"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics
เรื่องของชัตเตอร์

เรื่องของชัตเตอร์


ชัตเตอร์ เป็นคำที่เราคุ้นกันดี เมื่อเริ่มเล่นกล้อง หรือถ่ายภาพ แต่บางทีมันก็ทำให้เรางงได้เหมือนกัน เพราะมันมีความหมายและรายละเอียดมากมายพอสมควร โดยเฉพาะเมื่อกล้องมีการพัฒนาระบบมาถึงระบบดิจิตอล และชัตเตอร์ก็มีความหมายไปในแต่ละระบบไม่เหมือนกัน ผมจะเขียนรวมๆ ให้เห็นภาพที่จะเข้าใจได้ทุกระบบเลยแล้วกัน

ที่มันมีรายละเอียดมากมาย ก็เพราะมันเรียกรวมเอากระบวนการที่กล้องทำงานในการรับแสงเพื่อให้กล้องบันทึกภาพเกือบทั้งหมด และทำงานก็เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ของกล้องหลายส่วนอีกด้วย เริ่มตั้งแต่
1.ชัตเตอร์ คือกลไกอัตโนมัติที่ใช้สำหรับเปิดและปิด ทางที่แสงจะผ่านเข้าไปยังกล้องหรืออุปกรณ์ที่รับภาพ คือฟิลม์ หรือ CCD ดังนั้นการถ่ายภาพแต่ละภาพ เราก็เรียกว่า กดชัตเตอร์ หรือ shutter release แล้วเราก็เรียกปุ่มกด (shutter release) นี้ว่าชัตเตอร์ด้วยเหมือนกัน


2.ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed) มีความสำคัญที่จะทำให้ภาพที่เราบันทึก มืดหรือสว่าง เราเรียกเวลาหรือความเร็วในการเปิด-ปิดชัตเตอร์นี้ว่า Exposure time เป็นคำที่เกิดมาจากการที่ฟิล์มต้องรับแสง (Exposed) มากน้อยแค่ไหน ที่จะออกมาแล้วพอดี หรือสวย เวลาในการรับแสงของฟิล์ม เขาตั้งมาตรฐานไว้ที่ 1/1 1/2 1/4 1/8 1/15 1/30 1/60 1/125 1/250 1/500 1/1000 1/2000 ซึ่งคิดเป็นเศษส่วนของวินาที ตัวเลขแต่ละลำดับ ก็จะมีความเร็วแตกต่างกัน 1 เท่าตัว ไปเป็นขั้นๆไปตามลำดับ











แต่ตัวเลขที่กล้อง (หรือเลนส์) เขาตัดความยุ่งยากของตัวเลขที่เป็นเศษส่วนลง เอามาแต่ตัวเลขที่เป็นส่วนคือ 1 2 4 8 15 30 60 125 250 500 1000 ดังนั้นความเร็วที่ได้ มันจึงสวนทางกับตัวเลข ตัวเลขที่มีค่าน้อยชัตเตอร์จะเปิดนาน แสงจะเข้าไปในกล้องได้มาก ส่วนตัวเลขที่มีค่ามาก ชัตเตอร์จะเปิดแล้วปิดเร็ว แสงจะเข้าไปในกล้องได้น้อย



ปุ่มเปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์ ที่ปัจจุบันกล้องดิจิตอลไม่ใช้แล้ว










เมื่อเราเข้าใจในหลักการทำงานของมันแล้ว การตั้ง Shutter speed ก็จะทำได้ง่ายขึ้น และควรฝึกฝนการตั้ง Shutter speed เองด้วยสำหรับผู้ใช้กล้องดิจิตอล เพราะแม้ว่ากล้องดิจิตอลมันทำให้เราได้ก็จริง ในโหมด AUTO แต่ภาพที่ได้ก็ไม่ใช่จะเป็นภาพที่สวยที่สุด หรือดีที่สุด เพราะภาพที่มีแสงพอดี แสงสวยๆ มันเหมือนงานศิลปะ ที่กล้องระบบดิจิตอลมันไม่เข้าใจ แม้เขาจะออกแบบมาให้วัดแสงได้ละเอียดมากก็ตาม แต่แสงในสภาพที่เราถ่ายภาพ มันมีความหลากหลายกว่านั้น มันมีแหล่งที่มามากกว่า 1 แหล่งและสว่าง มืดไม่เท่ากัน ต้องพยายามสังเกตและจดจำให้ชำนาญ


หรือในบางสถานการณ์ เราก็ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่มากหรือน้อยกว่าปกติ เช่นในเวลากลางคืน ที่มีแสงน้อย หรือต้องการให้แสงวิ่งเป็นทาง หรือน้ำวิ่งเป็นทาง เราก็ต้องใช้ speed ที่ช้ามากๆ หรือบังคับให้ชัตเตอร์เปิดค้างไว้ตามใจเราอย่างไม่มีกำหนด จนกว่าเราจะพอใจจึงปล่อยให้มันปิด เช่นการถ่ายภาพไฟบนท้องถนนในเวลากลางคืน หรือถ่ายภาพพลุ ที่เราต้องการบันทึกให้เห็นแสงเดินทางไปเป็นเส้น ยาวตามความพอใจ ซึ่งก็ไม่สามารถไปพึ่งพาระบบ AUTO ได้เช่นกัน กลไกนี้ทำให้เราต้องใช้ขาตั้งกล้องช่วยในการถ่ายภาพอีกด้วย


ซึ่งตัวรับแสง หรือฟิล์มรุ่นเก่าๆต้องการเวลาในการรับแสงมาก แต่เมื่อมีการพัฒนาฟิล์มให้รับแสงได้ไวขึ้น ก็มีการพัฒนากล้องให้มี Shutter speed เร็วขึ้น จนมาเป็นดิจิตอล ตัว CCD สามารถรับแสงได้ไวมากขึ้นไปอีก จนสามารถเร่งค่า ISO ไปเป็นหลายพันได้ ขณะที่ฟิล์มมี ISO แค่ 100 , 200 และ 400 เกรนของภาพก็แตกแล้ว และเมื่อมีการพัฒนากล้องดิจิตอล Shutter speed ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นขั้นๆเหมือนเดิม เพราะมันสามารถทำงานได้ละเอียดกว่านั้นเยอะ และตัวเลข Shutter speed ก็สามารถตั้งได้ด้วยตัวเอง


3.ตัวชัตเตอร์ที่เลนส์ (Central shutters) หรือชัตเตอร์ระหว่างเลนส์ (Between – lens shutter) เราเรียกว่า ชัตเตอร์แผ่น (Leaf shutter) ทำด้วยโลหะซ้อนกันเป็นกลีบ ติดตั้งอยู่ในกระบอกเลนส์ของกล้อง พัฒนามาตั้งแต่การผลิตเลนส์รุ่นแรกๆที่บางทีก็อยู่หน้าเลนส์ จะใช้กับกล้องขนาดกลางที่ใช้กับฟิล์มขนาด 120 หรือขนาดใหญ่ จำนวนแผ่นหรือกลีบยิ่งมากยิ่งทำให้รูรับแสงกลมมาก (แต่บางคนก็ชอบรูที่ไม่กลมที่ให้เอฟเฟคเป็นแฉกหรือเป็นดาวก็มี) ส่วนจำนวนกลีบมักทำเป็นเลขคี่ เช่น 5 7 9 .... ชัตเตอร์แบบนี้ มีข้อดีคือมันจะทำงานสัมพันธ์ไปกับไฟแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกระดับความเร็วชัตเตอร์









ในยุคแรกๆ กลไกเหล่านี้จะทำงานอยู่ที่เลนส์ทั้งหมด ต่อมาจึงมีการพัฒนา กล้องระบบ SLR ซึ่งสามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ จึงต้องมีชัตเตอร์ปิดที่ฟิล์ม เมื่อถอดเปลี่ยนเลนส์แสงก็จะไม่โดนฟิล์ม



เลนส์รุ่นแรกๆยังไม่เป็น Leaf shutter แต่เป็นแผ่นโลหะเจาะรูหลายๆขนาด มีขนาดแค่ 1 2 3 4 เท่านั้น










เซียนกล้องหลายๆคนยังพิสมัยเลนส์เก่าๆอยู่ ก็ยังเอามาใช้ได้










แต่ในกล้อง SLR ที่เป็น medium format ก็ยังคงใช้ Central shutters ที่ตัวเลนส์อยู่ และเมื่อจะต้องเปลี่ยนเลนส์ จะมีแผ่นสไลด์มาบังปิดหน้าฟิล์มเพื่อกันแสงเวลาที่ยังไม่ถ่ายรูป หรือจะเปลี่ยนฟิล์ม

เมื่อเรารู้จัก Shutter กันมากขึ้นแล้ว รู้จักการปรับ Shutter ทั้งที่รูรับแสง และ speed แล้ว ดังนั้น เมื่อเราต้องการปริมาณแสงมากน้อยแค่ไหน จะมากขึ้นหรือน้อยลงกี่ stop ก็ทำให้เราสามารถเล่นกับกล้องได้ทั้ง 2 ที่ แล้วแต่ว่าภาพที่จะถ่ายจะมีลักษณะอย่างไร



4.ชัตเตอร์ระนาบโฟกัส (Focal – plane shutter) คือชัตเตอร์ที่อยู่ในตัวกล้อง ปิดอยู่หน้าฟิล์ม มี 2 ประเภทคือ มีทั้งแบบแนวนอนและแนวตั้ง ทำหน้าที่เปิด – ปิดกั้นแสง ส่วนใหญ่มักใช้ในกล้องสะท้อนเลนส์เดี่ยว


ชัตเตอร์แนวนอน มักจะเป็นแผ่นผ้าสีดำบางๆ เลื่อนเปิด-ปิดในแนวนอน ชัตเตอร์แบบนี้จะมีข้อเสียหลายอย่าง คือความเร็วการเลื่อนช้า สามารถทำงานกับแฟลชได้แค่ 1/60 วินาที เท่านั้น และตัวผ้าก็ยังไม่ค่อยทนทาน การใช้งานมากๆก็เสียหายได้ และถ้าโดนแสงจากดวงอาทิตย์โดยตรง ก็มีโอกาสเสียหายได้เช่นกัน










ชัตเตอร์แนวตั้ง จะเห็นเป็นแผ่นโลหะ ที่ซ้อนกันในแนวนอน (ส่วนประกอบเกี่ยวกับกล้องนี่หลายอย่างที่เรียกสลับกัน ทำให้เราสับสนอยู่เรื่อย) เวลาทำงานมันจะเลื่อนพับขึ้นไปในแนวตั้ง ซึ่งจะทำงานได้รวดเร็วกว่าชัตเตอร์แนวนอน ชัตเตอร์ที่เปิด – ปิดในแนวตั้งจะสัมพันธ์กับแฟลชอิเล็กทรอนิกส์ ที่ความเร็วสูงสุดได้ถึง 1/250 วินาที











5. ชัตเตอร์อิเลคโทรนิค (Electronic shutter) ใช้กับกล้องดิจิตอล มีหน้าที่เปิด-ปิดตัว sensor เท่านั้น จะไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวเหมือนระบบแมคคานิค







เรื่องของชัตเตอร์ หลักๆที่สำคัญ ก็จะมีเพียงเท่านี้ครับ ส่วนรายละเอียดอื่นๆของ Shutter ยังมีอีกหลายชนิดแล้วแต่กล้องแต่ละยี่ห้อเขาจะออกแบบให้มีความพิเศษซับซ้อนยิ่งขึ้น แต่ก็มีน้อยมากไม่ค่อยสำคัญหรือไม่นิยมในกล้องทั่วไปซึ่งไม่จำเป็นต่อการถ่ายภาพแล้วครับ ที่สำคัญที่น่าจะเรียนรู้กันต่อ คือเรื่องของการปรับ speed Shutter ที่จะว่ากันในตอนต่อไปครับ


TraveLArounD




ปล. ท่านที่เพิ่งเข้ามาชมบล็อกใหม่ ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ค้นดูหัวเรื่องได้ง่ายที่ group : นานา สาระ๑๐๐๐ เพราะเรื่องต่างๆ เขียนไว้ กว่า 1430 เรื่องแล้ว

หมายเหตุ : ขณะได้มี website อื่นๆหลาย website ได้นำเอาเรื่องที่ผมเขียนไว้ ไปลงต่อในลักษณะของเนื้อหา โดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ถ้าต้องการบทความใดไปใช้ ขอให้ติดต่อขออนุญาต ก่อนทาง Email : nana_sara1000@ymail.com มิฉะนั้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ส่วนผู้ที่ต้องการนำเรื่องไปโพสต่อ เพื่อเผยแพร่ โดยมิใช่ทางการค้า ขอให้ติดต่อขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนโพส



Create Date : 29 มกราคม 2555
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2555 18:28:39 น. 1 comments
Counter : 4571 Pageviews.

 


โดย: amulet108 วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:12:32:55 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.