ขี้เหล็ก สมุนไพรใกล้ตัว
ชื่อพื้นเมือง ขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง) ยะหา (ปัตตานี) ผักจี้ลี้ (ฉานแม่ฮ่องสอน) แมะขี้เหละพะโคะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)

ในประเทศไทย พบขึ้น อยู่ตามป่าเบญจพรรณชื้น และในที่โปร่งชุ่มชื้น ทั่วประเทศ ในสมัยก่อนไม้ขี้เหล็กส่วนมากส่งมาจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานีและชุมพร ระดับที่ขึ้นคือความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 10 - 400 ม. ในต่างประเทศ พบที่ ประเทศในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร ส่วนที่ใช้เป็นสมุนไพรและสรรพคุณ คือ

ราก รสขม ถ่ายพิษไข้ แก้ไข้กลับซ้ำ แก้ไข้หนาว ๆ ร้อน ๆ เจริญไฟธาตุ แก้ชักในเด็ก แก้ไข้ผิดสำแดง แก้โรคอันเป็นชินธาตุ แก้โรคอันเป็นอชินธาตุ แก้โรคอันเกี่ยวกับธาตุ แก้เหน็บชา บำรุงธาตุ

ต้น รสขม รักษาโรคผิวหนัง เป็นยาระบาย

เปลือก รสขม แก้ริดสีดวง แก้กระษัย แก้พิษไข้ พิษเสมหะ ทำให้เส้นเอ็นหย่อน

กระพี้ รสขมเฝื่อน แก้ร้อนกระสับกระส่าย แก้โลหิตอันกระทำให้ระส่ำระสาย ขับถ่ายโลหิตเสีย แก้กระษัย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ไข้ บำรุงโลหิต แก้จุกกะผามม้ามย้อย แก้โลหิตขึ้นเบื้องบน คุมกำเนิด

แก่น รสขมเฝื่อน แก้กามโรค แก้ไฟธาตุพิการ ทำให้ตัวเย็น แก้แสบตา แก้เส้น แก้กระษัย ถ่ายในโรคม้ามย้อย ถ่ายโรคเหน็บชา ถ่ายพิษทั้งปวง แก้โลหิต แก้โลหิตอันกระทำให้ระส่ำระสายในท้อง แก้โลหิตอันทำให้แสบจักษุทวาร แก้โลหิตขึ้นเบื้องบน บำรุงโลหิต แก้โรคลม แก้โรคลมเบื้องสูงลดลง แก้ลมอันกระทำให้เย็นทั่วร่างกาย แก้พยาธิในท้องให้ตก เป็นยาระบายฟอกโลหิตสตรี ขับน้ำคาวปลา ขับถ่ายโลหิตเสีย ถอนพิษ ผิดสำแดง แก้กล่อน แก้บวม แก้ไตพิการ ถ่ายเสมหะ แก้จุกเสียด คุมกำเนิด แก้เบาหวาน แก้โรคกำเดา

ใบ รสขม แก้ระดูขาว ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้นอนไม่หลับ เป็นยาระบาย แก้โรคเหน็บชา ถ่ายกระษัย แก้โรคกำเดา ถอนพิษ แก้พยาธิ เจริญไฟธาตุ แก้สะอึก เจริญอาหาร ลดความดันโลหิตสูงถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ พอกฝีมะม่วง แก้บิด

ดอก รสขม แก้นอนไม่หลับ แก้โลหิต แก้หืด แก้รังแค ผายธาตุ ขับพยาธิ เป็นยาระบาย เจริญอาหาร บำรุงประสาท

ฝัก รสขม แก้พิษไข้เพื่อปัตตะไข้เพื่อเสมหะ

เปลือกฝัก รสขมเฝื่อน แก้เส้นเอ็นพิการ ทั้งห้า รสขม ถ่ายพิษกระษัย ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ แก้พิษทั้งบำรุงน้ำดี ขับถ่ายอุจจาระ ถ่ายโลหิต

ยอด แก้โรคเบาหวาน ไม่ระบุส่วนที่ใช่ แก้เสมหะ แก้โลหิตกำเดา เจริญไฟธาตุ แก้ลมกล่อนแก้บวม แก้จุกเสียด แก้กระษัย ขับถ่ายอุจจาระ บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต แก้โรคสตรีโลหิตระดูเสีย ขับล้างโลหิต ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ ขับพิษโลหิต


ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา กดระบบประสาทส่วนกลาง ต้านการชัก แก้ปวด ขับปัสสาวะ ยับยั้งการหดเกร็งของลำไส้ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของลำไส้คลายตัว ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว ทำให้ระบาย ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว ลดความดันโลหิต ต้านแบคทีเรีย ต้านมาลาเรีย ต้านเชื้อรา กระตุ้นเชื้อรา ฆ่าแมลง กระตุ้นการจับกลุ่มกับเม็ดเลือด
การทดสอบความเป็นพิษ สารสกัดส่วนที่อยู่เหนือดินด้วยเอธานอล : น้ำ (1:1) และ เมธานนอล : น้ำ (1:1) ให้ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง คือ มากกว่า 1 ก/กก เมื่อฉีดให้ทางหน้าท้อง


ด้านเป็นพืชอาหาร ส่วนที่ใช้เป็นอาหารคือ ดอกและยอดอ่อน ให้รับประทานเป็นอาหารได้ ลวกกินแกล้มน้ำพริก ต้มยอดอ่อนและใบอ่อนลดความขมแล้วแกงคั่วกะทิ ได้อย่างอร่อย







Create Date : 05 พฤศจิกายน 2548
Last Update : 15 มิถุนายน 2551 10:10:40 น.
Counter : 623 Pageviews.

0 comments

trungta
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]