โรคไบโพล่าร์ (Bipolar disorder)



โรคไบโพ
ล่าร์ (Bipolar disorder) หรือ โรคอารมณ์สองขั้ว
เป็นโรคที่มีอาการผิดปกติที่สำคัญทางอารมณ์ 2
แบบ
คือ ภาวะแมเนีย และภาวะ ซึมเศร้า จึงเคยถูกเรียกว่า
Manic- depressive disorder
ความเจ็บป่วยทางอารมณ์ทั้ง 2
แบบนั้นรุนแรง ไม่ใช่อารมณ์ปกติ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนรบกวน
การทำงานของจิตใจและความสามารถด้านต่าง ๆ
และมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของสมอง ภาวะโรคจะครอบงำบุคคลนั้น
จนทำให้สูญเสียความเป็นคนเดิมไป





ผู้ป่วย
โรคไบโพล่าร์จะมีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นบ่อยกว่าภาวะแมเนียเกือบ 3 เท่า
อาการที่พบบ่อย ในภาวะอารมณ์ 2 แบบ


























































ภาวะซึม
เศร้าหรืออารมณ์ตก
ภาวะแม
เนียหรืออารมณ์คลุ้มคลั่ง
ขาดความร่างเริงไม่สนุกสนานเหมือนเก่า มีพลังมากขึ้นกว่าปกติ
เบื่อหน่ายอยู่ตลอดเวลา มีการแสดงออกและการคิดอ่านมากกว่าปกติ
อารมณ์เศร้า หรือร้องไห้ง่ายโดยไม่มีเหตุชัดเจน มีความเข้มของอารมณ์มากขึ้น ทั้งอารมณ์แบบ
สนุกสนาน
ร่าเริงและก้าวร้าว โดยเฉพาะเมื่อถูกขัดใจ
ความอยากอาหารและการนอนลดลง
หมดเรี่ยวแรงในการทำงาน
อ่อนเพลียตลอดเวลา
ความเชื่อมั่นตนเองมากขึ้น เชื่อว่าตนเองเก่งสามารถ
ควบ
คุมทุกสิ่งทุกอย่างได้และชอบวิจารณ์ผู้อื่น
มากขึ้น เอาแต่ใจ
หงุดหงิด โกรธง่ายกว่าปกติ     มีอาการหลงผิดถึงความยิ่งใหญ่ หรือความเก่งของตนเอง
มองโลกในแง่ร้ายไปหมด     ความต้องการในการนอนลดลง แต่ไม่อ่อนเพลีย
ขาดสมาธิ ความจำลดลง     ความคิดว่องไวเหมือนรถด่วน แสดงออกด้วยการ
พูดเร็ว
และมีเนื้อหามาก เสียงดัง
หมกหมุ่น คิดวนเวียนเรื่องเดิม ไม่สามารถตัดสินใจได้ ขาดความจดจ่อต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ
ไม่อยากสังสรรค์ หรือออกสังคม ขยันทำกิจกรรมต่างๆ อย่างขาดความยั้งคิดหรือ
มี
พฤติกรรมเสี่ยงมากขึ้น หรือแสดงออกแบบเกินตัว
มีอาการปวดที่ไม่ทราบสาเหตุ     มีความต้องการทางเพศสูงขึ้น
มองตนเองว่าไร้ค่า หรือเป็นภาระ
ไม่รู้จะมีชีวิตต่อไปทำไม

-
มีความคิดทำร้ายตนเอง หรืออยากฆ่าตัวตายบ่อยๆ
-

ภาวะ
ซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์และโรคอารมณ์เศร้า

          
ภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นได้ทั้งใน โรคไบโพล่าร์ และโรคอารมณ์เศร้า (Major
depressive disorder หรือ Unipolar depression)
แต่ในโรคไบโพล่าร์จะรุนแรงกว่า มีการสูญเสียความสามารถในการทำงาน สังคม
และครอบครัว

ภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์ (Bipolar depression)
มักมีลักษณะอาการต่อไป
นี้เด่น ทำให้แตกต่างจากที่เกิดในโรคอารมณ์เศร้า คือ

          
1. มักเกิดอาการครั้งแรกในช่วงวัยรุ่นหรือวัยเรียน และมีประวัติเป็นๆ หายๆ
หลายครั้ง
           2. มีการเคลื่อนไหว และความคิดอ่านช้าลง
          
3. นอนมาก และรับประทานอาหารมากขึ้น
           4. ขาดกำลังใจ
มองว่าตนเองไร้ค่าหรือไม่มีประโยชน์
           5.
มักมองโลกที่เคยสดใสกลายเป็นมืดมน ขาดความเพลิดเพลิน และไม่ร่าเริง
          
6. มีอาการวิตกกังวลรุนแรงร่วมด้วย
           7.
มีอาการหลงผิดเกิดขึ้นร่วมกับอาการทางอารมณ์
           8.
มีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
มองว่าบุคคลอื่นไม่สนใจหรือไม่เป็นมิตร
           9.
มีประวัติการติดสารเสพติด หรือพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย
           10.
มีประวัติโรคไบโพล่าร์หรือโรคอารมณ์เศร้าในครอบครัว

          
มีความจำเป็นอย่างมากในการแยกภาวะซึมเศร้าในโรคทั้งสองโรคออกจาก กัน
เพราะการดำเนินโรค ตลอดจนแนวทางการรักษาและป้องกันก็ต่างกันการรักษาภาวะ
ซึมเศร้าในโรคไบโพล่าร์



การรักษา
ควรประกอบด้วยการใช้ยา การดูแลด้านจิตใจ
การปรับพฤติกรรมตลอดจนการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค
และการรักษากับผู้ป่วยและญาติ

          
ยังไม่มียารักษาอาการเศร้าตัวใดได้รับการรับรองในการรักษาภาวะซึมเศร้าในโรค
ไบโพล่าร์
           ถ้าจำเป็นต้องใช้ยารักษาอาการเศร้า
ควรลดขนาดยาลงเมื่อผู้ป่วยหายจากอาการแล้วและหยุดในที่สุด
ควรระมัดระวังการเหวี่ยงกลับไปเป็นแมเนีย อย่างรวดเร็ว หรือเกิด rapid
cycling
          
ถ้าผู้ป่วยได้รับยาคงสภาพอารมณ์ที่มีฤทธิ์ต้านซึมเศร้าอันได้แก่ Lithium
และ Lamotrigine อยู่ก่อนแล้ว ควรปรับขนาดขึ้นให้เพียงพอ






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 15 พฤษภาคม 2553 21:52:38 น.
Counter : 657 Pageviews.  

โรคกระดูกพรุน..ภัยเงียบที่คาดไม่ถึง



          เมื่ออายุมากขึ้น
บุคคลิกภาพของคนมักจะเปลี่ยนตามไปด้วย อย่างเช่น รูปร่างเตี้ยลง หลังค่อม
บางคนก็มีอาการขาโก่งงอ ที่ร้ายไปกว่านั้น ก็คือ
กระดูกหักง่ายกว่าปกติ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดขึ้น ก็เนื่องมาจาก ความ
หนาแน่นของกระดูกน้อยลง 
นั่นเอง
ซึ่งตามปกติของร่างกายจะสร้างมวลกระดูกใหม่
และขจัดมวลกระดูกที่หมดอายุออกไป โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่วัย 35
ปีขึ้นไป อัตราการสลายกระดูกจะเร็วกว่าอัตราการสร้างกระดูก
ทำให้ปริมาณมวลกระดูกลดลงและโครงสร้างภายในของกระดูกถูกทำลายส่งผลให้ระดู
กชั้นในมีขนาดใหญ่ขึ้น มีลักษณะเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำ
หรือที่เรียกกันว่าอยู่ในสภาวะ “กระดูกพรุน”
ซึ่งผู้หญิงจะสูญเสียเนื้อกระดูกมากกว่าผู้ชายถึง 2 - 3 เท่า
โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน
ปริมาณเนื้อกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 


         
สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุ
หญิงวัยหมดประจำเดือน
ผู้ป่วยโรคทางเดินอาหารที่มีความผิดปกติในการดูดซึมแคลเซียม คนที่ดื่มสุรา
กาแฟ สูบบุหรี่จัด ผู้ป่วยที่ต้องนอนบนเตียงคนป่วยเป็นเวลานาน
ผู้ป่วยโรคมะเร็งกระจายไปที่กระดูก
ผู้ที่มีประวัติว่าคนในครอบครัวกระดูกหักง่าย นอกจากนี้
การได้รับยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาเสตรียรอยด์ ยากันชัก ยาไทร็อกซิน
ฯลฯ รวมทั้งคนที่เป็นโรครูมาตอยด์
,โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
ฯลฯ
ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากเป็นพิเศษเช่นกัน 

         
เมื่อกระดูกในร่างกายเริ่มบางลง จนเริ่มเข้าสู่ภาวะกระดูกพรุน
ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ ปรากฏเลยถ้ากระดูกไม่หัก ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน จะดำรงชีวิตได้อย่างปกติ
แต่หากเมื่อประสบอุบัติเหตุเช่นการหกล้ม  ภัยเงียบที่แอบแฝงนี้
ก็ปรากฏให้รู้ว่า สาเหตุที่กระดูกหักง่ายนั้น
ก็เพราะอยู่ในสภาวะกระดูกพรุน โดยส่วนที่จะหักง่ายได้มากกว่าปกติ

ได้แก่ กระดูกหลัง กระดูกข้อมือ และกระดูกสะโพก เมื่อกระดูกหักแล้ว
โดยเฉพาะกระดูกบริเวณสะโพก ผลกระทบที่ตามมาเกิดขึ้น
จะทำให้ไม่สามารถเดินได้  การนอนรักษาตัวเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดแผลกดทับ
อีกทั้ง ยังกลายเป็นภาระในการดูแลระยะยาว สุดท้ายอาจเสียชีวิตในที่สุด

นอกจากนี้ สภาวะกระดูกพรุนยังส่งผลต่อโครงสร้างของกระดูกสันหลัง
ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังเฉียบพลันและเรื้อรัง มีรูปร่างเปลี่ยนไป เตี้ยลง
หลังโก่ง ไหล่งุ้มกว่าปกติ พุงยื่น หลังแอ่น ไม่มีเอว ฟันหลุดง่าย
และการทำงานของอวัยวะภายในด้อยลง การย่อยอาหาร และการหายใจลำบาก เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า โรคกระดูกพรุน นั้น มีอันตรายสูงมาก คนที่มีอายุมากขึ้น
จึงจำเป็นต้องป้องกันและรักษา
แต่การที่จะรักษากระดูกที่พรุนแล้วให้กลับเข้าสู่สภาพเดิมนั้นมักจะไม่ค่อย
ได้ผลนัก สิ่งที่ดีที่สุด คือ
การดูแลตัวเองไม่ให้ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนนั่นเอง...

วิธี
การป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนควรมีการป้องกันโดยการเปลี่ยนรูปแบบการ
ดำรงชีวิต และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆอาทิเช่น การงดสูบบุหรี่,
งดดื่มสุรา, ชา, กาแฟ, ระวังการลื่นล้ม เป็นต้น
นอกจากนี้ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงและบริโภค
อาหารที่มีแคลเซียม วิตามินดี โปรตีน ที่เพียงพอเพื่อความสมดุลของร่างกาย
หากไม่มีเวลามากพอ ควรหาผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมให้กับกระดูก





          โดยเลือกที่มี
คอลลาเจนไฮโดรไลเซท ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้มวลกระดูกแข็งแรง
ไม่เปราะหักง่าย






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 15 พฤษภาคม 2553 21:33:22 น.
Counter : 256 Pageviews.  

ตับอักเสบโรคร้ายที่ป้องกันได้





          โรคตับอักเสบ
มีสาเหตุที่สำคัญจากการติดเชื้อไวรัส
และการได้รับยาหรือสารที่เป็นพิษต่อตับ
เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคตับอักเสบและพบบ่อยคือไวรัสตับอักเสบเอ บี
หรือซี รวมทั้งเชื้อไวรัสเดงกี
ปัจจุบันไวรัสตับอักเสบเอและบีสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

  โรคตับอักเสบบีพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
ติดต่อกันได้โดยผ่านทางเลือด ทางเพศสัมพันธ์ และจากแม่สู่ลูก
การติดเชื้อในเด็กมักไม่มีอาการผู้ใหญ่จะมีอาการไข้ อาเจียน ออ่นเพลีย
มีตาเหลือง ตัวเหลือง หรือที่เรียกว่าดีซ่าน ทำให้ผู้ป่วยต้องขาดเรียน
ขาดงานหรือแม้แต่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล



ผู้ติดเชื้อตับอักเสบบีส่วนใหญ่สามารถกำจัดเชื้อและหายได้เอง

โดยส่วนหนึ่งจะมีภูมิคุ้มกันในการป้องกันการติดเชื้อซ้ำ
ขณะที่อีกส่วนหนึ่งร่างกายกำจัดเชื้อไม่ได้
กลายเป็นพาหะของเชื้อตับอักเสบบีและสามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
ประมาณร้อยละ 10 ของคนไทยมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อตับอักเสบบีโดยธรรมชาติ
และอีกร้อยละ 5-10 เป็นพาหะของโรค
ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อตับอักเสบบีส่วนหนึ่งอาจกลายเป็นโรคตับอักเสบ
เรื้อรัง โรคตับแข็งและมะเร็งตับในที่สุด
การฉีดวัคซีนตับอักเสบบีในเด็กและบุคคลทั่วไปเพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน





วัคซีน
ตับอักเสบบีเป็นวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กไทย ฉีดเข้ากล้ามเนื้อจำนวน 3
เข็มเมื่อแรกเกิด อายุ 1-2 เดือน และ 6-12 เดือน
ทำให้เด็กไทยมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อตับอักเสบบี
หญิงไทยที่ตั้งครรภ์มักได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูว่าเป็นพาหะของโรคตับ
อักเสบบีหรือไม่ กรณีที่เป็นพาหะของโรค
แนะนำให้ลูกฉีดวัคซีนตับอักเสบบีโดยเร็วและบางรายอาจต้องให้อิมมูโน
โกลบุลิน (ภูมิสำเร็จรูป) ร่วมด้วย





ในคนทั่วไปควรพิจารณาฉีดวัคซีนตับอักเสบบีโดยเฉพาะหากมีคน
ในบ้านหรือคู่สมรส เป็นพาหะหรือเป็นโรคตับอับเสบบี
และควรตรวจเลือดก่อนเพื่อดูว่ามีภูมิคุ้มกันแล้วหรือเป็นพาหะของโรคหรือไม่
กรณีผลตรวจเลือดระบุว่ายังไม่มีภูมิคุ้มกัน
ให้ฉีดวัคซีนตับอักเสบบีเข้ากล้ามเนื้อจำนวน 3 เข็ม โดยเข็มที่ 2 และ 3
ห่างจากเข็มแรก 1 และ 6 เดือนตามลำดับ






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 15 พฤษภาคม 2553 21:31:51 น.
Counter : 547 Pageviews.  

10 สัญญาเตือนภัยมะเร็งที่ไม่ควรมองข้าม



         
ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของผู้หญิงไทย 10
สัญญาณเตือนต่อไปนี้ คุณแม่ไม่ควรมองข้าม
เพราะอาจจะเป็นอาการบ่งบอกว่ากำลังเผชิญหน้ากับโรคมะเร็งอยู่หรือไม่



1.
เลือดออกผิดปกติ 
ก้อนมะเร็งส่วนใหญ่จะมีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงมากกว่าอวัยวะปกติ
เส้นเลือดเหล่านี้ไม่แข็งแรงและแตกง่าย ทำให้มีเลือดออกได้ง่ายกว่าปกติ
ดังนั้น หาก...

          + เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เช่น
เลือดออกระหว่างรอบเดือน  เลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์
หรือเลือดประจำเดือนออกมากหรือนานกว่าปกติ  ควรรีบมาพบแพทย์
เพื่อตรวจหาสาเหตุ เพราะอาจจะเป็นสัญญาณเตือนภัยของมะเร็งปากมดลูก
ซึ่งพบมากในผู้หญิงไทย  
          + เลือดที่ออกปนมากับอุจจาระ
อาจจะเป็นอาการของโรคมะเร็งสำไล้ใหญ่ก็ได้
ไม่จำเป็นว่าออกจากโรคริดสีดวงทวารเสมอไป  
          +
เลือดที่ออกมาในปัสสาวะ อาจจะไม่ได้เกิดจากการเป็นนิ่ว
แต่อาจจะเป็นสัญญาณเตือนภัยของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะและมะเร็งของไต 
         
+ อาการไอเรื้อรังเกิน 3-4 สัปดาห์ ไอมีเสมหะปนเลือด หรือไอเป็นเลือด
อาจเป็นอาการของมะเร็งปอดได้เช่นกัน 

         
การมีเลือดออกเพียงครั้งสองครั้งจากอวัยวะต่าง ๆ อาจจะไม่ได้มีอะไรผิดปกติ 
แต่ถ้าเป็นหลายครั้งหรือเป็นอยู่นาน อย่าได้นิ่งนอนใจ
ควรจะรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ

2. เต้านมเปลี่ยนแปลง
ส่วนใหญ่ผู้หญิงจะคุ้นเคยกับเต้านมของตนเองดี
ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ตรวจเองอย่างสม่ำเสมอ
การเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งเต้านม ได้แก่ 
         
+ ผิวเต้านมเป็นผื่นแดง หรือนูนหนากว่าปกติเป็นเวลาหลายสัปดาห์ 
         
+ มีเลือด น้ำเหลืองหรือของเหลวผิดปกติออกมาจากหัวนม
          +
หัวนมที่เคยยื่นออกมาถูกดึงรั้งหรือหดตัวเข้าไปในเต้านม

         
ถ้ามีอาการดังกล่าวควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมอย่างละเอียด 
แพทย์อาจทำการตรวจพิเศษ เช่น แมมโมแกรม หรืออัลตร้าซาวด์น
ปัจจุบันการตรวจเต้านมด้วยรังสีระบบดิจิตอลที่เรียกว่า “Digital Mammogram”
ให้ภาพคมชัดและละเอียดมากในการตรวจหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก

3. ลำไส้แปรปรวน
อาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหารบางอย่างอาจเป็นสัญญาณเตือนภัยของมะเร็งใน
อวัยวะของระบบทางเดินอาหาร
เช่น อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
อืดแน่นท้องเหมือนอาหารไม่ย่อยที่หาสาเหตุไม่ได้
กินยาลดกรดแล้วอาการก็ไม่ทุเลา
อาจจะเป็นอาการของมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งรังไข่  ซึ่งอาจจะมีอาการอื่น
ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้องเรื้อรัง  รู้สึกอิ่มเร็ว หรืออืดแน่นท้องเร็วทั้ง
ๆ ที่กินอาหารไม่มาก 

          ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่บางคน
อาจมีอาการปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ดังนั้นถ้ามีอาการอืดแน่นท้องเกือบทุกวัน หรือเป็นอยู่นานหลายสัปดาห์
ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ

4.
ผิวหนังเปลี่ยนแปลง ไฝและขี้แมลงวันที่มีขนาดโตขึ้น สีคล้ำดำขึ้น
หรือมีเลือดออก
อาจจะเป็นสัญญาณเตือนภัยของมะเร็งผิวหนัง

5. กลืนอาหารลำบาก ทั้งๆ
ที่เปลี่ยนมากินอาหารเหลวหรือซุปต่างๆ แล้ว

อาจเป็นอาการแสดงของมะเร็งในหลอดอาหาร

6.
ช่องปากมีฝ้า ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ควรหมั่นสังเกต ถ้ามีฝ้าขาวภายในช่องปาก
มีจุดขาวๆ หรือตุ่มเนื้อสีขาวบนลิ้น
อาจเป็นความผิดปกติในระยะ
ก่อนมะเร็งช่องปากที่เรียกว่า “Leukoplakia”

7.
น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้หญิงบางคนอาจจะดีใจที่อยู่ๆ
ก็ผอมลงโดยไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก
หรือควบคุมอาหารอย่างเข้มงวดเป็นพิเศษ
ถ้าน้ำหนักลดลงมากกว่า 5
กิโลกรัมต่อเดือน โดยไม่ทราบสาเหตุ อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยของมะเร็งได้ 
แต่อย่างไรก็ตามอาจจะเกิดจากภาวะอื่นที่ไม่ใช่มะเร็งก็ได้ เช่น
โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น

8.
ต่อมน้ำเหลืองโต ถ้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ลำคอ หรือบริเวณอื่นๆ
โตขึ้นนานกว่า 1 เดือน หรือโตขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีแนวโน้มว่าจะเล็กลง

อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือมะเร็งของอวัยวะใกล้เคียง
ที่แพร่กระจายมาที่ต่อมน้ำเหลือง
ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุต่อมน้ำเหลืองโต
ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อก็ได้ แต่ถ้าหาสาเหตุไม่เจอ
แพทย์อาจจะทำการตัดชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองไปตรวจเพิ่มเติม

9. มีไข้ไม่ทราบสาเหตุ
การมีไข้เรื้อรังโดยไม่ได้เป็นหวัดหรือมีการติดเชื้อใดๆ

อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยของมะเร็งได้เช่นกัน
การมีไข้มักเกิดจากมะเร็งแพร่กระจายออกไปจากอวัยวะที่เป็นมะเร็ง
และอาจเป็นอาการหนึ่งของมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้

10. อ่อนเพลียนานๆ อาการอ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน
ถือเป็นสัญญาณเตือนภัยอย่างหนึ่งของมะเร็งเช่นกัน

โดยอาจเป็นอาการเริ่มแรกของมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือโรคลิวคีเมีย
และอาจเป็นอาการของมะเร็งที่ลุกลามมากแล้ว เช่น
มะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งลำไส้ใหญ่บางชนิด

         
มะเร็งเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ถ้าตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรก 
อย่าละเลยสัญญาณเตือนภัยมะเร็งทั้ง 10 ประการนี้นะครับ
ถ้าร่างกายเริ่มส่งสัญญาณเตือนดังกล่าวแล้ว
ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุครับ





Did You
Know…

          + โรคมะเร็ง 5 อันดับแรกของผู้หญิงไทย
จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ.2552 คือ มะเร็งเต้านม
มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่ 
          +
บางคนก็ยังมีความเข้าใจผิดว่ามะเร็งเป็นโรคของคนแก่หรือคนสูงวัย
ในความเป็นจริงมะเร็งหลายชนิดเริ่มพบในวัยหนุ่มสาวและวัยทำงานแล้ว เช่น
มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 
          +
คนมักเข้าใจผิดว่ามะเร็งเป็นโรคที่รักษาไม่หาย ถ้าเป็นแล้วตายลูกเดียว
ซึ่งที่จริงแล้ว มะเร็งหลายชนิดรู้สาเหตุชัดเจน
หรือตรวจหาเจอตั้งแต่ระยะก่อตัวหรือระยะเริ่มแรก จะสามารถหาวิธีป้องกัน
และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งการดำเนินชีวิตและการบริโภค
เพื่อลดความเสี่ยงได้
          + ผู้หญิงอายุ 20
ปีขึ้นไปควรตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง อายุ 35 ปีขึ้นไป
ควรตรวจแมมโมแกรมทุกๆ 2 ปี และสำหรับผู้หญิงอายุ 21 ปีขึ้นไป
ควรมาตรวจภายในทุกปี 









Free TextEditor







































































































 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 15 พฤษภาคม 2553 21:30:18 น.
Counter : 682 Pageviews.  

หลากอาการ...เตือนว่าหัวใจกำลังมีปัญหา






เรื่องของหัวใจไม่เข้าใครออกใคร อยู่ดีๆ
ก็อาจมีอาการน่าสงสัยว่าสุขภาพหัวใจจะมีปัญหาขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัวได้
ผู้ป่วยหลายรายไม่เคยสำรวจตัวเองมาก่อน
ว่าตนมีความเสี่ยงของโรคหัวใจแฝงอยู่ ทั้งๆ
ที่หัวใจพยายามฟ้องออกมาด้วยอาการผิดปกติต่างๆ
จนกระทั่งมีอาการรุนแรงมากถึงได้รู้ว่าโรคหัวใจที่เป็นอยู่นั้นมาสู่ระยะสุด
ท้ายของโรคเสียแล้ว




           โรคหัวใจ
โดยทั่วไปมักจะมีอาการเตือนก่อนเกิดโรค ซึ่งเมื่อเกิดอาการเหล่านี้แล้ว
สิ่งที่ควรทำหลังจากเกิดอาการคือ พบแพทย์โรคหัวใจ
เข้ารับการตรวจร่างกายและวินิจฉัยหาความเสี่ยงของโรคหัวใจ
เพื่อหาแนวทางรักษาและป้องกันก่อนจะเกิดภาวะวิกฤตขึ้นกับสุขภาพหัวใจ
ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นอาจลุกลามไปจนถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต
หรือเสียงชีวิตได้


หลากอาการน่าสงสัยของโรคหัวใจ    

1. เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง 
2. ใจสั่นหัวใจเต้นแรง
ชีพจรเต้น ไม่สม่ำเสมอ 
3. เจ็บแน่นหน้าอกตรงกลาง 
4. หน้ามืดเป็นลมไม่ทราบสาเหตุ
5. เวียนศีรษะ มึนงง
เหมือนจะเป็นลม 
6.
นอนศีรษะสูง/เหนื่อยตอนกลางคืน 
7. ริมฝีปากและมือเท้าเขียว 
8. บวมทั้งตัวโดยเฉพาะขา 
9. เส้นเลือดที่คอโป่งพอง 
10. ท้องโตตับโตไม่ทราบสาเหตุ 
11.
น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ 
12. ไอเป็นเลือดไม่ทราบสาเหตุ

                 ผู้ป่วยโรคหัวใจบางรายหาก
ได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ
สามารถกลับมามีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงได้เกือบเหมือนก่อนเป็นโรคหัวใจ
บางรายหลังเข้ารับการรักษาอาการดีขึ้นมาก สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
แต่น่าเสียดายที่ผู้ป่วยบางรายต้องจบชีวิตลง
โดยไม่เคยรับรู้ด้วยซ้ำว่าตนต้องสังเวยชีวิตให้กับโรคหัวใจทั้งๆ
ที่อายุยังไม่มาก

   เพราะฉะนั้น
โรคหัวใจเป็นเรื่องที่ประมาทไม่ได้ หมั่นตรวจสุขภาพหัวใจ
อย่างน้อยก็ควรตรวจร่างกายประจำปี
หรือหากพบอาการน่าสงสัยดังกล่าวข้างต้นควรรีบพบแพทย์ 
...ป้องกันไว้ก่อนหัวใจจะมีปัญหารุนแรง
เพราะเมื่อพบว่ามีความเสี่ยงจะได้ไม่พลาดโอกาสในการรักษาได้ทันเวลา





ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 15 พฤษภาคม 2553 21:28:57 น.
Counter : 411 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.