Group Blog
 
All blogs
 
Thank You For The Music (1) by แอบชอบ คห. ข้างล่าง

เสียงเพลง ‘Any Other Day’ ของ Wyclef Jean Featuring Norah Jones ดังผ่านลำโพงวิทยุกระจายตัวไปทั่วห้องทำงาน สำเนียงหวานๆ ของเธอช่างเข้ากันได้ดีกับเสียงใสๆ ของกีตาร์อะคูสติกของเขา

ช่างเป็นการร่วมงานที่ลงตัวและได้ผลงานอันแสนรื่นรมย์เป็นที่สุด ผมค้นซองกระดาษสีน้ำตาลจำนวนมหาศาลที่วางระเกะระกะไปทั่วพื้นห้อง ยัดเยียดอยู่ในทุกซอกมุมของโต๊ะทำงาน มันเป็นซองซีดีเพลงที่ค่ายเพลงทั้งหลายส่งมาให้เป็นประจำด้วยหน้าที่การงานที่ทำอยู่ แต่ไม่พบอัลบั้มของ Wyclef Jean แม้แต่แผ่นเดียว




ในใจภาวนาว่าอย่าให้เพลงนี้อยู่ในอัลบั้มพิเศษ หรืออัลบั้มอื่นใดของนอราห์ โจนส์เลย เพราะถ้าอยู่ในอัลบั้มของ ไวเคลฟ ชอง ซึ่งเป็นศิลปินในสังกัดค่าย SONY BMG ผมยังมีโอกาสที่จะได้เป็นเจ้าของมัน แต่ถ้าเกิดเพลงนี้อยู่ในอัลบั้มใหม่ของนอราห์ โจนส์ ก็เท่ากับว่าผมหมดสิทธิที่จะได้ซีดีแผ่นนั้นมา


ทำไมน่ะเหรอ ก็เพราะว่านอราห์ โจนส์ เป็นศิลปินในสังกัดค่าย EMI ซึ่งตอนนี้ประกาศว่าจะไม่มีการจำหน่ายอัลบั้มเพลงในรูปแบบเทป ซีดี วีซีดี ดีวีดี และรูปแบบอื่นๆ อีกต่อไปแล้ว (ยกเว้นไฟล์ดิจิตอล) เช้าวันที่ 4 ธันวาคมที่ผ่านมา มีข่าวกรอบเล็กๆ ที่ปะปนกับข่าวสารมากมายที่ไหลเวียนในโลกใบนี้ ใจความของข่าวสร้างความตะลึงงันให้กับผมอย่างมหาศาล เมื่อทางบริษัทอีเอ็มไอ ประเทศไทย ประกาศยุติการจัดจำหน่ายเทป, ซีดี, วีซีดี, ดีวีดี, และรูปแบบอื่นๆ ยกเว้นในรูปแบบดิจิตอล ในประเทศไทยภายในไตรมาสที่ 1 ในปี 2551 โดยให้เหตุผลไว้สองประการคือ


สภาพเศรษฐกิจถดถอยในปัจจุบันของธุรกิจดนตรีทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีสาเหตุใหญ่มาจากการเผยแพร่ผลงานดนตรีไม่ถูกต้องลิขสิทธิ์(เทปผีซีดีเถื่อน)อย่างกว้างขวาง และทำให้มูลค่าตลาดโดยรวมเมื่อปีที่แล้วตกลงมากกว่า 30% และผลงานดนตรีที่จัดทำในรูปแบบดิจิตอลกลับได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการบริโภคผ่านช่องทางโทรศัพท์มือถือ
และแล้วยักษ์ใหญ่ก็ล้มครืน


“เป็นไปได้เหรอ” ผมคิดในใจ ที่บริษัทเพลงสากลยักษ์ใหญ่อันดับ 3 ของโลกจะล้มครืนจนถึงขั้นประกาศยุติการจัดจำหน่าย (ในประเทศไทย)


เมื่อย้อนกลับไปดูภาพรวมของค่ายอีเอ็มไอ (ค่ายใหญ่ที่ประเทศอังกฤษ) จะพบว่าที่ผ่านมาประสบปัญหาเรื่องผลกำไร การขยายธุรกิจ และร่อแร่ต่อการดำเนินธุรกิจต่อไป ถึงแม้ว่าในปีค.ศ. 2005 ปี บริษัทสามารถทำกำไรได้สูงถึง 125 ล้านปอนด์ อีกทั้งยังมีผลประกอบการสูงถึง 1.6 ล้านล้านปอนด์ซึ่งนับเป็นผลประกอบการที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับบริษัทคู่แข่งอื่นๆ ในธุรกิจเดียวกัน ซึ่งเป็นเพราะมีศิลปินดังๆ ในสังกัดอย่าง รอบบี้ วิลเลียมส์ นอราห์ โจนส์ ไคลี่ มิน้อก ฯลฯ






หลังจากนั้นการดำเนินธุรกิจของอีเอ็มไอก็เริ่มง่อนแง่น จนเมื่อต้นปีที่ผ่านมาบริษัทค่ายเพลงยักษ์ใหญ่อันดับ 4 ของโลก อย่าง วอร์เนอร์ มิวสิค กรุ๊ป ยื่นขอเสนอขอซื้อกิจการ ในวงเงิน 2,100 ล้านปอนด์ (ประมาณ 143,500 ล้านบาท) แต่ได้รับการปฏิเสธ ด้วยเหตุผลว่าราคาการเสนอซื้อดังกล่าวไม่เหมาะสม และไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น ซึ่งหากมีการควบรวมกิจการกันระหว่างค่ายเพลงทั้งสอง ปรากฏการณ์นี้จะถือเป็นหนที่ 2 ที่ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ของโลกควบรวมกิจการกัน เหมือนกับ SONY และ BMG


แต่แล้วอีเอ็มไอก็ตอบรับข้อเสนอซื้อกิจการจากบริษัทเพื่อการลงทุนยักษ์ใหญ่ของโลก เทอร์ร่า เฟอร์มา ในวงเงิน 3,200 ล้านปอนด์พร้อมหนี้สิน ในเดือนพฤษภาคมปี 2007 ด้วยเหตุผลว่าค่าตอบแทนสมเหตุสมผล
ความผันผวนของค่ายแม่ที่อังกฤษคงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของปรากฏการณ์อีเอ็มไอ ไทยแลนด์


มิหนำซ้ำ เมื่อบริษัทเทอร์ร่า เฟอร์มา ภายใต้การบริหารของ กาย แฮนด์ ผู้บริหารของเทอร์ร่า เฟอร์มา เข้ามาบริหารกิจการ ก็สร้างความปั่นป่วนเข้าไปอีก ด้วยการบริหารงานแบบบริษัทเพื่อการลงทุนที่แสวงหากำไรสูงสุด ภายใต้ต้นทุนต่ำสุดตามหลักเศรษฐศาสตร์ทุนนิยม สั่งลดต้นทุนทุกด้านรวมถึงมาตรการการจัดการยอดแผ่นซีดีส่งคืนจากผู้ค้าปลีก ซึ่งสร้างความสูญเสียมากที่สุดของบริษัท ด้วยยอดคืนในปีที่แล้วสูงถึง 65 ล้านแผ่น คิดเป็นค่าใช้จ่ายราวๆ 7,000 ล้านบาท (เท่ากับว่ายอดการจำหน่าย หรือยอดการผลิต เกินจริงกว่ายอดการบริโภคในตลาด หรือคิดง่าๆย คือ ศิลปินดัง แต่ขายอัลบั้มไม่ได้) พร้อมตั้งเป้ากำไรในปีหน้าสูงถึง 150 ล้านปอนด์ (ประมาณ 10,000 ล้านบาท)แลกกับโบนัสของพนักงานทั้งหมด (หมายถึงทำเป้าไม่ได้ โบนัสปีหน้า อดแน่)


ถึงตรงนี้อาจไม่น่าแปลกใจว่าทำไมอีเอ็มไอ ประเทศไทย ถึงประกาศงดจำหน่ายในปีหน้า เหตุผลตามประกาศดังกล่าว เป็นเพียงเหตุผลพื้นๆ ที่ค่ายเพลงทั่วโลกประสบอยู่ บางทีความวุ่นวายและการบริหารงานภายใต้แนวคิดอีกแบบอาจเป็นสารกระตุ้นอย่างดีให้เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ที่เมืองไทย ประเทศที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์สูงเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย ขายได้ แต่ขายแล้วไม่ได้กำไรจะขายต่อไปทำไม--กาย แฮนด์ คงคิดเช่นนี้


โจรเล็กปล้นโจรใหญ่


ปัญหาใหญ่สำหรับธุรกิจเพลงทั่วโลกในปัจจุบันนี้คือปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นบรรดาเทปผี ซีดีเถื่อน หรือการดาวน์โหลดโดยผิดกฎหมายตามอินเตอร์เน็ต และดูเหมือนว่ามาตรการทางกฎหมาย หรือมาตรการรัฐจะไม่สามารถเยียวยาให้หายดี หรือแม้แต่พยุงอาการให้ทรงตัวได้แล้ว บรรดาค่ายเพลงต่างๆ จึงต้องลงทุนลงแรงงัดมาตรการต่างๆ ออกมาต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของตัวเอง

แม้กระทั่งค่ายอีเอ็มไอ ประเทศไทยเอง ในยุคภายใต้การบริหารของ วิชาติ จิราธิยุติ (ปี 2544) ก็งัดมาตรกาลดราคาซีดีเพื่อสู้กับยอดจำหน่ายที่ซบเซา และบรรดาของผิดกฎหมายทั้งหลาย โดยอัลบั้มเพลงสากลออกใหม่ที่ผลิตในประเทศไทยของอีเอ็มไอ จัดจำหน่ายในราคา 399 บาท จากเดิม 500 บาท ส่วนอัลบั้มเก่าประมาณ 3 ปีขึ้นไป บริษัทจะวางจำหน่ายในราคา 269 บาท จากเดิม 320 บาท ส่วนอัลบั้มเก่ากว่านั้นจะจำหน่ายในราคา 199 บาท เช่นเดียวกับวีซีดี

หลังจากนั้นการดำเนินธุรกิจของอีเอ็มไอก็เริ่มง่อนแง่น จนเมื่อต้นปีที่ผ่านมาบริษัทค่ายเพลงยักษ์ใหญ่อันดับ 4 ของโลก อย่าง วอร์เนอร์ มิวสิค กรุ๊ป ยื่นขอเสนอขอซื้อกิจการ ในวงเงิน 2,100 ล้านปอนด์ (ประมาณ 143,500 ล้านบาท) แต่ได้รับการปฏิเสธ ด้วยเหตุผลว่าราคาการเสนอซื้อดังกล่าวไม่เหมาะสม และไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น ซึ่งหากมีการควบรวมกิจการกันระหว่างค่ายเพลงทั้งสอง ปรากฏการณ์นี้จะถือเป็นหนที่ 2 ที่ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ของโลกควบรวมกิจการกัน เหมือนกับ SONY และ BMG

อีเอ็มไอถือเป็นค่ายเพลงสากลค่ายแรก ที่ประกาศลดราคาซีดีลง หลังจากเสียหายกับปัญหาสินค้าเถื่อนปีละ 100 ล้านบาท และก่อนหน้านี้กลุ่มเพลงไทยได้ปรับลดราคาลง


ผมจำได้ว่าเมื่อยังเด็ก รายได้ประจำเดือน (จากพ่อแม่) มีไม่มากพอที่จะซื้ออัลบั้มเพลงสากลในรูปแบบซีดีได้ ด้วยราคาที่สูงถึงแผ่นละ 500 บาท (ในขณะที่เทปคาสเซ็ตราคาอยู่ที่ 199 บาท) การปรับลดราคาซีดีในครั้งนั้น สร้างความประหลาดใจแก่ผมอย่างมหาศาล ด้วยเพราะขัดกับหลักเศรษฐศาสตร์อย่างรุนแรง ในขณะที่ข้าวของนับวันราคายิ่งถีบตัวสูงขึ้น ด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น ค่าเงินที่น้อยลง แต่แผ่นซีดีที่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ราคา 500 บาทกลับสามารถปรับลดราคาลงได้ถึง 100 บาท (คิดเป็น 20 %)

เกิดอะไรขึ้น!!!


การปรับลดราคาครั้งนั้น ได้รับการอนุญาตจากค่ายใหญ่ที่ประเทศอังกฤษเรียบร้อย (หลังจากนั้นค่ายเพลงสากลค่ายอื่นๆ ก็ปรับลดราคามาที่ตัวเลขเดียวกัน) และแน่นอนว่า การปรับลดราคาไม่ได้ทำให้บริษัท ‘ขาดทุน’ (เพราะถ้าขายขาดทุนใครจะไปขาย) แต่อาจจะเปลี่ยนมาเป็นได้กำไร ‘น้อยหน่อย’
ตรงนี้แหละที่น่าคิดส่วนต่าง 100 บาท ที่ผ่านมา (นานนับ 10 ปี) หากคิดเป็นตัวเลขแล้วคงมหาศาล เท่ากับว่าทางบริษัทสามารถ ‘ฟัน’ กำไรได้หลายอยู่และถือได้ว่าเป็นการ ‘ฟัน’ ที่โหดไม่เบาหากเทียบว่าการลดราถึง 100 บาท หรือ 20 % แล้วยังทำให้บริษัทยังคงมีกำไร และดำเนินธุรกิจต่อไปได้


หากคิดในมุมกลับกัน โดยตีความคำว่า ‘กฎหมายลิขสิทธิ์’ เป็นเพียงคู่มือการโก่งราคาของค่ายเพลง ปรากฏการณ์เทปผี ซีดีเถื่อน การไรต์แผ่น การดาวนด์โหลด ทั้งหมดทั้งมวลที่ถูกตราหน้าว่า ‘Piracy’ หรือการขโมยเยี่ยงโจรนั้น คงเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจะเรียกว่า ‘โจรเล็กปล้นโจรใหญ่’ กระมัง



To be continue......

แอบชอบ คห. ข้างล่าง




Create Date : 14 มกราคม 2551
Last Update : 16 มกราคม 2551 16:53:07 น. 1 comments
Counter : 469 Pageviews.

 
ยุคของ ดิจิตอล มาแรงมากเลย กล้อง ฟิล์มจะหายไปจากโลกป่าวคะ


โดย: MinT IP: 58.10.65.101 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:12:54:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

The Cool Council
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เราเป็น Webblog อย่างไม่เป็นทางการของ McCann Pulse ประเทศไทย ที่มีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมทัศนคติและความคิดเห็นของกูรูในโต๊ะต่างๆของ Pantip ในหมวด

1.อาหาร และ เครื่องดื่ม
2.สุขภาพ และ ความงาม
3.สื่อต่างๆ และ ความบันเทิง
4.ไลฟ์สไตล์ และ เทรนด์
5.เทคโนโลยี และ อุปกรณ์สื่อสาร
6.การเงิน และ การลงทุน


Copyright ©2007 http://thecoolcouncil.bloggang.com
All rights reserved.
   
   
   

    
Friends' blogs
[Add The Cool Council's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.