เป็นสุขอยู่ในอู่แห่งทะเลบุญอันกว้างใหญ่.......

เหตุผลการเรียกร้องให้บัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ

ในท่ามกลางกระแสเรียกร้องให้มีการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาตินั้น ได้มีผู้แสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย เหตุผลบางอย่างอาจจะเหมือนกันหรือต่างกัน นี่ก็เป็นอีกเหตุผลที่จะนำเสนอว่าทำไมจึงควรบัญญัติว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ดังต่อไปนี้

1. ชาวพุทธที่เรียกร้องพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไม่ได้ประสงค์ที่จะเข้าไปก้าวก่ายกับการทำงานของรัฐ หรือจะให้เป็นพุทธรัฐ ปกครองศาสนาอื่นๆ หรือแม้กระทั่งนิกายพุทธศาสนาอื่น หรือลัทธิใดๆ แต่ต้องการเพียงแค่การได้มาซึ่งความภาคภูมิใจ เนื่องจากประเทศไทยได้ชื่อว่า เป็นเมืองพุทธ และเป็นศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนาของโลกในทุกวันนี้
2. ประเทศไทยมีศาสนาที่คนนับถือใหญ่ๆ 3 ศาสนาคือ พุทธ 93 เปอร์เซ็นต์ อิสลาม 5 เปอร์เซ็นต์ และคริสต์ 2 เปอร์เซ็นต์ ถ้าจะถามว่าศาสนาใดเหมาะที่จะเป็นศาสนาประจำชาติ เราก็ต้องตอบว่าศาสนาพุทธ เพราะมีคนนับถือมากที่สุด จะว่าไม่จำเป็นที่จะต้องบัญญัติเพราะเราเป็นชาติไทยก็ได้ แต่การเรียกร้องดังกล่าวเป็นข้อเรียกร้องของชาวพุทธ ที่ยึดหลักแห่งเสรีภาพในการเรียกร้องตามเหตุและผลที่พึงกระทำได้ ตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเมื่อพิจารณาว่าจะบัญญัติศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นศาสนาประจำชาติไทย ในบรรดาศาสนาที่มีผู้นับถือในประเทศไทย ก็สามารถตอบได้อย่างไม่ต้องคิดมากว่า “พุทธศาสนา”
3. มีหลายคนกลัวว่าหากบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติแล้วจะเกิดความแตกแยกนั้น เป็นความกลัวเกินเหตุ เนื่องจากการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไม่ได้เป็นไปเพื่อปกครองใคร แต่เพียงเพื่อความภาคภูมิใจ ส่วนกฎหมายอื่นใดที่จะตามมา ก็เป็นไปเพื่อความเจริญแห่งพระพุทธศาสนาซึ่งจะไม่ไปกระทบต่อศาสนาอื่นๆ ต้องแยกออกทีละประเด็น กฎหมายอื่นๆ ที่จะตามมา ก็ต้องพิจารณากันอีกวาระหนึ่ง ซึ่งว่ากันตามตรงแล้วอาจไม่มีความเกี่ยวหรือสัมพันธ์กันกับการเรียกร้องพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะการร่างกฎหมายอื่นๆ สามารถกระทำได้อยู่แล้วแม้จะไม่บัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
4. ผู้นับถือศาสนาอื่นๆ ส่วนใหญ่ มีน้ำใจเพียงพอ ที่จะไม่สร้างความแตกแยก เนื่องจากพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่อยู่คู่กับเมืองไทยมาแต่โบราณ และมีผู้นับถือมากที่สุด และในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาไม่เคยมีปรากฎว่าชาวพุทธจะไปเบียดเบียนทำร้าย หรือทำลายศาสนาอื่น อาจมีก็เพียงการโต้แย้งในหลักการและเหตุผลซึ่งกันและกัน
5. การจารึกพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เป็นการผลักดันของชาวพุทธ ที่อยากเห็นพระพุทธศาสนาได้รับการยกย่อง เนื่องจากปัจจุบันถือได้ว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาโลก มีการประชุมของชาวพุทธทั่วโลกหลายครั้ง การจารึกพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ก็เพื่อความภาคภูมิใจ เป็นเกียรติประวัติแก่ชนรุ่นหลังว่า เมืองไทยพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง ได้บัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งถ้าหากวันหนึ่งข้างหน้า ศาสนาอื่นมีจำนวนผู้นับถือมากกว่าพุทธศาสนา หรือพอๆ กับที่พุทธศาสนาเป็นอยู่อย่างทุกวันนี้ ชื่อ “พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ” ก็จะถูกลบออกไปจากรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน
6. การทำงานทางพระพุทธศาสนาของชาวพุทธมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้นับถือศาสนาอื่นๆ การเรียกร้องดังกล่าวหากได้มาซึ่ง การบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ก็ไม่ได้หมายความว่า ชาวพุทธจะนิ่งนอนใจ ไม่ปฏิบัติธรรม หยุดใส่บาตรทำบุญ หรือพระสงฆ์จะหยุดการดำเนินกิจกรรมทางศาสนา แต่ยิ่งจะต้องพยายามสร้างและกระทำอย่างต่อเนื่อง ให้สมกับที่ได้จารึกไว้ในรัฐธรรมนูญว่า “พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ”


พระมหาธำรงค์ ฐิตปุญฺโญ
ประจำสำนักอธิการบดี
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
//www.mbu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=490&Itemid=148


Create Date : 04 กรกฎาคม 2554
Last Update : 4 กรกฎาคม 2554 10:26:39 น. 0 comments
Counter : 483 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อู่ต่อเรือ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




นึกแล้วเชียว ว่าต้องเข้ามาดู

555
[Add อู่ต่อเรือ's blog to your web]