...แต่ละคืนวันที่ผันผ่าน มีเรื่องราวหลากหลายให้ค้นหา ...วานนี้ พรุ่งนี้ มินำพา ...เพียงรู้ว่า ทำวันนี้ให้ดีก็เพียงพอ ...มีความสุขกับทุกจังหวะของชีวิต
Group Blog
 
All blogs
 
ตรวจสอบคนดีจริงไม่จริงได้ที่นี่




วันนี้ไปเปิดGoogleเพื่อหาพุทธภาษิตมาอ่าน ไปพบข้อเขียนนี้โดยบังเอิญ น่าอ่านมากเลยเอามาแปะให้อ่านกันครับ...เข้าไปอ่านฉบับเต็มฉบับเต็มที่นี่ครับ

ตรวจสอบคนดีจริงไม่จริงได้ที่นี่
“ปราภวสูตร” สูตรที่ กล่าวถึงพฤติกรรมที่ทำให้คนเสื่อมจากความเป็นมนุษย์หรือจากความเป็นสัตบุรุษ มีอยู่ ๑๒ ประการ
= พฤติกรรมที่ทำให้คนเสื่อมจากความเป็นมนุษย์ =
(๑) ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ ผู้รู้ชั่วเป็นผู้เสื่อม, ผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญ ผู้เกลียดชังธรรมเป็นผู้เสื่อม
(๒) คนผู้มีอสัตบุรุษ (คนไม่ดี) เป็นที่รักที่นับถือ ไม่กระทำสัตบุรุษ (คนดี) ให้เป็นที่รักที่นับถือ, มีความชอบใจในธรรม (คำสั่งสอน) ของอสัตบุรุษ ข้อนั้นเป็นทางปฏิบัติของคนเสื่อม
(๓) คนใดชอบนอน ชอบคุยฟุ้ง ไม่มีความหมั่น เกียจคร้าน โกรธง่าย ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม
(๔) คนใดสามารถแต่ไม่เลี้ยงมารดาหรือบิดาผู้แก่เฒ่า ผู้ผ่านวัยหนุ่มสาวไปแล้ว ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม
(๕) คนใดหลอกลวงสมณะพราหมณ์ หรือแม้ยาจกวณิพกอื่น ด้วยคำพูดมุสาวาท ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม
(๖) คนใดเป็นผู้มีทรัพย์มาก มีเงินทองของกินมาก และกินของอร่อยแต่ผู้เดียว (ไม่ทำทาน) ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม
(๗) คนใดเย่อหยิ่งจองหองเพราะชาติกำเนิด หยิ่งจองหองเพราะทรัพย์สมบัติ หยิ่งจองหองเพราะโคตร (อ้างบรรพบุรุษผู้มีอำนาจแต่ครั้งอดีต) ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม
(๘) คนใดเป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลงสุรา และเป็นนักเลงการพนัน ผลาญทรัพย์ที่ตนหามาได้ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม
(๙) คนผู้ไม่สันโดษ (ไม่พอใจ) ในภรรยา (สามี) ของตน ประทุษร้ายในภรรยา (สามี) ของคนอื่น เหมือนประทุษร้ายในหญิงแพศยา (หญิงขายบริการ) ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม
๑๐. ชายแก่ได้หญิงรุ่นสาวมาเป็นภรรยา ย่อมนอนไม่หลับ เพราะความหึงหวงหญิงรุ่นสาวนั้น ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม
๑๑. คนใดแต่งตั้งหญิงนักเลงหรือชายนักเลง ผู้ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย เช่นนั้นไว้ในความเป็นใหญ่ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม
๑๒. ก็บุคคลผู้เกิดในสกุลกษัตริย์ มีโภคทรัพย์น้อย มีความมักใหญ่ใฝ่สูง ปรารถนาราชสมบัติ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม

สรุปความว่า สัตบุรุษหรือคนดี จะไม่ประพฤติปฏิบัติตนในความเสื่อม ๑๒ อย่างนี้แน่นอน เพราะมีความรู้ในเรื่องนี้ดีอยู่แล้ว ส่วนอสัตบุรุษหรือคนไม่ดีย่อมประพฤติปฏิบัติตนถลำไปตามแนวทางแห่งความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลาย ๆ อย่าง ใน ๑๒ อย่างนั้นแน่นอน เพราะไม่รู้ไม่เข้าใจในเรื่องเหล่านี้ ดังนั้น คุณค่าของความเป็นมนุษย์หรือความเป็นสัตบุรุษในชีวิตจึงถึงความเสื่อมเสียไป ชีวิตกลายเป็นอสัตบุรุษ คือ คนไม่ดีไป

= ความหมายสัตบุรุษอสัตบุรุษ =
สัตบุรุษ แปลว่า คนผู้มีคุณธรรมประจำชีวิตอยู่ ๗ อย่าง เรืยกว่าสัตบุรุษ ซึ่งเป็นคนดีจริง ๆ โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เพศ วัย แต่อย่างใด ส่วนคำว่า อสัตบุรุษ คือ คนที่ตรงกันข้ามกับสัตบุรุษ ได้แก่ ไม่มีคุณธรรม ๗ อย่างในชีวิตของท่าน เพราะมีพฤติกรรมให้ตนเสื่อมจากความเป็นมนุษย์หรือความเป็นสัตบุรุษไปแล้ว เรียกว่า อสัตบุรุษ คือ คนไม่ดี และ คุณธรรมในชีวิตของสัตบุรุษ คือ คนดีจริง ๆ นั้น มีอยู่ ๗ ประการ
ธัมมัญญูสูตร ในสุตตันตปิฎกฉบับภาษาไทย เล่ม ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐกนิบาต ข้อ ๖๕) มีว่า
(๑) ธัมมัญญุตา ความรู้จักธรรม คือ ที่เป็นธรรมฝ่ายวิชาการ ได้แก่ นวังคสัตถุศาสตร์ คำสอนของพระศาสดา ประกอบด้วยองค์ ๙ มีสุตตะ เคยยะ เป็นต้น และรู้ธรรมฝ่ายปฏิบัติ คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม
(๒) อัตถัญญุตา ความรู้จักเนื้อความ คือ รู้ความหมายแห่งพุทธภาษิต หรือรู้จักประโยชน์ รู้จักโทษแห่งธรรมที่ นำมาปฏิบัติแต่ละกลุ่มธรรม
(๓) อัตตัญญุตา ความรู้จักตน คือ รู้ว่าตนมีศรัทธา มีศีล มีสุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ๆ ๆ เป็นต้น
(๔) มัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณ คือ รู้ประมาณในการรับ การบริโภค การใช้จ่ายปัจจัย ๔ เป็นต้น
(๕) กาลัญญุตา ความรู้จักกาล คือ รู้กาลเรียน กาลสอน กาลสอบถาม กาลทำความเพียร การหลีกเร้น เป็นต้น
(๖) ปริสัญญุตา ความรู้จักบริษัท คือ รู้ว่าชุมชนนี้เป็นกษัตริย์ เป็นคฤหบดี เป็นสมณะ เป็นต้น เราควรวางตัวให้เหมาะสมกับฐานะของชุมชนนั้น ๆ ในเมื่อมีกิจเข้าไปเกี่ยวข้อง
(๗) ปุคคลัญญุตา ความรู้จักบุคคล คือ รู้ว่าบางคนต้องการเห็นพระอริยะ บางคนไม่ต้องการเห็น เป็นต้น

หวังว่าเมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านจบแล้วจักได้เกิดข้อพิจารณาคนรอบตัวท่าน รวมทั้งพิจารณาตัวท่านเองว่า ท่านนั้นกำลังดำรงตนเป็น...สัตบุรุษ....อยู่หรือไม่



Create Date : 28 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2551 11:08:54 น. 4 comments
Counter : 392 Pageviews.

 
ขอบคุณค่ะ


โดย: sandseasun วันที่: 28 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:53:33 น.  

 
ดีจังค่ะ


โดย: kun_isara วันที่: 28 พฤศจิกายน 2551 เวลา:13:09:21 น.  

 
ถูกต้อง

อยู่ที่คนตรวจสอบคนดี

แล้วใครเป็นผู้ที่ตรวจสอบคนที่ตรวจสอบ

แล้วจะทราบได้งัยว่าคนที่ตรวจสอบคนที่ตรวจสอบไม่ลักไก่

อคติ ๔ มีอยู่ในทุกคนที่เป็นปุถุชน

เสียงเค้าว่ากันพรรณนั้น จ๊ะ


โดย: บ้าได้ถ้วย วันที่: 28 พฤศจิกายน 2551 เวลา:19:01:58 น.  

 
คุณป้าได้ถ้วยครับ....ผมเชื่อว่า ทุกคนที่หน้าที่ในการตรวจสอบตัวเองครับ เราไม่ได้มีหน้าที่ตรวจสอบคนอื่น ยกเว้นคนที่มีอาชีพที่ตรวจสอบคุณสมบัติบุคคลตามกฏ ระเบียบ....
...หน้าที่หลักของเราคือการเฝ้าระวังตัวเอง มิให้ตกไปหล่มแห่งอบาย ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน....ทำหน้าที่ของตนให้ดีก็พอ คนอื่นก็เป็นหน้าที่ของตัวเขาเองครับ ตนเองก็ดูตัวเองให้ดีก่อน


โดย: JazzLover วันที่: 29 พฤศจิกายน 2551 เวลา:9:12:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

JazzLover
Location :
ลำปาง Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




หนุ่มราศีมังกร เลือดกรุ๊ปโอ ตัวโต ขี้ใจน้อย เหงาบ้างเป็นบางอารมณ์ และชอบหาเพลงมาฟังแก้เหงาประจำ...ฟังเพลงทุกประเภท
New Comments
Friends' blogs
[Add JazzLover's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.