"ความสามัคคีปรองดอง เป็นกำลังอย่างสูงสุดของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ความสามัคคีของคนในชาติ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นอุปสรรค และทำให้สังคมไทย ร่มเย็นเป็นสุข" พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
สนใจลงโฆษณา ในพื้นที่ข้างบน ติดต่อ email : nana_sara1000@ymail.com
Home Lover’s Corner นานา สาระ๑๐๐๐ นานา สารพัด พระพุทธประวัติ ภาคพิเศษ
Travel Around the World Real Estate Buyer's Guide สุขภาพกาย สุขภาพใจ Pets & Animals
ปางพระพุทธรูปตามพุทธประวัติ Horoscope 12 ราศี พระพุทธศาสนา World of Beautiful Musics
ศาสตราจารย์หลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมจินดา)

ศาสตราจารย์หลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมจินดา)
ศิลปินของรอยต่อแห่งอดีต


เรื่องราวของช่างไทย หรือศิลปินแขนงต่างๆในสมัยโบราณนั้น มักไม่ค่อยปรากฏสู่สาธารณะชน เหมือนเช่นปัจจุบัน ที่คนยอมรับคนที่สร้างผลงานทางศิลปะหรือทางวัฒนธรรมมากขึ้น เช่นมีการให้รางวัลศิลปินแห่งชาติแก่ศิลปินในแขนงต่างๆ ประจำทุกปี พวกเราถึงได้มีโอกาสทราบถึง ประวัติของศิลปินท่านนั้นๆ


ในสมัยก่อนนั้น นอกจากผลงานทางศิลปะจะไม่ค่อยได้รับการยกย่องเท่าที่ควรแล้ว ศิลปินที่สร้างผลงานกลับลึกลับมากกว่า หาประวัติหรือหาต้นตอ ศิลปินแทบไม่ค่อยได้ ว่างานชิ้นนั้น ชิ้นนี้ ใครเป็นคนสร้าง คนประดิษฐ์ สมดังคำที่ว่า “ชื่อของช่าง สูญไปไวยิ่ง ผิดกับชื่อของกวี นี้เสียจริง ยังคงสิงอยู่ครบ ไม่ลบเลย” 













ประวัติของ ศาสตราจารย์หลวงวิศาลศิลปกรรม นี้ ท่านอาจารย์สมภพ ภิรมย์ ได้รวบรวมเขียนไว้ในหนังสือ ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์หลวงวิศาลศิลปกรรม เมื่อวันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2525 โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ไปในการพระราชทานเพลิงศพนี้ การจัดพิมพ์ประวัติของท่านนี้เพื่อเป็นการสดุดีบรรพชน ในทางศิลปะไว้ เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที และเพื่อการศึกษาต่อไป














ประวัติ ศาสตราจารย์หลวงวิศาลศิลปกรรม
หลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมจินดา) เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2427 บิดาชื่อทิม มารดาชื่อภู ทวดคือ หลวงประสิทธิหัตถการ ซึ่งเป็นช่างหลวง ท่านเกิดที่จังหวัดพระประแดง ภรรยาชื่อนางบุษย์ มีบุตรหญิง 2 คน ชาย 3 คน เมื่อเยาว์วัย เริ่มเรียนหนังสือกับบิดาแค่พออ่านออกเขียนได้ ต่อมาได้เรียนหนังสือไทยและขอม ที่วัดทองศาลางาม หลวงพ่อที่วัดคงเห็นว่าเรียนเก่ง จึงจะให้เรียนหมอ แต่ท่านไม่ชอบ จึงไปเรียนช่างกับครูดำ เรียนแกะและปั้นกับครูทัต (ผมมีโอกาสได้เรียนกับท่านเมื่อเข้าเรียนสถาปัตย์ ปี1 ขณะนั้นท่านอายุได้ 92-93 ปีแล้ว ยังสอนแกะสลักได้คล่องแคล่ว และได้สาธิตการแกะสลักผลไม้ได้สวยงาม แม้ว่ามือท่านจะเริ่มสั่นบ้างแล้วก็ตาม) ต่อมาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนวลนรดิศ จนจบชั้น3 ประโยค1



พระอุโบสถ วัดไตรมิตร









เมื่ออายุ 18 ปี สมัครเข้ารับราชการในกรมตำรวจ แผนกไม้สูง และถูกเกณฑ์ให้ไปร่วมสร้าง พระเมรุมาศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ที่บริเวณวังหน้า ต่อมาได้ลาบวช หลังจากลาสิกขาแล้วจึงไปทำงานที่สโมสรช่าง มีหน้ามี่เป็นช่างเขียน ต่อมาไปทำงานเป็นช่างเขียนแบบกรมคลอง เรียนกล้องระดับกับนายช่างฝรั่งชื่อ มองตีกุ๊ต ชาวฝรั่งเศส ซึ่งชวนท่านไปประเทศฮอลแลนด์ แต่ท่านปฏิเสธ จึงไม่ได้เป็นนักเรียนนอก ต่อมาจึงลาออก กลับไปทำงานสโมสรช่างตามเดิม



ตึกจักรพงษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย










ต่อมาราชการตั้งโรงเรียนหัตถกรรมขึ้น มีนายอีฮีลี่ เป็นครูใหญ่ โดยการริเริ่มของพระไพศาลศิลปะศาสตร์(เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี) และได้สั่งให้ คุณหลวงวิศาลฯ รับภาระเป็นหัวหน้าโรงงาน เริ่มกิจการช่างถม ช่างพิมพ์สกรีน ช่างประดับมุก และช่างกลึงงา ในช่วงนี้ ท่านยังได้นำนักเรียนไปช่วยเขียนลายเทพพนม ผนังพระที่นั่งดุสิต ในงานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


ตึกมนุษย์นาค โรงเรียนวัดบวรนิเวศ









เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จทรงเป็นประธานเปิดโรงเรียนเพาะช่าง สโมสรช่างและโรงเรียนหัตถกรรมจึงกลายเป็นหน่วยงานในโรงเรียนเพาะช่าง ท่านอาจารย์หลวงวิศาลฯ รับราชการอยู่ประมาณ 17 ปี จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นขุนและหลวง ตามลำดับ แล้วไปเป็นนายช่างตรวจการก่อสร้างประจำกระทรวงธรรมการ จนเข้าสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองไปรับราชการกรมศิลปากรได้เพียง 1 ปี เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ได้จัดตั้งโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย ท่านอาจารย์หลวงวิศาลฯ จึงมาเป็นอาจารย์ใหญ่คนแรกอยู่ได้ 2 ปี จึงออกจากราชการมาเปิดสำนักงานส่วนตัวชื่อ “ศิลปกรรม” และได้รับเชิญเป็นกรรมการสภาวัฒนธรรม จนเมื่อน.อ.หลวงสินธุ์สงครามชัย เป็นรัฐมนตรีกระทรวงธรรมการ ก็ได้เชิญท่านกลับเข้ารับราชการอีก โดยสังกัดกรมการศาสนา เขียนแบบวิหารถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯเพื่อจะไปสร้างที่สิงคโปร์ แต่ก็ได้งดไป ท่านอาจารย์หลวงวิศาลฯ ออกแบบดัดแปลงวังจันทรเกษมเป็นกระทรวงศึกษาธิการปัจจุบัน และทำงานซ่อมสร้างวัดทั่วไป จนเกษียณอายุเมื่อวัย 63 ปี


ท่านอาจารย์หลวงวิศาล ถ่ายภาพกับอ.สมภพ ที่เรือนต้น








เมื่อออกจากราชการแล้ว อาจารย์ศิลปะ พีระศรี ก็ได้เชิญมาสอนต่อที่โรงเรียนประณีตศิลป ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากรจนปัจจุบัน เป็นเวลาอีก 20 ปี ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรนี้ ท่านเป็นอาจารย์พิเศษสอนถึง 3 คณะ คือ คณะจิตรกรรมและประติมากรรม คณะมัณฑนศิลป์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ท่านอาจารย์หลวงวิศาลฯ ได้รับพระราชทานปริญญาศิลปะดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์(สถาปัตยกรรมไทย) และได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา


หอคำ เมืองโบราณ









ผลงานทางสถาปัตยกรรม
ท่านมีผลงานสร้างสรรค์มากมาย ที่สามารถเป็นแบบฉบับของงานสถาปัตยกรรมไทย และงานร่วมสมัย แบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้


พระอุโบสถ
ท่านได้ออกแบบพระอุโบสถไว้มากมายได้แก่ วัดราชบูรณะ วัดไตรมิตร วัดสุนทรธรรมทาน วัดจันทรสโมสร วัดไผ่ตัน วัดญวน บางโพ วัดท่าพระ วัดอัมรินทร์ วัดบุปผาราม วัดนาเกลือ ชลบุรี วัดศรีมหาราชา วัดทุ่งสว่าง นครราชสีมา วัดสูงเนิน วัดชลประทานรังสฤษฏ์ วัดสามง่าม นครปฐม วัดทุ่งสะพาน จันทบุรี วัดบ้านกล้วย ยโสธร วัดอิติสุขโข หัวหิน วัดจุฬามณี พิษณุโลก วัดโปรดสัตว์ อยุธยา นอกจากนี้ ยังมีออกแบบกุฎีสงฆ์ วิหาร และอื่นๆ ที่นับว่ามากที่สุด (ผู้อ่านท่านใด อยู่ใกล้วัดไหน ถ่ายรูปโพสมาให้ดูกันบ้าง จะเป็นพระคุณยิ่ง) นอกจากการออกแบบแล้ว การคำวนโครงสร้าง ใส่เหล็กเสริมต่างๆ ท่านก็ทำเองทั้งหมด เป็นทั้งสถาปนิก และวิศวกรรวมกัน ที่สำคัญ การออกแบบวัดทั้งหลายที่ทำเป็นส่วนตัว ในขณะรับราชการนั้น ท่านทำให้วัดเป็นการกุศลทั้งสิ้น ไม่ได้รับค่าตอบแทนอย่างใด


งานสถานศึกษา
ตึกวิทยาศาสตร์ ตึกจักรพงษ์ ตึกอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ตึกมนุษย์นาค โรงเรียนวัดบวรนิเวศ ตีกนภานภดล วัดเทพศิรินทร์ โรงเรียนปริยัติธรรม วัดปากน้ำ

โรงพยาบาล
ตึกอัษฎางค์ ตึกหอพักนางพยาบาล ศาลาท่าน้ำ โรงพยาบาลศิริราช

เมรุฌาปนสถาน
วัดเสนาสนาราม อยุธยา วัดเทพสังฆาราม กาญจนบุรี วัดบางช้าง นครปฐม


งานศิลปะและโบราณสถานที่เมืองโบราณ
เป็นการจำลองแบบจากโบราณสถานทั่วประเทศ มารวมไว้ ได้แก่ ตำหนักพระพุทธเจ้าเสือขนาดเท่าจริง และโดยการย่อส่วนเล็กกว่าของจริง ได้แก่ ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินศรีขรภูมิ พระพุทธบาทจำลองหอคำ จังหวัดลำปาง ปราสาทเขาพนมรุ้ง ปราสาทเขาพระวิหาร ปรางค์สามยอด ลพบุรี วิหารวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน พระธาตุจอมกิตติ จังหวัดเชียงราย เป็นต้น










นอกจากนี้ ท่านอาจารย์หลวงวิศาลฯ ยังมีผลงานทางจิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปะประยุกต์ และงานอื่นๆอีกมากมาย ล้วนแล้วแต่สวยงาม ทรงคุณค่า เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และการอนุรักษ์ศิลปกรรม เหลือไว้ให้เป็นมรดกของลูกหลานไทย ได้ชื่นชมไปอีกนาน เท่านาน


ท่านอาจารย์ฯกับพระพุทธรูปที่ท่านปั้น








ศาสตราจารย์หลวงวิศาลศิลปกรรม ในวัยชรานับว่าเป็นคนที่แข็งแรงมาก ท่านเดินมาสอนหนังสือเองได้จนอายุ 92 ปี ขณะที่คนอื่นแค่ 80 ปี ก็เดินออกจากบ้านไม่ไหวแล้ว แต่ท่านยังไม่ปล่อยเวลาให้สูญเปล่า แม้อายุมากแล้ว ก็ไม่ได้อยู่นิ่งเฉย (เวลาท่านมาสอน รถมาส่งท่านที่หน้ามหาวิทยาลัย ท่านก็เดินเข้ามาที่คณะคนเดียวตลอด ซึ่งผมเห็นว่า น่าจะเป็นการออกกำลังที่ดีอย่างหนึ่ง บวกกับจิตใจของท่าน ที่มีแต่คำว่า “ให้” แก่ศิษย์ และความอิ่มเอิบใจที่ได้ถวายงานแก่พระพุทธศาสนา จึงมีผลานิสงส์ให้ท่านมีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว) จวบจนท่านถึงแก่อนิจกรรมด้วยความสงบ ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2525 รวมอายุได้ 98 ปี

TraveLArounD



ปล. ท่านที่เพิ่งเข้ามาชมบล็อกใหม่ ผมได้จัดทำเป็นสารบัญ แบบหนังสือให้ค้นดูหัวเรื่องได้ง่ายที่ group : นานา สาระ๑๐๐๐ เพราะเรื่องต่างๆ เขียนไว้ กว่า 1430 เรื่องแล้ว

หมายเหตุ : ขณะได้มี website อื่นๆหลาย website ได้นำเอาเรื่องที่ผมเขียนไว้ ไปลงต่อในลักษณะของเนื้อหา โดยไม่ได้รับอนุญาตใดๆ ถ้าต้องการบทความใดไปใช้ ขอให้ติดต่อขออนุญาต ก่อนทาง Email : nana_sara1000@ymail.com มิฉะนั้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์

ส่วนผู้ที่ต้องการนำเรื่องไปโพสต่อ เพื่อเผยแพร่ โดยมิใช่ทางการค้า ขอให้ติดต่อขออนุญาตให้ถูกต้องก่อนโพส



Create Date : 14 มีนาคม 2551
Last Update : 15 เมษายน 2555 11:57:15 น. 6 comments
Counter : 7472 Pageviews.

 
น่านับถือแหละน่ายกย่องยิ่งนัก


โดย: Arch IP: 125.25.26.59 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2552 เวลา:23:20:36 น.  

 
Thank you ^ ^


โดย: P IP: 113.53.8.41 วันที่: 5 มกราคม 2553 เวลา:11:33:52 น.  

 
อยากรู้ประวัติคุณทวดมากกว่านี้ แต่ได้รู้แค่นี้ก็ปลื้มแล้ว
คะ ถึงแม้เราจะไม่รู้จักกันเลย



โดย: noname IP: 192.168.1.22, 124.122.17.121 วันที่: 30 มีนาคม 2553 เวลา:9:57:31 น.  

 
ได้อ่านประวัติอาจารย์หลวงแล้วทำให้คิดถึงตอนที่ให้ทำโมเดลโบสถ์ตอนนั้นท่านอายุ90ปี กว่าแล้วแต่ท่านก็ยังแข็งแรงและเอาใจใส่ลูกศิษย์มาก ๆ ซึ่งคงจะหาอาจารย์อย่างนี้คงจะยากในสมัยนี้


โดย: ชาญชัย สุระวิโรจน์ (ศิษย์อ.หลวง) IP: 192.168.0.223, 61.7.160.186 วันที่: 30 กันยายน 2553 เวลา:14:48:38 น.  

 
เป็นบุคคลที่มีความสามารถจริงๆ สมกับที่เป็นนักจิตรกรรมและเป็นผู้พัฒนาศิลปกรรมไทยแท้จริง สำหรับผลงานของท่านนั้นเป็นผลงานที่ทรงคุณค่าทั้งด้านวรรณศิลป์และคุณประโยชน์


โดย: วิไลพร นามสีฐาน IP: 202.29.187.139 วันที่: 4 ตุลาคม 2555 เวลา:15:19:23 น.  

 
ผมก้อ นาม สกุลเดียวกับท่าน พ่อผมกัอเรียน นวลนรดิษ เกิดที่บางไผ่ เเต่ไม่รู้จะเกี่ยวข้องกันมั้ย ยังใงก้อดีใจครับที่ใด้ทราบประวัติของท่าน


โดย: nun IP: 49.237.131.24 วันที่: 14 กันยายน 2558 เวลา:22:21:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

travelaround
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]





ยินดีต้อนรับทุกท่านที่แวะเข้ามาชม blog มีข้อคิดเห็น เชิญ comment มาได้นะครับ ถ้าตอบได้ จะตอบให้ทันทีครับ แต่ถ้าไม่ทราบ ต้องขอเวลา จะค้นคว้ามาให้อ่านกัน ท่านที่จะถามคำถาม หรือติดต่อเรื่องบทความ ได้ทาง Email :- d_sign_place@yahoo.com ครับ


เรื่องต่างๆที่ผมได้เขียนหรือรวบรวม เรียบเรียงมานี้ ยินดีให้ทุกท่านได้อ่านเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษา ถ้าจะนำไปโพสต่อใน website สาธารณะ หรือ website อื่นใดที่ไม่ใช่ทางพาณิชย์ กรุณาระบุที่มา คือ https://www.travelaround.bloggang.com และนามปากกาผู้เขียนคือ TraveLArounD ด้วย

แต่ขอสงวนสิทธิ์สำหรับการนำไปใช้ ในเชิงพาณิชย์ หรือโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง จะถูกดำเนินคดี ตามกฏหมายลิขสิทธิ์

ส่วนบทความหรือภาพถ่ายใดๆ ที่ได้นำมาจาก website อื่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเรื่องนั้นๆ เป็นการถ่ายทอดจากวิจารณญาณแล้วว่า มีความถูกต้องเป็นจริง มากที่สุด และได้นำมาจาก website ที่เป็นสาธารณะ ถ้าเรื่องราวหรือภาพของท่านที่ได้นำมาถ่ายทอดนี้ ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของท่าน กรุณาแจ้งมาทาง email :– nana_sara1000@ymail.com ผมจะทำการลบข้อมูลหรือภาพที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ออกทันที

Acknowledges that I try to write or report accurately but postings may contain fact , speculation or rumor. I find images from the Web that are believed to belong in the public domain. If any stories or images that appear on the site are in violation of copyright law, please email to :- nana_sara1000@ymail.com and I will remove the offending information as soon as possible.


Website counter
: Users Online









ที่ดินเชียงใหม่ ทางไปแม่ริม ใกล้ศาลากลาง และสนามกีฬา 700 ปี ติดน้ำปิง ในหมู่บ้านเพชรริมปิง พื้นที่ 667 ตารางวา @ 14,000.- บาท สภาพแวดล้อมดี สนใจติดต่อ โทร. 0859559950



DESIGN PLACE CO.,LTD. รับออกแบบ และตกแต่งภายใน บ้านพักอาศัย ในแบบไทย และไทยร่วมสมัย



มรดก ฉบับที่ 1

มรดก ฉบับที่ 2

มรดก ฉบับที่ 3

มรดก ฉบับที่ 4

มรดก ฉบับที่ 5

มรดก ฉบับที่ 6

มรดก ฉบับที่ 7

ช่วยสนับสนุนการจัดทำ BLOG ด้วยการซื้อหนังสือ "มรดก" 1ชุด 7เล่ม (หนังสือเก่า) ในราคาชุดละ 700 บาท (รวมค่าส่งทางไปรษณีย์)

สนใจสั่งซื้อทาง E-mail :- nana_sara1000@ymail.com



New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add travelaround's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.