การดูแลรักษาตนเองจะช่วยบรรเทาอาการ



   บางครั้งเรารู้สึกไม่สบาย เช่น ปวดหัว ตัวร้อน
เบื่ออาหาร หรือคัดจมูก แต่แล้วไม่นานนัก เราก็รู้สึกสบายขึ้นกลับเป็นปกติ
นั่นเป็นเพราะว่าส่วนใหญ่แล้วร่างกายของเราสามารถเอาชนะความเจ็บป่วยเล็กๆ
ด้วยตนเองได้ เสมือนกับเป็นพระเอกแสนเก่งในภาพยนตร์
โดยร่างกายของเราจะพยายามป้องกันตัวเองจากศัตรูผู้บุกรุกที่ทำให้เรารู้สึก
ไม่สบายได้

ในขณะที่ร่างกาย
ต่อสู้กับความเจ็บป่วย

          อาการเจ็บป่วยของเรา
ซึ่งอาจหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา
เป็นผลมาจากชัยชนะในการรบของร่างกายกับศัตรู ทำให้เราสบายขึ้นได้
เราสามารถช่วยพระเอกคนเก่งในร่างกายของเราได้ โดยใช้วิธีง่ายๆ
ในการดูแลรักษาตนเอง
ซึ่งทำได้ที่บ้านหรือการใช้ยาสามัญประจำบ้านและการเปลี่ยนรูปแบบการดำเนิน
ชีวิตตามข้อแนะนำต่างๆ ดังจะกล่าวต่อไปนี้

รู้
ว่าควรรักษาตัวเองเมื่อใด

         
มนุษย์เราได้พยายามรักษาอาการเจ็บปวดเล็กๆน้อยๆตัวเราเองมานานนับศตวรรษแล้ว

แม้ว่าการดูแลรักษาตนเองจะเป็นวิธีทางการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์เรา
แต่ส่วนใหญ่แล้ววิธีการรักษามักเป็นทางไสยศาสตร์หรือเรื่องเล่าต่อกันมา
โชคดีที่ปัจจุบันเราสามารถเข้าใจ
กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเราได้ดีขึ้น
การดูแลรักษาตนเองในยุคปัจจุบันจะช่วยบรรเทาความรู้สึกไม่สบายและช่วยร่าง
กายในการรักษาตนเอง
ดังนั้นพวกเราจึงควรเรียนรู้วิธีการดูแลรักษาตัวเองอย่างง่ายๆ
และได้ผลอีกทั้งยังมั่นใจได้ว่าเรากำลังทำสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อช่วยให้ตนเอง
หายป่วยได้เร็วขึ้น

รู้
ว่าเมื่อใดควรปรึกษาแพทย์
         
โดยการดูแลรักษาตนเอง เราจะสามารถแก้ไขปัญหาสุขภาพของตัวเราเองได้กว่า 80%
แต่ในบางครั้งการเจ็บป่วยของเราก็จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย
และดูแลรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ การเรียนรู้วิธีประเมินความเจ็บป่วยอย่างง่ายๆ
จะช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าเมื่อใดที่สามารถรักษาตนเองได้
และเมื่อใดที่จะต้องปรึกษาแพทย์
การเรียนรู้การดูแลรักษาตนเองยังช่วยให้เราสามารถทราบเวลาที่เหมาะสมที่จะไป
ใช้บริการทางสุขภาพ และเมื่อเราจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์
ความรู้ที่เราได้รับจากการรู้จักประเมินอาการตนเอง
จะช่วยให้เราสื่อสารกับแพทย์ได้เป็นอย่างดี
ทั้งเราและแพทย์จะมีส่วนร่วมกันในการดูแลรักษาสุขภาพให้ดีขึ้น

การดูแลรักษาตน
เองเหมาะสมกับเราหรือไม่
         
การดูแลรักษาตนเองเป็นสิ่งที่เหมาะกับการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ
ซึ่งสามารถรักษาตนเองได้ที่บ้าน ยกเว้นคนชราและเด็กเล็ก
ซึ่งต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ จึงเหมาะสำหรับอายุ 10
ปีขึ้นไปที่มีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติดี
แต่สำหรับหญิงมีครรภ์หรือเป็นโรคบางอย่างโดยเฉพาะที่จำเป็นต้องใช้ยาเฉพาะ
โรค ควรปรึกษาแพทย์ดูว่าการดูแลรักษาตนเองสามารถทำได้หรือไม่

เตรียม
ตัวสำหรับการดูแลรักษาตนเอง

         
การดูแลรักษาตนเองจะประสบผลสำเร็จ
ต้องอาศัยเครื่องมืออุปกรณ์และยาที่ถูกต้อง
รวมทั้งความรู้พื้นฐานในการประเมินอาการตนเองและทักษะอีกเล็กน้อย

ดูแลอาการเจ็บป่วยของตนเอง
         
ควรเข้าใจได้ว่าอะไรกำลังเกิดกับร่างกายของเรา
และประเมินได้ว่าอาการเหล่านี้ สามารถรักษาเองได้หรือไม่
รู้วิธีการดูแลรักษาเพื่อบรรเทาอาการนั้น และรู้ว่าควรปรึกษาแพทย์เมื่อไร

ทำ
ความเข้าใจว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น

         
ให้ทราบว่าอะไรกำลังเกิดในร่างกายของเราสำหรับแต่ละอาการเจ็บป่วย
ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจอาการเจ็บป่วยที่น่ารำคาญและไม่สบายนี้
และตระหนักถึง “ความฉลาดของร่างกาย”
จะช่วยให้เราเลือกทำสิ่งที่ช่วยเร่งการหายป่วยของร่างกายได้

การประเมินความ
รุนแรงของอาการเจ็บป่วย
         
อาการเจ็บป่วยเป็นวิธีที่ร่างกายสื่อสารกับเรา
การประเมินอาการโดยการวัดและสังเกตจะช่วยให้เราแปล “ภาษาของร่างกาย” ได้
ซึ่งจะช่วยเราในการเลือกวิธีบรรเทาอาการและช่วยในการตัดสินใจไปพบแพทย์

บรรเทาอาการ
         
การบรรเทาอาการ คือ การกระทำที่ทำให้ตัวเราเองรู้สึกสบายขึ้น
ในขณะที่กระบวนการรักษาตัวเองตามธรรมชาติของร่างกายกำลังดำเนินไป
อาจประกอบด้วย การรักษาง่ายๆที่บ้าน เช่น สูดไอน้ำร้อน
การเลือกใช้ยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาน้ำแก้ไอ หรือยาลดน้ำมูก
และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต
รวมทั้งการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย

เมื่อไรควรปรึกษา
แพทย์

         
การที่เราจะมั่นใจในการดูแลรักษาตนเองได้
เราควรรู้ว่าเมื่อใดจึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ อาการเตือนให้สังเกตได้ เช่น
เกิดขึ้นทันทีทันใด อาการที่รุนแรง อาการที่ไม่ดีขึ้นเลย
หรืออาการที่กลับเป็นซ้ำ หรือมีอาการผิดปกต ิที่เกิดขึ้นพร้อมกันหลายอย่าง
ถ้ามีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ทันที



ปรึกษา
แพทย์

         
เมื่อจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญและเพื่อให้ได้รับการดูแลที่
ดีที่สุด ในการพบแพทย์แต่ละครั้ง ควรเรียนรู้วิธีการเตรียมตัวให้พร้อม
ก่อนไปพบแพทย์เพื่อเราจะได้รับประโยชน์มากที่สุด
และต้องเรียนรู้สิ่งสำคัญที่ควรจะต้องบอกต่อแพทย์
และรู้ว่าควรซักถามอะไรที่จะช่วยในการวินิจฉัยและการรักษาโรคของเรา



ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากกองเวชกรรมป้องกัน กรมแพทย์ทหารเรือ







Free TextEditor







































































































 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 15 พฤษภาคม 2553 22:15:14 น.
Counter : 242 Pageviews.  

โรคหน้าหนาว

  เกร็ดความรู้คู่สุขภาพ วันนี้เรามีเรื่องดีๆ มาฝาก
ย่างเข้าฤดูหนาวทีไร มักมี โรค ตามมาให้หนักใจทุกที ไม่ว่าจะเป็น โรคหวัด
ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัดเยอรมัน สุกใส และ อุจจาระร่วง เกร็ดความรู้ คู่
สุขภาพ เลยอดไม่ได้ที่จะพูดถึงเรื่องโรคดังกล่าว
พร้อมนำวิธีป้องกันมาบอก...




ย่าง
เข้าฤดูหนาว ที่ปีนี้มีช่วงเวลาของอุณหภูมิที่ต่ำลงยาวนานกว่าปกติ
ผลมาจากภาวะโลกร้อน ทำให้อากาศแปรปรวน หลายพื้นที่น่าเป็นห่วง
เพราะไม่ใช่แต่ปัญหาจากอุณหภูมิเท่านั้น
หน้าหนาวยังนำโรคหลายประการติดมาด้วย


         
จากข้อมูลของประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง การป้องกันโรคที่เกิดในฤดูหนาว
ระบุว่า อากาศที่เปลี่ยนแปลงนั้น
หากร่างกายปรับตัวไม่ทันอาจทำให้เกิดโรคต่างๆ ขึ้นได้ โรคที่เกิดในฤดูหนาว
มักจะเกิดกับเด็กและผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ โรคหวัด
ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัดเยอรมัน สุกใส และอุจจาระร่วง


         
ไข้หวัดและโรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อได้ง่ายโดยการหายใจ
และเชื้อจะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย จึงติดต่อได้โดยการสัมผัส
แพร่กระจายในสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันจำนวนมาก และอากาศไม่ถ่ายเท เช่น
โรงหนัง ห้างสรรพสินค้า


อาการจะเริ่มต้นด้วยการมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย น้ำมูกไหล ไอ จาม
เจ็บหรือแสบคอ บางคนอาจหนาวสั่น ไข้หวัดใหญ่จะมีอาการรุนแรงกว่า คือ
ตัวร้อนจัด หนาวสั่น ปวดศีรษะมาก ปวดกระดูก มักคลื่นไส้ด้วย
ควรระวังโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม หลอดลมอักเสบ คออักเสบ

 ในเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ
จะมีความเสี่ยงมากกว่าช่วงวัยอื่น

         
และที่สำคัญหากอยู่ในพื้นที่ที่เลี้ยงสัตว์ปีก
และป่วยหลังจากมีสัตว์ตายอย่างผิดปกติ ต้องระวังเรื่องของไข้หวัดนก
ควรพบแพทย์และแจ้งปศุสัตว์ทันที

         
โรคปอดบวมเป็นโรคแทรกซ้อนของไข้หวัด หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อโดยตรง
ติดต่อได้จากการหายใจ และน้ำมูกน้ำลาย
จึงสามารถติดต่อได้จากการใช้ของร่วมกัน มีระยะการฟักตัวของโรค 1-3 วัน


ปอดบวม
เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของกลุ่มโรคติดเชื้อในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
โดยเฉพาะเด็กแรกเกิด น้ำหนักตัวน้อย เด็กในวัยขวบแรก เด็กขาดสารอาหาร
เด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด ส่วนใหญ่ปอดบวมจะเกิดหลังจากโรคหวัดประมาณ 2-3
วัน หากเกิดในเด็กเล็กให้ระวังอาการช็อก

โรคหัดเกิดจากเชื้อไวรัสหัด
พบบ่อยในเด็กอายุระหว่าง 1-6 ปี ติดต่อได้ง่ายเพียงการไอจามรดกัน
หรือหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วย
ระบาดในช่วงฤดูหนาวต่อกับฤดูร้อน

          จะมีไข้ น้ำมูกไหล ไอ
ตาแดง จะรุนแรงมากขึ้น และผื่นจะขึ้นประมาณวันที่ 4
ไข้จะลดเมื่อผื่นกระจายทั่วตัว ระหว่างนั้นอาจเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น
ปอดอักเสบ อุจจาระร่วง ช่องหูอักเสบ สมองอักเสบ และภาวะทุพโภชนาการ
โดยเฉพาะเด็กที่ขาดวิตามินเอ เมื่อเป็นหัดจะมีความรุนแรงมาก
หากมีปอดอักเสบร่วมด้วยอาจทำให้เสียชีวิตได้

หัดเยอรมัน เกิดจากเชื้อไวรัส
ทำให้เกิดอาการไข้ มีผื่นคล้ายหัด แต่บางรายก็ไม่มี
ในเด็กเล็กจะมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่ในผู้ใหญ่จะมีอาการประมาณ 1-5 วัน
ติดต่อได้จากการหายใจ หากอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ต้องระวังเป็นพิเศษ

โรคสุกใส มักเกิดในเด็กอาการเริ่มด้วยมี
ไข้ต่ำๆ เหมือนไข้หวัด หัด ไข้หวัดใหญ่ แล้วจะมีผื่นแดง ตุ่มนูน
และเปลี่ยนเป็นตุ่มพองใสในวันที่ 2-3 นับแต่เริ่มมีไข้
หลังจากนั้นจะเป็นหนอง เริ่มแห้งตกสะเก็ด ในช่วง 5-20 วัน ผื่นอาจขึ้นในคอ
ตา และปาก โดยทั่วไปจะไม่เกิดโรคแทรกซ้อน


โรค
อุจจาระร่วง
มักเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
ติดต่อจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าไป ติดต่อทางน้ำลาย
น้ำมูกได้ ถ่ายเป็นน้ำหรือถ่ายเหลวบ่อยครั้ง โดยทั่วไปอาการไม่รุนแรง
แต่บางคนอาจขาดน้ำรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาล ดูแลร่างกายให้อบอุ่น
เลือกรับประทานอาหารปรุงสุก ร้อน น้ำสะอาด สามารถจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง



ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากก๊อฟฟี่






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 15 พฤษภาคม 2553 22:13:40 น.
Counter : 1318 Pageviews.  

ปัญหา…ปวดหัว






ปัญหาทางระบบประสาทอย่างหนึ่ง
ที่สร้างความทรมานอย่างยิ่งให้กับผู้ที่ต้องเผชิญคือ อาการปวดหัว
โดยมากมักเป็นๆ หายๆ บ้างก็ทราบสาเหตุ บ้างก็ไม่รู้ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร
แต่เมื่อเป็นแล้วนอกจากจะสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกายแล้ว
ยังส่งผลกระทบต่อการทำงานและการดำเนินชีวิตในด้านอื่นๆ อีกด้วย


ปวดศีรษะ
(Headaches)

         
ปัญหาของอาการปวดศีรษะมักเกิดจากสาเหตุต่างๆ ทั้งจากโรคของสมอง เช่น
เนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง การอักเสบของเส้นประสาท
และปัญหาที่มาจากปัจจัยภายนอก เช่น ความดันโลหิตสูง รับประทานยาบางชนิด
เป็นไข้ กระดูกคอเสื่อม ความเครียด ไมเกรน สาเหตุต่างๆ เหล่านี้
อาจแยกจากกันไม่ได้ชัดเจน
ต้องอาศัยการตรวจพิเศษและดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจรักษา
เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

อาการสำคัญที่ควร
พบแพทย์ด่วน
1.อาการ
ปวดศีรษะเฉียบพลัน หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
         
2.มีอาการอาเจียน เป็นไข้ คอแข็ง แขนขาชาและอ่อนแรง ตามองไม่เห็น
เป็นอาการร่วมกับการปวดศีรษะ หรือเป็นอาการนำ
          3.เสียการทรงตัว
หมดสติ สับสนจำอะไรไม่ได้
         
4.ผู้ป่วยที่กินยาแก้ปวดเป็นเวลานานกว่า 3 เดือน
แต่อาการไม่ทุเลาหรือมีอาการมากขึ้น


ปวดศีรษะไมเกรน
ไม
เกรนและความเครียด เป็นสาเหตุของการปวดศีรษะ 85-90% ของประชากรทั่วไป
ปวดศีรษะไมเกรนมีอาการดังต่อไปนี้
   -
ปวดเป็นพักๆ จะเป็นๆ หายๆ ข้างใดข้างหนึ่ง ปวดตุบๆ เหมือนชีพจรกำลังเต้น
บางรายปวดมากจนทำงานไม่ได้
          - อาการปวดมักปวดบริเวณหน้าผาก
รอบดวงตา ขมับและขากรรไกร
          - อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
         
- เห็นแสงสว่าง แสงสี ตาพร่ามัว ก่อนหรือระหว่างการปวดศีรษะ
          -
ระยะเวลาในการปวดนานประมาณ 2-3 ชั่วโมง
ซึ่งมักพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย


         
อาการปวดศีรษะมักจะเริ่มช่วงวัยรุ่นเมื่ออายุมากขึ้น
บางครั้งผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนอาจจะมีอาการนำ aura เช่นเห็นแสงแลบ
ตามองไม่เห็น ชาซีกใดซีกหนึ่งเรียกว่า “Classic Migrain”
แต่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการนำเรียกว่า “Common Migrain”
ถึงแม้ว่าไมเกรนเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด
แต่หากเข้าใจโรคและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ก็สามารถทำให้ควบคุมโรคได้





สาเหตุ
ของการปวดศีรษะไมเกรน
ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด
เชื่อว่าเกิดจากการหลั่งสารเคมีรอบๆ เส้นเลือดสมอง ทำให้มีการปวดเกิดขึ้น
ปัจจัย
กระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน
1.การนอนหลับมาก หรือน้อยเกินไป หรือนอนไม่เป็นเวลา
         
2.รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา หรืออดอาหารนานๆ น้ำตาลในเลือดต่ำ
         
3.เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และอาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรสและสารกันบูด
เนยแข็ง ช็อกโกแลต
          4.สิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง
อากาศร้อน รวมทั้งกลิ่นต่างๆ เช่น กลิ่นน้ำหอม กลิ่นเหม็น ควันบุหรี่
ควันจากท่อไอเสีย
          5.การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ
         
6.ฮอร์โมนเพศสูง ช่วงมีประจำเดือน และการตั้งครรภ์ในช่วงเดือนแรกๆ


การวินิจฉัย
         
แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคโดยการซักประวัติและตรวจร่างกายทางระบบประสาท
โดยถามถึงลักษณะอาการปวด ตำแหน่งที่ปวด ความรุนแรงของอาการปวด
อาการเตือนก่อนปวด และอาการร่วม รวมถึงระยะเวลาที่ปวดแต่ละครั้ง
ความถี่ของการปวด เป็นต้น สำหรับการปวดศีรษะจากโรคอื่นๆ
อาจมีลักษณะคล้ายกัน บางครั้งจึงมีความจำเป็นต้องตรวจพิเศษ
เพื่อจำแนกโรคให้ชัดเจน

การรักษาไมเกรน
         
1.ควรดูแลและรักษาสุขภาพอย่างใกล้ชิด นอนให้เพียงพอ นอนให้เป็นเวลา
         
2.หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ท่านสามารถสังเกตได้ เช่น อาหาร สิ่งแวดล้อม
         
3.การรักษาเพื่อขจัดความปวดโดยการใช้ยา ซึ่งมีทั้งยาแก้ปวดไมเกรน
และยาป้องกันไมเกรน ซึ่งการจะใช้ยาชนิดใด
ควรได้รับการแนะนำหรือปรึกษาจากแพทย์ก่อนที่มา โรงพยาบาลเวชธานี



ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากโรงพยาบาลเวชธานี






Free TextEditor







































































































 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 15 พฤษภาคม 2553 22:12:05 น.
Counter : 715 Pageviews.  

15 ข้อเตือนใจเมื่อเป็นไมเกรน



  ดูเหมือนว่า
อาการปวดหัวจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับหลายคนอยู่บ่อย ๆ
แต่หากคุณรู้สึกปวดหัวคุณอาจหาทางแก้ไขโดยหายามาทานเอง
หรือหาวิธีป้องกันอื่น ๆ แต่สิ่งที่ไม่ควรทำก็คือ การสูบบุหรี่
หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์





          ปัจจุบันนี้
ไมเกรนได้กลายเป็นปัญหาที่สร้างความหนักใจให้กับผู้หญิงส่วนใหญ่
จากการสำรวจพบว่าผู้หญิงร้อยละ 18
ต้องเผชิญกับปัญหานี้ต่างกับผู้ชายที่พบว่าเป็นเพียงร้อยละ 6 เท่านั้นเอง

         
อาการปวดหัวที่เกิดถ้านาน ๆ เป็นทีก็ไม่ควรวิตกกังวลให้มากนัก
แต่เมื่อไรที่คุณเป็นถี่มากขึ้น หรือมีการปวดมากจนไม่สามารถทำงานได้
อย่านิ่งนอนใจ ลองอ่าน 15 ข้อแนะนำต่อไปนี้ แล้วลองพิจารณาดูว่า
คุณเข้าข่ายเป็นไมเกรนหรือแค่ปวดหัวธรรมดากันแน่

1.
อย่าคิดว่าไมเกรนเป็นแค่อาการปวดหัวธรรมดา

         
คนที่เป็นไมเกรนจะปวดหัวรุนแรง และมักปวดหัวข้างเดียว
ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาโดยทันที คุณอาจจะต้องทรมานปวดหัวต่อไปอีก ถึงวันละ
4 ชั่วโมง นานถึง 3 วันติดกัน นอกจากนี้อาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้
แพ้แสงในลักษณะเห็นแสงแบบดาวระยิบระยับ หรือมักได้กลิ่นแปลก ๆ
ที่ไม่เหมือนกับคนอื่น หากยังละเลยปล่อยทิ้งไว้โดยไม่พบแพทย์
แน่นอนว่าอาการของคุณก็จะแย่ลงเรื่อย ๆ

2.
อย่าเก่งด้วยการเป็นหมอรักษาตัวเอง

         
หลายคนพยายามที่จะรักษาอาการปวดหัวด้วยตัวเองซึ่งถือว่าผิดมนันต์
จากสถิติพบว่า ผู้ป่วยไมเกรน 58 คน จาก 100 คน
ไม่เคยขอรับคำปรึกษาจากแพทย์เลย
ถึงแม้ยาแก้ปวดจะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวชั่วคราวได้ก็จริง
แต่หากอาการเข้าข่ายเป็นไมเกรน ยาแก้ปวดพาราเซตามอล 2 เม็ดคงไม่พอ
แต่การเพิ่มปริมาณยาให้มากขึ้น อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการติดยาในเวลาต่อมา
เพราะบางคนอาจทานยาถึง 16 วันใน 1 เดือน หรือมากกว่า 180 วันใน 1 ปี
ด้วยเหตุนี้จึงพบว่า ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งยังคงมีอาการปวดหัวอยู่
เนื่องจากทานยาแก้ปวดมากเกินไปนั่นเอง

          อย่างไรก็ดี
หากปวดหัวอยู่เป็นประจำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยโรคให้ถูกต้องจะดีกว่า
และให้ระมัดระวังยาที่ "เพื่อนบอกว่าใช้แล้วดี"
ด้วยเพราะไม่รู้ว่ายาตัวนั้นจะเหมาะกับเราหรือไม่

3. อย่าทานยาแก้ปวดต่างชนิดในวันเดียวกัน
         
หากคุณปวดหัวแล้วไม่ได้ไปปรึกษาแพทย์
ก็อย่าทานยาแก้ปวดหัวที่ต่างชนิดกันบ่อย ๆ
เพราะอาจจะทำให้มีอาการแย่ลงยิ่งกว่าเดิม
ไม่เพียงแค่นั้นยังทำให้แพทย์สันนิษฐานไม่ได้ หากเกิดอาการแพ้ยาขึ้น
นอกจากนี้อย่าทานยาตอนท้องว่าง เพราะอาจทำให้กระเพาะเกิดการระคายเคือง
ทางที่ดีแล้วควรทานอาหารรองท้องก่อนเล็กน้อย
แล้วค่อยทานยาเพื่อให้การดูดซึมยาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น



4. ไม่ควรทานยาช้าเกินไป
         
เมื่อใดก็ตามที่รู้สึกปวดหัว ไม่ควรเพิกเฉย
แต่ควรสังเกตอาการเริ่มแรกให้ดีเพื่อที่จะได้หายามาทานให้ทันท่วงที
เพราะหากช้าเกินไป เพียงแค่เราสัมผัสผมก็อาจทำให้ปวดหัวได้
ถ้าถึงตอนนั้นยาตัวใดก็ไม่สามารถช่วยระงับอาการปวดได้
สัญญาณเตือนที่บอกว่าคุณอาจจะเป็นไมเกรนคือ อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย เฉื่อยชา
โมโหง่าย อยากอาหารบางอย่างเช่น ของหวาน ๆ และออกอาการหาวแต่ไม่ได้ง่วงนอน

5. หากปวดหัวมากกว่า 3 ครั้งต่อเดือน
ยาแก้ปวดก็ช่วยไม่ได้แล้ว
          หากคุณมีอาการอย่างนี้บ่อย ๆ
การบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติ บางทีก็น่าลองดู เช่น อาจจะจ๊อกกิ้ง
ว่ายน้ำหรือขี่จักรยาน ถ้าไม่ถนัดกีฬาที่กล่าวมา
ก็อาจจะเล่นกีฬาชนิดไหนก็ได้ที่คุณชอบ เพียงแต่ขอให้เป็นการเคลื่อนไหวเบา ๆ
เพียงแค่วันละ 15 นาที ก็เพียงพอแต่ถ้าแค่คิดก็เหนื่อยแล้ว
ลองเปลี่ยนวิธีเป็นเดินในห้างสรรพสินค้าดูก็ได้นะ

         
แต่ก็มีบางคนที่จะต้องทานยาทุกวัน ถึงแม้ว่าจะไม่ปวดหัวก็ตาม
ตัวยาเหล่านี้แตกต่างจากยาแก้ปวดทั่วไปคือ ช่วยบรรเทาอาการปวดหัว
โดยทำให้ระบบทางเดินโลหิตและระบบประสาททำงานเป็นปกติ

6. หาสาเหตุให้ได้ว่า ทำไมเราจึงปวดหัว
         
สาเหตุที่ทำให้ปวดหัวมีมากเหลือเกิน
แต่ละคนก็ปวดหัวด้วยสาเหตุที่แตกต่างกันไป
เพราะฉะนั้นควรหาสาเหตุให้ได้ว่าทำไมเราจึงปวดหัว
เมื่อรู้แล้วจะได้หลีกเลี่ยงไม่ทำอย่างนั้น และพร้อมที่จะเผชิญกับมัน

7. อย่าเปลี่ยนกิจวัตรบ่อย ๆ
         
การนอนมากหรือน้อยกว่าปกติ การทานอาหารมากเกินไปหรือน้อยเกินไป
ล้วนเป็นสาเหตุที่อาจทำให้ปวดหัวได้ การที่ทำกิจวัตรต่าง ๆ
ไม่ต่อเนื่องกันนี้เสี่ยงต่อการปวดหัวโดยเฉพาะกับคนที่เป็น "ไมเกรน
ช่วงสุดสัปดาห์"

ซึ่งไม่ควรเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันช่วงวันเสาร์-อาทิตย์มากนัก
และอย่าได้ประเมินค่าการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรต่าง ๆ เหล่านี้ต่ำเกินไป
โดยเฉพาะยิ่งถ้าหากคุณเพิ่งฟื้นไข้
คุณจะต้องทานยาที่ถูกต้องและพกยาติดตัวไว้เสมอ
เผื่อว่าเกิดปวดหัวขึ้นมากะทันหัน
ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อาจทำให้ปวดหัวได้

8. อย่าคิดว่าการปวดหัวเป็นผลเคียงจากการมีประจำเดือน
         
การที่คุณปวดหัวทุกครั้งในช่วงที่มีประจำเดือนหรือช่วง 2
วันแรกก่อนมีประจำเดือนถึงจะแสดงว่าคุณเป็น "ไมเกรนในช่วงมีประจำ
เดือน"
ซึ่ง เกิดจากการที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดต่ำลง
ทำให้ปวดหัวนานกว่าเดิม มากกว่าเดิม และรักษายากยิ่งกว่าเดิม
ในกรณีนี้ไม่ควรเพิกเฉยต่ออาการดังกล่าวแต่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อดูอาการให้
แน่ใจ





9. ยาที่ใช้รักษาโรคอื่นอาจทำให้ปวดหัวได้
         

ยาที่แพทย์สั่งให้ทานเพื่อรักษาโรคอื่นที่เป็นอยู่อาจมีผลข้างเคียงทำให้เรา
ปวดหัวมากยิ่งขึ้นก็เป็นได้ในกรณีนี้ลองให้แพทย์สั่งยาตัวอื่นที่รักษาโรค
นั้น ๆ ได้และไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใด ๆ มาทานแทน

10. อย่าพยายามเอาชนะโรคไมเกรนสุดสัปดาห์
         
บางคนมักปวดหัวในช่วงสุดสัปดาห์เนื่องจากการพักผ่อนมากเกินไป
การพักผ่อนนี้ก็เป็นผลมาจากความเครียดสะสมที่เกิดขึ้นตลอดวันทำงานที่ผ่านมา
ทางที่ดีเราควรหลีกเลี่ยงเรื่องเครียดต่าง ๆ แล้วหากิจกรรมอื่นทำ เช่น
ปลูกต้นไม้ เล่นกับสุนัข

11.
อย่าหยุดทานยาคุมกำเนิดเพียงเพราะว่าปวดหัว
         
สำหรับผู้หญิงบางคนถ้าทานยาคุม ไมเกรนจะกำเริบมากยิ่งขึ้น
ในกรณีนี้ให้นำยาไปให้สูตินารีแพทย์ดู
เผื่อว่าแพทย์จะสั่งยาคุมตัวอื่นที่เหมาะกับเราให้เราลองทานดูได้
อย่างไรก็ตามหญิงสาวที่เป็นไมเกรน
และทานยาคุมด้วยนั้นจะต้องไม่สูบบุหรี่เป็นอันขาด
เพราะจะเสี่ยงต่อการที่เลือดแข็งตัวผิดปกติ

12.
หากคุณอยู่ในช่วงวัยทองอย่าทำการบำบัดฮอร์โมน
         
การบำบัดฮอร์โมน อาจยิ่งทำให้อาการปวดหัวแย่ลง หากจำเป็นจริง ๆ
ให้แพทย์สั่งยาที่จะช่วยคงสมดุลของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย
ที่เหมาะกับเราให้ดีกว่า

13.
อย่าทานยาแก้ปวดหัวในขณะที่ตั้งครรภ์อยู่
         
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3
เดือนแรกที่ตั้งครรภ์เพราะยาแก้ปวดบางตัวอาจทำให้แท้ลูก
หรือทำให้ลูกที่อยู่ในครรภ์พิการได้ ดังนั้น
เพื่อให้แน่ใจว่าทานยาได้หรือไม่ ควรไปปรึกษาแพทย์เสียก่อน

14. อย่ารักษาแต่อาการปวดหัวอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ
ก็ต้องรักษาด้วย
         
โดยปกติไมเกรนอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ด้วย เช่น
วิงเวียนและคลื่นไส้อาเจียน ในกรณีนี้ให้ทานยาแก้วิงเวียน
ซึ่งจะทำให้กระเพาะอาหารซึมซับยาได้ดีขึ้นและทำให้หายปวดหัวได้
ส่วนอาการแทรกซ้อนอีกย่างก็คือ คลื่นไส้อาเจียน
ควรไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์สั่งยาให้





15. ไม่ได้มีแต่ยาที่ช่วยแก้ปวดหัว
         
หากคุณได้รับความทุกข์ทรมานจากการปวดหัวอยู่บ่อย ๆ
ยังมีทางเลือกอื่นที่จะรักษาอาการปวดหัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่ผู้เชี่ยวชาญพิเศษแนะนำนั่นก็คือ ไบโอฟีดแบ็ก (Biofeedback) คือ
กรรมวิธีการรักษาผู้ที่ป่วยเป็นโรคไมเกรน
หรือโรคเครียดที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง
นอกจากนี้ยังช่วยรักษาผู้ที่เป็นแผลเรื้อรัง ระบบขับถ่ายไม่ดี
ความดันเลือดสูง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ฯลฯ เทรนนิ่งออโตเจโน (Training
Autogeno) คือการควบคุมตัวเองเพื่อให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย
เหมาะกับคนที่ชอบวิตกกังวล เป็นไมเกรน มีความเครียดสูงหรือเป็นโรคหอบหืด
และการฝังเข็ม
วิธีการเหล่านี้ต่างก็ได้รับการยืนยันว่าช่วยลดอาการปวดหัวได้


Tips
1.
หากคุณคิดว่าตัวเองเป็นไมเกรนแน่นอนแล้วละก็

คุณควรจะหาชาสมุนไพรเก๊กฮวยดื่มซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้

2.
หากใครกำลังใช้ยารักษาไมเกรนยี่ห้อ Avamigram, Cafergot, Degran,
Poligot-CF และ Polygot
ควร จะต้องรู้ว่าห้ามทานเกิน 6 เม็ดต่อวัน
หรือ 10 เม็ดต่อสัปดาห์ หากต้องการให้ได้ผลควรนอนพักผ่อนในห้องที่มืด เงียบ
และอุณหภูมิที่เหมาะสม แต่หากมีอาการข้างเคียง เช่น ขาไม่มีแรงเจ็บหน้าอก
แขน คอ ไหล่ หรือปวดท้อง ปลายมือเท้าชา และรู้สึกเย็นซ่า
รีบหยุดยาแล้วไปพบแพทย์ทันที



ขอขอบคุณ
ข้อมูลดีๆจาก











Free TextEditor







































































































 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 15 พฤษภาคม 2553 22:10:33 น.
Counter : 596 Pageviews.  

สมองเสื่อม...ความผิดปกติที่รักษาได้



สมองของคนเราเป็นอวัยวะที่มีความสลับซับซ้อนในการทำงาน
เซลล์สมองเป็นเซลล์ที่มีความจำเพาะ และเปราะบางที่สุด
หากเซลล์สมองซึ่งในคนปกติมีอยู่นับพันล้านตัวเกิดการเสียหาย
จะไม่มีการสร้างมาทดแทนได้เช่นอวัยวะอื่นๆ
มนุษย์เราทราบถึงความมหัศจรรย์ในการทำงาน และความสามารถของสมองมานานแล้ว
จึงได้พยายามหาวิธีที่จะเพิ่มศักยภาพของสมองให้ตัวเองฉลาดขึ้น
หรือหายาที่จะช่วยบำรุงให้สมองดีขึ้น แต่ก็ยังไม่ประสพผลสำเร็จ ตรงกันข้าม
คนส่วนใหญ่เมื่ออายุมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
มักมีปัญหาเรื่องความจำ มักจะหลงลืมง่าย หรือบุคลิกภาพ
และอารมณ์ผิดไปจากปกติ บางรายเป็นมากจนจัดอยู่ในขั้นภาวะสมองเสื่อม

         
เมื่อพูดถึงโรค “สมองเสื่อม” เรามักคิดถึงโรคอัลไซเมอร์ก่อนเป็นสิ่งแรก
ทั้งที่ในความจริงแล้วสมองเสื่อมคือภาวะหนึ่งของสมองซึ่งเกิดได้จากหลาย
สาเหตุ และที่สำคัญ ใช่ว่าภาวะนี้จะเกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น
ในผู้ที่มีอายุน้อย วัยรุ่นหนุ่มฉกรรจ์ ก็อาจเกิดภาวะสมองเสื่อมได้เช่นกัน
โดยอาจมีสาเหตุมาจากโรคพันธุกรรม โรคการติดเชื้อของสมอง สารพิษ
โรคหลอดเลือดสมอง หรือแม้กระทั่งอุบัติเหตุ เป็นต้น

ภาวะสมองเสื่อม
คืออะไร

         
เพื่อความเข้าใจถึงภาวะสมองเสื่อมที่ชัดเจน นายแพทย์สุพล
เจริญจิตต์กุล
อายุรแพทย์ระบบประสาท
ศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้อธิบายไว้ว่า
         
“โดยทั่วไปคนไข้มักจะเข้าใจว่าภาวะสมองเสื่อมก็คือการมีความจำแย่ลง
แต่จริงๆ แล้วยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม
การรับรู้-การเรียนสิ่งใหม่ๆ เสื่อมถอย
นอกจากนี้บางคนอาจมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติอันเนื่องมาจากการทำงานของสมอง
ที่เสื่อมลง เช่น ในโรคพาร์คินสันซึ่งก็คือภาวะสมองเสื่อมอย่างหนึ่ง
คนไข้อาจจะมือสั่น เดินซอยเท้า การทรงตัวไม่ดี แต่โดยทั่วไปแล้ว
อัลไซเมอร์เป็นโรคที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด
คือเกือบครึ่งหนึ่งของคนไข้ที่มีภาวะสมองเสื่อม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไข้ที่อายุเกิน 65 ปี
ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุยังอาจเกิดจากโรคของหลอดเลือดสมอง
ทั้งหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก

          “ส่วนสาเหตุอื่นๆ
ที่สามารถนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้ในทุกวัยนั้นมีอยู่มากมาย
ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อในสมอง เช่น เชื้อไวรัส
Herpes Encephalitis, ซิฟิลิสขึ้นสมอง,
ภาวะเนื้องอกในสมองส่วนที่ควบคุมพฤติกรรม, ภาวะน้ำในโพรงสมอง (Normal
Pressure Hydrocephalus), เลือดออกที่ใต้เยื่อหุ้มสมอง (Subdural
Hematoma), การขาดวิตามินบี12, ผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง,
โรคลมชักที่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง, ผู้ได้รับสารพิษ เช่น สารตะกั่ว
เป็น
ต้น โดยภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มนี้หากได้รับการวินิจฉัยโรคโดยเร็ว
และทำการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที
ผู้ป่วยก็มีโอกาสที่จะกลับคืนสู่สภาพปกติได้ แต่หากได้รับการรักษาช้า
สมองย่อมจะถูกทำลายไปมาก
แม้จะได้รับการรักษาก็อาจมีความพิการของสมองหลงเหลืออยู่ได้”

การ
รักษาภาวะสมองเสื่อมทำได้อย่างไร

การรักษาภาวะสมอง
เสื่อมนั้น คุณหมอสุพลบอกว่า
มีทั้งโรคที่สามารถรักษาได้ผลดีและรักษาได้บางส่วน
แต่ก็สามารถทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
         
“อยากให้ตระหนักกันว่า ยังมีภาวะสมองเสื่อมที่เกิดจากโรคต่างๆ
ซึ่งสามารถรักษาได้หากมาพบแพทย์ทันท่วงทีและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
ไม่ใช่มองแต่ว่าภาวะสมองเสื่อมคืออัลไซเมอร์ และรักษาไม่หายขาด”
คุณหมอกล่าว

          แต่ก่อนจะถึงขั้นตอนของการรักษา
จะต้องทราบถึงสาเหตุเสียก่อน
ดังนั้นขั้นตอนในการวินิจฉัยโรคจึงมีความสำคัญมาก

         
“ก่อนอื่นเราต้องตรวจให้ได้เสียก่อนว่าคนไข้มีภาวะสมองเสื่อมจริงหรือไม่
เพราะยังมีภาวะสมองเสื่อมเทียม (Pseudodementia) ที่อาจเกิดจากโรคซึมเศร้า
คนไข้จะมีอาการวิตกกังวล ไม่มีสมาธิที่จะจดจำสิ่งต่างๆ ได้ดีเหมือนคนปกติ
อาการเช่นนี้ก็ทำให้ดูเหมือนมีภาวะสมองเสื่อมได้เช่นกัน
ส่วนจะใช้เวลานานเพียงใดกว่าที่จะแสดงอาการของภาวะสมองเสื่อมนั้น
ไม่สามารถบอกได้ แต่กลุ่มที่มีภาวะสมองเสื่อมเทียมจากอาการซึมเศร้า
คนไข้จะแสดงอาการไม่นานก็มักมาพบแพทย์ แต่หากเป็นอัลไซเมอร์
จะใช้เวลาเป็นเดือนในการที่จะแสดงอาการให้ชัดเจนขึ้น
ซึ่งส่วนใหญ่ต้องอาศัยข้อมูลการเฝ้าสังเกตอาการจากญาติถึงความเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้น

          “เมื่อตรวจพบว่าคนไข้มีภาวะสมองเสื่อมจริง
แพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อแยกโรคต่างๆ ซึ่งรวมการตรวจเลือด การตรวจสมองด้วยการทำ CT Scan หรือการตรวจ MRI
ตรวจคลื่นสมอง EEG
เป็นต้น เมื่อทราบสาเหตุแล้วก็รักษาที่ต้นเหตุ
แต่การรักษาจะได้ผลดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของโรค ตัวอย่างเช่น
การติดเชื้อในสมอง คนที่มีอาการ 1 วัน
สมองย่อมจะไม่ถูกทำลายมากเท่ากับคนที่มีอาการมาแล้ว 4-5 วัน
เมื่อได้รับการรักษา สมองย่อมฟื้นตัวได้ดีกว่า ยิ่งมาพบแพทย์เร็ว
ได้รับการรักษาเร็ว สมองก็แทบจะไม่มีผลเสียหายตามมา”





จะ
ป้องกันตนเองจากภาวะสมองเสื่อมได้อย่างไร

         
คุณหมอสุพลยังได้ฝากวิธีง่ายๆ
ในการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม คือการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
อาจจะโดยการวิ่งเหยาะๆ วันละ 30 นาที ให้ได้มากกว่า 4 ครั้งต่อสัปดาห์

นอกจากนี้ต้องดูแลตัวเองไม่ให้มีปัจจัยเสี่ยง ไม่ให้มีเบาหวาน
ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง สิ่งใดที่ทำแล้วเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ไม่ว่าจะเป็นการดื่มสุรา สูบบุหรี่ ควรงดเสีย และเมื่อเกิดอาการผิดปกติใดๆ
อย่าซื้อยารับประทานเอง
เพราะยาหลายชนิดจะทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมเมื่อรับประทานเป็นระยะเวลานานๆ
โดยไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์
หรือยาบางชนิดก็ทำให้เกิดอาการมือสั่นหรือแข็งเกร็งคล้ายพาร์คินสันได้


“ที่สำคัญคือทั้งตัวเราเอง
และบุคคลรอบข้างควรสังเกตซึ่งกันและกันคือถ้ามีบุคลิกเปลี่ยนแปลง สับสน
ความจำเสื่อมลง พฤติกรรมเปลี่ยนไป ยิ่งถ้ามีไข้ร่วมด้วย
ยิ่งต้องรีบพามาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป” คุณหมอสุพลกล่าวสรุป






Free TextEditor
































































































 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2553    
Last Update : 15 พฤษภาคม 2553 21:54:15 น.
Counter : 497 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.