::พลังขจัดสิ่งอัปมงคล::
Group Blog
 
All blogs
 
พระพิฆเนศ 32 ปาง

พระพิฆเนศวร์ 32 ปาง

คำว่า "คเณศวร์" เป็นคำภาษาสันสกฤต 2 คำรวมกัน คือ 'คณะ'+ 'อิศ'

คณะ = ฝูงชน, กลุ่มชน
อิศ = ผู้ปกครอง, ผู้เป็นใหญ่

จึงมีความหมายเหมือนกับคำว่า คณปติ

ในฐานะคณปติ (Ganapati) พระองค์ทรงเป็นผู้นำของเหล่าเทวดานางฟ้า ปกครองควบคุมโดยไม่ใช่การบังคับหรือความเข้มแข็งแต่ด้วยการใช้สติปัญญาและกลยุทธ พระองค์ทรงไม่รีบร้อนหากแต่ระมัดระวัง อดทนรอจนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้เราเดินตามแนวทางของพระองค์

ในฐานะพิฆเนศวร (Vighneshvara) (ว แผลงเป็น พ ได้ในภาษาไทย) ทรงเป็นใหญ่ในอุปสรรคทั้งปวง ทรงบันดาลอุปสรรคและความยากลำบากแก่เราในยามที่ยังไม่ถึงเวลาเดินหน้า และทลายอุปสรรคนั้นในยามที่เราควรได้รับความสำเร็จ พระองค์คือผู้ที่เราควรวิงวอนยามที่ต้องการทำงานใดหรือวางแผนเปลี่ยนแปลงชีวิต

ในฐานะเอกทันต์ (Ekadanta) ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์วรรณกรรม เป็นผู้เขียนมหากาพย์มหาภารตะ ทรงให้บทเรียนแก่เราว่าความรู้และธรรมะเป็นสิ่งสำคัญสุดของชีวิต ควรค่าแก่การบูชา

ในฐานะสิทธิธาตุ (Siddhidata) ทรงเป็นผู้ให้ความสำเร็จที่มาพร้อมกับความอุดมสมบูรณ์ในชีวิต พระองค์ทรงนำธาตุทั้ง 5 เข้ามารวมกันและกำหนดพลังพื้นฐานที่คอยดูแลและจัดระเบียบจักรวาล

คัมภีร์ Mudgala Purana กล่าวถึงปางทั้ง 8 ของพระพิฆเนศวร์ ที่คอยควบคุมด้านที่อ่อนแอของมนุษย์

1 เอกทันต์ - ผู้เป็นใหญ่เหนือโมท (Moda - นึกถึงคำว่าปราโมทย์ก็ได้) - ความโอหัง

2 Dhumravarna (ผู้มีกายสีควันไฟ) - ผู้เอาชนะอภิมานะ (Abhimana) หรือความหยิ่งยโส

3 Vakratunda (ผู้มีงวงโค้ง) - ผู้กำจัดความอิจฉาริษยา (Matsarya)

4 Mahodara (มโหทร - ผู้มีท้องใหญ่) - ผู้เป็นใหญ่เหนือโมหะ - ความหลงใหล

5 Gajanana (คชนานา - ผู้มีใบหน้าเป็นช้าง) ผู้เอาชนะความโลภ

6 Lambodara (ผู้มีพุงพลุ้ย - ลัมโพทร) ผู้เอาชนะความโกรธ

7 Vikata (วิกรรตะ - ผู้มีร่างกายพิการ) ผู้เอาชนะกาม (ความปรารถนาในกาม)

8 Vighnaraja (ผู้เป็นใหญ่แห่งอุปสรรค) ผู้อยู่เหนือมามตะ (ผู้ยึดอัตตาตัวเองเป็นสำคัญ)





ศักติของพระพิฆเนศวร์
ในอินเดียเหนือบอกว่ามีศักติ 2 องค์
1 พุทธิ (ปัญญา / ความเฉียบแหลม)
2 สิทธิ (ความสำเร็จ / สมปรารถนา)

แต่ "ทางอินเดียใต้บอกว่าพระองค์ทรงครองพรหมจรรย์ ไม่มีชายา"

จริงๆ แล้วไม่มีเทพองค์ใดที่มีภรรยา (Wife) อย่าไปคิดว่าศักติคือเทพอีกองค์หนึ่งแยกต่างหาก หากแต่ศักติคือคุณสมบัติหนึ่งขององค์เทพนั้นๆ อย่านำมหาเทพซึ่งอยู่บนโลกที่ 3 (ศิวโลก) มาเปรียบกับมนุษย์ที่อยู่บนโลกที่ 1
มหาเทพไม่ได้แบ่งเพศเป็นหญิงหรือชายเช่นเรา พระองค์ทรงบริสุทธิ์ จึงไม่ควรเรียกพุทธิและสิทธิว่าเป็นชายาของพระพิฆเนศวร์ หากแต่ควรจะเรียกว่าเป็นศักติของพระองค์ ศักติทั้งสองคือพรที่ผู้บูชาพระองค์จะได้รับ


พระพิฆเนศวร์ 32 ปาง
คัมภีร์ Mudgala Purana ยังกล่าวถึงปางอีก 32 ปาง นอกเหนือจาก 8 ปางข้างบน



1 Bala Ganapati (บาลคณปติ) พระพิฆเนศวร์ยามเด็ก พักตร์ดูเด็ก กายสีทอง หัตถ์ถือกล้วย มะม่วง อ้อย ขนุน ผลไม้ทั้ง 3 แทนความอุดมสมบูรณ์ของโลก งวงชูถ้วยขนมของโปรด (โมทกะ)



2 Taruna Ganapati (ดรุณาคณปติ) พระพิฆเนศวร์ยามหนุ่ม พักตร์ดูหนุ่ม มี 8 กร หัตถ์ถือบ่วงบาศก์, ขอสับช้าง, ขนมโมทกะ, มะขวิด (Wood apple), ชมพู่, งาข้างที่หักไป , รวงข้าว, อ้อย กายสีแดงแสดงถึงความสดใสของวัยเยาว์



3 Bhakti Ganapati (ภักติคณปติ) ทรงเป็นที่รักของเหล่าสาวกผู้บูชาพระองค์ หัตถ์ถือมะม่วง มะพร้าว กล้วย ถ้วยขนม payasa สีกายสว่างดุจจันทร์เพ็ญกลางฤดูเก็บเกี่ยว ประดับด้วยมาลัยดอกไม้



4 Vira Ganapati (วีรคณปติ) "นักรบผู้กล้าหาญ" อยู่ในท่าประทับยืนเป็นผู้นำ มี 16 กร ถืออาวุธต่างๆ ได้แก่ ขอสับช้าง, จักร, คันธนู, ลูกธนู, ดาบ, โล่, หอก, ตะบอง, ขวานศึก, ตรีศูล, ฯลฯ



5 Shakti Ganapati (ศักติคณปติ) ผู้ทรงด้วยศักดิ์ (พลังอำนาจ) ประทับนั่งมี 4 กร มีศักตินั่งอยู่บนเข่าข้างหนึ่ง กายสีแดงอมส้ม (สีแสด) ศักติคณปติทรงคอยคุ้มครองบ้านเรือน ในมือถือพวงมาลัย บ่วงบาศก์ ขอสับช้าง ส่วนอีกมือหนึ่งทำท่า "อภัยมุทรา" - ปางประทานพร



6 Dvija Ganapati (ทวิชาคณปติ - ผู้เกิด 2 ครั้ง) มี 4 หน้า ผิวกายสีดวงจันทร์ ในมือถือขอสับช้าง, บ่วงบาศก์, คัมภีร์ Ola, ไม้เท้า, หม้อน้ำ, ลูกประคำ, พระองค์ทรงเตือนให้เราตระหนักถึงความมานะพยายาม.



7 Siddhi Ganapati (สิทธิคณปติ) มีกายสีเหลืองทอง เป็นตัวแทนของความสำเร็จ การเป็นนายตนเอง (Self-mastery) ประทับนั่งในอิริยาบถสบายๆ มือถือช่อดอกไม้, ขวาน, มะม่วง, อ้อย งวงชูขนมงาหวาน



8 Ucchhishta Ganapati (ผู้เป็นใหญ่ในการประทานพร ผู้ธำรงรักษณวัฒนธรรม/สิ่งดีงาม) กายสีน้ำเงิน มี 6 กร มีศักตินั่งอยู่บนเข่าข้างหนึ่ง มือถือพิณ (วีณา), ทับทิม, ดอกบัวสีน้ำเงิน, ลูกประคำ และรวงข้าว



9 Vighna Ganapati (ผู้เป็นใหญ่เหนืออุปสรรค / ความขัดข้อง) กายสีทองสุก ประดับด้วยอัญมณี มี 8 กร ถือขอสับช้าง, บ่วงบาศก์ งาข้างที่หัก และขนมโมทกะ หอยสังข์และจักร ช่อดอกไม้ อ้อย บุปผศร และขวาน



10 Kshipra Ganapati (กษิประคณปติ) กายสีแดง รูปโฉมงดงาม ทรงเป็นผู้ประทานพรอย่างทันใจ ในมือถืองาข้างที่หักไป, บ่วงบาศก์, ขอสับช้าง, กิ่งกัลปพฤกษ์ (kalpavriksha) ซึ่งแทนถึงการสมปรารถนา งวงชูถ้วยบรรจุอัญมณี



11 Heramba Ganapati (เหรัมภาคณปติ) มี 5 พักตร์ 10 กร กายสีขาว ประทับบนหลังราชสีห์ 2 มือทรงแสดงท่าคุ้มครองและประทานพร เนื่องจากทรงเป็นผู้ปกปักคุ้มครองผู้ป่วย มือที่เหลือถือบ่วงบาศก์, ลูกประคำ, ขวาน, ค้อน, งาขางที่หัก, พวงมาลัย ผลไม้ และขนมโมทกะ



12 Lakshmi Ganapati (ลักษณมีคณปติ) กายสีขาวบริสุทธิ์ เป็นผู้ประทานความสำเร็จ มีศักติทั้ง 2 องค์นั่งอยู่เข่า (พุทธิและสิทธิ) หมายถึงปัญญาความเฉียบแหลมและความสำเร็จ องค์คณปติประทับอยู่ในท่า 'varada mudra' (น่าจะตรงกับท่า วรมุทรา) ในมือถือนกแก้วสีเขียว ทับทิม ดาบ ขอสับช้าง บ่วงบาศก์ กิ่งกัลปพฤกษ์ และหม้อน้ำ



13 Maha Ganapati มหาคณปติ (คณปติผู้ยิ่งใหญ่) กายสีแดง มี 3 เนตร มีศักตินั่งอยู่บนเข่าองค์หนึ่ง ในมือถืองาข้างที่หัก ทับทิม ดอกบัวสีน้ำเงิน คันธนูทำจากอ้อย จักร บ่วงบาศก์ ดอกบัวหลวง รวงข้าว ตะบอง (คฑา) และหม้อใส่อัญมณี



14 Vijaya Ganapati (วิชัยคณปติ) ผู้ประทานชัยชนะความสำเร็จ กายสีแดง มี 4 กร ประทับนั่งบนหนู (มุสิก.) มือถืองาข้างที่หัก, ขอสับช้าง บ่วงบาศก์ มะม่วงสุก (ผลไม้โปรด)



15 Nritya Ganapati (นฤตยาคณปติ) ผู้ร่ายรำอย่างมีความสุข มี 4 กร กายสีทอง นิ้วสวมแหวน มือถืองาข้างที่หัก ขอสับช้าง บ่วงบาศก์ และขนมโมทกะ ประทับอยู่ใต้ต้นกัลปพฤกษ์ ซึ่งหมายถึงความสุขอย่างที่สุด



16 Urdhva Ganapati ผู้มีจิตใจสูง/ได้รับการขัดเกลา ประทับนั่ง โดยมีศักติองค์หนึ่งนั่งอยู่บนเข่าข้างซ้าย ผิวกายสีทอง มี 6 กร มือถือรวงข้าว ดอกบัวหลวง คันธนูทำจากอ้อย ลูกศร งาข้างที่หัก บัวสีน้ำเงิน



17 Ekakshara Ganapati (เอกอักษราคณปติ) (เอกอักษร - อักษรตัวเดียว) มี 4 กร ผิวกายและเครื่องทรงสีแดง 3 เนตร ทรงจันทร์เสี้ยวเป็นมงกุฏ นั่งขัดสมาธิอยู่บนหลังหนู พระหัตถ์หนึ่งทำท่าประทานพร ส่วนที่เหลือถือทับทิม บ่วงบาศก์ และขอสับช้าง



18 Varada Ganapati (ผู้ประทานพรด้วยดวงตาที่สามแห่งปัญญา) มี 4 กร มือถือหม้อน้ำผึ้ง บ่วงบาศก์ ขอสับช้าง งวงชูหม้อใส่อัญมณี มีศักตินั่งอยู่ข้างองค์ ทรงจันทร์เสี้ยวเป็นมงกุฎ



19. Tryakshara Ganapati (ตรีอักษราคณปติ - 3 ตัวอักษร หรือโอม - อะ อุ มะ) ผิวกายสีทอง มี 4 กร พระกรรณ (หู) หลุบต่ำ มีจามรประดับหู มือถือขอสับช้าง บ่วงบาศก์ งาข้างที่หัก มะม่วง งวงชูขนมโมทกะ



20 Kshipra Prasada Ganapati (กษิประปราสาทคณปติ) ผู้ให้รางวัลตอบแทนอย่างรวดเร็ว นั่งอยู่บนบัลลังก์หญ้าคา (กุษา) มี 6 กร พุงพลุ้ยใหญ่หมายถึงจักรวาลทุกสิ่งทุกอย่าง มือถือขอสับช้าง บ่วงบาศก์ งาข้างที่หัก ดอกบัวหลวง ทับทิม กิ่งกัลปพฤกษ์



21 Haridra Ganapati (หริทรคณปติ) ผิวกายสีทอง ทรงเครื่องสีเหลืองสด ประทับนั่งบนบังลังก์ 4 กร มือถืองาข้างที่หัก ขนมโมกทะ บ่วงบาศก์สำหรับมัดเหล่าสาวกให้เข้ามาใกล้พระองค์ และขอสับช้างเพื่อบังคับให้สาวกก้าวไปข้างหน้า



22 Ekadanta Ganapati (เอกทันตคณปติ) กายสีน้ำเงิน พุงใหญ่ 4 กร ทรงถือขวานสำหรับตัดความโง๋เขลา ลูกประคำ ขนมหวานทำจากนม และงาขวาที่หักไบ



23 Srishti Ganapati ผู้เป็นใหญ่แห่งความสุข มี 4 กร กายสีแดง มือถือขอสับช้าง บ่วงบาศก์ มะม่วงสุก งาข้างที่หักซึ่งหมายถึงการอุทิศตนโดยปราศจากความเห็นแก่ตัว



24 Uddanda Ganapati ผู้บันดาลซึ่งธรรม มี 10 กร มือถือหม้ออัญมณี บัวสีน้ำเงิน อ้อย คฑา บัวหลวง รวงข้าว ทับทิม บ่วงบาศก์ มาลัย และงาข้างที่หัก



25 Rinamochana Ganapati ผู้ปลดปล่อยมนุษย์จากบาปและความผิด ผิวกายสีขาว ทรงภูษาผ้าไหมสีแดง มี 4 กร มือถือบ่วงบาศก์ ขอสับช้าง งาข้างที่หัก และชมพู่ผลไม้โปรด



26 Dhundhi Ganapati (ธันธิคณปติ) ผู้เป็นที่รักเป็นที่ต้องการ มี 4 กร มือถือสร้อยประคำ งาข้างที่หัก ขวาน หม้ออัญมณีซึ่งเป็นตัวแทนของการรู้ตัว ทรงปกป้องผู้อุทิศตัวให้กับพระองค์



27 Dvimukha Ganapati (ทวิมุขคณปติ) 2 พักตร์ ผิวกายสีเขียวอมน้ำเงิน 4 กร ทรงภูษาผ้าไหมสีแดง ทรงมงกุฏ มือถือบ่วงบาศก์ ขอสับช้าง งาที่หัก หม้ออัญมณี



28 Trimukha Ganapati (ตรีมุขคณปติ) 3 พักตร์ 6 กร กายสีแดง ประทับนั่งบนดอกบัวสีทอง 4 มือถือประคำ ขอสับช้าง บ่วงบาศก์ หม้อน้ำอมฤต อีก 2 มือทำท่าปกป้องด้วยมือขวา มือซ้ายทำท่าประทานพร



29 Sinha Ganapati (สิงหคณปติ) 8 กร กายสีขาว ประทับนั่งบนราชสีห์ มือหนึ่งถือราชสีห์อีกตัวไว้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเข้มแข็งและการปราศจากความกลัว มือที่เหลือถือกิ่งกัลปพฤกษ์ พิณ ดอกบัวหลวง พวงมาลัยดอกไม้ และหม้ออัญมณี



30 Yoga Ganapati (โยคคณปติ) 4 กร ผิวกายสีอาทิตย์อุทัย (อาทิตย์ขึ้น) ทรงเครื่องสีฟ้า ประทับนั่ง โดยรัดเข่าด้วยสายรัดสำหรับทำสมาธิ มือถือไม้เท้าโยคทัณฑ์ อ้อย บ่วงบาศก์ ลูกประคำ



31 Durga Ganapati (ทุรคาคณปติ) ผู้ไม่สามารถเอาชนะได้ (ผู้ชนะตลอดกาล) ทรงถือธงชัยโบกสบัดอยู่เหนือความมืด ผิวกายสีทองเข้ม 8 กร ทรงเครื่องสีแดง มือถือคันธนูและลูกศร บ่วงบาศก์และขอสับช้าง สร้อยประคำ งาที่หัก และชมพู่



32 Sankatahara Ganapati ผู้ปัดเป่าความเศร้าโศก ผิวกายสีดวงอาทิตย์ ทรงเครื่องสีน้ำเงิน ประทับนั่งบนดอกบัวสีแดง มี 4 กร มือถือถ้วยขนม Pasaya (ขนมมันสำปะหลัง) บ่วงบาศก์ และขอสับช้าง 2 มือทำท่าวรมุทรา มีศักติองค์หนึ่งนั่งอยู่เข่า


ในศาสนาฮินดู เมื่อเกิดเรื่องไม่ดี โชคร้าย มีเคราะห์ ให้ขอพรจากพระพิฆเนศวร์ก่อนเทพองค์อื่นเสมอ


ข้อมูลจาก จาก //www.shreeganesh.com/loving_ganesh/books/lg/lg_ch-06.html


Create Date : 30 มิถุนายน 2551
Last Update : 1 กรกฎาคม 2551 14:30:33 น. 1 comments
Counter : 9683 Pageviews.

 
รูป เสด็จพ่อฯ

......... สวยมาก สวยมากๆ ...


ขอองค์พ่อฯ ประทานพรแด่คุณ booz-zaa




........... แวะมาเยี่ยม .........


โดย: คนแก่ขี้เหงา วันที่: 2 กรกฎาคม 2551 เวลา:17:00:56 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

booz-zaa
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add booz-zaa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.