เรื่องหมูๆ ของคนเลี้ยงหมู



           
เรื่องของพลังงานทดแทนกับเรื่องหมูๆ
คงหนีไม่พ้นเรื่องราวของขี้หมูเป็นแน่แท้ 
และเราก็ยังคงวนเวียนอยู่ทางภาคเหนือ  ในจังหวัดลำพูน 
ติดถนนซูเปอร์ไฮเวย์ทางไปจังหวัดเชียงใหม่  จะมีป้ายป่าชุมชนอยู่ซ้าย 
เลี้ยวเข้าไปปั๊บ  ก็จะเป็นบ้านทุ่งยาว ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน
จังหวัดลำพูนแล้ว

           
แต่ก่อนที่จะไปพบเจอกับหมูๆ ขอเกริ่นถึงจุดเด่นของบ้านทุ่งยาว 
สักเล็กน้อย 
ด้วยความเข้มแข็งของชุมชนที่ช่วยกันรักษาประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของท้อง
ถิ่นไว้ได้มากกว่า 94 ปี พร้อมพัฒนาให้เป็น “ศูนย์เรียนรู้บ้านทุ่ง
ยาว(ป่าน้ำจำ)”


           
ตามปกติเวลามาดูงานตามสถานที่ต่างๆ ก็ต้องเข้าฐานกันก่อน 
แต่ที่บ้านทุ่งยาวนี้  ฐานแรกก็คือการนั่งอู้จากันก่อน 
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์รวมถึงความเป็นมาของเจ้าบ้านและผู้มา
เยือน  เมื่อทั้งสองได้ทราบข้อมูลกันพอสังเขป 
ก็ได้เวลาเดินลัดเลาะไปตามหมู่บ้านเพื่อเรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อ
วิถีชีวิตของขาวบ้าน

“บ้านทุ่ง
ยาวตั้งแต่หัวบ้านจรดท้ายบ้าน 
ไม่มีกั้นรั้วทุกบ้านจะต้องถ่างไว้ให้คนเดินทะลุกัน  เพื่อให้พึ่งพากันได้ 
ซึ่งที่อื่นไม่มีแล้ว  เรื่องประเพณี กินข้าวใหม่ทุกครัวเรือนที่ทำนา
ในวันที่ 1 ม.ค. ต้องเอาข้าว 1 กระสอบมาทำบุญที่วัด  ให้ล้นบาตร 
เชื่อกันว่าให้เหลือกินเหลือใช้ 
และต้องเอาข้าวไปทำบุญให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว  ถึงจะเอาข้าวมากินได้ 
เขาถือว่าเราสืบทอดมรดกจากปู่ย่าตายายทำให้มีกินมีอยู่จนทุกวันนี้”
ระ
วิวรรณ  กันชัยสัก  ประธานกลุ่มแม่บ้านยกตัวอย่างให้ฟัง

           
ส่วนเรื่องพลังงานหมูๆ นั้น 
ที่นี่ก็โดดเด่นไม่แพ้กันเพราะเขาทำกันมากกว่า 17 ปีแล้ว  มีชาวบ้านกว่า 70
ครัวเรือนได้ใช้ก๊าซจากขี้หมูฟรีมาตลอด


“เมื่อก่อนหมูกินผัก  ขี้ไม่เหม็น  เกิดปัญหาในชุมชน 
จึงมาหาทางออกร่วมกันและไปขอคำปรึกษากับเกษตรอำเภอ 2538
ได้รับคำแนะนำให้รวมเป็นกลุ่มแม่บ้าน 
ขอความช่วยเหลือจากกกรมส่งเสริมบ่อก๊าซชีวภาพไทยเยอรมัน จ.เชียงใหม่
และส่งชาวบ้านไปอบรมการสร้างบ่อ (จินดา  งำเมืองตึง)
หลังจากนั้นก็ได้รับงบประมาณมา 40,000 บาท ในการก่อสร้าง”

พี่รวิรรณ เล่าที่มา

“ขี้หมูและ
ฉี่หมูจากโรงหมู  จะถูกวาดลงราวไหลมาบ่อหมัก  ก่อนจะไปบ่อล้น 
คอยควบคุมแรงดันและไหลมาลงบ่อหมัก  ก่อนจะไปบ่อล้น 
คอยควบคุมแรงดันและไหลไปบ่อตะกอน 
ซึ่งแยกกากตะกอนออกมาโดยกากสามารถทำปุ๋ยได้ 
จากนั้นน้ำที่เหลือก็จะไหลไปพักที่บ่อน้ำใสและไหลไปพักอีกครั้งที่บ่อสุด
ท้ายจะเป็นสระน้ำใช้”
ช่างจินดา  งำเมืองตึง อธิบายอย่างรวดเร็ว 
ขณะกำลังปรับปรุงบ่อของลุงเผด็จ  สมโชติพร้อมเปิดแบบแปลนให้ดู 
โดยให้ข้อสังเกตไว้ว่าการทำบ่อหมักนั้น  ควรได้รับการฝึกอบรมอย่างถูกต้อง 
ซึ่งมีหลายหน่วยงานคอยให้คำแนะนำอยู่หรือจะเป็นในรูปแบบของผู้รับเหมาช่วง
ต่อก็มีในกรณีที่ชุมชนต้องการความช่วยเหลือในการก่อสร้าง





           
ทั้งนี้จากผลิตก๊าซชีวภาพในชุมชนบ้านทุ่งยาวสามารถลดใช้จ่ายได้ประมาณ 300
บาท/เดือน/ครัวเรือน แล้วทั้งหมด 70 ครัวเรือน  ใช้ก๊าซชีวภาพมา 17 ปี
คิดเป็นเงินประมาณ 4,284,00 บาท เห็นตัวเลขแล้วไม่ใช่น้อย 
หลายคนกำลังเป่าปากไม่อยากจะเชื่อ  แต่นี่คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นที่ ณ
บ้านทุ่งยาว

 
หากใครสนใจไปร่วมเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันสามารถสอบถามราย
ละเอียดได้ที่ คุณวิวรรณ  กันชัยสัก ประธานกลุ่มแม่บ้าน โทร.  08 1024 6712







Free TextEditor







































































































Create Date : 28 พฤษภาคม 2553
Last Update : 28 พฤษภาคม 2553 15:45:14 น. 0 comments
Counter : 718 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.