ดังตฤณ6

  ทำคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป เป็นไปได้จริงหรือ?
คำตอบคือไม่จริง เป็นไปไม่ได้!
ทุภาษิตนี้เกิดขึ้นจากการมองเหตุการณ์ภายนอกด้วยตาเปล่า
เช่น ช่วยคนอกตัญญูแล้วโดนทำให้เจ็บใจในภายหลัง
ราวกับถูกอสรพิษแว้งกัด
หรือตั้งใจเข้าไปช่วยคนตกน้ำ แต่กลับต้องตายด้วยกันทั้งคู่

แต่หากมองเหตุการณ์ภายในด้วยใจสัมผัสอย่างละเอียดเป็นขณะๆ
ก็จะรู้ว่าขณะทำคุณกับใคร หรือให้ทานกับสัตว์ ด้วยน้ำจิตคิดอนุเคราะห์
ความรู้สึกอันเป็น
ในภายในย่อมสว่าง เปิดโล่ง อบอุ่นใจ สบายตัว เป็นกุศล
ความรู้สึกดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นต้นเหตุความเจริญ
ความปลอดภัย ความดีงาม เหมือนเมล็ดพันธุ์แห่งความสุขอันเป็นนามธรรม
ที่พร้อมจะเติบโตและงอกงามอย่างเป็นรูปธรรมในภายหลัง

หากจะทำให้ศรัทธาในวิบากกรรมตั้งมั่นในเรา
เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรรมและวิบากให้ทั่วถึง
ขณะหวังดีด้วยน้ำจิตเป็นกุศล ถึงอย่างไรก็ได้ชื่อว่าทำบุญทำกุศล
เหมือนเข้าไปยืนอยู่ในเขตสว่าง อย่างไรก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้สว่า
ถึงแม้ว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้รับอาจไม่ถูกใจเขา
เขายังอยู่ในเขตมืด ออกจากที่มืดไม่ได้ก็ตาม

บางครั้ง เมื่อเราเห็นว่าบุญที่เราทำ ก่อทุกข์ให้กับคนบางคน
ก็มีทางเลือกส่วนตัวที่เราจะก่อมโนกรรม วจีกรรม หรือกายกรรมต่ออีก เช่น
๑) เอาแต่เศร้าใจ หม่นหมอง ครุ่นคิดว่าเราทำคุณบูชาโทษไปแล้วหนอ เราคงไม่ได้บุญแล้วหนอ
๒) กลัวความผิด พยายามแก้ตัว โดยไม่แก้ไขใดๆเลย และอ้างท่าเดียวว่า ทำไปเพราะหวังดี จึงไม่มีความผิดให้ตำหนิ
๓) ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น เห็นเป็นบทเรียน เป็นกรณีศึกษาที่ต้องระมัดระวังในการทำบุญครั้งต่อไป
๔) กล้ารับผิด พยายามแก้ไข โดยไม่แก้ตัวใดๆ และพยายามทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ความรู้สึกของผู้คนดีขึ้นทุกประการ

ยังมีความเป็นไปได้อื่นๆอีกมาก และนั่นเองคือปมซับซ้อนในก่อกรร
เริ่มขึ้นมาตั้งใจดี แต่ลงเอยอาจเป็นร้าย
บางทีเริ่มขึ้นมาตั้งใจ แต่ลงเอยอาจเป็นดีก็ได้
มีตัวแปร มีปัจจัยมากมายมาเบี่ยงเบนได้

ตามกฎเกณฑ์ของกรรมและวิบาก ท่านให้มองว่าถ้าเกิดผลดีร้ายอันใดกับเรา
ก็ต้องสันนิษฐานว่าเคยทำกับคนอื่นมาก่อน
เช่น เราทำบุญ พยายามทำดีกับคนอื่นอย่างรอบคอบแล้ว
แต่ก็ไม่วายถูกเพ่งโทษ หรือกระทั่งป้ายสีให้ร้ายจนเกิดความมัวหมอง
นั่นก็ควรสันนิษฐานว่า เราเคยไปใส่ร้ายป้ายสีคนทำดีไว้เหมือนกัน
หรือบางทีพอเริ่มเชื่อเรื่องความดี เรื่องบุญบาป
ก็มีอันต้องถูกเย้ยหยัน ล้อเลียน หรือด่าทอประการต่างๆให้เสียกำลังใจ
นั่นก็ควรสันนิษฐานว่า เราเคยไปบั่นทอนกำลังใจคนอยากทำบุญทำกุศลไว้ก่อน

มนุษย์มีธรรมชาติของความโอหัง
เมื่อยังไม่รู้ไม่เข้าใจอะไร ไม่อยากเชื่อสิ่งไหน
ก็จะรู้สึกว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องตลกไว้ก่อน น่าดูถูกเหยียดหยามไว้ก่อน
ทุกคนเคยเป็น ทุกคนเคยทำบางอย่างตามสัญชาตญาณดิบ
จึงไม่น่าแปลกใจ หากทุกคนจะต้องเคยเผชิญกับเรื่องน่าเสียกำลังใจ

เมื่ออยู่ในชาติที่มีโอกาสพบพุทธศาสนา
มีโอกาสศรัทธาว่าผลแห่งกรรมมีจริง
ก็ควรเร่งพิจารณาว่า นอกจากทำบุญด้วยตนเองแล้ว
ก็ไม่ควรดูเบาในบุญของคนอื่น หรือกระทั่งศรัทธาของศาสนาไหนๆ
ไม่ควรขัดลาภอันเกิดจากโอกาสได้ทำบุญของใคร
แต่ควรส่งเสริม เมื่อเห็นเขามีโอกาสบนเส้นทางที่ถูกที่ควร
โดยมีเกณฑ์วัดความถูกความควร คือ
กรรมที่ไม่ต้องเบียดเบียนกันเป็นหลักครับ

-------------------------------------------------------------------------------------




Create Date : 14 ธันวาคม 2556
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2557 16:45:34 น.
Counter : 392 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลามูเต้
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 13 คน [?]



ไทป์ 5....การง่วนอยู่กับรูปแบบที่คุ้นเคยจนสามารถมองเห็นสิ่งที่คนอื่นไม่เคยเห็นมาก่อนได้