Group Blog
 
All Blogs
 

ขุนนางกรมท่าขวา พ่อค้ามุสลิม ควบคุม"การค้า"ทะเลอันดามัน ให้ราชอาณาจักรสยาม

คอลัมน์ สุวรรณภูมิสังคมวัฒนธรรม

ปรับปรุงและตัดทอนจากบทสรุปของ จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย




คำนำผู้เขียน ในการพิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ.2546

แม้เรื่องราวเกี่ยวกับขุนนางสยามจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าไว้มากพอสมควร แต่ก็ยังเป็นการศึกษาภายใต้กรอบวิชาการและหลักฐานเอกสารอันจำกัด ยิ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของขุนนางต่างชาติด้วยแล้วก็ยังมีน้อยมาก เท่าที่มีอยู่ยังเน้นการศึกษาเป็นรายบุคคลทำให้ไม่อาจมองเห็นภาพต่อเนื่องเพียงพอที่จะอธิบายความเคลื่อนไหวภายในหน่วยงานหรือ บทบาทของกลุ่มการเมืองเหล่านั้นได้อย่างชัดเจน

ผลงานเรื่อง "ขุนนางกรมท่าขวา" เรียบเรียงมาจากวิทยานิพนธ์เรื่อง "บทบาทและหน้าที่ของขุนนางกรมท่าขวาในสมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2153-2435)" ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิตสาขาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2544

งานวิจัยได้ขยายขอบเขตการศึกษาเกี่ยวกับสถาบันขุนนางในระบบราชการสยาม โดยแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของบุคลากรที่บริหารงานและความเคลื่อนไหวภายในกรมท่าขวา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รวบรวมขุนนางตลอดจนผู้ชำนาญการชาวต่างชาติเอาไว้ในสังกัดเป็นจำนวนมาก

เรื่องราวที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาเกือบ 300 ปี สะท้อนความต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์ของหน่วยงานที่มีกิจกรรมอันสลับซับซ้อนที่สุดหน่วยงานหนึ่ง ทั้งยังช่วยให้เกิดแนวความคิดและมุมมองใหม่ๆสำหรับการศึกษาบทบาทหน้าที่ของขุนนางกลุ่มต่างๆ ที่มิได้ยึดโยงอยู่เฉพาะกรอบความคิดทางการเมืองเพียงส่วนเดียว แต่ยังขยายขอบเขตไปสู่ความเข้าใจในเชิงเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งกระบวนการปรับตัวภายในกลุ่มขุนนางสยามกลุ่มต่างๆ อีกด้วย

ในสมัยราชวงศ์ปราสาททอง การค้าของสยามในมหาสมุทรอินเดียเติบโตขึ้นมาก พ่อค้ามุสลิมโดยเฉพาะพ่อค้ามุสลิมเชื้อสายอินโด-อิหร่าน เข้ามามีบทบาทต่อการค้าต่างประเทศของสยาม โดยเป็นผู้ดำเนินการค้าทางทะเลระหว่างเมืองท่าในมหาสมุทรอินเดียกับเมืองท่าฝั่งตะวันตกของสยาม คือ ทวาย มะริด และตะนาวศรี ซึ่งกลายเป็นตลาดการค้าสำคัญในเขตอ่าวเบงกอลที่เชื่อมโยงไปสู่การค้าในเขตอ่าวไทย และทะเลตะวันออก พ่อค้ากลุ่มนี้ยังเป็นผู้เชื่อมโยงการค้าในแถบฝั่งตะวันออกเข้ากับฝั่งตะวันตกของสยาม

ประกอบกับในช่วงเวลานั้นราชสำนักของอิหร่าน และรัฐมุสลิมในอินเดีย ก็พยายามขยายอิทธิพลทางการค้าและการเมืองสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้ามุสลิมจำนวนหนึ่งเข้ามารับราชการในฐานะผู้ชำนาญการด้านการค้า การคลัง ภาษีอากรและการเดินเรือ ทำให้คนกลุ่มนี้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในราชสำนักสยาม แต่เมื่อถึงในสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง ขุนนางกรมท่าขวากลับมีบทบาทด้านการค้าที่ลดลงไปมาก เนื่องจากการค้าฝั่งตะวันตกซบเซาลงจากปัจจัยภายในและภายนอก ในขณะที่การค้ากับจีนกลับมีปริมาณเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ขุนนางกรมท่าซ้ายและชาวจีนมีบทบาทสูงต่อการค้าต่างประเทศของสยาม

แม้ว่าการค้าฝั่งตะวันตกจะกลับมามีความสำคัญอีกครั้งในรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เส้นทางการค้าได้เปลี่ยนไปใช้เมืองท่าในแหลมมลายูเป็นเส้นการค้าหลัก โดยมีพ่อค้าเอกชนชาวตะวันตก และชาวจีนเป็นผู้ประกอบการ บทบาทของขุนนางกรมท่าขวาที่มีต่อการค้าต่างประเทศของสยามจึงลดลง

จะเห็นได้ว่าบทบาทด้านการค้าของขุนนางกรมท่าขวาแปรผันไปตามกระแสการค้าของโลกที่เปลี่ยนแปลง ถึงแม้ขุนนางกรมท่าขวาจะพยายามปรับตัวเพื่อดำรงบทบาทด้านนี้เอาไว้แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เนื่องจากการค้าต่างประเทศมีปัจจัยจากสถานการณ์ภายนอกที่สลับซับซ้อนและไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด



ในขณะที่การค้าต่างประเทศเป็นบทบาทที่ควบคุมได้ยาก แต่บทบาทด้านการติดต่อกับชาวต่างชาติโดยเฉพาะในส่วนการควบคุมกำลังพลกลับเป็นกิจกรรมที่ขุนนางกรมท่าขวาประสบความสำเร็จอย่างสูงในการบริหารจัดการ ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ขุนนางกรมท่าขวาเข้ามาเล่นการเมืองและสามารถขยายอิทธิพลอย่างต่อเนื่องอยู่ในระบบราชการสยาม บทบาทเกี่ยวกับการควบคุมกำลังพลมุสลิมในสยามเป็นประเด็นที่ยังไม่เคยมีการอธิบายมาก่อน

ผลงานฉบับนี้แสดงให้เห็นว่าประชาคมมุสลิมในสยาม แม้จะเป็นกลุ่มกำลังพลต่างชาติที่มีบทบาทสูง แต่คนกลุ่มนี้มิได้มีความเป็นเอกภาพเนื่องมาจากมีความแตกต่างกันทางเชื้อชาติ นิกายศาสนา ภาษา และสังคมวัฒนธรรม ราชสำนักสยามได้อาศัยประโยชน์จากขุนนางมุสลิมเชื้อสายอินโด-อิหร่านสายตระกูลเฉกอะห(มัดซึ่งเป็นกลุ่มที่ใกล้ชิดและมีผลประโยชน์ร่วมกับราชสำนักในการบริหารจัดการด้านกำลังพลมุสลิม และชาวต่างชาติให้

ในสมัยราชวงศ์ปราสาททอง มุสลิมเชื้อสายอินโด-อิหร่านมีบทบาทสูงมากเนื่องจากคนกลุ่มนี้เป็นฐานพระราชอำนาจทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองให้กับสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และสมเด็จพระนารายณ์ ขณะเดียวกันคนกลุ่มนี้ก็ยังมีความสัมพันธ์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมกับกลุ่มผู้มีอำนาจในอิหร่านและรัฐมุสลิมในอินเดียซึ่งช่วยสนับสนุนให้คนเหล่านี้มีความสำคัญอยู่ในราชสำนักสยาม

เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มมุสลิมอื่นๆ อย่างมุสลิมเชื้อสายจามและมลายูซึ่งเป็นประชาคมมุสลิมกลุ่มใหญ่ที่สุดในสยามแล้วจะเห็นได้ว่า มุสลิมกลุ่มจามและมลายูกลับมีบทบาททางด้านเศรษฐกิจและการเมืองน้อยกว่า เนื่องจากมุสลิมกลุ่มจามและมลายูเป็นพวกที่อพยพลี้ภัยเข้ามา หรือถูกกวาดต้อนเข้ามาเป็นเชลยสงคราม ไม่มีฐานอำนาจเพียงพอจะสนับสนุนให้ขึ้นมามีบทบาท อีกทั้งยังเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพน้อยในการเล่นการเมืองเมื่อเปรียบเทียงกับกลุ่มอินโด-อิหร่านสายตระกูลเฉกอะหมัดที่มีความเป็นนักการเมืองสูง

เมื่อถึงสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์นี้ทรงสนับสนุนขุนนางมุสลิมเชื้อสายอินโด-อิหร่านสายตระกูลเฉกอะห (มัดในกรมท่าขวา ให้มีบทบาทในการควบคุมประชาคมมุสลิมกลุ่มจามและมลายู เนื่องจากขุนนางสายตระกูลเฉกอะห (มัดเป็นกลุ่มขุนนางที่ใกล้ชิดและทรงไว้วางพระราชหฤทัย ขุนนางสายตระกูลเฉกอะห (มัดในกรมท่าขวาได้กลายเป็นบุคลากรสำคัญที่ราชสำนักสยามใช้ในการควบคุมกำลังพลมุสลิมในเขตวงราชธานีสืบเนื่องต่อมาจนถึงในรัชกาลที่ 4 บทบาทในการควบคุมประชาคมมุสลิมจึงเริ่มถูกท้าทายจากการต่อต้านของมุสลิมเชื้อสายจามและมลายู

มุสลิมเชื้อสายจามและมลายูในช่วงเวลานี้มีบทบาทเพิ่มมากขึ้นจากในสมัยอยุธยาเนื่องจากการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของมุสลิมเชื้อสายจามและมลายูในบังคับของชาติตะวันตก คนกลุ่มนี้เป็นพวกที่มีอิทธิพลทั้งทางด้านเศรษฐกิจและด้านศาสนาโดยได้นำเอาแนวคำสอนของศาสนาอิสลามตามแบบนิกายสุหนี่ใหม่เข้ามาเผยแพร่ในหมู่มุสลิมเชื้อสายจามและมลายูในสยาม

มุสลิมในบังคับต่างชาติได้ช่วยกระตุ้นให้เกิดการรวมกลุ่มของมุสลิมเชื้อสายจามและมลายูในสยามจนเป็นผลให้คนเหล่านี้มีพลังเพียงพอจะเรียกร้องการปกครองชุมชนซึ่งเท่ากับเป็นการต่อต้านอำนาจปกครองของราชสำนักที่ผ่านทางกลุ่มขุนนางกรมท่าขวา แม้ข้อเรียกร้องจะได้รับการปฏิเสธจากราชสำนัก แต่กระแสต่อต้านในหมู่มุสลิมเชื้อสายจามและมลายูที่เกิดขึ้นในรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ก็เป็นเสมือนจุดเริ่มต้นอันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับนโยบายควบคุมประชาคมมุสลิมในเวลาต่อมา

นอกจากการอธิบายประวัติศาสตร์ที่เป็นประเด็นหลักที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ผลงานเรื่องนี้ยังได้ตอบคำถามและเพิ่มเติมประเด็นทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกหลายประเด็น ได้แก่ การอธิบายถึงจุดเริ่มต้นและที่มาเกี่ยวกับบทบาทของกลุ่มขุนนางสายตระกูลบุนนาคซึ่งมีพัฒนาการมาจากการเล่นการเมืองของบรรพบุรุษที่เป็นมุสลิมเชื้อสายอินโด-อิหร่าน การอธิบายถึงพลวัตที่เกิดขึ้นในหมู่ขุนนางต่างชาติและศักยภาพของขุนนางต่างชาติกลุ่มต่างๆ รวมทั้งกระบวนการดูดกลืนชาวต่างชาติเข้าสู่ระบบบริหารราชการสยามด้วยการใช้กลไกของกฎหมาย ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และการให้ผลประโยชน์ตอบแทนด้านต่างๆ ดังกรณีตัวอย่างของขุนนางมุสลิมเชื้อสายอินโด-อิหร่านสายตระกูลเฉกอะห (มัดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้เปลี่ยนมาเป็นขุนนางชาวพุทธโดยสมบูรณ์ในฐานะกลุ่มขุนนางสายตระกูลบุนนาค

ผลงานเรื่องนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการดำเนินนโยบายแบ่งแยกปกครองประชาคมต่างชาติโดยให้ชาวต่างชาติกลุ่มน้อยที่ต้องพึ่งพาอำนาจรัฐเป็นผู้ปกครองประชาคมต่างชาติกลุ่มใหญ่ ซึ่งแสดงให้เห็นจากการที่ราชสำนักสยามส่งเสริมให้มุสลิมกลุ่มที่นับถือนิกายชีอะห์ซึ่งเป็นมุสลิมกลุ่มน้อยในสยามเป็นผู้ปกครองพวกนิกายสุหนี่ในสยาม ประเด็นที่นำเสนอมาทั้งหมดนี้ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะได้มีการศึกษาและอภิปรายอย่างกว้างขวางเพื่อขยายมิติการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในโอกาสต่อไป

สุดท้ายนี้ เรื่องราวของ "ขุนนางกรมท่าขวา" ได้สะท้อนถึงภาพความสลับซับซ้อนของเรื่องราวในประวัติศาสตร์ที่มีมุมมองอันหลากหลายและเต็มไปด้วยเหตุปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องอันจะเป็นบทเรียนสำหรับผู้คนยุคปัจจุบันได้ศึกษาเรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจตนเองและภาวการณ์ต่างๆ รอบตัวมากยิ่งขึ้น



วารสารอักษรศาสตร์

ฉบับแขกไทย-แขกเทศ ข้ามเขตความรู้

ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2550)

จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์ บรรณาธิการประจำฉบับ



บทบรรณาธิการ

ในบรรดาชนต่างชาติต่างภาษาในสังคมไทย "แขก" จัดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งมีความหลากหลายมากที่สุด เหตุเพราะสังคมไทยได้จัดแบ่งแยก "แขก" แตกแขนงออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ตามเชื้อชาติ ศาสนา ภูมิลำเนา หรือนิกาย อันที่จริงคำว่า "แขก" แต่เดิมนั้นมีความหมายในเชิงให้เกียรติเพราะแขกคือผู้มาเยือนและเป็นผู้ซึ่งเจ้าบ้านทั้งหลายพึงให้การต้อนรับ แต่กาลเวลาและอวิชชาทำให้คำว่า "แขก" แปรเปลี่ยนไปในทางที่แบ่งแยกหรือดูหมิ่นดูแคลน ที่เป็นเช่นนั้นเพราะคนในสังคมไทยขาดความรู้ความเข้าใจตัวตนของ "แขก" จึงมองว่าคนเหล่านี้แปลกแยกแตกต่าง ทั้งที่โดยความเป็นจริงไม่ว่าไทย จีน มอญ ลาว หรือแขกต่างก็เป็นสมาชิกในสังคมที่มีส่วนสร้างบ้านสร้างเมืองมาด้วยกันทั้งสิ้น

คำว่า "แขก" ในสังคมไทย หมายถึงชนต่างชาติซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ทางดินแดนฟากตะวันตกของไทยซึ่งไม่ใช่ประเทศแถบตะวันตก ภายหลังก็รวมเอาบรรดามุสลิมที่ตั้งถิ่นฐานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ในกลุ่มสมาชิกของ "แขก" ด้วยเหตุนี้ "แขก" จึงเป็นกลุ่มประชาชาติใหญ่โตซึ่งประกอบไปด้วยแขกที่ไม่ได้นับถืออิสลามอย่างแขกพราหมณ์ แขกอาร์มิเนีย และแขกซิกข์ กับแขกที่นับถืออิสลามหรือมุสลิม เช่น แขกจาม แขกชวา แขกมลายู และแขกเจ้าเซ็น เป็นต้น

หากพิจารณากันด้วยความเป็นธรรมแล้วจะเห็นว่าสังคมไทยรับเอาความรู้และภูมิปัญญาจากแขกมาตั้งแต่ยุคต้นของประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษา ศาสนา ความเชื่อ ศิลปกรรม ไปจนถึงภูมิความรู้อื่นๆ เช่น การรับพุทธศาสนาและภาษาบาลีจากแขกอินเดีย เมื่อถึงสมัยที่อิสลามรุ่งเรืองในเอเชียตะวันตกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวสยามได้ติดต่อค้าขายกับแขกเปอร์เซีย อินเดีย อาหรับ ชวา มลายู จาม ฯลฯ วัฒนธรรมแขกเข้ามาผสมกลมกลืนกับภูมิปัญญาเดิมของไทยก่อเกิดผลผลิตทางวัฒนธรรมหลายอย่างเป็นมรดกตกทอดจนคนรุ่นหลังต่างเข้าใจผิดว่าวัฒนธรรมเหล่านั้นเป็นของไทยแท้มาแต่เดิม

การที่แขกกลุ่มต่างๆ เข้ามาอยู่อาศัยร่วมกันในสังคมไทย ก่อให้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความหลากหลาย และการยอกรับในความหลากหลายซึ่งดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องในสังคมไทยมาเป็นเวลาช้านาน

วารสารอักษรศาสตร์ฉบับ "แขกไทยแขกเทศข้ามเขตความรู้" คือภาพสะท้อนความรู้เกี่ยวกับ "แขก" ในแง่มุมต่างๆ ครอบคลุมเรื่องราวของแขก (ในเมือง) ไทย และแขก (ในเมือง) เทศโดยนักวิจัยและนักวิชาการผู้สนใจศึกษาเรื่องของแขกต่างชาติต่างภาษาทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ

บทความทั้งแปดเรื่องน่าจะให้มุมมองและทรรศนะใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องราวของ "แขก" ในหลากหลายมิติไม่ว่าจะเป็นแขกในเมืองไทยหรือแขกในเมืองเทศ ความรู้เหล่านี้แม้จะเป็นส่วนน้อยนิดในกระแสธารแห่งภูมิปัญญา แต่ก็น่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับสังคมไทยซึ่งจะหวนกลับมาพิจารณาความรู้ของกลุ่มชนที่มีความใกล้ชิดสังคมไทยมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง ขอขอบคุณผู้เขียนทุกท่านที่กรุณาสละเวลาและใช้ความอุตสาหะ กลั่นกรองความรู้มอบเป็นวิทยาทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าวารสารฉบับนี้จะช่วยขยายขอบฟ้าแห่งพุทธิปัญญาและช่วยสร้างความเข้าใจอันดีในสังคมปัจจุบันที่กำลังถวิลหาสันติภาพและภราดรภาพอันยั่งยืน



ขุนนางกรมท่าขวา

"ขุนนางกรมท่าขวา" เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับบทบาทของขุนนางต่างชาติ โดยเฉพาะขุนนางมุสลิมในระบบราชการไทย โดยอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกิจกรรมหลักของขุนนางกรมท่าขวาใน 2 ส่วน คือ กิจกรรมการค้าและการติดต่อกับชาวต่างชาติ และชี้ให้เห็นว่าขุนนางกลุ่มนี้มีบทบาทหน้าที่ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ ศาสนา และการต่างประเทศและการควบคุมกำลังพลชาวต่างชาติ ทั้งยังศึกษาวิเคราะห์กระบวนการด้านการค้าของไทย การควบคุมชาวต่างชาติกลุ่มต่างๆ รวมทั้งพลวัตที่เกิดขึ้นในหมู่ขุนนางต่างชาติที่มีความต่อเนื่องยาวนานกว่า 200 ปี

จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์

สถ.บ.(เกียรตินิยม) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ศศ.ม.(สาขาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม) มหาวิทยาลัยศิลปากร

ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้สนใจหนังสือวิชาการของคณาจารย์และนิสิตบัณฑิตศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โปรดติดต่อ โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 0-2218-4888 โทรสาร 0-2218-4899

หรือ

ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร.0-2218-7000 โทรสาร 0-2256-4441

หน้า 33




 

Create Date : 29 กันยายน 2550    
Last Update : 29 กันยายน 2550 10:15:12 น.
Counter : 2749 Pageviews.  

เลิกพิทักษ์วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมคนไทยก็มีชีวิตงดงาม

คอลัมน์ สยามประเทศไทย

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ




งานวัฒนธรรม โดย สวช. เริ่มคลำทิศทางถูกต้องเมื่อพิมพ์หนังสือประวัติศาสตร์แห่งชาติฯเล่มนี้ เมื่อตุลาคม 2549 แต่แล้วหมดหวัง เพราะคนกระทรวงนี้ไม่อ่าน



รั ฐบาลในระบอบทักษิณตั้ง กระทรวงวัฒนธรรม ขึ้นมา โดยไม่ฟังเสียงค้านอย่างมีเหตุผลและพยานหลักฐาน ถ้าผู้อื่นทำอย่างนี้บ้างจะถูกประณามว่า "เอาแต่ใจ" ไม่ฟังเหตุผลคนอื่น เมื่อคนมีเงินและมีอำนาจทำอย่างเดียวกันจะดูงดงาม และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทั้งๆ ที่สร้างปัญหามากมายมหาศาล ดังมีปรากฏการณ์ชัดเจน จนทุกวันนี้

ฉะนั้นงานวัฒนธรรมที่มีปัญหามิได้อยู่แค่หน่วยงานแห่งใดแห่งหนึ่ง เช่น สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) เท่านั้น หากมีในทุกหน่วยงาน เริ่มต้นที่ตัวกระทรวงลงไปถึงกรมกองทุกภาคส่วนนั่นแหละ จะว่าหน่วยใดหน่วยหนึ่งไม่ได้ เพราะล้วนสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันหมด เริ่มตั้งแต่ความหมายของคำว่า "วัฒนธรรม" ไปเลย จนถึงเนื้อหาสาระของ "ความเป็นไทย" ซึ่งจะเกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับ "ประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทย"

กระทรวงวัฒนธรรม โดย สวช. เริ่มต้นคลำทิศทางถูกแล้ว (ตอนเดือนตุลาคม 2549) เมื่อพิมพ์เผยแพร่เรื่อง ประวัติศาสตร์แห่งชาติ "ซ่อม" ฉบับเก่า "สร้าง" ฉบับใหม่ ของ อาจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ และอาจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม เพราะแท้จริงแล้วกระทรวงวัฒนธรรมต้องชำระสะสางประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทยตั้งแต่แรกสถาปนากระทรวงในรัฐบาลระบอบทักษิณก่อน แล้วถึงจะพูดเรื่องอื่นๆ เข้าใจ เช่น ความเป็นไทย ภาษาไทย ฯลฯ จนถึงภูมิปัญญาไทย และความเป็นท้องถิ่น ทั่วประเทศ

หากไม่เข้าใจประวัติศาสตร์แห่งชาติอย่างมีพยานหลักฐานเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สุวรรณภูมิในอุษาคเนย์ ก็ไม่มีวันเข้าใจอย่างอื่นได้ แม้ตัวเองเป็นใคร? มาจากไหน? ก็ไม่รู้ และไม่เข้าใจ

มีผู้เขียนเสนอแนะและพูดท้วงติงเรื่องนี้มากมาย แต่ถูกข้าราชการสำนึกเจ้าขุนมูลนายขุนนางของกระทรวงและกรมกองนี้กล่าวหาว่าร้ายต่างๆ นานา เช่น เอาแต่ใจ, เอาแต่ความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่, ฯลฯ แต่ที่พวกเขาลุแก่อำนาจสถาปนากระทรวงวัฒนธรรม แล้วทำทุกสิ่งทุกอย่างที่ไม่ถูกทำนองคลองวัฒนธรรมของมนุษย์ในโลก กลับไม่เสียหายและไม่ถูกตำหนิติเตียนจากใครเลย ทั้งๆ สร้างปัญหาทั้งกระทรวงตั้งแต่แรกสถาปนา

ทางแก้ไขเรื่องนี้มีมากหลายช่องทาง ล้วนดีทั้งนั้น แต่ทำยาก เพราะต้องเริ่มต้นที่ลด ละ เลิก สำนึกข้าราชการเจ้าขุนมูลนายขุนนางลงมากที่สุดก่อน ตรงนี้แหละยากที่สุด จนอาจถึงขนาดเป็นไปไม่ได้เลย

สมมุติว่าทำได้แล้ว ขั้นต่อไปให้เลิกเป็นผู้พิทักษ์วัฒนธรรม "ไทย" หลังจากนั้นถึงจะพูดเรื่องอื่นเข้าใจ

ตรงนี้จบแล้ว คือไม่มีวันทำได้ เลยไม่ต้องแนะนำอะไรอีกต่อไป




 

Create Date : 29 กันยายน 2550    
Last Update : 29 กันยายน 2550 10:13:58 น.
Counter : 536 Pageviews.  

คัมภีร์ห้าห่วง วิถีดาบ มิยาโมโต้ มุซาชิ : บทแห่งดิน

บทแห่ง “ดิน” เป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจถึง “วิถีแห่งกลยุทธ์” และกล่าวถึงแนวทางของสำนัก ที่ไม่ได้เน้นเพียงการฝึกฝนเพลงดาบ หากแต่จะสำเร็จวิถีแห่งยุทธ์ จำต้องรู้ถึงสรรพสิ่งทั้งในแนวกว้างและในเชิงลึก
“มุซาชิ” อธิบายว่า “กลยุทธ์” คือวิถีแห่งนักสู้ไม่ว่านายทัพหรือพลทหารล้วนแล้วแต่ต้องรู้ถึงวิถีแห่งกลยุทธ์ แต่น่าเสียดายว่ากลับไม่มีนักสู้ใดที่เข้าใจถึง “วิถีแห่งกลยุทธ์” อย่างถ่องแท้
สรรพสิ่งล้วนมีวิถี พุทธคือวิถีแห่งความพ้นภัย การศึกษาคือวิถีแห่งนักปราชญ์และการแพทย์คือวิถีแห่งการรักษาเยียวยา แม้แต่กวีนิพนธ์ การชงชา การจัดดอกไม้ ตลอดจนศิลปะแขนงต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มี ”วิถี” ของมันให้ฝึกฝน
สำหรับ “วิถี” ของนักสู้ก็คือ “ความพยายามยอมรับในความตาย” แม้ความตายจะเป็นสิ่งที่ทุกผู้คนต้องพบพาน แต่สำหรับชนชั้นนักสู้แล้ว การเผชิญหน้ากับความตายอย่างมีคุณค่า คือการตายในหน้าที่ โดยปราศจากความอับอาย นักสู้จะบรรลุถึงวิถีนี้ได้จึงต้องแจ่มแจ้งใน “วิถีแห่งกลยุทธ์” เพื่อพิชิตชัยในทุกศึกที่จะนำมาซึ่งศักดิ์ศรีและเยรติแห่งนักสู้และผู้เป็นนาย
วิถีแห่งกลยุทธ์“มุซาชิ” มีความเห็นว่า การเปิดสอน “เพลงดาบ” โดยทั่วไป เป็นเพียงหนึ่งในแนวทางการแสวงหาผลประโยชน์เท่านั้น หาใช่วิถีแห่งกลยุทธ์ที่จริงไม่ เพราะตั้งแต่อดีตกาล “เพลงดาบ” ถูกจัดอยู่ในหนึ่งวิชาช่างสิบหมู่และศิลปะเจ็ดแขนง อันสะท้อนให้เห็นว่าเป็นเช่นเดียวกับงานศิลปะที่เสนอขายอยู่ทั่วไป
ซึ่งเปรียบได้กับการนำเสนอ “กาก” แต่ไม่ได้แจกแจงถึง “แก่น” แนวทางเช่นนี้อาจเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ที่มักจะให้ความสำคั_กับดอกไม้มากกว่าเมล็ดพันธุ์ หากแต่เป็นแนวความคิดที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์เป็นหลัก จึงนำไปสู่การแสดงโอ้อวดโดยปราศจากกลยุทธ์ที่เที่ยงแท้ และย่อมเป็นต้นเหตุแห่งความพินาศในที่สุด
“มุซาชิ” กล่าวว่า แม้แต่คนในชนชั้นทั้งสี่ก็ยังต้องมี “วิถี” ของตนเอง (สังคมญี่ปุ่นในยุคสมัยนั้น แบ่งชนชั้นทางสังคมออกเป็น 4 กลุ่มคือ นักสู้ ชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า) ชาวนาย่อมต้องรู้จักใช้จอบเสียมและเครื่องมือในการเพราะปลูก อีกทั้งเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลที่มีผลต่อพืชสวนไร่นา พ่อค้าย่อมต้องรู้จักใช้ส่วนประกอบในการผลิตสินค้า เพื่อจำหน่ายสร้างกำไรหาเลี้ยงชีพ
สำหรับนักสู้ ความเชี่ยวชาญในอาวุธคู่มือคือวิถีแห่งตน และหากปราศจากซึ่งกลยุทธ์แล้ว ย่อมแสดงถึงความรู้อันอ่อนด้อย ช่างฝีมือก็ต้องรู้จักใช้เครื่องไม้เครื่องมือให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องมีการวางแบบที่ถูกต้องละเอียดถี่ถ้วน และสร้างงานตามแบบที่กำหนดไว้
“มุซาชิ” ยังขยายความของ “กลยุทธ์” โดยเปรียบเทียบกับ “วิถีแห่งช่างไม้” งานของช่างไม้คือการสร้างบ้าน บ้านก็มีหลากหลายลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทั้งบ้านของผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ บ้านของนักสู้ หรือข้านของชนชั้นต่าง ๆ ช่างจึงจะต้องเข้าใจถึงบ้านที่ตนเองจะสร้างว่าเป็นแบบใด สำหรับชนชั้นใด จึงจะสามารถสร้างบ้านขึ้นจากแบบที่ร่างไว้
นายช่างใหญ่ต้องเข้าใจถึงบ้านในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมถึงอาคารและวัดวาอาราม ตลอดจนพระราชวัง เข้าใจถึงหลักโครงสร้างสถาปัตยกรรม และรูปแบบของอาคารสถานที่ต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น แต่ละชนชั้น เพื่อที่จะสามารถควบคุมใช้งานช่างไม้ให้สร้างบ้านได้ตามแบบแผนที่วางไว้ เช่นเดียวกับนายทัพที่รู้จักใช้กำลังพล งานบ้านเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกและแยกแยะไม้ ไม้ตรงเรียบสวยงามเข็งแรงเหมาะกับงานเสาด้านอก ไม้ตรงเรียบแต่มีตำหนิเล็กน้อยสามารถใช้เป็นเสาภายในและขื่อคาน สำหรับไม้เนื้ออ่อนที่ไม่แข็งแรงนักแต่เรียบงาม สามารถใช้ทำเป็นผนังและกรอบประตู ไม้ที่แข็งแรงแต่ไม่สวยงามก็สามารถใช้ผูกเป็นนั่งร้านเพื่อการก่อสร้าง แม้แต่ไม้ที่ดูไม่สวยงามและเปราะบางก็สามารถใช้เป็นเชื้อฟืน
นายช่างใหญ่จะต้องรู้ถึงขีดความสามารถของช่างลูกมือที่มีอยู่ เพื่อที่จะมอบหมายงานที่เหมาะสมและตรงกับงานที่ถนัดช่างบางคนอาจถนัดในการทำห้องโถง บ้างอาจถนัดการทำประตู บานเลื่อน บ้างอาจถนัดทำผนังเพดาน ช่างฝีมือรองลงมาก็จะรับมอบหมายงานถากเหลา และตบแต่งไม้ถือเป็นการฝึกฝนฝีมือให้มีประสบการณ์มากยิ่งขึ้น ในขณะสร้างงานนานช่างใหญ่ก็จะต้องสามารถควบคุมงานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามขั้นตอนลดความสับสนอลหม่าน เข้าใจถึงข้อจำกัดของช่างลูกมือแต่ละคน รู้จักการกระตุ้นสร้างขวั_และกำลังใจเมื่อถึงยามที่จำเป็น
วิถีแห่ง “กลยุทธ์” สำหรับนายทัพก็เป็นเฉกเช่นเดียวกัน นั่นคือความรู้ในการศึกในแต่ละรูปแบบ ตลอดจนเข้าใจถึงขีดความสามารถของกองทัพตัวเอง วิถีแห่งกลยุทธ์ของพลทหารก็เป็นเช่นเดียวกับช่างไม้ ที่ต้องพกพากล่องเครื่องมือติดตัวไปทุกที่ ทำงานตามคำสั่งของนายช่างใหญ่ สร้างงานได้อย่างเที่ยงตรงสวยงาม
ความสำเร็จของช่างไม้วัดจากผลงานที่ปราณีตบรรจง รอยต่อเรียบสม่ำเสมอไม่บิดเบี้ยว ขัดเงาอย่างเรียบง่ายสวยงามไม่ใช่เพียงเพื่อปกปิดความบกพร่อง เมื่อสั่งสมประสบการณ์จนเกิดความเชี่ยวชาญในทุกแขนงแห่งงานไม้ ก็สามารถเลื่อนชั้นขึ้นเป็นนายช่างใหญ่
ช่างไม้จะต้องหมั่นรักษาเครื่องไม้เครื่องมือให้คมกริบอยู่ตลอดเวลา แม้ในยามว่างก็ต้องหมั่นสร้างงานชิ้นเล็ก ๆ อันเป็นหนทางการฝึกฝนฝีมือ และสร้างความคุ้นเคยเชี่ยวชาญกับเครื่องมือแต่ละอย่าง ดังเช่นการปฏิบัติตนของนักสู้ หรือนักวางกลยุทธ์ วิถีแห่งกลยุทธ์ จึงครอบคลุมไปถึงการมีผู้ใต้บังคับบัญชาที่ดี มีนาวทางการปกครองที่ดี ใช้คนอย่างฉลาด รู้จักอุปถัมภ์ค้ำจุน และมีการรักษากฎระเบียบวินัยที่เคร่งครัด
ว่าด้วย “อิจิ ริว นิโตะ”
“อิจิ ริว นิโตะ” คือแนวทางดาบของ “มุซาชิ” นับตั้งแต่อดีตกาลนักสู้ล้วนคาดดาบ 2 เล่ม หนึ่งเป็นดาบยาว อีกหนึ่งเป็นดาบสั้น โดยทั่วไปวิธีการใช้ดาบของสำนักอื่น คือการกุมดาบด้วยสองมือ เช่นเดียวกับการใช้หอกหรือขวาน นั่นหมายความว่า เป็นการใช้ดาบเพียงเล่มเดียว ในขณะที่ดาบอีกเล่มหนึ่งยังประดับไว้ในฝัก ไม่อาจเปล่งพลานุภาพของดาบถึงขีดสุด การกุมดาบด้วยสองมือทำให้การกวัดแกว่งดาบเป็นไปอย่างเชื่องช้า และติดขัดและไม่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น ขณะอยู่บนหลังม้า การต่อสู้บนพื้นที่ขรุขระ หรือการวิ่งท่ามกลางฝูงชน แนวทางของ “มุซาชิ” จึงฝึกฝนให้ใช้ดาบด้วยมือเดียว ผู้ฝึกฝนจึงสามารถใช้ดาบทั้งสองเล่มได้พร้อมกันทั้งซ้ายและขวา ในขณะใช้ดาบเพียงเล่มเดียว สามารถใช้อีกมือที่ว่าง เพื่อช่วยในการทรงตัว กุมบังเหียน ตลอดจนการจับถืออาวุธอื่น ประโยชน์ของการใช้ดาบทั้งสองเล่มยังมีอีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่ต้องต่อสู้กับคนหมู่มาก
สำหรับผู้ไม่คุ้นเคยการกุมดาบด้วยมือเดียวจะต้องใช้กำลังมาก และยากต่อการกวัดแกว่ง แต่เมื่อผ่านการฝึกฝน ความคล่องแคล่วก็จะทวีขึ้นตามพละกำลังที่เพิ่มพูน ที่สำคัญแนวทางของ “มุซาชิ” นั้น ปัจจัยในการเอาชัยคือ จังหวะในการวาดดาบ ไม่ใช่ความเร็วของเพลงดาบ
ถึงแม้ว่า “ดาบ” จะได้รับการยกย่องว่าเป็นที่สุดแห่งศาสตราวุธ และเชื่อวันว่าผู้บรรลุในวิถีแห่งดาบ เป็นผู้ที่บรรลุวิถีแห่งกลยุทธ์ และจะมีชัยเหนือคู่ต่อสู้ทั้งปวง แต่จิตวิญญาณของวิถีแห่งกลยุทธ์ที่แท้จริงคือการเอาชัย ดังนั้นถ้าผู้ฝึกฝนสามารถเรียนรู้วิถีแห่งศาสตร์อื่น และแผ้วทางจนได้รับชัยชนะก็กล่าวได้ว่า ค้นพบวิถีแห่งกลยุทธ์ของตนเอง
อาวุธกับกลยุทธ์
ในบทแห่งดินนี้ “มุซาชิ” ยังกล่าวถึง การเลือกใช้อาวุธว่า ต้องเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และช่วงเวลา ในขณะที่ดาบยาวใช้ได้กับทุกสถานการณ์ ดาบสั้นเหมาะที่จะใช้ในพื้นที่จำกัดหรือในระยะประชิดคู่ต่อสู้ ส่วนขวานศึกและหอกนั้นใช้ในการรบพุ่ง โดยที่หอกจะเข้มแข็งและเหมาะกับการรุก ส่วนขวานศึกนั้นเหมาะกับการตั้งรับ ส่วนธนูเหมาะสำหรับการยิงสนับสนุนเพื่อการโจมตี หรือสกัดกั้นในขณะล่าถอย ซึ่งไม่มีประโยชน์ใดเลย ในการต่อสู้แบบตะลุมบอนหรือการยิงระยะไกล เช่นเดียวกับปืนไฟ ที่ใช้งานได้ดีเฉพาะในป้อมค่าย แต่ไม่สามารถหาญหักกับดาบในระยะประชิดใกล้
การเลือกใช้อาวุธจึงต้องขึ้นกับสถานการณ์ ถึงแม้โดยทั่วไปนักสู้จะมีอาวุธคู่มือ แต่การเลือกใช้อาวุธไปตามความถนัดและความชอบพอของตนเอง โดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม นับเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์อันจะนำไปสู่ความหายนะได้
“มุซาชิ” มีความเห็นว่า อาวุธที่ดีมีไว้ใช้งาน ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เครื่องประดับ ม้าศึกก็จัดเป็นยุทโธปกรณ์อย่างหนึ่ง จะต้องมีความเข็มแข็งอดทน ไม่มีข้อบกพร่อง เช่นเดียวกับดาบต้องคมกล้า หอกทวนต้องตั้งตรงแข็งแรง ธนูและปืนไฟต้องมีความแม่นยำและคงทนต่อการใช้งาน
“จังหวะ”
“มุซาชิ” ให้ความสำคั_กับ “จังหวะ” เป็นอย่างยิ่ง โดยกล่าวว่าความรู้สำคั_ที่กล่าวถึงในคัมภีร์ทั้งห้าบทคือเรื่องราวของ “จังหวะ” ที่พึงเรียนรู้นั่นเอง เพราะนักสู้ที่จะสามารถช่วงชิงได้ ต้องอาศัยการหยั่งรู้ถึงจังหวะของคู่ต่อสู้ และช่วงชิงลงมือในจังหวะที่ฝ่ายตรงข้ามไม่อาจคาดถึง ไม่ว่าจะเป็นดนตรีหรือศาสตร์และศิลป์ใด ๆ ก็ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัย “จังหวะ” ในการสร้างความสมบูรณ์งดงาม เช่นเดียวกับที่นักสู้จะสามารถมีชัยได้ ก็ต้องใช้อาวุธอย่างถูกต้องสอดคล้องกับ “จังหวะ” ในการต่อสู้ช่วงชิง สรรพสิ่งล้วนมีจังหวะ แม้แต่ “ความว่าง” ก็ยังมีจังหวะ การดำเนินชีวิตของคนทุกชนชั้นก็ยังมีจังหวะของชีวิต นักสู้มีจังหวะแห่งการเติบโตและล่มสลาย พ่อค้ามีจังหวะของการร่ำรวยและล้มละลาย สรรพสิ่งจึงมีทั้งจังหวะและการรุ่งเรืองและเสื่อมโทรม กลยุทธ์ก็เป็นเช่นสิ่งอื่นที่มีจังหวะอันหลากหลาย นักสู้พึงแยกแยะจังหวะที่เหมาะสมออกจากจังหวะที่ไม่เหมาะสม โดยเรียนรู้จากขนาดเล็กให_่ ความเร็วช้า และลำดับก่อนหลัง ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลต่อจังหวะของกลยุทธ์ หากไม่เรียนรู้ถึงจังหวะย่อมไม่อาจบรรลุถึงกลยุทธ์ และที่สำคั_มีเพียงการฝึกฝนเท่านั้น ที่เป็นวิถีแห่งการเรียนรู้ถึง “จังหวะ” ของกลยุทธ์




 

Create Date : 14 กันยายน 2550    
Last Update : 14 กันยายน 2550 7:55:21 น.
Counter : 896 Pageviews.  

คัมภีร์ห้าห่วง วิถีแห่งดาบ มิยาโมโตะ มุซาชิ : บทแห่งความว่าง

บทแห่ง “ความว่าง” ซึ่งหมายถึงการไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด สรรพสิ่งล้วนต่อเนื่องตามกัน เป็นหลักการของการไม่ยึดติดใน “หลักการ”ที่สุดแล้ววิถีแห่งกลยุทธ์จึงเป็นวิถีแห่งธรรมชาติ เมื่อเข้าใจพลังแห่งธรรมชาติ ก็จะรู้ถึงจังหวะและสถานการณ์ มีปฏิกิริยาตอบโต้เป็นไปตามธรรมชาติ เนื้อหาในบทนี้จึงกล่าวถึงหนทางไปสู่วิถีที่ว่า “ความว่าง” ก็คือ “ความไม่มี” การจะเข้าถึง “ความว่าง” ได้ ต้องรับรู้ได้ถึง “ความไม่มี” ซึ่งมีเพียงหนทางของการรับรู้ถึง “ความมี” เท่านั้น จึงจะสามารถแบ่งแยกและรับรู้ได้ถึง “ความไม่มี” หลายคนอาจเข้าใจว่า “ความไม่รู้” คือ “ความว่าง” ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดอย่างยิ่ง เพราะ “ความไม่รู้” ไม่ใช่ความว่างที่แท้ หากแต่เป็นเพียง “อวิชชา” หรือภาพมายา วิถีแห่งกลยุทธ์ก็เช่นกัน มีผู้ที่หลงคิดว่าความไม่เข้าในในกลยุทธ์คือ “ความว่าง” ย่อมเป็นความคิดเห็นที่ผิดพลาด เพราะสิ่งนั้นไม่ใช่ “ความว่าง” ที่แท้ การเข้าถึงวิถีแห่งกลยุทธ์ได้ จึงต้องอาศัยการอุทิศตนเข้าฝึกฝน ทุ่มเทให้กับการยุทธ์ด้วยจิตวิญญาณที่แน่วแน่ สั่งสมจากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี ขัดเกลา “สมาธิ” และ “จิตใจ” อย่างสม่ำเสมอ ลับประสาทให้แหลมคมทั้ง “การรับรู้ภายใน” และ “การมองเห็นภายนอก” เมื่อจิตวิญญาณโผล่พ้นจากเมฆหมอกแห่งมายา จึงบรรลุได้ถึง “ความว่าง” ที่แท้ เมื่อตระหนักได้ถึง “ความว่าง” ที่แท้ ไม่ว่าจะด้วยหนทางแห่งพุทธ หรือการรู้แจ้งได้ด้วยตน ก็จะคิดได้ถึงสรรพสิ่งที่ถูกต้องเที่ยงแท้ แต่ถ้าสรรพสิ่งเดียวกันถูกพิจารณาด้วยมุมมองเพียงด่านใดด้านหนึ่ง สรรพสิ่งนั้นก็จะปรากฏได้หลายรูปแบบ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นรูปแบบที่ผิดเพี้ยนไปจากความจริงแท้ บรรลุถึง “วิถี” ได้ด้วยจิตวิญญาณที่เปิดกว้างและไร้ที่สุด จึงสามารถพิจารณาถึงสรรพสิ่งได้ด้วยมุมมองที่กว้างขวางและเป็นจริง กำหนด “ความว่าง” เป็น “วิถี” ก็จะพบว่าวิถีที่แท้คือ “ความว่าง” ใน “ความว่าง” ก็จะพบกับคุณค่าที่ดีงาม ไร้ซึ่งธุลีแห่งความเลวร้ายใด ๆ “ปัญญา และ “แก่นแท้” จะปรากฏ จิตวิญญาณจะแจ่มใสชัดเจน

---คัมภรีห้าห่วง ทั้งห้าบทนี้ ประกอบด้วยคำสอนมากมาย ทุกบท ทุกกิริยากอาการ ล้วนสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน---
Z-ou+L=G




 

Create Date : 14 กันยายน 2550    
Last Update : 14 กันยายน 2550 7:54:15 น.
Counter : 776 Pageviews.  

คัมภีร์ห้าห่วง วิถีแห่งดาบ มิยาโมโตะ มุซาชิ : บทแห่งน้ำ

บทแห่ง “น้ำ” กล่าวถึงจิตวิญญาณที่เปรียบได้ทั่ง “น้ำ” อันสามารถแปรเปลี่ยนรูปร่างได้ตลอดเวลา บางครั้งเล็กน้อย เพียงหยดเดียว บางครายิ่งใหญ่ดั่งห้วงมหรรณพ แนวทางของสำนักจะถูกอธิบายอย่างแจ่มแจ้งดุจความใสกระจ่างของน้ำในบทนี้

“มุซาชิ” กล่าวว่า ถึงแม้คัมภีร์เล่มนี้จะอรรถาธิบายถึงการยุทธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่งหากแต่สามารถพิจารณาเปรียบเทียบในแง่ของการทำสงครามระดับกองทัพได้เช่นเดียวกัน ผู้ฝึกฝนจะต้องทำความเข้าใจถึงพื้นฐานได้อย่างถ่องแท้ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดเพี้ยนในระดับบั้นปลาย สิ่งสำคั_ที่จะทำให้ผู้ฝึกฝนบรรลุถึงวิถีแห่งกลยุทธ์ได้ ต้องอาศัยความมานะฝึกฝนอย่างหนัก โดยไม่ย่อท้อ เพราะการบรรลุที่แท้นั้น จะเกิดขึ้นจากการค้นพบภายใน ไม่ใช่เกิดจากการอ่านและลอกเลียนเพียงอย่างเดียว

สภาวะของ “สมาธิ” และ “จิตใจ”

“มุซาชิ” ให้ความสำคัญกับเรื่องของสมาธิและจิตใจเป็นอันดับแรก ผู้ที่จะบรรลุวิถีแห่งกลยุทธ์ได้ ต้องรักษาจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ศูนย์กลางเสมอ ไม่ตึงเครียดหรือปลดปล่อยจนเกินไป พึงรักษาความสงบไว้อย่างมั่นคง หากแต่ต้องยืดหยุ่นอิสระและเปิดกว้าง

แม้ร่างกายจะหยุดนิ่งหรือเคลื่อนไหว ก็ต้องรักษาสภาพจิตใจนี้ไว้ในทุกช่วงยามสมาธิและจิตใจต้องสงบเยือกเย็นอยู่เสมอ จิตใจจะต้องไม่ถูกร่างกายชักจูงไป ต้องรวบรวมสมาธิมั่นต่อจิตใจและเพิกเฉยต่อร่างกาย การฝึกปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จะสร้างความแข้งแกร่งให้กับจิตใจ ไม่เปิดเผยความรู้สึกนึกคิดของฝ่ายตรงข้าม ในขณะเดียวกัน กลับรับรู้ถึงสภาวะและแนวทางความคิดของฝ่ายตรงข้าม สามารถประเมินรูปแบบของคู่ต่อสู้ได้อย่างถูกต้อง การจะบรรลุถึงเส้นทางดังกล่าวจะต้องมีจิตใจที่แจ่มในเปิดกว้าง พิจารณาถึงสภาพแวดล้อมรอบด้านอย่างละเอียดถี่ถ้วนที่สำคัญจะต้องมีการปรับปรุงความรู้ใหม่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อขยายจิตใจออกไปอย่างไม่จำกัด

จุดแห่งสมาธิก็คือ การระวังระไวในการต่อสู้ จะต้องมีการตรวจสอบแก่นแท้ของสภาพแวดล้อมที่มีอยู่จริงอย่างลึกซึ้ง และ เข้าใจถึงปรากฏการณ์เปลือกนอก ที่ฝ่ายตรงข้ามจงใจเปิดเผยให้เห็น เล็งเห็นถึงสภาพของระยะไกล และสามารถฉกฉวยความมีเปรียบจากระยะใกล้ หยั่งรู้ถึงแนวทางเพลงดาบที่แท้ของฝ่ายตรงข้าม โดยไม่หลงกลต่อรูปแบบการเคลื่อนไหวภายนอกของคู่ต่อสู้ เพื่อชัยชนะเหนือผู้อื่น การต่อสู้ทุกครั้งจึงจะต้องมีการคิดคำนวณและวางแผนไว้เป็นอย่างดี โดยไม่ถูกเบี่ยงเบนไปจากสภาพแวดล้อมที่ถูกจัดสร้างขึ้น เมื่อสมาธิและจิตใจ คือรากฐานของกระบวนท่าทั้งปวง “มุซาชิ” จึงกำหนดการตั้งท่าในการต่อสู้ให้อยู่ในสภาวะพร้อม ด้วยร่างกายที่ตั้งตรงไม่เอนเอียง สายตาแน่วแน่ไม่วอกแวก ซึ่งจะต้องผ่านการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับแนวทางการจับดาบของ “มุซาชิ” นั้นเน้นที่ความยืดหยุ่นไม่แข็งเกร็งพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตำแหน่งของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ได้ เพื่อเปลี่ยนถ่ายการเน้นย้ำให้น้ำหนักของการกดดาบได้ตามสถานการณ์ เช่นเดียวกับจังหวะของการเคลื่อนเท้า ที่จะต้องมีความสมดุลทั้งซ้ายขวาอย่างปรกติ โดยไม่ได้เป็นการเคลื่อนไหวย่างก้าวด้วยการเน้นย้ำความถนัดของเท้าข้างใดข้างหนึ่ง

“ไร้กระบวนท่า”

“มุซาชิ” มีความเห็นว่า หากผ่านการฝึกฝนเรียนรู้จรคล่องแคล่วก็จะสามารถใช้ดาบได้อย่างคล่องแคล่ว อิสระอย่างเป็นธรรมชาติ จนเป็นเสมือนกับส่วนหนึ่งของร่างกาย สำหรับท่วงท่าการจรดดาบตามแนวทางของ “มุซาชิ” นั้น มีเพียง 5 ท่วงท่าที่เรียกกันว่าจรด 5 ทิศ อันประกอบด้วย

โจดาน (ท่าบน)
จูดาน (ท่ากลาง)
เกดาน (ท่าต่ำ)
มิกิโนะวากิ (ปิดขวา) และ
ฮิดาริ โนะวากิ (ปิดซ้าย)

ซึ่งการจรดท่าทั้ง 5 นี้มีความเหมาะสมที่จะใช้ออกในสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับแนวทางการฟาดฟันดาบของฝ่ายตรงข้าม โดยกล่าวไว้ว่า ท่าบน ท่ากลาง และท่าต่ำนั้น เป็นการใช้ออกจากแง่มุมที่มั่นคงแข็งแรง ในขณะที่ปิดขวาและปิดซ้ายเป็นการใช้ออกจากแง่มุมที่เลื่อนไหล เพื่อขจัดสิ่งกีดขวางที่มีอยู่ในด้านใดด้านหนึ่ง สำหรับท่าจรดดาบที่ “มุซาชิ” ให้ความสำคัญที่สุดคือ ท่าจรดกลาง ซึ่งเปรียบได้กับตำแหน่งของนายทัพที่จะทำให้อีกสี่ตำแหน่งที่เหลือติดตามการเคลื่อนไหวไปได้อย่างเป็นจังหวะจะโคน

อย่างไรก็ตาม “มุซาชิ” เห็นว่าการจรดดาบเป็นเพียงกระบวนการหนึ่งในการฟาดฟันเท่านั้น แม้แต่การตั้งรับและปิดป้องก็เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่จะบรรลุถึงการฟาดฟันฝ่ายตรงข้าม ผู้ถือดาบจึงควรมุ่งมั่นในการฟาดฟันศัตรู มากกว่าพะวักพะวนถึงท่วงท่าทิศทางในการจรดดาบ เพราะหากกล่าวถึงที่สุดแล้วการเคลื่อนไหวดาบเพียงเล็กน้อย ก็จะเป็นการเปลี่ยนท่าจรดดาบจากกระบวนท่าหนึ่งไปยังอีกกระบวนท่าหนึ่ง นาวทางที่คิดค้นขึ้น จึงเป็นทั้ง “มีกระบวนท่า” และ “ไร้กระบวนท่า” เพราะที่สำคัญคือการค้นพบตำแหน่งแง่มุมที่เหมาะสมที่จะใช้ฟาดฟันฝ่ายตรงข้ามอันเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของการมีชัยเหนือคู่ต่อสู้

ว่าด้วยการใช้ดาบ

“มุซาชิ” ให้ความสำคัญกับการเอาชัยในดาบเดียว ซึ่งเป็นการฟาดฟันดาบออกในท่วงท่าที่สงบอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นเพียงจังหวะเดียวก่อนที่คู่ต่อสู้จะตัดสินใจปิดป้องหรือถดถอยตั้งรับ ในขณะที่เป็นฝ่ายรุกไล่อาจใช้การฟันหลอกล่อ เพื่อให้คู่ต่อสู้เสียจังหวะก่อนที่จะฟาดฟันกระบวนที่แท้จริงออก ในขณะที่ฟาดฟันพร้อมกัน จะต้องฟาดฟันออกอย่างรวดเร็ว รุนแรง ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามหลบหลีกปิดป้อง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็ว หากแต่ให้ทดแทนด้วยความหนักหน่วงลึกล้ำ

การฟาดดาบในแต่ละครั้งคราก็มีจุดประสงค์เป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป การฟาดฟันอย่างว่องไวโดยขยับดาบแต่เล็กน้อยเป็นการจู่โจมรบกวนสมาธิของฝ่ายตรงข้าม การฟาดฟันไปยังดาบยาวของคู่ต่อสู้โดยการกดต่ำหรือกระแทกให้หลุดจากมือ เป็นการจู่โจมทำลายอาวุธของฝ่ายตรงข้าม และที่หวังผลรุนแรงคือการฟาดฟันแบบกวาดรวมไปยังส่วนหัว แขน และขา ของคู่ต่อสู้ในกระบวนท่าเดียว สำหรับท่าร่างในการฟาดฟันดาบ “มุซาชิ” มุ่งการฝึกปรือสู่ขั้นร่างกายกับดาบรวมเป็นหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปร่างกายจะมีการเคลื่อนไหวก่อนเพียงเล็กน้อยก่อนที่ดาบจะฟาดฟันออกไป โดยมีทั้งรูปแบบของการฟันใส่แขนขา เพื่อเข้าประชิดคู่ต่อสู้ และรูปแบของการฟันที่ออกไปตามจิตสำนึก เพื่อพิชิตชัยในฉับพลัน เมื่อคู่ต่อสู้เงื้อดาบจะฟาดฟันแทนที่จะยื่นดาบหรือเหยียดมืออกไปก็จะใช้กลยุทธ์การหระชิดเข้าพิงกับคู่ต่อสู้แทน เป็นการทำลายจังหวะและป้องกันการปัดป้องของคู่ต่อสู้และเปลี่ยนสภาพจากการหดห่อร่างกาย เป็นการยื่นขยายมือเท้าออกไปครอบงำฝ่ายตรงข้ามให้ได้มากที่สุด หากคู่ต่อสู้สามารถสกัดการฟาดฟันได้ จะต้องเปลี่ยนแปลงเป็นการแนบดาบเข้ากับฝ่ายตรงข้าม โดยอาศัยการเกาะเกี่ยวที่เน้นการใช้กำลังอย่างแกร่งกร้าว และการพัวพันที่ใช้กำลังอย่างอ่อนหยุ่น เพื่อช่วงชิงช่องว่างและแง่มุมที่เหมาะสมในการโถมฟาดฟันใส่ทรวงอกร่างกายของฝ่ายตรงข้าม ดาบยังสามารถทิ่มแทงโดยเฉพาะในสภาวะแวดล้อมที่ไม่มีช่องว่างให้ฟาดฟันหรือเมื่อความคมของดาบเริ่มลดทอนลง ในยามรุกนั้นเป้าหมายของการทิ่มแทงหัวใจ ในขณะตั้งรับ การทิ่มแทงก็สมารถใช้ออกเพื่อยับยั้งการรุกของคู่ต่อสู้ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ใบหน้าและตวงตาของฝ่ายตรงข้าม การบีบบังคับให้คู่ต่อสู้หนีออกจากเส้นทาง นับเป็นสัญญาณแห่งชัยชนะของเรา การทิ่มแทงยังสามารถใช้ออกในกรณีที่เราเพลี่ยงพล้ำเสียจังหวะจากการรุกจนฝ่ายตรงข้ามฟาดฟันเข้ามา หลักการคือจะต้องตบดาบของฝ่ายตรงข้ามออก และพลิกแพลงเปลี่ยนจากการตบออกเป็นทิ่มแทง หากฝึกฝนจนจังหวะของการทิ่มแทงรวดเร็วกว่าการตบออก ก็จะมีชัยชนะเหนือคู่ต่อสู้ ไม่เพียงแต่รูปแบบของการฟาดฟันทิ่มแทง และการเคลื่อนไหวท่าร่าง การใช้ดาบยังครอบคลุมถึงการใช้เสียงตวาด เพราะนอกจากจะเป็นการข่มขวั_คู่ต่อสู้แล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างจังหวะการใช้ดาบของตนเองอีกด้วย

“มุซาชิ” ยังได้กล่าวถึงกรณีของการต่อสู้กับพวกมากกว่า จะต้องสังเกตทุกความเคลื่อนไหวของศัตรู พึงใช้ดาบทั้งสองเล่มเพื่อกวาดต้อนให้ศัตรูที่รายล้อมอยู่รอบด้าน ให้รวมตัวกันอยู่ในด้านเดียว จะได้พ้นจากสภาวะที่ต้องรับมือจากการจู่โจมรอบด้าน จะต้องวางแผนการรับมืออย่างเป็นขั้นตอน โดยการลำดับก่อนหลังในการเข้าถึงของคู่ต่อสู้แต่ละคน การผลักดันให้ศัตรูถอยกลับไปในลักษณะที่ยังเป็นรูปขบวนอยู่นั้น ไม่เป็นประโยชน์ใด ๆ เลย การฟาดฟันจึงต้องมุ่งมั่นที่จะทำลายขบวนของศัตรูให้กระเจิดกระเจิงสับสนรวนเร การจะบรรลุได้ถึงชัยชนะจะต้องผ่านการฝึกฝนจนร่างกายกับดาบหลอมรวมเป็นหนึ่ง การเคลื่อนร่างเป็นไปตามธรรมชาติปรุโปร่งถึงจังหวะแห่งจิตวิญญาณ เมื่อถึงขอบเขตนี้แล้ว วิถีแห่งการพิชิตศัตรูทั้งกองทัพ กับการเอาชัยเหนือศัตรูหนึ่งเดียว ก็ไม่มีความแตกต่างกัน




 

Create Date : 14 กันยายน 2550    
Last Update : 14 กันยายน 2550 7:52:01 น.
Counter : 847 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  

win_mma
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add win_mma's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.