^_^ vechagran dot com by tingnoy
Group Blog
 
All blogs
 
สรุปเกี่ยวกับระเบียบข้าราชการพลเรือน

1. ขรก.พลเรือนเป็นผู้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในกระทรวง ทบวง กรม ฝ่ายพลเรือนตามพระราชบัญญัตินี้

2. คณะรัฐมนตรีเป็นผู้กำหนดวัน เวลาทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการพลเรือน

3. ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่พัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาในเรื่อง
• เพิ่มพูนความรู้ทักษะ
• เพิ่มพูนทัศนคติที่ดี
• เพิ่มพูนคุณธรรมและจริยธรรม

4. ใน อ.ก.พ.จังหวัด ไม่มีทรงคุณวุฒิด้านท้องถิ่น

5. เงินเดือนเป็นอันดับ และขั้น

6. ตำแหน่งของเสมียนตราอำเภอคือ เจ้าหน้าที่บริหารการเงินและบัญชี 6

7. ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ ออกจากราชการเมื่อ
• ตาย พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ
• ได้รับอนุมัติจาก รมต.เจ้าสังกัดให้ลาออก
• คณะ รมต.ที่อนุมัติให้แต่งตั้งออกจากตำแหน่งทั้งคณะ หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดออกจากตำแหน่ง

8. ข้าราชการพลเรือนเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้ ไปเป็นข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษได้ แต่ข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ จะโอนกลับไปเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญไม่ได้

9. ระบบ P.C. เริ่มใช้ ปี 2518

10. จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือนตามข้อบังคับของ ก.พ.
• จรรยาบรรณต่อตนเอง (ข้อ 1-3)
• จรรยาบรรณต่อหน่วยงาน (ข้อ 4-7)
• จรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้ ผบช.และผู้ร่วมงาน (ข้อ 8-12)
• จรรยาบรรณต่อประชาชนและสังคม (ข้อ 13-16)

11. มาสายกลับก่อน (มาตรา 92 ไม่อุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ)

12. เช้าชามเย็นชาม (มาตรา 83 ไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดี)

13. ดื่มสุรามึนเมาในเวลาราชการ (มีความผิดฐานประพฤติชั่ว)

14. ทำ บ.ป.2 สูญหายโดยไม่จงใจ (ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ)

15. ขาดราชการติดต่อกันเกิน 15 วัน (ลงโทษไล่ออกตั้งแต่วันที่ละทิ้งหน้าที่ราชการเป็นต้นไป)
16. กรณีที่อาจสั่งพักราชการและให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2538) เช่นถูกฟ้องคดีอาญา ในเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และพนักงานอัยการมิได้เป็นทนายแก้ต่างให้

17. ในคำสั่งลงโทษ ต้องมี เรื่องที่กระทำผิด ฐานความผิด ระดับโทษที่จะลง และระยะเวลาที่ผู้ถูกลงโทษสามารถอุทธรณ์ได้

18. การตัดเงินเดือน
• อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด 5 % ไม่เกิน 3 เดือน ขั้นเงินเดือน 1 ขั้น
• สูงกว่ากอง (ปจ.) 5 % ไม่เกิน 2 เดือน
• เทียบเท่ากอง (นอภ.) 5 % ไม่เกิน 1 เดือน

19.การสอบสวนทางวินัย ต้องแล้วเสร็จภายใน 270 วัน

20.การสอบสวนจะเสียไปทั้งหมด ถ้าการแต่งตั้งกรรมการสอบสวนไม่ถูกต้อง เช่นไม่มีนิติกรหรือผู้รับปริญญาทางกฎหมาย หรืออบรมหลักสูตรทางวินัยหรือมีประสบการณ์ด้านการดำเนินการวินัย

21.กรณีลาออกแล้ว ไม่มาปฏิบัติราชการติดต่อกัน 15 วันนับแต่วันลาออก โดยผู้บังคับบัญชาไม่สั่งการอย่างหนึ่งอย่างใด ในเรื่องการลาออกนั้น ถือว่าไม่มีความผิด เพราะลาออกจากราชการแล้ว

22.ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใด ถึงแก่ความตายเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ คณะรัฐมนตรีมีอำนาจเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญ

23.ผบช.มีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการ ของผู้ใต้ ผบช. เพื่อใช้ในการ
• ประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง
• เลื่อนขั้นเงินเดือน
• พัฒนาข้าราชการ
• เพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ

24. วันใช้บังคับ พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน คือวันที่ 30 มีนาคม 2535

25.ข้าราชการฝ่ายพลเรือน คือผู้ซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามกฎหมายให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือน ในกระทรวง ทบวง กรม ฝ่ายพลเรือน

26.ก.พ.ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานบุคคลจำนวนกี่คน
ตอบ ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน โดยต้องเป็น หรือเคยเป็นข้าราชการไม่ต่ำกว่าอธิบดี หรือเทียบเท่า ถ้าต่ำกว่านี้ให้มีได้ไม่เกิน 3 คน

27. ข้อต้องห้ามของกรรมการ ก.พ. มีอะไรบ้าง
ตอบ ขรก.การเมือง กก.พรรคการเมือง เจ้าหน้าที่พรรคการเมือง

28. กรรมการ ก.พ.ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
ตอบ 2 ปี ถ้าว่างลงให้เลือกภายใน 30 วัน หากเหลือไม่ถึง 180 วัน ไม่ต้องก็ได้ (ถ้ายังมีกรรมการเหลืออยู่ไม่น้อยกว่า 5 คน ยังไม่ต้องเลือกก็ได้)

29. องค์ประชุมในการประชุม ก.พ.ต้องเป็นไปอย่างไร
ตอบ กึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด

30. ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะสามารถดำเนินการประชุม ก.พ. ได้
ตอบ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่แทน

31. การตั้ง อ.ก.พ.วิสามัญเพื่อทำหน้าที่พิจารณาเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ หรือการร้องทุกข์ ต้องตั้งจากกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งและข้าราชการพลเรือน ผู้ได้รับเลือกจากข้าราชการพลเรือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด กฎ ก.พ. อย่างละกี่คน
ตอบ อย่างน้อย 2 คน กับจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนอนุกรรมการทั้งหมด

32. ผู้บังคับบัญชาข้าราชการและบริหารราชการของสำนักงาน ก.พ.คือใคร
ตอบ เลขาธิการ ก.พ.

33. อ.ก.พ.สามัญ คือ
ตอบ อ.ก.พ.กระทรวง ทบวง อ.ก.พ.กรม อ.ก.พ.จังหวัด

34. ข้าราชการพลเรือมีกี่ประเภท
ตอบ 3 ประเภท ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ และข้าราชการพลเรือนประจำต่างประเทศพิเศษ

35. มติของ ก.พ. ในการประชุมปรึกษา เพื่อยกเว้นผู้ขาดคุณสมบัติให้เข้ารับราชการ ถือคะแนนเสียงอย่างไร
ตอบ 4 ใน 5 ของกรรมการในที่ประชุม โดยลงมติด้วยวิธีลับ

36. การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ 10 ในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวง แต่อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรี หรือในสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ปฏิบัติตามข้อใด
ตอบ 1.ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัด นำเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอนุมัติ
2.ถ้าคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ
3.นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

37. ใครเป็นผู้อนุมัติการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ 11
ตอบ คณะรัฐมนตรี โดยรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้สั่งบรรจุ

38. ใครเป็นผู้อนุมัติการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ 10
ตอบ คณะรัฐมนตรี โดยปลัดกระทรวงเป็นผู้สั่งบรรจุ

39. ใครเป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ 7 ลงมา
ตอบ อธิบดี (ระดับ 8 ก็ได้ โดยอธิบดีเสนอ ปลัดกระทรวง เห็นชอบ และอธิบดีเป็นผู้สั่งบรรจุแต่งตั้ง)

40.ข้าราชการพลเรือนสามัญที่กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง เมื่อผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษปลดออก ไล่ออก และถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าข้อใด
ตอบ ปลดออก

41.ข้าราชการพลเรือนผู้ลงโทษปลดออก จะมีผลต่อบำเหน็จบำนาญอย่างไร
ตอบ มีสิทธิรับบำเหน็จบำนาญเสมือนลาออก

42.การต่อเวลาให้ข้าราชการพลเรือนสามัญที่ต้องออกจากราชการ เพราะเกษียณอายุทำได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้ เพราะขัดต่อ พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือน

43.ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 52 มีอำนาจยับยั้งการลาออกของข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้ไม่เกินกี่วัน นับแต่วันลาออก
ตอบ 90 วัน

44.นายสมชายยื่นใบลาออกเพื่อลงสมัคร ส.จ. ในจังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2543 การลาของเขาจะมีผลเมื่อใด
ตอบ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543

45. การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ต้องกระทำภายในกี่วันนับแต่วันทราบคำสั่ง
ตอบ 30 วัน

46. การอุทธรณ์คำสั่งของผู้บังคับบัญชาในราชการบริหารส่วนภูมิภาคที่ต่ำกว่าผู้ว่าราชการจังหวัดให้อุทธรณ์ต่อใคร
ตอบ อ.ก.พ.จังหวัด

47. การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ให้อุทธรณ์ต่อ ก.พ. ภายในกี่วันนับแต่วันทราบคำสั่ง
ตอบ 30 วัน

48. การอุทธรณ์คำสั่งของปลัดกระทรวงต้องอุทธรณ์ต่อใคร
ตอบ ก.พ.

49.การร้องทุกข์ต่อ ก.พ. ต้องกระทำภายในกี่วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง
ตอบ 30 วัน

50. ข้าราชการพลเรือน ปัจจุบันรับเงินเดือนตาม พ.ร.บ.เงินเดือนฉบับใด
ตอบ พ.ร.บ.เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2538 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 ต.ค. 2537 (ปีงบประมาณ 2538)

51. กงช. ย่อมาจากอะไร
ตอบ คณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่หลัก ในการเสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ ครม. เกี่ยวกับเงินเดือน

52. เงินเดือนขั้นที่ต่ำที่สุด และขั้นที่สูงที่สุด
ตอบ ต่ำที่สุด 4,100 บาท และสูงที่สุด 59,090 บาท

53. ข้าราชการพลเรือนสามัญ ออกจากราชการไปรับราชการทหารตามกฎหมาย กลับเข้ารับราชการใหม่ในหน่วยงานเดิม ต้องยื่นคำร้องภายในกี่วัน นับจากวันพ้นจากราชการทหาร
ตอบ 180 วันนับจากวันพ้นจากราชการทหาร

54.ใครเป็นผู้แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดี
ตอบ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัด คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และปลัดกระทรวงสั่งบรรจุ นายกเสนอโปรดเกล้าแต่งตั้ง

55.ใครเป็นผู้แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ
ตอบ อธิบดีเสนอปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงให้ความเห็นชอบ และอธิบดีสั่งบรรจุ

56.ข้าราชการพลเรือนสามัญ อาจได้รับบำเหน็จความชอบ เป็น
ตอบ คำชมเชย เครื่องเชิดชูเกียรติ รางวัล การได้เลื่อนขั้นเงินเดือน เป็นต้น

57. ข้าราชการพลเรือนสามัญ สมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้หรือไม่
ตอบ ได้

58. อ.ก.พ.จังหวัด มีทั้งหมดกี่คน
ตอบ 11 คน

59. ตำแหน่งสำหรับหัวหน้าหน่วยงานที่สูงกว่ากอง ตามกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 กำหนดให้เป็นระดับใด
ตอบ ระดับ 9

60. ตามกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้ง (ย้าย) ข้าราชการในตำแหน่งใดได้บ้าง
ตอบ ข้าราชการตั้งแต่ระดับ 7 ลงมา ที่มิใช่หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด

61. การรักษาการในตำแหน่ง ถือว่าเป็นการแต่งตั้ง และวิธีการใดบ้างที่ถือว่าเป็นการแต่งตั้ง
ตอบ การรักษาการในตำแหน่งถือว่าไม่เป็นการแต่งตั้ง ส่วนการเลื่อนระดับ การย้าย การโอน ถือว่าเป็นการแต่งตั้ง

62. ผู้มีอำนาจในการกำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ ในส่วนราชการต่าง ๆ ได้แก่
ตอบ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนสามัญ

63. ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทใด ได้รับทั้งเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
ตอบ ประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ และประเภทผู้บริหารระดับสูง

64. ตำแหน่ง ขรก. ระดับ 10 ที่มีลักษณะบริหารไม่ควรปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันนานเกินกว่ากี่ปี
ตอบ 4 ปี

65. โทษทางวินัยในข้อใดข้างล่างนี้ ที่เรียงจากเบาไปหาหนัก
ตอบ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก

66. ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งลงโทษตัดเงินเดือนข้าราชการที่กระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง
ตอบ 5 % ไม่เกิน 3 เดือน
67. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดถึงแก่ความตาย เนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ราชการ ผู้ที่จะเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญ คือผู้ใด
ตอบ คณะรัฐมนตรี

68. ประธานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้แก่
ตอบ นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรี ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย

69.กรณีปลัดจังหวัดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง การดำเนินการสั่งลงโทษอย่างร้ายแรงอย่างใด
ตอบ เสนอ อ.ก.พ.กระทรวงมีมติ แล้วให้ ปมท.สั่งลงโทษ

70.การสั่งลดโทษหรือเพิ่มโทษ เป็นลดขั้นเงินเดือน ตัดเงินเดือน หรือภาคทัณฑ์ ผลของคำสั่งจะใช้บังคับเมื่อใด
ตอบ นับแต่วันที่คำสั่งเดิมใช้บังคับ

71.กรณีลูกจ้างประจำในภูมิภาคถูกสอบสวนตามมาตรา 115 แล้วมีพฤติการณ์หย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติราชการ ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ เสนอ ผวจ.มีคำสั่งให้ออก

72.การสั่งพักข้าราชการ จะสั่งพักย้อนหลัง ไปก่อนวันออกคำสั่งได้ในกรณีใด
ตอบ ผู้ถูกสั่งพักถูกควบคุมในคดีอาญาก่อนออกคำสั่งพัก

73.ปลัดจังหวัดมีอำนาจสั่งลงโทษข้าราชการได้เท่าไร
ตอบ ตัดเงินเดือนไม่เกิน 5 % ไม่เกิน 2 เดือน

74.ถ้าผู้มีอำนาจสั่งบรรจุได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงรวม 3 คน การประชุมเพื่อพิจารณาว่ามีพยานหลักฐานใด สนับสนุนข้อกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการใด เมื่อใด อย่างไร และเป็นความผิดกรณีใด มาตราใด ต้องมีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุมกี่คน
ตอบ 3 คน

75.การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษ จะให้ผู้อื่นอุทธรณ์แทนได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้

76.กรณีใดบ้างที่ทำให้การสอบสวนเสียไปทั้งหมด
ตอบ การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนไม่ถูกต้อง

77.การสอบสวนถ้าไม่เสร็จภายในกี่วัน ที่ประธานกรรมการต้องรายงานผู้สั่งแต่งตั้งเพื่อรายงาน อ.ก.พ.กระทรวงทราบ เพื่อติดตามเร่งรัดการสอบสวน
ตอบ 270 วัน

78.สิทธิของผู้อุทธรณ์ มีอะไรบ้าง
ตอบ 1)ขอคัดรายงานการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวน
2)ขอคัดค้านอนุกรรมการผู้พิจารณาอุทธรณ์เสร็จสิ้น
3)ขอถอนอุทธรณ์ก่อนการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้น



Create Date : 21 กรกฎาคม 2551
Last Update : 21 กรกฎาคม 2551 23:04:43 น. 0 comments
Counter : 7919 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

tingnoy
Location :
มหาสารคาม Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]




สวัสดีคะผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อคแห่งสาระดีๆ และความรู้หลากหลายแห่งนี้คะ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวม และผู้ที่เตรียมตัวในการสอบที่มีเวลาน้อยสามารถนำแนวข้อสอบเหล่านี้ไปใช้ประกอบในการสอบได้นะคะ รวมทั้งเจ้าของบล็อคเอง ก็กำลังพยายามสู้ๆ กับการสอบคะ เป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะคะสอบได้กันทุกคนคะ*-*
ปล.จะพยายามอัพข้อมูลลงเรื่อยๆนะคะ ติดตามเข้ามาชมได้ตลอดคะ..........
สำหรับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมบล็อคกันแล้วขอแค่คำขอบคุณนะคะผู้ทำจะได้มีกำลังใจหาเนื้อหามาลงให้ค่ะ
Wellcome to my blog
Friends' blogs
[Add tingnoy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.