ลืมตา อ้าปาก เย้ยฟ้า ท้าดิน!!! สิ่งใดอยากได้ สิ่งนั้นแสวงหา!!!
 
นักแปลประจำ: ลักษณะงาน (ปฐมบท)

สวัสดีค่ะ ทุกๆ ท่านทีหลงเข้ามา

ก่อนอื่นก็ต้องแนะนำตัวก่อนใช่มั้ยคะ... เอาเป็นว่าเพิ่งจบวารสารศาสตรบัณฑิตมาได้สามเดือนปัจจุับันทำงานเป็นนักแปลภาษาอังกฤษ-ไทย ประจำอยู่ที่ศูนย์การแปลและล่ามโดยเฉพาะ.. สำหรับภาวะเศรษฐกิจจิตตกแบบนี้ เราคิดว่าเราโชคดีมากค่ะทีไ่ด้งานประจำทำ

มาเข้าเรื่องเลยนะคะ เสียเวลาอ่านเกริ่นกัน
ทำงานมาสามเดือนก็แบ่งแยกลักษณะงานของเราได้เป็นสามเดือนเช่นเดียวกันค่ะ
1. เดือนแรก
พอคิดแล้วยังขนลุกอยู่เลยค่ะ เหมือนจับพลัดจับพลูมาทำ... เอาเป็นว่าช่วงเดือนแรก ก่อนอื่นเลย เราต้องทำความรู้จักกับ SDL Trados ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องมือพื้นฐานของนักแปลทั่วไปซึ่งจะเก็บข้อความที่เราเคยแปลเอาไว้ ให้นึกถึงงานแปลแบบ "ก๋วยเตี๋ยวเรือ" นะคะ พวกเอกสารราชการทั้งหลายนี่พอทำไปรอบนึงแล้วรอบต่อมาก็แทบไม่ต้องขยับนิ้วเลย เพียงแค่ดูความถูกต้องให้ตรงตามต้นฉบับก็พอ แถมยังเป็นประโยชน์กับงานแปลที่มีข้อความซ้ำกันมากๆ อีกด้วย ฟึ่บๆๆๆ แป็บเดียวก็เสร็จ... ถึงตรงนี้ก็อยากบอกผู้ที่อยากเป็นนักแปลว่าควรทำตัวให้คุ้นเคยกับเอกสารราชการให้เร็วที่สุดค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่คำแปลก็จะมีอยู่ในเว็บกงสุลแล้ว แต่เราต้องเอามาปรับบ้างเป็นบางประการ รวมไปถึงการสร้าง "คลังคำ" ของเราเองค่ะ ซึ่งอันนี้นอกจากจะใช้ workbench แล้วก็ัยังต้องรู้จัก Multiterm (ถ้าแตกฉานแล้วจะมาโพสต์นะคะ) ซึ่งทำให้ชื่อกระทรวง ชื่อตำแหน่งอะไรกลายเป็นเรื่องจิ๊บๆ มาก ซึ่งเดือนแรกมีพวกใบนู่นใบนี่มาให้เราทำเยอะแยะเลย แต่บางทีก็ได้งานขำๆ อย่างพวกฉลากยา โบร์ชัวเล็กๆ มาทำเหมือนกัน ไม่มีอะไรมากค่ะ
แต่ผลการทำงานเดือนแรกสอนให้รู้ว่า "ความรอบคอบระมัดระวังนั้นสำคัญยิ่งกว่าชีวิต!".... งานแปลก๋วยเตี๋ยวเรือทั้งหลายล่ะค่ะ แม้ว่าหน้าล่ะไม่เกินสามร้อยก็ตามแต่ว่าถ้าำไม่ดูรายละเอียดแล้วก็แย่... บ้างก็มีขีดฆ่าตรงโน้น แก้ไขตรงนี้ ลายเซ็นต์ใครต่อใครวุ่นไปหมด... พอไม่ระวังก็พลาด... ที่ทำงานเราถือว่าไม่ว่างานระดับไหนๆ ก็ต้องเนี้ยบไม่มีที่ติ.... ก็จบเดือนด้วยความเฉาตายเพราะโดนตำหนิ ไม่มีความดีใจเหลือสักนิดที่ได้เงินเดือนแรกในชีวิต

2. เดือนที่สอง: แปรจากเบบี๋มาเป็นอนุบาล
เมื่อเราสะเพร่ามากๆ เจ้านายก็เลยใช้วิธีการใหม่ ครึ่งเดือนแรกเลยจัดให้นั่ง "พิสูจน์อักษร" อย่างเดียวไปเลย ซึ่งกลายเป็นจุดเปลี่ยนในการทำงานเพราะนอกจากเราจะได้พัฒนาความรอบคอบของเราแล้ว สิ่งสำคัญคือ "เราต้องอ่านเยอะมาก" อ่านทุกอย่างตั้งแต่เอกสารกฎหมายไปจนถึงเอกสารวิศวกรรม (ซึ่งบริษัทเรามีงานสองประเภทนี้เยอะมากกก) ผลก็คือยิ่งอ่านเยอะเท่าไหร่ก็ยิ่งแตกฉานมากขึ้นเท่านั้น ครึ่งเดือนที่สองเลยสอนให้เรารู้ว่า
"นักแปลที่ดี ย่อมเป็นมิตรกับภาษาไทย"
การเก่งแต่ภาษาอังกฤษ อ่านมันแต่หนังสือภาษาอังกฤษแทบไม่ได้ช่วยกับการทำงานเลย เพราะการเป็นนักแปลไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเข้าใจแต่ขึ้นอยู่กับ "การถ่ายทอด" มากกว่าค่ะ

3. ครึ่งหลังของเดือนที่สอง - ปัจจุบัน: ประถมแล้วนะ!
ค่ะ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็งานๆๆๆๆๆๆๆๆ ตั้งแต่จดหมายรักไปจนถึงประกายไฟอาร์ค (โอ้วพระเจ้าช่วย แปลจนเสร็จยังไม่รู้เลยว่าคืออะไร) ตอนนี้มี TM อยู่ในมือมากกว่า 10,000 ล่ะค่ะ ความคาดหวังจากเจ้านายก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว แต่ยังเหมือนเดิมคือแปลผิดยังไม่มีความผิดเท่าพิมพ์ผิด ต้องอ่านหนังสือมากขึ้น พวกงบการเงิน สัญญา ประกาศ อ่านทุกอย่างเท่าที่หาได้ ไม่เว้นแม้แต่ในห้องน้ำ

รู้สึกภูมิใจมากค่ะกับงานที่ทำ แม้ว่าจะได้เงินเดือนไม่มากแต่ก็บอกได้ "งานฉันน่ะ ไม่มีความรู้ทำไม่ได้นะเว้ยยย" กินความภาคภูมิใจแทนข้าวกันเลยล่ะค่ะ

..... แต่ที่พูดมานี่ยังไม่มีชีวิตส่วนตัวสักหยดเลยนะคะ.......

ถ้าคืนนี้ว่างจะมานั่งบรรยายข้อดีข้อเสียของนักแปลประจำค่ะ!

ปล. รบกวนเม้นท์ให้เป็นกำลังใจด้วยนะค้า







Create Date : 22 มิถุนายน 2552
Last Update : 22 มิถุนายน 2552 17:30:08 น. 3 comments
Counter : 590 Pageviews.

 
กรี๊ดดด
อาชีพในฝันของดิชั้นมันช่างฟังดูโหดร้าย


โดย: G i f t b o x วันที่: 23 มิถุนายน 2552 เวลา:5:57:48 น.  

 
เป็นกำลังใจให้ค่ะ ชอบงานแปลเหมือนกันแต่ไม่เคยแปลเป็นทางการมากขนาดนั้น ไม่รู้ซอร์ฟแวร์ สักตัว แต่ชอบแปลข่าวมากๆ ค่ะ ยังไงก็ส่งกำลังใจให้นะคะ


โดย: khunnongorn (KhunnongOrn ) วันที่: 10 กรกฎาคม 2552 เวลา:16:53:35 น.  

 


โดย: jodtabean (loveyoupantip ) วันที่: 6 สิงหาคม 2554 เวลา:3:15:11 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 
 

แคสเทียล
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เหวยยย!!! พ้นโปรแย้ววว
[Add แคสเทียล's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com