ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก คุณรู้จักอาการเหล่านี้ ดีพอแล้วหรือยัง?




























































ปวดท้อง


       อาการปวดท้องอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
และบางสาเหตุอาจ ทราบได้ไม่ยากจากตำแหน่งที่ปวด ความรุนแรงของการปวด
ระยะเวลาที่ปวด รวมถึงลักษณะของการปวด


ดังนั้นการสังเกตรูปแบบของการปวดจึงเป็นสิ่งจำเป็น
หากคุณสามารถอธิบายอาการปวดของคุณได้ละเอียดเพียงใด
ก็จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น


โดยทั่วไปอาการปวด
อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่



  • อาการ
    ปวดแบบทั่วทั้งท้อง หมายถึง
    ตำแหน่งปวดกินพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของหน้าท้องหรือมากกว่า
    ส่วนใหญ่อาจเกิดจากอาหารไม่ย่อย หรือมีเชื้อโรคบางชนิดปนเปื้อนมากับอาหาร
    อาการอาจไม่หนักหนามากแต่ถ้าไม่ดีขึ้นหรืออาการรุนแรงกว่าเดิมคุณควรไป
    ปรึกษาแพทย์

  • อาการปวดท้องเฉพาะที่ หมายถึง
    ปวดบริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของช่องท้อง
    มีอาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทวีความรุนแรงขึ้นในเวลาไม่นาน
    อาจเกิดจากอวัยวะภายในอักเสบเฉียบพลัน เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ
    หรือกระเพาะอาหารอักเสบ

  • อาการปวดเกร็งแบบ
    เป็นตะคริว หมายถึง ปวดบ้างคลายบ้าง เป็นๆ หายๆ คล้ายกับลูกคลื่น
    อาการอาจทุเลาเมื่อผายลมหรือถ่ายออกมา แต่ไม่นานก็มีอาการปวดอีก


เนื่องจากโรคต่าง ๆ
ภายในช่องท้องมักทำให้เกิดอาการปวดท้องร่วมด้วย
อาการข้างต้นอาจเกิดจากอวัยวะต่าง ๆ เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ ตับอ่อน
ถุงน้ำดี เป็นต้น


คุณควรรักษา
สุขภาพด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น
ผักและผลไม้ ดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น
ลดละอาหารเผ็ดมัน รวมถึงอาหารหรือเครื่องดื่มที่ก่อให้เกิดแก๊ส
และไม่ปล่อยให้ท้องว่างนานเกินไป



คุณควรไปพบแพทย์เมื่อใด?



  • เมื่อคุณรู้สึกไม่สบายท้อง
    ปวดท้องติดต่อกันมาหลายวัน

  • ปวดท้องมาก
    ติดต่อกัน หรือปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ ภายใน 1-2 วัน

  • มีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกายร่วมด้วย

  • ปวดท้องระหว่างตั้งครรภ์

  • ปวดท้อง
    เวลาปัสสาวะ หรือปัสสาวะบ่อยผิดปกติ

  • มี
    อาการปวดท้องระหว่างกำลังรักษาโรคอื่นอยู่


ควรอดทนต่ออาการ
ปวดท้องหรือไม่


คุณ
ไม่ควรทนอยู่หลายวัน บางท่านอาจคิดว่ามีแต่เด็กๆ
เท่านั้นที่ต้องไปพบแพทย์เพราะอาการปวดท้อง
แต่ในความเป็นจริงผู้ใหญ่ก็ไม่มีข้อยกเว้น หากคุณรู้สึกปวดท้องไม่มาก
การใช้ยาสามัญประจำบ้านอาจจะเพียงพอในระยะสั้น
แต่ถ้าหากปวดท้องต่อเนื่องทั้งวัน คุณก็ไม่ควรทนกับอาการปวดนานเกินไป
เพราะอาจมีสาเหตุมาจากโรคที่รุนแรงก็เป็นได้



























ท้องเสีย


อาการถ่ายเหลวหรืออุจจาระ
เป็นน้ำ โดยมากมีสาเหตุจากการติดเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส
หรือเชื้อพยาธิที่เข้าสู่ร่างกายพร้อมอาหารหรือน้ำดื่มที่ไม่สะอาด
หรืออาจไม่เกี่ยวกับเชื้อโรคแต่เป็นเรื่องของความเครียด กังวล
หรือผลข้างเคียงจากยาบางอย่างก็เป็นได้
อาการท้องเสียในเด็กเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาโดยเร็ว
มากกว่าผู้ใหญ่


เมื่อคุณมี
อาการท้องเสีย
คุณควรดื่มน้ำเปล่าและเครื่องดื่มเกลือแร่เพื่อรักษาสมดุลของน้ำและแร่ธาตุ
ในร่างกาย หลีกเลี่ยงนมสด คาเฟอีน อาหารไขมันสูงและอาหารทะเล
และพยายามพักผ่อนให้มาก


ความ
สะอาดเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ห่างไกลจาก อาการท้องเสีย
คุณควรล้างมือเป็นประจำก่อนและหลัง รับประทานอาหาร
ระวังอาหารและน้ำดื่มเป็นพิเศษเมื่อเดินทาง ไม่รับประทานของสุก ๆ ดิบ ๆ
หากไม่แน่ใจเรื่องความสะอาดก็ไม่ควรลอง


คุณควรไปพบ
แพทย์เมื่อใด?



  • เมื่อท้องเสียติดต่อกันมากกว่า 2-3 วัน

  • เมื่อร่างกายเกิดอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง
    กระหายน้ำ ปัสสาวะมีสีเข้ม อ่อนเพลีย หน้ามืด เวียนศีรษะ

  • เมื่ออุจจาระมีเลือดปนหรือออกสีดำ

  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส

  • มีอาการปวดท้องมาก หรือปวดบริเวณทวารหนัก


เมื่อ
ท้องเสียควรรีบรับประทานยาหรือไม่?


อาจไม่จำเป็นเสมอไป
การขับถ่ายเป็นการระบายเชื้อโรคและของเสียออกจากร่างกาย
การใช้ยาบางชนิดเพื่อหยุดการขับถ่ายในทันที (เช่น ยาโลเพอราไมด์)
อาจทำให้เชื้อโรคถูกกักอยู่ในร่างกายและอาจมีผลเสียติดตามมา
รวมถึงการทำให้อาการต่าง ๆ หายช้าลงได้

























ท้องผูก



อาการท้องผูก
หมายถึง การถ่ายอุจจาระยาก ถ่ายแข็งต้องออกแรงเบ่งมาก หรือนาน ๆ
ถ่ายทีไม่บ่อยเหมือนเคย ท้องผูกเป็นปัญหาเรื่องการขับถ่ายที่พบบ่อย
สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง ได้แก่
การขาดกากใยอาหารที่ได้จากการย่อยอาหารประเภทผักผลไม้
กากใยเหล่านี้จะช่วยให้อุจจาระไม่เหนียวแข็งและถ่ายได้โดยง่าย


อาการท้องผูกอาจเกิดจากการที่ร่างกายต้อง
ปรับเปลี่ยนระบบขับถ่าย เช่น ช่วงระหว่างการเดินทาง ความเครียด
การตั้งครรภ์เป็นต้น วัยสูงอายุก็อาจมีส่วนให้การขับถ่ายแปรปรวนได้เช่นกัน



การป้องกันอาการท้องผูกทำได้ไม่ยาก
เพียงคุณปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตด้วยการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง
เช่น ผัก ผลไม้ หรือธัญพืช ดื่มน้ำให้เพียงพอ
ไม่ควรอั้นอุจจาระเมื่อร่างกายต้องการจะถ่าย ไม่ใช้ยาถ่ายพร่ำเพรื่อ
และออกกำลังกายสม่ำเสมอ



คุณควรไปพบแพทย์เมื่อใด?



  • เมื่อมีอาการท้องผูกมากกว่า 1-2 สัปดาห์ หรืออาการไม่ดีขึ้นภายใน
    3-4 วัน แม้จะปรับเปลี่ยนอาหารแล้วก็ตาม

  • อุจจาระ
    มีเลือดปน

  • มีอาการปวดท้องรุนแรงร่วมด้วย

  • มีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย

  • มี
    อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด


คนปกติควรถ่ายทุกวันหรือไม่?


บางคนอาจคิดว่าการไม่ถ่ายทุกวันแสดงว่า
ท้องผูก หรือคิดว่าการเก็บของเสียไว้นาน ๆ
ร่างกายจะดูดซึมของเสียกลับเข้าไปใหม่ ความคิดเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องจริง


ที่จริงการขับถ่ายเป็นกิจวัตรที่แตกต่าง
กันไปในแต่ละคน การถ่ายตั้งแต่วันละ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ถึงสัปดาห์ละ 3-4
ครั้ง ไม่ถือว่าผิดปกติ
ดังนั้นแม้คุณอาจไม่ได้ถ่ายทุกวันก็ไม่ควรกังวลเกินไป
ถ้าคุณเป็นเช่นนั้นมานานมากจนเป็นนิสัยประจำไปแล้ว














นิตยสาร Better Health
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์









Free TextEditor






































Create Date : 15 พฤษภาคม 2553
Last Update : 15 พฤษภาคม 2553 13:27:31 น. 0 comments
Counter : 600 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.