่อฉันกลับมาที่ Buffalo เพื่อนๆต่างปลอบและให้กำลังใจ พรอ้มกับบอกให้ตั้งใจเรียนต่อไป

2 สัปดาห์ผ่านไป ฉันวุ่นวายกับการเรียนหนังสืออย่างหนักในช่วงกลางวัน แต่ทว่าในตอนกลางคืน ฉันกลับไม่สามารถลืมเรื่องของ Heifetz ได้ และเฝ้าแต่ถามตัวเองว่า ฉันทำอะไรผิดไปในการ audition ฉันมีความสามาณขนาดเข้า Juilliard ได้ แต่กลับไม่ดีพอสำหรับ Heifetz


วันนึงช่วงสุดสัปดาห์ของสัปดาห์ที่ 2 หลังจากกลับมาในระหว่างมื้ออาหาร ก็มีโทรศัพท์ถึงฉัน
โทรศัพท์จาก แคลิฟอร์เนีย และได้รับทราบว่า ฉันผ่านการ Masterclass และ จะส่งตั๋วเครื่องบินไปให้ พร้อมกับบอกว่า Heifetz อยากพบฉันให้เร็วที่สุด นอกจากนี้ Heifetz ยังอนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้ฉันได้เข้าเรียนที่ USC เพื่อให้ได้ปริญญาอย่างที่ฉันต้องการอีกด้วย




แต่...........





ฉันกลับปฏิเสธไป และบอกว่าฉันต้องการที่จะเรียนที่นี่ให้จบเสียก่อน ซึ่งนั่นทำให้โอเปอร์เรเตอร์ประหลาดใจมาก แต่เธอก็ได้ทิ้งเบอร์โทรกลับเอาไว้ให้ติดต่อกลับ เผื่อว่าฉันเปลี่ยนใจ

ด้วยความสับสน เมื่อกลับมาที่โต๊ะอาหาร ฉันทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น จนเพื่อนๆทนไม่ไหวต้องเอ่ยปากถาม และเมื่อฉันเล่าให้ฟังว่าได้รับโทรศัพท์จาก Heifetz และได้ทุนเรียน แถมได้ปฏิเสธไปแล้วด้วย เพื่อนๆต่างตกใจมากและรุมประนามฉัน

“เธอต้องบ้าไปแล้วแน่ๆ”

เพื่อนคนนึงถึงขนาดเจ้ากี้เจ้าการหยิบเบอร์โทรและลากฉันไปที่โทรศัพท์ แถมยืนคุมให้โทรไปบอกกับโอเปอร์เรเตอร์ด้วย ว่าเปลี่ยนใจแล้ว ให้รีบส่งตั๋วเครื่องบินมาให้ด่วน


ดังนั้นในที่สุด ชีวิตของ Agus กับ Heifetz ที่แคลิฟอร์เนียก็เริ่มต้นขึ้น


..............จบบทที่ 2...............

พักเหนื่อยฟัง Caprice No. 24 ฝีมือ Heifetz ซะหน่อย




ปล. เรื่องของ Heifetz นี้ ไม่ได้แปลจากหนังสือทั้งหมด หนังสือสนุกและมีรายละเอียดเยอะมากๆ จขบ แค่อ่านๆแล้วมาเล่าๆรีวิวให้ฟังนะคะ ตัวเองไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในการแปลหนังสือ และภาษาก็ไม่ได้แข็งแรงอะไร ดังนั้นหากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วยค่ะ






 

Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 21 เมษายน 2552 10:49:55 น.
Counter : 416 Pageviews.  

Heifetz As I Knew Him (1) : เมื่อ Agus พบกับ Heifetz ครั้งแรก





เรื่องราวต่อไปนี้ เกี่ยวกับ Heifetz ที่ ในมุมมองที่ฉันรู้จัก ในตอนที่ฉันได้เจอะ และได้เข้าไปคลุกคลีกับ Heifetz คือช่วง 15 ปี ก่อนที่เค้าจะเสียชีวิต....ซึ่งเป็นช่วงที่ Heifetz เลิกงานแสดงและอัดเพลง แต่ไปทุ่มเทให้กับการสอนไวโอลินแทน

แต่ก่อนจะเล่าเรื่องต่างๆ คงต้องขอเล่าถึงประวัติพื้นฐานของ Heifetz เสียหน่อยนึง

Heifetz เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1901 ที่แคว้นลิโทเนีย ประเทศรัสเซีย แต่ได้ย้ายมาอยู่อเมริกา และสุดท้ายได้ใช้ชีวิตอยู่ที่ลอสเองเจลลิสจนเสียชีวิต และที่ลอสแองเจลลิชนี่เองที่ชั้นได้พบกับ Heifetz เป็นครั้งแรก

น้อยคนนักที่จะรู้ว่า Heifetz จริงๆแล้วมีชื่อตอนแรกเกิดว่า Joseph แต่แม่ของเค้ามาเปลี่ยนในตอนหลังเป็น Jascha ซึ่งเค้าไม่ชอบเอาเสียเลย Heifetz ชอบให้ นร. เรียกเค้าว่า “ Mr.H” และจะใช้ชื่อ Heifetz ในทางการค้าการแสดง หรือติดต่อกันทางธุรกิจเท่านั้น ส่วนชื่อ Jascha นั้น แม้แต่ฉันเองก็ยังไม่กล้าเรียก ชื่อนี้ใช้ได้เฉพาะกับเพื่อนสนิทเก่าแก่เท่านั้น

และสุดท้าย ด้วยความที่ภาษารัสเซียไม่มีตัวอักษรตัว H ดังนั้น ชื่อ Heifetz จึงเขียนแทนด้วย Geifetz ซึ่งเป็นชื่อที่เขาเกลียดที่สุด



ในตอนที่ฉันเรียนไวโอลินกับเขา เรามักจะผลัดกันเล่าเรื่องต่างๆให้ซึ่งกันและกัน แต่เพราะฉันเป็นเพียงแค่เด็กอายุ 16 (ซึ่งเค้าชอบเรียกชั้นว่า jungle from java) ดังนั้นเรื่องส่วนใหญ่ที่ฉันเล่าจึงเป็นนิทานเรื่องพันหนึ่งราตรี และเรื่องเล่าอื่นๆจากอินโดนีเซียบ้านเกิดของฉัน ในขณะที่ Heifetz เอง ก็ชอบที่จะเล่าเรื่องในอดีตของตัวเองให้ฉันฟัง แต่ทว่าเขากำชับกับฉันว่า ความทรงจำก็คือความทรงจำ หากในวันนึง เธอได้เขียนหนังสือถึงฉัน อย่าเขียนเรื่องเหล่านี้ลงไป และขอให้เขียนถึงเขาในแง่มุมมองของฉันเอง

ดังนั้นเรื่องต่างๆที่ในอดีตของHeifetz ฉันจึงขอไม่เล่าในหนังสือเล่มนี้ตามเจตนารมณ์ของเขา

ฉันเป็นชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีน ซึ่งได้รับทุนให้มาเรียนที่อเมริกา ฉันจำไม่ได้ว่าครั้งแรกที่ได้ยินเสียงไวโอลินของ Heifezt นั่นเมื่อไหร่ เพราะมันเริ่มต้นตั้งแต่ตอนที่ฉันยังอยู่ในท้องแม่ แม่มักจะเปิดเพลงไวโอลินที่สีโดยHeifetz ให้ฟังอยู่เสมอ และฉันก็เติบโตมาพร้อมกับเสียงนั้น

วันนึงในขณะที่ฉันกำลังซ้อมไวโอลิน มีชายคนนึงมายืนฟังและทักฉันว่าเป็นลุกศิษย์ไฮเฟตหรือเปล่า ซึ่งทำให้ฉันประหลาดใจมาก ฉันจะเป็นลูกศิษย์ของ Heifetz ได้อย่างไร เพราะในตอนนั้นฉันคิดว่า Heifetz ได้เสียชีวิตไปแล้ว
ชายคนนั้นบอกว่า เค้าดูจากท่าทางการสี การวางนิ้ว การจับโบว์ และสไตล์ดนตรี จากนั้นเขาก็เล่าถึงว่าตอนนี้ Heifetz อยู่ที่ไหน รวมถึงบอกชื่อของลูกศิษย์ของ Heifetz ให้กับฉันด้วย




หลังจากที่ฉันได้รู้ว่า Heifetz ยังมีชีวิตอยู่ก็ดีใจมาก และหาหนทางที่จะไปพบเค้าให้ได้ ซึ่งมีอยู่ทางเดียวนั่นคือการไป Audition

แต่ไม่ใช่ว่าใครที่ไป Audition จะได้พบกับ Heifetz เลย เพราะจะต้องมีการผ่านการคัดเลือกรอบแรกจากลูกศิษย์ของ Heifetz เสียก่อน ครั้งนั้นชั้นเตรียมเพลง Chaconne ของ bach Caprice ของ Paganini และ carmen fantasia แต่ที่น่าประหลาดใจสำหรับฉันก็คือ ในการ Audition ต้องมีการทดสอบ scale ด้วย ???

เพราะตลอดมา ฉันได้รับคำสอนจาก อ. มาว่าการเล่น scale คือ การซ้อมที่เสียเวลาเปล่า ดังนั้นฉันจึงไม่เคยซ้อมscale เลย แต่ก็นั่นหล่ะ กะแค่ scale จะมาขัดขวางการพบ Heifetz ของฉันได้อย่างไร ฉันจึงเจียดเวลาไปซ้อมบ้างเล็กน้อยเพื่อการ Audition แล้วก็เป็นดังที่คาด ฉันผ่านการทดสอบเพลง ทว่าสอบตกในการเล่น scale แต่สุดท้ายฉันก็ผ่านการทดสอบและได้พบกับ Heifezt ตัวจริง

ในวันนั้นฉันตื่นเต้นมาก นี่จะเป็นครั้งแรกที่ฉันจะได้พบกับคนที่อยู่บนปก CD

แต่ทว่าครั้งแรกที่ฉันได้พบกับเค้า กลับรู้สึกแตกต่างจากที่คาดหวังเอาไว้มาก เพราะเค้าดูเหมือนพวกนักธุรกิจมากกว่านักดนตรี



เมื่อการ Audition เริ่มขึ้น เขาไม่ได้สั่งว่าให้เล่นเพลงตั้งแต่ต้น แต่กลับพูดว่า ให้สีหน้าสุดท้ายของ Bach ตามด้วย ตรงนั้น...ตรงโน้น...ตรงนี้ ของเพลงอื่นๆ.....

ผ่านไปซักพัก เค้าก็เริ่มเคาะจังหวะ ต๊อก....ต๊อก....ต๊อก....
และฉันก็พยายามเล่นตามจังหวะนั้น

บางเพลงบางท่อนที่เร็วๆๆๆๆๆ เค้าก็เคาะให้ช้า.....

บางท่อนช้า เค้าก็เคาะให้เร็ว.....

บางท่อนเร็วสุดยอด แกก็เคาะเร็วมากๆ.....
เร็วๆๆๆ.......และเร็วๆๆๆๆๆ ยิ่งขึ้นไปอีก

ฉันจำได้ว่าตอนนั้นหลับตาปี๋ รู้สึกทรมาณและหงุดหงิดมากๆ ในใจคิดแต่ว่าอยากจะออกจากห้องไปให้พ้นๆ จากความอับอายในครั้งนี้

แล้วในที่สุดทุกอย่างก็จบลง.......เมื่อเค้าสั่งให้ฉันหยุดสี

"เธอคง จะซาปซึ้งในเพลงที่ตัวเองเล่นมากๆเลยสิ ถึงได้หลับตาตลอดเวลา” Heifetz เอ่ย
.
.
.
.
.
.
.
"เธอคง จะซาปซึ้งในเพลงที่ตัวเองเล่นมากๆเลยสิ ถึงได้หลับตาตลอดเวลา” Heifetz เอ่ยอีกครั้งด้วยเสียงที่ดังขึ้น
.
.
.
.
.
.
"เธอคง จะซาปซึ้งในเพลงที่ตัวเองเล่นมากๆเลยสิ ถึงได้หลับตาตลอดเวลา” Heifetz เอ่ยครั้งที่ 3 ด้วยน้ำเสียงที่ดังขึ้นไปอีก พร้อมกับเดินไปรอบห้อง
.
.
.
.
.
.
"เธอคง จะซาปซึ้งในเพลงที่ตัวเองเล่นมากๆเลยสิ ถึงได้หลับตาตลอดเวลา” และครั้งที่ 4 นี้ ไม่ใช่แค่เสียงดังธรรมดา แต่มันคือการตะโกน!!!


“ ฉันไม่ได้ซาปซึ้งอะไรเลย แต่ชั้นเพียงแค่สีๆให้มันพ้นๆและจบๆ ไปจากการรบกวนของคุณ” ฉันตะโกนตอบกลับไปด้วยเสียงอันดัง ด้วยความโกรธจัด


แล้วความเงียบก็แผ่กระจายไปทั่วห้อง ในตอนนั้นฉันคิดว่าทุกอย่างคงจบสิ้นแล้วพอกันเสียที


แต่............

เขากลับมองมาที่ฉัน พร้อมกับรอยยิ้มที่มุมปาก ซึ่งสาบานได้ว่านั่นคือรอยยิ้มแรกที่ฉันได้รับจากเค้า

หลังจากนั้นเขาก็เชิญให้ชั้นไปเรียนไวโอลินด้วยกัน









ด้านบนนี่คือรูปคนเขียนค่ะ เธอชื่อว่า Aykl Agus และดังที่เล่าไปในตอนแรก เธอเป็นลูกศิษย์เรียนไวโอลินกับ Heifetz แต่เพราะเธอสามารถเล่นเปียโนได้ด้วย ในตอนหลังเธอจึงกลายเป็นคนเล่น accom ให้กับ Heifetz แทน

ซึ่งรู้ใจกันมากถึงขนาด ถึงขนาด Heifetz เอ่ยปากว่า
"เธอรู้ได้ยังไงว่าชั้นจะสีอย่างนี้"
หูย........



Paganinis Caprice no. 24 - Jascha Heifetz





ปล. เรื่องของ Heifetz นี้ ไม่ได้แปลจากหนังสือทั้งหมด หนังสือสนุกและมีรายละเอียดเยอะมากๆ จขบ แค่อ่านๆแล้วมาเล่าๆรีวิวให้ฟังนะคะ ตัวเองไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในการแปลหนังสือ และภาษาก็ไม่ได้แข็งแรงอะไร ดังนั้นหากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วยค่ะ




 

Create Date : 13 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 24 พฤษภาคม 2552 16:32:11 น.
Counter : 735 Pageviews.  

1  2  

Vitamin_C
Location :
Pasadena United States

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




สวัสดีค่ะ อากาศดี ก็อารมณ์ดีเนอะ .......^-^

คิดถึงบ้านที่เมืองไทยเป็นที่สุด
ถ้าไม่นับห้องสมุดๆเจ๋งๆกับพิพิธภัณฑ์ดีๆ กับอาหารหลากหลายเชื้อชาติให้กินได้ไม่ซ้ำทุกวันแล้วหล่ะก็ เมืองไทยชนะขาดในทุกกรณี ว่าแต่เมื่อไหร่ ห้องสมุดกับพิพิธภัณฑ์ของบ้านเราจะพัฒนาซักทีน้อ....


ถึงแม้ว่าบล๊อกนี้จะไม่ค่อยมีสาระ แต่เนื้อหาและข้อความทั้งหมด
รวมไปถึงรูปภาพที่ข้าพเจ้าเป็นผู้ถ่ายเอง ถือเป็นลิขสิทธิ์ ของสำนักพิมพ์บางกอกสาส์น จำกัด
ห้ามผู้ใดนำไปเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาติจากเจ้าของบล๊อก หรือ จากกองบรรณาธิการ

หากมีข้อสงสัยใดๆ กรุณาติดต่อหลังไมค์
หรือ
กองบรรณาธิการ สำนักพิมพ์บางกอกสาส์น 966/10 ซ.พระราม6 19 ถ.เพชรบุรี เขตราชเทวี กทม 10400
โทร 02-6137140
Email vitavitac@gmail.com
Friends' blogs
[Add Vitamin_C's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.