งานสร้างใจ










































งานสร้างใจ

วัดเซนแห่งแรกในอเมริกา สร้างขึ้นที่เมืองซานฟรานซิสโกเมื่อราว ๔๐
ปีก่อน ตอนที่สร้างวัดนั้นเจ้าอาวาสคือชุนเรียว ซูซูกิต้องลงมือขนหินเอง
ลูกศิษย์ซึ่งเป็นคนอเมริกันเห็นอาจารย์อายุมากแล้ว คือ ๖๐
กว่าแล้วแถมยังตัวเล็กอีกด้วย

จึงระดมกันมาช่วย แต่มาช่วยขนหินได้ครึ่งวันก็เหนื่อย
ส่วนอาจารย์กลับขนหินได้ทั้งวัน
ลูกศิษย์แปลกใจมากจึงถามอาจารย์ว่าทำงานทั้งวันได้อย่างไร อาจารย์ตอบว่า "ก็ผมพักตลอดเวลานี่"































ลูกศิษย์ฟังแล้วก็งง

เพราะเห็นกับตาว่าอาจารย์ขนหินทั้งวัน
แต่สำหรับอาจารย์ชุนเรียวนั้นตลอดเวลาที่ขนหินก็ได้พักไปด้วย ไม่ได้พักกาย
แต่พักใจ มีแต่กายเท่านั้นที่ขนหิน แต่ใจไม่ได้ขนด้วย จึงไม่เหนื่อยเท่าไร
คนส่วนใหญ่เวลาขนหิน ไม่ได้ขนด้วยกายเท่านั้น ใจก็ขนด้วย
ขนหินไปก็บ่นในใจว่าเมื่อไรจะเสร็จสักที ขนแบบนี้ย่อมเหนื่อยเร็ว

เมื่อเราทำงานเราไม่ได้เหนื่อยแต่กายอย่างเดียว
แต่ใจของเราก็มักเหนื่อยด้วย เพราะใจไปยึดติดกับงานมากเกินไป
เรียกว่าจิตไม่ว่าง การทำงานด้วยจิตว่างก็คือ
การทำงานโดยที่ใจไม่ไปยึดติดกับผลงาน
ไม่สำคัญมั่นหมายว่าจะงานจะต้องเป็นไปตามใจปรารถนา

แต่คนส่วนใหญ่นั้นมักเอาความรู้สึก "ตัวกู
ของกู"
ไปผูกติดกับงาน คือสำคัญมั่นหมายว่านี้เป็นงานของฉัน
งานนี้คือตัวฉัน ถ้างานล้มเหลว ก็รู้สึกว่าฉันล้มเหลวไปด้วย
ถ้าใครมาตำหนิงาน ก็ถือว่าตำหนิตัวฉันด้วย
เพราะฉะนั้นใครจะมาตำหนิฉันไม่ได้
การทำงานแบบติดยึดอย่างนี้ทำให้ใจเหนื่อยไปกับงานด้วย

คนส่วนใหญ่จะรับผิดชอบงานก็ต่อเมื่อรู้สึกว่าเป็นงานของฉัน
ความคิดแบบนี้แม้ทำให้ตั้งใจทำก็จริง แต่ก็อาจทำให้ทุกข์ไปด้วย
เวลาทำก็เกร็งเพราะกลัวว่าถ้างานไม่ดีตนจะถูกต่อว่า เสียหน้า
หรือไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง

จริงอยู่ปุถุชนย่อมต้องการแรงจูงใจหรือผลตอบแทน
จะได้มีกำลังใจทำงาน แต่ย่อมเป็นทุกข์ได้ง่าย
เพราะว่ามีตัวตนเข้าไปรับผลกระทบจากสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามมา
ถ้าสิ่งที่มากระทบนั้นเป็นเรื่องน่าพอใจก็รอดตัวไป
แต่ถ้าไม่น่าพอใจก็จะรู้สึกทุกข์ขึ้นมา เพราะมีตัวตนเป็นผู้ทุกข์































เราควรทำงานอย่างวางใจชนิดที่ไปถึงขั้นว่า

ไม่มีความยึดติดว่าเป็นของฉัน
หรือไปสำคัญมั่นหมายว่ามีตัวฉันเป็นผู้กระทำ
ถ้าสำคัญมั่นหมายว่างานเป็นของฉันก็ทำให้ทุกข์
ถ้าไปสำคัญมั่นหมายว่าฉันเป็นผู้ทำก็ทุกข์เช่นกัน คือ
ทุกข์ทุกครั้งที่มีของฉันหรือตัวฉันเกิดขึ้น
เมื่อสำคัญมั่นหมายว่าฉันเป็นผู้ทำ ก็จะต้องมีฉันเป็นผู้เหนื่อย

แทนที่จะเห็นความเหนื่อยเกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา
กลับไปยึดว่าความเหนื่อยเป็นของฉัน ฉันเป็นผู้เหนื่อย

การปล่อยให้ความสำคัญมั่นหมายในตัวตนเกิดขึ้นมา
ทำให้เราเป็นทุกข์ได้ง่าย ไม่ใช่แต่ในเวลาทำงานเท่านั้น เวลาไหน ๆ
ก็เหมือนกัน โดยเฉพาะเวลาประสบกับสิ่งไม่พึงปรารถนา เช่น เวลาไม่สบาย
ถ้าเรายึดว่าร่างกายเป็นของเรา
แทนที่จะเห็นความเจ็บปวดเกิดขึ้นกับร่างกายเฉย ๆ
ก็ไปสำคัญมั่นหมายว่าฉันเจ็บ ฉันปวด ฉันทุกข์

ท่านอาจารย์พุทธทาสได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า เวลามีดบาดนิ้ว
ถ้าเราทำความรู้สึกในใจว่ามีดบาดนิ้ว จะไม่ค่อยเจ็บเท่าไหร่
แต่พอไปคิดว่ามีดบาด "ฉัน" ขึ้นมา
จะรู้สึกเจ็บมาก "มีดบาดนิ้ว"กับ "มีดบาดฉัน" จะให้ความรู้สึกต่างกัน
การที่มีตัวฉันมาออกรับอารมณ์ต่างๆ ทำให้เราเป็นทุกข์ได้ง่าย
เวลาเดินทางไกล แทนที่จะรู้สึกว่ากายเหนื่อย กลับรู้สึกขึ้นมาว่าฉันเหนื่อย
คือไม่ใช่เหนื่อยแต่กาย แต่ใจหรือตัวฉันก็เหนื่อยด้วย































ถ้าเรามีสติรู้ทันความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้น

จะเห็นได้ว่า. ที่เหนื่อยนั้นคือเหนื่อยกาย
แต่ใจไม่จำเป็นต้องเหนื่อยด้วย
เมื่อไม่ได้เอาตัวตนออกไปรับหรือเป็นเจ้าของความเหนื่อยด้วย
ก็สามารถที่จะเดินไปได้โดยไม่รู้สึกเหนื่อยมากนัก
ความเหนื่อยเกิดขึ้นก็จริง

แต่ไม่มีความรู้สึกว่าฉันเหนื่อย
เพราะไม่ได้ปรุงแต่งตัวตนให้ไปออกรับความเหนื่อย
จะทำเช่นนี้ได้ต้องอาศัยสติเข้าไปกำกับใจเวลาเกิดอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ
ขึ้นมา เพราะสติทำให้เราเห็นอารมณ์ต่าง ๆ
แต่ไม่เข้าไปเป็นเจ้าของอารมณ์นั้น หรือเอาอารมณ์นั้นมาเป็นตัวเป็นตน

เราจำเป็นต้องใช้สติเข้าไปกำกับเวลาทำงาน สตินั้นตรงข้ามกับตัณหา
คนที่ทำด้วยตัณหา หรือความอยาก
จะไม่เข้าใจหรือรู้สึกถึงความโปร่งเบาในเวลาทำงานได้
เพราะจิตคอยแบกความอยากไว้ตลอดเวลา แต่ถ้าเรามีสติอยู่กับงานที่ทำ
อยู่กับปัจจุบัน จะมีแต่การทำงาน แต่ไม่มีผู้ทำงาน เช่นเดียวกับเวลาเดิน
ถ้าเราเดินอย่างมีสติ จะมีแต่การเดิน แต่ไม่มีผู้เดิน

งานการต่าง ๆ
สามารถที่จะเป็นเวทีหรือโอกาสให้เรารู้จักการปล่อยวางตัวตน

ไม่ยึดติดว่าเป็นเราหรือของเรา คือทำงานด้วยจิตว่างนั่นเอง
พุทธศาสนานั้นมองว่า งานนอกจากจะก่อให้เกิดประโยชน์ส่วนรวมแล้ว

ยังสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ส่วนตนได้ด้วย
คือเกิดประโยชน์ในแง่การพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือจิตใจไปพร้อมกัน
งานสามารถบ่มเพาะหรือเสริมสร้างคุณภาพภายในได้ด้วย

ไม่ใช่แค่สร้างสรรค์สิ่งภายนอกเท่านั้น
ถ้าทำงานด้วยการวางจิตวางใจอย่างถูกต้อง งานก็จะสำเร็จ
ส่วนคนทำก็จะมีความสุขด้วย
เป็นความสุขที่เกิดขึ้นกับตัวเองพร้อมกับความสำเร็จที่เกิดกับส่วนรวม































งานที่สร้างสรรค์นั้นช่วยสร้างโลกให้น่าอยู่

แม้จะทำงานเล็ก ๆ
แต่ก็ควรระลึกว่าเราได้มีส่วนสร้างสังคมและสร้างโลกด้วย

พร้อมกันนั้นก็พึงตระหนักว่างานที่เราทำแต่ละขณะๆ
นั้นมีส่วนในการสร้างความเจริญงอกงามให้เกิดขึ้นกับชีวิตด้านในไปด้วย

ทัศนคติเช่นนี้คือสิ่งที่ขาดหายไปในการทำงานส่วนใหญ่
เพราะผู้คนมักเห็นแค่ว่างานการทำให้เกิดความสำเร็จทางโลก
แต่ไม่ค่อยคิดว่างานสามารถทำให้เกิดความสำเร็จทางธรรมหรือทางจิตวิญญาณได้
ด้วย งานสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ตนควบคู่กับประโยชน์ท่าน
งานสามารถที่จะสร้างโลกให้สวยสดงดงามพร้อม ๆ
กับการบ่มเพาะชีวิตด้านในให้พรั่งพร้อมบริบูรณ์ด้วยความสุข


ไม่มีใครในโลกนี้ที่ได้ ๒๐ ล้านบาทมาเปล่า ๆ ฟรี ๆ ได้อย่าง
ก็ต้องเสียอย่าง(หรือหลายอย่าง) ดังนั้นก่อนที่อยากจะได้อะไร ถามตัวเองดูบ้างว่ามีอะไรบ้างที่อาจจะต้องเสียไปเพื่อแลกกับ
สิ่งนั้น และเราพร้อมหรือยังที่จะเสียสิ่งเหล่านั้นไป









Free TextEditor





















































Create Date : 11 เมษายน 2553
Last Update : 11 เมษายน 2553 22:14:01 น. 0 comments
Counter : 495 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.