จัดการคุณภาพไฟฟ้าเพื่ออุตสาหกรรมไทย
Group Blog
 
All Blogs
 

การวัดคุณภาพไฟฟ้า(Power Quality)(2)

ก่อนที่จะดำเนินการวัดคุณภาพไฟฟ้าผู้รับผิดชอบในโรงงานต้องรู้จุดประสงค์ในการวัดที่แน่ชัดเสียก่อน จุดประสงค์ในการวัดจะเป็นตัวบอกว่าเราจะใช้เครื่องวัดชนิดใด ใช้ Threshold เท่าใด  สัญญาณที่จะนำมาบันทึกเป็นข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์และตีความ  จุดประสงค์ในการวัดที่พบบ่อยมีดังนี้

-  การวัดคุณภาพไฟฟ้าเพื่อแสดงลักษณะการทำงานของระบบ   ข้อนี้เป็นจุดประสงค์หหลักของผู้ขายไฟฟ้าเนื่องจากต้องหาคุณสมบัติของระบบเพื่อนำคุณลักษณะของระบบเปรียบเทียบกับความต้องการของลูกค้า   การวัดคุณภาพไฟฟ้าเพื่อหาคุณลักษณะของระบบนี้เป็นการวัดแบบ proactive เพื่อให้ได้ข้อมูลคุณภาพไฟฟ้าโดยปกติของระบบ  ผู้ขายไฟสามารถจำแนกปัญหาได้อย่างรวดเร็วและให้ข้อมูลนี้แก่ลูกค้าเพื่อนำไปเปรียบเทียบกับคุณสมบัติของเครื่องจักรที่มีความไวสูงและปรับปรุงระบบหรือตัวเครื่องจักรต่อไป

-  การวัดเพื่อแสดงลักษณะของปัญหาเฉพาะ   โดยส่วนใหญ่บริษัทจัดการคุณภาพไฟฟ้าและผู้จัดการโรงงานแก้ปัญหาโดยติดตั้งเครื่องวัดคุณภาพไฟฟ้าในช่วงสั้นๆที่ลูกค้าหรือโหลดที่เกิดปัญหา  การวัดแบบนี้เรียกว่าแบบ reactive แต่ส่วนมากผลจากการวัดจะได้ผลของความทนได้ของอุปกรณ์(incompatibility of equipment) ซึ่งเป็นขั้นแรกของการแก้ปัญหา

-  การวัดเพื่อให้บริการด้านคุณภาพไฟฟ้าเพิ่มเติมแก่ลูกค้า  ปัจจุบันผู้ขายไฟส่วนใหญ่มักจะให้บริการนี้เพิ่มเติมแก่ลูกค้าเฉพาะรายที่ต้องการคุณภาพไฟฟ้าสูงกว่าพื้นฐานของระบบ โดยร่วมมือกันในการปรับปรุงระบบไฟฟ้าหรือติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมภายในพื้นที่ของลูกค้า และใช้ข้อมูลคุณภาพไฟฟ้าในการเปรียบเทียบผล(benchmark)ที่ได้รับก่อนและหลังจากปรับปรุงระบบ

-  การวัดคุณภาพไฟฟ้าเพื่อใช้ประกอบการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน  ข้อมูลคุณภาพไฟฟ้าที่เก็บได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้ประกอบเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของอุปกรณ์ เช่นการเกิด arcing fault จากสายใต้ดินแสดงว่าสายใกล้จะเกิดความเสียหาย  หรือเกิด restrike ขึ้นเมื่อสวิตซ์คาปาซิเตอร์แสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์สวิตซ์ใกล้จะเกิดความเสียหายขึ้นแล้ว  โรงงานสามารถทำการบำรุงรักษาได้ทันทีเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายร้ายแรงที่จะส่งผลกระทบต่อการผลิตอย่างมาก

PQ Man 11-Sep-2009




 

Create Date : 11 กันยายน 2552    
Last Update : 5 มกราคม 2554 9:18:15 น.
Counter : 438 Pageviews.  

การวัดคุณภาพไฟฟ้า(Power Quality)

การวัดคุณภาพไฟฟ้าเป็นกระบวนการเก็บรวบรวมผล วิเคราะห์และตีความข้อมูลดิบที่ได้จากการวัดให้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้   การวัดคุณภาพไฟฟ้าทำการวัดแรงดันและกระแสในช่วงเวลาหนึ่งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มากพอ(อย่างน้อย 1 สัปดาห์)   เนื่องจากปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมใช้เครื่องจักรที่มีอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์เป็นองค์ประกอบ ทำให้มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของแรงดันและกระแสเป็นอย่างยิ่ง  จึงต้องการบันทึกข้อมูลคุณภาพของไฟฟ้าที่จ่ายให้แก่เครื่องจักรนั้นๆเพื่อนำผลที่ได้ไปเป็นข้อมูลในการติดต่อการไฟฟ้าหรือนำไปปรับปรุงวงจรไฟฟ้าที่จ่ายให้แก่เครื่องจักร ทำให้การผลิตเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง   ตัวอย่างอุตสาหกรรมที่ต้องการวัดคุณภาพไฟฟ้าคือ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรมสื่อสาร อุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์ อุตสาหกรรมยา Biotech และศูนย์ข้อมูลด้านการเงิน ธนาคารเป็นต้น

PQ Man 8-Sep-2009




 

Create Date : 08 กันยายน 2552    
Last Update : 5 มกราคม 2554 9:18:45 น.
Counter : 262 Pageviews.  

อัตราส่วนที่สำคัญของการวิเคราะห์รูปคลื่นฮาร์มอนิก

การวิเคราะห์รูปคลื่นที่มีฮาร์มอนิกส์นั้นมีอัตราส่วนที่ใช้หลายชนิดอัตราส่วนที่สำคัญมี 2 ชนิดคือ

Total Harmonic Distortion

Total Harmonic Distortion หรือ THD เป็นตัวชี้ว่าในรูปคลื่นนั้นมีปริมาณฮาร์มอนิกส์อยู่มากน้อยเท่าใด สมการของ THD เป็นดังนี้

Vrms คือค่า RMS ของรูปคลื่นทั้งหมด V1,rms คือค่า RMS ของ Fundamental(50 or 60 Hz) ค่า THD ของรูปคลื่นซายน์มีค่าเป็นศูนย์ ส่วนค่า THD ของรูปคลื่น Square Wave มีค่า 48%

Crest Factor
Crest Factor เป็นอีกอัตราส่วนหนึ่งที่มักจะนำมาใช้วิเคราะห์รูปคลื่น โดยเป็นอัตราส่วนระหว่างค่า peak ต่อค่า RMS ของรูปคลื่นนั้นๆ รูปคลื่นซายน์มีค่า Crest Factor เท่ากับ 1.414 รูปคลื่น Square Wave มีค่า Crest Factor เท่ากับ 1
PQ Man 7-Sep-2009




 

Create Date : 07 กันยายน 2552    
Last Update : 19 มกราคม 2553 12:01:09 น.
Counter : 1334 Pageviews.  

Root Mean Square คืออะไร

มิเตอร์ที่เราใช้ในการวัดค่าทางไฟฟ้าต่างๆนั้นต้องเป็นการวัดค่าแบบ Root Mean Square  เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า Root Mean Square คืออะไร

Root Mean Square คือการวัดค่าความร้อนของรูปคลื่นที่มีลักษณะเป็นคาบที่นำมาจ่ายให้แก่ความต้านทาน ในทางคณิตศาสตร์สามารถเขียนสมการค่า Root Mean Square หรือ RMS ของรูปคลื่นแรงดันได้ดังนี้

ค่า RMS ของรูปคลื่นกระแสมีสมการดังนี้

ค่า RMS ของกระแสรูปคลื่นต่างๆมีดังนี้


DC Current(กระแสตรง)


Pure Sine Wave


Square Wave


DC Waveform+ripple


Triangular Ripple Waveform


Pulsating Waveform


Pulsating Waveform with ripple


Triangular Waveform


PQ Man 6-Sep-2009




 

Create Date : 06 กันยายน 2552    
Last Update : 6 กันยายน 2552 15:31:07 น.
Counter : 1950 Pageviews.  

กระแสฮาร์มอนิกเกิดจากอะไร

กระแสฮาร์มอนิคส์(Harmonic currents)เกิดจากโหลดไม่เป็นเชิงเส้นเช่น

Adjustable Speed Drive
,Solid State Heating Control,บัลลาสต์อิเล็คทรอนิคส์,เพาเวอร์ซัพพลายของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โหลดไม่เป็นเชิงเส้นเหล่านี้ดึงกระแสไม่เป็นรูปคลื่นซายน์ รูปด้านล่างแสดงโหลดไม่เป็นเชิงเส้นขนิดต่างๆและกระแสฮาร์มอนิคส์ที่เกิดจากโหลดแต่ละชนิด

กระแสฮาร์มอนิคส์ที่เกิดจากการใช้งานโหลดไม่เป็นเชิงเส้นต่างๆเหล่านี้จะรวมกันทำให้เกิดรูปคลื่นกระแสรวมที่ผิดเพี้ยนไปจากรูปคลื่นซายน์  แรงดันฮาร์มอนิคส์ก็เกิดขึ้นเนื่องจากมีกระแสฮาร์มอนิคส์ไหลผ่านอิมพีแดนซ์ของระบบไฟฟ้าตามกฏของโอห์ม

PQ Man  3-Sep-2009




 

Create Date : 03 กันยายน 2552    
Last Update : 19 มกราคม 2553 12:01:45 น.
Counter : 536 Pageviews.  

1  2  3  4  5  

PowerQuality
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Blog นี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้และจัดการคุณภาพไฟฟ้าให้แก่โรงงานอุตสาหกรรม
Friends' blogs
[Add PowerQuality's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.