Group Blog
 
All Blogs
 

พุทธศาสนสุภาษิต ๒๔.เวรวรรค คือ หมวดเวร

พุทธศาสนสุภาษิต

เรียบเรียงจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรณาณวโรรส
และ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ


--------------------------------------------------------------



๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร

เย เวรํ อุปนยฺหนฺติ เวรํ เตสํ น สมฺมติ.
เวรของผู้จองเวร ย่อมไม่ระงับ.
นัย-ม. อุป. ๑๔/๒๙๗. นัย-ขุ. ธ. ๒๕/๑๕. นัย-ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๒.

เย เวรํ นูปนยฺหนฺติ เวรํ เตสูปสมฺมติ.
เวรของผู้ไม่จองเวร ย่อมระงับได้.
นัย-ม. อุป. ๑๔/๒๙๗. นัย-ขุ. ธ. ๒๕/๑๕. นัย-ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๒.

อเวเรน จ สมฺมนฺติ.
เวรย่อมระงับด้วยไม่มีเวร.
วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุป. ๑๔/๒๙๗. ขุ. ธ. ๒๕/๑๕. ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๒.

น หิ เวเรน เวรานิ สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ.
ในกาลไหน ๆ เวรในโลกนี้ย่อมระงับด้วยเวรไม่ได้เลย.
วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุป. ๑๔/๒๙๗. ขุ. ธ. ๒๕/๑๕. ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๒.

-------------------------------------------------------------

หมายเหตุ
บทความ พุทธศาสนสุภาษิต นี้มาจากการเรียบเรียงสุภาษิตในหมวดเดียวกันให้มารวมกัน จากหนังสือ พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ ที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเรียบเรียง และหนังสือพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๒ และเล่ม ๓ ที่ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ ได้รวบรวมและเรียบเรียงไว้
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประสงค์จะทราบได้อ่านสุภาษิตในหมวดเดียวกันจากหนังสือทั้ง ๓ ต่อเนื่องกันในครั้งเดียว

เนื่องจากบทความนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงโดยคัดลอกเนื้อความมาจากเวปของวัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน โดยมิได้ตรวจทานความครบถ้วนถูกต้องจากหนังสือต้นฉบับที่ถูกกล่าวถึง ผู้ที่ประสงค์จะนำไปใช้อ้างอิง กรุณาตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง

คัดลอกจาก เวป //www.doisaengdham.org




 

Create Date : 12 ตุลาคม 2556    
Last Update : 12 ตุลาคม 2556 7:59:25 น.
Counter : 1617 Pageviews.  

พุทธศาสนสุภาษิต ๒๓.วิริยวรรค คือ หมวดเพียร

พุทธศาสนสุภาษิต

เรียบเรียงจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรณาณวโรรส
และ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ


--------------------------------------------------------------



๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร

กาลาคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ.
คนขยัน ย่อมไม่พร่าประโยชน์ซึ่งถึงตามกาล.
ขุ. ชา. ฉกฺก. ๒๗/๑๙๕.

วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ.
คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร.
ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑.

ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ.
คนมีธุระหมั่นทำการงานให้เหมาะเจาะ ย่อมหาทรัพย์ได้.
สํ. ส. ๑๕/๓๑๖. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑.

อกิลาสุ วินฺเท หทยสฺส สนฺตึ.
คนไม่เกียจคร้าน พึงได้ความสงบใจ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑.

น นิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ.
ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยเบื่อหน่าย.
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๓๓.

อนิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ.
ประโยชน์ย่อมสำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยไม่เบื่อหน่าย.
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๓๓.

อถ ปจฺฉา กุรุเต โยคํ กิจฺเจ อาวาสุ สีทติ.
ถ้าทำความเพียรในกิจการล้าหลัง จะจมอยู่ในวิบัติ.
ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๓๔.

หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ.
คนที่ผัดวันว่าพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งว่ามะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม.
ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๖๖.

อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ.
ควรรีบทำความเพียรในวันนี้.
ม. อุป. ๑๔/๓๔๘. ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๖๕.

วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา.
บุรุษพึงพยายามไปกว่าจะสำเร็จประโยชน์.
สํ. ส. ๑๕/๓๓๐.

กเรยฺย โยคฺคํ ธุวมปฺปมตฺโต.
ผู้ไม่ประมาท ควรทำความเพียรให้แน่วแน่.
นัย-ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๗๘.

ยถา ยถา ยตฺถ ลเภถ อตฺถํ ตถา ตถา ตตฺถ ปรกฺกเมยฺย.
พึงได้ประโยชน์ในที่ใด ด้วยประการใดๆ ควรบากบั่นในที่นั้น ด้วยประการนั้น ๆ
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๗๐. ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๐.

อปฺปเกนปิ เมธาวี
ปาภเฏน วิจกฺขโณ
สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานั
อณํ อคฺคึว สนฺธมํ.

ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด ย่อมตั้งตนได้ด้วยต้นทุนแม้น้อย
เหมือนคนก่อไฟน้อยขึ้นฉะนั้น.
(พุทฺธ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒.

อโมฆํ ทิวสํ กริรา
อปฺเปน พหุเกน วา
ยํ ยํ วิวหเต รตฺติ
ตทูนนฺตสฺส ชีวิตํ.

ควรทำวันคืนไม่ให้เปล่าจากประโยชน์น้อยหรือมาก
เพราะวันคืนผ่านบุคคลใดไป ชีวิตของบุคคลนั้น ย่อมพร่องจากประโยชน์นั้น.
(สิริมณฺฑเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๓๕.

อุฏิฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ
อปฺปมตฺโต วิธานวา
สมํ กปฺเปติ ชีวิตํ
สมฺภตํ อนุรกฺขติ.

ผู้ขยันในหน้าที่การงาน ไม่ประมาท เข้าใจจัดการ เลี้ยงชีวิตพอสมควร
จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้.
(พุทฺธ) องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๙๘.

จกฺขุมา วิสมานีว
วิชฺชมาเน ปรกฺกเม
ปณฺฑิโต ชีวโลกสฺมึ
ปาปานิ ปริวชฺชเย.

เมื่อความบากบั่นมีอยู่ บัณฑิตพึงเว้นบาปในโลกนี้เสีย
เหมือนคนมีจักษุเว้นทางอันไม่เรียบร้อยฉะนั้น.
(พุทฺธ) ขุ. อุ. ๒๕/๑๔๙.

โย จ วสฺสสตํ ชีเว
กุสีโต หีนวีริโย
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย
วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ.

ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
ส่วนผู้ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ก็ประเสริฐกว่า
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๓๐.

โย จ สีตญฺจ อุณฺหญฺจ
ติณา ภิยฺโย น มญฺญติ
กรํ ปุริสกิจฺจานิ
โส, สุขา น วิหายติ.

ผู้ไม่สำคัญความหนาวและความร้อนให้ยิ่งไปกว่าหญ้า ทำกิจของบุรุษ
ย่อมไม่เสื่อมจากความสุข.
(พุทฺธ) ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๙.

โกสชฺชํ ภยโต ทิสฺวา
วิริยารมฺภญฺจ เขมโต
อารทฺธวิริยา โหถ
เอสา พุทฺธาสาสนี.

ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย และเห็นการปรารภความเพียรเป็นความปลอดภัย
แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี
(พุทฺธ) ขุ. จริยา. ๒๒/๕๙๕.

ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺป
อกฺขาตาโร ตถาคตา
ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ
ฌายิโน มารพนฺธนา.

ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก
ผู้มีปกติเพ่งพินิจดำเนินไปแล้ว จักพ้นจากเครื่องผูกของมาร.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๕๑.

นิทฺทํ ตนฺทึ วิชิมฺหิตํ
อรตึ ภตฺตสมฺมท
วิริเยน นํ ปณาเมตฺวา
อริยมคฺโค วิสุชฺฌติ.

อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์ เพราะขับไล่ความหลับ ความเกียจคร้าน
ความบิดขี้เกียจ ความไม่ยินดี และความเมาอาหารนั้นได้ด้วยความเพียร.
(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๑๐.

สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน
ปญฺญวา สุสมาหิโต
อารทฺธวิริโย ปหิตตฺโต
โอฆํ ตรติ ทุตฺตรํ.

ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว
ปรารภความเพียร ตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก.
(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๗๔.

-------------------------------------------------------------

หมายเหตุ
บทความ พุทธศาสนสุภาษิต นี้มาจากการเรียบเรียงสุภาษิตในหมวดเดียวกันให้มารวมกัน จากหนังสือ พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ ที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเรียบเรียง และหนังสือพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๒ และเล่ม ๓ ที่ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ ได้รวบรวมและเรียบเรียงไว้
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประสงค์จะทราบได้อ่านสุภาษิตในหมวดเดียวกันจากหนังสือทั้ง ๓ ต่อเนื่องกันในครั้งเดียว

เนื่องจากบทความนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงโดยคัดลอกเนื้อความมาจากเวปของวัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน โดยมิได้ตรวจทานความครบถ้วนถูกต้องจากหนังสือต้นฉบับที่ถูกกล่าวถึง ผู้ที่ประสงค์จะนำไปใช้อ้างอิง กรุณาตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง

คัดลอกจาก เวป //www.doisaengdham.org




 

Create Date : 04 ตุลาคม 2556    
Last Update : 4 ตุลาคม 2556 8:53:06 น.
Counter : 6187 Pageviews.  

พุทธศาสนสุภาษิต ๒๒.วาจาวรรค คือ หมวดวาจา

พุทธศาสนสุภาษิต

เรียบเรียงจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรณาณวโรรส
และ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ


--------------------------------------------------------------



๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา

หทยสฺส สทิสี วาจา.
วาจาเช่นเดียวกับใจ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๓๘.

โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ.
เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.

มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ.
คนเปล่งวาจาชั่ว ย่อมเดือดร้อน.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.

ทุฏฺฐสฺส ผรุสา วาจา.
คนโกรธมีวาจาหยาบ.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๗๓.

อภูตวาที นิรยํ อุเปติ.
คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๕.

สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ.
ความสะอาด พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ.
นัย-ขุ. อุ. ๒๕/๑๗๘.

วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณึ.
ควรเปล่งวาจางาม.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.

สณฺหํ คิรํ อตฺถวตึ ปมุญฺเจ.
ควรเปล่งวาจาไพเราะที่มีประโยชน์.
ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๐.

ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย.
ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน.
สํ. ส. ๑๕/๒๗๘. ขุ. สุ. ๒๕/๔๑๑.

มนุญฺญเมว ภาเสยฺย.
ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๐.

นามนุญฺญํ กุทาจนํ.
ในกาลไหน ๆ ก็ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๐.

วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ.
ไม่ควรเปล่งวาจาที่ดี ให้เกินกาล.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๐. ขุ. สุ. ๒๕/๕๒๓. ขุ. มหา. ๒๙/๖๒๒.

น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ.
ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย.
ขุ. ชา. ๒๗/๒๘.

กลฺยาณิเมว มุญฺเจยฺย
น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ
โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ
มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ.

พึงเปล่งวาจางามเท่านั้น ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย
การเปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ คนเปล่าวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน.
(พุทฺธ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.

ตเมว วาจํ ภาเสยฺย
ยายตฺตานํ น ตาปเย
ปเร จ น วิหึเสยฺย
สา เว วาจา สุภาสิตา.

บุคคลพึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นเหตุยังตนให้เดือดร้อน
และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น, วาจานั้นแล เป็นสุภาษิต.
(วงฺคีสเถร) ขุ. สุ. ๒๕/๔๑๑.

นาติเวลํ ปภาเสยฺย น
ตุณฺหี สพฺพทา สิยา
อวิกิณฺณํ มิตํ วาจํ
ปตฺเต กาเล อุทีริเย.

ไม่ควรพูดจนเกินกาล ไม่ควรนิ่งเสมอไป
เมื่อถึงเวลา ก็ควรพูดพอประมาณ ไม่ฟั่นเฝือ.
(พุทฺธ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๓๓๘.

ปิยวาจเมว ภาเสยฺย
ยา วาจา ปฏินนฺทิตา
ยํ อนาทาย ปาปานิ
ปเรสํ ภาสเต ปิยํ.

ควรกล่าววาจาที่น่ารักอันผู้ฟังยินดีเท่านั้น
เพราะคนดีไม่นำพาคำชั่วของผู้อื่นแล้ว กล่าวแต่คำไพเรา.
(วงฺคีสเถร) ขุ. สุ. ๒๕/๔๑๒.

ปุริสสฺส หิ ชาตสฺส
กุธารี ชายเต มุเข
ยาย ฉินฺทติ อตฺตานํ
พาโล ทุพฺภาสิตํ ภณํ.

คนที่เกิดมา มีผึ่งเกิดอยู่ในปาก
คนโง่กล่าวคำไม่ดี ก็ชื่อว่า เอาผึ่งถากตัวเอง.
(พุทฺธ) องฺ. ทสก. ๒๔/๑๘๕.

ยญฺหิ กยิรา ตญฺหิ วเท
ยํ น กยิรา น ตํ วเท
อกโรนฺตํ ภาสมานํ
ปริชานนฺติ ปณิฑิตา.

บุคคลทำสิ่งใด ควรพูดสิ่งนั้น ไม่ทำสิ่งใด ไม่ควรพูดสิ่งนั้น,
บัณฑิตย่อมกำหนดรู้คนที่ไม่ทำ ได้แต่พูด.
(หาริตเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๐๙.

โย อตฺตเหตุ ปรเหตุ
ธนเหตุ จ โย นโร
สกฺขิปุฏฺโฐ มุสา พฺรูติ
ตํ ชญฺญา วสโล อิติ.

คนใด ถูกอ้างเป็นพยาน เบิกความเท็จ
เพราะตนก็ดี เพราะผู้อื่นก็ดี เพราะทรัพย์ก็ดี พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๓๕๐.

โย นินฺทิยํ ปสํสติ
ตํ วา นินฺทติ โย ปสํสิโย
วิจินาติ มุเขน โส กลึ
กลินา เตน สุขํ น วินฺทติ.

ผู้ใดสรรเสริญคนควรติ หรือติคนที่ควรสรรเสริญ,
ผู้นั้นย่อมเก็บโทษด้วยปาก เขาไม่ได้สุขเพราะโทษนั้น.
(พุทธฺ) องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๔.

สหสฺสมปิ เจ วาจา
อนตฺถปทสญฺหิตา
เอกํ อตฺถปทํ เสยฺโย
ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ.

ถ้ามีวาจาที่ประกอบด้วยข้อความซึ่งเป็นประโยชน์แม้ตั้งพัน,
ข้อความที่เป็นประโยชน์ บทเดียว ที่ฟังแล้วสงบระงับได้ ประเสริฐกว่า.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๒๘.

อกกฺกสํ วิญฺญาปนึ
คิรํ สจฺจํ อุทีรเย
ยาย นาภิสเช กญฺจิ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.

ผู้ใด พึงกล่าวถ้อยคำอันไม่เป็นเหตุให้ใคร ๆ ขัดใจ ไม่หยาบคาย
เป็นเครื่องให้รู้ความได้และเป็นคำจริง, เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๗๐.

อกฺโกธโน อสนฺตาสี
อวิกตฺถี อกุกฺกุจฺโจ
มนฺตาภาณี อนุทฺธโต
ส เว วาจายโต มุนิ.

ผู้ใด ไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด ไม่รำคาญ พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน
ผู้นั้นแลชื่อว่า เป็นมุนี มีวาจาสำรวมแล้ว.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๕๐๐. ขุ. มหา. ๒๙/๒๕๗.

อพทฺธา ตตฺถ พชฺฌนฺติ
ยตฺถ พาลา ปภาสเร
พทฺธาปิ ตตฺถ มุจฺจนติ
ยตฺถ ธรีรา ปภาสเร.

คนเขลา ย่อมกล่าวในเรื่องใด ไม่ถูกผูกก็ติดในเรื่องนั้น,
คนฉลาดย่อมกล่าวในเรื่องใด แม้ถูกผูก ก็หลุดในเรื่องนั้น.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๙.

ปรสฺส วา อตฺตโน วาปิ เหตุ
น ภาสติ อลิกํ ภูริปญฺโญ
โส ปูชิโต โหติ สภาย มชฺเฌ
ปจฺฉาปิ โส สุคติคามิ โหติ.

ผู้มีภูมิปัญญา ย่อมไม่พูดพล่อย ๆ เพราะเหตุแห่งคนอื่นหรือตนเอง
ผู้นั้นย่อมมีผู้บูชาในท่ามกลางชุมชน แม้ภายหลังเขาย่อมไปสู่สุคติ
(มโหสธโพธิสตฺต) ขุ. ชา. วีสติ. ๒๗/๔๒๗.

ยํ พุทฺโธ ภาสตี วาจํ
เขมํ นิพฺพานปตฺติยา
ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย
สา เว วาจานมุตฺตมา.

พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด เป็นคำปลอดภัย เพื่อบรรลุพระนิพพาน
และเพื่อทำที่สุดทุกข์, พระวาจานั้นแล เป็นสูงสุดแห่งวาจาทั้งหลาย
(วงฺคีสเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๔๓๔.

สจฺจํ เว อมตา วาจา
เอส ธมฺโธ สนนฺตโน
สจฺเจ อตฺเถ จ ธมฺเม จ
อหุ สนฺโต ปติฏฺฐิตา.

คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย นั่นเป็นธรรมเก่า
สัตบุรุษทั้งหลายเป็นผู้ตั้งมั่นในคำสัตย์ที่เป็นอรรถและเป็นธรรม.
(วงฺคีสเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๔๓๔.

-------------------------------------------------------------

หมายเหตุ
บทความ พุทธศาสนสุภาษิต นี้มาจากการเรียบเรียงสุภาษิตในหมวดเดียวกันให้มารวมกัน จากหนังสือ พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ ที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเรียบเรียง และหนังสือพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๒ และเล่ม ๓ ที่ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ ได้รวบรวมและเรียบเรียงไว้
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประสงค์จะทราบได้อ่านสุภาษิตในหมวดเดียวกันจากหนังสือทั้ง ๓ ต่อเนื่องกันในครั้งเดียว

เนื่องจากบทความนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงโดยคัดลอกเนื้อความมาจากเวปของวัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน โดยมิได้ตรวจทานความครบถ้วนถูกต้องจากหนังสือต้นฉบับที่ถูกกล่าวถึง ผู้ที่ประสงค์จะนำไปใช้อ้างอิง กรุณาตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง

คัดลอกจาก เวป //www.doisaengdham.org




 

Create Date : 27 กันยายน 2556    
Last Update : 27 กันยายน 2556 7:51:51 น.
Counter : 5166 Pageviews.  

พุทธศาสนสุภาษิต ๒๑.ราชวรรค คือ หมวดพระราชา

พุทธศาสนสุภาษิต

เรียบเรียงจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรณาณวโรรส
และ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ


--------------------------------------------------------------



๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา

ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ.
พระราชา เป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น.
สํ. ส. ๑๕/๕๗.

ราชา มุขํ มนุสฺสานํ.
พระราชา เป็นประมุขของประชาชน.
วิ. มหา. ๕/๑๒๔. ม. ม. ๑๓/๕๕๖. ขุ. ส. ๒๕/๔๔๖.

สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ โหติ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก.
ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข.
องฺ. จตุตก. ๒๑/๙๙. ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๕๒.

กุทฺธํ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต ราชา รฏฺฐสฺส ปูชิโต.
พระราชาผู้ไม่กริ้วตอบผู้โกรธ ราษฎรก็บูชา.
ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๘๗.

สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ.
พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบ ย่อมสง่า.
สํ. นิ. ๑๖/๓๓๑. ขุ. ธ. ๒๕/๖๗.

ขตฺติโย เสฏฺโฐ ชเนตสฺมึ เย โคตฺตปฏิสาริโน.
พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด ในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยสกุล.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๐๗. ม. ม. ๑๓/๓๒. สํ. ส. ๑๕/๒๒๕. สํ. นิ. ๑๖/๓๓๑.

ปุตฺตกํ วิย ราชาโน ปชํ รกฺขนตุ สพฺพทา.
พระราชาจงรักษาประชาราษฎร์ ให้เหมือนบิดารักษาบุตรทุกเมื่อ.
นัย-ส. ส.

-------------------------------------------------------------

หมายเหตุ
บทความ พุทธศาสนสุภาษิต นี้มาจากการเรียบเรียงสุภาษิตในหมวดเดียวกันให้มารวมกัน จากหนังสือ พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ ที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเรียบเรียง และหนังสือพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๒ และเล่ม ๓ ที่ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ ได้รวบรวมและเรียบเรียงไว้
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประสงค์จะทราบได้อ่านสุภาษิตในหมวดเดียวกันจากหนังสือทั้ง ๓ ต่อเนื่องกันในครั้งเดียว

เนื่องจากบทความนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงโดยคัดลอกเนื้อความมาจากเวปของวัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน โดยมิได้ตรวจทานความครบถ้วนถูกต้องจากหนังสือต้นฉบับที่ถูกกล่าวถึง ผู้ที่ประสงค์จะนำไปใช้อ้างอิง กรุณาตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง

คัดลอกจาก เวป //www.doisaengdham.org




 

Create Date : 19 กันยายน 2556    
Last Update : 19 กันยายน 2556 7:57:13 น.
Counter : 4562 Pageviews.  

พุทธศาสนสุภาษิต ๒๐.ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ

พุทธศาสนสุภาษิต

เรียบเรียงจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรณาณวโรรส
และ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ


--------------------------------------------------------------



๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ

น เว ยาจนฺติ สปฺปญฺญา.
ผู้มีปัญญาย่อมไม่ขอเลย.
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๐.

ยาจโก อปฺปิโย โหติ.
ผู้ขอย่อมไม่เป็นที่รัก (ของผู้ถูกขอ).
วิ. มหาวิภงฺค. ๑/๓๓๗๗. ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๐.

ยาจํ อททมปฺปิโย.
ผู้ถูกขอเมื่อไม่ให้สิ่งที่เขาขอ ย่อมไม่เป็นที่รัก (ของผู้ขอ).
วิ. มหาวิภงฺค. ๑/๓๓๗. ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๙/๒๒๐.

เทสฺโส จ โหติ อติยาจนาย.
คนย่อมเป็นที่เกลียดชังเพราะขอจัด.
วิ. มหาวิภงฺค. ๑/๓๓๔. ขุ. ชา. ติก. ๒๗/๑๐๐.

น ตํ ยาเจ ยสฺส ปิยํ ชิคึเส.
ไม่ควรขอสิ่งที่รู้ว่าเป็นที่รักของเขา.
วิ. มหาวิภงฺค. ๑/๓๓๔. ขุ. ชา. ติก. ๒๗/๑๐๐.

-------------------------------------------------------------

หมายเหตุ
บทความ พุทธศาสนสุภาษิต นี้มาจากการเรียบเรียงสุภาษิตในหมวดเดียวกันให้มารวมกัน จากหนังสือ พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ ที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงเรียบเรียง และหนังสือพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๒ และเล่ม ๓ ที่ พระมหาทองสืบ จารุวณฺโณ พร้อมด้วยคณะกรรมการ ได้รวบรวมและเรียบเรียงไว้
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประสงค์จะทราบได้อ่านสุภาษิตในหมวดเดียวกันจากหนังสือทั้ง ๓ ต่อเนื่องกันในครั้งเดียว

เนื่องจากบทความนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงโดยคัดลอกเนื้อความมาจากเวปของวัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน โดยมิได้ตรวจทานความครบถ้วนถูกต้องจากหนังสือต้นฉบับที่ถูกกล่าวถึง ผู้ที่ประสงค์จะนำไปใช้อ้างอิง กรุณาตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง

คัดลอกจาก เวป //www.doisaengdham.org




 

Create Date : 12 กันยายน 2556    
Last Update : 12 กันยายน 2556 8:04:11 น.
Counter : 856 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  

sirivajj
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




บทความในกลุ่ม ข้อคิด-ธรรมะ ได้ถูกเรียบเรียงขึ้น โดยบางบทความได้คัดลอกและสำเนาภาพมาถ่ายทอดจากหนังสือธรรมะต่างๆ หรือหนังสืออื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ด้วยเจตนาประสงค์จะให้ธรรมะอันเป็นสัจจะและมงคลของพระพุทธศาสนาได้รับการเผยแพร่และเข้าถึงพุทธศาสนิกชนหรือผู้ที่สนใจให้ได้มากที่สุด รวมทั้งให้บทความธรรมะได้ถูกรวบรวมไว้ในรูปแบบที่จะสะดวกแก่การสืบค้นและเข้าถึงในภายหลัง

ผู้ที่ประสงค์จะคัดลอกไปเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ กรุณาตรวจสอบกับต้นฉบับหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ ด้วยครับ
Friends' blogs
[Add sirivajj's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.