มะกอก ผักพื้นบ้านที่ไม่ชอบคนเจ้าเล่ห์


มะกอกสามตะกร้า ปาไม่ถูก”
          
ประโยคที่ยกมาข้างบนนี้ เป็นคำพังเพยดั้งเดิมของชาวไทยที่ใช้เปรียบเทียบ
(โทษ)
ลักษณะของคนประเภทกลิ้งกลอกเจ้าเล่ห์ที่ทำอย่างไรก็จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน
เหมือนกับเอาผลมะกอกตั้งสามตะกร้าขว้างปาก็ยังไม่ถูกเลยสักครั้งเดียว
คนประเภทนี้สมัยก่อนรียกกันว่าเป็นคน “มะกอกสาม
ตะกร้า”
ก็จะเข้าใจกันทั่วไป

          
แต่ในปัจจุบันคงต้องเปลี่ยนคำเรียกเสียใหม่ เพราะแม้คนประเภทนี้จะมีมากขึ้น
(เช่น นักการเมืองหรือพ่อค้าบางคน)
แต่คำพังเพยประโยคนี้กลับมีผู้เข้าใจความหมายน้อยลง จึงอาจใช้คำว่า
“จอมกะล่อน” หรือ “สิบแปดมงกุฏ” แทนก็ได้ เพราะมีความหมายเช่นเดียวกัน

          
เหตุที่คนไทยโบราณใช้มะกอกมาเป็นสิ่งเปรียบเทียบในคำพังเพยบทนี้
ก็คงเป็นเพราะว่าในสมัยนั้นคนไทยส่วนใหญ่พบเห็นและรู้จักคุ้นเคยกับมะกอก
(รวมทั้งตะกร้าด้วย) กันเป็นอย่างดี
เนื่องจากมะกอกเป็นผักพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยที่นำมาใช้ประกอบอาหารกัน
อย่างกว้างขวางนั่นเอง

มะกอก :
จากป่ามาสู่บ้านและครัว

          
มะกอกที่นำมากล่าวถึงนี้ เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านยังนึกหน้าตาไม่ออก
หรือบางคนอาจนึกถึงผลมะกอกดองหรือมะกอกเชื่อมที่เคยกินจากรถเข็น
ซึ่งความจริงเป็นผลของมะกอกน้ำอันเป็นผลไม้คนละชนิดกับมะกอกที่กำลังพูดถึง
อยู่นี้ เพราะมะกอกซึ่งยกมาขึ้นต้นและกำลังจะเขียนถึงต่อไป
เป็นต้นไม้ที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า spondias
pinnata Kurz. ภาษาอังกฤษเรียก Hog Plum
(ผลคล้ายลูกพลับ
หมูป่าชอบกินผลมะกอก) ในประเทศไทยเรียกกันหลายชื่อ ทั่วไปเรียก มะกอก
มะกอกบก มะกอกไทย มะกอกป่า ภาคใต้เรียกว่า กอก เชียงรายเรียกว่า กอกก๊ก
เป็นต้น

   “มะกอก
เป็นผักพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยที่นำมาใช้ประกอบอาหารกันอย่างกว้างขวาง”


มะกอก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง โตเต็มที่อาจสูงกว่า 10
เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นอาจถึง 1 เมตร เปลือกเรียบ
ต้นแก่เปลือกแตกเป็นร่อง เนื้อไม้สีขาว อ่อน ไม่มีแก่น
ใบมีลักษณะใบรวมคล้ายขนนก ใบย่อยเป็นรูปไข่ออกสลับกันบนก้านใบ ผลเป็นรูปไข่
มีหลายขนาดปกติขนาดไข่ไก่
ผลสุกมีผิวสีเขียวอมเหลืองและจุดประสีเหลืองเข้มสลับดำ
ในแต่ละผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ๆ เพียงเมล็ดเดียว
เปลือกของเมล็ดมีเส้นใยหยาบปกคลุมคล้ายเมล็ดมะม่วง ช่อดอกมีสีขาวนวล
ลักษณะคล้ายช่อดอกมะม่วง เพราะเป็นพืชอยู่ในวงศ์ (Family) เดียวกับมะม่วง
คือ วงศ์ anacardiaceae

          
ในธรรมชาติมะกอกขึ้นเองตามป่าเบญจพรรณแล้งและ
ป่าแดงทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย
นอกจากนี้ยังพบขึ้นอยู่ตามเรือกสวนไร่นาหรือในบริเวณบ้าน
เนื่องจากมีผู้นำมาปลูกไว้
ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของมะกอกอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รวมทั้งไทย)
แลหมู่เกาะต่างๆ ในเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิก
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ามะกอกเป็นพืชดั้งเดิมของชาวไทยชนิดหนึ่งเป็นที่รู้จัก
คุ้นเคยอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวไทยมาแสนนาน




คน
ไทยรู้จักและใช้ประโยชน์
มะกอกในฐานะผักพื้นบ้านอย่างหนึ่งมากกว่าใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ใบอ่อน (ยอด)
และช่อดอกของมะกอกนั้น ชาวไทยนำมากินเป็นผักทั้งดิบและสุก
ในตำรับสายเยาวภา กล่าวถึง มะกอกไว้ว่า “ยอดมะกอก กินดิบเป็นผักจิ้ม
สุกก็กินได้ เผาจิ้มน้ำพริก” “ช่อมะกอก กินดิบ” ใบอ่อนมะกอกมีกลิ่นหอม
รสเปรี้ยวและฝาดสมานใช้ได้ทั้งเป็นผักจิ้ม ใส่ยำ และแต่งกลิ่นอาหาร
ช่อดอกมะกอกใช้ได้เช่นเดียวกับใบอ่อน


          
สำหรับผลมะกอกนิยมใช้ผลสุก ซึ่งมีรสเปรี้ยวอมฝาด หากกินเปล่าๆ
ครั้งแรกจะรู้สึกเปรี้ยวอมฝาดต่อมาจะเปลี่ยนเป็นรสหวาน ชุ่มคอ
ผลสุกมีกลิ่นหอมมาก เป็นกลิ่นเฉพาะตัวซึ่งใช้แต่งกลิ่นอาหารได้ดี เช่น
ใช้ตำน้ำพริกมะกอก
โดยใช้ทั้งเนื้อสุกและเปลือกใช้แต่งรสน้ำปลาจิ้มพวกเนื้อหรือปลาย่าง
ที่นิยมมากที่สุด คือ ใช้ผลมะกอกสุกเป็นส่วนประกอบของส้มตำ (ลาว)
ให้กลิ่นและรสชาติเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนส้มตำตำรับอื่นๆ
ความนิยมใช้ผลมะกอกสุกในตำรับส้มตำ (ลาว) นั้น เห็นได้จากราคาของผลมะกอกสุก
ซึ่งบางฤดู (ที่มีผลมะกอกสุกน้อย)
ราคาแพงถึงผลละหลายบาทเช่นเดียวกับราคาของผลมะนาวหน้าแล้งนั่นเอง

ประโยชน์ด้านอื่นๆ ของมะกอก
          
เนื้อในผลสุกของมะกอกนอกจากใช้ทำกับข้าว (ของคาว) แล้วยังใช้ทำน้ำผลไม้
(ของหวาน) เป็นเครื่องดื่มได้ดีอีกด้วย
โดยปอกเปลือกออกฝานเอาแต่เนื้อไปเข้าเครื่องปั่นผลไม้
เติมน้ำเชื่อมให้มีรสหวานตามชอบ
จะได้เครื่องดื่มน้ำมะกอกที่มีกลิ่นและรสชาตอร่อยไม่เหมือนใคร
และยังอุดมด้วยวิตามินซีและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่างๆ อีกด้วย


          
เนื้อไม้มะกอกแม้จะเป็นไม้เนื้ออ่อน
แต่ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำกล่องไม้ขีด ทำไม้จิ้มฟัน
ทำกล่องใส่ของ และหีบศพ เป็นต้น

ในตำราสรรพคุณสมุนไพรไทยกล่าวถึง
คุณสมบัติของมะกอกในแง่สมุนไพรไว้หลายประการ เช่น
เปลือก ป่นเป็นผง ผสมน้ำ ใช้ทาแก้โรคปวดตามข้อ
ใช้เป็นยาเย็นแก้โรคท้องเสีย โรคเกี่ยวกับลำไส้ ระงับอาเจียน

เมล็ด เผาไฟ แช่เอาน้ำดื่ม แก้อาการผิดสำแดง
แก้ร้อนใน แก้หอบ สะอึก

ผลสุก
ใช้เป็นยาฝาดสมาน แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด)
รักษาโรคกระเพาะอาหารพิการ

          
แม้ตำราปลูกต้นไม้ในบ้านของชาวไทยจะไม่ถือว่ามะกอกเป็นไม้มงคล
เพราะไม่มีข้อห้ามมิให้ปลูกมะกอกในบริเวณบ้าน (เช่น ลั่นทมหรือมะรุม)
ดังนั้น
หากผู้อ่านท่านใดมีพื้นที่บริเวณบ้านพอก็น่าจะหามะกอกมาปลูกไว้สักต้น
เพราะนอกจากรูปทรงต้นและลักษณะใบที่งดงามแล้ว
ท่านยังจะได้ประโยชน์จากมะกอกมากมาย


ยิ่งกว่านั้นยามที่ท่านมองเห็น ต้นมะกอก
ก็อาจระลึกถึงคำพังเพยเก่าแก่ของไทยที่ยกมาข้างต้น
และระมัดระวังตัวให้ปลอดภัยจากบุคคลประเภท “มะกอกสามตะกร้า” ทั้งหลาย
ไม่ว่าจะแฝงตัวมาในรูป “นักการเมือง” หรือ “นักธุรกิจ” ฯลฯ ก็ตาม







Free TextEditor












































































Create Date : 10 พฤษภาคม 2553
Last Update : 10 พฤษภาคม 2553 21:21:34 น. 0 comments
Counter : 1642 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.