All Blog
เชื่อมั่นในความสามารถ
  ตัวละคร รองมนัส ในเรื่อง บ้านชนะใจ เป็นตัวละครที่สื่อถึงผู้ใหญ่ส่วนหนึ่งในสังคมได้เป็นอย่างดีครับ

 ขาดความเชื่อมั่นในตัวเด็ก
 ไม่คิดว่าพวกเขาจะทำมันได้
 เด็ก เป็นตัวปัญหา
ต้องตาต่อตา ฟันต่อฟัน กับวัยรุ่นเท่านั้น

 และอีกหลายๆ แนวคิดเชิงลบที่มีต่อกลุ่มวัยรุ่นต่างๆ มากมาย

 บางครั้งหน้าที่ของผู้ใหญ่ ที่วัยรุ่นต้องการมากที่สุด อาจเป็นการ "ศรัทธาในความสามารถ" ของพวกเขา ก้เป็นได้น่ะครับ


++ Trainer กบ ++





Create Date : 03 มกราคม 2557
Last Update : 3 มกราคม 2557 10:21:06 น.
Counter : 399 Pageviews.

0 comment
ไม่แตกต่างกัน
พวกเราคิดว่า "เด็กๆ ที่อยู่ในบ้านชนะใจ" กับ "นักเรียนในโรงเรียน" เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรครับ ???

มีผู้ใหญ่หลายคนที่ตอบว่า "ต่างกัน" เพราะเด็กในนั้นพวกเขาทำผิด

 คำถามของผมจคือ แล้วเรารุ้ได้ไงครับ ว่าเด็กในโรงเรียนไม่เคยทำผิดพลาด
และยิ่งนำประเด็นผิดพลาดมาเป็นเรื่อง "ตัดสิน" ค่าของความเป็นคน ว่าเหมือนหรือแตกต่างด้วยแล้ว คงไม่ใช่เรื่องที่ยุติธรรมสักเท่าไหร่

 ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่

 การมองคนว่า "ต่างกัน" ย่อมทำให้ การแสดงออกของเราต่อพวกเขา "แตกต่าง" กันออกไป ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวครับ

 ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน พอได้ชื่อว่า "วัยรุ่น" ด้วยแล้ว ย่อมมีความเป็นธรรมชาติของวัยรุ่นเสมอครับ

 แทนที่จะบอกสิ่งที่ต่าง ลองมามองสิ่งที่เหมือน จะดีกว่าไหมครับ ???

 ++ Trainer กบ ++






Create Date : 03 มกราคม 2557
Last Update : 3 มกราคม 2557 10:19:51 น.
Counter : 538 Pageviews.

0 comment
ปีกแห่งความฝัน
ได้มีโอกาสนั่งดูละครเรื่อง "บ้านชนะใจ" ตอนนี้เป็นเรื่องที่ผมชอบมากครับ

 คนทุกคนย่อมเคยทำผิดพลาด วัยรุ่นเองก็เช่นกันครับ 

 แต่เมื่อพวกเขายอมรับและเรียนรู้จากมัน สังคมเองก็ควรให้อภัยแก่เขาในฐานะคนธรรมดาที่ผิดพลาดกันได้
และถึงแม้จะเคยทำผิดพลาด จนความผิดฝังอยู่ในจิตใจจนไม่มมีวันที่ตนเองจะลืมมันได้

 แต่พวกเขาก็ไม่เคยทอดทิ้ง "ความฝัน" ของตัวเขาเอง

 และผม "เชื่อ" น่ะครับ ว่าถ้าพวกเขาได้รับโอกาส เขาจะวิ่งตตามความฝันของเขา

 และสักวัน เขาก็จะไปถึง "ปีกแห่งความฝัน"

อยากให้ผู้ใหญ่ ได้ดูบ้างจัง

++ Trainer กบ ++






Create Date : 02 มกราคม 2557
Last Update : 2 มกราคม 2557 14:34:28 น.
Counter : 340 Pageviews.

0 comment
ไม่เป็นทางการ
  Teen, like informal talk.
หลายครั้งที่ผมมักใช้การพูดคุย แบ่งกลุ่มหรือเลือกสถานที่การพูดคุยให้อยู่ในรูปแบบของ "ไม่เป็นทางการ" ครับ

 ข้อดีหลายอย่างของการพูดคุยแบบนี้ ...

- วัยรุ่นชอบมากครับ แค่เริ่มด้วยวิธีการนี้ก็ได้ใจไปแล้วครึ่งหนึ่งครับ
- การพูดคุยไม่เป็นทางการ ทำให้บางครั้ง เราได้ข้อมูลหรือ "ความลับ" ที่เป็นเรื่องส่วนตัว ที่วัยรุ่นอยากรู้ อยากบอก หรืออยากถามเราด้วยน่ะครับ
- การพูดคุยแบบนี้ ทำให้เราสามารถแลกเปลี่ยน หรือเพิ่มเติมข้อมูล ความรู้ได้ง่ายขึ้นครับ เพราะน้องๆ จะเปิดใจ ยอมรับการพูดคุยง่ายขึ้น


 ที่สุดแล้ว วิทยากรก็ควรเลือกสรร วิธีการที่ "สอดคล้อง" กับผู้เข้าร่วม ให้มากที่สุดน่ะครับ

++ Trainer กบ ++





Create Date : 02 มกราคม 2557
Last Update : 2 มกราคม 2557 14:33:25 น.
Counter : 363 Pageviews.

0 comment
ลงมือทำ
  Action my self, is the best learning.
หลายครั้งที่ผมมักฝึกน้องๆ ที่สนใจเข้ามาเป็นวิทยากร ด้วยววิธีการให้ลองทำกิจกรรมด้วยตนเอง ฝึกเป็นทั้ง "ผู้เข้าร่วม" เพื่อรับรู้ความรู้สึก และสิ่งที่ได้จากกิจกรรม

 รวมถึงฝึกเป็น "วิทยากร" เพื่อทดลองพูด ทดลองตั้งคำถามและชวนผู้เข้าร่วมเชื่อมโยงประเด็น ด้วยตนเอง

จากนั้นก็มานั่ง "ถอดบทเรียน" สิ่งที่ได้เรียนรู้ ทำ AAR จากการทดลองด้วยตนเอง ได้เรียนรู้อะไร ความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค

 หรือแม้กระทั่ง "แนวทางพัฒนาต่อ" ครับ

 วิธีการนี้ ผมว่า จะทำให้น้องๆ วัยรุ่น ได้เรียนรู้ทั้ง 2 บทบาทที่แตกต่างกัน ทั้งความรู้สึกของผู้เข้าร่่วมและวิธีการในการนำกิจกรรม ครับ

 เรียกได้ว่า "ลองด้วยตนเอง" ทำให้ได้เรียนรู้อะไรอีกเยอะเลยครับ

++ Trainer กบ ++





Create Date : 02 มกราคม 2557
Last Update : 2 มกราคม 2557 9:58:22 น.
Counter : 419 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  

สมาชิกหมายเลข 934994
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



วิทยากรด้านการพัฒนาศักยภาพเยาวชนเชิงบวก