นานาความเชื่อ เรื่อง "หมูๆ..!"












































"ปีจอ" หมาดุ ผ่านพ้นไปแล้ว ได้เวลาของ "ปีกุน"
หมูอ้วนกันเสียที

เชื่อแน่ว่าใครๆ ก็อยากให้ปีนี้เป็นปีสมบูรณ์พูนสุข
สมสัญลักษณ์ความอ้วนพีของน้องหมูกันเป็นแน่แท้ ทั้งที่ความจริงแล้ว สัญลักษณ์ตามปีนักษัตรคือความเชื่ออย่างหนึ่งที่เป็นตำนานสืบ
ทอดกันมาอย่างช้านาน


และในโลกใบนี้ ยังมี "ความเชื่อ"
เกี่ยวกับหมูอีกมากมาย ทั้งความเชื่อแนว "สร้างสรรค์"
เชิดชูหมู และ "ทำลาย"
ให้หมูกลายเป็นอาหารอร่อยๆ ครองใจใครๆ เขาไปทั่ว






















เรื่องหมูๆ แบบไม่หมูจะมีอะไรบ้างนั้น
เชิญทัศนากันได้เลย

"หมู" แบบไทยๆ

ถ้าหากใครผ่านไปบริเวณริมคลองหลอด ด้านหลังวัดราชประดิษฐ์
หรือแถวกระทรวงมหาดไทย
ก็จะได้เห็น "อนุสาวรีย์หมู"
ยืนเด่นเป็นสง่า ที่ผู้คนมักไปบูชากราบไหว้อยู่เสมอๆ

อนุสาวรีย์ดังกล่าวสร้างขึ้นในโอกาสที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรม
ราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระชนมายุ 50
พรรษา ปี 2456

และเพื่อเป็นการระลึกถึงผู้สร้างคือสมเด็จพระเจ้า
บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ พระยาพิพัฒน์

(เซเลสติโน ซาเวียร์) และพระยาราชสงคราม (กร
หงสกุล) ที่เกิดปีเดียวกับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ คือปีกุน 2406
โดยสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ทรงเป็นผู้ออกแบบอนุสาวรีย์นี้

ภาษิต คำพังเพย
และสำนวนเกี่ยวกับหมูในบ้านเราก็มีให้เปรียบเปรยกันมากมาย
เช่น "หมูเขาจะหามเอาคานเข้าไปสอด" "หมูเขี้ยวตัน" "หมูในเล้า"
"หมูในอวย" "หมูไปไก่มา" "หมูสนาม" "ดินพอกหางหมู" "หมูไม่กลัวน้ำร้อน" ฯลฯ

และยิ่งได้เห็นหมูประหลาดมี 2 หัว 3 หาง 6 ขา ฯลฯ เมื่อไร
รับรองว่านักเสี่ยงโชคไทยเราไม่อยู่เฉยแน่ๆ






















"หัวหมู" ขวัญใจชาวจีน

ต้นตอตำนาน 12 นักษัตร ซึ่งมีหมูเข้าไปร่วมด้วยช่วยกันนั้น
ก็มีที่มาที่ไปจากชาวจีนนี่เอง

แสดงให้เห็นถึงความแนบแน่นระหว่างชาวจีนกับหมูที่มีมาอย่างช้านาน
โดย จิตรา ก่อนันทเกียรติ
ผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรมจีนเล่าว่าเหตุที่ต้องมีการใช้ "หัวหมู"
ไหว้ขอบคุณขอพรเทพเจ้า

เพราะมีตำนานเล่าขานว่าคนจีนกินหมูมาตั้งแต่เมื่อ 4 พันปีก่อน
และในการไว้บวงสรวงเทพเจ้าแต่โบราณก็จะใช้สัตว์สามอย่างที่เลี้ยงในบ้าน คือ
วัว แพะ และ หมู

ต่อมาก็มีการปรับเปลี่ยนจากไหว้ด้วยหมูทั้งตัวมาเหลือแต่หัว
ทั้งยังเพิ่มไก่ เป็ด ปลา ตามความสะดวก แต่หมูก็ยังคงยืนพื้นอยู่ดี

"ในความเป็นปีนักษัตรหมู ถ้าดูว่าหมูเป็นสัตว์อ้วนพี ชอบนอนสบาย
รักสงบก็น่าจะดี
แต่อย่าลืมว่าเรายังมีทั้งหมูป่า หมูเขี้ยวตัน
ซึ่งถือว่าเป็นหมูดุ แต่เรายังมีกำลังใจที่ดียิ่งคือ
การจะได้เฉลิมฉลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ทรงครองราชย์ 61 ปี
และทรงมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา ซึ่งคนจีนเรียกว่าเป็นวันเกิดใหญ่" จิตรา
บอกเล่า

แม้แต่จังหวัดตรัง ซึ่งมีบรรพบุรุษเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ก็ยังมี "หมูย่าง" เป็นที่ขึ้นชื่อลือชา ฉะนั้น
ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า "หมู" เป็นขวัญใจในจานจีนขนาดไหน






















"หมูน้อย" สุดที่รักของฝรั่ง

ถ้าจะพูดถึงหมูในมุมน่ารักๆ หลายคนคงนึกถึง
"หมูน้อยหัวใจเทวดา" หรือ "เบ๊บ"
เจ้าหมูที่อยากเป็นหมาเลี้ยงแกะ
ในภาพยนตร์ดังจากออสเตรเลีย

แต่ความรักในเผ่าพันธุ์หมูไม่ได้มีแค่ในหนังเท่านั้น
สำหรับที่สหรัฐอเมริกา วันที่ 1 มีนาคมของทุกๆ ปี ถูกกำหนดให้เป็น "วันหมูระดับชาติ"

ซึ่งจะมีการเฉลิมฉลองให้หมูอย่างใหญ่โต
ยิ่งกว่างานโต๊ะจีนลิงบ้านเราหลายสิบเท่า
เพราะสวนสัตว์ทั่วสหรัฐต่าง
พร้อมอกพร้อมใจเลี้ยงดูปูเสื่อทำอาหารดีๆ ให้หมูกินโดยเฉพาะ
พร้อมมีกิจกรรมสนุกๆ ให้เด็กๆ ร่วมฉลอง
และยังเป็นวันที่ต้องแต่งกายสีชมพูตามสีประจำตัวของน้องหมู

ที่มาของวันชาติหมู เริ่มต้นเมื่อปี 2515 โดย
เอลเลน สแตนลีย์ ครูสอนศิลปะจากเท็กซัส

ที่เห็นถึงความน่ารักของหมูซึ่งดูไปดูมาก็ไม่ต่างจากคนเรานี่เอง
ทั้งความเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ความชอบเข้าสังคม
แถมยังเป็นสัตว์อารมณ์ดีอีกต่างหาก
จึงควรมีสักวันที่รำลึกถึงคุณค่าของเพื่อนร่วมโลกเผ่าพันธุ์นี้

ยังมีสารพันความเชื่อเกี่ยวกับหมูอีกมากมาย รวมถึงในแง่ศาสนาด้วย
และไม่ว่าใครจะมีความเชื่อแบบไหน
การเคารพความต่างทางความศรัทธาของกันและกัน น่าจะยิ่งทำให้ปีหมูปีนี้
มีความหมายที่ "เต็มอิ่ม" ที่สุด




















หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
ขอขอบคุณ :
ข้อมูลที่มีคุณภาพ

จากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก








Free TextEditor





















































Create Date : 11 เมษายน 2553
Last Update : 11 เมษายน 2553 18:47:18 น. 0 comments
Counter : 561 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.