วันนี้คุณกินข้าวเช้าหรือยัง?



         
หมอที่โรงพยาบาลฯอบรมว่าทุกคนต้องกินอาหารเช้าให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมาก
ได้ หลากหลาย เพราะเมื่อร่างกายไม่มีพลังงานจากอาหารเช้าไปใช้
ร่างกายจะดึงสารอาหารจากอวัยวะส่วนอื่นออกมา (ไม่ใช่ไขมัน
ไขมันยังอยู่เหมือนเดิม)
ซึ่งภายใต้กระบวนการนี้จะเกิดกรดชนิดหนึ่งออกมาด้วย ซึ่งการที่เราบอกว่าไม่กินข้าวเช้า
ก็ยังทำงานได้เป็นปกติมาตั้งหลายปีแล้ว นั่นคือ
ร่างกายได้นำเอากรดที่เกิดขึ้นมาใช้แทนพลังงานทุกวัน
เราจึงทำงานโดยใช้กรดแทนพลังงาน และเมื่อร่างกายต้องผลิตกรดออกมาบ่อยๆ
พออายุมากขึ้นเราก็จะเป็นโรคตามมาหลายอย่าง
นอกจากนี้
เรารู้หรือไม่ว่า
โดยปกติแล้วร่างกายของมนุษย์เราผลิตสารพิษอยู่ภายในร่างกายตลอดเวลา เป็นขยะ
เหมือนรถที่เมื่อเติมน้ำมันเข้าไปแล้วก็จะมีควันออกมา
ภาษาทางการแพทย์เขาเรียกขยะในร่างกายนี้ว่า สารอนุมูลอิสระ (oxidant)
เกิดจากการสันดาปพลังงานของร่างกาย แล้วคายของเสียออกมา(ไม่ใช่อุจจาระนะ
คนละแบบ) 

         
นอกจากนี้ร่างกายจะเร่งผลิตสารอนุมูลอิสระอีกก็ต่อเมื่อเวลาเราเครียดหรือ
ต้อง ทำงานหนัก ใช้สมอง ประกอบกับเจอมลภาวะต่างๆ สภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ
อุปนิสัยการดื่มสุรา สูบบุหรี่ ก็ยิ่งเป็นตัวสร้างให้เกิดสารพิษนี้มาก





         
การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอตอนกลางคืนเป็นหนทางและเวลาสำคัญที่ร่างกายจะ
สร้างสารต่อต้านสารอนุมูลอิสระ (anti-oxidant) ขึ้น
เพื่อกำจัดสารอนุมูลอิสระที่เกิดตอนกลางวัน
การนอนให้เพียงพอและหลับสนิทจะเป็นประโยชน์ไม่เฉพาะการกำจัดของเสีย
แต่ยังช่วยให้เม็ดเลือดแดงของคนเราแข็งแรง
สร้างฮอร์โมนเพศทำให้ร่างกายสมบูรณ์ มีน้ำมีนวล
คุณหมอเอาภาพขยายเม็ดเลือดแดงของผู้จัดการชายอายุ 35
คนหนึ่งซึ่งเป็นคนไข้มาให้ดู เปรียบเทียบกัน 2 ภาพ
ผู้ชายคนนี้เหมือนมนุษย์งานทั่วไป
ทำงานหนักและเครียดขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ
ปรากฎว่าจำนวนเม็ดเลือดแดงของเขามีลักษณะเป็นก้อนขยุกขยุย ไม่เป็นรูปทรงกลม
เหมือนกลุ่มเม็ดเลือดแดงที่ควรเป็น
เกิดความผิดปกติขึ้นเนื่องจาสารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจำนวนมาก
ไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกาย
ซึ่งก็จะนำมาซึ่งโรคร้ายจำนวนมากอย่างที่คนไทยกำลังนิยมอยู่ จงจำไว้ว่า 

1.ทาน
อาหารเช้าแบบราชา
อาหารกลางวันพอประมาณ
และอาหารเย็นแบบยาจก หลีกเลี่ยงไขมันและของหวาน
ออกกำลังกายให้ได้วันละอย่างน้อย 30-40 นาที(20
นาทีแรกร่างกายเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต อีก 10-20
นาทีต่อมาร่างกายจึงจะค่อยเผาพลาญไขมัน) 
2.นอน
หลับ
หรือ หลับนอนก็แล้วแต่ ให้เพียงพอ 
3.รับแสงแดด ช่วง 8.00-9.00
ซึ่งมี UV ที่เป็นประโยชน์
4.พยายาม
เริ่มต้นวันใหม่ด้วยการหัวเราะ ขำขัน
ถ้าบ้าได้ก็ดี
ชีวีจะเป็นสุข



ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 08 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 8 พฤษภาคม 2553 17:23:26 น.
Counter : 726 Pageviews.  

ตรวจระดับสารโทรโปนิน วินิจฉัยเร็วช่วยชีวิตผู้มี “ภาวะหัวใจวาย”



“ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย”
หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “ภาวะหัวใจวาย”
เกิดจากการลดลงอย่างรวดเร็วของปริมาณเลือดและออกซิเจนที่ไปเลี้ยงหัวใจ
ซึ่งเรียกกันว่า ภาวะหัวใจขาดเลือดขาดเลือด
เนื่องจากมีการอุดตันของการไหลเวียนเลือดสู่กล้ามเนื้อหัวใจ
มีผลให้เกิดการทำลายของเนื้อเยื่อหัวใจ
ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตและการทุพพลภาพของประชากรทั่วโลก
โดยมีรายงานจากองค์การอนามัยโลก พบว่า แต่ละปีมีประชากร จำนวนกว่า
7.2 ล้านคนทั่วโลก และในประเทศไทยมีการเสียชีวิตจากโรคหัวใจประมาณแล้วเกือบ
30,000 คนต่อปี
เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจอุดตัน
โดยภาวะหัวใจวายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต
ซึ่งจะเกิดขึ้นในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุเฉลี่ยตั้งแต่ 50-60 ปีขึ้นไป
ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะยิ่งมีโอกาสเป็นมากขึ้น หากแต่
ปัจจุบันพบว่าการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวาย
นี้เกิดขึ้นกับคนที่อายุน้อยมากขึ้นตามลำดับ





          
ทำให้แนวทางในการวินิจฉัยและรักษา มีวิวัฒนาการให้สามารถตรวจได้เร็ว
ด้วยการใช้ใช้สารชีวเคมีบ่งชี้ภาวะที่มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ
อันเป็นสารที่ถูกหลั่งออกมาในกระแสเลือดเมื่อหัวใจเกิดการบาดเจ็บ
ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง การตรวจวัดระดับของสารชีวเคมีเหล่านี้
ก็เพื่อช่วยในการตรวจหา วินิจฉัย ประเมินผล
และติดตามผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีภาวะที่มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ โดย
ขณะนี้ ได้มีการคิดค้นสารทดสอบ ไฮ เซนซิทีฟ โทรโปนิน ที (High Sensitive
Troponin T) ซึ่งเป็นการทดสอบ โทรโปนิน ที ความไวสูง (Troponin T 
highly-sensitive) /โทรโปนิน ความไวสูง ( highly sensitive Troponin)
ในการวินิจฉัยภาวะหัวใจวายที่ช่วยให้ตรวจพบและวินิจฉัยได้เร็วขึ้น

ทั้งนี้
การวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือภาวะหัวใจวายนั้น
ก็ต่อเมื่อตรวจพบระดับของสารโทรโปนินจากหัวใจ เนื่องจากโทรโปนิน เป็น
ส่วนประกอบของโปรตีนที่ควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
และจะถูกหลั่งออกมาในกระแสเลือดเมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลาย





          
แม้ว่าจะมีการใช้การตรวจหาสารบ่งชี้ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายมานานแล้ว
หากแต่ที่ใช้กันอยู่ยัง
มีความแม่นยำไม่เพียงพอต่อการตรวจหาความเข้มข้นของสารโทนโปนินในกระแสเลือด
ตามที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่ามาตรฐานสากลใหม่
โดยจะมีค่าความแปรปรวนน้อยกว่า 10 เปอร์เซนต์ ณ ระดับของ โทรโปนิน
ที่ตรวจวัดได้สูงสุด 99 จาก 100 คนในกลุ่มประชากรที่มีสุขภาพแข็งแรง





          
สำหรับการทดสอบทำได้โดยเจาะเลือดมาตรวจ ผ่านกระบวนการทดสอบด้วย โทรโปนิน ที
ความไวสูง ในห้องแล็ป ใช้เวลาประมาณ 20 นาที
แต่ถ้ารวมขั้นการตรวจทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณครึ่งชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมง
ซึ่งห้องแล็ปจะส่งผลกลับมาว่าได้ค่าเท่าไร สำหรับ “โทรโปนิน
ความไวสูง นั้น ไม่ได้ถือว่าเป็นวิวัฒนาการใหม่
แต่เป็นการพัฒนาจากเดิมให้สามารถให้ค่าออกมามีความแม่นยำตามที่ผู้เชี่ยวชาญ
ต้องการให้เป็น คือ ไม่ว่าจะใช้ทดสอบกี่ครั้งค่าที่ได้นั้นจะคงที่
 
โดยในการวินิจฉัย คือ ถ้าได้ค่าต่ำกว่าที่กำหนดไว้
ถือว่าไม่มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจเลย
แต่ถ้าค่าออกมาสูงกว่าค่าที่กำหนดไว้ แสดงว่า
มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดขึ้น”

          
การทดสอบด้วยวิธีนี้ จะสามารถพยากรณ์คนไข้ได้ว่า อยู่ในภาวะใด 
การวินิจฉัยของแพทย์จะไม่อาศัยการทดสอบนี้เพียงอย่างเดียว
แต่จะรวบรวมหลักฐานอื่นประกอบด้วย เช่น อาการของคนไข้ กราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ร่วมด้วย  คนไข้บางส่วนอาจจะขาดเลือดเฉยๆ
แต่กล้ามเนื้อหัวใจไม่มีความเสียหายหรือไม่ตาย
แต่คนไข้ส่วนหนึ่งที่ขาดเลือดอย่างรุนแรงจนกระทั่งกล้ามเนื้อหัวใจมีความ
เสียหายหรือตาย
โดยกล้ามเนื้อหัวใจที่เสียหายจะมีความเสียหายในระดับที่ต่างกัน คือ
อาจจะตายเพียงไม่กี่เซลล์ จนกระทั่งตายหลายกรัม

          
การวินิจฉัยของแพทย์
มีความจำเป็นต้องรู้ให้ได้ว่ามีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจหรือไม่
เนื่องจากมีการรักษาที่ต่างกัน คนไข้ซึ่งขาดเลือดฉับพลัน
แต่ว่าไม่มีการเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ จะได้รับการรักษาแบบหนึ่ง
ส่วนคนไข้ที่ขาดเลือดฉับพลันเหมือนกันแต่รุนแรงกว่าและมีการตายของกล้าม
เนื้อหัวใจ ก็จะได้รับการรักษาอีกแบบหนึ่ง 
การทดสอบที่แม่นยำจะทำให้รู้ผลที่ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น
ซึ่งจะทำให้แพทย์สามารถเลือกการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมได้เร็วขึ้นด้วย
เช่นกัน”





           การทดสอบ “ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย”
ด้วยการตรวจระดับสารโทรโปนิน
เพื่อวินิจแยให้เร็วและแม่นยำตามค่ามาตรฐานสากลที่กำหนด
ถือเป็นวิวัฒนาการทางการแพทย์อีกรูปแบบหนึ่ง
ที่นำมาซึ่งการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อย่างไรก็ตาม
แพทย์ควรศึกษารายละเอียดถึงวิธีใช้ที่เหมาะสมและถูกต้อง ก่อนจะนำไปใช้จริง
เพื่อจะได้ช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันเวลา









Free TextEditor







































































































 

Create Date : 08 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 8 พฤษภาคม 2553 17:22:03 น.
Counter : 1956 Pageviews.  

"น้ำต้มเดือด" หลายครั้งอันตราย !






พบ
ตะกรันปนเปื้อน ส่งผลต่อสุภาพ

หลายคนเชื่อว่าความร้อน สามารถเอาชนะเชื้อโรคร้ายต่างๆได้
ไม่ว่าจะเป็นอาหาร หรือน้ำดื่ม หากปรุงสุกด้วยความร้อนสูง หรือต้มจนเดือด
ก่อนจะนำมารับประทาน ก็จะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างเด็ดขาด
ซึ่งนั้นก็ถือว่าไม่ใช่ความเชื่อที่ผิด แต่อาจไม่ทั้งหมด
เมื่อสิ่งที่เราให้ความร้อนกับมันอย่าง น้ำ
ในกาต้มน้ำ
เมื่อทำซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง โดยไม่เปลี่ยนน้ำในกา
น้ำที่คิดว่าสะอาด ปลอดภัย กลับให้โทษแก่ร่างกายหากดื่มเข้าไป...

           
เพราะ “น้ำ” ที่เราใช้ดื่มกินในปัจจุบัน มักผสมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ
หลายชนิด หากมีการต้มจนเดือดแล้วเดือดอีกหลาย ๆ ครั้ง
จะทำให้น้ำระเหยกลายเป็นไอตามทฤษฎีปกติอยู่แล้ว แต่ก็จะไม่ระเหยทั้งหมด
ซึ่งในน้ำส่วนที่เหลืออยู่นั้น ก็จะมีปริมาณแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ
ที่ปะปนมาเหลืออยู่ในจำนวนที่เข้มข้นมากขึ้น และที่สำคัญจะหลงเหลือ
อยู่เกินมาตรฐานที่จะนำมาบริโภคได้

           
โดยปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นขณะน้ำเดือดนาน ๆ นั้น ก็จะส่งผลให้ไอออนของ
ซิลเวอร์ไนเตรท ที่มีอยู่ในน้ำ จะเปลี่ยนเป็น ซิ
ลเวอร์ไนไตรท์ ซึ่งเป็นสารที่ให้โทษแก่ร่างกาย
ทำให้เกิด
การระคายเคืองต่อเยื่อเมือกและทางเดินหายใจ อาจทำให้ปอดอาจถูกทำลายได้
รวมไปถึงดวงตา ประสาทและเลือด นอกจากนี้ยังรวมถึงแร่ธาตุอื่นๆ
ก็จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเพราะการระเหยของน้ำ
ซึ่งอาจมากจนเกินขีดจำกัดความสามารถของร่างกาย ในการกำจัด
ขับถ่ายออกมาเป็นของเสียได้

            เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.กฤษ
ดา ศิรามพุช ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ
ได้ระบุไว้ว่า ผู้ที่ชอบดื่มกาแฟและผู้ที่ใช้กระติกน้ำร้อน พึงระวัง
เพราะหากน้ำที่คุณใช้ต้มนั้นเป็นน้ำธรรมชาติ เช่นน้ำบาดาล น้ำบ่อ
หรือน้ำประปา ที่เป็นกรดในหม้อโลหะแล้วนั้น หากต้มหลายๆ
ครั้งก็จะยิ่งทำให้น้ำนั้นงวดและเกิดเป็นก้อนแข็งๆ
ยึดเกาะตามผิวของกาหรือกระติกน้ำร้อน หรือที่เรียกว่า ตะกรันธาตุ
ตกปนลงมาในน้ำมากขึ้น รวมถึง “น้ำแร่”
แบบที่เศรษฐีชอบดื่มกันเพราะคิดว่าสะอาดก็ต้องระวัง เพราะต้มนานๆ
ไปก็จะได้ตะกรันแถมเช่นกัน...


           
ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มน้ำที่ต้มเดือดแล้วหลาย ๆ ครั้ง ทาง
ที่ดี
ควรต้มน้ำแต่ละครั้งให้พอดี
กับที่ใช่ดื่ม และจำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำทุกครั้งหากต้องต้มน้ำให้เดือดใหม่
สำหรับกาต้มน้ำที่ใช้ชงกาแฟก็ไม่ควรตั้งกา ต้มน้ำร้อนไว้ให้เดือดตลอดเวลา
เพราะอาจจะทำให้โลหะกร่อนลงมาปนได้ หมั่นเปิดฝากาดู หากเห็นมีคราบตะกรันติด
ควรล่างกาในทันที...


           
เพียงเท่านี้...ความร้อนก็จะไม่สามารถนำพาสิ่งแปลกปลอมที่เป็นโทษต่อร่างกาย
มาทำร้ายสุขภาพเราได้อย่างแน่นอน...






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 08 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 8 พฤษภาคม 2553 17:20:00 น.
Counter : 658 Pageviews.  

สุขภาพดีด้วย สีบำบัด (Color Therapy)


คนในอารยธรรมโบราณบูชาพระอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของแสงสี
ในฐานะเป็นพลังสูงสุดในการบำบัดรักษาความเสื่อมของร่างกาย
ขณะที่ในยุคปัจจุบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ได้ค้นพบการกำเนิดสี
หรือวิธีการมองเห็นสีของคน จากอิทธิพลของการกระจายแสง
(ไม่มีแสงสว่างก็จะไม่เห็นสี)


          
พลังของแสงอาทิตย์สามารถซึมแทรกผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายที่เรียกว่า พลัง
Aura สีของแสงไม่เพียงแต่มีผลต่อสุขภาพร่างกายเราเท่านั้น
หากแต่ยังมีผลต่อสุขภาพจิตของเรา
และยังมีผลกระทบต่อชีวิตของคนเราในระดับลึกว่าสิ่งที่ตามองเห็น นั่นคือ
สีที่มีผลเกี่ยวเนื่องกับอารมณ์ ความรู้สึก และสภาวะจิต
ซึ่งจะเชื่อมโยงกับกายภาพของเรา จึงมีการนำพลังของสีแต่ละสีมาปรับใช้
เพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจให้กับผู้ป่วย
โดยเรียกศาสตร์แห่งการรักษานี้ว่า สีบำบัด
หรือ Color Therapy


           โดยหลักการเบื้องต้น
สีบำบัด เป็นการเชื่อมโยงจิตใจและร่างกาย จากการตอบสนองต่อสีต่างๆ
ของแต่ละบุคคล ทั้งในด้านบวกและลบ
การใช้สีในชีวิตประจำวันถือได้ว่าแทรกอยู่ทุกด้าน ตั้งแต่การแต่งกาย
ไปจนถึงการกแต่งสถานที่ และการสร้างบรรยากาศสภาพแวดล้อม
ก็มีการคำนึงถึงผลของสีที่มีต่ออารมณ์ ความรู้สึกของคนเสมอ

การ
ใช้สีบำบัดสามารถแบ่งโทนของสีออกเป็น 2 แบบคือสีโทนร้อน และสีโทนเย็น

  กลุ่มสีโทนร้อน เช่น สีเหลือง สีส้ม
สีแดง สีม่วง จะเป็นกลุ่มสีที่ทำให้เกิดความรู้สึกทีพลัง เร้าร้อน
กระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง
ในทางจิตวิทยาความแรงของสีโทนร้อนจะช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกเจริญอาหาร
ทำให้เกิดความรึ้กหิว และกระตุ้นให้มีชีวิตชีวาอยู่เสมอ

สีเหลือง ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น
          
สีเหลือง...เป็นสีแห่งความสนุกสนาน ความฉลาดรอบรู้ สดใสร่าเริง
และทำให้มีอารมณ์ขัน
ทั้งนี้ผักและผลไม้ที่มีสีเหลืองมักอุดมไปด้วยวิตามินเอ
ที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
ป้องกันหวัดและช่วยเสริมสร้างความเจริญเติบโตในร่างกาย
พลังของสีเหลืองช่วยให้ระบบการทำงานของน้ำดีและลำไส้เป็นไปตามปกติ
ช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร
ทำให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น
ทั้งยังสามารถใช้เยียวยาอาการท้อแท้หดหู่และหมดกำลังใจของผู้ป่วยบางประเภท
ได้อีกด้วย

สีส้ม รักษาโรคหอบหืด
          
สีส้ม...เป็นสีแห่งความสร้างสรรค์ อบอุ่น สดใส
มีสติปัญญาความทะเยอทะยานที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง
และในขณะเดียวกันก็มีความระมัดระวังไปในตัว
ผลไม้และผักที่มีสีส้มอุดมด้วยวิตามินบีที่ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด
เผาผลาญแป้งและน้ำตาล บำรุงระบบประสาท
พลังของสีส้มช่วยคลายอาหารหอบหืดและโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
ช่วยรักษาความผิดปกติของม้าม ตับอ่อน ลำไส้
ทั้งยังช่วยในการดูดซึมอาหารของกระเพาะและลำไส้ได้เป็นอย่างดี
ในทางจิตวิทยา พลังของสีส้มมีคุณสมบัติในการบรรเทาอาการซึมเศร้า
หากคุณต้องการเรียกพลังความกระตือรือร้นในชีวิตให้กลับคืนมา
สีส้มเป็นสีที่คุณควรมองหาและนำมาประยุกต์ใช้ให้มากที่สุด

สีแดง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
          
สีแดง...เป็นสีที่กระตุ้นระบบประสาทของเราได้รุนแรงที่สุด
ให้ความรู้สึกเร้าใจ ตื่นเต้น ท้าทาย ตื่นตัว
ผักและผลไม้สีแดงเป็นแหล่งของวิตามินบี 12 ทองแดงและเหล็ก
ซึ่งช่วยบำรุงระบบประสาท พลังของสีแดงกระตุ้นพลังชีวิตให้มีความเข้มแข็ง
กระตือรือร้นและมีชีวิตชีวา ในแง่ของการรักษา
สีแดงมีอิทธิพลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง เพิ่มอุณหภูมิในร่างกาย
เพิ่มพลังในระบบการไหลเวียนของเลือด และรักษาอาการหวัด
เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกท้อแท้หมดกำลังใจ
ควรรีบหาสีแดงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันโดยเร็ว
ทั้งนี้เพราะพลังแห่งความมั่นใจ กล้าแสดงออก
และความรักที่มีอยู่ในสีโทนร้อนเช่นสีแดงนั้นจะสามารถสร้างความรู้สึกเชื่อ
มั่นในตัวเองให้กับคุณได้เป็นอย่างดี

สีม่วง
ปรับสมดุลในร่างกาย

           สีม่วง...เป็นสีแห่งผู้รู้
ช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย กระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจ
และสร้างความสงบในจิตใจได้เป็นอย่างดี
ผักและผมไม้ที่มีสีม่วงเต็มเปี่ยมไปด้วยวิตามินดี ซึ่งช่วยเพิ่มพลังงาน
ช่วยในการย่อยอาหาร
พลังของสีม่วงช่วยปรับสมดุลในร่างกายของเราให้กลับมาเป็นปกติ ใช้บำบัดโรคไต
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคผิวหนังบางชนิด
อีกทั้งยังช่วยในการบำบัดโรคไขข้อได้อีกด้วย
จากการวิจัยพบว่าพลังของสีม่วงยังช่วยให้สมองของเราสงบ
และสามารถสร้างแรงบันดาลใจไปในคราวเดียวกัน
เมื่อคุณต้องขบคิดกับปัญหาที่ยังไม่สามารถหาทางออกได้
การนำสีม่วงเข้ามาประยุกต์ใช้กับข้าวของเครื่องใช้ที่อยู่รอบตัวคุณ
จะทำให้คุณสามารถตัดสินใจกับเรื่องต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

กลุ่มสีโทนเย็น เช่น สีเขียว
สีน้ำเงิน สีฟ้า เป็นต้น เป็นกลุ่มสีที่ให้ความรู้สึกสดชื่น สงบ
ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ และไม่ทำให้เครียด
สีโทนเย็นจึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ต้องทำงานหนักและใช้ความคิดเป็นอย่าง
มาก

สีเขียว บรรเทาอาการเครียด
          
สีเขียว...เป็นสีที่เด่นที่สุดบนโลกให้ความรู้สึกร่มรื่น สบายตา ผ่อนคลาย
ปลอดภัย ทำให้เกิดความหวังและความสมดุล
นอกจากนี้ผักผลไม้สีเขียวก็อุดมไปด้วยแร่ธาตุสำคัญมากมายโดยเฉพาะวิตามินซี
ซึ่งช่วยในการสมานแผล ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง เล็บสวย ฟันสวย
เพิ่มความต้านทานโรค ในด้านการรักษา ใช้เมื่อต้องการผ่อนคลายความตึงเครียด
เพราะพลังของสีเขียวสามารถทำให้ประสาทตาผ่อนคลาย
และความดันโลหิตของเราลดลงได้ ทั้งยังช่วยผ่อนคลายระบบประสาท
ป้องกันการจับตัวของก้อนเลือด ต่อต้านเชื้อโรค รักษาอาการของคนเป็นโรคหัวใจ
ความดันโลหิตสูง เยื่อบุอักเสบ เป็นต้น

สี
น้ำเงิน บรรเทาความดันโลหิตสูง

          
สีน้ำเงิน...เป็นสีที่มีความสุขุม เยือกเย็น หนักแน่น และละเอียดรอบคอบ
พลังของสีน้ำเงินทำให้ระบบหายใจของเราเกิดความสมดุลและแข็งแรงขึ้น
ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง
และคลายความเหงาอีกทั้งยังเป็นสีที่ใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจและการแสดงออก
ทางศิลปะได้ดีอีกด้วย

สีฟ้า บรรเทาโรคปอด
          
สีฟ้า...เป็นแม่สีที่ให้ความรู้สึกสงบเยือกเย็น เป็นอิสระ ปลอดโปร่ง สบาย
ปลอดภัย ใจเย็น และระงับความกระวนกระวายในใจได้ดี
พลังของสีฟ้ามีคุณสมบัติในการรักษาอาการของโรคปอด ลดอัตราการเผาผลาญพลังงาน
รักษาอาการเจ็บคอ และทำให้ชีพจรของเราเต้นเป็นปกติ




สีแต่ละสี
มีความหมายเฉพาะตัว เช่นเดียวกับบุคลิกภาพของคนแต่ละคน การใช้ ‘สีบำบัด’
ยังมีอีกหลากหลายวิธี
แต่สิ่งสำคัญคือการศึกษาและเรียนรู้ถึงการเลือกใช้สีบำบัดอย่างถูกต้อง
เพื่อความสบายกายสบายใจของตัวคุณเอง



ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากนิตยสารเปรียว







Free TextEditor







































































































 

Create Date : 08 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 8 พฤษภาคม 2553 17:18:37 น.
Counter : 815 Pageviews.  

อาการ 'หอบ'



อาการหอบ คือ อาการหายใจลำบาก
มักมีหายใจเร็วร่วมด้วย ผู้ป่วยที่มีอาการหอบ สังเกตได้จากมักหายใจเร็วขึ้น
ซี่โครงบานออก ทรวงอกยกสูงขึ้นขณะหายใจเข้า ช่องที่อยู่ระหว่าง
และเหนือซี่โครงบุ๋มลง มักมีจมูกบานถ้าหอบเหนื่อยมาก
อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น หายใจเสียงดัง เป็นต้น

สาเหตุ
อาจเกิดจากโรคจากระบบต่างๆ ได้แก่



โรคระบบหายใจ
เช่น โรคปอดอักเสบ ปอดบวมน้ำ โรคหืด
โรคหืดมักเริ่มเป็นในเด็ก ในวัยรุ่น หรือหนุ่มสาว อาจจะเกิดจากการแพ้อากาศ
ร้อนไป หนาวไป ชื้นเกินไป แห้งเกินไป ฝุ่นมากเกินไป หรืออื่นๆ แพ้กลิ่น
เช่น กลิ่นน้ำหอม กลิ่นควันไฟ กลิ่นพริกคั่ว หรืออื่นๆ แพ้อาหาร อาหารทะเล
หรืออาหารอื่นๆ บางรายเวลาโกรธจะหอบ หรือแพ้ฝุ่นแพ้ไร แพ้เกสรดอกไม้
หรืออื่นๆ เมื่อเจอกับสิ่งที่แพ้เข้า จะมีอาการแน่น หายใจไม่สะดวก อาจจะไอ
หายใจมีเสียงหวีด อาจได้ยินเอง หรือดังลั่นจนคนอื่นได้ยินด้วย
และถ้าเป็นมาก ก็จะมีอาการหอบเหนื่อยรุนแรง
สำหรับโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและโรคปอดโป่งพองส่วนใหญ่เกิดจากการสูบบุหรี่
เรื้อรัง ทำให้มีอาการไอ หายใจมีเสียงหวีด และเสียงเสมหะ
และมีอาการหอบเหนื่อยเมื่อเป็นมานาน หรือเมื่อโรคกำเริบเวลาเป็นไข้หวัด
หรือมีการติดเชื้ออื่นๆ กรณีโรคหลอดลมโป่งพอง โรคปอดบวม ปอดอักเสบ
และโรคปอดหลอดลมอื่นๆ จะทำให้เกิดอาการหอบเหนื่อยได้เช่นเดียวกัน

โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น หัวใจล้มเหลวจากภาวะต่างๆ
โรคหัวใจเกือบทุกชนิด ถ้าเป็นมาก หรือทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนเปลี้ย
และทำงานไม่ไหวแล้วจะทำให้เกิดอาการหอบเหนื่อย เพราะเลือดไปคั่งในปอด
และทำให้ปอดบวมน้ำได้ ส่วนใหญ่คนที่เป็นโรคหัวใจ และเคยหัวใจล้มมาแล้ว
จะรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ตนเกิดอาการหอบเหนื่อยขึ้นมา
ทั้งที่โรคหัวใจก็ยังเป็นเท่าเดิมอยู่ สาเหตุเหล่านั้น ได้แก่
ออกกำลังมากเกินไป กินอาหารมากเกินไป โดยเฉพาะอาหารเค็ม
นอนไม่หลับหรือขาดการพักผ่อน เป็นไข้หวัดหรือไข้จากการติดเชื้ออื่นๆ
เกิดอารมณ์ หรือความเครียดกังวลรุนแรง เป็นต้น

โรค
ระบบสมอง
เช่น โรคสมองอักเสบ เส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน
หรืออื่นๆ ก็ทำให้เกิดอาการหอบเหนื่อยได้ แต่ผู้ป่วยจะมีอาการทางสมองอื่นๆ
ชัดเจน เช่น อัมพาต อัมพฤกษ์ ชัก สับสน หมดสติ เป็นต้น

โรค
ระบบต่อมไร้ท่อและเมตาโบลิค
เช่น ภาวะเลือดเป็นกรด
เบาหวานอย่างรุนแรง หรือที่เรียกว่าโรคเบาหวานเป็นพิษ
ซึ่งเกิดจากการควบคุมโรคเบาหวานไม่ดี ทำให้เกิดของเสีย และกรดคั่งในร่างกาย
จึงเกิดอาการหอบเหนื่อย และอาจหมดสติได้
โรคคอพอกเป็นพิษที่เป็นมากก็จะทำให้เกิดอาการหอบเหนื่อยได้
ซึ่งเมื่อมีอาการหอบเหนื่อยแล้ว อาการอื่นๆ
ของโรคคอพอกเป็นพิษมักจะปรากฏให้เห็นชัดเจน เช่น ผอมลงมาก ชีพจรเต้นเร็ว
ผิวหนังจะเนียนละเอียดกว่าคนอื่นในเพศ และวัยเดียวกัน ตาดุ
และอาจจะตาโปนด้วย มือสั่น หงุดหงิดง่าย เป็นต้น

 
โรคระบบไต
เช่น ภาวะไตวาย เป็นต้น
ถ้าเป็นมากจะทำให้เกิดการคั่งของเกลือ และน้ำในร่างกาย ถ้าน้ำ
และเกลือคั่งมาก ก็จะทำให้เท้าบวม หน้าบวม
และปอดบวมน้ำจนเกิดอาการหอบเหนื่อยได้ โรคไตยังทำให้ของเสียคั่งในร่างกาย
เมื่อของเสียคั่งมากๆ จะทำให้เลือดเป็นกรด ซึ่งทำให้ต้องหายใจเร็ว และลึก

อาการหอบในเด็ก

          
อาการหอบก็พบได้เสมอในวัยเด็ก
ซึ่งจะดูได้จากการที่มีการหายใจเร็วขึ้นกว่าปกติ
และมีลักษณะของการหายใจลำบาก เช่น มีปีกจมูกบานเข้าออก อาการกระสับกระส่าย
ช่องซี่โครงบุ๋ม ถ้าเป็นมากอาจมีอาการเขียวบริเวณริมฝีปาก เล็บ หรือที่หน้า
ผู้ป่วยบางรายต้องอยู่ในท่านั่งจึงจะสบาย

          
สาเหตุการหอบส่วนใหญ่เกิดจากโรคในระบบทางเดินหายใจ
ในวัยแรกคลอดอาจเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะ เช่น รูจมูกตัน
มีท่อติดต่อระหว่างหลอดลมกับหลอดอาหาร ความพิการของกะบังลม
นอกจากนั้นการสำลักนม ปอดอักเสบ ปอดแฟบ
พบว่าเป็นสาเหตุของการหอบในทารกแรกคลอด

          
สาเหตุของการหอบในเด็กโตที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินหายใจมักเกิดจากการติด
เชื้อ การอักเสบของหลอดคอ ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อคอตีบ หรือเชื้ออื่น
ปอดอักเสบเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดซึ่งอาจเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์หลายชนิด
หรือจากการสำลักอาหาร
หรือสารพวกน้ำมันก๊าดซึ่งเด็กมักดื่มโดยการเข้าใจผิดว่าเป็นน้ำ
เพราะบิดามารดามักใส่น้ำมันก๊าดในขวดเครื่องดื่ม
และตั้งไว้ในที่ที่เด็กสามารถหยิบได้

          
การอุดกั้นในหลอดลมเป็นสาเหตุของการหอบ เช่น วัตถุแปลกปลอมตกลงในหลอดลม
โรคหืดซึ่งเกิดจากการหดเกร็งของหลอดลม
การอักเสบของหลอดลมฝอยทำให้ผนังหลอดลมบวม ทำให้ทางผ่านอากาศมีน้อยลง

          
ภาวะผิดปกติในโพรงช่องเยื่อหุ้มปอดอาจทำให้ปอดแฟบ
ไม่สามารถทำหน้าที่หายใจเอาอากาศเข้าไปฟอกโลหิตดำได้ ก็จะทำให้เกิดอาการหอบ
ภาวะเหล่านี้ ได้แก่ การมีสารน้ำ หนองลม หรือเลือดในโพรงช่องเยื่อหุ้มปอด

          
นอกจากโรคของระบบทางเดินหายใจที่ทำให้เกิดการหอบได้แล้ว
โรคของระบบอื่นก็สามารถทำให้เด็กเกิดการหอบได้ ภาวะซีด หัวใจวาย
ภาวะมีกรดในเลือด เช่น ภายหลังท้องร่วงอย่างรุนแรง โรคเบาหวาน การได้รับพิษ
เช่น ได้ยาประเภทแอสไพรินเกินขนาด โรคไตเรื้อรัง
หรือแม้แต่ภาวะจิตใจที่ผิดปกติ เด็กบางคนอาจมีอาการหอบได้

          
โรคระบบหายใจ อาการหอบในเด็กพบมีสาเหตุมาจากโรคระบบหายใจมากที่สุด
โดยอาจเกิดจากโรคที่ทำให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจส่วนบน เช่น กล่องเสียง
และหลอดลมคออักเสบหรือ ครุ้ป (croup)
โรคที่ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น หลอดลมฝอยอักเสบ
โรคหืด โรคของเนื้อปอด เช่น ปอดอักเสบ ปอดบวมน้ำ เป็นต้น





โรคหอบ
หืดในเด็ก


           โรคหอบหืดเป็นโรคที่เกิดขึ้น
เนื่องจากหลอดลมของผู้ป่วยตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้นมากกว่าภาวะปกติ
ทำให้หลอดลมของผู้ป่วยหดเกร็ง มีขนาดตีบแคบลง และมีอาการบวม
เนื่องจากมีการอักเสบ รวมทั้งจะมีการสร้างเสมหะมากกว่าปกติ

          
อาการจับหืด คือ มีอาการหอบ ไอ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจขัด
เสียงหายใจมีเสียงดังหวีด อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นๆ หายๆ
และเป็นเรื้อรัง อาการจับหืดมักเกิดในตอนกลางคืน
หรือเมื่อมีการสัมผัสกับสิ่งที่แพ้หรือระคายเคือง
เมื่อเด็กอยู่ในภาวะปกติหรือเมื่อได้รับการรักษาแล้ว
เด็กจะดูเหมือนเด็กปกติทั่วไป และอาจตรวจไม่พบอาการผิดปกติเลยก็ได้

          
สาเหตุของโรค โรคหอบหืดไม่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยตรงเสมอไป
แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการหืดจับร่วมกับมีประวัติโรคภูมิแพ้
หรือหอบหืดในครอบครัว ก็มีโอกาสที่ผู้ป่วยจะเป็นโรคนี้
บางรายเกิดจากสิ่งกระตุ้นต่างๆ อาจเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่นบ้าน
ตัวไรฝุ่น ละอองซากแมลงสาบ เกสรดอกไม้ ละอองเชื้อรา ขน
หรือสะเก็ดรังแคผิวหนังสัตว์เลี้ยง อาหารบางชนิด ควันบุหรี่
ควันพิษจากสิ่งแวดล้อม หรือการเป็นหวัด

          
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การออกกำลังกายอย่างหักโหม
การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เช่น เวลาใกล้ฝนตก
อากาศเย็นจัด และแห้งแล้ง

           ผลของโรคหอบหืดในเด็ก
ในเด็กที่มีอาการไม่มาก จะมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อชีวิตประจำวัน
การใช้ยาเพื่อควบคุมอาการอาจจะมีความจำเป็นเฉพาะเวลาที่มีอาการจับหืดเท่า
นั้น ส่วนในเด็กที่มีอาการของโรคหอบหืดที่มีอาการรุนแรง และเป็นบ่อยๆ
จะมีผลกระทบต่ออารมณ์ จิตใจ การเรียน และการดำรงชีวิตประจำวันได้มาก
อาจต้องขาดเรียนบ่อย ทำให้ผู้ป่วยกลัวเรียนไม่ทันเพื่อนๆ
อาจถูกห้ามเล่นกีฬา หรืองดกิจกรรมการเล่นบางอย่าง
อาจทำให้ขาดความมั่นใจในตนเอง



ข้อควรปฏิบัติเมื่อมีอาการหอบ



         
ถ้ามีอาการหอบในช่วงกำลังวิ่งเล่น หรือมีอาการเหนื่อย ควรหยุดเล่น
หรือออกกำลังกายทันที



          สงบสติอารมณ์ อย่ากลัว
หรือตกใจจนเกินไป



          หายใจเข้าอย่างปกติ
และหายใจออกทางปาก โดยห่อปากขณะเป่าลมหายใจออก ค่อยๆ
เป่าลมหายใจออกอย่างช้าๆ ทีละน้อยให้นานมากที่สุด



         
สูดยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์เร็ว อย่างถูกต้องตามวิธีการ



          ดื่มน้ำอุ่นมากๆ



         
ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้นภายในระยะเวลาที่แนะนำตามแนวทางการดูแลรักษาที่บ้านควร
รีบพบแพทย์



         
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด



          หลีกเลี่ยงสารที่แพ้
จำให้ขึ้นใจว่าตัวเองแพ้อะไร
และต้องรู้ว่าตนเองต้องใช้ยาอะไรเวลามีอาการจับหืด
ควรรู้จักชื่อของยาที่ใช้ประจำ



          หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคือง
เช่น ควันบุหรี่



          ควรดูแลสุขภาพให้ดี
กินอาหารให้ครบหมู่ ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะอย่างสม่ำเสมอ
อย่าปล่อยให้มีอาการหวัดเรื้อรัง ไซนัสอักเสบ ซึ่งจะทำให้อาการโรค



          ทำจิตใจให้สดชื่น แจ่มใส
ขจัดความกังวล อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงมากๆ จะทำให้มีอาการจับหืดได้



          เด็กที่มีอาการไอ
หรือจับหืดอยู่ ไม่ควรดื่มน้ำเย็นจัด กินของเย็นจัด
เพราะอาจจะทำให้อาการไอแย่ลงได้



         
กินหรือใช้ยาตามที่แพทย์ประจำแนะนำ
อย่าหยุดยาเองหรือซื้อยามากินเองโดยไม่รู้จักยา
และควรมาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง



         
อาการหอบเหนื่อยที่ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉิน



          หายใจไม่ออกทันที เช่น
ถูกรัดคอ บีบคอ สำลักอาหารชิ้นใหญ่ที่ไปปิดกั้นหลอดลมหรือคอหอย เป็นต้น



          ริมฝีปากเขียว เล็บมือ
ปลายนิ้วมือ เป็นสีม่วงคล้ำ จากที่เคยเป็นสีชมพู แสดงว่าเลือดขาดออกซิเจน
ถ้ามีออกซิเจนอยู่ใกล้ตัว ให้คนไข้ดมออกซิเจนไปก่อน
ถ้าไม่มีออกซิเจนหรือได้ให้ออกซิเจนแก่คนไข้แล้วรีบนำคนไข้ส่งโรงพยาบาล



          ซึมลง สับสน ชัก หรือหมดสติ
ควรรีบส่งโรงพยาบาลทันที



          ไข้สูง หรือตัวร้อนจัด
คนไข้ที่หอบเหนื่อย และมีไข้สูง มักเกิดจากโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ
โลหิตเป็นพิษ หรืออื่นๆ ควรส่งโรงพยาบาลทันที



          ไอเป็นเลือด
เสมหะเป็นฟองปนเลือดสีแดงสด มักเกิดจากภาวะปอดบวมน้ำเฉียบพลัน
เสมหะเป็นหนองปนเลือดแบบสนิมเหล็ก หรือเลือดเก่าๆ มักเกิดจากปอดบวม
ปอดอักเสบ ฝีในปอด วัณโรค หลอดลมโป่งพอง เป็นต้น ถ้าเป็นเลือดสดๆ
และออกเป็นลิ่มๆ แสดงว่าเลือดออกในปอด ต้องรีบส่งโรงพยาบาลทันที



          ทรวงอกข้างใดข้างหนึ่ง
หรือทั้งสองข้างไม่มีการเคลื่อนไหว หรือเคลื่อนไหวน้อยมากขณะหายใจ
แสดงว่าปอดข้างนั้นไม่มีลมเข้าออกเลยหรือไม่มีลมเข้าออกเท่าที่ควร
เพราะปอดแฟบ หรือ มีลม น้ำ หนอง หรือเลือดในช่องอกซีดมาก หรือแดงก่ำผิดปกติ



          หายใจ มีเสียงหวีด
หรือเสียงครืดคราด แสดงว่าหลอดลมตีบ หรือมีสิ่งอุดกั้นในหลอดลม เช่น เสมหะ
น้ำ สิ่งแปลกปลอม สายเสียงอักเสบบวม หรืออื่นๆบวม
คนไข้ที่หอบเหนื่อยและมีอาการบวมเท้า บวมหน้า หรือบวมทั้งตัว
มักเกิดจากโรคหัวใจ ไต หรือตับที่เป็นรุนแรงแล้ว






Free TextEditor

























 

Create Date : 08 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 8 พฤษภาคม 2553 17:16:51 น.
Counter : 1114 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.