สารพัดวิธีช่วยชีวิตลูกน้อย จากอุบัติเหตุใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

     
เมื่อเอ่ยถึงเรื่อง “ อุบัติเหตุ ”
หลายคนคงจินตนาการถึงภาพของความชุลมุนวุ่นวายในการพยายามช่วยเหลือผู้บาด
เจ็บ
รวมไปถึงภาพการสูญเสียชีวิตของบุคคลอันเป็นที่รัก...เหตุการณ์เหล่านี้ส่วน
ใหญ่เกินจากความประมาทที่คิดเพียงว่า... นิดเดียว...แป๊บเดียว...
แต่ทราบหรือไม่ว่า!! ในช่วงเวลาสั้นๆ
นี้สามารถแปรเปลี่ยนเป็นภาพความทรงจำที่เลวร้ายตราบนานเท่านาน...

         
จากความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัยนี้เอง Modern Mom
นิตยสารเลี้ยงลูกยอดนิยมของแม่ยุคใหม่เพื่อความสมดุลของชีวิต

ได้มีโอกาสร่วมแบ่งปันความรู้ดีๆ สำหรับครอบครัวในงานครบรอบ 10 ปี
“รักลูกเฟสติวัล” โดยชูประเด็นเกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัย
เพื่อป้องกันอุบัติภัยให้ลูกน้อย ภายใต้หัวข้อเสวนา  “ห่างไกลอุบัติเหตุ...
รู้จัก First  Aids เพื่อลูกน้อย” 
โดยได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญนำโดย รศ.นพ.อดิศักดิ์
ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัย
และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี
ซึ่งครั้งนี้คุณหมอได้แนะนำแนวทางในการจัดการความปลอดภัยสำหรับเด็กอายุน้อย
กว่า 3 ปี พร้อมรวบรวมเทคนิคต่างๆ ในการปฐมพยาบาล
ตั้งแต่การปั้มหัวใจประคองชีวิต
รวมถึงวิธีการเอาสิ่งของออกจากคอลูกน้อยอย่างถูกต้อง... 

         
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ชี้ให้เห็นถึงอัตราการเสียชีวิตของเด็กทารก (น้อยกว่า 1 ปี)
จากการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุปีละ 122 ราย และเด็กอายุขวบปี 280 ราย
โดยส่วนใหญ่เกิดกับเด็กชาย และการจมน้ำถือเป็นสาเหตุหลัก
ตลอดจนการขาดอากาศหายใจในแบบต่างๆ และจากกระแสไฟฟ้า สารพิษ การหนีบทับ
ชนกระแทก และพลัดตกจากที่สูง ดังนั้น
เพื่อการป้องกันจึงเน้นให้คุณพ่อคุณแม่
และคนในครอบครัวหันมาใส่ใจกับเรื่องอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ทุก
วินาที... โดยเฉพาะสำหรับเด็กเล็กวัยขวบปีแรกที่ไม่สามารถพูด
หรือช่วยเหลือตัวเองได้ เพื่อเตรียมพร้อมป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน... 



         
“อุบัติเหตุที่มักเกิดกับเด็กเล็กๆ มีตั้งแต่การบาดเจ็บเพราะ
รถหัดเดินพลิกคว่ำ การเขย่าตัวเด็ก
ซึ่งนำไปสู่ภาวะเลือดออกในสมองและประสาทตา แขนขาหัก
นอกจากนั้นยังมาจากของเล่นที่เป็นเส้นสายยาวกว่า 22 ซม.
ซึ่งมีความเสียงต่อการรัดคอเด็ก รวมถึงเตียงนอน เครื่องนอน หรือท่านอน
จากการศึกษาพบว่าในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีเสียชีวิตต่อปีถึง 180 ราย
ซึ่งมีสาเหตุจากการขาดอากาศหายใจเพราะการติดค้างของศีรษะในช่องว่างระหว่าง
เตียงกับกำแพง หรือเฟอร์นิเจอร์อื่น หรือซี่ราวที่มีช่องว่างตั้งแต่ 6
ซ.ม.ขึ้นไป
รวมไปถึงท่าการนอนคว่ำที่เชื่อกันว่าจะทำให้ศีรษะของลูกทุยสวย...ซึ่งท่านอน
ที่ถูกต้องควรเป็นท่านอนหงาย มีระยะห่างจากผู้ใหญ่ที่นอนด้วยอย่างน้อย 1
เมตร และใช้ที่นอนแบบไม่อ่อนนุ่มเกินไป เพื่อยับยั้งอันตรายได้ครับ” 

รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าว
สำหรับการจัดการความปลอดภัยให้เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปีนั้น
สามารถทำได้ 3 แนวทาง คือ
1.จัดสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กให้ปลอดภัยทั้งใน
บ้าน นอกบ้าน และการเดินทาง โดยแยกเด็กออกจากจุดอันตราย เช่น ตู้ ประตู
บันได ปลั๊กไฟ ของมีคม สารพิษ และแหล่งน้ำ 
2.เฝ้าดูแล
ปกป้องคุ้มครองเด็กโดยผู้ดูแลให้อยู่ในสายตาตลอดเวลาและควรมีความรู้เรื่อง
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
3.สอนเด็กให้หลีกเลี่ยงจุดอันตราย
หรือทักษะการช่วยเหลือตัวเอง ซึ่งในเด็กอายุ 18
เดือนสามารถเรียนรู้คำสั่งง่ายๆ ได้  

ทั้งนี้ คุณหมออดิศักดิ์
ยังฝากเทคนิคการปฐมพยาบาลลูกเล็กด้วยตัวเองก่อนนำส่งโรงพยาบาลตามสถานการณ์
ต่างๆ เพื่อลดการบาดเจ็บได้ทันท่วงที... 

          สำหรับ สิ่ง
ของติดคอ
ควรระวังกับสิ่งของชิ้นเล็กที่มีขนาดเล็กกว่า 3.2x6 ซม.
(ทดสอบกับแก้ววัดขนาด) ซึ่งเด็กสามารถนำเข้าปาก และสำลักอุดตันหลอดลมได้
ซึ่งถ้ามองไม่เห็นของที่ติดคออยู่ในปากลูก ไม่ควรเอามือล้วงเข้าไป
เพราะอาจจะดันให้สิ่งของลึกลงไปอีกได้  มีวิธีช่วยลูกได้คือ
1.วางเด็ก
คว่ำลงบนท้องแขน โดยให้มือรองศีรษะในลักษณะที่ลำตัวอยู่สูงกว่าศีรษะ
2.ใช้
ฝ่ามือเคาะหลังระหว่างกระดูกสะบักสองข้าง 4 ครั้งติดต่อกัน
3.พลิกเด็ก
นอนหงายบนท้องแขน และรองท้องแขนด้วยตัก โดยให้ศีรษะอยู่ต่ำกว่าลำตัว
4.กด
กลางหน้าอกด้วยนิ้ว 2 นิ้ว (บริเวณกึ่งกลางระหว่างหัวนมทั้ง 2 ข้างลงมา)
และทำซ้ำ 2 ขั้นตอนจนกว่าของที่ติดอยู่จะหลุดออกมา
5.สังเกตการหายใจ
อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา หากเด็กหมดสติ ให้เป่าปากสลับกับเคาะหลัง และกดหน้าอก
ซึ่งถ้าทำตามขั้นตอนเหล่านี้แล้วยังไม่ได้ผล ควรนำตัวลูกส่งโรงพยาบาล
หรือแจ้งหน่วยฉุกเฉิน 1669 













          ส่วนอุบัติเหตุจาก การจมน้ำ
โดยเฉพาะในอ่างอาบน้ำในบ้านตอนที่คุณแม่เผลอ หรือไม่ทันระวัง
ลูกอาจลื่นจนจมน้ำได้ อย่ามัวแต่ตกอกตกใจ
รีบอุ้มลูกขึ้นจากน้ำแล้วปฏิบัติดังนี้
1.ขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง
2.ให้
เด็กนอนราบ กดหน้าผากและเชยคางขึ้นอย่างเบามือ เพื่อเปิดทางเดินหายใจ
3.หาก
เด็กหยุดหายใจ หรือหายใจผิดปกติ
ควรช่วยหายใจด้วยการใช้ปากของพ่อหรือแม่ครอบจมูก และปากของเด็ก เป่าลมเบาๆ
นานครั้งละ 1-2 วินาที ประมาณ 2 ครั้ง
พร้อมกับสังเกตดูว่าหน้าอกของเด็กขยายเมื่อเป่าลมหรือไม่
4.ถ้าเด็กไม่
หายใจแต่มีชีพจร ให้เป่าปากต่อประมาณ 20 ครั้งต่อนาที
5.กรณีที่ไม่
หายใจและไม่มีชีพจร ต้องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ โดยใช้วิธีการปั๊มหัวใจ
โดยส่วนใหญ่เด็กวัยขวบปีแรก ให้ใช้นิ้ว 2 นิ้ว
กดกึ่งกลางระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง จนกระดูกหน้าอกยุบลงประมาณ 1-1.5 นิ้ว
กดหน้าอก 5 ครั้ง สลับกับการเป่าปาก 1 ครั้ง
 6.เอาน้ำออกจากกระเพาะ
อาหาร ด้วยการใช้มือสอด
และพยุงบั้นเอวของเด็กแล้วยกเอวขึ้นให้อาเจียนน้ำออกมา
เพื่อกระตุ้นการหายใจ การไหลเวียนเลือด และฟื้นฟูสภาพหลังจมน้ำ
ขั้นตอนนี้ทำเมื่อลูกฟื้นแล้ว
หรือหลังจากการกระตุ้นการหายใจด้วยการปั๊มหัวใจ
 7.เมื่อเด็กหายใจเป็น
ปกติแล้ว ควรเปลี่ยนเสื้อผ้า และเช็ดตัวให้แห้ง
ให้เด็กนอนคว่ำแล้วตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง
เพื่อป้องกันการอาเจียนจนสำลัก จากนั้นจึงรีบนำส่งโรงพยาบาล
























          หากทำตามขั้นตอนเหล่านี้แล้วลูกยังไม่มีอาการตอบสนอง
ควรรีบนำส่งโรงพยาบาล และระหว่างทางควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นไปพร้อมกัน 
ซึ่งแม้จะระมัดระวังมากแค่ไหนก็ตาม หากลูกวัยเบบี๋เพิ่งจะเริ่มคลาน หัดนั่ง
หัดยืน ไปจนถึงหัดเดิน ก็มีความเสี่ยงต่ออันตราย
และความบาดเจ็บได้ทั้งนั้น คงดีกว่าหากคุณพ่อ
คุณแม่รู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกต้อง
เพื่อที่ว่าลูกได้รับบาดเจ็บเมื่อใดก็สามารถช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที

         
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นตามสถานการณ์ต่างๆ อาทิ ไฟดูด
กระดูกหัก หรือฟกช้ำดำเขียว สามารถติดตามได้ใน นิตยสาร Modern Mom
คอลัมน์ “เปิดตำราปฐมพยาบาลลูก” ฉบับเดือนเมษายนนี้...

การปฐมพยาบาลที่ถูกต้องถือเป็นเรื่องจำเป็นที่คนเป็นพ่อเป็นแม่ควรรู้ไว้...
แต่จะให้ดีกว่านั้นควรระมัดระวัง และดูแลลูกอย่างใกล้ชิด
ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุความเจ็บตัวเหล่านี้เป็นดีที่สุดค่ะ...


ขอขอบคุณ
ข้อมูลประกอบจากศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัย
และป้องกันการบาด
เจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี  






Free TextEditor







































































































Create Date : 14 พฤษภาคม 2553
Last Update : 14 พฤษภาคม 2553 21:57:55 น. 0 comments
Counter : 1990 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.