ภัยของน้ำยาบ้วนปาก



แพทย์โรงพยาบาลราชวิถี เตือนคนไทยถึง "น้ำยาบ้วนปาก"
หากใช้มากๆนานๆ ทำตุ่มรับรสเพี้ยน เกิดเชื้อราช่องปาก สีฟันเปลี่ยน
หินปูนเกิดง่าย ส่วนยาสีฟันที่อ้างลดแบคทีเรียนั้น
มีประสิทธิภาพเท่ากับแปรงฟันอย่างถูกวิธี ส่วนคนไทย 9 ล้านคนมีกลิ่นปาก
และแนะวิธีเช็กกลิ่นปาก



น้ำยาบ้วนปาก, ปาก, ช่องปาก, <br>กลิ่นปาก, อาหาร, โรงพยาบาลราชวิถี



ท.ญ.นพมณี วงษ์กิตติไกรวัล ทันตแพทย์กลุ่มงานทันตกรรม
โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า
ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าการใช้น้ำยาบ้วนปากมีไว้เพื่อกำจัดกลิ่นปาก
แต่ที่จริงแล้ว เป็นเพียงการกลบกลิ่นปากด้วยกลิ่นของน้ำยาใน
ระยะสั้นเท่านั้น จากนั้นไม่นานก็กลับมามีกลิ่น ปากเช่นเดิม
การใช้น้ำยาบ้วนปากติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้ไปทำลาย
เชื้อแบคทีเรียที่ดีที่อาศัยอยู่ในปากให้ตายไปด้วย
อาจนำมาซึ่งเชื้อราในช่องปาก ทำให้ตุ่มรับรสของลิ้นเพี้ยนไป
มีสีเคลือบผิวฟันที่เปลี่ยนแปลง หรือทำให้เกิดหินปูนได้ง่าย
ส่วนยาสีฟันที่อ้างว่าว่าสามารถลดแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของกลิ่นปากได้
นั้น ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันชัดเจนว่า
ยาสีฟันจะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อในปากได้ ซึ่งประสิทธิภาพของยาสี
ฟันที่อ้างว่าลดแบคทีเรีย ไม่แตกต่างกับการแปรงฟันด้วยยาสี
ฟันอะไรก็ได้อย่างถูกวิธีและใช้ไหมขัดฟันในซอกฟันส่วนที่แปรงไปไม่ถึง
กลิ่นปากเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในช่องปากชนิดที่ไม่ใช้ออกซิ เจน
ผลิตก๊าซในกลุ่มซัลเฟอร์ กลิ่นปากยังเกิดได้จากผู้ป่วยมีโรคอื่นๆ
อยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคกรดไหลย้อน หากรักษาโรคเหล่านั้นกลิ่นปากก็จะหายไป
รวมทั้งกลิ่นปากจากโรคในช่องปาก เช่น โรคปริทนต์ โรคเหงือก ฟันผุ ฯลฯ



วิธีการตรวจว่ามีกลิ่นปากจริงหรือไม่นั้น ทำได้โดยการสังเกต
จากคนรอบข้าง หรือเอาช้อนมาขูดลิ้นแล้วทิ้งไว้ 5 วินาที จากนั้นนำมาดม
หากพบว่ามีกลิ่นเหม็นก็แนะนำให้มาพบทันต แพทย์เพื่อตรวจเช็กปัญหาในช่องปาก








Free TextEditor

























Create Date : 30 เมษายน 2553
Last Update : 30 เมษายน 2553 12:05:10 น. 0 comments
Counter : 369 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.