อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
ดูแลสุขภาพจิต หลังการสูญเสีย ใครบ้างที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ



การสูญเสีย นำมาซึ่งความทุกข์ใจของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างกว้างขวางรวมทั้งการรับรู้ผ่านสื่อออนไลน์ทั้งหลาย แต่ก็เป็นโอกาสในการที่จะสร้างความเชื่อมโยงของคนทั้งสังคมที่จะร่วมกันเป็นหนึ่งในการไว้อาลัย ร่วมสืบทอดปณิธานของพระองค์ท่านเพื่อให้สังคมไทยได้ก้าวต่อไป

บทเรียนจากนานาชาติ : สิ่งที่พึงทำ

1. ช่วยให้ประชาชนได้โอกาสได้แสดงออกให้มากที่สุด ผ่านพิธีกรรมทั้งของรัฐ ทุกศาสนาและชุมชนท้องถิ่น เช่น กิจกรรมไว้อาลัย สวดมนต์และพิธีกรรมของแต่ละศาสนา

2. ส่งเสริมให้บุคคลแสดงความรู้สึกส่วนตัว ที่มีต่อพระประมุขได้ เช่น การเขียนความรู้สึก การเล่าเรื่องความประทับใจที่มีต่อพระราชกรณียกิจของในหลวง

3. มีส่วนร่วมในการทำสิ่งที่ดีงามให้กับพระองค์เช่น การบริจาค กิจกรรมจิตอาสา

4. ช่วยกันดูแล คนใกล้ชิดที่อาจจะได้รับผลกระทบทางจิตใจสูง
– ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง
– ผู้ที่มีความรู้สึกผูกพันต่อในหลวง
– กลุ่มเด็กที่อาจจะรู้สึกสับสนถึงปฏิกิริยาของผู้ใหญ่
– กลุ่มที่มีความเครียดจากปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ

5. ร่วมกันสืบทอดปณิธานของในหลวง เช่น แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การบริหารจัดการน้ำ โครงการในพระราชดำริต่าง ๆ

บทเรียนจากนานาชาติ : สิ่งที่พึงระวัง

1. ไม่ปิดกั้นการแสดงออกความรู้สึกแต่อย่าให้ความรู้สึกสิ้นหวัง ท่วมท้นจนมองไม่เห็นทางออกของสังคม

2. การแสดงออกที่พอดีโดยไม่ไปกระตุ้นความขัดแย้งและความเห็นต่างในสังคม

3. ไม่หาแพะรับบาป (scapegoat)

การดูแลประชาชนที่มีความรู้สึกสูญเสียอย่างรุนแรง กลุ่มที่พึงระวัง
– ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง
– ผู้ที่มีความรู้สึกผูกพันต่อในหลวง
– กลุ่มเด็กที่อาจจะรู้สึกสับสนถึงปฏิกิริยาของผู้ใหญ่
– กลุ่มที่มีความเครียดจากปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ

อาการที่แสดงออก

1 ปฏิกิริยาความโศกเศร้ารุนแรงที่แสดงออกในฝูงชน เช่น เป็นลม, หายใจเร็ว, ร้องไห้คร่ำครวญ ตีอกชกหัว, ชัก

2 ความโศกเศร้าของบุคคลที่รุนแรงและยาวนาน

sadness-01

การช่วยเหลือจากผู้ใกล้ชิด : 3L (LOOK, LISTEN, LINK )

LOOK : มองหา มองเห็น
1. สำรวจค้นหาคนที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน เช่น แสดงอาการเศร้าโศกเสียใจรุนแรง กินไม่ได้ นอนไม่หลับ
2. สำรวจกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง ที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกสูญเสีย

LISTEN : รับฟัง มีสติรับฟังอย่างตั้งใจ ใช้ภาษากาย เช่น สบตา จับมือ โอบกอด เพื่อช่วยให้ผู้สูญเสียบอกเล่าอารมณ์ความรู้สึก คลายความทุกข์ในใจและจัดการอารมณ์ให้สงบ

LINK : ช่วยเหลือ/ส่งต่อ

1 ให้การช่วยเหลือตามความจำเป็นพื้นฐาน

2 ในกรณีที่ช่วยเหลือเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น เช่น ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ โศกเศร้ารุนแรง มีความคิดฆ่าตัวตาย ให้ส่งต่อตามความเหมาะสม

3 การช่วยเหลือควรพยายามติดต่อเชื่อมโยงกับครอบครัวหรือชุมชน

ถึงแม้การสูญเสียพระองค์ท่านเป็นความเศร้าโศกอันใหญ่หลวงของมหาชน แต่ก็เป็นโอกาสในการสร้างความเป็นหนึ่งอันเดียวกัน ที่จะได้แสดงความรู้สึกร่วมกัน และสืบทอดปณิธานของพระองค์ท่าน เพื่อให้สังคมไทยได้ก้าวต่อไป

ที่มาเนื้อหาจาก  : กรมสุขภาพจิต




Create Date : 14 พฤศจิกายน 2559
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2559 8:48:51 น. 1 comments
Counter : 1160 Pageviews.

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาทักทาย สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: nokyungnakaa วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:18:13:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.