จอแก้วกับการเรียนรู้ของเด็ก






ความเป็นมาของ
“จอแก้ว”

          จอแก้ว หมายถึง ทีวี หรือ โทรทัศน์
เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ในประเทศไทยเริ่มก่อตั้งเมื่อ พศ. ๒๔๗๕
และประสบกับปัญหาด้านการลงทุนต่าง ๆ
รวมทั้งอยู่ในช่วงภาวะสงครามโลกครั้งที่
๒จึงไม่สามารถจัดตั้งอย่างเป็นทางการได้ จนกระทั่งจอมพล ป. พิบูลสงคราม
เป็นผู้สนับสนุนให้จัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง ๔
ขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๙๘
และมีโครงการขยายผลไปยังภูมิภาคอื่น ๆ อีกในช่วง พศ. ๒๕๐๐ ในยุคนั้น ทีวี
จะส่งสัญญาณเป็นสี ขาว – ดำ เท่านั้น ต่อมา พศ. ๒๕๑๐
จึงเปลี่ยนเป็นระบบสีจนถึงปัจจุบัน





          ภายใต้ของความเป็นมา นั้น ทีวีมีบทบาทมากมายเช่น
เป็นเครื่องมือทางการเมือง,
ช่องทางการตลาดทางธุรกิจรวมทั้งเป็นแหล่งเผยแพร่ด้านวิชาการ เป็นต้น
ดังนั้นในระบบของโลกบ้านเราสามารถเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วทันต่อ
สถานการณ์ของโลก
ทีวีจึงเปรียบเสมือนหน้าต่างบานใหญ่ที่สำคัญสำหรับทุกคนที่สามารถมีทีวีไว้
ในบ้านของตน

จอแก้ว,ทีวีหรือโทรทัศน์
เป็นสื่อเชิงรับในบ้านซึ่งเราเองก็ไม่สามารถปฏิเสธได้เมื่อเปิดชมรายการต่าง
ๆ ไม่ว่าจะเป็นการหาความบันเทิงหรือการหาความรู้ต่าง ๆ
เราเลือกตามใจชอบไม่ได้ทั้งหมด
การทำธุรกิจทางการตลาดจึงเป็นที่นิยมอย่างมาก
ซึ่งในยุคแรกของการขายสินค้าทางทีวีนั้น ได้แก่เครื่องยนต์เรือ ,
เครื่องปั่นวิตามิน, เครื่องครัว, เครื่องใช้ในบ้าน เป็นต้น
ในยุคนั้นรัฐบาลสหรัฐมองเห็นความสำคัญของธุรกิจบนจอแก้วได้ตั้งคณะกรรมการ
FCC (FEDERAL COMMERCIAL COMMITTEE)
มากำกับดูแลการดำเนินธุรกิจเพื่อเป็นกฎบังคับใช้และเริ่มมีการให้นิยามคำว่า
รายการ (PROGRAM) คืออะไร ทำอะไร ทำอะไรไม่ได้
ไม่เป็นการเอาเปรียบผู้ชมจนเกินไปมีการกำหนดเวลารายการและเวลาโฆษณา
ดังนั้นรายการนำเสนอขายสินค้าทางจอแก้วก็เริ่มถูกแทนที่ด้วยรายการที่ได้รับ
ความนิยมมากขึ้น เช่น ภาพยนตร์, ละคร ,รายการ GAME SHOW และอื่นๆ
อีกมากมาย ทีวีจึงเกิดขึ้นมาเพื่อการค้าเป็นหลัก
เพราะเป็นการตอบสนองความต้องการให้แก่เจ้าของสินค้าที่มีกำลังทรัพย์ในการ
สนับสนุนสถานีโทรทัศน์ได้
ปัจจุบันในบ้านเราก็ยังเป็นรูปแบบที่ผู้ชมต้องใช้วิจารณญาณกันตามศักยภาพ
ในครอบครัวที่มีเด็กเล็กไปจนถึงวัยรุ่นนั้นยังมีความจำเป็นที่ผู้ใหญ่ต้อง
เลือกรายการอย่างเหมาะสม

*
พยาบาลวิชาชีพประจำสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

เกิดอะไรขึ้นกับการเรียนรู้ของเด็ก?
         
จากที่มาดังกล่าว ทีวีจะมีการพัฒนาระบบให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น ภายในปี พ.ศ.
๒๕๕๘ นี้ ทีวีที่เป็นระบบออกอากาศจะเปลี่ยนไปเป็นระบบดิจิตอล แบบ DVBT
DVBH ซึ่งจะถูกและดีกว่าที่เป็นอยู่
กล่าวคือสัญญาณช่องออกอากาศที่เคยมีอยู่แค่ 6
ช่องสัญญาณก็จะมีเพิ่มขึ้นอีกมากมายจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงมี
เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน
ดังนั้นทีวีออนเน็ตอาจไม่มีข้อจำกัดเรื่องช่องและเวลาแพร่ภาพในขณะที่ผู้คน
สามารถใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงกันมากขึ้น ดังนั้นสื่อต่าง
ๆที่เคยมีระบบการตรวจสอบก่อนจำเป็นต้องมีการพูดคุยกันถึงในระดับชาติต่อไป
อย่างไรก็ตามเราสามารถมองเห็นผลลัพธ์ของทีวีอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นด้านบวก
หรือลบ
นักวิชาการให้ความสำคัญกับผลที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะด้านการเรียนรู้ของเด็ก
มีหลายสำนักการศึกษาและสถาบันต่าง ๆ
ได้สำรวจสถานการณ์ผลกระทบเพื่อร่วมกันหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาให้กับ
ครอบครัวกันอย่างต่อเนื่อง

          สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ร่วมกับมูลนิธิเครื่อข่ายครอบครัว มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก คณะนิเทศศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.) ปี ๒๕๔๖ ได้ทำการสำรวจอิทธิพลของสื่อโทรทัศน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมเด็ก
พบพฤติกรมการดูทีวีของเด็กอายุ ๓ – ๑๒ ปี ตามทัศนะของพ่อแม่ /
ผู้ปกครองในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน ๑,๔๗๗ ตัวอย่าง
พบจำนวนชั่วโมงการดูทีวีต่อวันในวันจันทร์-ศุกร์ และ วันเสาร์-อาทิตย์
จำนวนชั่วโมงดูทีวี เฉลี่ย ๓ – ๕ ชม. / วัน ช่วงเวลาที่ดูมากที่สุดคือ
จันทร์ – ศุกร์ ช่วง๔โมงเย็น– ๒ ทุ่ม ในวันเสาร์และอาทิตย์ ช่วง ๘ โมงเช้า
ถึงเที่ยงเด็กนิยมดูทีวีมากที่สุด พ่อแม่ /
ผู้ปกครองกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความคิดว่าสื่อมีผลต่อพฤติกรรมลูกหลาน
ด้านต่าง ๆ และมีผลเสียต่อเด็กอยู่ในระดับปานกลาง
เช่นเดียวกับการทำงานด้านการกลั่นกรองสื่อของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึง
ตัวพ่อแม่ที่ทำหน้าที่กลั่นกรองสื่อให้ลูกอยู่ในระดับปานกลางอีกด้วย
ส่วนการจัดประเภทของรายการในช่วงเวลาที่เหมาะสมกับเด็กส่วนใหญ่เห็นว่าเหมาะ
สมดีแล้ว

          มูลนิธิรักษ์เด็กกล่าวถึง เรื่อง โทรทัศน์กับเด็ก
ในโครงการยุทธศาสตร์สื่อเด็กมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.)
ได้กล่าวถึงเรื่องการใช้เวลาของเด็กส่วนใหญ่อยู่กับทีวีมากกว่าการเรียน
หนังสือในห้องเรียนตลอดทั้งปีเด็กและเยาวชนอายุ ๖ – ๒๔ ปีใช้เวลาถึง ๒,๒๓๖
ชั่วโมง ซึ่งในขณะที่มีเวลาในห้องเรียนเพียง ๑,๖๐๐ ชั่วโมง ใน
หนึ่งวันโดยเฉลี่ยเด็กดูทีวีประมาณ ๕ ชั่วโมง
เด็กถูกหล่อหลอมด้วยความรุนแรง, เซ็กส์, สิ่งเสพติด และโฆษณา
ทั้งนี้ยังกล่าวถึงสิ่งดี ๆ ที่อยู่ในทีวีอีกมากมาย อาทิ เช่น
แนะนำให้พ่อแม่ใช้เวลาร่วมกันกับลูกหลานเลือกรายการโทรทัศน์กระตุ้นให้เด็ก
ฝึกหัดอ่าน
,เลือกรายการที่มีบทเรียนชีวิต,นำเรื่องราวที่มีข้อขัดแย้งมาอภิปรายกันใน
ครอบครัว, สื่อที่เกี่ยวกับวิชาการการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมสังคม ,
รายการข่าว,ความรู้ประวัติศาสตร์ และภาพยนตร์ดี
ๆที่ได้รับรางวัลรวมทั้งส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้านดนตรีศิลปะ เป็นต้น

เราเปลี่ยน วิกฤติเป็นโอกาสได้จริงหรือ
         
มีงานวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กในวัย ๐ – ๖
ขวบกล่าวถึงการเจริญเติบโตของเซลล์สมองในเด็กแรกเกิดจะมีการเชื่อมต่อของใย
ประสาทอยู่ตลอดเวลาที่เด็กได้รับการกระตุ้นโดยเฉพาะด้านภาษางานวิจัยสนับ
สนุนความจริงว่าเด็กที่อายุต่ำกว่า ๒ ปี
ดูแต่ทีวีซึ่งเป็นการสื่อสารทางเดียวเป็นเวลานาน ตลอด ๖ – ๘
ชั่วโมงต่อวันเซลล์ประสาทที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางภาษาจะขาดการกระตุ้นใน
ขณะนั้นเนื่องจากเด็กขาดปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่เด็กจึงไม่ได้เรียนรู้ที่จะ
สื่อให้ผู้อื่นเข้าใจตนเองได้
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าภาพเคลื่อนไหวในทีวีทำให้เด็กขาดสมาธิในการเรียนรู้
สิ่งต่างๆ ได้ งานวิจัยประเทศสหรัฐอเมริกาที่มหาวิทยาลัย คอร์เนลล์
,มหาวิทยาลัยอินเดียน่า และมหาวิทยาลัยเพอร์เดอร์ (Purdue University)
ได้ศึกษาความเชื่อมโยงจากการดูทีวีของเด็กอเมริกันว่าเป็นตัวกระตุ้นทำให้
เกิดโรคออติซึมได้
ดร. แอริค ซิกมัน ( Dr. Aric
Sigman )
ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการศึกษาแห่งสหราชอาณาจักร(
Associate Fellow of the British Psychological)
ได้ศึกษาผลของทีวีต่อสุขภาพและได้แถลงต่อคณะสมาชิกวุฒิสภาประเทสอังกฤษจัด
โดยองค์กรด้านสื่อสารมวลชน Mediawatch – UK
มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าการดูทีวีเป็นเวลานานมีผลต่อรูปแบบการนอนที่ผิด
ปกติและลดอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายจนเกิดโรคอ้วนได้ ดังนั้น ดร.
แอริค ซิกมัน ( Dr. Aric Sigman )ให้ข้อแนะนำ ดังนี้

          ๑.
เด็กเล็กอายุ ต่ำกว่า ๓ ปี ไม่ควรดูทีวี
          ๒. เด็กอายุ ๓ -๗ ปี
ควรอนุญาตให้ดูทีวีได้ไม่เกิน ๓๐ – ๖๐ นาทีต่อวัน
          ๓. เด็กอายุ
๗ – ๑๒ ปี ควรอนุญาตให้ดูทีวีได้ไม่เกิน ๑ ชั่วโมงต่อวัน
          ๔.
เด็กอายุ ๑๒ – ๑๕ ปี อนุญาตให้ดูทีวีได้ไม่เกิน ๑.๕ ชั่วโมงต่อวัน
         
๕. เด็กอายุ ๑๖ ปีขึ้นไป ควรดุทีวีไม่เกินวันละ ๒ ชั่วโมง

ข้อแนะนำนี้น่าสนใจหากพ่อแม่ /
ผู้ปกครองปฎิบัติได้ก็จะเกิดผลดีต่อเด็กอย่างมหาศาล

         
นอกจากนี้ รศ.พญ. จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์
คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้คำแนะนำที่น่าสนใจสำหรับพ่อแม่ /
ผู้ปกครองว่าพ่อแม่ต้องมีบทบาทในการดูโทรทัศน์ของเด็กคือ

          ๏

ต้องเข้าใจในบทบาทและผลกระทบของสื่อทั้งด้านบวกและด้านลบเพื่อคัดเลือกสื่อ
สำหรับเด็กได้ถูกต้อง
          ๏
จัดสรรกิจกรรมที่สร้างสรรค์กับลูกมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกเช่น
การพูดคุย, การร้องเพลง, การเล่านิทาน เป็นต้น
          ๏ พ่อแม่ /
ผู้ปกครองควรสร้างกฎระเบียบเช่น
การตั้งกติกาในการดูทีวีกับลูกอย่างเคร่งครัด,หลีกเลี่ยงรายการที่ไม่เหมาะ
สม, จัดบรรยากาศการดูทีวีให้เป็นโลกแห่งการเรียนรู้ของลูก, กำหนดเวลาชัดเจน
หลีกเลี่ยงการมีเครื่องรับโทรทัศน์ในห้องนอนของลูก เป็นต้น





          นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต
กระทรวสาธารณสุข กล่าวในเวทีเสวนาเรื่อง “
สื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็กเยาวชนและครอบครัว ”
ว่าเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่กำลังได้รับผลกระทบ ๓ ประเด็น หลัก คือ เซ็กส์ ,
ความรุนแรง และบริโภคนิยม
ซึ่งเด็กและเยาวชนจะมีปฏิกิริยาต่อสื่อโทรทัศน์ด้วย พฤติกรรมเลียนแบบ ,
มีความชาชินต่อสื่อหลังจากหมกมุ่นกับสื่อเป็นเวลานานและพฤติกรรมยับยั้งชั่ง
ใจต่อเรื่องที่ไม่ดีต่างๆ ลดลง

นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต์
จึงได้ให้คำแนะนำแก่ทุกครอบครัวด้วย” มาตรการ ๓ ต้อง ๒ ไม่ ” ดังนี้
มาตรการ ๓ ต้อง ได้แก่
         
๑. ต้องจัดเวลาให้ลูกในการดูทีวี หรือมีส่วนร่วมในการจัดเวลาดูทีวี
         
๒. พ่อแม่ ต้องเป็นเพื่อนลูกในการดูทีวี หรือดูทีวีไปพร้อม ๆ กับลูก
         
๓. พ่อแม่ ต้องเลือกรายการให้ลูกดู
มาตรการ ๒ ไม่ ได้แก่
          ๑.
ไม่จัดทีวีหรือคอมพิวเตอร์ในห้องนอนลูก
          ๒.
ไม่มีสื่อลามกในบ้าน

โครงสร้างของระบบจะเป็นอย่างไร ? 
         

ในเชิงระบบของบ้านเราภาครัฐไม่นิ่งนอนใจเกิดการผลักดันจากหลายฝ่ายได้มอง
เห็นความสำคัญ
ของการส่งเสริมให้เกิดมาตรการและผลักดันให้เกิดวาระแห่งชาติดังนี้

         
๑. มาตรการการจัดความเหมาะสมของสื่อโทรทัศน์ (Rating)
          ๒.
การผลักดันร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสื่อทั้งร่างพระราชบัญญัติ
องค์กรกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย,ร่างพระราชบัญญัติแพร่ภาพ
และกระจายเสียงสาธรณะ,ร่างพระราชบัญญัติประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการ
โทรทัศน์,ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุ
กระจายเสียงโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม,ร่างพระราชบัญญัติเทคโนโลยีเพื่อการ
ศึกษา
          ๓. ผลักดันให้เกิดกองทุนสื่อ
          ๔.
การสร้างหลักสูตร “ สื่อมวลชนศึกษา “
ให้เกิดขึ้นทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษา

เอกสารอ้างอิง
         
๑.
//ucnnect.dpu.ac.th/dpupost/user/siwanard/folder/41/206.doc : บทความ
ประวัติโทรทัศน์ในประเทศไทย.
          ๒.
//www.tv4kids.org/autopage/show_page.php?t=27&s_id=118&d_id=119
กุนซือ : DIRECT RESPONSE TELEVISION กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 13
ต.ค. 2547.
          ๓. http: //www.loveed.biz/abac_poll4.asp :
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ :
สาระน่ารู้. 2004.
         
๔.
//www.rakdek.or.th/data/tisdf_news/tisdf_news_08.htm.
          ๕.
//www.pantown.com/content.php?id1052: ทีวีอันตรายใกล้ตัวลูกน้อย.
          ๖.
//www.cmadong.com/community/broad/viewtopic.php?p=32951&sid=d..17/10/50.
          ๗.
//www.lerdsin.go.th/modules.php?name=News&file=article&sid=1825: โรงพยาบาลเลิดสิน ทีวีกับเด็ก.
          ๘.
//www.thaihealth.or.th/cms/detail.php?id=8400 จุลศักดิ์ แก้วกาญจน์ และ เกศรินทร์ ไชยแสง
เรียบเรียงจากแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชนในงานเสวนา เรื่อง
สื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน.






Free TextEditor












































































Create Date : 08 พฤษภาคม 2553
Last Update : 8 พฤษภาคม 2553 15:43:44 น. 0 comments
Counter : 865 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tongsehow
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add tongsehow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.