Little drops of water, Little grains of sand Make the mighty Ocean, and the pleasant land. Little deeds of kindness, Little words of love Help to make Earth Happy, Like the Heven above.
Group Blog
 
All Blogs
 

settrade เยาวชนดนตรี ครั้งที่ 12 ดนตรีไทย vs ดนตรีสากล


เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา จขบ.ได้มีโอกาศไปชมการแข่งขัน settradeเยาวชนคนดนตรี ครั้งที่ 12 รอบรองชนะเลิศ ซึ่งจัดขึ้นที่คณะดุริยางศิลป์ ม.มหิดล ศาลายา

นี่เป็นครั้งแรกที่ได้ไปที่หอแสดงดนตรีของมหิดล ทั้งๆที่ปกติเวลา TPO จัดงาน ก็ไม่เคยจะไปชมเลยซักครั้ง ด้วยเหตุผลที่ว่ามันไกลเหลือเกิน แต่ด้วยความบังเอิญมีธุระที่นั่น ก็เลยได้มีโอกาศได้แวะไปเที่ยว

เข้าไปถึงบริเวณงานก็ได้ยินเสียงซ้อมดนตรีประชันกันทั่ว ทั้งดนตรีไทยและสากล เด็กๆคงจะตื่นเต้นกันมาก เรียกว่าซ้อมกันจนวินาทีสุดท้ายเลยทีเดียว

แต่เมื่อเข้าไปใน Hall ก็พบว่าเค้าแสดงกันไป 4 คนแล้ว จึงได้ชมตั้งแต่คนที่ 5 เป็นต้นไป

การแข่งขันของ settrade ไม่ได้จำกัดว่าต้องเล่นเครื่องดนตรีประเภทไหนจะดนตรีไทย สากล หรือดนตรีเฉพาะท้องถิ่นก็ได้ เพียงแต่ห้ามใช้พวกเครื่องดนตรีไฟฟ้า ส่วนเพลงก็เลือกได้ตามใจชอบแค่กำหนดความยาวของเพลงเท่านั้น ดังนั้น วันนี้ข้าพเจ้าจึงได้ชมการแสดงหลากหลายประเภท ทั้งขิม ระนาด ซอ เปียโน ไวโอลิน ร้องเพลง ซึ่งเพลิดเพลินมากๆ ไม่น่าเบื่อเลยซักนิดเดียว

เด็กๆแต่ละคนเก่งๆกันทั้งนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นเด็กหญิงตัวเล็กนิดเดียว แต่งตัวสวย ก้าวออกมาหน้าเวทีเพียงคนเดียว และร้องเพลงด้วยความมั่นใจต่อหน้าผู้ชม ซึ่งคาดว่าน่าจะมีซัก 200 คนได้ ทำให้รู้สึกนึกชื่นชมในใจถึงความกล้าแสดงออกของเด็กสมัยนี้จริงๆ

นอกจากนี้ยังประทับใจเด็กๆที่ตีระนาดหลายคนดูแล้วมันจิ๊ดจ๊าดมาก มันส์สุดๆ และเมื่อสลับกับเด็กที่เล่นเปียโน กลับทำให้เปียโนดูด้อยไปเลย (ส่วนไวโอลินนั้นไม่ต้องพูดถึง เทียบกะซอไทยไม่ได้เลย)

หลังจากชมการแข่งขันจนจบครบทุกคน ข้าพเจ้ารู้สึกว่า ดนตรีไทยนี่มันสนุกดีเหมือนกันแฮะ และเด็กไทยนี่ก็ไม่น้อยหน้าชาติใดในโลกเลย (คำนี้คุ้นๆนะอิอิ) และแน่นอนเรื่องธรรมชาติของคนไปชมการแข่งขัน ก็ต้องมีการให้คะแนนผู้แข่งขันที่ตนเองชื่นชอบในใจ และปรากฏว่า ข้าพเจ้าให้คะแนนกับดนตรีไทยอย่างท่วมท้นเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะบรรดาระนาดทั้งหลาย เรียกว่าดนตรีสากลนี่แทบไม่ติดโผเลย

แต่ทั้งนี้สาเหตุหนึ่งอาจจะเกิดจากว่าโดยส่วนตัวชอบฟังเพลงแนวคลาสสิกและบังเอิญเล่นดนตรีอยู่ ทำให้มีจุดที่ติหักคะแนนได้...
แต่จะว่ายังไงดี ฟังแบบคนไม่มีความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทย ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าเด็กที่ตีระนาดตีถูกหรือผิด และเพลงที่เค้าเล่นมันยากง่ายแค่ไหน รู้แต่ว่ามันหวือหวาเร้าใจมากกว่าเด็กที่เล่นเปียโนฟ้ากะแหว ทั้งๆที่จริงๆแล้วของแบบนี้ส่วนตัวคิดว่าทั้งความยาก และเทคนิคมันเปรียบเทียบกันไม่ได้

ดังนั้น วันนี้จึงทำให้ข้าพเจ้าเริ่มเข้าใจความรู้สึกของคนที่เล่นดนตรีไม่เป็น หรือคนที่ไม่ชอบฟังเพลงคลาสสิก แล้วได้มาฟังเพลงคลาสสิกครั้งแรกแบบไม่รู้เรื่องอะไรเลย ก็คงจะมีความรู้สึกเหมือนข้าพเจ้าที่ได้ฟังดนตรีไทยในวันนี้ บางเพลงก็ดูสนุกสนานสุดๆ ในขณะที่บางเพลงก็ช้าซะจนน่าเบื่อ ก็เหมือนกับเพลงคลาสสิก บางเพลงที่ดูยิ่งใหญ่ เพลงที่จังหวะเร็วๆเร้าใจ เป็นเพลงที่เวลาเปิดให้คนที่ไม่เคยฟัง เค้าฟังแล้วรู้สึกสนุกไปด้วยได้ (ถ้าเค้าไม่บ่นว่าหนวกหูอ่ะนะ) เช่นเดียวกับเพลงช้าๆหวานๆ ที่เราว่ามันสุดแสนจะโรแมนติก แต่คนทั่วไปมักจะบอกว่าฟังแล้วจะหลับ

เรื่องความแตกต่างของดนตรีแต่ละแบบ เป็นเรื่องของความชอบส่วนบุคคลจริงๆ

เมื่อคิดได้ดังนั้น ก็นึกถึงกรรมการในการตัดสินทันที กรรมการของการแข่งขันครั้งนี้สุดยอดมากๆ คงจะลำบากใจในการตัดสินแน่ เพราะมาตรฐานมันตั้งกันยากจริงๆ




 

Create Date : 15 ธันวาคม 2551    
Last Update : 15 ธันวาคม 2551 21:29:54 น.
Counter : 791 Pageviews.  

swan lake animation (1981)

ในสมัยตอนเป็นเด็ก เคยได้ดูวีดีโอ anime เรื่องนึงชื่อว่า swan lake ซึ่งคุณพ่อซื้อมาให้
เป็นการตูนในดวงใจเรื่องนึงที่หยิบมาเปิดดูไม่รู้จักเบื่อ จนวันนึงที่ม้วนวีดีโอถูกยืมไปให้ญาติซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน และถูกยึดไปเลย ด้วยเหตุผลที่ว่า เราโตแล้วเลิกดูการตูนได้แล้ว
(โหดร้าย...ใครว่าเราเลิกดูการ์ตูนแล้ว จนบัดนี้ยังดูอยู่เลย)

และนั่นเป็นครั้งแรกที่ได้ทำความรู้จักกับคุณ Tchaikovsky ได้รู้จักเพลงของเค้า และด้วยความประทับใจกับเรื่องราวของ swan lake ยังจำฝังใจมาจนทุกวันนี้ ทำให้เวลาไปเดินตามร้านขายDVD ก็คอยมองหา anime เรื่องนี้อยู่เป็นประจำ แต่ก็ไม่เคยเจอะเวอร์ชั่นนี้ สุดท้ายก็ได้แต่หาแผ่นเพลง swan lake ของลุง Tchaikovsky มาฟังแทน

จนวันนี้ search หาคลิปของลุง Tchaikovsky ใน youtube ทำให้ไปเจอะคลิป Anime เรื่องนี้โดยบังเอิญ ดีใจสุดๆที่ได้ดูอีกครั้ง ไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนโพสไว้จนครบทั้งเรื่องมีทั้งหมด 12 ตอน ดูจนเต็มอิ่มทำให้วันนี้ข้าพเจ้ารู้สึกรัก youtube ที่สุดเลย จุ๊บๆ

Anime เรื่องนี้ ผลิตโดยบริษัท Toei กำกับโดยชาวญี่ปุ่นที่ชื่อว่า Kimio Yabuki โดยได้รับแรงบันดาลใจจากบัลเล่ห์เรื่อง Swan lake ของ Tchaikovsky ดังนั้นเนื้อเรื่องและเพลงประกอบ anime ทั้งหมด ก็นำมาจาก score เพลงบัลเล่ห์นั่นเอง ซึ่งทำได้ลงตัวและไพเราะมากๆ
แต่ทั้งๆที่ Anime เรื่องนี้สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1981 ซึ่งปีที่ข้าพเจ้าเกิดพอดี นึกๆแล้วผ่านมาตั้ง 20 กว่าปี(แก่จังวุ้ย..) anime เมื่อกลับมาดูอีกครั้งก็ยังรู้สึกว่าภาพยังสวย เจ้าหญิงก็ยังดูอ่อนหวานน่าทะนุถนอมเหมือนเดิม และเจ้าชายที่เคยคิดเสมอมาแต่เด็กว่า ต้องเป็นผู้หญิงปลอมตัวมาแสดงเป็นผู้ชายแน่ๆเลย จนบัดนี้มาดูอีกหน ก็ยังคิดเหมือนเดิม เอิ้กๆ





 

Create Date : 19 พฤศจิกายน 2551    
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2551 0:24:49 น.
Counter : 1305 Pageviews.  

Sarabande Baroque Favourites แผ่นรวมฮิตในฝัน



เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ได้แผ่นนี้กลับมาบ้าน จะว่าไปแล้วพักหลังๆมานี้ไม่ค่อยได้ซื้อแผ่นพวกรวมฮิตเท่าไหร่ ด้วยความที่พอซื้อแผ่นแบบนี้ มันจะเกิดการ "ซ้ำซ้อน" กับแผ่นเฉพาะของ composer ท่านนั้นๆ แล้วด้วยความที่มันรวมไว้หลายคน บ่อยๆนึกอยากฟังเพลงนั้นก็หาไม่เจอะ จำไม่ได้ว่ามันไปรวมไว้ในแผ่นไหน ของใครแต่งก็ไม่รู้ หรือไม่บางที ได้ฟังแค่ movment เดียว อยากฟังท่อนอื่นๆมั่ง ก็ไม่มีให้ฟัง


แต่ส่วนตัวแล้วข้อดีสำหรับแผ่นรวมฮิตก็คือ มันมีหลากหลายอารมณ์ ไม่น่าเบื่อเหมือนบางครั้งที่ต้องฟังแผ่นเดียวของ composer คนเดียว ทำให้ไม่ต้องลุกจากเตียงไปกดเปลี่ยนแผ่นบ่อยๆ แถมได้ฟังcomposer คนอื่นๆที่ไม่คุ้นเคยมั่ง แล้วถ้าเจอะแผ่นรวมมิตรที่ถูกใจ ก็สบายไม่ต้องมานั่งทำ playlist ในคอมพ์ เพื่อไรท์แผ่นรวมแต่เพลงที่ตัวเองชอบไปฟังในรถ เพราะการทำเช่นนั้นมันจะทำให้จำชื่อเพลงและแผ่นจริงๆไม่ได้ ด้วยความที่ไรท์แล้วขี้เกียจไม่ทำชื่อเพลง เอิ้กๆ

หลังจากที่ไปเดินเตร่ใน B2S ที่ CTW ใจจริงไม่คิดหวังว่าจะได้แผ่นกลับบ้าน แต่เพราะมันไม่รู้จะไปไหนฆ่าเวลาดี ฝนมันตกกลับบ้านลำบาก ก็เดินวนๆในห้องคลาสสิกของร้านนั่นหล่ะ แต่หลังจากเดินๆดูแล้ว อ๊ะ...เหมือนจะมีแผ่นใหม่ๆที่ไม่เคยเห็นซะด้วย สุดท้ายก็ได้แผ่นข้างบน ด้วยเหตุผล ง่ายๆ 3 ข้อ
1.คำว่า "Baroque Favourites" ซึ่งเป็นยุคเพลงที่ชอบที่สุด
2.มีชื่อ Menuhin ติดใจเค้าเล่น bach คู่กะ ลุง Gould ชอบมากๆ แม้ใครๆจะว่า Menuhin เหมาะกับเพลงโรแมนติกก็เถอะ
3.แผ่นของ EMI ชุด Encore การันตีอยู่ในตัวแล้วว่า ซื้อทีไรไม่เคยผิดหวัง

เมื่อดูรายชื่อเพลงแล้วก็ยิ่งไม่ต้องคิดมาก มีแต่เพลงที่ชอบอยู่เกินกว่าครึ่ง เรียกว่าเป็นแผ่นรวมฮิตในฝันเลยค่ะ

1. Suite No.4 In D Minor (Sarabande) - Handel
2. Orchestral Suite No.3 BWV1068 (Air On A G String) - Bach
3. The Four Seasons, ‘Winter’ (Largo) – Vivaldi
4. Minuet (From Bernice) – Handel
5. Oboe Concerto In C Minor (Largo) – Marcello
6. Concerto Grosso, Op.6 No.4 (Larghetto Affettuoso) – Handel
7. Keyboard Concerto In F, BWV1056 (Largo) – Bach
8. Christmas Concerto (Adagio) – Corelli
9. Dance Of The Blessed Spirits (From Orfeo Ed Euridice) – Gluck
10. Adagio For Organ & Strings – Albinoni
11. Water Music (Suite No.1) – Handel
12. Jesu, Joy Of Man’s Desiring (Cantata No.147)
13. Concerto In D Minor For 2 Violins, BWV1043 (Largo Ma Non Tanto) – Bach
14. Largo (From Xerxes) – Handel
15. Canon – Pachelbel
16. Concerto Grosso, Op.6 No.8 (Larghetto E Piano) – Bach
17. Sheep May Safely Graze (Cantata No.208) - Bach


ไม่รู้ทำไมพอถึงหน้าหนาว มักจะคิดถึงเพลงยุคบาโรคเป็นพิเศษ หรือเพราะเพลงในยุคนี้กลิ่นอายมันมักจะเศร้าๆ เหงาๆ ที่ไม่ใช่เหงาเศร้าแบบอกหักรักคุด แต่เป็นแบบบรรยากาศเหงาๆของฤดูหนาว เหงาๆ เงียบๆ (จริงๆไม่เคยไปหนาวกะเค้าที่เมืองนอกหรอกค่ะ แต่คิดถึงบรรยากาศเวลาเดินป่าขึ้นดอยทางเหนือของบ้านเราน่าจะพอถูไถ)

หลังจากกลับมาบ้าน เปิดฟังอยู่ 2 คืน ก็พบว่าแอบหงุดหงิดนิดนึง หลายๆเพลงเล่นไม่ค่อยได้ดั่งใจเท่าไหร่ อาจจะเพราะเราติดหูกับแผ่นอื่นๆที่เคยฟังมากไปหรือเปล่า แถมบางเพลงตัดมาบางท่อน ข้าพเจ้าก็เกิดอาการเดิมๆคืออยากฟังท่อนอื่นด้วย (อันนี้มันช่วยไม่ได้)
แต่ไม่ใช่ว่าแผ่นนี้จะมีแต่บ่นๆ เพราะจริงๆฟังไปเรื่อยๆก็โอเค ก็แหม...มันมีแต่เพลงที่ชอบ ถึงเล่นไม่ถูกใจ ฟังยังไงก็เพราะ ก็คนมันชอบนินา
แต่มันก็ไม่ใช่ว่าจะไม่ถูกใจไปซะทุกเพลงหรอกนะคะ เพราะเพลงที่ฟังแล้ว โอ๊ย...จะขาดใจตาย(แปลว่าถูกใจมาก)ก็มี

ที่สำคัญ แผ่นนี้มันช่างเหมาะกับเวลากลางคืนเสียนี่กระไร ได้บรรยากาศมากๆ เปิดไฟหัวเตียง 1 ดวง นอนอ่านหนังสือบนเตียงกับแผ่นนี้ แล้วอย่าลืมเปิดแอร์เย็นๆด้วยนะคะ หลับสบายมากๆ อิอิ
แต่ไม่รู้ทำไมตั้งเวลาปิดเครื่องเล่นอัตโนมัติแล้วมันมักจะปิดตัวเองก่อนข้าพเจ้าหลับทุกที สงสัยเพราะมัวแต่นอนฟังเพลงจนนอนไม่หลับ เอิ้กๆ

เอามาฝาก 1 track เพลงที่ชอบใจจะขาด อิอิ จริงๆเราว่าเค้าเล่นยานคางไป ฟังแล้วเลยเหมือนจะขาดใจแทน อิอิ
Obeo concerto in C minor ท่อน largo แต่งโดย Alessandro Marcello




 

Create Date : 18 พฤศจิกายน 2551    
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2551 14:03:29 น.
Counter : 571 Pageviews.  

จิตนาการจากดนตรี กับ Ferdinand



แผ่น CD แผ่นนี้ ทีแรกยืมคนอื่นมาฟังค่ะ เพราะชอบเพลงชุด carnival จนสุดท้ายได้มีโอกาศพบ CD carnival ของกลุ่ม Argerich and friend เล่นร่วมกัน แต่หน้าปกไม่เหมือน ก็รีบคว้ามาไม่ทันได้ดูว่ามีแต่เพลงชุด carnival เท่านั้น ไม่ได้มี Ferdinand ที่ชอบ
เลยสงสัยว่าจะได้ซื้อใหม่อีกรอบแน่ๆ

เพลง Ferdinand จะว่าเป็นเพลงก็ไม่เชิง ต้องเรียกว่าเป็น เรื่องเล่าประกอบดนตรีซะมากกว่า โดยเค้านำไวโอลินมาสีประกอบกับการเล่านิทานเรื่องFerdinand ซึ่งเป็นนิทานทีแต่งโดย Munro Leaf นักเขียนชาวอเมริกัน โดยเรื่อง Ferdinand นี้ ก็เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงที่สุดของเค้า

The story of Ferdinand เป็นเรื่องของวัวกระทิงตัวหนึ่งที่ไม่สนใจการต่อสู้ แต่กลับชอบนั่งสงบๆใต้ร่มไม้และสูดกลิ่นหอมของดอกไม้มากกว่า
track เรื่องเล่าประกอบดนตรีนี้ น่ารักมากๆ ทุกครั้งที่ฟัง ข้าพเจ้ามักจะจิตนาการตามเสียงของไวโอลิน ว่าตอนนี้ Ferdinand กำลังทำท่าทางยังไงอยู่นะ
ว่าแล้วก็อยากให้มีทำเรื่องเล่าแบบนี้เป็นภาษาไทยบ้างจังเลย เด็กๆของเราจะได้มีโอกาศสัมผัสกับจินตนาการจากดนตรีอันสนุกสนานกับเค้ามั่ง

ลองฟังแล้วนึกตามดูสิคะ ถ้าฟังไม่ทัน ก็อ่านตามบทพากย์ข้างล่างได้เลยค่ะ มีเพี๊ยนๆไม่ตรงหน่อย เพราะคนเล่าคงตัดและปรับบางประโยคให้เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้กระชับและง่ายต่อการเล่าเรื่อง

>

The Story of Ferdinand

by Munro Leaf

Once upon a time in Spain there was a little bull and his name was Ferdinand. All the other little bulls he lived with would run and jump and butt their heads together, but not Ferdinand. He liked to sit just quietly and smell the flowers. He had a favorite spot out in the pasture under a cork tree. It was his favorite tree and he would sit in its shade all day and smell the flowers.
Sometimes his mother, who was a cow, would worry about him. She was afraid he would be lonesome all by himself. "Why don't you run and play with the other little bulls and skip and butt your head?" she would say. But Ferdinand would shake his head. "I like it better here where I can sit just quietly and smell the flowers." His mother saw that he was not lonesome, and because she was an understanding mother, even though she was a cow, she let him just sit there and be happy.
As the years went by Ferdinand grew and grew until he was very big and strong. All the other bulls who had grown up with him in the same pasture would fight each other all day. They would butt each other and stick each other with their horns. What they wanted most of all was to be picked to fight at the bull fights in Madrid. But not Ferdinand--he still liked to sit just quietly under the cork tree and smell the flowers.
One day five men came in very funny hats to pick the biggest, fastest roughest bull to fight in the bull fights in Madrid. All the other bulls ran around snorting and butting, leaping and jumping so the men would think that they were very very strong and fierce and pick them. Ferdinand knew that they wouldn't pick him and he didn't care.
So he went out to his favorite cork tree to sit down. He didn't look where he was sitting and instead of sitting on the nice cool grass in the shade he sat on a bumble bee. Well, if you were a bumble bee and a bull sat on you what would you do? You would sting him. And that is just what this bee did to Ferdinand. Wow! Did it hurt! Ferdinand jumped up with a snort. he ran around puffing and snorting, butting and pawing the ground as if he were crazy.
The five men saw him and they all shouted with joy. here was the largest and fiercest bull of all. Just the one for the bull fights in Madrid! So they took him away for the bullfight day in a cart.
What a day it was! Flags were flying, bands were playing...and all the lovely ladies had flowers in their hair. They had a parade ino the bull ring. First came the Banderilleros with long sharp pins with ribbins on them to stick in the bull and make him mad. Next came the Picadores who rode skinny horses and they had long spears to stick in the bull and make him madder. Then came the Matador, the proudest of all--he thought he was very handsome, and bowed to the ladies. He had a red cape and a sword and was supposed to stick the bull last of all. Then came the bull, and you know who that was don't you? --FERDINAND.
They called him Ferdinand the Fierce and all of the Banderilleros were afraid of him and the Picadores were afraid of him and the Matador was scared stiff. Ferdinand ran to the middle of the ring and everyone shouted and clapped because they thought he was going to fight fiercely and butt and snort and stick his horns around. But not Ferdinand. When he got to the middle of the ring he saw the flowers in all the lovely ladies' hair and he just sat down quietly and smelled.
He wouldn't fight and be fierce no matter what they did. He just sat and smelled. And the Banderilleros were mad and the Picadores were madder and the Matador was so mad he cried because he couldn't show off with his cape and sword. So they had to take Ferdinand home.
And for all I know he is sitting there still, under his favorite cork tree, smelling the flowers just quietly.
He is very happy.





เรื่องนี้ Walt Disney เคยเอามาทำเป็นการตูนด้วยค่ะ ข้าพเจ้าเคยดูตอนเด็กๆ แต่ไม่รู้ว่าชื่อเรื่อง Ferdinand จนได้มา search เจอะจากเพลงข้างบนเนี่ยหล่ะ
การตูนเรื่องนี้ได้รับรางวัล Academy Award for Best Short Subject ในปี ค.ศ.1938 ประเภทการตูนด้วย ลองชมกันดู ภาพสวยคลาสสิกดี




 

Create Date : 13 พฤศจิกายน 2551    
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2551 14:10:09 น.
Counter : 906 Pageviews.  

ข้อคิดในการสอน/ดีดเปียโน จาก Horowitz (ตอนจบ)

ดองไว้นานจนลืมว่ายังมีเขียนค้างเอาไว้ ในที่สุดก็ได้ฤกษ์แปลต่อเสียที ต้องขอโทษท่านผู้อ่าน(ถ้ามี)ด้วยนะคะ ที่ให้รอเสียตั้งนาน

ในตอนนี้ส่วนใหญ่จะรวบรวมเรื่องความคิดเห็นของ Horowitz ในเรื่องการเรียนการสอนเปียโน



สิ่งแรกเลย คือ Horowitz ยังย้ำนักหนาว่านักดนตรีทุกคน ควรหาสไตล์ของตนเองให้เจอะ ไม่ใช่การเลียนแบบการเล่นที่ perfect จากคนเก่งๆ

อย่าไปกังวลกับโน๊ตให้มากนัก การเล่น note ที่ perfect ไม่ได้หมายความว่าจะได้ดนตรีที่เยี่ยมยอด

“A few wrong notes are not a crime”
Horowitz กล่าวแล้วอ้างอิงจากคำพูดของ Toscanini พ่อตาของเค้า

“For false notes, no one was ever put in jail”
ถึงเล่นโน๊ตผิด ก็ไม่ติดคุกหรอก <---ถูกใจสุดๆ แต่นั่นไม่ได้หมายว่า เล่นผิดบ่อยๆแล้วมันจะดีหรอกนะจริงไหม

Horowitz ได้ให้ความเห็นในเรื่องการศึกษาบทเพลงจากแผ่นบันทึกเสียงว่า ในปัจจุบันมีหลายๆคนฝึกฝนเพลงจาก CD หรือ บันทึกการแสดง เค้าเหล่านั้นให้พยายามที่จะดีดและทำเสียงให้เหมือนกับเสียงอันแสนจะ perfect ในบันทึกนั้นๆ แต่นั่นไม่ใช่การดีดเปียโนที่ดี เพราะเค้าให้ความสนใจกับตัวโน๊ตมากจนเกินไป จนลืมไปว่าไหนหล่ะดนตรี? ไหนหล่ะการตีความ?

Horowitz ยกตัวอย่างกรณีนี้ในเรื่องของเค้ากับ Rachmaninoff
Horowitz เล่าว่า เค้าได้ตีความและดีด บทเพลง Piano Concerto no.3 ของ Rachmaninoff ไปในทิศทางอีกแบบนึงที่แตกต่างจากที่ตัว Rachmaninoff เล่นเอง โดยให้เหตุผลว่า เพราะตัวเค้าเองเข้าใจถึงสิ่งที่อยู่ในบทเพลงที่ Rachmaninoff ต้องการจะสื่อ และเข้าถึงบรรยากาศของรัสเซียในช่วงเวลานั้น ดังนั้น Horowitz จึงได้พยายามนำความรู้สึกเหล่านั้นมาใส่ในบทเพลง และผลปรากฏว่า Rachmaninoff เองก็เห็นด้วยกับการตีความของเค้า



เมื่อ Horowitz กล่าวถึงการสอนเปียโนของตนเอง
Horowitz เล่าว่า การสอนเปียโน ก็เปรียบเหมือนกับการเป็น conductor ที่สอนวง orchestra ว่าต้องเล่นยังไง แต่ส่วนหนึ่งของการเรียนดนตรี คือการที่รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งในเรื่องนี้ Horowitz บอกว่าเป็นปัญหาใหญ่เลยหล่ะ

“ people are taught how to be taught by someone else, but they are not taught how to be their own teacher”
แล้วยกตัวอย่างถึง conductor ของวง orchestra เค้าเหล่านั้น ไม่สามารถบอกนักคาริเน็ตได้ว่า ต้องเล่นคาริเน็ตยังไง แต่สิ่งที่ทำได้คือ คุยกับนักคาริเน็ต และบอกเค้าว่าต้องการอะไร

“ The secret is not to force your personality on your student”

Horowitz เล่าว่า เวลาสอน นร. น้อยครั้งมากๆที่เค้าจะเดินไปที่เปียโนแล้วบอก นร ว่า ให้เล่นแบบนั้นแบบนี้ เพราะนั่นคือการสอนที่ผิด นร. ต้องหัดที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง



และบทส่งท้ายในบทสัมภาษณ์ในครั้งนี้ ที่ Horowitz เล่าถึงเส้นทางของการเป็นศิลปินฝากไว้ให้นักเปียโนรุ่นใหม่เก็บไปคิด โดยอ้างคำกล่าวของ George Szell
“ There’s a lot of piano playing, but not enough music making”

การเป็นศิลปิน ต้องรู้จักเริ่มอาชีพด้วยตนเอง ต้องแสดงให้เห็นว่าตนเองทำอะไรได้บ้าง
Horowitz เล่าถึงตัวตัวเค้าเองว่า ในชิวิตนี้เค้าไม่เคยเข้าสู่การแข่งขันใดๆเลย และในคอนเสิร์ตแรกๆที่ออกแสดง ภายในห้องก็แทบจะว่างเปล่า แต่เมื่อเวลาผ่านไป คนก็ค่อยๆมากขึ้นๆ จนกระทั่งล้น ซึ่ง Horowitz เองมองว่าความสำเร็จนี้มันดีกว่า ที่เมื่อคุณเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน และเป็นที่รู้จัก แน่นอนผู้คนก็จะคาดหวังกับการเล่นของคุณ แม้ว่านั่นก็เป็นอีกทางหนึ่งที่เป็นบรรไดก้าวสู่ความสำเร็จก็ตาม แต่แน่นอนว่ายังมีอีกทางหนึ่ง ซึ่งคือทางที่สามารถเป็นไปได้ ซึ่งก็คือทางที่ Horowitz เลือกนั่นเอง



ปล. บทความนี้คัดลอกบางส่วนที่ จขบ สนใจ จากหนังสือ Great Contemporary Pianists Speak For Themselves โดย Elyse March ใครสนใจลองหาฉบับเต็มมาอ่านนะคะ ภาษาอ่านง่ายและได้แง่คิดหลายๆอย่างเลย

Chopin - Mazurka for piano No. 32 in C sharp minor, Op. 50/3, B. 145/3 - Vladimir Horowitz




 

Create Date : 05 พฤศจิกายน 2551    
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2551 11:53:42 น.
Counter : 1524 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  

Vitamin_C
Location :
Pasadena United States

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




สวัสดีค่ะ อากาศดี ก็อารมณ์ดีเนอะ .......^-^

คิดถึงบ้านที่เมืองไทยเป็นที่สุด
ถ้าไม่นับห้องสมุดๆเจ๋งๆกับพิพิธภัณฑ์ดีๆ กับอาหารหลากหลายเชื้อชาติให้กินได้ไม่ซ้ำทุกวันแล้วหล่ะก็ เมืองไทยชนะขาดในทุกกรณี ว่าแต่เมื่อไหร่ ห้องสมุดกับพิพิธภัณฑ์ของบ้านเราจะพัฒนาซักทีน้อ....


ถึงแม้ว่าบล๊อกนี้จะไม่ค่อยมีสาระ แต่เนื้อหาและข้อความทั้งหมด
รวมไปถึงรูปภาพที่ข้าพเจ้าเป็นผู้ถ่ายเอง ถือเป็นลิขสิทธิ์ ของสำนักพิมพ์บางกอกสาส์น จำกัด
ห้ามผู้ใดนำไปเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาติจากเจ้าของบล๊อก หรือ จากกองบรรณาธิการ

หากมีข้อสงสัยใดๆ กรุณาติดต่อหลังไมค์
หรือ
กองบรรณาธิการ สำนักพิมพ์บางกอกสาส์น 966/10 ซ.พระราม6 19 ถ.เพชรบุรี เขตราชเทวี กทม 10400
โทร 02-6137140
Email vitavitac@gmail.com
Friends' blogs
[Add Vitamin_C's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.