"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics
การสร้างบ้านแบบยั่งยืน : Sustainable house

การสร้างบ้านแบบยั่งยืน

คน... ในฐานะของผู้บริโภค ในชีวิตมักจะต้องพบการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ที่จะทำอะไรลงไปแล้วจะมีส่วนเกี่ยวข้องและเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเสมอไม่มากก็น้อย แต่มีเพียงบางสิ่งในชีวิตนี้ ที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับคุณภาพชีวิตของเรา แม้ว่าการที่เราเติบโตมากับวัฒนธรรม ประเพณีที่เป็นสิ่งแวดล้อมที่เราคุ้นเคยอยู่ จึงยากที่จะหลีกเลี่ยงไม่คล้อยตามกระแสนั้น บางคนกลัวว่าตัวเองจะตกกระแสเสียด้วยซ้ำ แต่น่าเสียดายที่กระแสของสิ่งแวดล้อมของโลก หรือโลกาภิวัฒน์นั้น มันเป็นกระแสที่สวนทางกับการเป็นอยู่อย่างยั่งยืนในอนาคต โดยเฉพาะบ้านก็เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่เราควรจะเลือกสร้าง ให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง เพื่อตัวของเราเอง และเพื่อสังคมส่วนรวม

แนวทางการออกแบบบ้านในอนาคต ต่อไปก็จะมีทางเลือกมากกว่า 1 ทางแล้ว ผิดกับสมัยก่อน ที่บ้านแห่งอนาคต จะต้องเป็นบ้านล้ำยุค ไฮเทค หรือ smart home เท่านั้น แต่ตอนนี้ กระแสของ sustainable house เริ่มมาแรงและน่าจะเป็นแนวทางที่ ได้รับความนิยมอีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะในเมืองไทยก็น่าจะเอาแนวคิดนี้มาพัฒนาให้เป็นเรื่องเป็นราว เพราะมันเป็นแนวทางแห่งความยั่งยืน ยอมรับความเป็นจริงของธรรมชาติ เคารพสิ่งแวดล้อม กลับคืนสู่สามัญ และพอเพียง สิ่งเหล่านี้ ล้วนขัดกับแนวทางของบ้านไฮเทคหรือบ้านอัจฉริยะอย่างสิ้นเชิง เพราะบ้านไฮเทคนั้น อาศัยเทคโนโลยี่ขั้นสูง มีความสลับซับซ้อน ทำยาก เสียง่าย ค่าใช้จ่ายสูง สามารถสร้างความสะดวกสบายให้กับเจ้าของก็จริง แต่ในระยะยาวแล้ว เทคโนโลยี่ที่ทันสมัยตอนนี้ ก็จะล้าสมัยไปในเวลารวดเร็ว และจะต้องเสียค่าปรับปรุง เปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ



เพราะบ้านนั้นมีประโยชน์ใช้สอยหลักจริงๆก็แค่ปกป้องเราจากสภาพอากาศ และให้ความสบายกับเรา ถ้าเพียงแค่นี้บ้านก็ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ เหมือนปูเสฉวนที่ใช้เปลือกหอยเป็นบ้านของมันนั่นเอง แต่คนมีความต้องการมากกว่านั้น (บางทีก็มากเกินต้องการ) บ้านจึงสามารถบ่งบอกถึงตัวตนของเจ้าของบ้านได้เป็นอย่างดี บ้านจะน่าอยู่ ถูกสุขลักษณะ หรืออยู่สบายหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ขนาด แต่วัดง่ายๆด้วยตัวของคุณเอง เช่นเมื่อคุณอยู่บ้านแล้วรู้สึกสบายหรือมีความสุข นั่นก็คือบ้านที่ดีแล้ว

หลักการสำคัญของการสร้างบ้านแบบยั่งยืนมีหลายอย่างได้แก่

1. คิดการเล็ก (อย่าคิดการใหญ่) ทำอะไรเล็กๆ คือแค่เพียงพอต่อความต้องการใช้สอยนั่นเอง บ้านเล็กๆจุ๋มจิ๋มๆ ก็สวยและน่าอยู่ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบ้านหลังใหญ่ ตามกระแสความนิยม ที่สิ้นเปลืองพลังงานในการอยู่อาศัย ที่การก่อสร้างก็ต้องใช้วัสดุก่อสร้างจำนวนมากที่ผลิตด้วยระบบอุตสาหกรรม ซึ่งสร้างมลภาวะขึ้น การสร้างบ้านจึงควรให้มีขนาดพอดีต่อการอยู่อาศัยและกิจกรรมที่จำเป็นของเรา เคล็ดของการอยู่บ้านเล็กคือการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการบริหารจัดการที่ดี



2. ใช้พลังงานจากธรรมชาติที่มีอยู่เช่น ดวงอาทิตย์ ลม หรือน้ำ พวกนี้ไม่มีต้นทุน ให้ทั้งความร้อนและความเย็น หรือให้กำเนิดพลังงานไฟฟ้า แต่พลังงานที่ทำใช้เองนี้จะมีข้อจำกัดบ้างเรื่องปริมาณในการใช้ จึงต้องใช้อย่างประหยัด ให้ได้ประโยชน์สุด และยังจำกัดประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟอีกด้วย เช่นควรใช้หลอดไฟแบบประหยัดไฟ เครื่องซักผ้าแบบฝาเปิดด้านหน้า หรือประเภทแอร์เบอร์5 เป็นต้น ก็เป็นการจำกัดการใช้เครื่องไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นหรือกินไฟ ไปในตัว


3. ต้องประหยัดน้ำ เช่นการใช้สุขภัณฑ์ประหย้ดน้ำ การอาบน้ำโดยฝักบัว แทนตักอาบหรืออ่างอาบน้ำที่เปลืองน้ำมากที่สุด ถ้าเป็นไปได้ก็น่าจะทำการบำบัดน้ำใช้นี้ไปใช้ได้อีกครั้ง เช่นรดน้ำต้นไม้ การรองน้ำฝนใช้อย่างแต่ก่อนก็เป็นวิธีที่ดีมาก แต่ยุคหลังนี่คนมองข้ามความสำคัญข้อนี้ไปหมด อีกไม่นานคนกรุงเทพฯจะต้องเสียค่าบำบัดน้ำเสียกันแล้ว และกทม.เขาคิดคำนวณจากปริมาณน้ำใช้นี่ด้วย บ้านในกรุงเทพฯหลายหลังที่มีพื้นที่กว้างๆ ผมแนะนำให้ทำระบบเก็บน้ำทั้งน้ำฝน และบ่อซึมใต้ดิน เอาไว้ใช้รดน้ำต้นไม้ สามารถประหยัดค่าน้ำไปได้มาก และต่อไปก็ยังไม่ต้องเสียค่าบำบัดจากน้ำใช้ส่วนนี้อีก(น้ำที่รดต้นไม้ มันก็ซึมลงดินไป ไม่มีน้ำทิ้ง-เสีย แต่กทม.จะคำนวณค่าบำบัดจากปริมาณน้ำที่ใช้) แม้จะเสียค่าทำบ่อเป็นเงินหมื่น แต่ในระยะยาวแล้วจะประหยัดได้เป็นเงินแสนเลย อย่าทำเป็นเล่นไป

4. ควรใช้วัสดุก่อสร้างท้องถิ่นเป็นหลัก เพราะในแต่ละท้องถิ่น มักจะมีวัสดุตามธรรมชาติ ที่สามารถจะใช้ก่อสร้างได้แตกต่างกันออกไป เช่นบางพื้นที่มีแต่ดินก็ต้องหาทางใช้ดินมาปรับปรุงดัดแปลง บางพื้นที่มีหินเยอะก็หาทางใช้หินนั้นมาใช้งาน ไม่ใช่เอะอะก็เปิดแคตตาล็อคสั่งของจากกรุงเทพฯ บางพื้นที่มีทรายมาก ก็ใช้วัสดุผสมกับทรายมากๆหน่อยหรือใช้ถุงทรายเลย วัสดุท้องถิ่นจะราคาถูกเพราะไม่ต้องเสียค่าขนส่ง และกระบวนการผลิตที่สลับซับซ้อน ในต่างประเทศหมู่บ้านแต่ละแห่ง เมืองแต่ละเมืองจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เด่นชัดมาก ก็เพราะการใช้วัสดุท้องถิ่นนี่เอง ทำให้เมืองแต่ละเมืองมีสภาพแวดล้อมที่กลมกลืนกันไปหมด ต่างเมืองก็ต่างกัน กลายเป็นเอกลักษณ์ของเมืองไปโดยธรรมชาติ (กรุงเทพฯของเรา คุณว่ามันมีเอกลักษณ์ไหม ? .....เอกลักษณ์แบบพันธ์ผสมไง)

วัสดุที่พวกเราคุ้นเคยกันมากที่สุดได้แก่ไม้ ในบางพื้นที่ก็ยังมีไม้อยู่มาก แต่ส่วนใหญ่จะเหลือน้อยและราคาแพง ไม้ที่เป็นธรรมชาติจะเหลือแต่ต้นเล็ก แต่เราก็สามารถนำมาใช้ได้อย่างดี แต่ต้องลบภาพไม้แปรรูปที่นิยมใช้ออกไปจากสมองเสียก่อน เมื่อเรามีไม้ท่อนเล็กๆ ก็ต้องใช้ไม้ท่อนเล็ก ออกแบบใช้งานให้แข็งแรงตามการใช้งาน ถึงรูปแบบจะไม่เนี๊ยบ เรียบร้อย แต่ได้ความรู้สึกธรรมชาติดีมาก ไม้ไผ่ก็เช่นกันสามารถใช้งานได้ดี ทั้งทำโครงสร้าง และพวกเฟอร์นิเจอร์ เดี๋ยวนี้มีการนำไม้ที่แต่ก่อนคนทิ้งๆขว้างๆ มาใช้ประโยชน์กันมากขึ้น เช่นตอไม้ ไม้จมน้ำ หรือเศษไม้ต่างๆ ก็สามารถนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ตกแต่งได้



5. พยายามใช้วัสดุธรรมชาติ ให้มากกว่าวัสดุที่ผลิตจากระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรม เพื่อลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตในระบบอุตสาหกรรม



6. สร้างบ้านให้ถูกสุขลักษณะและอยู่สบาย ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การระบายถ่ายเทอากาศภายในบ้าน อุณหภูมิ เสียง แสงสว่าง ความสั่นสะเทือน เป็นต้น

การมีบ้านที่ไม่ถูกสุขลักษณะจากปัญหาเรื่องการระบายอากาศ หรือเสียงดังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้มาก แต่ถ้าปัญหาเรื่องแสงสว่างหรือสี จะกระทบกับเราในแง่ของความรู้สึกมากกว่า การเลือกใช้สีของบ้านจึงต้องให้ความรู้สึกสบายด้วย การใช้แสงสว่างควรพยายามใช้แสงจากธรรมชาติให้มากที่สุด ตราบใดที่พระอาทิตย์ยังไม่ตก นอกจากนี้ การตกแต่งบ้านด้วยไม้ประดับก็ช่วยในเรื่องอากาศและความน่าอยู่ได้อีกอย่างหนึ่ง



7. ช่วยกันรักษาป่าไม้ ถึงแม้ว่าทรัพยากรป่าไม้จะสามารถปลูกทดแทนกันได้ แต่ก็ใช้เวลานาน กว่าป่าจะกลับสมบูรณ์ดังเดิม การตัดไม้จึงเป็นการลดพื้นที่ป่าและทำลายระบบนิเวศน์ลงไป การใช้ไม้ในการก่อสร้างจึงควรเปลี่ยนรูปแบบการใช้โดยเลือกตัดไม้ที่จะใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสภาพป่าที่คงเหลือ และมีการปลูกทดแทนในสัดส่วนที่มากกว่าเดิม

8.ใช้วัสดุหมุนเวียน หรือรีไซเคิล ซึ่งมีทั้งวัสดุจากการก่อสร้างอาคารเก่าที่รื้อถอนออกมาและยังมีสภาพที่ใช้งานได้ดี เช่น เหล็ก ไม้เก่าทั้งเสา ฝา บานประตู หน้าต่าง เป็นต้น เอามาสร้างใหม่ โดยโชว์ให้เห็นวัสดุเก่าเลยก็สวยได้อารมณ์ หรือจะมาปรับปรุงให้ใช้งานเหมือนของใหม่ก็ได้ และจากวัสดุอื่นๆที่ไม่ใช่วัสดุก่อสร้างเลยก็มี เช่นหมอนรถไฟ ตู้รถไฟ ตัวถังรถ ตู้คอนเทนเนอร์ ยางรถยนต์ ไม้ลัง ขวดแก้ว ฝาตู้เย็น ฯลฯ วัสดุเหล่านี้ สามารถนำมาใช้ซ้ำได้โดยไม่ต้องผ่านกรรมวิธีย่อยสลาย หรือแปลงสภาพ แต่ต้องใช้ idea ในการประดิษฐ์ หรือก่อสร้าง ก็จะได้สิ่งก่อสร้างที่ทำความประหลาดใจให้ผู้คนได้มาก และสร้างความภาคภูมิใจจากเจ้าของบ้านผู้สร้างสรรค์อีกด้วย



9. การสร้างบ้านยั่งยืน หัวข้อนี้ก็บอกอย่างชัดเจนแล้ว ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ต้องคิดถึงคือความคงทนถาวร การเลือกใช้วัสดุต่างๆก็ต้องดูความแข็งแรงทนทานของวัสดุที่จะใช้นั้นๆ และวิธีการก่อสร้างที่จะประกอบวัสดุก่อสร้างต่างๆเข้าด้วยกันด้วยความแข็งแรง


10. ปลูกอาหารกินเองในบริเวณบ้าน คนไทยคุ้นเคยกับการเกษตรกรรมอยู่แล้ว เรื่องการปลูกพืชผักที่กินได้ ไม่ใช่เรื่องยาก ที่เห็นมากที่สุดคือพวกผลไม้ต่างๆ อาจมีพืชผักสวนครัวบ้าง แต่ระยะหลังโดนกระแสความสะดวกสบายครอบงำไปเสีย จึงละเลยและมองข้ามเรื่องนี้ไป เมื่อกระแสเรื่องสุขภาพเริ่มนิยม จึงเริ่มมีการให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง การปลูกผักปลอดสาร ผักไร้ดิน ผักกางมุ้ง ก็เริ่มเกิดขึ้นในเมืองอีกครั้งหนึ่ง มะละกอก็เป็นพืชล้มลุกยอดนิยมอีกชนิดหนึ่งของเรา กล้วยก็เป็นพืชสารพัดประโยชน์ เหล่านี้ถ้าเราพอมีพื้นที่ข้างบ้าน หลังบ้าน ลองเว้นไว้สำหรับพืชพวกนี้บ้าง หรือบางครั้งเอาไปปลูกแซม สลับกับไม้ประดับเลยยังได้





11. การใช้สิ่งต่างๆหรือส่วนต่างๆร่วมกัน อันนี้ในสังคมไทยนอกเมืองจะได้เปรียบกว่าสังคมในเมือง เพราะสังคมในเมืองหลวงนี้เป็นลักษณะของสังคมใหม่ ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างอยู่ ไม่ค่อยรู้จักกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สังคมต่างจังหวัดจึงจะสามารถทำเรื่องนี้ได้ดีกว่า ที่จริงเรื่องนี้ถ้าทำได้ จะเป็นการสะท้อนคุณภาพและคุณธรรมของสังคมนั้นๆได้อย่างดีเยี่ยม การอยู่ร่วมกันได้ โดยมีความใกล้ชิดและสามารถแบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้ หรือส่วนที่บริการสาธารณะร่วมกัน ก็จะเป็นการประหยัดและสร้างแต่สิ่งจำเป็นที่จะใช้เฉพาะตัวได้ ส่วนที่ใช้ร่วมกันก็จะสร้างมาใช้อย่างได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งก็จะเป็นสิ่งที่ได้เปรียบ ถ้าชุมชนไหนสามารถทำได้อย่างที่ว่าในปัจจุบัน ยกต้วอย่างเช่นการใช้สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ ที่ต้องการพื้นที่ส่วนกลางและการดูแลจากชุมชน หรือระบบต่างๆเช่นระบบ solar cell หรือ solar energy ที่สามารถลงขันกันสร้างก็จะสามารถสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพสูง สำหรับทุกๆบ้าน ซึ่งประหยัดกว่าที่แต่ละบ้านจะต้องสร้างกันเอง (โดยไม่ต้องพึ่งพารองบประมาณจากรัฐ)

เช่นที่เชียงใหม่ สหกรณ์บ้านแม่คำปอง ต.ห้วยแก้ว กิ่ง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ มีการดำเนินงานทำโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กจนประสบความสำเร็จ สามารถผลิตไฟฟ้าใช้ภายในชุมชน และมีการบริหารจัดการในรูปแบบสหกรณ์ มีสมาชิกผู้ใช้ไฟในชุมชนร่วมกำหนดค่าไฟ ร่วมกันดูแลรักษาป่าและน้ำไม่ให้ถูกทำลาย เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ปัจจุบันสามารถจ่ายไฟฟ้าให้แก่สมาชิก 130 หลังคาเรือน 2 หมู่บ้าน นอกจากนี้ไฟฟ้ายังเหลือใช้และพร้อมที่จะขายให้แก่ กฟภ. ด้วยแล้ว แต่กฎหมายยังไม่เปิดช่องแม้ว่ามติ ค.ร.ม. เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2545 จะเห็นชอบให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กแล้วก็ตาม


นี่เป็นหลักการที่ไม่น่าจะยากจนเกินไปนัก การริเริ่ม หรือพัฒนาอาจจะต้องใช้เวลาหน่อย แต่ก็ไม่เสียหายอะไรที่จะเป็นคนเริ่มต้นบ้าง เพื่อสนับสนุนแนวความคิดของเศรษฐกิจแบบพอเพียง การรักษาสมดุลของธรรมชาติ ไม่แน่ว่าวันหนึ่งเมืองไทยของเรา อาจจะติดอันดับประเทศที่มีความสุขที่สุดก็ได้

( ฮิ ฮิ ......ไม่อยากจะฝัน )




Create Date : 30 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 5 มกราคม 2551 14:15:59 น. 2 comments
Counter : 3362 Pageviews.

 
ชอบภาพสุดท้ายมาก อยากได้..อยากมี
จะเกินความต้องการของมนุษย์ธรรมดามั๊ยคะ


โดย: แมวไร้เงา วันที่: 30 พฤศจิกายน 2550 เวลา:11:44:53 น.  

 
ผมชอบห้องน้ำในรูปที่ 5 ที่สุดครับชอบกำแพงแบบนั้น....ธรรมชาติดีครับ....


โดย: Than_Tree วันที่: 30 พฤศจิกายน 2550 เวลา:17:51:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.