Group Blog
 
All Blogs
 
บทสวดมนต์แปล - ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

บทสวนมนต์แปล



การสวดมนต์นั้นก่อให้เกิดอานิสงส์ ที่จะไล่ความขี้เกียจ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอนเกียจคร้าน ทำให้เกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉง จิตเป็นสมาธิ ที่จะต้องสำรวมใจ และเมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นในใจก็บังเกิดขึ้น การสวดมนต์โดยที่รู้คำแปล รู้ความหมายนั้น ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญา กล่าวคือ เวลาสวดหากพิจารณาคิดตามไปด้วย ก็จะทำให้เกิดปิติ เกิดสมาธิ และเกิดปัญญา ซึ่งนับเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องและสมบูรณ์
ผู้ใดสวดมนต์หรือฟังสวด และเข้าใจตามไปด้วย นับว่าได้บุญถึงสองชั้น คือ เป็นการประกาศพระธรรมและสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวและมั่นคงตลอดไป

ธัมมจักกัปปวัตตนสุตตปาฐะ
(พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงเริ่มวางหลักธรรม ก่อนเรื่องอื่น)

(หันทะ มะยัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตะปาฐัง ภะณามะ เส)

เอวัมเม สุตัง, ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ), ได้สดับมาแล้วอย่างนี้
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, พาราณะสิยัง วิหะระติ, อิสิปะตะเน มิคะทาเย, สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณาสี,
ตัตตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิขู อามันเตสิ, ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาแล้วตรัสว่า

ทะเวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ที่สุดแห่งการกระทำสองอย่างเหล่านี้, มีอยู่, เป็นสิ่งที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะเลย, โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค, นี้คือการประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย, หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต, เป็นของต่ำทราม, เป็นของชาวบ้าน, เป็นของคนชั้นปุถุชน, ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า, ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย, นี้อย่างหนึ่ง
โย จายัง อัตตะ กิละมะถานุ โยโค, อีกอย่างหนึ่ง, คือการประกอบการทรมานตนให้ลำบาก,
ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต, เป็นสิ่งนำมาซึ่งทุกข์, ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า, ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ, มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง ไม่เข้าไปหาที่สุดแห่งการกระทำสองอย่างนั้น, มีอยู่, เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ, เพื่อความสงบ, เพื่อความรู้ยิ่ง, เพื่อความรู้พร้อม, เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง เป็นอย่างไรเล่า, เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ, เพื่อความสงบ, เพื่อความรู้ยิ่ง, เพื่อความรู้พร้อม, เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐัง คิโก มัคโค, ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้น คือ ข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการ นี้เอง,
เสยยะถีทัง, สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ, ความดำริชอบ,
สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว, การพูดจาชอบ, การทำการงานชอบ, การเลี้ยงชีวิตชอบ,
สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ, ความพากเพียรชอบ, ความระลึกชอบ, ความตั้งมั่นชอบ
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, นี้แล คือข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง, เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ, เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ, เพื่อความสงบ, เพื่อความรู้ยิ่ง, เพื่อความรู้พร้อม, เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจจ์ คือ ทุกข์นี้, มีอยู่,
ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง, คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์, ความแก่ก็เป็นทุกข์, ความตายก็เป็นทุกข์,
โสกะปะริเทวะทุกขะ โทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา, ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์,
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข, ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์, ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่พอใจก็เป็นทุกข์
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง, มีความปราถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์
สังขิต เตนะ ปัญจุปาทานักขันธาทุกขา, ว่าโดยย่อ อุปาทาน ขันธ์ห้า เป็นตัวทุกข์

อิทัง โข ปะนะภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจจ์คือ เหตุให้เกิดทุกข์นี้, มีอยู่
ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะ สะหะคะตา ตัตตระ ตัตตราภิ นันทินี, นี้คือ ตัณหา, อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก, อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน, เป็นเครื่องให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ
เสยยะถีทัง, กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา, ได้แก่ตัณหาเหล่านี้คือ ตัณหาในกาม, ตัณหาในความมีความเป็น, ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจจ์ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้, มีอยู่, โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย, นี้คือความดับสนิทเพราะจางไป โดยไม่มีเหลือของตัณหานั้น นั่นเอง, เป็นความสละทิ้ง เป็นความสลัดคืน, เป็นความปล่อย, เป็นความทำไม่ให้มีที่อาศัยซึ่งตัณหานั้น

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจจ์คือ ข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์นี้, มีอยู่, อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค, นี้คือ ข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการ,
เสยยะถีทัง, สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ, ความดำริชอบ,
สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว, การทำการงานชอบ, การเลี้ยงชีวิตชอบ,
สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ, ความพากเพียรชอบ, ความระลึกชอบ, ความตั้งใจมั่นชอบ

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่า อริยสัจจ์คือ ทุกข์, เป็นอย่างนี้อย่างนี้ ดังนี้,
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว, ว่า ก็อริยสัจจ์คือทุกข์นั้นแล, เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ดังนี้, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ,
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว, ว่า ก็อริยสัจจ์คือ ทุกข์นั้นแล, เรากำหนดรู้ได้แล้ว ดังนี้, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ,

อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่า อริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดทุกข์, เป็นอย่างนี้อย่างนี้ ดังนี้,
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว, ว่า อริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งควรละเสีย ดังนี้, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ,
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว, ว่า ก็อริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแล, เราละได้แล้ว ดังนี้, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ,

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่า อริยสัจจ์คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, เป็นอย่างนี้อย่างนี้ ดังนี้,
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว, ว่า ก็อริยสัจจ์ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง ดังนี้, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ,
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว, ว่า ก็อริยสัจจ์คือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล, เราทำให้แจ้งได้แล้ว ดังนี้, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ,

อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่า อริยสัจจ์คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, เป็นอย่างนี้อย่างนี้ ดังนี้,
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามีนีปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว, ว่า ก็อริยสัจจ์คือ ข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล, เป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดมี ดังนี้, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ,
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามีนีปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว, ว่า ก็อริยสัจจ์ คือ ข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล, เราทำให้เกิดมีได้แล้ว ดังนี้, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ,

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว, อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ, เอวันติปะริวัฏฏัง ทะวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง, มีปริวัฏฏ์สาม มีอาการสิบสอง เช่นนั้น, ในอริยสัจจ์ทั้งสี่เหล่านี้, ยังไม่เป็นของบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแก่เรา อยู่เพียงใด,
เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก, สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะ มะนุสสายะ, อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ตลอดกาลเพียงนั้น, เรายังไม่ปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ, ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก, ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว, อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ, เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทะวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เมื่อใด, ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง, มีปริวัฏฏ์สาม มีอาการสิบสอง เช่นนั้น ในอริยสัจจ์ทั้งสี่เหล่านี้, เป็นของบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแก่เรา,
อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก, สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะ มะนุสสายะ, อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง, เมื่อนั้น, เราปฏิญญาว่า ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ, ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก, ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้วเทวดาและมนุษย์

ญาณัญจะ ปะนะ เม ภิกขะเว ทัสสะนัง อุทะปาทิ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็ญาณและทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา, อะกุปปา เม วิมุตติ, ว่าความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ, อะยะมันติมา ชาติ, ความเกิดนี้ เป็นความเกิดครั้งสุดท้าย, นัตถิทานิ ปุนัพภะโว ติ, บัดนี้ ความเกิดอีก ย่อมไม่มี ดังนี้,

อิทะมะโวจะ ภะคะวา, อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง, อิมัสสะมิญจะ ปะนะเวยยากะระณัสสะมิง ภัญญะมาเน, อายัสสะมะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ, ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก, ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง, อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนาวา เกนะจิ วา โลกัส สะมินติ,
ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
จาตุมมะหาราชิกา เทวาสัททะมะนุสสาเวสุง, จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
ตาวะติงสาเทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, พรัหมะกายิกานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
พรัหมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, พรัหมะปาริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
พรัหมะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, พรัหมะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
มะหาพรัหมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, มะหาพรัหมานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
สุภะกิณหะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
อะสัญญสัตตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, อะสัญญสัตตานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง, สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตตะวา,
อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง,

เอตัม ภะคะวะตา, พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุต ตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง, อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วาโลกัสสะมินติ,

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ, ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ, อะยัญจะ ทะสะ สะหัสสี โลกะธาตุ, สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ, อัปปะมาโณจะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ, อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง,

อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ, อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ, อัญญาสิ วะตะ โภ โกญฑัญโญติ,
อิติหิทัง อายัสสะมะโต โกญฑัญญัสสะ, อัญญาโกญฑัญโญ ตะเววะ นามัง อะโหสีติ.

---------------------------------------------

คัดลอกและเรียบเรียงจาก

หนังสือคู่มือพุทธบริษัท ฉบับสมบูรณ์
สำนักพิมพ์ธรรมสภา

หนังสือสวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

หนังสือสวดมนต์ บุตร ธิดาและหลาน ครอบครัว อังอุบลกุล อุทิศให้
คุณแม่ นางลากเซ็ง แซ่ตั้ง ในวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๔
สงบ อังอุบลกุลและผู้ร่วมด้วย จัดพิมพ์



Create Date : 26 กันยายน 2552
Last Update : 26 กันยายน 2552 20:28:16 น. 4 comments
Counter : 2403 Pageviews.

 


โดย: นายแจม วันที่: 27 กันยายน 2552 เวลา:20:15:18 น.  

 
ขอบคุณนะคะ ที่นำบทสวดมนต์ดีๆมาลงไว้
อนุโมทนาบุญค่ะ


โดย: ปลา IP: 112.142.117.18 วันที่: 6 ธันวาคม 2552 เวลา:2:34:11 น.  

 
อนุโมทนาสาธุ
ขอบคุณค่ะ


โดย: เจียบ IP: 122.154.32.14 วันที่: 8 ธันวาคม 2552 เวลา:15:33:33 น.  

 
รับพิมพ์ หนังสือสวดมนต์แปล ขนาดพกพา ส่งทั่วประเทศ ราคาโรงพิมพ์

สนใจติดต่อ : คุณหนึ่ง
โทร/tel. : 087-808-2032
Email : boonbookmail@gmail.com
ชมตัวอย่างหนังสือ Website : //www.boonbook.co.cc

ขอเชิญทุกท่านทำบุญด้วยการแจกหนังสือสวดมนต์
ในโอกาสต่างๆ เช่น งานบวช วันเกิด งานศพ ทอดผ้าป่า เป็นต้น
ได้อานิสงส์จากการเผยแพร่บทพระพุทธคุณ

รับพิมพ์ หนังสือสวดมนต์ ขนาดพกพา ส่งทั่วประเทศ
ราคาโรงพิมพ์ ขนาด 8.5 x 14.5 ซม. ปกกระดาษอาร์ตมัน
เคลือบยูวี ปั๊มอักษรทอง เนื้อใน 76 หน้า กระดาษถนอมสายตา ตัวหนังสือคมชัด อ่านง่าย

ในเล่มบอกวิธีการสวดมนต์ ตั้งแต่เริ่มสวด มีบทสวด
อิติปิโส, พาหุงมหากา, บทสวดแผ่เมตตา และพระคาถาชินบัญชร บทสรรเสริญ เจ้าแม่กวนอิม
มีคำถวายทานและพระคาถาต่าง ๆ อีกกว่า 28 พระคาถา พร้อมคำแปลภาษาไทย

พิเศษ พิมพ์รายชื่อผู้ทำบุญฟรี 3 หน้า!! (พิมพ์ได้มากกว่า 100 รายชื่อ)


สั่งขั้นต่ำ 100 - 300 เล่มๆ ละ 17 บาท.....
301 - 500 เล่มๆ ละ 15 บาท.....
501 - 1,000 เล่มๆ ละ 13 บาท.....
1,001 - 2,000 เล่มๆ ละ 12 บาท.....
2,000 เล่มขึ้นไป เล่มละ 11 บาท.....

หนังสือแบบอื่น

1. หนังสือธรรมะ สวดมนต์ ขนาดพกพา รหัส S01
//www.pantipmarket.com/items/9621553

2. หนังสือทำวัตร เช้า เย็น ปกสีน้ำตาล รหัส L01
//www.boonbook.co.cc

3. หนังสือสวดมนต์ขนาด A5 ปกสีเหลือง รหัส L02
//www.pantipmarket.com/items/10155678

4. หนังสือแก้กรรม ปกน้ำตาลอ่อน ขนาด A5 รหัส L03
//www.pantipmarket.com/items/9380018

5. งานพิมพ์อื่่นๆ
//www.boonbook.co.cc



(ติดต่อสอบถาม ได้ที่ คุณหนึ่ง 087-808-2032)
Email : boonbookmail@gmail.com
ชมตัวอย่างหนังสือ Website : //www.boonbook.co.cc


การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง


โดย: http://www.boonbook.co.cc IP: 124.120.131.75 วันที่: 23 มิถุนายน 2553 เวลา:11:25:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sirivajj
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




บทความในกลุ่ม ข้อคิด-ธรรมะ ได้ถูกเรียบเรียงขึ้น โดยบางบทความได้คัดลอกและสำเนาภาพมาถ่ายทอดจากหนังสือธรรมะต่างๆ หรือหนังสืออื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ด้วยเจตนาประสงค์จะให้ธรรมะอันเป็นสัจจะและมงคลของพระพุทธศาสนาได้รับการเผยแพร่และเข้าถึงพุทธศาสนิกชนหรือผู้ที่สนใจให้ได้มากที่สุด รวมทั้งให้บทความธรรมะได้ถูกรวบรวมไว้ในรูปแบบที่จะสะดวกแก่การสืบค้นและเข้าถึงในภายหลัง

ผู้ที่ประสงค์จะคัดลอกไปเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ กรุณาตรวจสอบกับต้นฉบับหรือเจ้าของลิขสิทธิ์ ด้วยครับ
Friends' blogs
[Add sirivajj's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.