We Think...We Question...We Challenge...We Act
Group Blog
 
All Blogs
 
Advocacy : บทบาทสำคัญของNCM




Create Date : 29 กรกฎาคม 2550
Last Update : 29 กรกฎาคม 2550 16:16:26 น. 2 comments
Counter : 4472 Pageviews.

 
สวัสดีครับ


โดย: test (ThaiNCM2007 ) วันที่: 29 กรกฎาคม 2550 เวลา:15:57:47 น.  

 
การพิทักษ์สิทธิ( Advocacy) : บทบาทที่จำเป็นสำหรับพยาบาลผู้จัดการผู้ป่วย

การพิทักษ์สิทธิ มีความหมายที่หลากหลายขึ้นอยู่กับการนำไปใช้โดยทั่วไปการพิทักษ์สิทธิมุ่งเน้นการส่งเสริม สนับสนุนหรือกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการ ระบบงาน หรือนโยบาย เพื่อให้สนองตอบความต้องการของผู้รับบริการอย่างเหมาะสม ตามสิทธิที่พึงมีพึงได้
The Advocacy Institute (2004)ให้ความหมายของคำว่า “Advocacy” คือ “… Pursuit of influencing outcomes” ซึ่งหมายถึงการชักจูง โน้มน้าว จูงใจ สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อผลลัพธ์ที่เราต้องการ เช่น กฎระเบียบ, นโยบาย, การตัดสินใจจัดสรรงบประมาณ หรือทรัพยากรภายใต้นโยบาย ระบบการเงินการคลังของสังคมหรือองค์กร ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของบุคคล
ในระบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณี การพิทักษ์สิทธิ เป็นความพยายามหรือการกระทำที่มุ่งเน้นในการตัดสินใจแก้ปัญหา เป็นบทบาทวิชาชีพ และเป็นการปฏิบัติเชิงรุกของผู้จัดการผู้ป่วย ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความชำนาญ สมรรถนะและมุ่งผลสัมฤทธิ์ มุ่งกระทำในสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ ผู้จัดการผู้ป่วยต้องสอดแทรกการพิทักษ์สิทธิ ในกิจกรรมทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการผู้ป่วย ซึ่งได้แก่
 การประเมินปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
 การวางแผน, ประสานแผน, และการบริหารจัดการบริการต่างๆ ที่ผู้ป่วยควรได้รับ
 เฝ้าระวังและประเมินผลบริการที่จัดให้
 การส่งต่อผู้ป่วยจากบริการหนึ่งส่งอีกบริการหนึ่ง
 การให้ความรู้ผู้รับบริการเกี่ยวกับแผนการดูแลรักษา และทุกๆ เรื่อง
 การสื่อสารกับผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาล
 การติดตามและประเมินผลการจัดการดูในระยะยาว

การนำการพิทักษ์สิทธิ มาใช้
การนำการพิทักษ์สิทธิ มาใช้ในระบบ Case management นั้นแตกต่างกันออกไปตามจุดมุ่งเน้นขององค์กร เช่น
 ใช้ในการเสริมพลังผู้รับบริการ, การพึ่งพาตนเอง และเสริมสร้างอำนาจในการจัดการตนเอง (Hawkins, Veeder and Pearce : 1998)
 เป็นหลักปรัชญาในการปฏิบัติในด้านกฎหมายจริยธรรมวิชาชีพ, ความมุ่งมั่นในการยึดหลักจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยให้มีอำนายในการตัดสินใจด้วยตนเอง, การปกป้องการตัดสินใจอย่างอิสระของผู้ป่วย (Hellwing et.al. : 2003)
 เป็นการเชื่อมโยงการปฏิบัติที่ครอบคลุมทั้งด้านกฎหมายและจริยธรรม, การให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจแก่ผู้รับบริการ, การปกป้องและส่งเสริมสิทธิผู้ป่วย (Pinch :1996)
 ใช้ในการขจัดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการ, สร้างความเชื่อมั่นในการใช้บริการ, พิจารณาการจัดสรรทรัพยากร และการบริการต่างๆ ให้เป็นไปอย่างโปร่งใส เป็นธรรม (Raiff and Shore :1993)




ระดับของการพิทักษ์สิทธิ สามารถแบ่งออกได้ 4 ระดับคือ
1. การพิทักษ์สิทธิผู้รับบริการ (Client advocacy) หรือการพิทักษ์สิทธิรายบุคคล เป็นระดับที่ปฏิบัติง่ายและมี
ผลกระทบน้อยที่สุด ส่วนใหญ่จะใช้ในการให้บริการประจำวัน อาศัยการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้จัดการผู้ป่วยและผู้รับบริการ และเพื่อการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการเป็นสำคัญ
2. การพิทักษ์สิทธิในระดับองค์กร (Organizational advocacy) หรือการพิทักษ์สิทธิในการบริการ มักเกิดขึ้นการจัดการดูแลระดับหน่วยงานหรือโครงการ เช่น ศูนย์เบาหวาน, ศูนย์โรคหัวใจ ฯลฯ) และเกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลของการให้บริการ หรือระบบงานมีความ ซับซ้อนปานกลาง, มุ่งเน้นการปฏิบัติเชิงรุกเพื่อปัญหาหรือขยายบริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. การพิทักษ์สิทธิในระดับชุมชน(Community advocacy) หรือการพิทักษ์สิทธิระดับประชากร (population advocacy) ใช้ในการจัดบริการกลุ่มประชากรที่มีขนาดใหญ่ขององค์กร มีความซับซ้อนระดับปานกลางถึงสูง เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเชิงรุก เพื่อเพิ่มสุขภาวะของชุมชน เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุกในชุมชนของ รพ.ฯ , การสร้างเสริมสุขภาพของประชากรในพื้นที่ มีขอบเขตการบริการกว้างและมีความท้าทายต่อการนำสู่การปฏิบัติ
4. การพิทักษ์สิทธิในระดับนโยบาย (Global advocacy) หรือระดับชาติ (National advocacy) มีขอบเขตครอบคลุมระบบบริการสุขภาพของประเทศ มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชาชนโดยรวม มีความซับซ้อนสูง ทั้งแบบเชิงรุกและเชิงรับ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของบริการสุขภาพ โดยไม่ได้คำนึงถึงขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นระบบใหญ่ที่เกี่ยวพันกับการออกกฎหมาย, ระบบการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล เช่น ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า, ระบบประกันสังคม, ก.ม.พรบ.วิชาชีพ เป็นต้น

กลยุทธ์ในการพิทักษ์สิทธิของผู้จัดการผู้ป่วย
กลยุทธ์แรก สำคัญที่สุดในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการผู้ป่วย ในการประสานงานการดูแลรักษาระหว่างทีมสุขภาพเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการบริการที่มีประสิทธิภาพที่สุดนั้น คือ “การทำในสิ่งที่ถูกต้อง : Doing the right thing” ซึ่งหมายถึง การจัดการการดูแลและจัดบริการที่ถูกต้อง เหมาะสม, ตามข้อบ่งชี้ของสภาพการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและตามความต้องการ หรือยอมรับได้ของผู้ป่วยและครอบครัว
นอกจากนี้ยังหมายถึง การสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้รับบริการได้ว่า ทีมสุขภาพได้ให้การดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม ตามสภาพความเจ็บป่วยและตามสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยพึงมีพึงได้ ซึ่งจะแสดงออกโดยการดูแลรักษาที่มีคุณภาพ, มีความปลอดภัย, การดูแลต่อเนื่อง, มีเป้าหมายร่วมกัน, มีความร่วมมือระหว่างทีมสุขภาพ และการทำงานเป็นทีมร่วมกับการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและครอบครัว
กลยุทธ์ที่ 2 รองจาก Doing the right thing คือ “Care Coordination” หรือการประสานการดูแลอย่างเป็นระบบในการวางแผน, การจัดบริการ, การประสานงาน และการเฝ้าระวังต้องติดตามผลลัพธ์การให้บริการว่าสามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการครอบคลุมที่ภาวะความเจ็บป่วยทางกาย,จิตใจ, สังคม, จิตวิญญาณ, สภาพเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของผู้รับบริการหรือไม่
กลยุทธ์ที่ 3 คือ “Case Conferencing” หรือการอภิปรายกรณีร่วมกันของทีมสุขภาพ ซึ่งรวมทั้งผู้ป่วยและครอบครัว โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดข้อขัดแย้งหรือปัญหาทางด้านจริยธรรม ผู้จัดการผู้ป่วยต้องประสานงานในทีมให้ร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อทำความกระจ่างของปัญหา หาแนวทางแก้ไขร่วมกันให้เกิดความพึงพอใจด้วยกันทุกฝ่าย
กลยุทธ์สุดท้าย คือ “Outcome-management” หรือการจัดการผลลัพธ์เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการวางกรอบการทำงานของผู้จัดการ ซึ่งต้องมุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางเป็นลำดับแรก กลยุทธ์การจัดการผลลัพธ์เป็นเรื่องของการติดตามประเมิน, เฝ้าระวัง, รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นในการดูแลผู้ป่วยเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ตั้ง
ไว้ภายในกรอบเวลาที่กำหนด
นอกจากกลยุทธ์สำคัญที่ 4 ประการที่กล่าวมาแล้ว ทักษะที่ผู้จัดการผู้ป่วยต้องนำมาใช้ในการปฏิบัติงานประจำวันยังมีอีกหลายอย่าง ตัวอย่างเช่น
 การสร้างสัมพันธภาพที่ดี กับสมาชิกในระบบบริการสุขภาพทั้งภายในและภายนอก เช่น บริษัทประกัน หรือองค์กรคุณภาพ
 ร้องขอในสิ่งที่ได้รับการปฏิเสธ เช่น ในกรณีที่ต้องต่อรองเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่เกินจากสิทธิที่มีอยู่ ผู้จัดการผู้ป่วยต้องติดตามทางเลือกที่เหมาะสมให้แก่ผู้รับบริการ
 การเจรจาต่อรอง เป็นทักษะสำคัญของผู้จัดการผู้ป่วยเพื่อการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย “Maintain a delicate balance” หรือการสร้างสมดุลในเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน หากการปฏิบัติไม่เหมาะสมแล้วจะเกิดผลกระทบที่ไม่พึงปรารถนาทั้งต่อผู้รับบริการ, ผู้ให้บริการและผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาล หลักการสำคัญของการเจรจาต่อรอง คือ Win – Win technique สร้างความพึงพอใจให้แก่ทุกฝ่ายโดยที่ยังคงยืนยันเป้าหมายของการจัดการผู้ป่วยรายกรณี คือคุณภาพที่ดีภายใต้ค่าใช้จ่ายเหมาะสมอย่างแท้จริง
 นอกจากนี้ยังมี ทักษะอื่นๆเช่น การติดต่อสื่อสาร การสอน การแก้ปัญหาความขัดแย้ง การสร้างความยอมรับ การสนับสนุนทีมงาน

ส่งท้าย
การพิทักษ์สิทธิ (Advocasy) เป็นบทบาทสำคัญที่เป็นหัวใจ และเป็นความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างพยาบาล
ปฏิบัติการ กับพยาบาลผู้จัดการผู้ป่วย การหมั่นฝึกฝนทักษะสำคัญที่เป็นองค์ประกอบในการทำบทบาทนี้ให้สมบูรณ์ บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ นับว่าเป็นการขยายบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ เป็นทางเลือกหนึ่งของการพัฒนาวิชาชีพการพยาบาลให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และการยอมรับของสังคมในปัจจุบัน

อ้างอิงจากบทความ
Tahan H.A. (2005). Essentials of Advocacy in Case Management. Lippincott’s Case Management, 10(3), 136-145.


โดย: แปลบทความจากวารสาร (ThaiNCM2007 ) วันที่: 29 กรกฎาคม 2550 เวลา:23:39:55 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ThaiNCM2007
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ข้อความหรือบทความหรือเอกสารทางวิชาการที่นำมาลงในที่นี้ เขียนจากประสบการณ์ในการปฏิบัติ รวมทั้งการอ่านตำรา วารสารและเรียนรู้จากสื่อต่างๆ บางรายการเป็นเอกสารประกอบการบรรยาย ได้นำมารวบรวมไว้ ณ ที่นี้

เพื่อแลกเปลี่ยนกับผู้ที่สนใจ ในเรื่องเดียวกัน
Friends' blogs
[Add ThaiNCM2007's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.