"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics

สัญลักษณ์ที่ใช้ก่อนการสร้างพระพุทธรูป

สัญลักษณ์ที่ใช้ก่อนการสร้างพระพุทธรูป

ถึง แม้ว่าในปัจจุบันพระพุทธรูปจะเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยกันดี ในสังคมประเทศทางซีกตะวันออก เนื่องด้วยมีการสร้างและบูชาสืบทอดกันมามากกว่า 2000 ปี แล้วก็ตาม แต่คนทั่วไปก็ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับพระพุทธรูปมากนัก โดยเฉพาะพระพุทธรูปปางต่างๆที่สร้างกันนั้นมีมากกว่า 100 ปางขึ้นไป และสร้างกันทั้งฝ่ายมหายานและเถรวาท ซึ่งมีความนิยมต่างกัน ความเชื่อต่างกัน ทำให้ความเข้าใจสับสน ฝรั่งอาจเข้าใจว่าพระยิ้ม (Laughing Buddha) กับพระพุทธรูป เป็นพระพุทธเจ้าเหมือนกัน หรือแม้คนไทยบางคน อาจเข้าใจว่าพระยิ้มของจีนเป็นพระองค์เดียวกับพระกัจจายนะ ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะว่า Laughing Buddha ของจีนนั้นเป็นพระ Hotei ของมหายาน อย่างไรก็ตามการค้นคว้าเรื่องปางพระพุทธรูปก็ได้อ้างอิงพุทธประวัติมาจาก ทั้งสองนิกาย (จึงอาจจะมีบางตอนที่ไม่คุ้น) แต่พิจารณาความต่อเนื่องของพุทธประวัติ และความสอดคล้องของเนื้อหา ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพระพุทธรูปเป็นสำคัญ

ดังที่ทราบกันแล้วว่า ในสมัยแรกๆนั้น พุทธศาสนายังเพิ่งเริ่มต้นไม่นาน แต่ความเลื่อมใสต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นสูงยิ่ง การสร้างรูปเคารพแทนจึงยังเป็นการไม่เหมาะสม จึงมีการคิดใช้สัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์ในการสร้างศิลาจำหลักพระพุทธจริยาวัตร เป็นตอนๆตามพุทธประวัติ เพื่อประดับตามศาสนสถานในสมัยนั้น ก่อนการสร้างพระพุทธรูป โดยสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเป็นการเลือกใช้จากพื้นฐานวัฒนธรรมของอินเดียในขณะ นั้น ประกอบกับความเกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติตอนนั้นๆ ได้แก่


ดอกบัวและแท่นบัลลังก์ แทนการประสูติของพระพุทธองค์



ต้นโพธิ์แทนการตรัสรู้



กงล้อ หรือธรรมจักรแทนการเผยแพร่พระธรรม



รอยพระบาทแทนพระพุทธองค์



สถูป เจดีย์ แทนการปรินิพพาน



นอก จากนี่ยังมีสัญลักษณ์อื่นๆ อีกเช่นกวางหมอบ หม้อน้ำ สิงห์ ช้าง ซึ่งสัญลักษณ์แทนโดยตรงนั้นมีมากมาย ผู้สนใจศึกษาเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้
จากเรื่อง ภาพพระพุทธประวัติจากหินสลัก
//www.buddhadasa.org/html/life-work/theatre/sculpture/sculpture.html
โดยท่านพุทธทาส ได้ค้นคว้าไว้โดยละเอียด







 

Create Date : 03 มีนาคม 2552    
Last Update : 3 มีนาคม 2552 13:00:03 น.
Counter : 5305 Pageviews.  

ปางพระพุทธรูปจากพุทธประวัติ : บทนำ

บทนำ


พระพุทธรูปปางต่างๆ เป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาอย่างยิ่ง เพราะปัจจุบันมีการเผยแพร่เรื่องราวของพระพุทธรูปต่างๆมากมาย ตามสื่อต่างๆ เพื่อความรู้ แต่มีสื่อจำนวนมากที่ยังให้ข้อมูลต่อประชาชนผู้รับข่าวสารอย่างผิดๆ เนื่องจากแหล่งความรู้เบื้องต้น มีจำกัด การค้นคว้าหาข้อมูลจึงคลาดเคลื่อนไป ในที่นี้ ผมได้ทำการค้นคว้าข้อมูลเรื่องปางพระพุทธรูป จากหนังสือต่างๆหลายสิบเล่ม ซึ่งเป็นหนังสือเก่าที่หายาก แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมข้อมูลทั้งหมด เนื่องจากการสร้างพระพุทธรูปนั้น มีมากมายจากประเทศต่างๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนาลัทธิต่างๆ อีกทั้งปัจจุบัน การค้นคว้าทางอินเตอร์เนททำให้ได้ข้อมูลภาพถ่ายต่างๆ จากทุกมุมโลกอย่างง่ายดาย จึงทำให้ได้ข้อสรุปที่เห็นภาพรวมได้ชัดเจนขึ้นมาก


การนำเสนอในที่นี้ มาจากการค้นคว้ารวบรวมทั้งข้อมูล รูปภาพ และการสะสมพระพุทธรูปต่างๆมาหลายปี ทำให้ได้ข้อมูลที่น่าสนใจ และครบถ้วนกว่าที่ใดๆที่จะค้นหาได้ในขณะนี้ โดยมีโจทย์ของการค้นคว้า คือการแยกปางพระพุทธรูปที่มีอยู่ทั้งหมดออกเป็นปางต่างๆ ตามพุทธประวัติ โดยไม่จำกัดเฉพาะในประเทศไทย ทำให้ได้ปางพระพุทธรูปมากกว่า 100 ปางขึ้นไปแล้ว


การคัดเลือกเฉพาะปางที่มีในพุทธประวัตินั้น เนื่องจากการสร้างพระพุทธรูปนั้นมีมากมาย แต่ไม่ได้หมายความว่าพระพุทธรูปที่สร้าง จะสร้างอย่างถูกต้องไปหมด การสร้างบางครั้ง ช่างที่สร้างอาจไม่มีความรู้ดีพอในเรื่องพระพุทธรูป หรือพระพุทธประวัติ อาจสร้างตามต้วอย่าง หรือความจดจำก็อาจคลาดเคลื่อนได้ ถ้าสร้างตามจินตนาการก็ยิ่งไปกันใหญ่ หรือแม้กระทั่งการสร้างด้วยศร้ทธาก็ไม่รับรองความผิดพลาด แม้แต่สร้างอย่างถูกต้องโดยศึกษาจากพุทธประวัติก็ตาม การถ่ายทอดพุทธกิริยาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นพระพุทธรูป ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าสร้างเองคนเดียวรู้คนเดียวก็ยากที่จะคาดเดาเอาเอง การสร้างพระพุทธรูปเริ่มแรก ก็สร้างกันไม่กี่ปางเท่านั้น และมีพุทธกิริยาที่เด่นชัด เห็นแล้วเข้าใจหรือนึกถึงพระพุทธกิริยา ที่ทรงกระทำนั้นๆได้อย่างดี ภายหลังที่มีการสร้างเพิ่มเติม เอาพุทธประวัติตอนอื่นๆมาสร้างจึงอาจจะมีพุทธกิริยาซ้ำกัน หรือเหมือนกันเช่นปางสมาธิ ก็มีพุทธประวัติทั่วๆไป ที่ทรงมีพุทธกิริยาเป็นสมาธิ แต่ในบางช่วงผู้สร้างอาจจะต้องใช้จินตนาการมากขึ้นกว่าที่จะถ่ายทอดเอาจากพุทธกิริยา เช่นปางปฐมเทศนา นอกจากพระกรที่ต้องใช้มุทราที่แสดงเครื่องหมายของการปฐมเทศนาแล้ว การสร้างพระพุทธรูปปางนี้จะมีทั้งพระอิริยาบทนั่งสมาธิ นั่งห้อยพระบาท และยืน ทั้งสามแบบเลย ซึ่งในความเป็นจริงการที่ทรงแสดงปฐมเทศนา ก็น่าจะทรงกระทำอิริยาบทเดียว การที่ปางพระพุทธรูปมีอิริยาบทแตกต่างกันไป ก็เนื่องจากจินตนาการของผู้สร้างนั่นเอง คนส่วนใหญ่ที่รับรู้ หรือรู้จักพระพุทธรูปปางต่างๆ จึงเข้าใจด้วยความที่ตนเองเห็นบ่อยๆ หรือได้รับการบอกต่อมานั่นเอง


พระพุทธรูปที่สร้างตามพระพุทธประวัตินั้น เกิดจากความต้องการถ่ายทอดพุทธอิริยาบท ของพระพุทธเจ้าในช่วงต่างๆในพุทธประวัติ (จะข้ามเรื่องประวัติของพระพุทธรูปไปก่อน) เริ่มแรกจากช่วงสำคัญ 4 ช่วงคือประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน แล้วจึงมีการสร้างปางอื่นๆ ตามมาในช่วงเวลา 200 กว่าปี ประเทศใด ประชาชนนิยมหรือศรัทธาในเรื่องใด ก็จะสร้างพระพุทธรูปปางนั้นๆขึ้นมาสักการะบูชากัน แต่ละยุคสมัยก็จะมีแตกต่างกันไป


เมื่อทำการค้นคว้าจากพระพุทธประวัติแล้ว เราก็สามารถเรียงลำดับปางพระพุทธรูป ปางต่างๆไปตามลำดับ ตั้งแต่ก่อนทรงประสูติไปจนถึงหลังจากปรินิพพานได้เลยทีเดียว (รวมการสร้างพระพุทธรูปที่ไม่ได้แสดงรูปพระพุทธองค์ แต่เป็นพุทธประวัติ) และการเรียบเรียงพระพุทธประวัติประกอบภาพต่างๆนั้น ได้เขียนให้ได้เข้าใจและจินตนาการถึงพระพุทธองค์ ในขณะทรงดำรงพระชนม์ชีพ ที่เป็นเหตุให้เกิดศรัทธาในการสร้างพระพุทธรูปปางนั้นๆ


สำหรับ การค้นคว้าเรื่องพระพุทธรูปครั้งนี้ ยังมิได้หมายความว่าสำเร็จสมบูรณ์แล้ว เนื่องจากยังพบพระพุทธรูปอีกหลายปาง ที่ยังค้นหาชื่อปางและพระพุทธประวัติที่ เกี่ยวเนื่องไม่พบ จึงยังมิได้นำมาลงตามลำดับ ซึ่งจะต้องมีการ update อยู่ตลอด ขอให้ติดตามชมได้


อนึ่ง การค้นพระพุทธประวัติมาในครั้งนี้ ทำให้ได้รวบรวมพระพุทธประวัติจากตำราเล่มต่างๆ มาประกอบกันได้เป็นเรื่องราวที่ต่อเนื่อง จะทำให้เข้าใจพุทธประวัติได้ดีกว่านี้มาก เพราะถ้าเป็นเรื่องราวเจาะจงเฉพาะพระพุทธรูปนั้น ยังไม่ต่อเนื่อง จึงจะได้นำมารวบรวมเป็นพระพุทธประวัติในอีก section หนึ่ง ซึ่งจะรวมเอาพุทธประวัติทั้งหมด ที่ค้นคว้าได้ โดยมีภาพประกอบเป็นพระพุทธรูปและภาพจิตรกรรม ทำให้น่าอ่าน และเข้าใจเรื่องราวได้ง่ายและลึกซึ้งดื่มด่ำยิ่งขึ้น



มูลเหตุการสร้างพระพุทธรูป

พระพุทธรูปถือเป็นเจดีย์ (สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการเคารพบูชา) ประเภทหนึ่งในจำนวนเจดีย์สี่ประเภท คือ ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ ธรรมเจดีย์ และอุเทสิกเจดีย์ พระพุทธรูปหรือรูปสลักเกี่ยวกับพระพุทธประวัติก็ดี จัดว่าเป็นอุเทสิกเจดีย์ (สมพร อยู่โพธิ์ ๒๕๑๔:๒) พุทธเจติสถานพบสร้างขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย ครั้งกษัตริย์วงศ์โมริยะองค์ที่สาม ขึ้นครองราชย์ประมาณ พ.ศ. ๒๗๐ - ๓๑๑ ได้ทรงสร้างศาสนสถานขึ้นหลายแห่ง ในระยะนี้ไม่นิยมสร้างพระพุทธเจ้าเป็นรูปเคารพ ทำแต่รูปอย่างอื่น เพื่อเป็นเพียงสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าดังเช่นที่ปรากฏอยู่ที่ สาญจิสถูป (กรมศาสนา๒๕๒๕:๓)

การสร้างรูปพระพุทธองค์ (ที่เป็นรูปมนุษย์) เป็นฝีมือของช่างแคว้นคันธารราฐ เมื่อราว พ.ศ.๓๗๐ ชาวกรีกหรือโยนก ได้ถือรูปแบบเคารพเดิม ที่เป็นเทพเจ้าของตนที่เคยทำมาประดิษฐ์สร้างพระพุทธรูปขึ้น เมื่อพวกเขาหันมานับถือศาสนาพุทธ กับที่เป็นฝีมือช่างเมืองมถุรา ต่อมาก็เป็นช่างเมืองอมราวดีในอินเดียใต้ บางแห่งบอกว่าพระพุทธรูป ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยของพระเจ้ากนิษกะแห่ง ราชวงษ์กุษาณะ ผู้ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๖๖๒ - ๗๖๐ เป็นฝีมือช่างกรีกโรมัน (สมพร อยู่โพธิ์ ๒๕๑๔:๒) ซึ่งอยู่ในระยะเดียวกันหรือต่อเนื่องกัน






จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด ทื่ีเป็นหลักฐานทางโบราณคดี เกี่ยวกับการสร้างรูปเคารพ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มีการทำเหรียญทองคำ เป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับยืนมีอักษร Bactrian สลักคำว่า " ฺBoddo " ซี่งสร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้ากนิษกะ (CE100) เป็นศิลปะแบบคันธารราฐ ซึ่งอาจเป็นการเริ่มต้นสู่การพัฒนาเป็นภาพจำหลักหิน เล่าเรื่องพุทธประวัติ และพัฒนาเป็นพระพุทธรูปขึ้น เมื่อพุทธฝ่ายมหายานเจริญรุ่งเรืองต่อมา


ในยุคสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งวงศ์เมาริยะ (ประมาณพ.ศ.293-313) มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ขึ้น และมีการส่งคณะธรรมฑูต ออกเผยแผ่ประกาศพระพุทธศาสนายังดินแดนโดยรอบอย่างจริงจัง เพราะท่านมีพระราชปนิทานที่จะขยายอาณาเขตโดยธรรม แทนการศึกสงคราม เพราะเมื่อครั้งใดที่การรบชนะสิ้นสุดลง แม้ด้วยชัยชนะแต่กลับมีทหารล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ในยุคนี้มีการสร้างรูปเคารพเป็นพุทธประวัติด้วยหินจำหลักมากมาย แต่ก็ไม่นิยมสร้างรูปพระพุทธเจ้าโดยตรง เพราะพุทธศาสนิกชนในสมัยนั้น มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างสูงสุดโดยเฉพาะในคำสอน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสภาพจิตใจและความเข้าใจในหัวใจ ของพระพุทธศาสนามากกว่าในสมัยนี้ การนับถือในทางนามธรรมนี้ จึงเป็นเหตุให้ไม่มีความนิยม ในการสร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปเคารพโดยตรง แต่จะแทนด้วยสัญลักษณ์ที่มีความหมายลึกซึ้ง ในเชิงปรัชญามากกว่า ทั้งการสร้างพระพุทธรูป ยังขัดต่อหลักคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ต้องการให้พระธรรมเป็นศาสดาแทนพระองค์


ในครั้งนั้น การสร้างรูปพระพุทธประวัติแบบนูนต่ำและนูนสูงที่นิยมกัน จึงมุ่งเน้นให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา หรือถ่ายทอดพุทธจริยาวัตรมากกว่าที่จะสร้างขึ้นเพื่อเป็นรูปเคารพ ครั้นเมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชโปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่3 ขึ้นแล้วเสร็จ ทรงโปรดให้สร้างศาสนสถานศึกษาขึ้นหลายแห่ง เพื่อศึกษาพระศาสนา แต่ยังคงไม่นิยมการสร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปเคารพ ทำแต่รูปอย่างอื่นเป็นเพียงสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า ดังเข่นที่ปรากฏอยู่ที่สถูปสาญจิ มีการสร้างรูปเคารพจากรากฐานของวัฒนธรรมอินเดียเช่น รอยพระพุทธบาทซึ่งแสดงถึงการเคารพอย่างสูงสุด เปรียบเทียบกับพระมหากษัตริย์ หรือการสร้างต้นโพธิ์เป็นสัญลักษณ์แทนการตรัสรู้ เป็นต้น วัฒนธรรมการสร้างพระพุทธรูป เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจในทางรูปธรรมนั้น เริ่มแรกในช่วงก่อนสมัยคริสต์กาลเล็กน้อย โดยพระเจ้ามิลินท (Menander) กษัตริย์อินเดีย เชื้อสาย กรีก แห่งนครสาคละ แคว้นคันธารราฐ อาณาจักรบัคเตรีย (บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานและตะวันออกของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน ซึ่งเป็นประเทศอินเดียในอดีต)


พระเจ้ามิลินท ทรงเลื่อมใสพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงให้รุ่งเรืองอย่างมาก หลังการล่มสลายของวงศ์เมาริยะ เริ่มมีการสร้างพระพุทธรูป จำหลักหินขึ้นอย่างมากมาย เป็นศิลปกรรมแบบกรีกผสมอินเดีย เรียกตามเมืองที่ตั้งว่า ศิลปคันธารราฐ (อิทธิพล Grego-Roman) ท่านได้ทรงสร้างพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ขึ้นมามากมาย ส่วนใหญ่สลักจากหินเทาอมเขียว (Schist stone) โดยยึดรูปแบบศิลปกรีกและเฮเลนนิค ซึ่งมีความสวยงามไม่แพ้ศิลปะใดๆ ในยุคหลังต่อมาจึงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 4 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 13 ที่มีอิทธิพลต่อศิลปของมถุรา ในแคว้นอุตรประเทศ พระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงและมีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย ที่สร้างในยุคนี้คือ พระพุทธรูปยืนแห่งบามิยัน ซึ่งเพิ่งมาถูกทำลายลง พร้อมๆกับพระพุทธรูปอีกเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน โดยรัฐบาลตาลีบันที่เป็นมุสลิม เป็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยที่น่าเจ็บปวดสำหรับชาวพุทธทั่วโลก




ต่อมาพระเจ้ากนิษกะ ที่1 กษัตริย์เชื้อสายอินโดไซรัส (ชนเผ่าง้วยจีจากจีน) แห่งราชวงศ์กุษาณะ (ประมาณพ.ศ.500 ) เป็นกษัตริย์ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างสูง และมีพระสติปัญญาเป็นเลิศ นับเป็นองค์เอกอัครอุปถัมภก ในพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ เช่นเดียวกับพระเจ้ามิลินท ซึ่งได้รับวัฒนธรรมและการนับถือศาสนาต่อมา พร้อมกับการสร้างพระพุทธรูปแบบคันธารราฐ แต่มีการพัฒนารูปแบบศิลปะออกไปเป็นแบบมถุรา ในแถบตอนกลางของประเทศอินเดีย โดยมีเอกลักษณ์เด่นที่ใช้หินทรายสีชมพูเป็นวัสดุหลัก


ประมาณพุทธศตวรรษที่9 กษัตริย์ราชวงศ์คุปตะ ขึ้นมามีอำนาจ การสร้างพระพุทธรูปก็มีการพัฒนาจากศิลปแบบมถุราและคันธารราฐ จนเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เรียกว่าศิลปคุปตะ ซึ่งต่อมามีอิทธิพลต่อศิลปในแถบเอเซียอย่างกว้างขวาง แต่กระนั้นในช่วงหลังกลับไปฟื้นฟูศาสนาพราหมณ์ขึ้นมาอีก และในช่วงปลายราชวงศ์ (พุทธศตวรรษที่ 11) ก็ถูกจีนรุกรานหนักเป็นเหตุให้ศาสนาพุทธและพราหมณ์ ไม่ได้รับการทำนุบำรุง จนค่อยๆเสื่อมลงและผสมผสานกลมกลืนกันไป พิธีกรรมส่วนหนึ่งถูกเผยแพร่เข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นต้นแบบของพิธีกรรมหลายๆอย่างที่มีทั้งพราหมณ์และพุทธผสมกัน ในตอนกลางของพุทธศตวรรษที่12 ฝ่ายพราหมณ์ได้คิดอุบายในการแย่งชิงความเลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนา (เป็นการแย่งชิงความศรัทธาจากประชาชน ซึ่งย่อมมีผลประโยชน์จากการมีลูกศิษย์มากเป็นธรรมดา ถ้าเป็นเมืองไทยก็คงจะเข้าลักษณะลาภสักการะ) โดยยกพระพุทธเจ้าเป็นอวตารปางที่9 ของพระนารายณ์ และพระศรีอาริยเมตตรัยเป็นอวตารปางที่ 10 เพื่อให้พุทธศาสนามาอยู่ใต้ลัทธิพราหมณ์อีก คณะสงฆ์ในนิกายมหายานกลุ่มหนึ่ง จึงพยายามแก้ไขคติความเชื่อนี้ เพื่อไม่ให้ศาสนาพุทธถูกครอบงำ จึงเกิดพุทธมหายานและลัทธิตันตระขึ้น และเพื่อตอบโต้อุบายนั้น ได้มีการตั้งพระโพธิสัตต์องค์ใหม่ๆขึ้น จากคติทางนามธรรม โดยตั้งพระนามตามความหมายต่างๆมากมายเพื่อช่วงชิงศรัทธาประชาชน โดยการสร้างสิ่งจูงใจให้เห็นพลังอำนาจความศักดิ์สิทธิ์ของเทพต่างๆ ที่จะสามารถคุ้มครองผู้ที่นับถือได้ ทั้งในแบบรูปธรรมและนามธรรม


ต่อมาลัทธิตันตระนี้ได้แพร่หลายออกไปทางอินเดียตะวันออกจน ถึงราวพุทธศตวรรษที่18 ในบริเวณอ่าวเบงกอล แคว้นอัสสัม โอริสสา และพิฮาร์ (พิหาร) ราชวงศ์ปาละในขณะนั้นยังได้ทำนุบำรุงมหาวิทยาลัยนาลันทา สร้างวิหาร ศาสนสถานศึกษาต่างๆเพิ่มเติม จนสามารถเผยแพร่ไปสู่ดินแดนโดยรอบ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่10-14 ขยายไปสู่ทางเหนือแถบเทือกเขาหิมาลัย ที่เนปาล (Licchavi Dynasty) แคว้นแคชเมียร์ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-19 และธิเบต อีกด้วย และยังได้เกิดรูปแบบศิลปทางฝ่ายมหายานอีกรูปแบบหนึ่ง ที่โดดเด่นขึ้นในแคว้นเบงกอล ภายใต้ราชวงศ์ปาละ-เสนะ ซึ่งต่อมามีอิทธิพลอย่างสูง ต่อศิลปกรรมในดินแดนสุวรรณภูมิ แหลมอินโดจีน รวมทั้งประเทศไทย


จนในที่สุด ช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 18 พุทธศาสนาก็ถูกลัทธิใหม่ๆกวาดล้างอย่างหนัก ด้วยอิทธิพลและอำนาจทางการทหาร โดยเผ่ามุสลิม ที่เป็นชาวเติร์กทางเหนือ ที่มีอำนาจปกครองอินเดียในเวลานั้นคือ Sultan Mohamud of Ghazni ที่ใช้กำลังทหารในการรุกราน โดยเฉพาะที่มีการบันทึกอยู่ในคัมภีร์ของฝ่ายมุสลิมเอง ที่บันทึกเหตุการณ์ ในตอนที่เข้าทำลายมหาวิทยาลัยนาลันทาและปล้นสะดมเอาทรัพย์สินต่างๆไป โดยเรียกพระภิกษุว่านักบวชโล้น และได้ทำการฆ่าฟันโดยไม่ละเว้น จนกระทั่งต่อมา ศาสนาพุทธสูญสิ้นไปจากสังคมอินเดีย ศาสนสถานต่างๆถูกละทิ้งจนเสื่อมโทรมและลืมเลือนไป หลายชั่วศตวรรษ จนกระทั่งทางการอินเดียเพิ่งเริ่มขุดพบซากโบราณสถานต่างๆตามพุทธประวัติที่สาบสูญไปนาน และเริ่มบูรณะมาได้ 100 กว่าปีมานี่เอง

แต่ ประวัติศาสตร์ก็กลับมาซ้ำรอยอีกครั้ง เมื่อมุสลิมอัฟกัน ได้ทำลายพระพุทธรูปยืนแห่งบามิยัน ที่ใหญ่ที่สุดในโลกลงไป เมื่อไม่นานมานี้เอง









 

Create Date : 03 มีนาคม 2552    
Last Update : 4 มีนาคม 2552 19:20:11 น.
Counter : 3073 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  

travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.