"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics
พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๕๗ | ทรงคำนึงเห็นอุปนิสัยเวไนยสัตว์

พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๕๗ : ทรงคำนึงเห็นอุปนิสัยเวไนยสัตว์

ทรงคำนึงเห็นอุปนิสัยเวไนยสัตว์
เปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า
จึงรับอาราธนาท้าวสหัมบดีพรหม

ท้าวสหัมบดีพรหมที่เสด็จมากราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมประกาศพระศาสนาโปรดชาวโลกนั้น เป็นเรื่องปุคคลาธิษฐาน คือ แต่งเป็นนิยายมีบุคคลเป็นตัวแสดงในเรื่อง แต่ถ้าถอดความเป็นธรรมาธิษฐาน หรืออธิบายกันตรงๆ ก็คือสหัมบดีพรหมนั้น ได้แก่พระมหากรุณาของพระพุทธเจ้านั่นเอง

ถึงพระพุทธเจ้าจะทรงท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรม แต่อีกพระทัยหนึ่งซึ่งมีอำนาจเหนือกว่า คือ พระมหากรุณา และพระมหากรุณานี่เองที่เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าตัดสินพระทัยว่าจะทรงแสดงธรรมที่จริงในราตรีแห่งวันที่จะได้ตรัสรู้ ในมัชฌิมยามนั้น ทรงบรรลุจุตูปปาตญาณ ก็ทรงหยั่งเห็นสันดานของประชาสัตว์สิ้นแล้ว ว่ามีอุปนิสสัยต่างๆ กัน เป็น ๔ จำพวก คือ
๑.อุคฆติตัญญู บุคคลที่มีอุปนิสัยวาสนาและบารมีแก่กล้า ได้สดับคำสั่งสอนพอสังเขปก็รู้เหตุผลและหลุดพ้นทุกข์ได้โดยพลันจำพวกหนึ่ง สามารถจะตรัสรู้ตามพระธรรมเทศนาได้ฉับพลัน
๒.วิปจิตัญญู บุคคลที่มีอุปนิสัยได้สดับคำสั่งสอนโดยสังเขป ไม่สามารถตรัสรู้ได้ ต่อจำแนกอรรถาธิบายโดยพิสดาร จึงจะรู้เหตุผลและหลุดพ้นทุกข์ได้ จะสามารถตรัสรู้ตามได้ ในกาลภายหลังที่สดับรับพระโอวาทแนะนำในกาลต่อไป
๓.เนยยะ บุคคลที่ได้สดับคำสั่งสอนทั้งโดยสังเขปและพิสดารแล้ว ยังไม่สามารถตรัสรู้ได้ ต้องฝึกฝนพากเพียรศึกษาในสมถะและวิปัสสนาต่อไป จึงจะสามารถจะรู้ได้ในกาลภายหลัง
๔.ปทปรมะ บุคคลที่มีอุปนิสัยบารมียังไม่บริบูรณ์ แม้จะได้สดับพระธรรมคำสั่งสอนทั้งโดยย่อและพิสดารก็ตาม แม้จะฝึกฝนและพากเพียรเล่าเรียนในสมถะและวิปัสสนา ก็ไม่สามารถจะตรัสรู้เหตุผล และหลุดพ้นทุกข์ได้ เป็นผู้ยากที่จะสั่งสอน แม้จะได้สดับธรรม ก็จะได้ผลเพียงเป็นอุปนิสสัยปัจจัยในภาพต่อไป




ถ้าไปเปรียบกับดอกบัว ๔ เหล่า จำพวกที่หนึ่ง เหมือนดอกบัวเปี่ยมน้ำ พอได้รับแสงอาทิตย์ก็บาน จำพวกที่สอง เหมือนดอกบัวใต้น้ำที่จะโผล่พ้นน้ำ และที่จะบานในวันรุ่งขึ้น จำพวกที่สามเหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำลึกลงไปหน่อย ซึ่งจะแก่กล้าขึ้นมาบานในวันต่อๆไป และจำพวกที่สี่ เหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำลึกลงไปมาก ถึงขนาดไม่อาจขึ้นมาบานได้ ก็จะตกเป็นภักษาหารของปลาและเต่าเสียก่อน

หรือถ้าวัดกันแบบสมัยใหม่ คือความแตกต่างแห่งระดับสติปัญญาของคน ๔ ระดับ ได้แก่
ระดับที่หนึ่ง ฉลาดมาก เพียงแต่ได้ฟังหัวข้อธรรมที่ยกขึ้นก็เข้าใจทันที
ระดับที่สอง ฉลาดพอควร ต่อเมื่อฟังคำอธิบายอีกชั้นหนึ่งจึงเข้าใจ
ระดับที่สาม ฉลาดปานกลาง ที่เรียกว่าเวไนยสัตว์ ต้องใช้เวลาอบรมบ่มสติปัญญาพอควรจึงจะเข้าใจ
ระดับที่สี่ คำว่า "ปทปรมะ" ตรงกับภาษาไทยว่า โง่ทึบ ตรงกับคำอังกฤษว่า Idiot เป็นคนที่ใครโปรดไม่ได้ เรียกอีกสำนวนหนึ่งว่า ผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงทอดทิ้ง

ระดับแตกต่างแห่งสติปัญญาของคนในโลกที่พระพุทธเจ้าทรงเห็นดังกล่าวนี้ บางที่จะไปเปรียบกับสิ่งที่ภาษาจิตวิทยาทุกวันนี้ เรียกกันว่า ไอ.คิว. แต่ผมยังไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะฉลาดแบบเรียนรู้นั้นเป็นเรื่องรู้จำ ไม่ใช่ปัญญาทางธรรม และการฟังธรรมหรือการบรรลุธรรมนั้น น่าจะต้องมีบารมีที่ได้สั่งสมมาแต่ชาติก่อนๆอีกด้วย เปรียบเทียบกับคนฉลาดระดับดอกเตอร์ แต่จิตใจ ความรู้เรื่องธรรม และคุณธรรมมีแค่ระดับอนุบาลนั้น ยังมีอยู่ทั่วไป ห่างไกลจากปัญญาแห่งการหลุดพ้นอยู่มาก

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงพิเคราะห์บุคคลเป็นจำพวกๆดังนี้ ทรงเห็นว่าบุคคล 3 จำพวกแรก สามารถจะล่วงรู้เหตุผลแห่งความจริง(พระธรรม) ได้ในชาติปัจจุบัน แต่บุคคลจำพวกที่๔ อาจจะตรัสรู้ได้ในชาติอนาคต ก็ตกลงพระทัยที่จะแสดงพระธรรมสั่งสอนชาวโลกสืบไป ทรงรับอาราธนาของท้าวสหัมบดีพรหม ตั้งพระทัยจะประดิษฐานพระพุทธศาสนาด้วยดี ให้เกิดแก่พุทธบริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา แผ่ไพศาลก่อนที่จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานสืบไป



Create Date : 27 เมษายน 2551
Last Update : 27 เมษายน 2551 11:52:54 น. 0 comments
Counter : 1445 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.