Group Blog
 
All blogs
 
ศิลปกรรมลัทธินีโออิมเพรสชั่นนิมส์ Neo - Impressionism Art

ศิลปกรรมลัทธินีโออิมเพรสนิสม์ Neo – Impressionism Art




นีโออิมเพรสชั่นนิสม์ เป็นลัทธิศิลปะที่ เฟลิกซ์ เฟเนออง ( Felix Feneon , ค.ศ. 1861 - 1944 ) นักเขียนและนักวิจารณ์ศิลปะชาวฝรั่งเศส นำมาใช้เป็นชื่อบทความศิลปะของเขาชื่อ “Neo – Impressionisme ” ในนิตยสารชื่อ “ L Art Moderne ” ฉบับเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1887 ( สงวน รอดบุญ .2523 : 109

)



ในเชิงประวัติศาสตร์ศิลปะลัทธินี้เกิดมาจากผลสะท้อนจากลัทธิอิมเพรสนิสม์ กล่าวคือ ในขณะที่ศิลปกรรมลัทธิอิมเพรสนิสม์ ในฐานที่เป็นศิลปะสมัยใหม่ที่ยิ่งใหญ่ และโดดเด่นในยุโรป ด้วยมีศิลปินและสาธารณชนให้ความนิยมเป็นอย่างสูงสุดกำลังลดบทบาทลง ศิลปะลัทธินีโออิมเพรสนิสม์ก็ได้แสดงบทบาทเด่นชัดขึ้นมาแทน ศิลปินผู้นำในลัทธิอิมเพรสนิสม์ใหม่นี้ คือ เซอราท์กับซียัค ( Hartt.1993: 945 – 947 ) อันเป็นผลมาจากการที่พวกเขาไม่เห็นด้วยกับแนวทางของศิลปะลัทธิอิมเพรสนิสม์ ซึ่งยังคงมุ่งมั่นที่จะแสดงออกด้วยรูปทรงอันเลือนราง เสมือนสรรพสิ่งและสรรพธาตุไร้ความหมาย และพวกไม่เห็นด้วยกับประกายแสงบนพื้นภาพที่กระจายตัวไม่เด่นชัด




จากการไม่เห็นด้วยและจากความเชื่อทางศิลปะที่แตกต่าง ศิลปินกลุ่มนี้ได้แสดงความเชื่อทางศิลปะดังกล่าว ผ่านกลวิธีศิลปะในผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยการประสานอนุภาคของสีที่ถูกแตะแต้มเป็นจุดเล็ก ๆ ตามหลักทฤษฏีทางฟิสิกส์ที่ว่า แสงคืออนุภาคของสี




ศิลปินดังกล่าวพยายามนำแสงเข้ามาสัมพันธ์กับสี โดยการระบายสีให้เกิดริ้วรอยพู่กันขนาดเล็กด้วยสีสดใสโดยไม่เกลี่ยสี ลักษณะรูปแบบนี้ถูกเรียกอีกชื่อว่า ลัทธิจุดสี หรือ Pointilism หรือ Divisionism โดยศิลปินจะปล่อยให้จุดสีที่แต้มไว้อย่างพราวแพรวเกิดการผสานผสมกันในดวงตาผู้ดู เพื่อให้เกิดการผสานสัมพันธ์ระหว่างการมองเห็นสีและแสงไปพร้อมกัน




ความแตกต่างระหว่างจิตรกรรมลัทธิอิมเพรสนิสม์กับลัทธินีโออิมเพรสนิสม์นอกจากการพัฒนารอยพู่กันไปสู่การแต้มสีเป็นจุดเล็กๆ เพื่อให้สีและน้ำหนักสีที่ตัดกันมากขึ้น เกิดประกายแสงกระจ่างชัดแล้ว ในส่วนของรูปทรงวัตถุบนพื้นภาพ ก็จะได้รับการเน้นให้เด่นชัดว่าลัทธิอิมเพรสนิสม์ โดยศิลปินปรับรูปทรงจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มองเห็น ไปสู่รูปทรงและโครงสร้างใหม่บนผืนภาพ ด้วยการตัดทอนและสร้างรูปทรงให้ดูง่ายขึ้น โดยใช้โครงสร้างเรขาคณิตเข้ามาช่วยกรายๆ เพื่อให้มีการผสานสัมพันธ์กับวิธีการระบายสีเป็นจุดเล็ก ๆ ที่ไม่เหมาะสมต่อการระบายหรือสร้างให้เกิดรูปทรงที่ซับซ้อนได้ ( วิรุณ ตั้งเจริญ .2535 : 16 – 17 )




ศิลปินลัทธินีโออิมเพรสนิสม์


กลุ่มศิลปินลัทธินีโออิมเพรสนิสม์นอกจากเซอราต์และซียัคแล้ว ยังมีแม็กซีมิเลียนลูช( Maximilien Luce , ค.ศ. 1858 – 1941 ) และ อังรี เอ็ดมองค์ กรอส ( Henry Edmond Gross , ค.ศ. 1856 – 1910 ) ต่อมามีคามิล ปีสซาโร จิตรกรคนสำคัญลัทธิอิมเพรสนิสม์เข้ามาร่วมด้วย





พอล ซียัค ( Paul Signac , ค.ศ. 1863 – 1935 ) ซียัคเป็นจิตรกรฝรั่งเศสเป็นชาวปารีสโดยกำเนิดเขาได้รับแรงบันดาลใจจากการเข้าชมงานนิทรรศการจิตรกรรมของโมเนท์ และได้รับการแนะนำในการสร้างสรรค์ศิลปะจากโมเนท์เป็นอย่างดี และเขาก็เริ่มต้นด้วยการสร้างสรรค์จิตรกรรมตามแนวทางลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์ทันที ซียัคเป็นศิลปินที่มีความเฉลียวฉลาด และมีความเพียรพยายามสูง เขาประสบความสำเร็จในการทำงานศิลปะจนได้รับรางวัลหลายรางวัล ต่อมาซียัคได้พบกับศิลปินลัทธินีโออิมเพรสชั่นนิสม์ คือ ครอสส์ และ เซอราต์ พวกเขาได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทฤษฎีทางศิลปะระหว่ากันอยู่เสมอ เป็นผลทำให้ซียัคได้เปลี่ยนแนวทางศิลปะจากลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์ สู่ลัทธินีโออิมเพรสชั่นนิสม์ โดยเฉพาะเขาได้เป็นบุคคลสำคัญด้านวิชาการของกลุ่มนีโออิมเพรสชั่นนิสม์ ทำการเผยแพร่ทฤษฎีและหลักการทางศิลปะแนวทางลัทธินีโออิมเพรสชั่นนิสม์สู่ศิลปินคนอื่น ๆ และสาธารณชนได้อย่างกว้างขวาง
ซียัคมีผลงานจำนวนมากสำหรับผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือ ภาพ “ คฤหาสน์ที่กองบลาต ” ( ค.ศ. 1887 ) ภาพ “ ท่าเรือเซนต์โทรเปซ ” ( ค.ศ. 1894 )

ผลงาน




port-marseille










petit-dejeune





signac-dimanche





signac-saint-tropez




จอร์จปีแอร์ เซอราต์ ( Georges Pierre Seurat , ค.ศ. 1850 – 1891 ) เซอราต์เริ่มต้นศึกษาศิลปกรรมที่แบบแผนกับศิลปินและด้วยการคัดลอกผลงานศิลปินคนสำคัญสมัยพื้นฟูศิลปะวิทยาการ ผสานไปกับการค้นคว้าเกี่ยวกับทฤษฎีของแสงอาทิตย์อย่างละเอียดและจริงจัง ทำให้ผลงานในระยะแรกของเขามีลักษณะเป็นแบบลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์ ต่อมาเขาได้ปรับปรุงการสร้างสรรค์ของตนเองจนผลงานมีแบบฉบับนีโออิมเพรสชั่นนิสม์ แนวทางการสร้างสรรค์ของเขากก็ทำให้ซียัค และปิสซาร์โรให้ความสนใจ และปฏิบัติตามผลงานทีมีชื่อเสียงของเซอราต์และถือว่าเป็นผลงานของลิทธินีโออิมเพรสชั่นนิสม์ด้วย คือ ภาพเขียนชื่อ “ ตอนบ่ายวันอาทิตย์ที่เกาะเลอกรองต์แจตต์ ” ( Sunday After noon on the Island of Le Grande Jatte )


ผลงาน




"(1890) The channel at Gravelines, in the direction of the sea"
Georges-Pierre Seurat






Sunday Afternoon on the Island of La Grande Jatte, 1884-1886



คามิลล์ ปีสซาโร ( Camille Pissarro ค.ศ. 1830 – 1903 ) ปิสซาโรเป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศส ปีสซาโรเข้าศึกษาศิลปะในกรุงปารีสและเริ่มเขียนภาพตั้งแต่อายุ 11 ปี เขาเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนทางศิลปะอย่างเข้มข้นจริงจังคนหนึ่งปีสซาโรเป็นจิตรกรที่เริ่มต้นการสร้างงานเช่นเดียวกับซียัค คือ เริ่มจากการเขียนภาพแนวอิมเพรสชั่นนิสม์และเป็นแกนนำสำคัญของลัทธิดังกล่าวก่อนที่จะหันมาให้ความสนใจ และสร้างงานจิตรกรรมตามแนวทางนีโออิมเพรสชั่นนิสม์อย่างมุ่งมั่นและทุ่มเท ทำให้ผลงานตามแนวทงดังกล่าวของเราได้รับการยอมรับ และเขามีชื่อเสียงหลายภาพ อาทิ ภาพเกาะลาครัวซ์ เมืองรูอองในม่านหมอก ( ค.ศ. 1888 ) โดยเฉพาะภาพถนนมองท์ยามใกล้ค่ำ ( ค.ศ. 1897 )


ผลงาน




"The Boulevard Montmartre on a Winter Morning"
Camille Pissarro





Photo courtesy Archives Musée Camille Pissarro, Musées de Pontoise, France






Peasants’ houses, Éragny, 1887





Minette, 1872




Create Date : 11 กันยายน 2551
Last Update : 5 ตุลาคม 2551 17:53:39 น. 5 comments
Counter : 27687 Pageviews.

 
-vvo6Pk9boe[m8;k,wxgzpcrij9jv8iy[


//www.puansanid.com/forums/showthread.php?p=1136#post1136


โดย: c,'lkx IP: 58.9.86.229 วันที่: 6 ตุลาคม 2551 เวลา:2:24:58 น.  

 
มียาวกวว่านี้มั้ยครับ


โดย: ปังปอนด์ IP: 223.204.114.78 วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:17:40:47 น.  

 
มียาวกวว่านี้มั้ยครับ


โดย: ปังปอนด์ IP: 223.204.114.78 วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:17:45:37 น.  

 
ขอร้องครับ


โดย: ปังปอนด์ IP: 223.204.114.78 วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:17:47:22 น.  

 
ผมชอบเรื่องนี้มากครับ


โดย: ปังปอนด์ IP: 223.204.114.78 วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:17:48:34 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tlemovie
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




รายงานตัวครับ
lOGO background
Friends' blogs
[Add tlemovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.