"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics
พระพุทธรูปปาง : ทรงโปรดเบญจวัคคีย์ และ พระพุทธรูปปาง : ทรงแสดงปฐมเทศนา

ทรงโปรดอุปกาชีวก

เสด็จพระพุทธดำเนินไปโปรดเบญจวัคคีย์
พบอุปกาชีวกในระหว่างทาง


เมื่อทรงรับอาราธนาของท้าวสหัมบดีพรหม ตั้งพระทัยจะประดิษฐานพระพุทธศาสนาแสดงพระธรรมสั่งสอนชาวโลกสืบไปด้วยดี ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาถึงบุคคลที่พระองค์จะเสด็จไปโปรด เมื่อคำนึงว่าจะแสดงธรรมแก่ใครก่อน ทรงมองเห็นภาพของดาบสทั้งสอง ที่พระองค์เคยเสด็จไปทรงศึกษาอยู่ด้วย คืออาฬารดาบส และอุทกดาบส แต่ทั้งสองท่านนั้นก็สิ้นชีพเสียแล้ว และไปบังเกิดใน อรูปพรหม ซึ่งไม่สามารถแสดงธรรมให้ได้ ทรงเห็นเบญจวัคคีย์ว่ายังมีชีวิตอยู่ จึงทรงตั้งพระทัยเสด็จไปโปรดเบญจวัคคีย์เป็นอันดับแรก


เบญจวัคคีย์ หรือปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 พำนักอยู่ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน (หรือที่ทุกวันนี้เรียกว่า สารนาถ ซึ่งอยู่ในเขตแดนเมืองพาราณสี) พระพุทธองค์จึงดำเนินไปด้วยพระบาทตลอด 18 โยชน์ (288 กิโลเมตร) โดยไม่ประสงค์ใช้อิทธิฤทธิ์ ระหว่างทาง เมื่อเสด็จถึงแม่น้ำคยา อันเป็นที่สุดเขตตำบล ของสถานที่ตรัสรู้ พระพุทธเจ้าได้ทรงพบอาชีวกผู้หนึ่งนามว่า "อุปกะ" เดินสวนทางมา (อาชีวก คือนักบวชนอกศาสนาพุทธนิกายหนึ่งในสมัยนั้น)




ตอนที่เดินยังไม่เข้าใกล้ และได้เห็นพระพุทธเจ้านั้น อาชีวกผู้นี้ได้เห็นพระรัศมีที่แผ่ซ่านออกจากพระวรกายพระพุทธเจ้ามากระทบเข้าที่หน้าตนก่อน พระรัศมีนั้น เรียกว่า "ฉัพพรรณรังสี" คือ พระรัศมี ๖ ประการที่ซ่านออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า ได้แก่
๑. นีละ สีเขียวเหมือนดอกอัญชัน
๒. ปีตะ สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง
๓. โลหิตะ สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อน
๔. โอทาตะ สีขาวเหมือนแผ่นเงิน
๕. มัญเชฐะ สีแสดเหมือนดอกหงอนไก่
๖. ประภัสสระ สีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก

(มาถึงสมัยหลัง มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้น ได้สร้างสัญลักษณ์แทนฉัพพรรณรังสีนี้ขึ้น เรียกกันว่า "ประภามณฑล" คือ พระรัศมีที่พุ่งขึ้นจากเบื้องพระเศียรที่เป็นรูปกลมรีขึ้นข้างบนนั่นเอง)









พอพระพุทธเจ้าเสด็จเข้ามาใกล้ อาชีวกจึงได้เห็นที่มาของพระรัศมี พอเห็นก็เกิดความสนใจจึงเข้าไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ใครเป็นพระศาสดาของท่าน พอพระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์ไม่มีศาสดาผู้เป็นครูสอน พระพุทธองค์เป็นสยัมภู คือ ผู้ตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์เอง อาชีวกได้ฟังแล้วแสดงอาการสองอย่าง คือ สั่นศีรษะ และแลบลิ้น แล้วเดินหลีกพระพุทธเจ้าไป





ทรงโปรดเบญจวัคคีย์


พระพุทธเจ้าเสด็จถึงป่าอิสิปตนะ
เบญจวัคคีย์เห็นแต่ไกล แต่นัดกันว่าจะไม่ต้อนรับพระพุทธองค์

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันในเย็นวันเดียวกันนั้น ขณะนั้นพวกเบญจวัคคีย์ ซึ่งมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้ากำลังสนทนากันอยู่ เรื่องที่สนทนากันก็เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยตรงว่า นับตั้งแต่ผละหนีจากพระพุทธเจ้ามาก็นานแล้ว ป่านนี้จะประทับอยู่ที่ไหน จะทรงระลึกถึงพวกตนอยู่หรือไม่









ทันใดนั้น เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ก็เห็นพระฉัพพรรณรังสี สว่างรุ่งเรืองมาแต่ไกล เมื่อเหลียวแลตามลำแสงพระรัศมี ก็เห็นพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จดำเนินมา ทั้ง ๕ จึงนัดหมายกันว่าจะไม่รับเสด็จพระพุทธเจ้า และจะไม่ถวายความเคารพ คือ จะไม่ลุกขึ้นออกไปรับบาตรและจีวร จะปูแต่อาสนะถวายให้ประทับนั่ง จะไม่ถวายบังคม แต่ต่างจะนั่งอยู่เฉยๆ ทำเป็นไม่รู้ ไม่สนใจว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมา


แต่ครั้นพอพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงจริง เบญจวัคคีย์ทั้งหมดต่างลืมนัดหมายกันเสียสิ้น เพราะต่างก็ลุกขึ้นรับเสด็จ ถวายบังคม และรับบาตรและจีวรด้วยความเคารพอย่างแต่ก่อนที่เคยทำมา ผิดแต่ว่า เวลาทั้ง ๕ กราบทูลพระพุทธเจ้านั้นได้ใช้ถ้อยคำที่พวกตนไม่เคยใช้มาก่อนเท่านั้น


เบญจวัคคีย์ใช้โวหารเรียกพระพุทธเจ้าว่า "อาวุโส โคดม" คำท้าย คือ โคดม หมายถึงชื่อตระกูลของพระพุทธเจ้า ส่วน อาวุโส เป็นคำเดียวกับที่คนไทยเรานำมาใช้ในภาษาไทย ผิดแต่หมายต่างกันในทางตรงกันข้าม ภาษาไทยใช้และหมายกับผู้สูงอายุ และคุณวุฒิ แต่ภาษาบาลีใช้เรียกบุคคลผู้อ่อนทั้งวัยและวุฒิ คือ เป็นคำที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย "อาวุโส" จึงเท่ากับคำว่า "คุณ" ในภาษาไทย ซึ่งไม่สุภาพ









พระพุทธรูปปางทรงโปรดเบญจวัคคีย์ เป็นพระพุทธรูป ประทับนั่งสมาธิ พระเนตรมองไปยังเหล่า เบญจวัคคีย์ ที่เฝ้าอยู่เบื้องพระพักตร์


พระพุทธเจ้าจึงตรัสเตือนสติเบญจวัคคีย์ว่า เคยใช้โวหารนี้กับพระองค์มาก่อนหรือไม่ เมื่อเบญจวัคคีย์ได้สติ พระพุทธเจ้าจึงตรัสเล่าให้ฟังว่า พระองค์ได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ที่เสด็จมาที่นี่ก็เพื่อจะมาแสดงธรรมโปรดนั้นเอง พระศาสดาได้ตรัสปลอบใจให้เบญจวัคคีย์เชื่อในการตรัสรู้ของพระองค์ เบญจวัคคีย์จึงได้เกิดความสนใจที่จะฟังธรรม





พระพุทธรูปปาง : ทรงแสดงปฐมเทศนา

ทรงสำแดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
โปรดเบญจวัคคีย์

ครั้นถึงวันอาสาฬปุณณมี วันที่พระพุทธเจ้าจะทรงแสดงธรรม "ปฐมเทศนา" นั้น เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากที่เสด็จมาถึงและพบเบญจวัคคีย์ คือ วันอาสาฬหบูชานั่นเอง









เมื่อได้โอกาสอันควรที่จะแสดงธรรมโปรดพระปัญจวัคคีย์ พระพุทธองค์จึงประกาศพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หรือการปฐมเทศนาครั้งแรกในโลก ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันแห่งนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมในเรื่องถึงที่สุดสองอย่าง คือ การพัวพันหนักในกามสุข และการประกอบกรรม อันเป็นการทรมานตัวเองให้เหนื่อยเปล่า ว่าไม่ใช่ทางแห่งความหลุดพ้น และทรงชี้ทางให้ดำเนินตาม มัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลางที่เรียกว่า “มรรค” มีองค์ ๘
คือทางที่ทำให้ผู้ดำเนินตาม เป็นพระอริยะนั้นเอง

องค์ ๘ นั้น มีอะไรบ้าง?
องค์ ๘ นั้น คือปัญญาความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ระลึกชอบ และตั้งใจชอบ
มัชฌิมาปฏิปทานี้ พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นธรรมะที่ทำดวงตาปรีชาญาณให้สว่าง เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ทุกข์ เป็นสัจจะของพระอริยบุคคล คือ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความแห้งใจ ความรำพัน ความเจ็บไข้ ความเสียใจ ความคับใจ เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เป็นทุกข์ ความปรารถนาไม่สมหวังเป็นทุกข์
ทุกขสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นสัจจะของอริยบุคคล คือ ตัณหา ความทะยานอยาก ทำให้มีภพมีชาติ สหรคตด้วยความกำหนัดยินดี เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ
ตัณหา ที่ประกอบด้วย
กามตัณหา คือ ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่
ภวตัณหา คือ ความทะยานอยากในความมีความเป็น
วิภวตัณหา คือ ความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น
ตัณหาทั้ง ๓ ประการนี้ จึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
ทุกขนิโรธ ความดับทุกข์ เป็นสัจจะของอริยบุคคล คือ ความดับตัณหาทั้ง ๓ นั้น ให้หมดสิ้นไป เป็นอเสสวิราคะ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่พัวพันซึ่งตัณหานั้น จึงจะเป็นความดับทุกข์
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ทางเข้าถึงความดับทุกข์ เป็นสัจจะของอริยบุคคล ได้แก่ อริยมรรค ทางมีองค์ ๘ นี้ เป็นทางถึงความดับทุกข์










พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสเล่าให้ภิกษุสงฆ์ฟังภายหลังว่า "ตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประกาศ อนุตตรธรรมจักร ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้นครพาราณสี เป็นธรรมจักรที่สมณะ หรือพราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จะต้านทานให้หมุนกลับไม่ได้ ข้อนี้คือการ บอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก และการทำให้ตื่น ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่ประการ ได้แก่
๑. ความจริงอันประเสริฐคือความทุกข์
๒. เหตุให้เกิดทุกข์
๓. ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
๔. หนทางทำผู้ปฏิบัติให้บรรลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

สรุปได้ว่าพระพุทธองค์ทรงเห็นสังขารทุกข์ของสัตว์มนุษย์ทั้งปวงว่า เมื่อเกิดมาแล้วมันมีแต่ทุกข์ทั้งนั้น จะต้องแก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น แล้วก็มาเกิดอีก หมุนเวียนอยู่อย่างนี้เรื่อยไปเป็นลูกโซ่ เราจะทำอย่างไรเล่าที่จะไม่ต้องมาแก่ เจ็บ ตาย และทนทุกข์ทรมาน รวมถึงทุกข์อื่นๆในขณะดำรงชีวิต เช่น ความโศก ความรำพัน เป็นต้น มีทางเดียวคือเลิกเกิด ทำอย่างไร มันถึงจะเลิกเกิดได้ ที่เราต้องเวียนเกิดเวียนตายกันอยู่นี้ ก็เพราะอวิชชา เราต้องทำลายอวิชชาให้หมดไป คือ มารู้และปฏิบัติตามความจริงอันประเสริฐสี่ประการที่เรียกว่า อริยสัจจ์ ๔ นี้ นั่นเอง

ท่านโกณฑัญญะ ผู้เป็นหัวหน้าตั้งใจฟังไปตามกระแสแห่งพระธรรมเทศนา ก็ได้ปัญญาเห็นธรรม ปราศจากมลทิน คือ โสดาปัตติมรรคเกิดขึ้นว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงเหล่านั้น ก็จะต้อง มีความดับไปเป็นธรรมดาเช่นกัน" เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว จึงเปล่งพระอุทานว่า "โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอๆ" แล้วพระโกณฑัญญะจึงทูลขออุปสมบท ก็โปรดอนุญาตให้เป็นภิกษุ ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นการประทานอุปสมบทครั้งแรกในพระศาสนา ฉะนั้น พระอัญญาโกณฑัญญะ จึงเป็นพระสงฆ์องค์แรก เป็นพระอริยบุคคลองค์แรก และเป็นพระสาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนานี้ เป็นอันว่า พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้า ได้เกิดขึ้นบริบูรณ์ในกาลแต่บัดนั้น





พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ของไทยไม่นิยมสร้าง แต่ของประเทศอื่นสร้าง ก็สร้างในปางที่ต่างกัน แต่จะเหมือนกันที่การใช้ "มุทรา" คือสัญลักษณ์ของพระกร ที่แสดงถึงการปฐมเทศนา


พระพุทธรูปของพม่า เป็นพระปางนั่งสมาธิ ด้วยมุทราของการปฐมเทศนา







พระพุทธรูปของธิเบต เป็นพระปางนั่งห้อยพระบาท ด้วยมุทราของการปฐมเทศนาเช่นกัน






พระพุทธรูปของพม่า เป็นพระปางยืน ด้วยมุทราของการปฐมเทศนา




Create Date : 25 มีนาคม 2552
Last Update : 10 เมษายน 2552 14:14:21 น. 5 comments
Counter : 12302 Pageviews.

 
55/8


โดย: อิสระพงษ์ IP: 192.168.213.126, 127.0.0.1, 124.157.239.165 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2552 เวลา:11:27:06 น.  

 
ไม่มีเดือนหรอค่ะ


โดย: เเก้ม IP: 110.49.233.146 วันที่: 16 สิงหาคม 2555 เวลา:19:14:48 น.  

 
อยากรู้เรื่องเกี่ยวกับเวลาที่แสดงธรรมปฐมเทศนาให้มนุษย์เป็นประจำมีไหมคะ


โดย: ปอแก้ว IP: 125.25.166.137 วันที่: 13 ตุลาคม 2555 เวลา:8:11:15 น.  

 
น่ารักๆจุงเบยอ่าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา 555


โดย: นัยน์ปพร ชูโชติ IP: 171.97.36.13 วันที่: 7 สิงหาคม 2556 เวลา:20:16:40 น.  

 
หมายถึงข้างล่างน้าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา


โดย: นัยน์ปพร ชูโชติ IP: 171.97.36.13 วันที่: 7 สิงหาคม 2556 เวลา:20:18:32 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.